บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => ห้องนั่งเล่นพักผ่อน => ข้อความที่เริ่มโดย: ข้าวหอม ที่ 23, กันยายน, 2563, 02:52:21 PM



หัวข้อ: ดนตรีสามารถรักษาโรคได้...จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ข้าวหอม ที่ 23, กันยายน, 2563, 02:52:21 PM

(https://i.ibb.co/61ZLysd/119992891-349237136430373-6007820867647130093-n.jpg) (https://imgbb.com/)


"ดนตรีบำบัด" เป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยิน งานวิจัยหลายๆชิ้นระบุว่า
ดนตรีนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งลดความเครียด บรรเท่าความเจ็บปวด
แก้ปัญหานอนไม่หลับ ตลอดจนคุมจังหวะการเต้นของหัวใจได้เลยทีเดียว

จากบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในตอนหนึ่งที่ว่า "ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก"
ดนตรีนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์มาอย่างยาวนาน  ประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง
แพทย์ได้ว่าจ้างนักดนตรีมาช่วยในรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของเหล่าทหารผ่านศึก
หลังจากนั้นดนตรีบำบัดก็ถูกนำมาใช้กันมากในปัจจุบัน

สำหรับเรื่องการนำดนตรีมาใช้ในการรักษาอาการเเจ็บป่วยได้นั้น
ได้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังกว่า 50 ปี โดย Buckwalter et.al 1985 ค้นพบว่า
ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ทางการแพทย์สามารถนำมาใช้ในเรื่อง
ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจ หรือจูงใจให้เกิดสติได้

ขณะที่ Munro and Mount 1986 ได้ศึกษาตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ระยะสุดท้ายอายุ 15 ปี ซึ่งเผชิญกับอาการปวด พบว่า การใช้ดนตรีสามารถลดความกังวลของผู้ป่วยได้
แต่ก็ยังสรุปได้ไม่ชัดเจนเรื่อง "การลดความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานจากความปวดจากโรค"

ดนตรีแบบไหนล่ะที่นำมาบำบัดได้ ?

1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง มีเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก เป็นต้น
2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที
    และมีทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ
3. ความเข้มของเสียงไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง เนื่องจากความดัง
    สามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้นได้
4. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ พิณ เปียโน กีตาร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า
    ป๊อป คลาสสิค เป็นต้น
5. ดนตรีที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย และความชอบ
7. ความมหัศจรรย์ของดนตรีบำบัด
    7.1. ลดความเจ็บปวด คนไข้ที่ผ่านการผ่าตัดเมื่อได้ฟังดนตรีแล้ว 
           จะลดอาการปวดและต้องการใช้ยาแก้ปวดน้อยลง
    7.2. ทำให้เลือดลมดี เมื่อฟังเพลงค่อยๆเพิ่มความดังที่ละน้อย
           จะทำให้เส้นเลือดขยายเลือดลมเดินสะดวก แต่จะไม่เพิ่มให้ดังที่สุด
    7.3. ควบคุมการหายใจ เพลงจังหวะเร็วทำให้อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ
           ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
    7.4. ช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีการทดสอบพบว่า
           ดนตรีบำบัดสามารถช่วยลดจำนวนวันที่อยู่ในตู้อบและเพิ่มน้ำหนักตัวได้
    7.5. ชะลอชรา ดนตรีช่วยสร้างโกรทฮอร์โมน มีการศึกษาพบว่านักดนตรีวัย 45-65 ปี
           มีความจำและประสาทการฟังดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่น
    7.6. ต้านอาการซึมเศร้า ช่วยลดความเครียด ความกังวล และไม่อยากอาหารของผู้ป่วยได้
    7.7. กระตุ้นสมอง การฟังดนตรีช่วยกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
           เพิ่มประสิทธิภาพในส่วนความจำระยะยาวของสมอง

ตามที่ได้กล่าวมา "ดนตรีบำบัด" ไม่ใช่การรักษาโรค แต่เป็นวิธีหนึ่งที่นำศาสตร์แห่งศิลป์
มาช่วยลดอาการความเจ็บปวด ความกังวล และอาการซึมเศร้าได้
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์โลกมาอย่างยาวนาน
วันใดที่เราไม่ได้ฟังเพลง หรือไม่ได้ยินเสียงดนตรี เราจะรู้สึกเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง
เพราะฉะนั้นเรามาฟังเพลงทุกวันกันเถอะค่ะ

                :AddEmoticons00914:

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)



หัวข้อ: Re: ดนตรีสามารถรักษาโรคได้...จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ลมหนาว ในสายหมอก ที่ 25, กันยายน, 2563, 04:11:33 PM

ขอบคุณสาระน่ารู้ที่สรรหามาให้อ่านนะคะ
พอดีช่วงนี้นอนไม่ค่อยหลับ คงต้องลองใช้วิธีนี้ดู
ปกติ เป็นคนชอบฟังเพลง แต่ไม่ค่อยมีเวลาฟังนัก
ลืมนึกไปว่า เราฟังตอนนอนหลับก็ได้นี่นา

ขอบคุณมากนะคะคุณข้าวหอม

 :AddEmoticons00918: