Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> ห้องเรียน >> ห้องเรียนฉันท์ >> ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง  (อ่าน 14740 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ศรีเปรื่อง
สมาชิกพิเศษ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:5750
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 43
จำนวนกระทู้: 488


ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี เพื่อหย่อนฤดี ฯ


| |
ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง
« เมื่อ: 23, กันยายน, 2556, 04:04:48 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง
เกริ่น...

ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันเสียก่อนนะครับว่า "ฉันท์" นั้นเป็นศิลปะของอินเดีย
แต่ไทยเราได้เอามาปรับปรุงให้ไพเราะเพราะพริ้งยิ่งขึ้น

ดังนั้น คำที่ใช้ก็มักไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็น "สันกฤต" หรือ "บาลี" (คำบาลี เรียกอีกอย่างว่าคำ "มคธ") เสียส่วนใหญ่
อ๊ะ ๆ แต่ไม่ต้องถึงกับไปเรียนบาลี-สันสกฤตเพิ่มหรอกนะครับ เพราะคำที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็มีคำบาลีสันสฤตปะปนอยู่เพียบแล้ว
(อ้อ! คำเขมร ก็เอาใช้มาในงานฉันท์ได้ดีเหมือนกันนะครับ เช่น เลบง ลบอง สนุก สราญ เป็นต้น)

ทีนี้มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ...

สิ่งที่ยุ่งยากอย่างหนึ่งในการแต่งฉันท์ ก็คือ
การหาเสียง "ลหุ" (ผมไม่เรียกคำ เพราะบางทีมันก็ไม่เป็นคำ  ขำ) มาวางลงในตำแหน่งตามฉันทลักษณ์

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจจะแต่งฉันท์ ผมจึงได้สรุป แหล่งของเสียงลหุ ไว้ดังนี้

๑. คำธรรมชาติ เช่น สนุก สนาน รุจิรา สุริยน วัตถุ สาธุ วายุ เป็นต้น

๒. คำที่รูปตัวสะกดไม่ตรงกับชื่อแม่
    เช่น   จิต  เป็นแม่กด แต่ตัวสะกดรูป "ต" ให้เสียง  จิ-ตะ หรือ จิด-ตะ ได้
            ดล  เป็นแม่กน แต่ตัวสะกดรูป "ล" ให้เสียง  ดะ-ละ หรือ ดล-ละ ได้
            เลิศ เป็นแม่กด แต่ตัวสะกดรูป "ศ" ให้เสียง เลิด-สะ ได้
    นอกจากนั้น ก็ยังมีพวกคำที่มีการันต์ฆ่าเสียงไ้ว้ เช่น พักตร์ ฉันท์ จันทร์ ซึ่งผมขอจัดรวมในกลุ่มนี้ด้วยนะครับ เช่น
            พักตร์ เราได้ยินตัวสะกดเป็นแม่กก โดยการันต์ฆ่าเสียง "ตร" ไว้ ให้เสียง พัก-ตระ หรือ พัก-ตะ-ระ ได้
     (คำที่รูปตัวสะกดไม่ตรงกับชื่อแม่นี่ มักจะเป็น บาลี-สันสกฤต แต่งเสร็จ ก็เช็คพจนานุกรมเพื่อความชัวร์ครับ)

๓. คำกร่อน
     วัฒนธรรมด้านภาษาที่สำคัญของไทยเราอย่างหนึ่ง ก็คือ การกร่อนเสียง โดยลดเสียงของคำเดิมให้เหลือแค่ อะ
     ที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์มาก ก็เห็นจะเป็น คำกร่อนที่เกิดจากพวกคำซ้ำ และคำซ้อนเพื่อเสียง (คำที่สองพยางค์ซึ่งมีพยัญชนะต้นเดียวกัน ประกอบกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง)
             (คำซ้ำ) เช่น โครมโครม = คระโครม, รอนรอน = ระรอน, ครืนครืน = คระครืน, ลิ่วลิ่ว = ละลิ่ว
             (คำซ้อนเพื่อเสียง) เช่น ขวักไขว่ = ขวะไขว่, กวัดแกว่ง = กวะแกว่ง, ฉาดฉาน = ฉะฉาน, พ้องพาน = พะพาน

๔. คำแผลง (สระ)
     นี่ก็อีกหนึ่งจุดเด่นของภาษาไทยครับ (ครุ-ลหุ ไม่ตรงผังใช่มั้ย เปลี่ยนสระมันซะเลย  )
            อา เป็น อะ เช่น  ทิวา = ทิวะ
            อี เป็น อิ เช่น สรีร์ = สริร์
            อู เป็น อุ เช่น ดนู = ดนุ
            โอ เป็น อุ เช่น มโหฬาร = มหุฬาร
            อรร เป็น อะ เช่น กรรเชียง = กระเชียง
            เอา เป็น อุ เช่น เยาว = ยุวะ
  
๕. คำประสมที่มีสระ "อำ" ที่พยางค์หน้า
     จากการสังเกตงานฉันท์เก่า ๆ พบว่า "อำ" ที่เป็นคำโดด เป็น "ครุ" เกือบ ๑๐๐%
     ส่วน อำ ที่พยางค์หน้าของคำประสม บางทีก็เป็น "ครุ" บางทีก็เป็น "ลหุ" ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วางครับ
    
     เช่น
             จำนง

              (วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ จาก พระนลคำฉันท์)
               ค  ค  ล  ค  ล  ล  ล  ค             ล  ล  ค  ล  ค  ค

               อันใดพระใคร่จิตะกระสัน           สุขะหรรษะจำนง
                         "จำ" ในบาทนี้เป็น "ครุ" ครับ
              
               จงสบมโนรถประสง-                    คะจำนงมนูญใน
                         ส่วน "จำ" ในบาทนี้เป็น "ลหุ" ครับ


ศรีเปรื่อง
๒๓ ก.ย. ๒๕๕๖

อ้างอิง:
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/trang/punnipa_ch/sec03p03.html

        


รายนามผู้เยี่ยมชม : วรรณดี, กอหญ้า กอยุ่ง, , นายประทีป วัฒนสิทธิ์, Black Sword, รพีกาญจน์, เส้นชีวิต ดำเนินไป, , ขวดเก่า, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, เนื้อนาง นิชานาถ, ก้าง ปลาทู, กลอน123, มนชิดา พานิช

บันทึกการเข้า

sriphreung.blogspot.com
..
สารบัญบทกลอน  "ศรีเปรื่อง"
..

ศรีเปรื่อง
สมาชิกพิเศษ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:5750
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 43
จำนวนกระทู้: 488


ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี เพื่อหย่อนฤดี ฯ


| |
Re: ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง
« ตอบ #1 เมื่อ: 23, กันยายน, 2556, 10:00:47 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง
เนื่องจากมีคำหนึ่งที่ผมมักใช้บ่อย "คระไล" ซึ่งพอทราบเลา ๆ ว่ามันแผลงมาจาก "ไคล"
ก็เลยไปศึกษาเพิ่มเติมมาครับ

๖. คำแผลง (แทรกเสียง)

ที่เห็นว่าประโยชน์ ก็น่าเป็นการแทรกเสียง อะ โดยแทรก ระ ลงในคำควบกล้ำ

เช่น  ไคล = คระไล
      กลับกลอก = กระลับกระลอก
      คลอง = คระลอง
      คลอน = คระลอน

๗. การเติมพยางค์หน้าคำมูล

มักจะเติมพวก กะ, กระ, คระ, ระ ที่หน้าคำมูล

เช่น   เร่ร่อน = กะเร่กะร่อน
       อิดออด = กระอิดกระออด
       หิว = คระหิว
       โหย = คระโหย, ระโหย

ที่มา: ปรับปรุงจาก http://www.edltv.thai.net/courses/26/50THM3-KO040701.pdf
      และ http://dict.longdo.com


ศรีเปรื่อง
๒๓ ก.ย. ๒๕๕๖
    


รายนามผู้เยี่ยมชม : นายประทีป วัฒนสิทธิ์, , กอหญ้า กอยุ่ง, Black Sword, รพีกาญจน์, เส้นชีวิต ดำเนินไป, วรรณดี, ขวดเก่า, ลิตเติลเกิร์ล, ระนาดเอก, เนื้อนาง นิชานาถ, ก้าง ปลาทู, กลอน123

บันทึกการเข้า

sriphreung.blogspot.com
..
สารบัญบทกลอน  "ศรีเปรื่อง"
..
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.405 วินาที กับ 73 คำสั่ง
กำลังโหลด...