มุตโตทัย: ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส
ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
๑.กระทำจิตสว่างไว้
นยใฝ่พระพุทธ์ฯสอน
กิเลสหมดและทุกข์รอน
พหุพุทธะกล่าวขาน
๒.บรมศาสดาเน้น
ก็ติเฟ้น"หทัย"กานต์
"วจี" "กาย"สติสาร
ปฎิบัติเจาะ"กายา"
๓.ฤทัยช่วยวิจารณ์กาย
พิทะปราย ณ กายหนา
ก็"กายาฯ"จะค้นคว้า
วตภาวนาแล
๔."สติสัมฯ"ระลึกพร้อม
มนน้อมสมาธิ์แปล้
หทัยรวม"ฐิตีฯ" แน่
"ขณิกาสมาธิ์ฯ" นำ
๕.ณ "อัปฯ"แน่วเผดิมฌาน
ธุวะมาน"ฐิติธรรม"
ลุ"เอกัคคตา" ด่ำ
ธิติจิตจิรวมหนึ่ง
๖.ตริ"เอกัคฯ"ประพฤติจิต
พิระนิตย์สงบพึ่ง
เจาะคำสอนพระพุทธ์ฯถึง
อธิจิตลุฌานเลิศ
๗.พิจารณ์กายกระทำแจ้ง
พระฯแสดงสิบรรเจิด
มุ"กายา"ฤ "มูลฯ"เถิด
จะริเฝ้าเซาะ"หนัง"วาย
๘.กะ"ผม,ขน"และ"เล็บ,ฟัน"
จรผันและเปลี่ยนกลาย
ผิ"ธรรม์จักรฯ" "ชรา" หน่าย
มร,เกิดแหละทุกข์ตรม
๙.ผิเกิดแล้วมโนกล่อม
"ปนะฯ"ยอมประพฤติชม
พระธรรมนั้น"อกา"สม
จะผลินซิทุกครา
๑๐.ณ "อาโล"กระจ่างเจตน์
ปฏิเวธลุญาณพา
ปะ"วิชชา" และ"ปัญญา
รุจิจ้ามิปิดบัง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า
พุทธะ=พระพุทธเจ้า
ติ=สาม หมายถึง กาย วาจา ใจ
สติสัมฯ=สติสัมโพชฌงค์ คือความระลึกได้,สำนึกพร้อมอยู่
ฐิติ=ฐีติ จิตดั้งเดิมที่ไม่มีกิเลส
ขนิกสมาธิ์ฯ=ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตชั่วขณะ,สมาธิชั้นต้น
อัปปนาฯ=อัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่ถึงความแนบแน่น พ้นจาก รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
เอกัคคคตา= ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว,มีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว
กายานุปัสฯ=กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนดกาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย ว่าเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔(มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อจับธาตุต่างๆแยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่ากายจะหายไป
มูลฯ=มูลกรรมฐาน คือกรรมฐานเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุบวชใหม่ โดยพิจารณากาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่มีความเปลี่ยนแปลงมองเห็นสังขารไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด มีสติรู้ทันจนพัฒนาสู่สมถะ และ วิปัสสนา
ธรรมจักรฯ=ธัมมจักรกัปวัตนสูตร คือปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์
ปนะ=โอปนยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจ เพิ่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ
อกาฯ=อกาลิโก คือพระธรรมคำสอนจะให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่จำกัดกาลเวลา
อาโล=อาโลโก คือญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
ปฏิเวธ=ลุล่วงผลการปฏิบัติ
วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)