บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, มีนาคม, 2567, 11:30:28 AM



หัวข้อ: มุตโตทัย : ๒๑. ธรรมคติวิมุตติ ~ เปษณาทฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, มีนาคม, 2567, 11:30:28 AM

(https://i.ibb.co/FDC8PFr/Screenshot-20240224-113711-Chrome.jpg) (https://ibb.co/gRhtnx2)

มุตโตทัย : ๒๑.ธรรมคติวิมุตติ

เปษณนาทฉันท์ ๑๖

 ๑.พระพุทธ์เจ้าหรือจะมีปัญญา
พิจารณ์เพื่อหา"วิมุตฯ"สุกใส
เพราะแค่วันเดียวมิเสร็จกิจไว
จะต้องบวชไซร้สมาธิ์อาจิณ

 ๒.พระองค์ดูแลนิกรทั่วเมือง
ก็ศึกษาเรืองเจาะ"ปัญญาฯ" ริน
ธ ป้องปกเมืองประชาชนชิน
ผจงตั้งจินต์นิกรสุขสม

 ๓.ผิท่านไม่มีพระปัญญายง
ก็เพียงดำรงเจาะการงานชม
พระองค์ตรึกตรองกะ"ปัญญา"คม
ก็แค่ปรารมภ์บุรีทั้งผอง

 ๔.ตะควบคุมการอุบัติ,แก่,ป่วย
กะสัตว์ใกล้ม้วยระแวงครรลอง
ผิเกิดมาแล้วจิห้ามแก่หมอง
ฤ ห้ามเจ็บพร้องก็ไม่ได้เลย

 ๕.มุคุมเกิด,ตายซิของผู้อื่น
ฤ ของตนยืนก็หมดทางเปรย
พระองค์คิดทวนเจาะปลาย,ต้นเผย
สลดใจเงย ณ แท่นบัลลังก์

 ๖.ฆราวาสนี้เลาะรักษ์สมบัติ
ตะเกิด,ตายชัดมิพ้นจีรัง
เสาะไปทางไหนลุก้าวไกลขลัง
ประหนึ่งมืดบังสว่างยืนคง

 ๗.ผิมีเกิด,ตายและแก่,ป่วยไข้
ก็น่าแก้ได้ประลุทางตรง
พระองค์ตรึกตรองฆราวาสสงศ์
สำเร็จยากปลงริบวชเร็วครัน

 ๘.ตริตรึกเรื่องนี้ซิอยู่บ่อยบ่อย
วิกาลหนึ่งคล้อยสนมหลับกัน
"นิมิตอุคฯ"แจ้งอุบัติซากพลัน
ก็ซากศพหวั่นระทดไม่ถอน

 ๙.เสด็จออกบวชระลีเร็วพลัน
"อโนมาฯมั่นลิ"มัสสุ"รอน
"พระเมาฬี"รานอธิษฐานจร
ธ ตั้งใจวอนแสวงอาจารย์

 ๑๐."สำนักอาฬารฯ" มุทรงศึกษา
ตะไม่ได้พาลุธรรมพบพาน
พระองค์ลี้หลีก ณ "เนรัญฯ"ธาร
"พระปัญจ์วัคฯ"งานซิอุปัฏฐาก

 ๑๑.บำเพ็ญเพียร"ทุกร์กิฯ"ล้วนหลากหลาย
มุอดภัตรหน่ายมิสัมฤทธิ์พราก
พระกายซูบเซียวริเสร็จกิจยาก
เพราะฝืนกายมากตริไม่สมควร

 ๑๒.เพราะจิตใจ,กายจะอาศัยกัน
ผิกายเงียบงันกระทำเรรวน
สำเร็จไม่มีผิจิตด้อยผวน
เพราะกายเดียวด้วนจะทำได้ไย

 ๑๓.พระฯฟื้นฟูกายพลังแข็งแรง
ประดา"ปัญจ์ฯ"แจ้งริว่าเลิกไกล
ก็หลบลี้ไป"พระพุทธ์ฯ"พานศรัย
พระองค์น้อมใจพิจารณ์ทันที

 ๑๔."สุชาฯ"น้อมข้าว"มธูปาฯ"แล้ว
เสด็จเดินแน่วเลาะป่าพงพี
ปะ"โสตถียาฯ"ถวายหญ้าดี
พระปูหญ้านี้ ณ ต้น"อัสสัตฯ"หนา

 ๑๕.ณ ยามพลบค่ำพระพุทธ์เจ้านั่ง
ผจงใจตั้ง"อธิษฯ"แกล้วกล้า
ผิไม่เสร็จโพธิล้ำเลิศหล้า
มิลุกขึ้นมาผิเลือดเนื้อหาย

 ๑๖.สมาธิ์พร้อมกับ"วิปัสส์ฯ"จัดพา
กำหนด"อาณาฯ" นิวรณ์เกริกกราย
ปุฟุ้งซ่าน,เวทนาพร่างพราย
พระองค์ไม่ง่ายซิมารฉ้อฉล

๑๗.ตะสัจจามั่นคงริ"ปัญญา"ป้อน
ระงับ"นีวรณ์ฯ" รตีท่วมท้น
และ"ปัสสัทฯ"เกิดปฐมยามผล
ลุ"บุพเพฯ"พ้นระลึกชาติจร

 ๑๘.ตริ"ผู้ไปเกิด"พิจารณ์ใคร่ครวญ
"จุตูป์ปาฯ"ถ้วน ณ "มัชฌิม"ธร
ก็ตาย,เกิดสัตว์สกลทั่วคลอน
พระญาณดั่งพรมิสิ้นสุดสม

 ๑๙.ริ"ผู้พาไป" พิจารณ์ทวนกลับ
"ปฏิจฯ"พุทธ์ฯนับสลดหน่ายตรม
ภวังค์จิตถึง"ฐิตีธรรม"คม
"อภูต์ธรรมฯ"ชมกำหนด"อาสฯ"ญาณ

 ๒๐.พระพุทธ์เจ้าท่านจะรู้จิตพ้น
กิเลสท้วมท้นทลายฤทธิ์ราน
ปลาตพ้นมารมิเกิด,แก่ผลาญ
และเจ็บ,ตายผ่านก็ภพจบกัน

 ๒๑.ลุ"เอกันต์ฯ"ยิ่ง"บรมสุขล้น
ละหนีทุกข์ทน"นิโรธธรรม"มั่น
ปะ"สันติ์ธรรมฯแล้ "วิมุตฯ"สุขสันต์
ลุ"นิพพาน"พลันมิเกิดเวียนวน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

ปัญญาฯ=ปัญญาวิวัฏฏ์ คือมีความเป็นเลิศด้านปัญญา
วิมุติฯ=วิมุตติธรรม คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส ๕ ประการ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือการหลุดพ้นกิเลสชั่วคราวโดยอำนาจของญาณ ๒) ตทังควิมุตติ การดับกิเลสด้วยองค์ธรรมตรงกันข้าม ๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ๔) ปฏิปัสสัมธิวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยสงบ ๕) นิสสรณ์วิมุตติ คือหลุดพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนตลอดไปเช่น นิพพาน
นิมิตอุคฯ=อุคคนิมิต หมายถึงนิมิตที่ติดตาติดใจ
ระลี=แล่นไป
อโนมา=แม่น้ำอโนมา ที่พระพุทธเจ้าทรงม้าออกจากเมือง มากับนายฉันนะเพื่อบวช
สำนักอาฬารฯ=สำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส ที่พระพุทธเจ้าเข้าศึกษา
เนรัญฯ=แม่น้ำเนรัญชลา ที่ทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยา มีพระปัญจวัคคีย์ถวายการรับใช้
ทุกร์กิฯ=ทุกรกิริยา
มธูปาฯ=ข้าวมธุปายาส หุงด้วยน้ำนม ที่ นางสุชาดา ถวายเช้าก่อนที่จะตรัสรู้
โสตถียา=โสตถิยะ ผู้ถวายหญ้าคา ก่อนคืนวันตรัสรู้
อัสสัตฯ=อัสสพฤกษ์ ต้นไม้ที่ประทับคืนตรัสรู้ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โพธิ" แปลว่าตรัสรู้
พุทธ์เจ้า=พระพุทธเจ้า
วิปัสสนา=การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
อาณาฯ=อาณาปาณาสติ คือมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า เป็นได้ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน มี ๑๖ คู่ ๑)กายานุปัสสนา มี ๔ คู่ ๒)เวทนานุปัสสนา มี ๔ คู่ ๓)จิตตานุปัสสนา มี ๔ คู่ ๔)ธัมมานุปัสสนา มี ๔ คู่
นิวรณ์ฯ=นิวรณธรรม คือธรรมที่กั้นจิตไว้มิให้บรรลุความดีคือ๑)กามฉันท์ พอใจในกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ๒) พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓)ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔)อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ ๕)วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
ปัสสัทฯ=ปิติปัสสัทธิและสมาธิ เป็นอาการสงบระงับที่เย็นกายใจ จะเกิดขึ้น มากขึ้นเมื่อผ่านปฐมยาม
บุพเพฯ=บุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติ ของสัตว์ทั้งหลายได้
จุตูป์ปาฯ=จุตูปปาตญาณ คือญาณที่กำหนดรู้เรื่องการเวียนตาย และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย โดยใช้จักษุทิพย์
ปฏิจฯ=ปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการ เป็นหลักธรรมอธิบายการเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน เช่นทุกข์มาจากกรรมและกิเลส เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย ๑๒ เรื่อง เกิดสืบเนื่องกันมาตามลำดับ เรียกว่า อนุโลมเทศนา
๑)เพราะอวิชชา (ความไม่รู้ในอริสัจ) เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๒)สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๓)เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึง มี ๔)เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๕)สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๖)เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๗)เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๘) เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๙) เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑๐)เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑๑)เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะจึงมี ๑๒)ความโศก คร่ำครวญ โทมนัส คับแค้นใจก็ดี พร้อมความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงจึงมี
สฬายตน=ที่ต่อ,บ่อเกิด หมายถึง อายตนะภายใน ๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และอายตนะภายนอก ๖(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏญัพพะ ธรรมมารมณ์)
ฐิตีธรรม=ฐีติธรรม หรือฐีติภูตังคือจิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา, ตัณหา(ความทะยานอยาก),อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)" เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วจะเป็น "ฐีติญานัง" คือจิตผู้รู้สูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุขพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
อภูต์ธรรม=อัพภูตธรรม คือหนึ่งในเก้าธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
อาสฯ=อาสวักขยญาณ คือญาณขณะตรัสรู้เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหลาย  หลุดพ้นวัฏฏะไม่เกิดอีกต่อไป
เอกันต์ฯ=เอกันตบรมสุข มีแต่สุขล้วนๆเพราะไม่มีกิเลสเลย
นิโรธธรรม=ธรรมที่ว่าด้วยการดับทุกข์
สันติธรรม=สันติวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่อย่างสงบ
นิพพานฯ=นิพพานธรรม เป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดขึ้นและดับไป ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานไม่มีที่อยู่ ไม่มีสถานที่ที่เป็นพระนิพพาน แต่พระนิพพานก็มีอยู่

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๒๑. ธรรมคติวิมุตติ ~ เปษณาทฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, มีนาคม, 2567, 12:55:08 PM

มุตโตทัย: ๒๒. อัจฉริยะ - อัพภูตธรรม

อินทรธนูฉันท์ ๑๒

 ๑.เมื่อครั้งพระพุทธฯดำรง-
ราชย์วงศ์จะยลแสดง
"สี่อย่างนิมิต"แถลง
เพื่อน้อม"ภิเนษฯ"ลุธรรม

 ๒."คนแก่" สิหนึ่งตริเตือน
เสื่อมเลือนกะกายประจำ
"อาพาธิฯ"สองถลำ
บางครั้งมิรอดชิวิน

 ๓.เห็น"กาลกะฯ"คนและสัตว์
ตายชัดซิ "สาม"ผลิน
เห็น"ปัพพะฯ"บวชถวิล
"สี่" เพียรเสาะทางภิรมย์

 ๔.พุทธ์องค์เสด็จผนวช
เร็วรวด"อโนฯ"นิยม
ครอง"บรรพชิต"ปฐม
ผ้าครองสำเร็จเพราะ"บาร์ฯ"

 ๕.ความอัศจรรย์อุบัติ
เพียรจัดปะ"โพธิฯ"มา
หกปีมิท้อเสาะหา
ได้ญาณลิ"วัฏฯ"มลาน

 ๖.สาวกปฐม"พระปัญจ์"
อัศจรรย์กะผ้าประทาน
บวช"เอหิภิกขุฯ"สาน
"อัฏฐ์ฯ" ลอยและสรวมกะกาย

 ๗.สาวกประหลาดพระธรรม
เลิศล้ำเพราะบุญขจาย
กล่าว"เอหิภิกฯ"ขยาย
ฤทธิ์ของพระพุทธองค์

 ๘.สาวกก็ออกประกาศ
"พุทธ์ศาสน์ฯ" นิกรผจง
เลื่อมใสริบวชประสงค์
ตั้งมั่น"ติส์ฯ"แน่วฤทัย

 ๙.กาลนี้พิธีผนวช
สงฆ์สวดสิ"ญัตติฯ"ไข
จัดบวชก็ถึง"พระไตรฯ"
ตัดรอนกิเลสอะดูร

 ๑๐.ผู้บวชและเรียนขยัน
ถึงพลันปุ"อัศฯ"วิบูลย์
มากน้อยตะบุญจะพูน
ไม่พิศวงหทัยฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

นิมิต ๔ อย่าง=จตุนิมิต คือสิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรจึงเป็นเหตุให้ทรงปรารถจะออกบวชได้แก่ ๑)ชิณณะ คนแก่ เตือนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ๒)พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ เห็นคนป่วยรับทุกข์ทรมาน ๓)กาลกะตะ เห็นคนและสัตว์ตาย ๔)ปัพพชิตะ คือเห็นบรรพชิต มุ่งตบะธรรม ค้นหาความสุขที่แท้จริง
ภิเนษฯ=มหาภิเนษกรมณ์ คือการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า
อโนฯ=อโนมานที แม่น้ำที่พระพุทธเจ้าตั้งจิตอธิษฐานออกบวช เทพยดา ถวายเครื่องอัฏฐบริขารให้เป็นการอัศจรรย์
บาร์ฯ=บารมี
โพธิฯ=พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้เองโดยชอบ(พระพุทธเจ้าทรงได้ญาณ ๓ หรือญาณทัสสนะ ๓ รอบ ในอริยสัจ ๔ รวมเป็น ๑๒ อาการ จึงปฎิญาณพระองค์ได้บรรลุ "อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ" แล้ว)
วัฏฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
พระปัญฯ=พระปัญจวัคคีย์
เอหิภิกขุฯ=เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นวิธีบวชตอนต้นพุทธกาล โดย พระพุทธเจ้า ประทานให้บวชด้วยพระองค์เอง ทรงกล่าววาจา"เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
อัฏฐ์ฯ=อัฎฐบริขาร เครื่องใช้ของสงฆ์เก้าอย่าง
ติสรฯ=ติสรณคมนูปสัมปทา คือการบวชโดยวิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์(พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) กระทำในตอนต้นพุทธกาล ระยะเวลาซึ่งพระสาวกออกไปแผ่ศาสนา และมีผู้เลื่อมใสขอบวช
ญัตตฯ=ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา คือการบวชในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าบัญญัติให้มีกลุ่มสงฆ์บวชให้
พระไตรฯ=พระไตรรัตน์ คือแก้วสามประการอันประเสริฐที่สุดของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๒๑. ธรรมคติวิมุตติ ~ เปษณาทฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, มีนาคม, 2567, 08:23:27 AM

มุตโตทัย: ๒๓. วาสนา

อุปชาติฉันท์ ๑๑

   ๑..นิสัยมนุษย์,สัตว์
ระดะชัดจะ"ดี"ไหม
ทั้ง"เลว"และ"กลาง"ไย
เหมาะเจาะ"วาสนา"ผล
"คนชั่ว"จะเลววุ่น
อติบุญเหมาะ"ดี"ดล
ก็"กลาง"เสมอตน
ตะละแบบก็"วาสฯ"กลาย

   ๒..ผิ"วาสะ"ดีนบ
ตะปะคบกะเลวผาย
บุญวาสฯจะด้อยคลาย
ดุจะ"วาสฯ"จะ"เลว"ตาม
บ้างวาสนาอ่อน
ตะตะลอนสุธีถาม
ก็บุญจะเพิ่มลาม
ฐิติคล้ายกะปราชญ์เรือง

   ๓..ผิคบระหว่างกลาง
ก็มิสร้างและเสริมเนื่อง
เสื่อมทรามมิมีเคือง
ธิติวาสฯซิกลางคง
บุคคลริคบปราชญ์
ตริฉลาดลุเลิศยง
จะเลื่อนสิบุญสงศ์
ตนุวาสนาพูน ฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

วาสฯ=วาสนา  คือบุญหรือบาปที่ได้สั่งสมอบรมเป็นเวลานาน จนเคยชินติดเป็นนิสัยประจำตัว ในการแสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๒๑. ธรรมคติวิมุตติ ~ เปษณาทฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, มีนาคม, 2567, 10:05:49 AM
มุตโตทัย: ๒๔. สนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอุดม

อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

 ๑.สดับตริปรึกษา
นยนาพระธรรมครัน
พระพุทธฯจะตรัสสรรค์
ชุติเรืองอุดมคุณ

 ๒.พระสงฆ์ผนวชแล้ว
วตแกล้วและช่วยหนุน
ผิ"พุทธะ"เกื้อจุน
อรหันต์ ณ ก่อนกาล

 ๓.ประเดิมพิจารณ์สัจจ์
จตุชัดก็"เกิด"ซ่าน
กะ"แก่","พยาธิ์"ราน
มร"ตาย" มิหลีกหนี

 ๔.ผิ"นั่ง"ฤ"นอน,ยืน"
ธุวดื่นกะ"เดิน"รี่
ฤทัยจิรวมชี้
"ขณิกาฯ" สิชั่วคราว

 ๕.เจริญดะจนจิต
ลุนิมิตซิ"อุคฯ"กล่าว
ภวังคะจิตยาว
ระยะ"อุปะฯ"แน่วใส

 ๖.ตริตรึกริเพ่งพิศ
"ฐิติจิต"ปฐมไซร้
ลุ"อัปปนาฯ"ไว
ชุติเอกะอารมณ์

 ๗.ริบ่อยขยายพราก
"ปฏิภาคนิมิต"บ่ม
ผิตายจะเปื่อยสม
ระยะท้ายกระดูกยืน

 ๘.เจาะกายสินอก,ใน
ตนุไงและผู้อื่น
พิจารณ์สรีร์ดื่น
วปุเช่นกระดูกหนอ

 ๙.กำหนด ณ เดิน,นั่ง
ลุกระทั่งจะเน่าก่อ
และวายก็เถ้าตอ
ณ "มหา"สิธาตุสี่

 ๑๐.จะคืนปฐมธาตุ
มหชาติก็"ดิน"นี้
"อุทก"กะ"ไฟ"ชี้
ผิวะน้ำสภาพเดิม

 ๑๑.พิจารณ์วะตายซ้ำ
พหุย้ำสิหลายเติม
สุนัขและแร้งเสริม
จะแทะกินนะเนื้อเน่า

 ๑๒.วิเคราะห์สิอย่างนี้
จิเจาะชี้มิโง่เขลา
เลาะญาณฉลาดเร้า
ศุภวาสนาตน ฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

ขณิกะฯ=ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตชั่วขณะ,สมาธิชั้นต้น
อุคฯ=อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตาที่กำหนดเห็นจนแม่นยำ หลับตาก็มองเห็น
ภวังคจิค=จิตที่ไม่รู้สึกตัว
อุปะฯ=อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่สงบจากอกุศล เป็นระยะที่จวนจะแน่วแน่ใกล้ อัปปนาสมาธิ
ฐิติจิต=ฐีติจิต เป็นจิตดั้งเดิมที่ผ่องใส ยังไม่มีกิเลส
อัปปนาฯ=อัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่ถึงความแนบแน่น พ้นจาก รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ปฏิภาคนิมิต= นิมิตที่มีความสงบของจิตมากกว่า อุคคหนิมิต และมีความผ่องใสกว่าร้อยเท่าพันเท่า
ปฐมธาตุ,มหา=มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ชาติ=การเกิด
วาสนา= คือบุญหรือบาปที่ได้สั่งสมอบรมเป็นเวลานาน จนเคยชินติดเป็นนิสัยประจำตัว ในการแสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