หัวข้อ: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, ธันวาคม, 2566, 10:18:08 AM (https://i.ibb.co/X5Y9XjK/Screenshot-20231211-083730-Google.jpg) (https://ibb.co/bvbx1QC)
พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑. อรหัง อินทรวงศฉันท์ ๑๒ ๑...พุทธ์คุณสิเก้ากล้า ฐปนาพระศาสน์ระบือ ศรัทธาและยึดถือ อภิธรรมกระทำผลิน ๒...สาวกระดาษหลุดพ้น กุละชนลุธรรมประทิน เกิดอรหัตฯชิน มละวัฏฏะไกลมิผัน ๓...หนึ่ง "อรหัง" เหตุ ละกิเลสสกลนิรันดร์ เกิดดับพระฯหยุดพลัน อรหันต์สงบวิศาล ๔..."โคดม" มิมีบาป สุวภาพประเทืองสราญ ตัณหาปลาตผลาญ มนมั่นสะอาดประสงค์ ๕...เป็นผู้เหมาะบูชา และคณาประนมยะยง อีกเทวะมั่นคง อนุสรณ์พระคุณมหันต์ ฯ|ะ แสงประภัสสร พุทธ์คุณ=พระพุทธคุณ ฐปนา=การสถาปนา พระศาสน์=ศาสนาพุทธ อภิธรรม=พระธรรมอันประเสริฐยิ่ง อรหัตฯ=อรหัตตผลคือธรรมที่พระอรหันต์บรรลุ วัฏฏะ=รอบแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย,วงกลม,การหมุน อรหัง=หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส และบาปกรรม จึงทรงบริสุทธิ์ ผุดผ่อง หลุดพ้นไม่เกิดอีก คู่ควรแก่การเคารพสูงสุด พระฯ=พระพุทธเจ้า อรหันต์=พระอรหันต์ คือพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด 4 ชั้น คือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ โคดม=พระนามของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน "พระโคดมพุทธเจ้า ตัณหา=ความทะยานอยากมี อยากได้ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) (https://i.ibb.co/MC9V0BL/Screenshot-20231211-083531-Google.jpg) (https://ibb.co/YLbks0G) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, ธันวาคม, 2566, 10:34:12 AM (http://)
(https://i.ibb.co/0sXVG6g/Screenshot-20231211-085053-Google.jpg) (https://ibb.co/Hh2pHbW) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๒. สัมมาสัมพุทโธ วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ ๑...พระพุทธฯ ธ ถึงธรรม มตินำกะรู้และยล สภาพประจักษ์ดล ตนุเอง บ ใครแนะสอน ๒...เพราะเหตุริองค์มรรค ประลุหลัก ละทุกข์ละทอน ซิ"ธรรมะห้า"วอน ก็อุบัติชิวิตเฉลา ๓...วิ "จักขุ" ตาแล คติแน่และเที่ยงมิเกลา สุ"ญาณะ"หยั่งเนา ระดะรู้ตระหนักวศิน ๔...ลุ"ปัญญะ"รู้เหตุ ลิกิเลสฉะดับผลิน สิ "วิชฯ" ฉลาดชิน นิรทุกข์พิฆาตสลาย ๕..."อโลฯ" สว่างเนตร จะวิเศษคละเหตุกระจาย ลิขันธ์ทลายวาย ชุติจิตละทุกข์ประหาร ๖...พระองค์ประหนึ่งไฟ รุจิใสสิจิตสราญ มนุษย์และเทพสาน จริยาพินิตนิรันดร์ ฯ|ะ แสงประภัสสร สัมมาสัมพุทธโธ=ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า วิชฯ=วิชชา ธรรมะห้าอย่าง=๑)จักขุ เห็นความจริงเป็นปกติ ๒) ญานัง ญาณหยั่งรู้ ๓) ปัญญา หยั่งรู้เหตุและผล ๔) วิชชา คือความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ที่จะกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด ๕) อโลโก เกิดความสว่างขึ้นในใจ ขันธ์=ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, ธันวาคม, 2566, 10:52:54 AM (http://)
(https://i.ibb.co/vVdKKMh/Screenshot-20231212-142922-Google.jpg) (https://ibb.co/jbw11jz) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๓.วิชชาจรณสัมปันโน วิปุลลาฉันท์ ๒๔ ๑...กุ "วิชฯ" ความรู้วิเศษ เห็นแจ้งภวเหตุทุกข์เพราะขันธ์ และขันธ์ห้ามิเที่ยงครัน จะเปลี่ยนและแผลง ๒..."อวิชฯ"ไม่รู้พระธรรม รอบ"วัฏฏะ"ระกำวนระแวง พระฯแจ้งวิชฯพิเศษแจง ลุ"ญาณ"มหันต์ ๓..."วิปัสฯญาณ",หนึ่งริทราบ ขันธ์ห้าก็สภาพจริงสิครัน เพราะขันธ์,รูปและนามผัน กุข้องกะไตรฯ ๔...ปะสิ่งตามจริง "อนิจจ์ฯ" ไม่เที่ยงก็จิบิดแปรประลัย และทุกข์ฯแปลงจะอยู่ไย เพราะต้องสลาย ๕..."อนัตฯ"ไม่ใช่ซิตน ต้องปรามมนดลคิดวะวาย เพราะขันธ์ใช่จะเทียบกาย ฤ ตนสกนธ์ ๖...นิกรคิดผิดกะขันธ์ ว่าเป็นดนุนั้นมืดผจญ ริผิดขันธ์สิหลงลน เกาะกายถนอม ๗...ริผิดตนนี้ก็มี ขันธ์ห้ามุหะชี้ยึดยอม ริผิดมีรตีดอม กะขันธ์เสถียร ๘...และจิตอาศัยกะกาย ชั่วคราววปุวายวอดเพราะเชียร ก็ต้องตายซิแปรเปลี่ยน มิยึดมิขวาง ๙..."มโนฯ" สอง,เนรมิต ด้วยใจนฤฤทธิ์ดลสล้าง ลุ"อิทฯ" สามสิกายพราง แสดงหละหลาย ๑๐...วิเศษสี่ "ทิพพฯ" จิใช้ ด้วยหูสุตะไกลยินขจาย กุ "เจฯ"ห้าจะรู้ปราย กะจิตวิสัย ๑๑...มุ "ปุพพฯ" หกระลึก ย้อนชาติยุรตรึกรู้วิไล และ "ทิพฯ" เจ็ดกะตาไว ผิไกลก็เห็น ๑๒...เหมาะ "อาสาฯ"แปดซิรู้ กิเลสอุปะฟูฟ่องสิเป็น พระฯทรงวิชฯลุแปดเด่น ลิ"วัฏฯ"วศิน ๑๓..."จรณะ" ทรงประพฤติ งดงามธุวยึดวัตรผลิน กุสิบห้าเจาะหลั่งริน ลุโพธิเสือง ๑๔...พระคุณ "วิชชาฯ" ผู้ถึง วิชฯแปดจรซึ้งซาบกระเดื่อง ละกิเลสจิรุ่งเรือง ลุเช่นพระองค์ ฯ|ะ แสงประภัสสร วิชฯ=วิชชา,ความรู้แจ้งในพระพุทธศาสนา ๘ อย่าง เช่นวิปัสสนาญาณ เป็นต้น ขันธ์ =ขันธ์ ๕ คือส่วนหนึ่งของรูปกับนาม ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วัฎฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ญาณ=อัฏฐญาณ ๘ อย่างคือวิชชาที่พุทธองค์บรรลุ ๑) วิปัสสนาญาณ คือความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส เห็นแจ้งนามธรรม รูปธรรมตามแนวไตรลักษณ์ โดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้งการเกิดดับแห่งเบญจขันธ์ พระฯ=พระพุทธเจ้า ไตรลักษณ์=ลักษณะที่เป็นสามัญ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ๒) ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ต่อไปไม่ได้ ถูกบีบค้ำด้วยอำนาจของธรรมชาติ ๓) อนัตตลักษณะ ลักษณะที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความต้องการได้ มโนฯ=มโนมยิทธิ เป็น ๒ใน ๘ วิชชาที่พุทธองค์บรรลุ จะมีฤทธิ์ทางใจ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้ อิทฯ=อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่นเนรมิตกายคนเดียวให้เป็นหลายคนได้ ทิพพฯ=ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษจะฟังอะไรก็ได้ยินตามปรารถนา เจฯ=เจโตปริญาณ, รู้วาระจิตของผู้อื่น ปุพฯ=ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหนเกิดเป็นอะไร และระลึกชาติของสัตว์อื่นๆได้ ทิพฯ=ทิพพจักขุ, คือตาทิพย์ ทรงมองเห็นทุกสิ่งได้หมดไม่ว่าใกล้หรือไกล อาสาฯ=อาสาวักขยญาณ, ความรู้ที่ทำลาย อาสวะหมดสิ้นไม่เหลือในขันธสันดานของพระองค์ พระฯ=พระพุทธเจ้า จรณะ=ความประพฤติอันงดงามมี ๑๕ ประการ ๑)ศีลสังวร ๒)อินทรีย์สังวร ๓)โภชนมัตตัญญุตา ๔) ชาคริยานุโยค ทำความเพียรให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ๕)ศรัทธา ๖)สติ ๗) หิริ ละอายต่อบาป ๘)โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป ๙) พาหุสัจจะ เป็นผู้ได้สดับฟังมาก ๑๐) อุปักกะโม เว้นจากพยายามเพื่อฆ่า และพยายามเพื่อลัก ๑๑) ปัญญา ๑๒) รูปญาณ ๔ ปฐมญาณ ๑๓) ทุติยญาณ ๑๔) ตติญาณ ๑๕)จตุตถญาณ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, ธันวาคม, 2566, 09:53:16 AM พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๔. สุคโต
