บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๑ -
นักองอิ่มถึงคราชะตาอับ ถูกญวนจับขังคุกผิดคาดหมาย “นกสองหัว,ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย” รอวันตายตามญาติ “กษัตรี”
เกิดขบถต่อเนื่องเมืองเขมร เพราะญวนเล่นไม่ซื่อย่ำศักดิ์ศรี “พระยาสังขโลก”ไวไม่รอรี พาครัวหนีพึ่งไทยพระตะบอง |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... นักองอิ่มจับตัวพระยาปลัด พระยายกกระบัตร และพระหลวงขุนนางเขมร กวาดต้อนครัวเขมรเมืองพระตะบองลงไปพนมเปญ ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบจากใบบอกเมืองพระตะบองแล้ว ตรัสให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเร่งรีบยกทัพไปเมืองพระตะบองทันที เรื่องราวจะเป็นจะเป้นอย่างไรต่อไป วันนี้มาอ่านพร้อม ๆ กันครับ....
“ลุจุลศักราช ๑๒๐๒ ปีชวด โทศก (พ.ศ. ๒๓๘๓) เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลแผ่นดินที่ ๓ ครั้งนั้นพระยา, พระ เขมรที่ตกอยู่ในค่ายญวน ณ เมืองพนมเปญนั้น หนีญวนกลับมายังเมืองพระตะบอง แจ้งความต่อเจ้าพระยาบดินทรเดชาว่า
 “ณ เดือนแปดขึ้นหกค่ำ พระเจ้าเวียดนามมินมางมีหนังสือรับสั่งมาถึงองเตียนกุนขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นแม่ทัพสิทธิขาดอยู่ ณ เมืองพนมเปญใจความว่า นักองแก้วปิตุจฉาองแป้นนั้นเป็นคนไม่ดี จะเลี้ยงไว้ไม่ได้ เพราะนักองแก้วใช้ให้หลวงเมืองใจไปหานักองแป้นเจ้าหญิง จะพาพวกเจ้านายฝ่ายเขมรหนีไปยังเมืองไทย นักองแป้นก็จัดการตระเตรียมการจะหนีญวนตามหลวงเมืองใจไปกับนักองแก้ว ญวนใช้คนสืบรู้ความลับของเขมรแล้ว จึงมาแจ้งแก่องเตียนกุน องเตียนกุนได้มีใบบอกขึ้นไปยังกรุงเว้กราบทูลพระเจ้าเวียดนาม โปรดให้องเตียนกุนจับนักองแป้นเจ้าหญิงกับนักองแก้วเจ้าขายปิตุจฉา และหลวงเมืองใจทั้งสามคนนั้นจำตรวนไว้ที่ค่ายเมืองพนมเปญก่อน แต่เจ้าหญิงน้องอีกสามองค์นั้นคือนักองมี นักองเภา นักองสงวน ให้ส่งไปไว้ในเมืองไซ่ง่อน กับนักเทศมารดานักองจันทร์ ๑ นักรดมารดานักองอิ่ม ๑ กับครอบครัวนักองอิ่มด้วย ก็ให้ส่งลงไปไว้เมืองไซ่ง่อนเหมือนกัน”
ครั้น ณ เดือนแปดขึ้นเก้าค่ำ องเตียนกุนให้องโหดึกคุมเจ้าชายเจ้าหญิงเขมรและครัวเจ้านายฝ่ายเขมรลงไปส่งยังองภูเทยที่เมืองไซ่ง่อนทั้งสิ้น ครั้งนั้นนักนางรศมารดานักองด้วงและหม่อมกลีบภรรยานักองด้วงก็ติดลงไปเมืองไซ่ง่อนด้วย แต่นักองแป้นนั้นจำตรวนไว้ในค่ายเมืองพนมเปญช้านาน ก็หายสูญเงียบไปไม่รู้ว่าไปข้างไหน ครั้นภายหลังสืบได้ความว่าองเตียนกุนใช้ให้พวกพาตัวนักองแป้นเจ้าหญิงลงเรือไปในเวลากลางคืน ล่องเรือไปถึงเมืองล่องโห้ ก็จับนักองแป้นลงกระสอบถ่วงน้ำเสียที่กลางแม่น้ำใหญ่ ความที่ญวนฆ่านักองแป้นนั้นเป็นการฆ่าลับ ๆ พวกเขมรจึงไม่รู้ (ได้รู้ความนี้ต่อภายหลัง)
 ครั้น ณ เดือนเก้าขึ้นค่ำ องเตียนกุนแจ้งความกับพระยาพระเขมรว่า “พระเจ้าเวียดนามมีหนังสือรับสั่งมาว่าจะทรงจัดการบ้านเมืองเขมรให้เป็นปรกติเรียบร้อยเสียให้สิ้นพระธุระ เพราะฉะนั้นจึงมีรับสั่งให้หาพระยา,พระเขมรผู้ใหญ่น้อยขึ้นไปเฝ้า ณ กรุงเว้ให้หมด จะทรงปรึกษาราชการและจะให้ขุนนางทำบัญชีเมืองถวายด้วย”
ครั้งนั้นองเตียนกุนได้เรียกพระยาพระเขมรมาพร้อมกันฟังหนังสือรับสั่งพระเจ้าเวียดนาม ที่รับสั่งให้หาพระยา,พระเขมรที่ยอมไปเฝ้าหกนายคือ ฟ้าทละหะ ๑ สมเด็จเจ้าพระยา ๑ พระยาจักรี ๑ พระยากลาโหม ๑ พระยาสุภาธิราช ๑ เจ้าพระยาราชไมตรี ๑ องเตียนกุนก็ส่งพระยา,พระเขมรผู้ใหญ่หกคนไปเฝ้าพระเจ้ากรุงเว้ แต่พระยาพระเขมรทั้งหลายนอกจากหกคนนั้น มีความสงสัยไม่ไว้ใจแก่ญวน กลัวญวนจะพูดล่อลวงให้ลงไปถึงกรุงเว้แล้วก็จะทำอันตรายต่าง ๆ จะสู้ก็ไม่ได้ จะหนีก็ไม่พ้นเป็นแน่ ขุนนางเขมรคงตายหมดในคราวนี้ แผ่นดินเขมรก็คงจะเป็นสิทธิ์แก่ญวน เพราะฉะนั้นพระยา,พระเขมรทั้งหลายจึงไม่ยอมลงไปเฝ้าพระเจ้าเวียดนาม ณ กรุงเว้ แกล้งพูดจาบิดพลิ้วต่าง ๆ ที่จะไม่ลงไปกรุงเว้อย่างเดียว
ครั้นองเตียนกุนได้ฟังเสียงพระยา,พระเขมรทั้งหลายพูดขัดขืนแข็งแรงไม่เฝ้าเป็นแน่แล้ว ครั้นจะข่มขืนจับกุมส่งไปก็กลัวจะเกิดการจลาจลรบพุ่งฆ่าฟันกันขึ้น เป็นศึกกลางเมืองจะระงับก็ยาก องเตียนกุนก็นิ่งไว้ ฝ่ายพระยา,พระเขมรทั้งหลายต่างคนต่างก็ลาองเตียนกุนออกจากที่ประชุมใหญ่ องเตียนกุนว่า
“ขอให้พระยา,พระเขมรรออยู่อีกสักหกชั่วโมง จะทำโต๊ะเลี้ยงให้เป็นการรื่นเริงชื่นบาน เพราะนาน ๆ มาพบกันครั้งหนึ่ง”
ฝ่ายพระยา,พระเขมรยิ่งตกใจกลัวมากไป เพราะรู้แน่เข้าใจว่า “ถ้าจะอยู่กินโต๊ะเมื่อใดก็เหมือนจะอยู่รอหาความตาย พาชีวิตมาแลกกับของกินของญวนเป็นแน่ พระยา,พระเขมรทั้งหลายมิได้ตอบองเตียนกุนประการใด รีบเดินกลับไปบ้านเมืองแห่งตนทุกคน” ฝ่ายองเตียนกุนก็รู้อัชฌาสัยเขมรว่า เขารู้ตัวแล้วคงจะคิดต่อสู้เป็นแน่ แต่ยังไม่มีเหตุก่อนจะลงมือทำการยังไม่ได้ เพราะฉะนั้นองเตียนกุนจึงได้นิ่งสงบรอไว้ก่อน แต่พอรุ่งขึ้นอีกสองวันถึง ณ เดือนเก้าแรมสามค่ำ พระยา,พระเขมรทั้งหลายคิดพร้อมใจกันทำการกำเริบเป็นขบถต่อญวนขึ้นพร้อมกันทุกบ้านทุกเมือง เขมรจับญวนเป็นที่กองทัพรักษาบ้านเมืองฆ่าเสียบ้าง และจับญวนลูกค้าพานิชฆ่าเสียบ้าง และจับญวนเป็นจำตะโหงกและจำขื่อจำตรวน ส่งมาให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองพระตะบองบ้าง จับส่งไปให้พระยาราชนิกูลที่เมืองระสือบ้าง ครั้งนั้นเขมรกำเริบลุกขึ้นทุกบ้านทุกเมืองฆ่าญวนตายเสียมากนัก ญวนแม่ทัพจะปราบปรามก็ไม่หยุด เพราะเป็นการไม่รู้ตัว
 ครั้น ณ เดือนสิบขึ้นห้าค่ำ พระยาสังขโลกเจ้าเมืองโปริสาดพาครอบครัวอพยพเดินบกเข้ามาหาเจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทร์เดชาให้ล่ามถามพระยาสังขโลกว่า
“ได้รับความเดือดร้อนประการใด จึงพาครอบครัวอพยพทิ้งเมืองเสียเข้ามายังเมืองพระตะบอง”
 พระยาสังขโลกกราบเรียนว่า “นักองอิ่มพาครอบครัวหนีออกจากเมืองพระตะบองไปถึงเมืองโปริสาด องอันภู่เป็นแม่ทัพอยู่ที่เมืองโปริสาดนั้น จัดให้องญวนนายทัพคุมไพร่ญวนห้าร้อยคน คุมครอบครัวนักองอิ่มลงไปส่งยังเมืองพนมเปญ แล้วองอันภู่แม่ทัพเมืองโปริสาดนั้นไม่ไว้ใจพระยาสังขโลกและพระยา,พระเขมรในเมืองโปริสาดเลย แต่งให้นายทัพนายกองญวนคุมไพร่ญวนเที่ยวจุกช่องล้อมวงทุกด้านทุกทาง คุมเชิงพวกเขมรอยู่เสมอ แล้วองอันภู่กะเกณฑ์เขมรนายไพร่ใช้ราชการทั้งกลางวันกลางคืน และกดขี่ข่มเหงเฆี่ยนตีไพร่ได้ความเดือดร้อนยิ่งนัก ชั้นแต่เกลือก็ชั่งขายให้กินเสมอ ไพร่พลได้ความอดอยากซูบผอมลงมาก จึงได้หนีมาหาความร่มเย็นเป็นที่พึ่งพอพ้นภัย
 แล้วพระยาสังขโลกให้การต่อไปว่า “นักองอิ่มลงไปเมืองพนมเปญนั้น องเตียนกุนก็หาได้ยกยองนักองอิ่มขึ้นเป็นเจ้านายไม่ ญวนเรียกนักองอิ่มว่าอ้ายอิ่มและอ้ายนกสองหัวบ้าง แล้วองเตียนกุนส่งนักองอิ่มและครัวนักองอิ่มไปไว้เมืองไซ่ง่อนพร้อมกับกรมการผู้ใหญ่เมืองพระตะบองแล้ว องเตียนกุนก็ฆ่าขุนนางกรมการผู้น้อยเมืองพระตะบองเสียที่เมืองพนมเปญถึงสิบคน เพราะเหตุที่ดึงดื้อขัดขืนไม่ตามใจองญวน ก็ฆ่าเสียสิบคนพร้อมกับนักองแป้นเจ้าผู้หญิงด้วยแล้ว เขมรคนใช้ของนักองอิ่มหนีมาจากเมืองไซ่ง่อนมาหาพระยาสังขโลก แจ้งความว่า พระเจ้าเวียดนามมีหนังสือรับสั่งมาถึงแม่ทัพใหญ่ที่เมืองไซ่ง่อนให้ส่งนักองอิ่ม ๑ พระยาปลัด ๑ พระยายกกระบัตร ๑ ฟ้าทลหะ ๑ สมเด็จเจ้าพระยา ๑ พระยาจักรี ๑ พระยากลาโหม ๑ พระยาสุภาธิราช ๑ เจ้าพระยาราชไมตรี ๑ พระยาราชเดชะ ๑ พระยามหามนตรี ๑ พระศาสตราฤทธิรงค์ ๑ พระมนตรีเสน่หา ๑ พระมหาเดชา ๑ พระนราธิราชเรืองฤทธิ ๑ รวม ๑๕ คนนี้ให้ส่งขึ้นไปจำคุกไว้ ณ กรุงเว้ ฝ่ายพระยาสังขโลกเห็นว่าไม่มีเจ้านายฝ่ายเขมรแล้วหาที่พึ่งมิได้ จึงอพยพครัวเข้ามาขอพระบารมีเป็นที่พึ่งต่อไป เมื่อพระยาสังขโลกจะมานั้นได้พูดจาชักชวนพระยา,พระเขมร และราษฎรพร้อมใจกันคิดอ่านจะอพยพเข้ามาเป็นอันมาก แต่จะมาพร้อมกับพระยาสังขโลกก็หาทันไม่ จะตามเข้ามาภายหลังเนือง ๆ กัน”....
การแปรภักดิ์ของนักองอิ่มให้ผลเป็นลบ แทนที่ญวนจะยกย่องกลับถูกประณามหยามหมิ่นเป็น “อ้ายนกสองหัว” สุดท้ายถูกส่งไปขังคุกไว้ที่กรุงเว้ ญวนฆ่านักองแป้นเจ้าแผ่นดินหญิงที่ตนเชิดเป็นหุ่นนั้น นัยว่าพระนางไม่ยอมเป็นหุ่นเชิดของญวน พระยาสังขโลกเป็นหัวหอกในการอพยพชาวเขมรเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม การจลาจลเกิดขึ้นทุกบ้านทุกเมืองในเขมรแล้ว เรื่องจะเป็นไปอย่างไร ไว้มาอ่านกันต่อครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, ปิ่นมุก, กร กรวิชญ์, ก้าง ปลาทู, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๒ -
พระยาเขมรชักชวนฆ่าญวนบ้าง เป็นการล้างแค้นญวนผู้ผยอง ยกเข้าตีโปริสาดคาดคืนครอง ญวนกลับป้องกันได้ไม่เสียเมือง
เขมรขอไทยส่งนักองด้วง จากเมืองหลวงเป็นเจ้าไม่เอาเรื่อง ให้เขมรมีหลักยึดไม่ฝืดเคือง เพื่อปลดเปลื้องอำนาจอุบาทว์ญวน |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... พระยาสังขโลกเจ้าเมืองโปริสาดพาครัวหนีเข้าเมืองพระตะบอง ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยาม บอกเล่าเรื่องราวในกัมพูชาที่ญวนกดขี่ข่มเหงรังแกเขมร ฆ่านักองแป้นกษัตรีกัมพูชาและขุนนางเขมรจำนวนมาก สำหรับนักองอิ่มนั้นญวนมิได้ยกย่องให้เป็นเจ้าเขมรตามความใฝ่ฝันของนักองอิ่ม องเตียนกุนเรียกอ้ายอิ่มนกสองหัว และล่าสุดพระเจ้าเวียดนามมินมางสั่งให้องเตียนกุนส่งตัวนักองอิ่มพร้อมพวกไปขังไว้ในคุกที่กรุงเว้ ขุนนางเขมรตามหัวเมืองต่าง ๆ พากันเป็นขบถก่อการจลาจลขึ้นทุกบ้านทุกเมืองแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไร มาอ่านต่อไปพร้อม ๆ กันครับ
 “ขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชา ถามพระยาสังขโลกต่อไปว่า “หัวเมืองขึ้นกับเมืองเขมรมีกี่เมือง เจ้าเมืองชื่อใดบ้าง อยากรู้”
พระยาสังขโลกราบเรียนว่า “ข้างตะวันออก ๑๔ เมือง เมืองนครวัดพระยานครราชาเป็นเจ้าเมือง เมืองกำพงสวายเจ้าเมืองชื่อพระยาเดโช เมืองไพรกระดีเจ้าเมืองชื่อพระยามนตรีเสน่หา พระยาแสนทองฟ้าเจ้าเมืองโคกแสะ พระยาเพชรเดโชเป็นเจ้าเมืองเชิงไพร พระยาราชาธิราชเป็นเจ้าเมืองสะตึงตรอง พระยาราชเสน่หาเป็นเจ้าเมืองสมบุก พระยาเทพวรชุนเป็นเจ้าเมืองขาโขงขมุม พระยามนตรีสงครามเป็นเจ้าเมืองไพรระแวง พระยาธรรมาเดโชเป็นเจ้าเมืองบาพนม พระยาสงครามธิบดีเป็นเจ้าเมืองสวายทราบ พระยาจักราธิราชเป็นเจ้าเมืองลำดวน รวมหัวเมืองข้างตะวันออก ๑๔ หัวเมืองเท่านี้ แต่เมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นกับเมืองทั้ง ๑๔ นี้มีอีกมากมายหลายสิบเมือง หัวเมืองใหญ่ฝ่ายตะวันตกนั้นมี ๑๖ เมืองคือ พระยามโนไมตรีเป็นเจ้าเมืองอุดงคฤๅไชย พระยาสังขโลกเป็นเจ้าเมืองโปริสาด พระยาชำนิสงครามเป็นเจ้าเมืองตะครัว พระยาเสนาสงครามเป็นเจ้าเมืองตรอง พระยายศเดชาเป็นเจ้าเมืองขลุง พระยาเสนาธิบดีเป็นเจ้าเมืองบริบูรณ์ พระยาเสน่หาเสนาเป็นเจ้าเมืองละแวก พระยาอุทัยธิราชเป็นเจ้าเมืองสำโรงทอง พระยาราชาไมตรีเป็นเจ้าเมืองพนมเปญ พระยาวงศานุชิตเป็นเจ้าเมืองบาที พระยาไชยโยคเป็นเจ้าเมืองไพรกระบาท พระยาราชเสน่หาเป็นเจ้าเมืองกำพงโสม พระยาเสนานุชิตเป็นเจ้าเมืองกำปอด พระยาโยธาธิบดีเป็นเจ้าเมืองบันทยามาศ พระยาพิษณุโลกเป็นเจ้าเมืองเชิงกระชุม พระยาวดีวงศาเป็นเจ้าเมืองปาศักดิ์ รวมหัวเมืองใหญ่ฝ่ายตะวันตก ๑๖ เมืองเท่านี้ แล้วมีเมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นแก่เมืองทั้ง ๑๖ หัวเมืองนี้มีอีกหลายสิบเมือง รวมทั้งข้างตะวันตกและข้างตะวันออกเป็นหัวเมืองใหญ่สามสิบเมือง เจ้าเมืองเขมรทั้งสามสิบเมืองนี้มีส่วยสาอากรขึ้นเป็นกำลังราชการแผ่นดินทุกเมืองด้วยกัน”
 เจ้าพระยาบดินทรเดชาสั่งให้พระยาสังขโลก กับพระมหาดไทย หลวงราชมานู สามนายออกไปเมืองระสือ ช่วยคิดราชการกับพระยาณรงค์วิไชย พระอัครเนศร พระนเรนทรโยธาข้าหลวงซึ่งตั้งรักษาเมืองระสืออยู่นั้น ให้ช่วยกันเกลี้ยกล่อมพวกครอบครัวเขมรที่จะสวามิภักดิ์เข้ามาให้รับไว้ทำนุบำรุงเป็นกำลังต่อไป
 ฝ่ายองอันภู่แม่ทัพญวน ซึ่งรักษาเมืองโปริสาดนั้น เห็นว่าพระยาสังขโลกเจ้าเมืองโปริสาดอพยพครอบครัวหนีไปแล้ว จึงตั้งพระยาพิบูลยราชมาเป็นเจ้าเมืองโปริสาดตอไป พระยาวิบูลยราชไม่สมัครอยู่กับญวน จึงพาครอบครัวเขมรหนีออกจากเมืองโปริสาดไปอยู่ในป่า ครั้งนั้นองอันภู่จึงบอกข่าวไปยังเมืองพนมเปญ ให้องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ทราบ องเตียนกุนทราบแล้วจึงตั้งพระยาสุริยวงศาธิราชเขมรเก่ามาแต่เมืองพนมเปญให้มาเป็นเจ้าเมืองโปริสาดอีก พระยาสุริยวงศาธิราชเจ้าเมืองโปริสาดใหม่ไม่เต็มใจอยู่กับญวนอีก จึงพาครอบครัวหนีออกจากเมืองโปริสาดเข้าป่าไปอยู่กับพระยาวิบูลยราชเจ้าเมืองโปริสาดคนก่อน พระยาสุริยวงศาธิราชกับพระยาวิบูลยราชคิดกันไปชักชวนพระยากุเชนทรานายกเขมร ซึ่งมีไพร่พลพาหนะมาตั้งอยู่ในป่าช้านาน จะยกกองทัพใหญ่มาจับญวนที่ในเมืองโปริสาดฆ่าเสียให้หมด เป็นการตอบแทนแก้แค้นญวนบ้าง ที่ญวนทำแก่เขมรให้ได้ความเดือดร้อน เมื่อพระยากุเชนทรานายก พระยาสุริยวงศาธิราช พระยาวิบูลยราช ยกทัพใหญ่มาตีเมืองโปริสาดนั้น เขมรชาวเมืองหนีออกหากองทัพเสมอเนือง ๆ ญวนก็จัดให้ขุนนางญวนคุมกำกับทัพเขมรออกต่อสู้กับทัพพระยากุเชนทรราชนายก ยังรบกันอยู่ทุกวัน เพราะญวนมีกระสุนดินดำบริบูรณ์ ฝ่ายเขมรขัดลูกกระสุนดินดำ จึงตีเมืองโปริสาดหาได้ไม่ องอันภู่ก็แต่งหนังสือไปแจ้งความให้องเตียนกุนแม่ทัพญวนทราบว่า “เมืองโปริสาดนั้นเขมรกลับใจเป็นขบถลุกลามรบกัน” องเตียนกุนจึงแต่งให้องเดดกเป็นแม่ทัพคุมไพร่ญวน ๕,๐๐๐ ยกมาช่วยป้องกันเมืองโปริสาดไว้ได้ หาแตกแก่เขมรไม่
ครั้งนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือบอกให้หลวงเทเพนทร์ถือเข้ามายังกรุงเทพฯ ใจความว่า
 “บัดนี้บ้านเมืองเขมรเกิดการจลาจลขึ้นทุกแห่งทุกตำบล ไพร่พลเมืองเขมรฆ่าญวนตายเนือง ๆ และพระยาพระเขมรก็ยกทัพมาสู้รบกับญวนเนือง ๆ ฝ่ายญวนมีใจโกรธเขมรยิ่งนัก จะยกทัพใหญ่มาล้างผลาญเขมรอีกต่อไป กับสืบข่าวราชการฝ่ายญวนได้ความว่า ญวนตระเตรียมการรบโดยเป็นปี ตั้งต่อเรือรบใหญ่น้อยไว้มากหลายร้อยลำ แล้วถ่ายลำเลียงเสบียงอาหารมาไว้ตามหัวเมืองรายทางมากแล้ว และสะสมได้ข้าวเกลือมาไว้ในยุ้งฉางทุกเมือง องเตียนกุนแจ้งความต่อพระยาพระเขมรว่าจะยกกอทัพใหญ่มาตีเมืองระสือ เมืองนครเสียมราฐ เมืองพระตะบอง ในต้นฤดูน้ำมากเดือน ๑๑ หรือเดือน ๑๒ พระพระยาเขมรเก่าที่ตกไปอยู่กับญวนก็กลับมาหาไทยมากหลายนานแล้ว บัดนี้พระยาพระเขมรเก่าใหม่พร้อมใจกันทำเรื่องราวมายื่นขอให้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอนักพระองด้วงออกไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร ที่เมืองเขมรไม่มีเจ้านายแล้ว นักพระองอิ่มต้องถูกจำตรวนอยู่ที่เมืองเว้ จะตายเป็นฉันใดก็ไม่แจ้ง จึงได้ขอนักพระองด้วงออกไปปกครองบ้านเมืองเป็นที่นับถือของพวกเขมรต่อไป แล้วพระยาพระเขมรที่ตั้งซุ่มซ่อนอยู่ในป่ามีกำลังวังชามากบ้างน้อยบ้าง ก็แต่งคนมาแจ้งความว่า ถ้านักพระองค์ด้วงมาเป็นเจ้านายฝ่ายเขมรเมื่อใดแล้ว พระยาพระเขมรที่หนีญวนมาซุ่มอยู่ในป่าดงมีไพร่พลมากทุก ๆ กอง กองละหลายพันรวมทั้งสิ้นสักสี่หมื่น ก็จะเข้ามาขออาสาทำราชการกับนักพระองด้วงตอไป แล้วจะขออาสาไปรบญวนแก้ฝีมือญวนด้วย........”
