บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, พฤษภาคม, 2567, 08:33:32 AM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๙.ความจนเป็นทุกข์ในโลก ~ กาพย์ดอกแคร่วง ๑๐
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, พฤษภาคม, 2567, 08:33:32 AM

(https://i.ibb.co/VtQhjXG/Screenshot-20240427-173844-Chrome.jpg) (https://ibb.co/L8Jqk4y)

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙.ความจนเป็นทุกข์ในโลก

กาพย์ดอกแคร่วง ๑๐

  ๑.ภิกษุดูก่อน
ความจนทุกข์คลอน.....................โลกา
  ๒.ของผู้เสพหา
กามคุณห้า...................................ร้อนตรม
  ๓.ไร้ทรัพย์"กู้"จม
"การกู้"ทุกข์ถม.............................หนี้บาน
  ๔."เสียดอกเบี้ย"ซาน
ก็เป็นทุกข์ผลาญ...........................เช่นกัน
  ๕.จ่ายดอกช้าครัน
"การทวง"ทุกข์หวั่น........................"ถูกตาม"
  ๖.ไม่ให้ถูกถาม
ต้อง"จองจำ"ผลาม.........................ร้อนรน
  ๗.ความจน,กู้,หนี้ผล
ดอกเบี้ยทวงก่น..............................ทุกข์นำ
  ๘."ตามตัว,จองจำ"
ทุกข์ในโลกยำ................................เสพกาม
  ๙.ทางธรรมเปรียบตาม
คนขาด"หิริ"ปราม............................ขาด"เพียร"
  ๑๐."โอตตัปปะ"เบียน
ขาด"ศรัทธา"เตียน..........................."ปัญญา"
  ๑๑.เรียกเหล่าชนว่า
ขาดวินัยกล้า....................................พุทธ์องค์
  ๑๒.คนธรรมขาดคง
หิริ,โอตฯส่ง.......................................พฤติทราม
  ๑๓.ทำชั่วกายลาม
วาจา,ใจสาม......................................"กู้"เปรย
  ๑๔.ปกปิด"ชั่ว"เคย
"เสียดอกเบี้ย"เผย..............................แน่เทียว
  ๑๕.มิตรมีศีลเชี่ยว
กล่าวความผิดเจียว............................ "ถูกทวง"
  ๑๖.วิตก,ทุกข์บ่วง
ตามทุกข์ที่ล่วง................................... "ถูกตาม"
  ๑๗.ทางธรรมคนหวาม
ถูก"จองจำ"ขาม...................................หลังตาย
  ๑๘.นรกพบง่าย
เดรัจฉานกราย....................................ทุกข์แดน
  ๑๙.พุทธ์องค์ชี้แก่น
"จองจำ"ร้ายแสน..................................ทุรน
  ๒๐.ไม่มีไหนท้น
เหมือนสองแดนผล...............................นี้เลย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๓๙๒
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๓-๙๔

กามคุณห้า=คือสิ่งที่น่าปรารถนาชวนให้รักใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี ๕ อย่าง ได้แก่ รูป(สิ่งทีาตาเห็น),เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ(สิ่งที่กายสัมผัส)
หิริ=ความละอายต่อบาป
โอตตัปปะ=ความเกรงกลัวต่อบาป
ศรัทธา=ความเชื่อในกุศลธรรม

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๙.ความจนเป็นทุกข์ในโลก ~ กาพย์ดอกแคร่วง ๑๐
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, พฤษภาคม, 2567, 09:04:36 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๐.ธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่าง

กาพย์วิชชุมาลี

  ๑."ความอยากได้,อยากมี"......................"อยากเป็น"
ธรรมมี"อยาก"เป็นมูล...............................เก้าอย่าง
เพราะ"อยาก"หนึ่งต้องเผ่น........................แสวงหา
"แสวง"สองกระจ่าง..................................."ลาภ"เกิด
   
  ๒."ลาภ"สามเชิดก็มุ่ง................................ตริตรอง                                             
สี่"ตรอง"แล้ว"กำหนัด"................................จิตแล่น
"กำหนัด"ห้าก่อนอง.....................................ฝังใจ
"ฝังใจ"หก"หวงแหน"....................................ตามมา

  ๓."หวง"เจ็ดพาก่อลาม..............................."ตระหนี่"                                   
แปดเพราะ"ตระหนี่"เกิด..............................ป้องกัน
เก้าเพราะ"ป้องกัน"รี่.....................................ก่อเหตุ
ทะเลาะ,แตกแยกครัน..................................นานา ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๗
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๘


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๙.ความจนเป็นทุกข์ในโลก ~ กาพย์ดอกแคร่วง ๑๐
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, พฤษภาคม, 2567, 01:43:26 PM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๑.เข้ากันได้โดยธาตุ

กาพย์มหาวิชชุมาลี

  ๑.ภิกษุทั้งหลาย,สัตว์......................ย่อมเข้า
ลงกันได้โดยธาตุ..............................เดียวกัน
คนมี"ศรัทธา"เคล้า............................ศรัทธา
"ละอายบาป"คบพลัน.........................อายบาปแน่เอย
   
  ๒.คนเคย"เกรงบาป"แล้.....................จะคบ                                             
พวกกล้วบาปเหมือนกัน.......................แน่แท้
"คนฟังมาก"จะคบ...............................ฟังมาก
"เพียรธรรมมาก"ก็แล..........................ผู้หมั่นเพียรธรรม

  ๓.คนทำ"สติมั่น".................................แน่นอน                                   
พูดกันไม่ต่างกลุ่ม................................."ปัญญา"
ต่างพวกก็คบจร....................................แยกกัน
อดีต,กาลนี้,หน้า....................................เป็นเช่นนี้แล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๙๑
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๙