หัวข้อ: ต๋ำนานมูลีขี้โย เริ่มหัวข้อโดย: ข้าวหอม ที่ 07, มีนาคม, 2565, 09:07:04 AM (https://img5.pic.in.th/file/secure-sv1/275361270-4955020024575759-5080173717533469053-n-1.jpg) (https://pic.in.th/image/275361270-4955020024575759-5080173717533469053-n-%281%29.QDZeWO) ต๋ำนานมูลีขี้โย การสูบบุหรี่ดูเป็นเรื่องปกติของคนล้านนายุคก่อน เพราะในสมัยก่อนไม่มีบุหรี่สำเร็จรูป เป็นซองขายแบบสมัยนี้ คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า "ขี้โย" หรือ "บุหรี่ขี้โย" ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น ใบที่ใช้มวน คนสมัยก่อนจะใช้ใบตองแห้ง รีดให้เรียบห่อกับยาสูบโรยด้วยขี้โยม้วนเป็นแท่งๆ แบบบุหรี่สมัยนี้ แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่า ทาใบตองให้ติดเป็นแท่งด้วยยางบะปิน (ยางมะตูม) ขนาดต้องเอายางมะตูมใส่กระปุกไว้ทาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว บางครั้งก็เรียกว่าบุหรี่ขี้โย ใบตองคนเหนือออกเสียงว่า ใบต๋อง บุหรี่ออกเสียงว่าบูรี หรือมูลี ส่วนขี้โยทำมาจากเปลือกมะขามบดหยาบ เพื่อความสะดวกมักจะใส่ถุงเก็บไว้ ปัจจุบันมีขายตามร้านขายของชำทั่วไป ถุงละบาท ถ้าพ้นรุ่นเก่าไปแล้ว คาดว่าเจ้าสิ่งนี้คงหายไปตามกาลเวลา เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่สำเร็จรูปกันหมด แต่บุหรี่ปัจจุบันแพงจะหันมาสูบบุหรี่ขี้โยก็ได้ ในสมัยก่อนใช้เตารีดโบราณ (ใช้ถ่านไฟแดงๆ ) รีดบนใบตองสดให้เรียบและแห้ง แล้วม้วนเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นานๆ ปัจจุบันไม่ทราบทำกันอย่างไร แต่ว่าก็ยังมีขายอยู่ตามร้านขายของชำตามชนบทเชียงใหม่ ยาสูบนั้น บางคนที่ปลูกยาขายเตาบ่ม ก็จะเก็บใบยามาซอยเป็นฝอยๆ ด้วยเขียงซอยยา ซึ่งถ้าจะหาดูได้ในสมัยนี้คงจะพอมีอยู่แถวบ้านสบคำ หลังซอยเสร็จก็จะเอามาผึ่งแดดบนแตะยาให้แห้ง ม้วนเก็บใช้ตอกมัด เอาไว้สูบเองหรือไม่ก็ขาย แบ่งเป็นยาขื่น (ฉุน) ได้จากใบยาที่เก็บจากใบที่เก็บจากโคนต้น ยากลาง คือยาที่เก็บจากใบยากลางๆต้น และยาจาง คือยาที่เก็บจากใบยาส่วนปลายต้น แรกๆ ใช้ใบตองอ่อน ขยันหน่อยก็เก็บใบตองอ่อนมาใช้ความร้อนจากเตารีดโบราณ(ใช้ถ่าน) รีดให้แห้งมีกลิ่นหอม ฉีกเป็นแผ่นๆกะพอประมาณให้ใช้พันยาเส้นให้เป็นมวนๆ ได้ บ้างคนก็ใส่ขี้โยด้วย สมัยนั้นทั้งยาเส้นและขี้โยจะมีขายในตลาด เวลามีงานหรือแขกไปใครมาหาที่บ้าน อันดับแรกที่จะนำมาต้อนรับ คือ จานใส่เหมี้ยง บุหรี่ ขี้โยและหมาก :057: แป้หม่าเก่า Ancient Phrae # อนุรักษ์ สืบสาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เมืองแพร่ ขอบคุณเรื่องราวอดีต ที่นำมาเล่าสู่คนรุ่นหลังได้รับรู้ค่ะ |