บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: นักเลงกลอน ที่ 08, กุมภาพันธ์, 2562, 12:48:28 AM



หัวข้อ: น้ำมัน ไม่ใช่น้ำเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นักเลงกลอน ที่ 08, กุมภาพันธ์, 2562, 12:48:28 AM



น้ำมัน ไม่ใช่น้ำเรา  :a006:
เขียนโดย สริญ
            เป็นเรื่องที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยถึงเรื่องอันตรายจากไขมันหรือคอเลสเตอรอล ที่เกิดจากไขมันสตว์  เช่น น้ำมันหมู ไขมันวัว  หรือไข่แดง  แล้ว โฆษณาเชิญชวนให้หันมาบริโภค
น้ำมันที่สะกัดจากพืช  เพราะว่าน้ำมันจากสัตว์เช่นน้ำมันหมูนั้น แชตู้เย็นเป็นไข ในขณะน้ำมันจากพืช
เช่นน้ำมันจากถั่วเหลือง น้ำมันปาล์มนั้น แช่ตู้เย็นไม่เป็นไข  มันก็เลยมีการรณรงค์ โฆษณาให้คนหันมา
บริโภคน้ำมันพืชกันเป็นหลัก  ในท้องตลาดก็มีการผลิตน้ำมันพืชออกมาขายเป็นหลัก อาทิเช่น น้ำมัน
ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน  น้ำมันปาล์ม  น้ำมันเมล็ดองุ่น(ของต่างประเทศเขาอาจจะ
มีน้ำมันชนิดอื่นๆอีก เช่นน้ำมันมะกอก แต่ของเราไม่ค่อยเห็นมี)
            ทีนี้ หลังจากที่คนไทย ถูกปลูกฝังว่า ถ้ารักสุขภาพ ให้กินน้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์
ฉะนั้นเวลาจะปรุงกับข้าวอะไร ไม่ว่าจะแกง จะเจียวจะทอด สิ่งแรกที่จะนึกถึงก่อนก็คือ น้ำมันพืช
ซึ่งมีใช้อยู่ทุกบ้านเรือน รวมถึงร้านขายอาหารต่างๆ
             แต่ว่า ในน้ำมันพืชที่เราคิดว่า แช่ตู้เย็นไม่เป็นไข และปลอดภัยนั้น จริงๆแล้ว มีอันตราย
บางอย่างแอบแฝงอยู่  และเป็นอันตรายกว่า การที่น้ำมันจับตัวเป็นไขมากนัก....
ผมเคยซื้อ น้ำมันพืชบางชนิด ที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่หมด จึงตั้งเก็บไว้ในห้องที่อากาศร้อนอบอ้าว
ปรากฏว่า ผ่านไปนานหลายเดือน  พอกลับมาหยิบดูขวดน้ำมันพืชนั้น  ปรากฏว่า เศษ ของน้ำมันพืช
ที่เราเทแล้วมันหกเปื้อนตามบริเวณ ด้านนอกของขวด เมื่อโดนความร้อนจากอากาศ นานๆ ผสมฝุ่นละออง
จากอากาศด้วย น้ำมันพืชเหล่านั้น ก็๋เสีย และกลายสภาพเป็น ของอีกชนิดหนึ่ง...  นั่น คือ
น้ำมันพืช ที่เริ่มหมดสภาพ เน่า เสีย เริ่มกลายสภาพ เป็นของเหลวเหรียวๆหนืดๆ และติดมือ
คล้ายกับกาวที่อยู่ในหน้าสก๊อตเทปที่เราใช้ติดสิ่งของต่างๆ  และที่เสียมานานแล้ว จะจับตัวเป็น
ของแข็ง เป็นเส้นยางยืด คล้ายๆกับยางพารา หรือยางหนังสติ๊กที่เราใช้รัดของ และจับยืดดูได้
เหมือนกับหนังสติ๊กไม่มีผิด  ไม่น่าเชื่อว่า น้ำมันพืชที่เราใช้บริโภคเป็นอาหาร พอหกและถูกอากาศร้อน+ฝุ่น
พอเสียหมดสภาพ จะเปลี่ยนไปเป็นเช่นนี้
ผมก็มานึกว่า นี่เรากินของเช่นนี้ เข้าไปสะสมไว้ในร่างกายของเราเอง ถ้ามัรเสีย และกลายเป็นเช่นนี้
ร่างกายของเราจะเป็นอย่างไร ?
น้ำมันพืชที่ผมเจอประสบการณ์ตามที่เล่ามา คือ น้ำมันพืช ที่ทำจากปาล์ม และน้ำมันพืช ที่ทำจากงา....

               เมื่อประมาณสองเดือนก่อน ผมไปเดินห้างดังๆระดับประเทศ เพื่อจะซื้อน้ำมันพืชชนิดหนึ่ง
เมื่อไปเลือกดู ก็เห็นมีน้ำมันพืชหลายชนิด หลายยี่ห้อ มีทั้งน้ำมันถั่ว เหลือ  น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดองุ่น
แต่พอหยิบขึ้นมาอ่านรายละเอียดที่ฉลากข้างขวด เดชะ... น้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันปาล์ม......
น้ำมันรำข้าวผสมน้ำปาล์ม.....น้ำมันจากเมล็ดองุ่นผสมน้ำมันปาล์ม.....น้ำมันดอกทานตะวันผสมน้ำมันปาล์ม...

ผมร้อง เฮ้ย   นี่มันเล่นกันแบบนี้เลยหรือวะ   ดีที่ยังมีน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก กับน้ำมันงา ที่ไม่ผสมอะไร
แต่น้ำมันงานนั้น ตัดไปได้เลยครับ ไม่เหมาะสำหรับการทานในปริมาณมากๆให้เข้าไปสะสมในร่างกาย
เพราะว่า ในยามที่โดนความร้อนและเสียหมดสภาพนั้น กลายเป็นยางยืดๆ เหนียวๆเหมือนกาวที่อยู่ในสก๊อตเทป
และเมื่อจับเป็นก้อนแข็งตัว กลายเป็นยืดๆเหนียวๆเหมือนยางหนังสติ๊ก เช่นเดียวกับน้ำมันปาล์ม
ส่วนน้ำมันอื่นๆ ไม่เคยลอง เนื่องจากกว่าจะกลายเป็นสภาพเหนียวๆยืดๆนี้ ต้องใช้เวลานานหลายเดือน
ก็คงจะไม่มีเวลามาลองแน่ๆ

               ก็เป็นที่รู้กันว่า น้ำมันพืชที่คิดว่าปลอดภัย เพราะแช่ตู้เย็นแล้วไม่เป็นไขนั้น ที่จริงมันไม่ปลอดภัย
และมันมีภัยเงียบที่อันตรายกว่าความเป็นไข  นั่นคือ น้ำมันปาล์มกับน้ำมันงา  กินเข้าไปแต่น้อย และขับถ่าย
ออกมาหมด หรือเผาผลาญเป็นพลังงานหมดไม่เป็นไร  แต่ถ้าสะสมไว้ในยร่างกายนานวันไป ถ้ามันเสีย
หรือเสื่อมสภาพ ก็ลองนึกถึง ยางหนังสติ๊ก หรือ กาวเหนียวๆที่อยู่ในสก๊อตเทป นั่นแหละ ใช่เลย....
               
              น้ำมัน  ไม่ใช่น้ำเรา   แต่มันผลิตออกมาขายให้เรากิน....
ในปัจจุบันนี้ มีงานวิจัยออกมาบอกว่า บริโภคน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว ปลอดภัยกว่า น้ำมันปาล์ม
 แล้วทีเคยบอกว่า ห้ามบริโภคไข่แดงนั้น ปัจจุบันก็มีงานวิจัย ออกมาหักล้างว่า คนเราควรบริโภคไข่ไก่
อย่างน้อยวันละสองฟอง
.....ก็ว่ากันไปนะครับ สังคมยุคนี้อยู่ยาก ขนาดกินผักผลไม้ คิดว่าจะปลอดภัย ยังต้องเสี่ยงอันตรายจาสารพิษ
แล้วจะไปเอาแน่อะไรกับน้ำมัน  ในเมื่อคนผลิตไม่ได้กิน คนกินไม่ใช่ผู้ผลิต  จนบางท่านบอกว่า กลับไป
บริโภคน้ำมันหมูแบบเดิมดีกว่า....


ริ  สิริรั

 :new10: