บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, เมษายน, 2567, 12:12:53 PM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑.อะไรเป็นแก่นสารในพุทธศาสนา ~ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, เมษายน, 2567, 12:12:53 PM

(https://i.ibb.co/BKhfr1j/Screenshot-20240410-114112-Chrome.jpg) (https://ibb.co/fG3Xnct)

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑.อะไรเป็นแก่นสารในพุทธศาสนา

กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ (กาพย์ขับไม้)

  ๑.พระพุทธฯสถิตย์....ณ "เชตะฯ"ชิด....กรุงสาวัตถี
"ปิงคลโกฯ"พราหมณ์....ถาม"เหล่าครู"นาม....ชื่อกระฉ่อนดี
ครูแจ้งทวี....หรือแจ้งบ้างรี่.....หรือไม่แจ้งเลย

  ๒.ทรงไม่วิจารณ์.....แต่แจงธรรมซ่าน.....แก่ปิงคลฯเผย
เปรียบหาแก่นไม้....แต่ตัดกิ่ง,ใบ....นึกว่าแก่นเชย
คนที่รู้เคย....ก็จะติงเปรย....เสียประโยชน์ปลง

  ๓.ตัวอย่างหนึ่งไซร้....ถากสะเก็ดไม้....นึกว่าแก่นบ่ง
หรือถากกระพี้....คิดว่าแก่นชี้....ผลดีหมดลง
ถูกพิศวง....ไม่รู้แก่นตรง....จริงแท้แน่เทียว

  ๔.อุปมาหนึ่ง....ต้องการแก่นพึง....ก็ตัวแก่นเชี่ยว
คนจะกล่าวยิ่ง....รู้แก่น,เปลือก,กิ่ง....ทุกส่วนต้นเจียว
ต้องการแก่นเปรียว....ก็เลือกแก่นเฉี่ยว....ผลมุ่งมากมาย

  ๕.ดูก่อน"ปิงคลฯ"....บ้างออกบวชก่น....พ้นทุกข์สลาย
เกิด,แก่,เจ็บโศก....ทุกข์ถึงตนโชก....จึงมุ่งบวชกราย
สักการะปลาย....ชื่อเสียงฉ่อนง่าย....ยกตนเหนือใคร

  ๖.พุทธ์เจ้ากล่าวว่า....บุคคลนี้คว้า....เอาแต่กิ่ง,ใบ
ละเลยแก่นทิ้ง....เอาส่วนอื่นอิง....สำคัญผิดไกล
คุณธรรมหนีไป....พฤติย่อหย่อนไว....กระทำผิดราน

  ๗.บางคนออกบวช....สักการะยวด....มีอิ่มใจหาญ
มุ่งธรรม,ศีลบ่ม....สงฆ์อื่นถูกข่ม....ผู้อื่นศีลซาน
ตนสมาธิ์พล่าน....พุทธ์องค์เรียกขาน....เอาสะเก็ดครอง

  ๘.บ้างออกบวชเกิด....สักการะเจิด....ไม่เอาลาภผอง
พฤติศีลขยัน....สมาธิ์ตั้งมั่น....กว่าผู้อื่นกรอง
ธรรมเลิศอื่นพร่อง....พุทธ์องค์กล่าวพร้อง....เอาแค่เปลือกไป

  ๙.คนออกบวชกราบ....มิพึงในลาภ....ศีล,สมาธิ์ใส
ธรรมะทำแจ้ง...."ญาณทัสฯ"เกิดแกร่ง....ยกตนข่มไผ
ญาณยิ่งไถล....พุทธองค์ว่าไว้....เอากระพี้นา

  ๑๐.บ้างออกบวชลี้....สักการะมี....ไม่ต้องการหนา
ได้ศีล,สมาธิ์....และ"ญาณทัสฯ"พา....อิ่มใจไม่คว้า
มิข่มใครนา....เพียรแจ้งญาณจ้า....ยิ่งขึ้นชื่นชม

  ๑๑.ดูก่อน"ปิงคลฯ"....ธรรมยิ่งกว่าท้น....ญาณทัสฯสุดฉม
ภิกษุศาสน์นี้....ปฐมณานชี้....ทุติย์ฌานพรม
"ตติย์ฌาน"รมย์...."จตุต์ฌานฯ"สม...."อากาสฯฌาน"

  ๑๒."อากาสาฯ"ชี้....อรูปฌานคลี่.....เพ่งอากาศขาน
สู่"วิญฯ"อารมณ์....ไม่สิ้นสุดบ่ม....เข้า"อากิญฯ"งาน
มุ่งอรูปฌาน....ไม่มีใดคาน....แม้แต่น้อยเอย
 
๑๓."เนวสัญฯ"นี้....ไม่ใช่,ไม่มี....สัญญา,จำเผย
สู่"สัญญาฯ"ปลง....ดับสัญญาลง....มิสุข,ทุกข์เลย
"อาสวะ"เสย....สิ้นสุดลงเปรย....เพราะคุณปัญญา

  ๑๔.ดูปิงคลพราหมณ์.....คุณธรรมนี้หวาม....กว่า"ญาณทัสฯ"หนา
คนนี้เปรียบได้....ต้องการแก่นไป....ก็ตัดแก่นมา
พรหมจรรย์กล้า....มิใช่ลาภหล้า....มิใช่ศีลทรง

  ๑๕.มิใช่สมาธิ์...."ญาณทัสฯ"จะคว้า....เป็นอานิสงส์
แต่ใจหลุดพ้น....มิกำเริบก่น....เป็นแก่นสารตรง
ปิงคลพราหมณ์บ่ง....ถึงพระรัตน์ฯทรง....ตลอดชีวิน

  ๑๖.สรุปลาภครัน....สักการะนั้น....เหมือน"กิ่ง,ใบ"ปิ่น
สมบูรณ์ศีลไซร้....เปรียบสะเก็ดไม้....สมาธิ์,"เปลือก"ยิน
ญาณทัสฯเปรียบสิ้น....ปัญญาหลั่งริน....คือกระพี้แล

  ๑๗.ใจหลุดพ้นเนิบ....ไม่กลับกำเริบ....เปรียบเหมือนแก่นแท้
"อกุปปา"รื่น....มิหวั่นไหวคืน....กำลังจิตแน่
"เจโตวิมุตฯ"แพร่....จิตหลุดพ้นแผ่....ฝึกด้วยสมาธิ์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา :จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๔๘-๕๐

เชตะฯ=เชตวนาราม
ปิงคลฯ,ปิงคลโกฯ=ปิงคลโกจฉะ เป็นชื่อของพราหมณ์ผู้หนึ่ง ได้ทูลถามพระพุทธเจ้า ถึงเหล่าสมณพราหมณ์ที่เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียงว่า ได้รู้แจ้งเห็นจริง,หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย,หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้
เหล่าครู=สมณพราหมณ์ข้างต้น ๖ คนซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ เช่น ปูรณะ กัสสปะ, มักขลิ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล,ปกุธะ กัจจายนะ,สัญชัย เวสัฏฐบุตร และ นิครนนาฏบุตร
ญาณทัสสนะ=ความเห็นด้วยฌาน
ฌาน=การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็น อัปปนาสมาธิ,ภาวะจิตสงบประณีตซึ่งมีสมาธิเป็นอารมณ์
ปฐมฌาน=เป็นฌานอันแรกที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ประกอบด้วย องค์ ๕ ได้แก่ ๑)วิตก คือตรึก ๒)วิจาร คือ ตรอง ๓) ปีติ คืออิ่มใจ ๔) สุข คือสบายใจ ๕)เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน คือฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
ตติย์ฌาน=ตติยฌาน คือฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข,เอกัคคตา
จตุต์ฌาน=จตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา,เอกัคคตา
อากาสฯฌาน=อากาสานัญจายตนะ เป็นอรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
วิญฯ=วิญญนัญจายตนะ เป็นอรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
อากิญฯ=อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย
เนว=เนวสัญญาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่มีสัญญา (ความจำได้หมายรู้) ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่
สัญญาฯ=สัญญาเวทยิตนิโรธ คือสมาบัติชั้นสูงสุดในพุทธศาสนา
อาสวะ=อาสวกิเลส คือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง ขุ่นมัวอยู่เสมอ มี ๔ คือ ๑)กาม ติดใจรักใคร่อยู่ในกามคุณ ๒) ภพ ความติดอยู่ในภพ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความหัวดื้อรั้น ๔) อวิชชา ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมัวเมา
พระรัตน์ฯ=พระรัตนตรัย
อกุปปา=ไม่กำเริบ,ไม่หวั่นไหว
เจโตวิมุตฯ=เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยอำนาจของสมาธิ

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑.อะไรเป็นแก่นสารในพุทธศาสนา ~ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, เมษายน, 2567, 01:02:49 PM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒.เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้

กาพย์ยานี ๑๑

  ๑.ดูก่อนท่านทั้งหลาย................แม้จับชาย"สังฆาฯ"แน่ว
เดินรุกทุกก้าว..............................แต่ยังแจวแผ่วโลภกาม

  ๒.มีจิตคิดอาฆาต.......................นึกคาดแลแต่โทษขาม
สติสัมป์ชัญญะฟ่าม......................จิตลามไหวไม่ระวัง

  ๓.จิตหมุนไม่สำรวม.....................ตา,หูร่วมจมูกยั้ง
ลิ้น,กาย,ใจมิตั้ง.............................พฤติดีหวังดั่งลืมธรรม

  ๔.ภิกษุนั้นครันไกล......................พุทธ์เจ้าไซร้ใจห่างนำ
ภิกษุไม่เห็นธรรม............................จึงไม่ด่ำเห็นพุทธ์องค์

  ๕.ดูก่อนภิกขุกล้า..........................แม้ว่าห่างร้อยโยชน์บ่ง
แต่ไร้ละโมบลง................................ไม่ติดกรงกามคุณ

  ๖.จิตไม่พยาบาท...........................ใจปราศโทษโกรธใครขุ่น
สติสัมป์ชัญญะดุลย์..........................มั่นบุญสำรวมอินทรีย์

  ๗.ภิกขุนั้นพลันใกล้.........................พุทธ์องค์ใสใจผ่องศรี
ภิกขุเห็นธรรมคลี่.............................จึงจิตรี่ปรี่พุทธ์องค์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๓๐๐
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๐-๕๑

สังฆาฯ=สังฆาฏิ คือผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่ง ทำนองเป็นผ้าคลุมป้องกันความหนาว เมื่อห่มทาบจีวร ก็จะเป็นผ้าสองชั้นทำให้อบอุ่นขึ้น
อินทรีย์=ร่างกายและจิตใจ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑.อะไรเป็นแก่นสารในพุทธศาสนา ~ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, เมษายน, 2567, 12:51:29 PM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓.สกุลที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

  ๑.                                              ภิกษุฟังถ้อย
เรือนใดบุตรคอย.......................บูชาพ่อแม่
วงศ์นั้นพลัน"พรหม"...................ประนมบ่มแท้
บุตรใดใฝ่แปล้...........................คนแรกเทวา     
   
  ๒.                                              บุตรกราบแม่พ่อ
พงศ์มี"ครู"ก่อ.............................คนแรกเทียวนา
นบพ่อแม่ถ้วน.............................ควรของบูชา
พ่อแม่คุณกล้า............................คุ้มลูกเจริญ

  ๓.                                                คำว่า"พระพรหม"
"เทวา"แรกสม..............................ครูแรกเผชิญ
"อาหุเนยยะ"................................จะรับของเพลิน
พ่อแม้แท้เสริญ.............................แจ้งโลกบุตรา ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๓๑๓
พระไตรปินฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๓-๕๔

อาหุเนยยะ=ผู้ควรนำของมาบูชา


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑.อะไรเป็นแก่นสารในพุทธศาสนา ~ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, เมษายน, 2567, 10:26:35 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔.ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ถูกปรุงแต่ง มีอยู่

กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒

  ๑.ภิกษุฟังเถิด...........................ธรรม์ชาติ"ไม่เกิด"
"ไม่เป็น"อย่างเชิด........................ยังคงมีอยู่
"ไม่มีใครทำ"................................นำไหนมากรู
"ไม่มีปรุง"พรู................................ยังมีอยู่จริง     
   
  ๒.ถ้ามิมีธรรม-.............................ชาติที่กล่าวนำ
ธรรม์ชาติ"เกิด"พร่ำ......................."ที่เป็น,ทำ"ยิ่ง
"มีปรุงแต่ง"ผล...............................จึงพ้นละทิ้ง
ธรรม์ชาติกลิ้ง................................เลิก"เกิด,เป็น,มี" ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๒๕๗
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๕