บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, เมษายน, 2567, 12:17:59 PM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, เมษายน, 2567, 12:17:59 PM

(https://i.ibb.co/7S0cTBv/Screenshot-20240418-113931-Chrome.jpg) (https://ibb.co/yNxTMK0)

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด

กาพย์โกสุม ๒๔

  ๑.เสื่อมจากญาติ......................คาดเล็กน้อย
เสื่อมสุดผลอย...........................เสื่อม"ปัญญาฯ"
เจริญญาติ..................................วาดน้อยค่า
เจริญมา......................................ปัญญาฯกราย  
    
  ๒.จงสำเหนียก..........................เพรียกรุ่งเรือง                                            
ปัญญาฯเปรื่อง............................เพียรขยาย
เสื่อมจากทรัพย์...........................นับมิร้าย
เสื่อมเลวหลาย.............................ปัญญาฯซาน

  ๓.เจริญทอง...............................ตรองว่าน้อย                                  
ยิ่งใหญ่สอย.................................ปัญญาฯชาญ
เสื่อมจากยศ.................................จดจ่อนาน
ยังด้อยผลาญ...............................ปัญญาฯเลือน

 ๔.ยศก้าวหน้า...............................ว่าน้อยหรอก
ปัญญาฯฟอก..................................เจริญเตือน
เราจักมั่น........................................วันมิเชือน
สมองเกลื่อน....................................ด้วยปัญญาฯ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : เอกนิบาท อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๗,๑๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๕

ปัญญาฯ=ปัญญาวุฒิ คือความเจริญด้วยปัญญา

(ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, เมษายน, 2567, 10:33:30 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖.กายคตาสติ และอานิสงส์

กลอนแปดสุภาพ

  ๑.ใครก็รู้ดูแม่น้ำทุกสาย
ไหลต่ำหมายมหานทีศรี
เหมือน"กายคตาฯ"ฝึกทวี
"วิชชา"มีหยั่งเห็นเด่นใจตน   
   
  ๒."กายคตาสติ"ทำมาก
"โยคะ"พรากประโยชน์โชติช่วงผล
สติสัปชัญญะแกร่งดล
"ญาณทัสฯ"ล้นจนแจ้งหลุดพ้นไกล

  ๓.กายคตาฯเกิดอานิสงส์
เจริญบ่งกาย,จิตสงบใส
วิตก,วิจารจะระงับไว
"วิชชา"ไซร้รุ่งเรืองเปรื่องไพบูลย์

  ๔.กายคตาฯถ้าทำมากแล้ว
"อกุศลธรรม"แคล้วแจวหนีสูญ
ทำมากขึ้น"กุศลธรรม"เกิดพูน
ที่เกิดแล้ววิบูลย์คูณเจริญ

  ๕.เจริญกายคตาฯมากแล
"อวิชชา"ทิ้งแน่"วิชชา"เหิน
"อัสสิมานะ"จะถือตัวเกิน
ละได้เพลินเยินกิเลสทลาย

  ๖.กิเลสหลาย อนุสัย,สัญโญชน์
โดนถอนรากจากโฉดโลดสลาย
กาย์คตาฯมากพลันปัญญากราย
"อนุปาฯ"เกิดปลายลุนิพพาน

  ๗.รู้ซึ้ง"เอนกธาตุ,นานาธาตุ"
ทราบมิพลาดธาตุหลากปัญญาฉาน
รู้แจ้งผล"โสดาฯ,สกิฯ"กราน
"อนาฯ"งาน"อรหัตต์ฯ"ต่อมา

  ๘.เจริญกาย์คตาฯปัญญาเยี่ยม
ลึกซึ้งเปี่ยมกว้างใหญ่ไร้เขตหนา
เป็นผู้มีปัญญาไวในหล้า
ปัญญากล้าพาแทรกกิเลสรอน

  ๙.ใครคลาดบริโภคกาย์คตาฯ
เขาถลาอมตะเสียก่อน
ใครเพียรได้ลิ้มลองต้องได้พร
อมตะมิถอนตลอดกาล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๕,๕๗,๕๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๗-๕๘

