บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มีนาคม, 2567, 12:42:31 PM



หัวข้อ: มุตโตทัย : ๑๗ ~ เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มีนาคม, 2567, 12:42:31 PM

(https://i.ibb.co/hd2Y9X5/Screenshot-20240224-114048-Chrome.jpg) (https://ibb.co/3FSRdfX)

มุตโตทัย : ๑๗.พระอรหันต์ทุกประเภท ทั้ง เจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์

เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓

 ๑..เหล่าเกจิแต่งคติครัน
อรหันต์ลุ"เจโตฯ"
เนื่องด้วยสมาธิตริโข
นิรวาณกิเลสไกล

 ๒.."ปัญญาวิมุตติ" จะขาน
"อริย์"พาน"สุขาฯ"ไว
แน่วแน่"วิปัสสะฯ"ลุใส
มิกระทำสมาธิ์เลย

 ๓..หลักการจิแย้งวตะมรรค
จะประจักษ์ซิแปดเคย
สำเร็จสกลพหุเผย
ปฏิบัติสิ"สัมมาฯ"

 ๔..บำเพ็ญสิมรรคบริบูรณ์
ก็วิทูร"วิมุตฯ"พา
เว้นมรรคจิห่างจรหนา
มิประชิด"วิมุตฯ"ธรรม

 ๕.."ไตรสิกฯ" ประกอบศีละพา
กะสมาธิ"ปัญฯ"นำ
ครบสามสิ"อาสฯ"ธุวจำ
ลุวิโมกข์ละ"วัฏฯ"ลง

 ๖.."ขีนาฯ"สกลทวิสอง
ผิประคองติ "สิกฯ"คง
"เจโตฯ" และ"ปัญฯ"ดุจะยง
อรหันต์คะคล้ายกัน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

เกจิ=พวกหนึ่ง,บางพวก
คติ=ความคิด ความเชื่อ
เจโตฯ=เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งจิตจากราคะด้วยกำลังของญาณจากการทำสมาธิ
นิรวาณ=นิพพาน
ปัญญาวิมุตติ=การบรรลุพระอรหันต์ด้วยปัญญายิ่ง
อริย์=อริยะ คือพระอริยเจ้า ผู้บรรลุธรรมขั้นสูง ๔ ระดับ ตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ สูงสุดจึงนิพพาน
สุขาฯ=สุขะวิปัสสกะ คือพระผู้เจริญวิปัสสนาล้วน จึงสำเร็จพระอรหันต์
วิปัสสะฯ=วิปัสสนา คือการฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง รู้เท่าทันธรรมชาติของชีวิตที่มีความไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ทำให้เกิดทุกข์ ผู้ปฏิบัติเสมอๆจะทำให้เกิดปัญญาแจ้งในกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
วตะ=ข้อปฎิบัติ
สัมมาฯ=สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจมั่น จนจิตสงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติฌาน และจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่สติที่เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
วิโมกข์ ,วิมุตติ,วิมุติ=หลุดพ้น
วิมุติฯ=วิมุตติธรรม คือความหลุดพ้นจากกิเลส ๕ ประการ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือการหลุดพ้นกิเลสชั่วคราวโดยอำนาจของญาณ ๒) ตทังควิมุตติ การดับกิเลสด้วยองค์ธรรมตรงกันข้าม ๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ๔) ปฏิปัสสัมธิวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยสงบ ๕) นิสสรณ์วิมุตติ คือหลุดพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนตลอดไป เช่น นิพพาน
ไตรสิกฯ=ไตรสิกขา คือข้อที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ปัญฯ=ปัญญา
อาสฯ=อาสวกขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ,ญาณหยั่งรู้ในธรรมทำให้สิ้นอาสวะ, เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันตรัสรู้
วัฏฏะฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
ขีนาฯ=พระขีนาสพ,คือ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสไม่กลับมาเกิดอีกเพราะพ้นแล้วจาก๑)กาม ไม่ติดกามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ๒)ภพ ไม่ติดอยู่ในภพ ความเป็นโน่นเป็นนี่ ๓)อวิชชา พ้นจากความไม่รู้จริง ลุ่มหลง
ติ=สาม
สิกฯ=สิกขา

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต )


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๗ ~ เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, มีนาคม, 2567, 10:37:19 AM

มุตโตทัย : ๑๘.มูลกรรมฐาน

อุปชาติฉันท์ ๑๒

 ๑.ตริบวชจิได้เรียน
พิรเพียรสิกรรมฐาน
อาจารย์แนะแก่นการ
อภิปัญจะ "เกศะ"สุม

 ๒."ขน,ฟัน" และ"เล็บ,หนัง"
อติผังเพราะ"หนัง"จะหุ้ม
มิมีสิ"หนัง"คลุม
ผิวะสิ่งอะไร บ่ คง

 ๓.เพราะ"ขน"กะ"เล็บ"หล่น
ระดะล้นทลายพะวง
ร่างกายมิทนยง
มรสิ้นสลายชิวิน

 ๔.หลงรูปเจาะสวยงาม
รติลามหทัยผลิน
มุ"หนัง"สำคัญจินต์
อติรูปสะสวยพะงา

 ๕.ผิ"หนัง"มิมีไซร้
นิรใครจะปรารถนา
มีแต่สิหน่ายลา
ปฎิกูลมิเฉียดตะหนี

 ๖.อาจารย์เซาะ"หนัง"เด่น
จะตริเน้นพิจารณ์ทวี
ก็เปื่อยและเน่าชี้
และนิมิตประจักษ์หทัย

 ๗.เพราะเห็นและคิดหนัก
ก็ติลักษณ์มิเที่ยงไฉน
แปรเปลี่ยนและเสื่อมไกล
วปุกายมิใช่ซิเรา

 ๘.ไม่เชื่อพระสั่งสอน
มทถอนมิได้เพราะเมา
ก็"รัชฯ" จิก่อเขลา
ริกำหนัดกระตุ้นกระมล

 ๙.จิคง ณ "วัฏฯ"หลง
จะพะวงเกาะติดนุสนธิ์
สงสัยเสาะที่ยล
นิรห่างกะไกลมิเจอ

 ๑๐.เมื่อใดละเลิกหา
มนกายะนี้มิเก้อ
ขยันมิทำเผลอ
ฐิติธรรมกิเลสมลาน

 ๑๑.ธ สอนสิแจ้งไว้
คุรุไซร้สิบอกผสาน
พุทธ์เจ้ากำหนดการ
วจแจ้ง"อุปัชฯ" แนะทาง

 ๑๒.สมควรกะบวชเรียน
ตบะเพียรลิบาปมล้าง
มุ"โมกขธรรม" กลาง
วตธรรมจะแจ้งขยาย

 ๑๓.เพราะกรรมฐานจัด
ปฏิบัติระเรื่อยมิกลาย   
อาจารย์ผดุงกราย
นยสอนก็จริงและตรง

 ๑๔.บวชแล้วซิตั้งใจ
วตไซร้ขยันประจง
เพราะการสำเร็จทรง
ก็จะเนื่อง"วิสุทธิ์ฯ"แถลง ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

กรรมฐาน=คืออุบายทางใจ ๒ ประการ ๑)สมถกรรมฐาน อุบายสงบใจ ๒)วิปัสสนากรรมฐาน อุบายเรื่องปัญญา
ปัญจะ=ห้า
ติ=สาม
กฎไตรลักษณ์=สิ่งทั้งปวงในโลกล้วนไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รัชฯ=รัชนียารมณ์ อันน่ารัก น่าใคร่ พึงใจ ชวนกำหนัด (รัชชนีย์ แปลว่า ที่ก่อเกิดความกำหนัด ), อารมณ์(สิ่งที่เกิดแก่ทวารทั้ง ๖ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมะ เรื่องที่ใจคิด)
วัฐฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
พุทธ์เจ้า=พระพุทธเจ้า
อุปัชฯ=พระอุปชฌายะ
ตบะ=บำเพ็ญเพียรให้กิเลสเบาบาง
โมกขธรรม=ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น นำให้สัตว์โลกพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล เป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน
วิสุทธิ์ฯ=วิสุทธิมรรค คือคัมภีร์ในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ซึ่งพระพุทธโฆสะ ชาวอินเดียเรียบเรียงไว้ จะบอกวิธีกรรมฐานไว้ฝึกตน มี ๒๓ ตอน เช่น ศีล, การเจริญปัฏวีกสิณ เป็นต้น


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๗ ~ เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, มีนาคม, 2567, 11:36:29 AM


มุตโตทัย : ๑๙. ศีล

อินทรวงศ์ลีลาศฉันท์ ๑๒

 ๑."ศีล" ปรกติพา
คะคล้ายคว้ากะหินสิแกร่ง
หนักมากก็แก่นแข็ง
และธาตุลมมิทำสะเทือน

 ๒."ศีล"อยู่ ณ ที่ไหน
จะมีใครซิรักษ์และเยือน
"ศีล"คืออะไรเหมือน
จะมีตัว ฤ  ตนไฉน

 ๓.ถ้าทราบวะใครรักษ์
ก็แจ้งทักสิเคร่งวินัย
ตัวศีลมิแจ้งใจ
จะงมงายเสาะศีลกระสันต์

 ๔.เมื่อยังริเที่ยวขอ
ก็หลงคลอกะศีลนิรันดร์
"ศีลพัตตะฯ"งมกัน
เจาะตัวศีลมิพบมิตรง

 ๕.เลิกหาเพราะศีลอยู่
ณ จิตชูเจาะรักษ์ผจง
มี"เจตนา" ยง
กะศีลข้องเพราะเหนี่ยวหทัย

 ๖.ตัว"เจตนา"ทอน
สิอักษรแหละ"จิตฯ" ฤ ใจ
ปราศ"จิต"กระทำใด
บ ได้เลยมิแปลกฉงน

 ๗.กาย,จิตจิเกื้อดี
ผิปราศ"สีละ"จิตวิกล
กายคนประพฤติลน
กระทำต่างเพราะจิตจะผวน

 ๘."ศีล" มีสิตัวเดียว
กะโทษเชี่ยว ริเว้นมิรวน
เช่น"ห้า" กะ "แปด"นวล
คะนึงรักษ์สิโทษสลาย

 ๙."ศีล"ธรรมชาติมั่น
มิไหวหวั่นกิเลสทลาย
"ยาจามิ" ขอหลาย
ก็พลาดเองเพราะไม่กระทำ

 ๑๐.กายเรืองพะพร้อมจิต
ก็สมคิดกะศีลแนะพร่ำ
พ่อแม่เพาะกายย้ำ
ประพฤติศีลสำเร็จสิหนา

 ๑๑."ศีล" เคียง ณ จิตชัด
"อกาฯ"จัดเพราะรักษ์ระดา
เวลากำหนดมา
มิมีกาลสำร็จลุพลัน

 ๑๒.เมื่อพุทธกาลพ้น
พระพุทธ์ยล"ชฎิล", พระ"ปัญจ์ฯ"
พระพุทธะเทศน์สรรค์
ก็เหล่าท่านลุมรรคนิร์วาณ

 ๑๓.พวกท่านตริ"ศีล"พร้อม
สมาธิ์น้อมแหละ"ปัญญะ"พาน
พุทธ์องค์มิเกื้อสาน
และผองท่านมิไผประเคน

 ๑๔.แต่เมื่อศรุตธรรม
ก็"ศีล"ล้ำอุบัติและเห็น
ไม่ขอมิวอนเป็น
จะได้เองเพราะจิตศรัณย์

 ๑๕.จิตเดียวจิรวมสาม
ก็"ศีล" ลาม"สมาธิ์และปัญฯ"
ไม่หลงกะศีลครัน
จะนับเป็นซิปัญญะชน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง

รักษ์=รักษา
ศีลพัตตะฯ=ศีลพัตตปรามาส คือ การยึดถือข้อปฏิบัติเลยเถิดไปไม่ตรงความหมาย โดยทำไปด้วยหลง งมงาย เพราะโลภะ โทสะ โมหะ บ้าง;ความเชื่อมั่นในอำนาจบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ไม่ได้เป็นไปตามกฏแห่งกรรม
ยาจามิ=ข้าพเจ้าผู้ขอ
อกาฯ=อกาลิโก คือพระธรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่กำจัดเวลา ให้ผลทุกเมื่อทุกโอกาส และเป็นความจริงแท้ตลอดกาล
ชลิฎ=นักบวช ๓ คนพี่น้องพร้อมบริวาร ๑,๐๐๐ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาแล้ว บรรลุอรหันต์ทั้งหมด
พระปัญจ์ฯ=พระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ มีพระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งได้บรรลุอรหันต์รูปแรกในโลก
ปัญฯ,ปัญญะ=ปัญญา
พุทธ์เจ้า=พระพุทธเจ้า


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๗ ~ เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, มีนาคม, 2567, 12:32:04 PM

มุตโตทัย : ๒๐. ปาติโมกข์สังวรศีล

ภุชพงศ์ฉันท์ ๑๓

 ๑.พระวินัยสิ"ขุทเทสฯ"
ปฏิเวธก็ตรงวิไล
มิทำถูกจะพลาดไกล
จรห่างสิ"วัฏฏะ"พลัน

 ๒.เพราะ"ขุทเทสฯ"ซิเกี่ยวข้อง
สุจิส่อง"วิสุทธิฯ" ครัน
จะเรียก"ปาติโมกข์ฯ"สันต์
สุตะ"ศีลนิเทศ"เมลือง

 ๓.ก็เนื่องจากเพราะศีลชัด
ปฏิบัติมุล้นกระเดื่อง
ระวังศีลมิหลุดเนือง
ประลุแปดลุห้าเหมาะหนา

 ๔.ผิเณรถือสิ"สิบ"บ่ง
และพระสงฆ์กำหนดคณา
ก็สอง,สองและเจ็ดพา
ฐิติฐานลุมรรคและญาณ

 ๕.เจาะ"อินทรีย์ฯ"ระวังใจ
วตไวสติพะพาน
"ทวารหก" ซิรู้ราน
อภิรมย์ก็ทุกข์สลาย

 ๖.มุ"ปัจจัยฯ" เหมาะสี่เพื่อ
อสุเกื้อชิวินสบาย
มิมัวเมากิเลสกราย
บริโภคเพราะอยากละลาน

 ๗.เสาะ"อาชีวะฯ" ผ่องผุด
บริสุทธิ์มิหลอกและผลาญ
สำเร็จกิจลุล่วงงาน
พิริมั่นเจริญยะยง

 ๘.เลาะ"สมาธิ์นิเทศฯ"แจ้ง
จิแสดงวิธีผจง     
 ผิ"อาหาฯ" พิจารณ์คง
ปฏิกูลซิภัตรทุรน

 ๙.เผดิมเคี้ยวสิก้อนย่อย
ระยะคอยก็นานมิฉล
ก็มูตร,คูถ จิเป็นผล
มุตะจิตสภาพสิจริง

 ๑๐.ตริ"ปัญญานิเทศ"ผล
"ปฏิสนธิ"แล้วก็ยิ่ง
"วิปัสสาฯ" จะตรึกติง
ละกิเลสลุ"โคตรภุญาณ"

 ๑๑."วิสุทธิ์มรรค" ซิกล่าวถ้วน
จะประมวลกะ"มรรคฯ"ผสาน
"สตีปัฏฯ"ก็มรรคพาน
อริย์สัจฯลุมรรคประรมภ์

 ๑๒.เพราะเท้าต้องริก้าวเดิน
ยุรเพลินกะ"สัจจะ"ชม
ประพฤติ"สัจจะมรรค"สม
ลุ"วิสุทธิธรรม"ผลิน

 ๑๓.เสาะ"มรรคสัจ" มิอยู่ไหน
หฤทัยสิแท้ วศิน
มโนเป็นมหาจินต์
ลุ"วิสุทธิฯ"ที่ฤดี

 ๑๔.เจริญมรรคกระทำผอง
จิมิต้องเลาะไหนสุขี
ผิไม่หลงก็ยอดดี
ปฏิบัติกะจิตกะตัว

 ๑๕."ติสิกขา" เจาะศีลฉาย
วปุกายก็ไม่สลัว
"สมาธิ์,ปัญฯ"มิมืดมัว
จิสำเร็จพิพัฒน์พิบูลย์

 ๑๖.ผิกาย,จิตมิมีแล้ว
สวแคล้วกะศีลอะดูลย์
เพราะจิตรักษ์และคิดพูน
วตมรรคลุผลนิร์วาณ

 ๑๗.พระพุทธ์เจ้าพระสงฆ์ชัด
จะสลัดกิเลสมลาน
มุใจ,กายก็มรรคสาน
อธิคมลุพ้นคระไล

 ๑๘.มุ"สามาถะ"มากเพื่อ
พหุเกื้อ"วิปัสสะฯ"ไว
ตริน้อม"โอปะฯ" จิตใส
ริพิจารณ์หทัยและตน

 ๑๙.ผิสิ่งนอกสิเสียง,รส
มุกำหนดกะตัวและยล
ปุ"ปัจจัตฯ" จิรู้ผล
บ มิหาสิไหนเผดียง

 ๒๐.ลุ"ญาณทัสสะฯ"อาดูลย์
บริบูรณ์กะมรรคสิเที่ยง
ก็ได้มาเพราะตนเกรียง
บริสุทธิ์วิชายะยืน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

ขุทเทสฯ=ปาติโมกขุทเทส คือกิจของสงฆ์ที่ต้องสวดปาฏิโมกข์ ทุกกึ่งเดือนโดยพิศดาร ไม่สวดย่อ
ปฎิเวธ=ลุล่วงผล
วัฏฏะฯ=วัฏฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด
วิสุทธิฯ=วิสุทธิมรรค คือทางสู่พระนิพพานเป็นสภาพที่บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน
ศีลฯ=ศีลนิเทศ คือการรักษาศีลอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุและชน เพื่อมุ่งปฏิบัติหลุดพ้น มี ๔ คือ ๑) ปาติโมกขสังวรศีล ๒) อินทรีย์สังวร ๓) ปัจจัยสันนิสสิตศีล ๔)อาชีวปาริสุทธิศีล
ปาติโมกข์ฯ=ปาติโมกขสังวรศีล คือการสำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึงการรักษาศีล ๕  ศีล ๘, ศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗ ข้อ
อินทรีย์ฯ=อินทรีย์สังวร คือสำรวมรักษา ระวังในอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยมีสติรู้เท่าทัน เวลารับอารมณ์ต่างๆ
ทวารหก=ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมะเรื่องที่ใจคิด
ปัจจัยฯ=ปัจจัยสันนิสสิตศีล คือการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔(จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)ไม่บริโภคด้วยตัณหา และมัวเมา เอาแค่ดำรงชีพ
อสุ=ชีวิต
อาชีวะฯ=อาชีวปาริสุทธิศีล คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ อันมีวิริยะเป็นเหตุให้สำเร็จ
สมาธิ์นิเทศ=แสดงวิธีการเจริญ อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อาหาฯ=อาหาเรปฎิกูลสัญญา เป็น ๑ ใน ๔๐ วิธีของการปฎิบัติสมถกรรมฐาน
ภัตร=อาหาร
มูตร=ปัสสาวะ
คูถ=อุจจาระ
มุตะ=รู้แล้ว
ปัญญานิเทศ= คือ ๑)ปัญญาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิ ๒)เมื่อเจริญวิปัสสนาจะเกิดปัญญาละกิเลสออกจากจิตได้
สตีปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ การเจริญสมถกรรมฐาน วิธีหนึ่ง
ติสิกขา=ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
อธิคม=การบรรลุ
วิปัสสะฯ=วิปัสสนา
โอปะฯ=โอปนยิโก คือควรน้อมนำเข้าไปในจิตตน
สามาถะฯ=สมถะ คือ การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ ,การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอารมณ์
ปัจจัตฯ=ปัจจัตตัง หมายถึง พระธรรมอันผู้บรรลุ จะพึงรู้เฉพาะตัว
ญาณทัสสะฯ=ญาณทัสสนวิสุทธิ์ การปฏิบัติบริบูรณ์ จนก้าวผ่านโคตรภูญาณ ได้ความรู้แจ้งในมรรคญาณ บรรลุเป็นพระอริยบุคคล
โคตรภุญาณ=โคตรภูญาณ คือ ระยะก้ำกึ่งกับระหว่างความเป็นปุถุชน กับ พระอริยะ