 เป็นอันรู้ได้ว่า ยามนั้นหัวเมืองเขมรฝ่ายนอกที่เป็นเมืองใหญ่ๆทั้งหมดมี ๓๐ หัวเมือง และยังมีเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งเป็นกิ่งก้านของเมืองใหญ่อีกหลายสิบเมือง ล้วนอยู่ในความครอบงำของญวนทั้งสิ้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาสืบข่าวจนได้ราชการแน่ชัดแล้วว่า ญวนกำลังเตรียมทำศึกใหญ่เป็นแรมปีในเขมร แยกเข้าตีเมืองระสือ นครเสียมราฐ และพระตะบองในราวเดือน ๑๑-๑๒ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก จึงมีใบบอกเข้ากรุงเทพฯ เรื่องราวจะดำเนินไปอย่างไร ค่อยมาอ่านกันต่อครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : ชลนา ทิชากร, Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, น้ำหนาว, ก้าง ปลาทู, กร กรวิชญ์, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๓ -
เขมรลุกฮือแพร่แผ่ขยาย ตีเผาค่ายเวียดนามลามหลายส่วน ฆ่าผ่าอกตกตายมิให้กวน ตั้งกระบวนการขับฆ่าจับตาย
แม่ทัพญวนบุ่มบ่ามยกสามทัพ ถูกตียับเยินแย่ยันแพ้พ่าย โกรธเขมรเกินเก็บความเจ็บอาย สั่งทำลายทัพหลักพรรคพวกตน |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... พระยาสังขโลกกราบเรียนให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาทราบว่า ยามนั้นหัวเมืองเขมรฝ่ายนอกที่เป็นเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหมดมี ๓๐ หัวเมือง และยังมีเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งเป็นกิ่งก้านของเมืองใหญ่อีกหลายสิบเมือง ล้วนอยู่ในความครอบงำของญวนทั้งสิ้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาสืบข่าวจนได้ราชการแน่ชัดแล้วว่า ญวนกำลังเตรียมทำศึกใหญ่เป็นแรมปีในเขมร แยกเข้าตีเมืองระสือ นครเสียมราฐ และพระตะบอง ในราวเดือน ๑๑-๑๒ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก จึงมีใบบอกเข้ากรุงเทพฯ กราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ความในใบบอกนั้นยังให้อ่านไม่จบ วันนี้มาอ่านกันต่อครับ.....
 “เพราะเขมรโกรธญวนที่ฆ่าเจ้าหญิงและเจ้าชายที่หาความผิดมิได้นั้น จึงจะแก้แค้นญวนให้ได้ เพราะฉะนั้นเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า ราชการทัพศึกซึ่งจะทำแก่ญวนครั้งนี้เห็นมีโอกาสเป็นท่วงทีอยู่มาก ควรจะรีบร้อนทำการตีบ้านเมืองญวนมาทูลเกล้าฯถวาย ถึงมาทว่าไม่ได้เมืองญวน ก็คงจะได้เมืองเขมรคืนมาขึ้นไทยทั้งสิ้น คงจะไม่ให้ญวนทำอำนาจครอบงำเมืองเขมรต่อไปได้อีกเป็นแน่ แต่ยังไม่ไว้ใจแก่ราชการ จึงได้มีตราเกณฑ์กองทัพหัวเมืองลาวทางตะวันออกเพิ่มเติมมาอีก จะได้เป็นกำลังแก่ราชการครั้งนี้ด้วย
 เกณฑ์เมืองสุรินทร์นายไพร่ ๒,๙๐๐ คน เมืองสังขบุรีนายไพร่ ๑,๕๐๐ คน ทั้งสองเมืองนั้นให้ยกมาช่วยพระยาราชนิกูลรักษาเมืองนครเสียมราฐ
เกณฑ์ไพร่พลเมืองสุวรรณภูมินายไพร่ ๒,๖๐๐ คน เมืองยโสธรนายไพร่ ๑,๕๐๐ คน เมืองร้อยเอ็ดนายไพร่ ๒,๐๐๐ คน เมืองขอนแก่นนายไพร่ ๔๕๐ คน ทั้งสี่เมืองนี้ให้ยกไปช่วยพระยาราชฤทธิรณรงค์แขกจามปาเมืองปักยองปากน้ำตึกโชเมืองมงคลบุรี
เกณฑ์ไพร่พลเมืองภูเขียว ๑,๐๐๐ คน เมืองพิมายนางรอง ๑,๐๐๐ คน ทั้งสามเมืองนี้ให้ยกไปช่วยหลวงคชลักษณ์รักษาเมืองพัชโลงแขวงเมืองโปริสาด
เกณฑ์ไพร่พลเมืองนครราชสีมาและเมืองขึ้นเมืองนครราชสีมาเป็นคน ๕,๐๐๐ ให้ยกไปช่วยพระพรหมบริรักษ์รักษาเมืองระสือบ้าง ให้แบ่งคนในกองทัพเมืองนครราชสีมาออกครึ่งหนึ่งไปช่วยพระพิเรนทรเทพรักษาค่ายกะพงปรักบ้าง
แล้วได้เกณฑ์เขมรป่าดงเมืองขุขันบุรี ๔,๐๐๐ คน เมืองศีรษะเกษ ๓,๓๐๐ คน เมืองนครจำปาศักดิ์ ๕,๐๐๐ คนเมืองศรีทันดร ๑,๕๐๐ คน เมืองแสนปาง ๘๐๐ คน เมืองเชียงแตง ๖๐๐ คน เมืองเดชอุดม ๑,๕๐๐ คน เมืองไชยบุรี ๑,๓๐๐ คน เมืองเขมาท่าตอ ๑,๔๐๐ คน เมืองอัตปือ ๓๐๐ คน เมืองลาวด้วย คือ เมืองอุบลราชธานี ๔,๓๐๐ คน เมืองเขมราฐ ๑,๗๐๐ คน เมืองมุกดาหาร ๑,๓๐๐ คน เมืองนครพนม ๑,๐๐๐ คน เมืองขึ้นเมืองนครพนม ๑,๕๐๐ คน เมืองสกลนคร ๑,๓๐๐ คน เมืองกาฬสินธุ์ ๙๐๐ คน เมืองหนองละหาร ๑,๖๐๐ คน เมืองหนองคาย ๒,๐๐๐ คน เมืองปากเหียง ๕๐๐ คน รวมเมืองเขมรป่าดงและลาวตะวันออกเข้ากันเป็น ๒๐ เมือง เกณฑ์ตระเตรียมไว้อีกพวกหนึ่ง ถ้ามีราชการศึกกับญวนหนักแน่นประการใดจะได้เรียกไพร่พลมาเข้ากองทัพเพิ่มเติมเป็นกำลังราชการสงครามต่อไป รวมไพร่พลหัวเมืองทางตะวันออก ๓๐ เมืองเป็นคน ๕๓,๗๕๐ คน”
(ซึ่งกล่าวจำนวนผู้คนไว้ถ้วนถี่ตามบัญชีตารางเกณฑ์นั้นด้วยเหตุใด? ขอตอบว่ากล่าวให้แน่นอนทั้งนี้ เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านผู้ฟังทราบกำหนดไพร่บ้านพลเมือง ซึ่งเป็นข้าขอบขัณฑเสมาอาณาจักรกรุงสยาม แต่ทางตะวันออกทางเดียวยังมีผู้คนถึงเพียงนี้ จะได้เห็นพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ ปรากฏเป็นมหัศจรรย์ประจักษ์พระเดชานุภาพด้วย กับจะได้รู้กำลังเมืองไทยมีผู้คนเท่าไร พอเป็นทางราชการแด่ท่านผู้จะทำราชการภายหน้าต่อไปได้)
 แต่กองทัพหัวเมืองไทยฝ่ายเมืองที่โปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ครั้งนี้นั้น รามัญ ๕,๐๐๐ ไทยในกรุง ๕,๐๐๐ ไทยหัวเมืองหมื่นเศษ รวม ๒๑,๖๐๐ คน คือเมืองกรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองพรหม เมืองอินทร เมืองชัยนาท เมืองนครสวรรค์ เมืองสิงหบุรี เมืองสรรคบุรี เมืองอุทัยธานี เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองสระบุรี เมืองลพบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองวิเชียร เมืองฉะเชิงเทรา เมืองกบินทร์บุรี เมืองปราจีนบุรี เมืองนครนายก เมืองพนัสนิคม รวม ๒๐ เมือง กับขอพระราชทานเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (ปาน) บุตรเขยข้าพระพุทธเจ้า ออกมาช่วยคิดราชการทำศึกกับญวน กับขอพระยา,พระ,หลวง ในกรุงและหัวเมืองที่ได้เคยเป็นนายทัพนายกองมาด้วยกันแต่ชั้นก่อน ๆ ออกมาใช้สอยจึงจะได้ราชการคล่องแคล่ว กับข้าราชการในพระราชวังบวรฯ นั้นมาใช้สอยกล้าหาญยิ่งนัก เพราะเคยทัพเคยศึกมามากแล้ว ตลอดจนมหาดเล็กหุ้มแพรก็เข้าใจเคยการทัพศึกมาก ขอพระราชทานให้ออกมาถึงเมืองพระตะบองในข้างขึ้นเดือนสิบเอ็ดอ่อน ๆ ถ้ามาถึงในข้างแรมเดือนสิบยิ่งดีนัก จะได้ตระเตรียมการแต่เนิ่น ๆ และขอรับพระราชทานปืนจ่ารงค์ ๒๐๐ บอก ปืนหามแล่น ๒,๐๐๐ บอก ปืนเล็กคาบศิลา ๒๐,๐๐๐ บอก ปืนเล็กอย่างใหม่หมื่นบอก ปืนหลักหลังช้างทำลายค่าย ๒,๐๐๐ บอก ปืนสันหลังม้า ๕,๐๐๐ บอก กับกระสุนดินดำศิลาปากนกสำหรับหน้าเพลิงปืนด้วย แต่หอกดาบง้าวนั้นได้สร้างขึ้นที่เมืองเขมรมีพอใช้ราชการแล้ว ๖๐,๐๐๐ เล่ม ราชการครั้งนี้เป็นท่วงทีหนักหนา เป็นช่องทางที่จะทำแก่ญวนได้ถนัด ขอพระราชทานเครื่องเสื้อผ้าพลรบออกมาด้วย เพราะไพร่พลหัวเมืองมีเครื่องใช้แต่งกายเร่อ ๆ ร่า ๆ น่าเกลียด เ ป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศแผ่นดินกรุงเทพฯ และพวกญวนจะหมิ่นประมาทว่าไทยไม่มีเครื่องแต่งกายทหาร ขอพระราชทานเครื่องเสื้อผ้าแต่งกายทหารนั้นให้สีต่าง ๆ กันเป็นพวก ๆ จะได้เป็นที่หมายสังเกตไพร่พลได้ง่ายเป็นกอง ๆ
อนึ่งพระยาเดโชเขมรก็ได้นำเรือรบมาให้มากพอราชการแล้ว ราชการจะทำแก่ญวนคราวนี้เห็นมีช่องทางเมืองโปริสาด ๑ เมืองสะโตง ๑ ทางเมืองกำพงสวาย ๑ เป็นทางที่ญวนมาตั้งอยู่ก่อน
 ครั้นเมื่อเดือนเก้าเดือนสิบนั้น พวกเขมรคิดการพร้อมกันเป็นจลาจลกำเริบขึ้นทุกบ้านทุกเมือง เขมรยกเข้าจับญวนฆ่าตายและแตกหนีไปหลายบ้านหลายเมือง อนึ่ง เขมรเจ้าเมืองกำแพงขมุม ๑ เมืองไพรระแวง ๑ เมืองลำดวน ๑ เมืองสวายพาบ ๑ กับพวกแขกเขมรบ้านดงดำรีพร้อมกันกับเมืองทั้งสี่นั้น ยกกองทัพจู่โจมเข้าตีค่ายญวนที่ดงดำรีแตกหมด เขมรฆ่าญวนตายในค่ายและนอกค่ายดงดำรีครั้งนั้นประมาณห้าร้อยเศษ เขมรยกเลยไปรบญวนที่ตั้งอยู่ ณ เกาะใหญ่ นำไฟเผาที่อยู่อาศัยของญวนไหม้ขึ้นหมด ญวนตกใจไฟหนีออกจากที่โรงอาศัย เขมรก็พาช้างและกระบือไล่ญวน ญวนก็ลงน้ำว่ายวนเวียนอยู่มาก เขมรจึงไล่ยิงฟันแทงญวนตายในน้ำและบนบกที่เกาะนั้น ญวนตายสิ้นไม่เหลือเลยถึง ๓๖๐ คน แล้วเขมรก็ตีต่อไปตลอดถึงบ้านเปียมจอ แต่ที่บ้านเปียมจอนี้ญวนรู้ตัวก่อน จึงแตกหนีรอดไปได้มาก ที่หนีไมทันนั้นเขมรก็ฆ่าตาย ๔๖ คน แล้วเผายุ้งข้าวเกลือเสีย เก็บเครื่องอาวุธมาได้มาก จับได้ผู้หญิงญวนมากก็พามาใช้สอยที่บ้านเขมร แต่ชายที่จับเป็นได้ถ้าเป็นญวนแก่ชรา เขมรก็ฆ่าเสียหมด รับแต่ญวนชายฉกรรจ์ไว้ ๑๖๔ คน ส่งมาให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาบ้าง เขมรคุมไว้ใช้ให้เลี้ยงช้างม้าโคกระบือบ้าง แต่ตัดหูเสียทั้งสองข้างทุกคน เป็นการสัญญาว่า เชลยจับมาได้ใช้การงานหนักที่สุด แต่พวกแขกเขมรนั้นจับญวนเป็นได้พามาไว้แต่ผู้หญิงนั้น ถ้าเป็นชายฆ่าเสียหมด
 ครั้งนั้นองอันภู่แม่ทัพญวนใช้ให้พระยา,พระเขมรสามนายเป็นแม่ทัพ คือ พระยาวังภูมิ ๑ พระยาราชาเดชะ ๑ พระยาราชาไมตรี ๑ คุมไพร่พลเขมรที่อยู่ในอำนาจญวน ญวนกำกับมาด้วย แล้วญวนให้แขกจามชื่อแขกนอก ๑ แขกอินทรวิชัย ๑ คุมแขกจาม ๕๐๐ พระยา,พระเขมรคุมเขมร ๕๐๐ องหับเป็นผู้บังคับทั้งเขมรและแขกจามมีไพร่พลญวนมาด้วย ๕๐๐ รวมญวน ๕๐๐ เขมร ๕๐๐ แขกจาม ๕๐๐ รวมทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ คน ยกมารบเมืองสำโรงทอง
 ฝ่ายพระยาอุไทยธิราชเจ้าเมืองสำโรงทองฝีมือทัพศึกแกล้วกล้าสามารถหนัก จึงยกไพร่พลออกต่อสู้ญวนตั้งแต่เช้าจนเพลาเพล ตีญวนแตกหนีไปหมด ฆ่าญวนตาย ๑๑๐ คน ฆ่าเขมรแขกจามที่มาด้วยญวนนั้นตาย ๒๖๐ คน จับเป็นได้แต่แขกจามและเขมรในกองญวน ๑๔๐ คน ผ่าอกตายทั้งสิ้น จับตัวพระยาวังภูมิไว้ แต่พระยาราชาเดชะถูกปืนตายในที่รบ แต่พระยาราชาไมตรีหนีกลับไปหาญวน ญวนโกรธว่านำทัพไปแตกมา ให้ฆ่าพระยาราชาไมตรีเสียทั้งไพร่พลที่แตกทัพมาเท่าใด ญวนสั่งให้ฆ่าเสียสิ้น พระยาราชาไมตรีพร้อมกับไพร่พลเขมรเห็นว่า ญวนไม่เลี้ยงแล้วจะฆ่าเสียดังนั้น จึงพากันกำเริบลุกลามยกเข้าฆ่าญวนเสียบ้าง แล้วก็หนีมาหาพระยาอุไทยธิราช พระยาอุไทยธิราชสำคัญว่าพระยาราชาไมตรียกมาตีเมืองสำโรงทองอีก เพราะมีเครื่องอาวุธมาครบมือกัน ไม่ทันรู้เหตุการณ์นัก เมื่อพระยาราชาไมตรีมาใกล้เมืองสำโรงทองนั้น พระยาอุไทยธิราชก็สั่งให้นำปืนตับยิงไปถูกพระยาราชาไมตรีตาย ไพร่พลก็วางอาวุธเข้าหาโดยดี จึงรู้เหตุการณ์ว่าหนีญวนมา........
 ** เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบบังคมทูลถึงการเกณฑ์ไพร่พลหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อจะทำศึกใหญ่กับญวนอีกครั้งหนึ่ง ยังไม่ทันจะยกทัพใหญ่เข้าเขมร ภายในเมืองเขมรก็เกิดการจลาจล เขมรกำเริบรวมตัวกันยกเข้าโจมตีค่ายญวนและเข่นฆ่าญวนตายเป็นเบือ แม่ทัพญวนเมืองโปริสาดจัดทัพยกไปตีเมืองสำโรงทองก็พ่ายแพ้ยับเยิน แม่ทัพญวนสั่งฆ่าแม่ทัพและไพร่พลเขมรที่รบแพ้มา เป็นเหตุให้เขมรกำเริบลุกลามใหญ่ สงครามในเขมรเริ่มเข้มข้นขึ้นแล้ว ติดตามอ่านต่อไปนะครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ก้าง ปลาทู, เฒ่าธุลี, ปิ่นมุก, กร กรวิชญ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๔ -
องเตียนกุนจัดทัพแบบสมทบ ยกเข้ารบเขมรบ้างอย่างไร้ผล ถูกเขมรตีตายเสียไพร่พล ทัพปี้ป่นถูกหมิ่นญวนสิ้นเชิง
พระยาเขมรหลายเมืองแค้นเคืองหนัก ญวนมาพักพลมุ่งทำยุ่งเหยิง จึงตีญวนให้เตลิดไล่เปิดเปิง ไม่ปล่อยเหลิงลอยนวลกวนขะแมร์ |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... เจ้าเมืองเขมรสี่เมืองประกอบด้วยเมืองกำแพงขมุม เมืองไพรระแวง เมืองลำดวน เมืองสวายพาบ นำชาวเขมรยกเป็นกองทัพเข้าตีค่ายญวนที่ดงดำรี เข่นฆ่าเขมรตายไป ๕๐๐ คน แล้วยกเลยเข้าตี เผาค่ายญวนที่เกาะใหญ่ ฆ่าญวนตายเป็นอันมาก ที่จับเป็นได้ก็เลือกชายฉกรรจ์ไว้ใช้บ้าง ส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาบ้าง ที่เป็นชายชราก็ฆ่าเสียสิ้น ส่วนพวกแขกเขมรที่จับญวนผู้ชายได้นั้น ไม่เก็บไว้ใช้ แต่ฆ่าผ่าอกทิ้งเสียสิ้น ฝ่ายองอันภู่แม่ทัพญวนที่รักษาเมืองโปริสาดจัดทัพมีไพร่พล ๑,๕๐๐ เป็นญวน ๕๐๐ เขมร ๕๐๐ แขกจาม ๕๐๐ ญวนเป็นนายทัพใหญ่ยกไปตีเมืองสำโรงทอง พระยาอุไทยธิราชเจ้าเมืองนี้มีฝีมือเข้มแข็ง ยกทัพออกต่อสู้ ทัพญวนพ่ายแพ้ยับเยินแตกหนีไป แม่ทัพญวนเมืองโปริสาดโกรธแม่ทัพเขมรที่พ่ายแพ้กลับมา จึงสั่งฆ่าแม่ทัพและไพร่พลเสีย แต่พระยาราชาไมตรีและไพร่พลไม่ยอมให้ฆ่า จึงต่อสู้เข่นฆ่าญวนแล้วยกกลับไปหาพะยาอุไทยธิราช พะยาอุไทยธิราชเข้าใจผิดคิดว่า พระยาราชาไมตรียกมาตีเมืองสำโรงทองอีก จึงสั่งให้ทหารใช้ปืนยิงใส่ทัพพระยาราชาไมตรี พระยาราชาไมตรีถูกกระสุนปืนตาย..... วันนี้มาอ่านความกันต่อครับ
 “..........แล้วองเตียนกุนใช้ให้นายทัพญวนชื่อองเดโดยกวางคุมทัพญวนแขกจาม นายทัพญวนแขกจามชื่อว้ายเทียบดเป็นน้ององญวนชื่อเวียนไว้ คุมไพร่แขก ๘๐๐ ญวน ๕๐๐ รวม ๑,๓๐๐ คน ลงเรือรบแง่โอแง่ทราย ๒๐ ลำ เรือรบอย่างเล็ก ๓๐ ลำ รวม ๕๐ ลำ ยกมารบกับพระยาทิพยสงครามเขมร ณ บ้านฉนวน บ้านฉนวนได้แต่งกองทัพเขมรออกต่อสู้กับญวน ญวนแตกหนีบ้างตายในที่รบประมาณ ๘๐ เศษ จับเป็นได้ทั้งแขกจามและญวน ๔๖ คน ฆ่าเสียบ้าง พามาไว้บ้าง แล้วพระยาทิพยสงครามกับพระภักดีสงครามผู้บุตรชายใหญ่ ยกทัพเรือที่เก็บของญวนไว้ได้ ๒๖ ลำนั้น ไล่ติดตามทัพแขกและญวนไปจนถึงบ้านแขกชวาคลองหลวง พระยาทิพยสงครามสั่งให้พระภักดีสงครามผู้บุตรยกขึ้นบก นำไฟเผาบ้านเรือนพวกแขกชวาตามริมคลองทั้งสองฟากไหม้สิ้นไม่เหลือเลย แล้วตามไปตีแขกจามยวน แขกจามญวนกลัวกระโดดจากเรือหนีขึ้นบกบุกป่าไปทิ้งเรือเสียหมด พระยาทิพยสงรามก็เก็บเรือรบญวนเรือไล่ของญวนได้ทั้ง ๕๐ ลำ กลับมาจัดการรักษาบ้านฉนวนไว้รับญวนอีก ครั้งนั้นพระยาทิพยสงครามจับญวนแขกเชลยเป็นได้รวม ญวน ๑๖๘ คน แขกจาม ๓๘๖ คน รวม ๕๕๔ คน คุมไว้ในค่ายแล้วจะส่งไปให้แม่ทัพไทยทั้งสิ้น
 ฝ่ายพระยาราชเดชะเขมรกับพระอนุรักษ์เสนีผู้น้องภรรยา คุมกองทัพใหญ่ยกไปตีค่ายพนมเปญแตก ได้กวาดต้อนครอบครัวเมืองพนมเปญที่ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เลือกคัดแต่เขมรที่เป็นชายฉกรรจ์ได้ ๓,๓๒๖ คน แขกเขมรชายฉกรรจ์ ๑,๑๔๔ คน รวมเขมรและแขก ๔,๔๗๐ คน แต่ชายฉกรรจ์ ยังหญิงและลูกวิ่งลูกจูงและชายหญิงแก่ชรา รวม ๑๐๐,๐๐๐ คนเศษ ให้พระอุทัยวงศาธิราชคุมครอบครัวอยู่ก่อน แล้วให้ผ่อนเดินครัวมาตอภายหลัง แต่พระยาราชเดชะนั้นกวาดต้อนได้ไพร่พลเขมรแขกฉกรรจ์ ๔,๔๗๐ คน แล้วยกไปตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ริมฝั่งตำบลเจียนสวายเป็นที่มั่น แล้วยกทัพใหญ่ไปตีค่ายญวนที่ตำบลดำรี (คือที่โรงช้างแถว) ญวนต่อสู้อยู่ครู่หนึ่งก็แตกทุกค่าย เขมรฆ่าญวนประมาณ ๔๐๐ คน แล้วเก็บได้เรือรบญวนอย่างเรือแง่โอ ๗๐ ลำ ปืนใหญ่ ๕๐ บอก ปืนคาบศิลา ๑,๓๗๐ บอก ได้ดาบง้าวแป๊ะกั๊ก ๔,๒๖๐ เล่ม กระสุนดินดำพร้อมทั้งเสบียงอาหารด้วย จับญวนเชลยได้ ๑๘๙ คน แต่ญวนแม่ทัพชื่อองตือถูกปืนที่ท้องตลอดไปข้างหลังตายอยู่ในที่รบ ได้ศพมาผ่าอกเสียบไว้หน้าค่าย ญวนนอกนั้นก็แตกหนีไปสิ้น ๒,๐๐๐ เศษ ฝ่ายพระยาทิพยสงครามเขมรได้เรือรบของญวน ๕๐ ลำ แล้วให้พระภักดีสงครามผู้บุตรใหญ่ พระหฤทัยธิราชผู้บุตรรองทั้งสองคนคุมทัพเรือยกเป็นกองหน้า พระยาทิพยสงครามเป็นกองหนุน ยกลงไปตีค่ายญวนที่เมืองปาศักดิ์แตก ญวนตายประมาณ ๘๐ เศษ ที่เหลือก็ทิ้งค่ายหนีไปหมด พระยาทิพยสงครามได้เรือรบแง่โอของญวนจอดไว้หน้าค่าย ๗๐ ลำ มีปืนใหญ่ ๒๐๐ บอก ปืนเล็กคาบศิลา ๑,๔๐๐ บอ ก เก็บมาไว้ที่ค่ายบ้านฉนวน แล้วเผาเมืองปาศักดิ์เสียหมด
 ฝ่ายพระยาโยธาเสนาเขมรแม่กองอยู่ที่เมืองกำปอด คิดพร้อมใจด้วยพระยาภิมุขวงศา และ พระยาวิเศษโยธาธิราช และพระยาพระเขมรทั้งหลาย คุมไพร่พลเขมร ๒,๐๐๐ คน ยกกองทัพไปตีค่ายญวนที่ตำบลตำหนักจังเจอ ฆ่าญวนตายในที่รบ ๑๘๖ คน ญวนที่เหลือตายสู้รบอยู่วันกับคืนหนึ่งก็ทิ้งค่ายแตกหนีไปสิ้น พระยาโยธาเสนาเก็บได้เครื่องศาสตราวุธของญวนเป็นอันมาก
 แล้วพระยาโยธาเสนาแบ่งไพร่พล ๕๐๐ ให้พระยาภิมุขวงศาคุมเชลยญวนที่จับเป็นได้และเครื่องอาวุธไว้ให้ดี ส่วนพระยาโยธาเสนาแบ่งไพร่พล ๑,๕๐๐ คน ให้พระเมืองซ้ายเป็นนายทัพหน้า พระยาโยธาเสนาเป็นทัพหนุน ยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลริมฝั่งคลองลำภูราย หมายจะรบญวนอีก ไม่เห็นญวนยกมา พระยาโยธาว่ากับพระเมืองซ้ายว่า “อ้ายญวนมันไม่มารบเรา เราก็ต้องยกไปรบมันให้แตกไปให้หมดจงได้” พอพูดไม่ทันขาดคำลงได้ยินเสียงกลองศึกญวนตีเดินทัพมาข้างหลังค่าย พระยาโยธาเสนาก็ยกพลทหารแยกออกเป็นปีกกาโอบตีทัพญวนไปตั้งแต่เที่ยงจนพลบค่ำ ทัพญวนก็แตกถอยหนีไปหมด ญวนตายในขณะรบประมาณแต่ที่ได้เห็นศพ ๑๕๐ คน จับได้ช้าง ๑๘ ช้าง ม้า ๓๖ ม้า ปืนใหญ่หลังช้าง ๑๓ บอก ปืนเล็กคาบศิลา ๑๖๗ บอก ดาบง้าวสามร้อยแปดสิบหกเล่ม กลองศึก ๒ ใบ ม้าล่อ ๕ ใบ ธงรูปเสือและมังกร ๑๖ คัน ส่งมาให้แม่ทัพไทยเป็นของสำแดงฝีมือว่า เขมรกลับใจมาเข้ากับไทย ไม่ยอมเป็นข้าญวน จึงได้รบญวนแข็งแรงได้สิ่งของสำคัญมาเป็นกำนัลก็มาก
 ครั้น ณ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ ปีชวด โทศก พระยามโนสงคราม (ชื่อสุก) กับพระยามนตรีเสน่หา (ชื่อหนู) พระยามโนราชา (ชื่อสา) พร้อมกันกับกะลาภา ๑ คุมไพร่พลเขมรแขกจาม ๓,๐๐๐ คนเศษ ยกไปตีค่ายพระยาสุริยวงศ์เขมร (ชื่อเมียด) และพระยาพิษณุโลก (ชื่อเนือก) พระยาเขมรทั้งสองนี้อาสาญวน ญวนใช้ให้มาเป็นแม่ทัพตั้งรับค่ายพวกเขมรฝ่ายใต้และค่ายญวนอีกสามค่าย กองทัพพระยามโนสงคราม, พระยามโนราชา, พระยามนตรีเสน่หา เขมรสามพระยายกเข้าตีค่ายญวนและค่ายเขมรที่เมืองครั้งนั้นแตกทุกค่ายหนีไปหมด แล้วพระยาทั้งสามก็ตามลงไปตีญวนไล่ติดตามไปถึงค่ายกะพงปรักใหญ่จับได้ตัวพระพิษณุโลกเขมร (ชื่อเนือก) นายทัพของญวนมาได้ แล้วสั่งให้ตัดหูทั้งสองข้างส่งตัวไปให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาถามการ แต่พระยาสุริยวงศ์ (ชื่อเมียด) นั้นถูกปืนตายอยู่กับหลังช้าง องฮือแม่ทัพญวน ณ ค่ายเมืองครั้งนั้นก็ถูกกระสุนปืนลำบากหนีไปไม่ได้ เขมรจับตัวมาได้แต่ถูกเข่าถูกศอกมาตามทางยอก ๆ ถึงที่พักได้สองวันก็อาเจียนเป็นโลหิตออกมาสามครั้งก็ตาย จึงนำศพไปผ่าอกเสียบไว้หน้าค่าย
ครั้งรบค่ายที่เมืองครั้งนั้นญวนตายประมาณ ๕๐๐ คน ที่หนีไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ บางคนว่าตายกับหนีไปคนละครึ่ง แล้วพระยาเขมรทั้งสามคน ก็ยกทัพตามญวนลงไปตีค่ายกะพงเกษแตกอีก ฆ่าญวนตายประมาณ ๒๐๐ คนเศษ จับเป็นมาได้ ๑๒๐ คน แล้วยกเลยไปตีค่ายญวนที่กะพงบายอีกตำบลหนึ่ง ฆ่าญวนตาย ๑๕ คน ที่หนีไปได้มากเพราะรู้ตัว.......”
 ** อ่านเรื่องมาถึงตอนนี้หลายท่านคงจะคิดสงสัยนะว่า ไพร่พลกองทัพญวนในเขมรทำไมอ่อนแอนัก รบกับเขมรทีไร ตรงไหน ก็แพ้ทีนั้น ตรงนั้น ถูกเขมรฆ่าตายจนเบื่อจะนับศพแล้ว ฝ่ายเขมรนั้นเข้มแข็งจนผิดหูผิดตา ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะเขมรรบญวนด้วยแรงแค้นอาฆาตที่ญวนกดขี่ข่มเหงรังแกเขมรมากเกินไป จนถึงกับจับนักองแป้น กษัตรีกัมพูชา เอาแอบไปฆ่าถ่วงน้ำเสีย ทั้งยังพานักองทั้งหลายของเขมรไปกักขังไว้ที่เว้และไซ่ง่อนอีกด้วย ญวนพยายามทำลายล้างชาติเขมรอย่างเลือดเย็น เป็นเหตุให้เขมรเคียดแค้นชิงชังญวนเป็นที่สุด ยามรบญวนจึงรบด้วยแรงอาฆาตแค้น ญวนถูกเข่นฆ่าอย่างไร้ความปรานี ไทยยังไม่ทันได้กรีธาทัพเข้าเขมรเพื่อรบญวน แต่เขมรก็ลุกขึ้นไล่ตีญวนไปทุกบ้านทุกเมืองแล้ว ตอนต่อไปมาอ่านต่อว่า เขมรยกไปฆ่าญวนที่ใดอีกบ้างครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ก้าง ปลาทู, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก, ชลนา ทิชากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๔ -
เขมรเดือดเชือดญวนอยู่ป่วนปั่น จ้องฆ่าฟันกลุ้มรุมทั้งหนุ่มแก่ เพราะศรัทธาในญวนนั้นปรวนแปร ลางพ่ายแพ้ญวนเห็นเป็นแน่นอน
กองทัพไทยกรีธาเข้าเขมร ด้วยกรรมเวรแต่หลังสืบปางก่อน ให้เกิดมารบกันไม่หวั่นมรณ์ มิยอมอ่อนข้อข้นรณรงค์ |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... ..พระยาเจ้าเมืองเขมรทุกเมืองลุกฮือขึ้น พาไพร่พลเข้าตีค่ายญวนหลายค่ายหลายเมืองแตกยับเยิน ฆ่าญวนล้มตายเป็นอันมาก พระยาเจ้าเมืองคนสำคัญ ๆ เช่น พระยาทิพยสงครามและบุตร สามารถทำลายกองทัพขององเตียนกุนพ่ายแพ้ยับเยิน แล้วตามตีญวนแตกทำลายไปหลายค่าย พระยาโยธาเสนา พระยาภิมุขวงศา พระยาวิเศษโยธาธิราช แห่งเมืองกำปอด คบคิดกันตีค่ายญวนแตกทลาย ตามไล่ฆ่าญวนตายเป็นว่าเล่น พระยามโนสงคราม (สุก) พระยามนตรีเสน่หา (หนู) พระยามโนราชา(สา) ยกเข้าตีค่ายเขมรอาสาญวนสามค่ายแตก ทำลายฆ่าญวนและเขมรอาสาญวนเสียมาก ยังมีพระยาเจ้าเมืองเขมรคนสำคัญที่พาไพร่พลขับไล่เข่นฆ่าญวนอีกหลายท่าน เป็นใครบ้างมาอ่านกันต่อครับ...
 “ ฝ่ายพระยาโยธาเกรียงไกร ยกไพร่พล ๑,๒๐๐ คนไปรบญวนที่ตำหนักจังเจอ ฆ่าญวนตาย ๔๐ คน ที่เหลือนั้นแตกหนีไปหม ด จับได้ช้าง ๑๖ ช้าง ม้า ๓๖ ม้า และเครื่องศาสตราวุธมากทุกสิ่ง
ฝ่ายพระยาเชษฐาธิราชคุมไพร่พลเขมร ๖๐๐ คน ยกมาล้อมจับเจ้าเมืองกะพงเสียมที่ญวนให้มาตั้งอยู่นั้น ได้ตัวพระยานราธิบดีศรีสุริยวงศ์เจ้าเมืองกะพงเสียมไป แล้วก็ฆ่าเสียไม่เลี้ยงไว้ เพราะเป็นเขมรไปเข้ากับญวน แล้วล้อมจับญวนรักษาเมืองกะพงเสียมได้ ๑๓๐ คน ญวนไม่ทันรู้ตัว ไม่มีอาวุธ จึงไม่สู้รบ ยอมให้เขมรจับโดยดีทั้งร้อยสามสิบ พระยาเชษฐาธิราชสั่งให้พระนรินทราธิราช เลือกดูญวนที่แก่ชรา ๓๐ คน ตัดลิ้น ตัดหู ตัดมือ แล้วปล่อยให้ไปหาเจ้านายที่เมืองญวน ยังเหลืออยู่อีก ๑๐๐ คน ให้จำตรวนส่งไปยังค่ายใหญ่ใช้งานหนักที่สุด
ฝ่ายพระยาบรรพสรรพเจ้าเมืองเชิงป่า ยกเข้าล้อมญวนที่รักษาเมืองเชิงป่าในเวลากลางคืน จับญวนได้ ๓๐ คน ที่รู้ตัวก็ต่อสู้ตายในที่รบ นับศพญวนได้ ๕๐ ศพ ที่เหลือตาย ๒๖ คนก็หนีไป เขมรก็ตามจับได้ในเวลาเช้าทั้ง ๒๖ คน รวมญวน ๕๐ คน เลือกไว้ใช้ ๑๖ คน อีก ๓๔ คนตัดมือทั้งสองข้างและตัดหูตัดปากปล่อยไปหาเจ้านายมัน
 ครั้งนั้นพวกเขมรพร้อมใจกันรบกับญวนและจับญวนฆ่าเสียทุกบ้านทุกเมืองที่มีญวนอยู่ก็ฆ่าเสียสิ้น ชั้นแต่ไพร่บ้านพลเมืองราษฎรเขมรก็โกรธญวน จึงคุมกันเข้าเป็นหมวดเป็นกอง กองละ ๓๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง พากันเที่ยวไล่ฆ่าญวน ถ้าเห็นพวกญวนเดินมามาก เขมรชาวบ้านราษฎรน้อย ก็หลบหนีเสียหมด ครั้นเห็นพวกญวนเดินมาน้อยตัวกว่าเขมร เขมรก็พากันช่วยกลุ้มรุมฆ่าญวนตายเนือง ๆ ดังนี้เสมอมิได้ขาดสักวันหนึ่ง จนญวนหมดความคิดที่จะต่อสู้เขมร ญวนก็คับแค้นเข้าทุกที ต้องรักษาตัวอยู่แต่ในค่ายจนจะอดอาหารตายก็มีบ้าง ฝ่ายองอันภู่แลองเดดก แม่ทัพนายกองรักษาเมืองโปริสาดนั้น ก็สั่งให้นายทัพนายกองไปถอนไพร่พลญวนที่รักษาอยู่ตามค่ายด่านทางนั้น ให้เลิกกลับมาเข้ารวมอยู่ในเมืองโปริสาดให้หมด และองชุดดายยกทานแม่ทัพค่ายตะโลก็เลิกทัพกลับมาอยู่เมืองโปริสาดด้วย ญวนค่ายตะโลถึง ๑,๑๗๐ คน ก็มารวมอยู่กับญวนในเมืองโปริสาดด้วย รวมทั้งสิ้น ๒๓,๖๐๐ คนอยู่ในเมืองโปริสาด และครัวเขมรที่นักองอิ่มกวาดต้อนพาไปไว้เมืองพนมเปญและเมืองตะครองหรือเมืองต่าง ๆ นั้น ก็หนีญวนกลับมาเมืองพระตะบองเนือง ๆ ครั้งนั้นญวนรักษาตัวยากเต็มที
(เนื้อความเขมรทำแก่ญวนดังนี้กล่าวไว้โดยพิสดารนั้น เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายผู้อ่านผู้ฟังเห็นและทราบว่าเขมรเป็นพื้นบ้านพื้นเมืองกำเริบขึ้นเมื่อใด การเป็นเช่นนี้ก็เหลือสติปัญญาและอำนาจนายทัพนายกองญวนจะปราบปรามให้สงบลงได้โดยเร็วยากเป็นอย่างยิ่งแล้ว อย่าว่าแต่คราวนี้ญวนปราบปรามเขมรกบฏกำเริบไม่หยุดนั้น ถึงกองทัพไทยยกไปรบกับญวน เมื่อปีมะเส็งเบญจศกคราวก่อนนั้น ก็ถูกพวกเขมรกลับใจไปเข้ากับญวน เขมรก็กำเริบขึ้นยกมาซ้ำเติมฆ่าฟันกองทัพไทยตายคราวก่อนนั้น ก็เหมือนเขมรทำแก่ญวนคราวนี้ เป็นการเช่นนี้ขึ้นครั้งใดคราวใด แม่ทัพไทยและแม่ทัพญวนจะรักษาตัวและรักษาอำนาจก็ยากนัก ได้แต่ล่าหนีอย่างเดียว เพราะเขมรเป็นพื้นเมือง)
ครั้น ณ เดือนสิบสอง ขึ้นสามค่ำ ปีชวด นพศกนั้น นายทัพนายกองไทยก็ยกมาถึงเมืองพระตะบองพร้อมกันแล้ว
 ครั้น ณ เดือนสิบสอง ขึ้นสิบสามค่ำ เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดกระบวนทัพที่จะไปรบญวนนั้น ให้พระยาราชนิกูล (ชื่อเสือ) ๑ พระยาอภัยสงครามเจ้ากรมอาสาหกเหล่าในพระราชวังบวรฯ ๑ หลวงรักษาเทพเจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ จมื่นชัยภูษาปลัดกรมพระตำรวจในพระราชวังหลวง ๑ จมื่นศักดิ์บริบาลปลัดกรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ หลวงนเรนทร์โยธีในพระราชวังหลวง ๑ เป็นข้าหลวง ๖ นาย กำกับทัพหัวเมืองคุมไพร่พลไทยลาว ๒,๐๐๐ คน ไพร่เขมรป่าดง ๑๑,๐๐๐ คน รวมไพร่ ๑๓,๐๐๐ คน
 พระยาราชนิกูลเป็นแม่ทัพยกไปพระยาเดโชเขมรเจ้าเมืองกำพงสวาย ตีค่ายญวนที่ตั้งอยู่ ณ กำปงธม แต่ให้แยกทัพไทยลาวไปตีค่ายญวน ณ เมืองชิแครงด้วย แล้วให้แต่งเจ้ากรมปลัดกรมตำรวจพระราชวังบวรฯ คุมไพร่พลไปตีค่ายญวน ณ เมืองสะโทงอีกแห่งหนึ่ง พระยาเดโชเขมรมีไพร่พล ๒,๐๐๙ คน เข้าสมทบกับพระยาราชนิกูลเป็นพล ๑๕,๐๐๙ คน ยกไปตีทัพญวนเข้าล้อมค่ายญวนที่เมืองชิแครงสี่วัน ค่ายญวนก็แตกหนีไปได้มาก ฆ่าตายเสียประมาณ ๔๐๐ คน ได้ค่ายและเครื่องศาสตราวุธมาก พระยาราชนิกูลและนายทัพนายกองไทย ก็ยกเข้าตั้งอยู่ในค่ายชิแครง ได้อาศัยเสบียงอาหารพร้อม
 ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาให้จัดทัพอีกกองหนึ่ง ไพร่พลไทยกรุงเทพฯ ๑,๗๐๐ คน เขมรป่าดงลาวหัวเมือง ๒,๖๑๒ คน รวม ๔,๓๑๒ คน ให้พระพิเรนทรเทพเจ้ากรมพระตำในพระราชวังหลวงเป็นแม่ทัพ ๑ พระฤทธิเดชะเจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ พระอภัยบริบาลเจ้ากรมพระคลังในขวาในพระราชวังบวรฯ ๑ หลวงรักษาจัตุรงค์ ๑ หลวงภักดีโยธา ๑ หลวงอภัยเสนา ๑ รวมหกคนคุมไพร่พล ๔,๓๑๒ คน ยกไปตีค่ายญวน ณ เมืองโปริสาด ยกไปแต่ ณ เดือนสิบสอง แรมเจ็ดค่ำ
 แล้วจัดทัพอีกกองหนึ่งไพร่พลกรุงเทพฯ ๑,๒๐๕ คน ลาวหัวเมืองและไทยโคราช ๑,๔๔๕ คน ให้เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ ๑ พระยาณรงค์สงครามเมืองนครราชสีมา ๑ พระยาพรหมยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ๑ พระยาทุกขราษฎร์เมืองนครราชสีมา ๑ พระมหาดไทยเมืองนครราชสีมา ๑ เป็นนายทัพหัวเมืองห้าคน ให้พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวร ๑ จมื่นศักดิ์เสนารักษ์ ปลัดกรมพระตำรวจพระราชวังบวรฯ ๑ หลวงราชเสวกเจ้ากรมรักษาพระองค์ในพระราชวังหลวง ๑ หลวงศรีสงครามเจ้ากรมอาสาใหม่ในพระราชวังหลวง ๑ รวมสี่คนเป็นข้าหลวงกำกับทัพหัวเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาและพระยาพรหมสุรินทร์ยกทัพไปตีค่ายญวนที่กำพงปรัก แต่ ณ เดือนสิบสอง แรมสิบเอ็ดค่ำ
 แล้วจัดทัพอีกกองหนึ่ง ไพร่ไทยในกรุงและหัวเมือง ๑,๕๒๐ คน ให้พระยาเพชรบูรณ์เป็นแม่ทัพหน้าคุมไพร่พลลาวหัวเมือง ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่ทัพหน้าคุมไพร่ไทยหัวเมือง เจ้าพระยาบดินเดชาคุมไพร่พลไทยในกรุงเป็นแม่ทัพหลวง ให้พระยาเพธราชากับพระยาประกฤศณุรักษ์เป็นแม่กองช้าง ให้พระสินธพอมเรศร์คุมทหารม้าในพระราชวังบวรฯ ๘๐๐ เป็นทัพม้าใช้ราชการ ให้พระยาจ่าแสนบดีศรีบริบาลคุมไทยลาวเป็นทัพหลัง ทัพเจ้าพระยานครราชสีมายกไปวันแรมสิบเอ็ดค่ำ
รุ่งขึ้น ณ เดือนสิบสองแรมสิบสองค่ำ เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ยกทัพใหญ่ตามลงไป ให้สนองจอกเขมรเป็นผู้นำทัพ
(ยกทัพครั้งนี้ ๔ ทัพ รวมไพร่พลไทยในกรุงและหัวเมือง ๖,๔๒๕ รวมไพร่พลเขมรป่าดงหัวเมืองตะวันออกและไพร่ลาวหัวเมืองตะวันออกด้วย เป็นเขมรลาว ๒๘,๐๖๖ คน สิริรวมทั้งไทยลาวเขมรป่าดงทั้งสิ้นด้วยกัน ๔ ทัพเป็นคน ๓๔,๔๙๑ คน ว่ามานี้แต่ไพร่ทั้งสิ้น ยังขุนหมื่นพันทนายกำนันเสมียนคนใช้การผู้ดีมีอีกต่างหาก)......”
 ** สถานการณ์ญวนในเขมรตอนนี้อยู่ในภาวะคับขันมาก เขมรลุกฮือขึ้น ไม่ใช่ขับไล่ญวน หากแต่จ้องจะเข่นฆ่าให้ตายถ่ายเดียว แม่ทัพญวนต้องสั่งถอนกำลังจากด่านทางต่างเข้าอยู่รวมในเมืองใหญ่ เพราะถูกเขมรฆ่าตายไม่เว้นแต่ละวัน และไม่ทันที่จะหาวิธีรับมือเขมรให้ได้นั้น กองทัพไทยโดยการนำของเจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ยกจากเมืองพระตะบองเข้าช่วยเขมรโจมตี เข่นฆ่าญวนแล้ว ผลการรบในเขมรจะเป็นเช่นไร ตามอ่านกันต่อไปนะครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๕ -
ไทยยกทัพล้อมญวน “โปริสาด” หมายพิฆาตญวนยุ่ยเป็นผุยผง ทั้งสองฝ่ายไม่ย่อทระนง ต่างตายลงกลางสนามรบตามกัน
ผู้ตายมากกว่าไทยเป็นหลายส่วน คือฝ่ายญวนที่สู้อยู่คับขัน ไทยเขมรพรั่งพร้อมล้อมฆ่าฟัน ใกล้ถึงวันแตกดับพ่ายยับเยิน |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... ขณะที่เขมรทุกบ้านทุกเมืองลุกขึ้นขับไล่ข้าฟันญวนทั่วประเทศนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาซึ่งรอทัพหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยยกไปสมทบที่เมืองพระตะบอง กองกำลังเขมรที่ตีค่ายญวนแตกจับญวนเป็นเชลยได้บ้าง ก็ส่งชายฉกรรจ์เชลยพร้อมสรรพาวุธไปให้เสมอ ๆ ครั้นกองทัพไทยเดินทางไปถึงเมืองพระตะบองพร้อมกันแล้ว เจ้าพระยาบดินเดชาจึงจัดทัพยกไปตีค่ายญวนตามเมืองต่าง ๆ ทันที โดยจัดทัพเป็นสี่ทัพ จัดให้พระยาราชนิกูล (เสือ) เป็นแม่ทัพ ทัพหนึ่ง จัดให้พระพิเรนทรเทพเป็นแม่ทัพ ทัพหนึ่ง จัดให้เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ ทัพหนึ่ง และเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพหลวงอีกทัพหนึ่ง ยกเข้าร่วมกับกองกำลังเขมรเข้าตีค่ายญวนทุกหนทุกแห่ง วันนี้มาอ่านกันต่อครับ.....
 ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชายกไปถึงเมืองโปริสาด ณ เดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง ตั้งค่ายพักอยู่ตำบลบ้าน (ตึกโขลก) เป็นภาษาเขมรเรียกกันแปลเป็นภาษาไทยว่าบ้าน “น้ำเต้า” ครั้งนั้น พระยา,พระ เขมรหัวเมืองที่ต่อสู้กับญวนนั้น มีหนังสือมาถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ๑๘ ฉบับ เป็นใจความคล้าย ๆ กัน บอกแจ้งความว่า “ที่ได้รบกับญวนมีชัยชนะบ้าง ได้ญวนเชลยและช้างม้าเครื่องศาสตราวุธต่าง ๆ ก็ส่งมาให้บ้างไว้ใช้บ้าง แล้วบอกข้อราชการทัพศึกต่าง ๆ และจะขอเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกองทัพไทยบ้างต่าง ๆ แต่ในหนังสือทุกฉบับมีความต้องกันนั้นคือ อ้อนวอนขอนักพระองด้วงออกไปเป็นเจ้านายปกครองบ้านเมืองเขมรต่อไป และมีข้อความอื่นเป็นอันมาก พรรณนาด้วยความแค้นเคืองญวน ที่ข่มเหงจองจำทำโทษเจ้านายฝ่ายเขมร แล้วกล่าวการขันแข่งรับอาสาจะตีญวนกู้แผ่นดินเขมรคืนมาให้นักพระองด้วงให้ได้ และพระยา พระ เขมรทั้งปวงวิงวอนงอนง้อขอนักพระองด้วงเป็นเจ้าแผ่นดินเขมรนั้นมากกว่า ความเรื่องอื่น ๆ มีบ้างประปรายแจ้งอยู่ในต้นฉบับทั้ง ๑๘ ฉบับนั้นแล้ว”
 ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาทราบความตามเหตุนั้นแล้ว จึงมีหนังสือบอกฉบับหนึ่ง กับส่งต้นหนังสือของพระยา พระ เขมร ๑๘ ฉบับ มอบให้จมื่นอินทรเสนาปลัดกรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ กับนายนรินทรธิเบศร์มหาดเล็กหุ้มแพรในพระราชวังบวรฯ ๑ หลวงอนุชิตพิทักษ์กรมมหาดไทยในพระราชวังหลวง ๑ หลวงสวัสดิ์นคเรศร์กรมพระนครบาลในพระราชวังหลวง ๑ ขุนสวัสดิ์นครินทร ๑ ขุนบดินทร์ธานี ๑ กรมพระนครบาลในพระราชวังบวรฯ ขุนนราเรืองเดช ๑ ขุนวิเศษจัตุรงค์ ๑ ปลัดกรมทนายเลือกในพระราชวังบวรฯ รวมแปดคน ถือหนังสือบอกและคุมญวนเชลยที่พระยา พระ เขมรจับส่งมาทุกเมืองนั้นเป็นญวนเชลย ๔๖๔ คน และไพร่ไทย ๒๐๐ คน คุมญวนเข้าไปส่งกรุงเทพฯ
 ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงสั่งนายทัพนายกองให้เร่งรีบตั้งค่ายประชิดล้อมค่ายญวนเข้าไปทั้งสี่ด้าน เป็นการกวดขันมั่นคงโดยสามารถ ค่ายประชิดไทยตั้งล้อมค่ายญวนห่างประมาณ ๓๐ เส้นบ้าง ๒๐ เส้นเศษบ้าง ด้วยแผ่นดินยังเปียกแฉะเป็นน้ำเป็นโคลนอยู่ จะรุกเข้าไปใกล้ไม่ถนัด จึงตั้งอยู่ห่างทางปืนใหญ่ญวน เมื่อกำลังไทยยกเข้าตั้งค่ายประชิดนั้น ญวนก็ยิงปืนออกมาจากค่ายเสมอทุกชั่วโมง แต่หลวงยอดอาวุธเจ้ากรมกองแก้วจินดาในพระราชวังบวรฯ คุมทหารปืนใหญ่ล้อรางเกวียนอย่างใหม่ ลากไปตั้งหน้าค่ายประชิด ไทยจึงยิงปืนใหญ่ตอบญวนไปเสมอเหมือนกัน แต่ปืนใหญ่ฝ่ายไทยทางยาวถึงค่ายญวนทุกที ปืนใหญ่ฝ่ายญวนทางสั้นถึงหน้าค่ายไทยน้อยนัดนัก ตกเสียกลางทางมากกว่ามาก เพราะฉะนั้นไทยจึงตั้งค่ายประชิดได้ถนัดทั้งสี่ด้านโดยเร็ว
 ครั้นญวนเห็นไทยตั้งค่ายประชิดล้อมเข้ามาได้ทั้งสี่ด้านดังนั้นแล้ว ญวนจึงตั้งกองอาสาขี่ม้า ๑๕๐ ม้าออกมานอกค่าย ไล่ต้อนม้าเข้ายิงไทยที่ทำการอยู่หน้าค่าย ไทยเห็นญวนขี่ม้ามาเร็วใกล้จะถึงอยู่แล้ว พวกไทยที่ทำการขุดสนามเพลาะไม่มีอาวุธ มีแต่พลั่วขุดดิน จึงกลัวญวน ก็ขึ้นจากหลุมวิ่งหนีจะเข้าค่าย ฝ่ายญวนเห็นดังนั้นก็กำเริบยิ่งควบม้าวิ่งเข้ามาใกล้ ก็ยิงปืนหลังม้ามาถูกคนไทยที่ทำการเจ็บป่วยหลายคน แต่ไม่เป็นอันตราย ขณะนั้นไทยก็หนีเข้าค่ายได้บ้าง ที่หนีไม่ทันก็ลงอยู่ในคูสนามเพลาะแอบบังกระสุนปืนญวน ญวนก็ไล่เข้ามาใกล้มากเกือบจะถึงสนามเพลาะอยู่แล้ว ขณะนั้นเจ้าพระยานครราชสีมาร้องสั่งไทยที่อยู่ในคูสนามเพลาะให้ขึ้นจากคู วิ่งหนีมาเข้าค่ายเสียโดยเร็ว แต่พอไทย ๒๘ คน ขึ้นจากคูสนามเพลาะแล้ว ญวนก็ไล่ติดหลังมาทีเดียว ในทันใดนั้นเจ้าพระยานครราชสีมาสั่งให้ทหารในค่ายวางปืนหามแล่นที่ตั้งไว้เป็นตับยิงออกไปตับแรก ถูกทหารม้าญวนตายทั้งคนและม้า ๔๖ ถูกไทย ๒๘ คนที่วิ่งหนีนำหน้าญวนมานั้นตายหมด แล้วยิงปืนตับออกไปอีกคราวหนึ่ง ถูกทหารม้าญวนตายอีก ๒๑ คนทั้งม้าด้วย ที่ถูกกระสุนปืนป่วยลำบากล้มนอนอยู ๒๐ คน แต่ม้าไม่ตายก็มีบ้าง ที่อยู่ห่างค่ายไทยไม่ถูกกระสุนปืนนั้นก็หนีกลับไปได้ประมาณ ๔๐ ม้า แล้วหลวงยอดอาวุธวางปืนใหญ่ล้อออกไปอีกตับหนึ่ง ก็ถูกทหารม้าญวนตกม้าตายไปตามทางบ้างหลายคน ที่หนีรอดไปเข้าค่ายได้ประมาณ ๒๗ ม้า หรือ ๒๘ ม้าได้ จนญวนเข็ดขยาดไม่อาจสามารถเข้ามาใกล้ค่ายไทยเลย
ครั้นรุ่งขึ้น ณ เดือนอ้าย ขึ้นห้าค่ำ ญวนทำท่วงทีจะออกมารบกับไทยก็ไม่ออก เป็นแต่เลาะอยู่ในค่ายวันยังค่ำ ต่อรุ่งขึ้นแปดค่ำเป็นวันอัฐมี เจ้าพระยานครราชสีมาสั่งให้จัดการรบไว้ให้พร้อม และแต่งกองทัพอาทมาตไว้พร้อมสรรพ แล้วแกล้งแต่งหนังสือฉบับหนึ่งเป็นใจความว่า
“วันนี้เป็นวันพระแปดค่ำไทยถือไม่ฆ่าชีวิตสัตว์และมนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงขอหยุดการรบในวันนี้ไว้ก่อน เพื่อจะปล่อยทหารให้นอนพักผ่อนกำลังและรักษาศีลภาวนาบ้าง”
 แล้วนำหนังสือผูกคอญวนเชลยแล้วมัดมือไพล่หลังปล่อยให้ไปในค่ายญวน ญวนก็สำคัญว่าไทยจะหยุดการรบและจะปล่อยทหารจริง ๆ ญวนเห็นว่าถ้าเช่นนั้นก็เป็นท่วงทีมีช่องดีหนักหนาที่จะทำร้ายแก่ไทยได้ถนัด ญวนจึงแต่กองทัพเป็นกองอาสา ถือปืนคาบศิลาอยู่แถวหน้า ๕๐๐ ถือง้าวอยู่แถวหลัง ๓๐๐ คน ถือดาบสองมืออยู่แถวหลัง ๒๐๐ คน รวมทหารพันหนึ่งพร้อมแล้ว ญวนก็ตีกลองและม้าล่อเป็นสัญญายกพลโห่ร้องวิ่งกรูออกมาจากค่าย ตรงมายังค่ายไทยหมายจะปล้นค่ายหน้าที่พระยาณรงค์สงครามอยู่นั้น แต่พอญวนเข้ามาใกล้หน้าค่าย เจ้าพระยานครราชสีมาก็ขับต้อนพลทหารออกนอกค่ายให้วิ่งอ้อมโอบไปไล่ฆ่าฟันยิงญวนเป็นสามารถ ฝ่ายที่หน้าค่ายนั้น พระยาณรงค์สงครามก็วางปืนใหญ่ที่ตั้งไว้เป็นตับออกไปสองสามตับ ถูกไพร่พลญวนล้มตายลงมาก แล้วก็แต่งกองอาสาออกทะลวงไล่ยิงแทงฟันญวน ญวนก็สู้รบยิงฟันแทงไทยตายบ้าง แต่ไทยตายน้อย เพราะรู้ตัวได้ที่ทำแก่ญวนก่อนถนัด ญวนจึงตายมากครั้งนั้นสัก ๒๐๐ หรือ ๓๐๐ คน ที่เหลือตายก็หนีกลับเข้าค่ายตั้งมั่นอยู่ในค่ายได้สองสามวัน ญวนก็แต่งกองทัพใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ออกตั้งกระบวนรบนอกค่ายตามธรรมเนียมศึกใหญ่ ฝ่ายพระพิเรนทรเทพแม่ทัพหน้าออกต่อสู้กับญวนตามที่ญวนออกรบด้านพระพิเรนทรเทพ พระพิเรนทรเทพก็สู้รบโดยสามารถวันยังค่ำ ไม่แพ้และชนะแก่กันและกัน
 รุ่งขึ้นวันเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ ญวนออกรบอีกเป็นทัพใหญ่ถึงสี่ด้านสี่ทัพพร้อมกัน ไพร่พลญวนประมาณหมื่นเศษ มีทหารม้ามาก ช้างหามีไม่ เจ้าพระยานครราชสีมาออกรบด้านหนึ่ง พระยาณรงค์สงครามออกรบด้านหนึ่ง พระพิเรนทรเทพออกรบด้านหนึ่ง พระฤทธิเดชะออกรบด้านหนึ่ง พระพรหมสุรินทร์ออกรบด้านหนึ่ง แต่เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นกองหนุนทั้งสี่ทัพๆนั้น ได้สู้รบกับญวนเป็นสามารถ
เจ้าพระยาบดินทรเดชามีบัญชาให้พระพรหมบริรักษ์ (ชื่อแก้ว) ผู้บุตรเป็นนายทัพปีกหนึ่ง มีผู้ช่วยสองคนคือพระยาปราจีนบุรี ๑ พระยาณรงค์วิชิตเจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ คุมไพร่พล ๑,๕๐๐ คน ยกไประดมตีทัพญวนด้วย
ให้หลวงนายสิทธิ์ผู้หลานเป็นนายทัพปีกหนึ่ง มีผู้ช่วยสามคนคือ พระอินทราธิบาลเจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ พระอินทรรักษาเจ้ากรมพระตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๑ หลวงศรีภะวังในพระราชวังบวรฯ ๑ คุมไพร่พล ๑,๕๐๐ คน ยกไปช่วยระดมตีทัพญวน
 ครั้งนี้ไทยกับญวนได้สู้รบกันเต็มมือ ตั้งแต่เวลาเพลจนเวลาบ่ายห้าโมงเศษใกล้ค่ำ ไทยตายในที่รบ นาย ๖ ไพร่ ๖๐ คน นายนั้นคือ หลวงภักดีชุมพล ๑ หลวงวิเศษโยธา ๑ ขุนนรินทรรักษา ๑ ขุนนราภักดี ๑ นายเวรตำรวจในพระราชวังบวรฯ ๒ คน คือ นายแผลงไพรินทรกับนายยงภักดี รวม ๖ คนแต่ในวังหน้า ฝ่ายญวนนายทัพศีรษะโพกผ้าสีน้ำเงินสะพายกั้นหยั่นตาย ๑๑ คน ไพร่ตาย ๑๖๐ คน ป่วยเจ็บลำบากหามเข้าไปในค่ายประมาณร้อยเศษ เวลาค่ำญวนตีกลองเรียกทหารกลับเข้าค่าย ฝ่ายไทยก็ไล่ตดตามไปใกล้ค่ายญวน ญวนก็ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบออกจากค่ายจนเวลาสี่ทุ่มเศษ ไทยจะหักพังค่ายญวนมิได้ จึงกลับเข้าค่ายตั้งมั่นรักษาค่ายอยู่จนสว่าง ........”
** การรบระหว่างไทยญวนที่เมืองโปริสาดเริ่มดุเดือดเลือดพล่านแล้ว ค่อยนี้มาอ่านต่อนะครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ลิตเติลเกิร์ล, ปิ่นมุก, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๖ -
ไทยตีญวนจวนจะชนะแล้ว ฝ่ายญวนแผ่วทนสู้อยู่งกเงิ่น ค่ายประชิดตั้งใกล้มิไกลเกิน ไทยจะเดินเข้าปล้นมิพ้นมือ
พลันข่าวร้ายไทยแพ้แก่ญวนแจ้ง เมืองชิแครงแตกไปไพร่ซื่อบื้อ เขมรป่าดงขลาดหวาดเสียงฮือ จึงแหกรื้อค่ายประตูกรูเข้าดง |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดกองทัพสี่กองยกไปตีค่ายญวน เข้าล้อมญวนที่เมืองโปริสาดทั้งสี่ทิศ ญวนไม่ยกออกรบ เจ้าพระยานครราชสีมาก็ทำอุบายล่อให้ญวนออกรบ แล้วยิงญวนตายเป็นจำนวนมาก ล่าสุดญวนยกทัพใหญ่ออกโจมตีค่ายไทย ทั้งสองฝ่ายรบกันอย่างดุเดือดตั้งแต่เช้าจนใกล้ค่ำ ไพร่พลล้มตายลงด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ญวนตายมากกว่าไทย เมื่อญวนถอยกลับเข้าค่าย ไทยก็ตามตีหมายปล้นค่ายให้ได้ แต่ญวนก็ต่อต้านอย่างแข็งแรง ไทยจึงถอยกลับเข้าตั้งมั่นในค่าย เฝ้าระวังเหตุการณ์อยู่จนรุ่งแจ้งของวันใหม่ วันนี้มาอ่านความกันต่อครับ
“............รุ่งขึ้นไม่ได้รบกัน เพราะญวนมีหนังสือมาขอหยุดการรบ ฝ่ายไทยเห็นว่าญวนมานัดหมายหยุดการรบเช่นนี้ เห็นทีญวนจะคิดกลอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ไทยจึงได้ตระเตรียมการป้องกันรักษาค่ายโดยมั่นคงหลายวัน ไม่มีการสู้รบกัน
 ครั้นแผ่นดินแห้งน้ำแห้งโคลนแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาสั่งให้เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่กองบังคับบัญชานายด้านตั้งค่ายประชิดล้อมค่ายญวน ให้พระพรหมบริรักษ์ผู้บุตรเป็นผู้ตรวจการตั้งค่ายประชิดทุกด้าน จึงสั่งพระพิเรนทรเทพ ๑ พระพรหมสุรินทร์ ๑ พระอินทร์รักษา ๑ พระยาพรหมยกกระบัตร ๑ พระยาณรงค์สงคราม ๑ พระยาปราจีนบุรี ๑ พระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ๑ รวมแปดนายด้านนายงาน แม่กองคุมพระยา, พระ, หลวง ในกรุงและหัวเมือง ให้ไพร่ทำค่ายไม้ไผ่ เสาไม้แก่นพร้อมกันทั้งแปดกอง จึงยกเข้าไปตั้งค่ายประชิดล้อมค่ายญวนไว้ทั้งแปดด้าน ค่ายประชิดไทยตั้งใกล้ค่ายญวน ๑๒ เส้น ให้พูลดินเป็นป้อมสูงห้าศอกขึ้นพ้นเสาค่ายทั้งแปดป้อมแปดมุมค่ายญวน แล้วตั้งค่ายปิหลั่นปีกกา โอบมาถึงกันทั้งแปดค่าย แล้วทำหอคอยกลางค่ายหอหนึ่งสูงสามวา ไว้เพื่อจะได้ขึ้นดูการในค่ายญวน เมื่อไทยยกกองทัพเข้าไปตั้งค่ายประชิดดังนั้น ได้แต่งกองอาทมาตและกองอาสาแปดเหล่า ออกด้านหน้ารักษาคนทำการค่ายทั้งแปดด้านนั้นโดยกวดขันกันข้าศึก
 ฝ่ายญวนก็แต่งกองอาสาออกมาฝ่าฟันรบกันเสมอทุกวัน พระพรหมบริรักษ์ให้หลวงดำเกิงรณภพเจ้ากรม ขุนรุทอัคนี คุมทหารกองแก้วจินดาในพระราชวังหลวง ๒๐๐ คน นำปืนจ่ารงค์และปืนหามแล่น ปืนใหญ่รางแท่นใหม่ออกไปตั้งหน้าค่ายล้อมคนทำการงานรอบ ณ สี่ด้าน ยิงปืนใหญ่ไปยังค่ายญวนเสมอทั้งกลางวันและกลางคืนจนทำค่ายเสร็จ
ฝ่ายพระพรหมสุรินทร์สั่งให้หลวงยอดอาวุธเจ้ากรม ขุนศึกพินาศปลัดกรม คุมทหารกองแก้วจินดาในพระราชวังบวรฯ ๒๐๐ คน นำปืนจ่ารงค์ท้ายสังข์คร่ำเงิน และปืนใหญ่รางแดงหัวทั้งแท่ง และปืนขานกยางหามแล่น ออกไปตั้งหน้าค่ายล้อมไพร่พลคนที่ทำงานการปลูกค่ายนั้นทั้งสี่ด้าน ได้ยิงปืนใหญ่ออกไปยังค่ายญวนเสมอจนทำการเสร็จ
ครั้งนั้นญวนก็แต่งกองเกียกกายออกมาจะทำลายค่ายไทย แต่ทำลายไม่ได้ เพราะปืนใหญ่ไทยมีแรงทางยาวกว่าปืนใหญ่ของญวน เพราะฉะนั้นไทยจึงทำการได้โดยถนัดแล้วเร็วด้วย
 แล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาสั่งให้หลวงฤทธิ์สำแดงคุมทหารฝรั่งเศสเข้ารีตนำปืนใหญ่รางแท่นอย่างใหม่ กระสุนสามนิ้วบ้าง กระสุนห้านิ้วบ้าง ขันฉ้อกว้านขึ้นไปบนป้อมดิน ป้อมละสามกระบอก แปดป้อม เป็นปืนสิบสี่กระบอก มีทหารปืนใหญ่เป็นคนบุตรหลานฝรั่งเก่าเข้ารีตฝรั่งเศสนั้น อยู่ประจำทั้งแปดป้อม ป้อมละ ๑๒ คน ให้หลวงฤทธิ์สำแดงเจ้ากรมทหารฝรั่งเป็นผู้บังคับการทั้งแปดป้อม ทั้งแปดป้อมได้ยิงปืนใหญ่ปรำลงไปในค่ายญวนเสมอทั้งกลางวันกลางคืนสามวัน กระสุนปืนใหญ่ไปตกถูกค่ายญวนพังทลายบ้าง ถูกไพร่พลญวนในค่ายและค่ายปีกกา ญวนตายประมาณ ๒๕๐ คนเศษ ที่เจ็บป่วยลำบากประมาณ ๓๐๐ เศษ ฝ่ายแม่ทัพญวนก็นำปืนใหญ่หามแล่นและปืนใหญ่ปากลำโพงยิงโต้ตอบมาบ้าง กระสุนปืนถึงค่ายไทยนั้นน้อยนัก ตกเสียกลางทางมาก เพราะทางปืนสั้น เพราะฉะนั้นญวนเห็นเสียเปรียบ จึงได้ขุดหลุมเป็นอุโมงค์ในค่าย แล้วลงอาศัยอยู่ในหลุมบังกระสุนปืนใหญ่ไทยได้ พระพรหมบริรักษ์เห็นว่าญวนยิงปืนโต้น้อยลง จึงสั่งทหารขึ้นบนหอคอยสูงสามวาเศษ แลดูไปในค่ายญวน เห็นญวนขุดหลุมอยู่เป็นอันมาก จึงสั่งให้กองแก้วจินดานำปืนกระสุนแตกกระสุนหกนิ้วบ้าง กระสุนสี่นิ้วบ้าง ยิงไปให้โด่งแล้วให้ตกลงในค่ายญวน ญวนเกือบจะแตกอยู่แล้ว แต่ว่ายังไม่แตกง่ายนั้น เพราะทหารญวนได้อาศัยเชิงเทินดินบังกระสุนปืนได้บ้าง จึงยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบสู้รบอยู่ได้เสมอหลายวัน
ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงสั่งให้เจ้าพระยานครราชสีมาและพระพรหมบริรักษ์ ให้ต้อนไพร่พลแบกหามนำค่ายตับและค่ายรุกเผือกเข้าไปตั้งเป็นปิหลั่น ล้อมค่ายญวนเข้าไปอีกชั้นหนึ่งทั้งสี่ด้าน ห่างค่ายญวนสามเส้นบ้าง สองเส้นบ้าง เส้นเศษบ้าง แล้วให้ชักปีกกาโอบอ้อมมาถึงค่ายตับปิหลั่นทุกค่าย เป็นวงพาดอีกชั้นหนึ่ง ล้อมรอบค่ายญวนเข้าไว้ ฝ่ายญวนก็ยิงปืนตับใหญ่น้อยออกมาเสมอ แต่สู้รบกันอยู่ดังนี้ถึงห้าวันหกวัน ญวนก็แต่งการป้องกันรักษาตัวรักษาค่ายโดยแข็งแรงเป็นสามารถ
ฝ่ายเจ้าพระยานครราชสีมาจึงเข้าชื่อกันกับขุนนางวังหน้าหลายคน คิดการจะเข้าปล้นค่ายญวนในวันสองวันนี้ให้ได้เป็นแน่ แต่พระพรหมบริรักษ์ไม่เห็นด้วย เห็นว่ายังไม่ควรจะปล้นได้ เพราะญวนยังไม่ถอยกำลังเลย เปรียบเหมือนผลไม้ยังไม่สุกจะกินได้หรือ คงจะไม่หวานเป็นแน่ ถ้าและว่าชิงสุกก่อนห่ามก็คงจะเสียที การแก่งแย่งไม่ตกลงกันดังนี้ จึงมิได้ยกเข้าปล้นค่ายญวน เป็นแต่รอไว้ตั้งการล้อมยิงปืนสู้รบกันเสมอทุกวัน
 ขณะนั้นพอพระยาสังขโลกเจ้าเมืองโปริสาดเก่า และพระยาอุทัยธิราชเจ้าเมืองสำโรงทอง พระยา, พระ เขมรทั้งสองมีหนังสือบอกมาว่า ได้ใช้ให้พระมงคลสุนทรกับหลวงบวรพจนาเขมร คุมไพร่เขมร ๒๐๐ ไปลาดตระเวนถึงปากง่ามทางแยกลงไปเมืองพนมเปญ พบญวนในกองทัพเมืองพนมเปญอกมาเที่ยวลาดตระเวนเหมือนกัน แต่ญวนร้อยเศษน้อยตัวกว่าเขมร เขมรมากถึงสองร้อยเศษ พระมงคลสุนทรเขมร และหลวงบวรพจนาจีนบุตรเขยเขมรเป็นนายกอง จึงสั่งให้ไพร่เขมรไล่โอบล้อมจับได้ญวนเป็นมา ๓๔ คน ที่สู้รบกับเขมร เขมรฆ่าญวนตาย ๒๖ คน เหลือนั้นก็แตกหนีไปหมด ให้ขุนนรารักษ์เขมรคุมญวน ๓๔ คน มาส่งยังค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ล่ามถามญวน ๓๔ คน ญวน ๓๔ คนให้การว่า
“องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพไปรบไทยซึ่งรักษาเมืองชิแครง วันเดียวเมืองชิแครงก็แตกทั้งสิ้นหมดเมือง พระยาราชนิกูลแม่ทัพไทยซึ่งรักษาเมืองชิแครงอยู่นั้น ก็แตกหนีเข้าป่าดงไปบ้างแล้ว ที่ญวนจับไทยมาเป็นเชลยก็ได้บ้าง ที่ฆ่าเสียก็มาก จนญวนขี้เกียจฆ่าไทยในเมืองชิแครงนั้น”
 เจ้าพระยาบดินทรเดชาว่า “สำนวนถ้อยคำอ้ายญวนว่าตีทัพพระยาราชกูลที่เมืองชิแครงแตกไปหมดจนขี้เกียจฆ่าไทยนั้น เห็นว่าเป็นถ้อยคำพูดจาอวดอ้างเกินตัวไปมากนัก เป็นการมันพูดยกย่องอำนาจเจ้านายของมัน มาข่มขู่เราให้กลัวมัน เพราะฉะนั้นจะไว้ใจเชื่อถ้อยคำมันไม่ได้ ด้วยมันให้การเป็นสำนวนหน้าชื่น ๆ จะฟังคำมันมิได้”
จึงสั่งให้หลวงวิเศษธานี และหลวงสวัสดิ์นคเรศร์ กรมพระนครบาลในพระราชวังหลวงสองคน กับหลวงรองจ่าเมือง ณ เมืองนครราชสีมาและพระบุรินทรานุรักษ์เมืองนครราชสีมา รวมหกคน เป็นแกองชำระให้ได้ความจริง แต่ให้แยกย้ายกันถามปากคำ และต้องติดไม้จำคาเฆี่ยนถามจึงจะได้ความจริง ครั้งนั้นตุลาการทั้งหกนายได้เฆี่ยนถามญวน ญวนให้การต่อไปว่า
“เมื่อกองทัพองเตียนกุนยกไปถึงเมืองชิแครงนั้น กองทัพพระยาราชนิกูลเป็นลาวและเขมรป่าดงมาก เห็นญวนยกทัพมาเป็นการใหญ่ พวกเขมรป่าดงและลาวไม่เคยได้ยินเสียงฆ้องกลองม้าล่อและปืนใหญ่ และเสียงรี้พลโห่ร้องผิดภาษากันเป็นอำนาจน่ากลัวยิ่งนัก พวกเขมรป่าดงและลาวก็ตกใจแตกตื่นแหกค่ายทลายประตูหนีเข้าป่าไปสิ้น เหลือแต่คนไทยก็น้อยตัว ก็ต้องแตกหนีเข้าป่าไปบ้าง หาทันได้สู้รบกับญวนไม่ ที่เหลืออยู่ในเมืองหนีไม่ทันนั้นเป็นคนไทยบ้างเป็นลาวบ้าง ญวนก็เข้าไปไล่จับนำมาเป็นเชลยเป็นอันมาก ที่ต่อสู้กับญวน ญวนก็ฆ่าเสียบ้าง......”
 ** คำให้การของเชลยญวนยังไม่จบ แต่ได้ความว่าขณะที่ไทยกำลังล้อมตีญวนเมืองโปริสาดใกล้จะได้ชัยชนะอยู่แล้วนั้น ก็ได้ข่าวจากเชลยญวนที่พระยาเขมรจับได้ให้การว่า องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ญวน ยกทัพใหญ่ไปตีเมืองชิแครงที่พระยาราชนิกูลไปตั้งรักษาเมืองอยู่ เขมรป่าดงในกองทัพไทยเห็นกองทัพญวนยกไปอย่างอึกทึกคึกโครมก็ตกใจกลัว พากันแหกค่ายหนีเข้าป่าดงไปสิ้น กองทัพไทยหมดกำลังจะสู้รบญวน จึงพ่ายแพ้อย่างง่ายดาย ค่อยมาอ่านเร่องราวกันต่อไปครับ.
เต็ม อภินันท์ ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, ก้าง ปลาทู, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ปิ่นมุก, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - อานามสยามยุทธ -
- อานามสยามยุทธ ๑๒๗ -
ข่าวเสียเมืองชิแครงแสลงจิต ไทยเร่งคิดแก้ด่วนหลอกญวนหลง ผ่อนการรบรุกเร้าให้เบาลง เหมือนเปิดกรงขังบอกญวนออกไป
เพราะฝ่ายไทยขาดน้ำเลี้ยงเสบียงทัพ จำถอยกลับแนวหลังตั้งหลักใหม่ “ตุน”เสบียงอาหารเหลือมากเมื่อไร ก็จะไม่รอช้าท้ารบพลัน |
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่... พระยาสังขโลกอดีตเจ้าเมืองโปริสาด กับ พระยาอุทัยธิราชเจ้าเมืองสำโรงทองง ส่งตัวญวนเชลยที่กองลาดตระเวนจับได้มาให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้สอบปากคำได้ความว่า องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ญวนยกทัพใหญ่ไปตีเมืองชิแครงที่พระยาราชนิกูลรักษาอยู่ ไพร่พลกองทัพพระยาราชนิกูลส่วนใหญ่เป็นเขมรป่าดง เมื่อเห็นกองทัพญวนยกมามากมายอึกทึกคึกโครมก็ตกใจกลัว พากันแหกค่ายเปิดประตูเมืองวิ่งหนีเข้าป่าไปสิ้น พระยาราชนิกูลจึงเหลือไพร่พลที่เป็นไทยลาว มีกำลังไม่พอจะต่อสู้ญวนได้ จึงเสียเมืองแก่องเตียนกุลอย่างง่ายดาย คำให้การเชลยญวนยังไม่หมดสิ้น วันนี้มาอ่านกันต่อครับ.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|