กาย์คตาฯ=กายคตาสติ แปลว่า สติที่เป็นไปในกาย คือวิธีทำกรรมฐานอย่างหนึ่ง ใช้สติไปรู้อวัยวะในร่างกายตน เช่น ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นของปฏิกูล ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จนจิตยอมรับความจริงได้ จึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในกาม เลิกยึดมั่นต่อไป
วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
โยคะ=คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ อย่าง ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
อวิชชา=ความไม่รู้ใน อริยสัจ ๔
ญาณทัสฯ=ญาณทัสสนะ คือความเห็นด้วยญาณ หรือสัญญา
วิตก=ความตรึก
วิจาร=ความตรอง
กุศลธรรม=คือเจตนาในการทำความดี ทางกาย วาจา ใจ ที่มีกำลังจนเป็นกุศลกรรม มีการให้ทาน รักษาศีล
อกุศลธรรม=คือธรรมที่เป็นอกุศล ได้แก่ อกุศลจิต อกุศลเจตสิกทั้งหมด เป็นอกุศลกรรมบท ๑๐ ๑)เจตนาฆ่า ๒) ลักทรัพย์ ๓)ผิดในกาม ๔)พูดเท็จ ๕)พูดส่อเสียด ๖)พูดคำหยาบ ๗)พูดเพ้อเจ้อ ๘)อภิชา ความโลภ ๙) พยาบาท ๑๐)มิจฉาทิฏฐิ
อัสสิมานะ=ความถือตัวว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่
อนุสัย=กิเลสอย่างละเอียดที่นอนนิ่งในสันดาน
สัญโญชน์=กิเลสที่มัดสัตว์ไว้ในภพ
อนุปาฯ=อนุปาทาปรินิพพาน คือสภาพกิเลสที่ดับสนิทไม่มีเชื้อเหลือ
เอนกธาตุ=เอนกธาตุปฏิเวธ คือ ความตรัสรู้ หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุเป็นเอนก
นานาธาตุปฏิเวธ=ความตรัสรู้หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุต่างๆ
นานาธาตุปฏิสัมภิทา=ปัญญา แตกฉานในธาตุต่างๆ
โสดาฯ=โสดาปัตติผล คือธรรมที่พระโสดาบัน บรรลุ
สกิฯ=สกิทาคามิผล คือธรรมที่พระสกิทาคามี บรรลุ
อนาฯ=อนาคามิผล คือธรรมที่ พระอนาคามี บรรลุ
อรหัตต์ฯ=อรหัตตผล คือธรรมที่พระอรหันต์ บรรลุ


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, เมษายน, 2567, 01:13:15 PM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗.สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้

กาพย์ฉบัง ๑๖

  ๑.ฐานะห้าอย่าได้พึง..........................ที่ใครได้ถึง
แม้พรหม,เทพ,คนหรือสงฆ์

  ๒.สิ่งเป็นธรรม์ดาขอจง.......................อย่าคิดดังบ่ง
ให้เว้นแก่ชนทั้งหลาย

  ๓.หนึ่ง"ความแก่"ธรรม์ดาปราย............อย่าได้แก่กราย
สอง"เจ็บไข้"ไม่ป่วยหนอ

  ๔.สาม"ความตาย"ธรรม์ดารอ...............อย่าได้ตายจ่อ
สี่"ความสิ้นไป"มิกษัย

  ๕.ห้า,"สิ่งพินาศ"แน่ไซร้.........................อย่าได้ประลัย
ชนต้องตรองความจริงเผย

  ๖.ชนไม่รู้จริงไหนเลย............................สบทุกคนเอย
ต้องพบเยี่ยงนี้สุดหนี

  ๗.มิควรด่วนโศก,ครวญชี้........................การงานถอยรี่
โศกเปรียบลูกศรแทงเสีย

  ๘.อริยะจะแจ้งเยีย.................................มิโศก,หลงเปลี้ย
เหมือนถอนลูกศรออกไป

  ๙.ฐานะห้าอย่างมิใช่...............................เทพ,พรหมคนไหน
ในโลกจะได้พึงขอ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๙
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๗๑-๗๒


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 30, เมษายน, 2567, 09:17:03 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๘.ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร

กาพย์นางกราย ๒๓

  ๑.ภิกษุดูก่อน....พบนักบวชวอน.....ถามย้อนพุทธ์ศาสน์
มีธรรมใด"มูล"ยาตร..................อะไรพาดแหล่ง"เกิดแดน"

  ๒.ใดต้น"เหตุเกิด"......ใด"ที่รวม"เจิด....ใดเทิด"นำ"แผน
อะไร"เป็นใหญ่"แกน......................อะไรแพนสิ่งเลิศดี

  ๓.ใด"สาระ"เด่น....."หยั่งสู่"ใดเห็น.....ใดเป็น"จบ"รี่
"ปริโยสาน,จบ"คลี่...................พุทธศาสน์นี้แสดงธรรม

  ๔.พุทธ์องค์ทรงปราม.....นักบวชอื่นถาม.....ให้ความตามย้ำ
"ฉันทะ"เป็นมูลนำ...................แดนเกิดทำไว้ในใจ

   ๕."ผัสสะ,กระทบ".....ต้นเหตุเกิดพบ....."เวท์นา"ครบไซร้
ที่รวมสุข,ทุกข์ใด...............มิทุกข์ไม่สุขอารมณ์

  ๖."สมาธิ์"ประมุข...."สติ"ใหญ่ฉุก....."ปัญญา"ชุกบ่ม
"วิมุติ"สาระพรม.................หยั่งลงชม"อมตะ"ดล

  ๗.มี"นิพพาน"ซ่าน...."ปริโยสาน"....กล่าวขานจบผล
นักบวชอื่นถามตน...................ภิกษุด้นดั่งนี้แล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๑๓
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๗๖

ปริโยสาน=ที่จบบริบูรณ์,ที่สุดลงโดยรอบ