บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา => ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม => ข้อความที่เริ่มโดย: บ้านกลอนน้อยฯ ที่ 01, ธันวาคม, 2561, 10:24:25 PM



หัวข้อ: - ภาษาธรรมภาษาคน -
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านกลอนน้อยฯ ที่ 01, ธันวาคม, 2561, 10:24:25 PM
(https://i.ibb.co/BHJD7dR/47096267-1109765249205681-7797001608167948288-n.jpg) (https://imgbb.com/)

- ภาษาธรรมภาษาคน -

ภาษาคนภาษาธรรมคำวัดบ้าน
มักกล่าวขานหลายอย่างต่างความหมาย
เช่น“จิต,เจตน์”คำคนอธิบาย
ความรวมคำจำง่ายว่าใจคน

อีกหลายคำความหมายว่า“ใจ”หมด
เป็นไวพจน์ความเหมือนอยู่เกลื่อนกล่น
เช่น“วิญญา,วิญญาณ,มาน,กมล”
“ยิหวา”ปน“แด,หัวใจ”ไปด้วยกัน

รวมความหมายว่า“รู้สึกรู้นึกคิด”
ภาษาธรรมเรียก“จิต”ไม่บิดผัน
ภาษาคนเรียก“ใจ”ใช้ผูกพัน
สัญญาณอันสื่อความหมายในทางเดียว

ภาษาคน“เจตน์,จินต์”เป็น“ใจ”ด้วย
คำพูดสวยงามไม่ใฝ่เฉลียว
ภาษาธรรม“เจตสิก”เกิดกลมเกลียว
คู่“จิต”เทียวเกิดดับอย่างฉับไว

ภาษาธรรม“เจตสิก”สมควรทราบ
คือ“บุญ,บาป”สับสนเกิดวนไหว
“เจตน์”คือธรรมคู่เหมือนเป็นเพื่อนใจ
ควรแยกใช้ “ภาษาธรรมภาษาคน”

@ เต็ม อภินันท์
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ / ๑๙๓๙ น.
ขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในอินเตอร์เน็ต