บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอน ร้อยกรองหลากลีลา => ข้อความที่เริ่มโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 07, มิถุนายน, 2557, 03:57:10 PM



หัวข้อ: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 07, มิถุนายน, 2557, 03:57:10 PM
:AddEmoticons00949:

สวัสดี ทุกท่าน

 ผมได้ประพันธ์ "รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด"  ลองติดตาม "สัจธรรม" จาก "รำลึกหัวตะพานบ้านเก่า"
ผมจะทะยอยลงติดต่อกันไป และจะนำแต่ละตอนครั้งละ 5 บท  ตอนละ 50 บท  

     รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด ..1  ได้นำเสนอไปแล้วจำนวน  100    บท 1-100
     รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด ..2  ได้นำเสนอไปแล้วจำนวน  100    บท 101-200
     รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด ..3  ได้นำเสนอไปแล้วจำนวน  100    บท 201- -300
     รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด ..4  ได้นำเสนอไปแล้วจำนวน  100    บท 301- -400



                                  ด้วยความจริงใจ                                                  
                                                         จาก
                                                      ธรรมชาติธรรม
                                           http://www.naturedharma.com
                                                      ประทีป  วัฒนสิทธิ์


 :AddEmoticons00918:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html

................................................
    อิ่มเอมใจในอักษรป้อนคำถ้อย
จัดเรียงร้อยบทกวีที่คิดสรรค์
มอบกวีแด่พี่น้องของกำนัล
คอยแบ่งปันสรรค์คิดจากจิตใจ

     ดุจดั่งเป็นเช่นกระจกส่องมองเห็นโลก
มุมเศร้าโศกสันติสุขแห่งยุคสมัย
มองด้วยจิตคิดคู่ธรรมนำซึ่งไท
อาจต่างไปต่างมุมมองของแต่ละฅน

     แต่อย่างน้อยแนวคิดถึงผิดถูก
คงช่วยปลูกวิจารณญาณผ่านสับสน
อาจตัดสินขอกังขาพากังวล
เพื่ออยู่บนถูกต้องครรลองธรรม

     ประทีปขอปณิธานงานอักษร
ร้อยกานท์กลอนกลั่นกรองมองเช้าค่ำ
เพื่อชี้เทาชี้ขาวกล่าวสีดำ
ผลน้อมนำสัจธรรมค้ำสังคม


ประทีป  วัฒนสิทธิ์
ธรรมชาติธรรม
www.naturedharma.com
 


หัวข้อ: Re: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 07, มิถุนายน, 2557, 04:00:32 PM
           
:AddEmoticons00949:
สวัสดี ทุกท่าน
นิยมใส่ “เครื่องรา” ภาษาใต้ 
   
     ๔๐๑ ที่บ้านผมนิยมแกงปรุงแต่งรส         
แกงไหลสดใส่กะทินี้ส่วนใหญ่
“ส้มแป้นขี้ม้า” คว้าเอาใบ         
หั่นโรยใส่ในแกงแต่งรสดี

    ๔๐๒  นิยมใส่ “เครื่องรา” ภาษาใต้         
คำกลางใช้”เครื่องเทศ”เขตกรุงศรี
ก่อนจะตำคั่วรางอย่างเข้าที         
เพิ่มดีปลีอีกหน่อยอร่อยเชียว

    ๔๐๓  มีคำผวนชวนคิดพูดติดปาก         
ขอนำฝากภาษามาข้องเกี่ยว
ด้วยในเรื่องปลาไหลแน่นักเทียว      
นั่งคนเดียวลองผวนชวนชื่นใจ

    ๔๐๔  ขุดไหล..คั่วไหล..ใส่หัวข่า         
ผวนออกมาหัวร่อก็ปลาไหล
เหมือนแกล้งบอกวิธีวิถีไทย         
ติดตลกเอาไว้ใคร่เจตนา

    ๔๐๕  ขุดไหลพร้อมล้อมไหลเป็นวงกว้าง      
ขุดรอบข้างเป็นวงกลมสมปรารถนา
ลึกหนึ่งเมตรใช้ได้ในอัตรา         
ขั้นต่อมาขุดตรงกลางอย่างเร็วพลัน
                                                                                                                                  
                                                                                           
 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936:  :AddEmoticons0094:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
26 มกราคม 2557

 :AddEmoticons00948:


หัวข้อ: Re: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 22, มิถุนายน, 2557, 09:27:18 PM
             
:AddEmoticons00949:
สวัสดี ทุกท่าน
ขุด..สัก..ยั่ว..ตั้งข้อง ลองเลือกเอา 
  
     ๔๐๖  ดินกระเทือนปลาไหลตกใจวุ่น      
ชุลมุนหนีตายให้หวาดหวั่น
หาทางออกไม่ช้ามารวมกัน         
หลุมรอบคั่นขวางไว้ไหลมากอง

    ๕๐๗  แม้ขุดดินไม่หมดไม่อดแน่         
ไหลยอมแพ้จับได้ให้ขังข้อง
ขุดปลาไหลสามัคคีมีปรองดอง      
สร้างโซ่ทองคล้องใจให้บ้านเรา

    ๕๐๘  พูดถึงหาปลาไหลสมัยนั้น         
สืบทอดกันนั้นมาคราก่อนเก่า
ขุด..สัก..ยั่ว..ตั้งข้อง ลองเลือกเอา      
แต่ต้องเข้าฤดูกาลนั้นสำคัญ

    ๔๐๙  เขาใช้ส้อมสักไหลในโคลนตม      
เรียก”แทงงม”คือแทงแทงไปอย่างนั้น
ไม่เห็นตัวแทงถูกได้เช่นกัน         
ต้องขยันลักปลาไหลจึงได้การ

    ๔๑๐  นิยมสักปลาไหลในช่วงแล้ง         
คำว่า “แทง” คือสักมักกล่าวขาน
ส้อมที่ใช้ยาวสองศอกออกประมาณ      
แต่ชาวบ้านไม่ใคร่ให้นิยม
                                                                                                                                    
                                                                                             
 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936:  :AddEmoticons0094:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
22 มิถุนายน  2557

 :AddEmoticons00948:


หัวข้อ: Re: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 27, สิงหาคม, 2557, 06:23:59 AM
             
:AddEmoticons00949:
สวัสดี ทุกท่าน
คำว่า “ยั่ว” คงยั่วยวนกวนอารมณ์ 
  
     ๔๑๑  ยั่วปลาไหลนิยมกันนั้นกว่าสัก      
สนุกนักยั่วไหลถูกใจผม
คำว่า “ยั่ว” คงยั่วยวนกวนอารมณ์      
ใช้เหมาะสมสอดคล้องต้องกันดี

    ๔๑๒  นิยมยั่วไหลในหน้าแล้ง         
อย่างเช่นแทงเช่นสักฤดูนี้
ขอบอกกล่าวเล่าถึงกรรมวิธี         
ยั่วมันมีวิธีนี้อย่างไร

    ๔๑๓  เดินเลียบบึงห้วยหนองคลองละหาร      
มองลอดผ่านเพื่อดูหารูไหล
หากเห็นรูน่าจะมีนี้เมื่อไร         
ยั่วยวนใจใส่ของคาวเข้าปากรู

   ๔๑๔  ได้กลิ่นคาวเย้ายวนชวนชิมรส      
ไหลฤๅอดอดกลั้นนั้นไม่อยู่
รีบขึ้นมาทันใดน้ำไหลพรู         
เรานั่งดูเพลินใจไหลออกมา

    ๔๑๕ โผล่ขึ้นรูปากอ้าทำท่าเบ่ง         
ท่านักเลงทำใหญ่ให้หนักหนา
เราก็รีบสอดเบ็ดมิรอรา         
มิยักท่ากินพลันอย่างมั่นใจ
                                                                                                                                       
                                                                                             
 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936:  :AddEmoticons0094:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
27 สิงหาคม  2557

 :AddEmoticons00948:


หัวข้อ: Re: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 30, สิงหาคม, 2557, 09:31:43 AM
               
:AddEmoticons00949:
สวัสดี ทุกท่าน
พอมันกลืนลงคอมิรอช้า   
  
  ๔๑๖ พอมันกลืนลงคอมิรอช้า         
รีบดึงพาทันทีพี่ปลาไหล
เราก็ดึงกลับมาช้าอยู่ใย         
ติดแล้วไซร้ไหลน้อยค่อยดึงมา

    ๔๑๗  จบเดือนหกตกไปในเดือนยี่         
เป็นช่วงที่ตั้งข้องคอยจ้องหา
เหยื่อที่ใช้นั้นเป็นเช่นปูปลา         
ไหลจะมาเข้าข้องรับรองเลย

    ๔๑๘  ถึงเดือนห้าอีกอย่างทางบ้านผม      
เขานิยมจับปลาเจ้าข้าเอ๋ย
จับในหนองคลองบึงซึ่งเช่นเคย      
กู่เหวยเหวยเรียกคนพลจับปลา

    ๔๑๙  เหมือนสัญญาเอาไว้ใช่พูดเล่น      
เสียงกู่เป็นคำเรียกพร่ำเรียกหา
เรียกว่า “กูก” รู้กันคล้ายสัญญา      
ต่างรู้ว่าทำอะไรที่ไหนกัน

    ๔๒๐  กูกกันต่อรอรับจับเป็นช่วง         
ทะลุทะลวงก้องไกลในไพรสัณฑ์
ใครมี “อูด” เป่าต่อล่อประชัน         
นึกน่าขันหัวตะพานบ้านดงไพร
                                                                                                                                      
                                                                                             
 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936:  :AddEmoticons0094:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
30 สิงหาคม  2557

 :AddEmoticons00948:



หัวข้อ: Re: ระลึกหัวตะพานบ้านเกิด . ตอนที่ 5
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 17, กันยายน, 2557, 06:13:06 AM
               
:AddEmoticons00949:
สวัสดี ทุกท่าน
“ยอ” “คอตัก” ของหญิงสิ่งพกพา 
   
     ๔๒๑  อูดก็คือเขาควายที่ใช้เป่า         
เสียงนั้นเล่าก้องหาพนาศรัย
ฟังแล้วเหมาะไพเราะเพราะจับใจ      
มีการใช้เรียกหาประชาสัมพันธ์

    ๔๒๒  พอได้ยินกูกอูดทูตลอยฟ้า         
มิรอช้าแต่งกายรีบผายผัน
พร้าและมีดมีบ้างอย่างครบครัน      
เผื่อได้ฟันสิ่งกีดขวางทางหาปลา

    ๔๒๓  แหลนและแหแน่นักจักมากหลาย      
ของผู้ชายเตรียมกันนั้นพร้อมหน้า
“ยอ” “คอตัก” ของหญิงสิ่งพกพา      
อีกอย่างหนาคือ “เจ้ย” เคยใช้กัน

    ๔๒๔  “เจ้ย” “คอตัก” อะไรใคร่อยากรู้      
ขอเป็นครูอธิบายอย่าไหวหวั่น
เป็นคำใต้ฟังไปให้งงงัน         
บ้านผมนั้นชื่อแปลกแตกออกไป

    ๔๒๕  คอตักนั้นนะหรือคือยอเก่า         
หรือจะเอาใหม่ใหม่ก็ยังได้
มุมข้างหนึ่งผูกคอรออยู่ใย         
อีกมุมไซร้เผื่อมือถือใช้งาน
                                                                                                                                      
                                                                                           
 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936:  :AddEmoticons0094:

http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
17 กันยายน  2557

 :AddEmoticons00948: