บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Sasi Aksarasrom ที่ 12, สิงหาคม, 2561, 07:11:17 AM



หัวข้อ: ราชบัณฑิตฯ ชี้แจงคำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: Sasi Aksarasrom ที่ 12, สิงหาคม, 2561, 07:11:17 AM

(https://image.ibb.co/hotjrU/38984972_2243142795726020_347651562224484352_n.jpg) (https://ibb.co/mADTJ9)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิตฯ ชี้แจงคำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: Sasi Aksarasrom ที่ 12, สิงหาคม, 2561, 07:26:21 AM

การพูด-เขียน
 "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ"
ต้องเว้นวรรคเสมอ
คำว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ" เป็นคำลงท้าย
ที่ ณ เวลานี้ ใช้แก่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙
เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
*และจะใช้กับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ
ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

ขอให้พึงสังเกตทุกครั้งที่เขียนคำนี้
หลัง ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
จะต้องวรรค ทุกครั้ง เพราะเป็นคำสองคำมาใช้รวมกัน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>
 "ทีฆายุกา โหตุ นาถปรมราชินี"

ก็ไม่ต้องใช้คำว่า "ทรงพระเจริญ" เพราะมีความหมายเดียวกัน
*
"อายุ" ต้องใช้ "พระชนมพรรษา" ไม่ใช่ "พระชนมายุ"
*
อนึ่งคำว่า "ทูลเกล้าฯ ถวาย" แม้จะเขียนย่อ
เวลาอ่านต้องอ่านเต็มว่า"ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย"
*
เช่นเดียวกันกับคำว่า "น้อมเกล้าฯ ถวาย" ต้องอ่านเต็มว่า
"น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย"
*
คำว่า "แสดงความจงรักภักดี" อย่าใช้ผิดเป็น "ถวายความจงรักภักดี"
*
คำว่า "พระชนม์พรรษา" แบบนี้ เขียนผิด ที่ถูกต้องเขียนว่า "พระชนมพรรษา"
*
"เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา..." ไม่ใช่ "เนื่องในวโรกาส..."
*
ภาพถ่าย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ราชาศัพท์ว่า
“พระฉายาลักษณ์” ไม่ใช่ “พระบรมฉายาลักษณ์”
*
"จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล"อย่าใช้ผิดว่า พิธี "จุดทียนชัย" หรือ
"จุดเทียนชัยถวายพระพร"
*
▬หมายเหตุ: อ้างอิง สำนักราชบัณฑิตยสภา, สำนักพระราชวัง
และคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิตฯ ชี้แจงคำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: Sasi Aksarasrom ที่ 12, สิงหาคม, 2561, 07:40:28 AM
(http://upic.me/i/ov/2018-08-11_21-19-20.png) (http://upic.me/show/62160932)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิตฯ ชี้แจงคำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: พรานไพร ที่ 12, สิงหาคม, 2561, 11:16:11 PM

(https://image.ibb.co/hotjrU/38984972_2243142795726020_347651562224484352_n.jpg) (https://ibb.co/mADTJ9)


เป็นข้อมูลที่ดีมากๆเลยคุณแม่บ้าน...ราชบัณฑิตฯเข้าใจหาคำที่ลึกซึ้ง หากเทียบกับคำเก่าคือ "ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี" ถือว่า "ทีฆายุกา โหตุ นาถปรมราชินี" ความหมายลึกซึ้งกว่า เพียงแต่ความกระชับและเรียบง่ายสู้คำเดิมไม่ได้ ส่วนความหมาย
เพื่อถวายพระพรเหมือนกัน

มหาราชินี=มหา+ราชินี
นาถปรมราชินี=นาถ+ปรม+ราชินี...ถ้าแยกตามศัพท์บาลีจริงๆ จะได้ นาถา+ปรมา+ราชินี หรือ นาถา+ปรมราชินี
สนธิกันจึงเป็น "นาถปรมราชินี"

คำว่า"ปรมะ" นิยมเรียงไว้หน้าศัพท์ที่ตนขยาย หากแยกเป็น ๓ ศัพท์จริงๆ จะเรียงใหม่เป็น ปรมา+นาถา+ราชินี...แต่ความหมายจะไม่ตรงตามประเด็น จึงต้องทำเป็น ๒ ศัพท์ คือ นาถา+ปรมราชินี เพื่อให้ตรงคำว่า "บรมราชินี"(บรม มาจาก ปรมะ) เอาคำว่า นาถา มาเป็นคำวิเสสนะของคำว่า ราชินี เพียงคำเดียว และคำว่าทีฆายุกา ก็เป็นวิเสสนะเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่เป็นวิกติกัตตา ใน โหตุๆ เป็นกิริยาคุมประโยคและเป็นตัวบังคับให้แปลว่า "ขอจง..." อย่างในประโยคนี้แปลเป็นสำนวนไทยคือ "ขอจงทรงพระเจริญ(ด้วยอายุ)"

ทีฆายุกา มาจาก ทีฆะ(ยาว-ยืนยาว)+อายุ(อายุ) ถ้าใช้กับเพศชายจะเป็น ทีฆายุโก(ต่างกันตามลิงค์และการันต์ในภาษาบาลี) เช่นคำว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

นาถะ แปลว่า ที่พึ่ง, ปรมะ แปลว่า ยิ่ง

ทั้งคำว่า โหตุ และ ราชินี เป็นศัพท์ปฐมบุรุษในภาษาบาลีแล..(จะไม่เหมือนกับบุรุษในภาษาไทย)

พรานไพร



หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิตฯ ชี้แจงคำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: Sasi Aksarasrom ที่ 13, สิงหาคม, 2561, 07:37:01 AM
(http://upic.me/i/z9/2018-08-12_8-29-35.png) (http://upic.me/show/62160956)
(http://upic.me/i/te/2018-08-12_9-07-47...1.png) (http://upic.me/show/62161475)