อาขยานิกาฉันท์ ๒๒ ๑...พระพุทธฯเสด็จดี "สุคฯ" นี้ประโยชน์ชน พระตรัสรู้ดล นิรวาณกิเลสผลาญ ๒.ถึงญาณอรหัตฯ ก็สลัดสิ"วัฏฯ"ราน กิเลสลิสิ้นพาน จรใดก็เสร็จสม ๓...พุทธ์องค์พระเมตตา นยนาประศาสน์บ่ม นิกรก็เพลินชม ปฏิบัติพระธรรมใส ๔...เทวามนุษย์ควร นมะถ้วนพระรัตน์ไว ศรัณย์ประทับใจ พหุน้อมสมาธิ์เผย ๕...แม้ท่านเสด็จลิบ ปรินิพฯเกษมเปรย พระธรรมดำรงเคย ฐิติเด่นจิรังศรี ฯ|ะ แสงประภัสสร พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า สุคฯ=สุคโต, ผู้ที่เสด็จไปดีแล้ว สู่นิพพานอันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง เพราะละกิเลสได้สิ้นเชิง ลุมรรคมีองค์ ๘ เสด็จไปโดยปลอดภัยเพราะบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก นิรวาณ=นิพพาน อรหัตฯ=อรหัตตผลคือธรรมที่พระอรหันต์บรรลุ วัฏฏะ=วัฏฏสงสาร คือรอบแห่งการเวียนว่ายตายเกิด พุทธ์องค์=พุทธองค์ พระรัตน์=พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปรินิพฯ=ปรินิพพาน(ตาย) คือการเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, ธันวาคม, 2566, 09:39:02 AM (http://)
(https://i.ibb.co/JsZ62Py/Screenshot-20231212-135141-Google.jpg) (https://ibb.co/hm0QHvZ) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๕.โลกวิทู ธาตุมมิสสาฉันท์ ๑๑ ๑..."โลกาฯ" แจ้งโลก ภวทุกข์โศกมิหย่อนคลาย ทรงทราบเหง้ากาย นรชนพบทุกขะยากเข็ญ ๒...สัตว์ต้องพึ่งพิง เพราะแนะความจริงนิโรธเด่น หมู่ชนเยือกเย็น ละกิเลสได้ทุเลาตาม ๓...พุทธ์องค์รู้แจ้ง คติไม่แคลง ณ ภพสาม หนึ่ง "สังขารฯ" นาม วปุขันธ์ห้ามิใช่ตน ๔...สังขารชัดนัก จรไตรลักษณ์ "อนิจฯ"ดล ไม่คง,ไป่ตน ตนุวางขันธ์มิยึดหนา ๕...ปล่อยวางผ่านพ้น สวว่างท้นก็ทุกข์ซา ยิ่งญาณปัญญา อรหันต์เพริศลุยิ่งใส ๖...สอง"สัตว์โลก"แปล นฤชนแท้เกาะขันธ์ไป ทรงเชี่ยวชาญไว กะสภาพวน ณ "วัฏฯ"พา ๗...ทรงช่วยดับทุกข์ หฤทัยสุข "อนัตตา" ไม่ใช่ตนนา มุตะว่างนิ่งกิเลสผลาญ ๘..."โอกาสโลก" สาม สุริยางามสว่างพาน อีกแปดดาวยาน ยุรวนรอบ ณ กลางศูนย์ ๙.ท่านทราบการเกิด กะระบบเลิศก็สอนพูน ปวงชนอาดูร จะอุบัติอยู่ ณ โลกา ๑๐...ยังมีแบบหลาย ระดะพบคล้ายมนุษย์นา วิทย์ฯไม่ถึงครา วุฒินี้ท่านสิยลผอง ๑๑...โลกก็คือคุก ระกะขันธ์ชุกปะวัฏฯปอง นับหลายภพครอง ก็อเนกชาติมิหลุดหลง ๑๒...ทรงรอบรู้จบ ภวสามภพกะตาตรง ปัญญารู้ยง วรนามคุณวิบูลย์ศรี ฯ|ะ แสงประภัสสร โลกาฯ=โลกวิทู คือผู้แจ้งโลก ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมแก่โลก คือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัย สันดาน แห่งสัตวโลกทั้งปวง ว่าเป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้พระองค์เป็นอิสระพ้นจากอำนาจครอบงำ และทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย นิโรธ=ดับ ภพสาม=โลกทั้งสาม ได้แก่ สังขารโลก, สัตว์โลก และโอกาสโลก สังขารฯ=สังขารโลก คือขันธ์ห้า คือสังขาร ร่างกายของคนและสัตว์ ประกอบด้วย กายและใจ ซึ่งมีอาหารเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สัตว์ดำรงอยู่ได้ ขันธ์ =ขันธ์ ๕ คือส่วนหนึ่งของรูปกับนาม ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่าน=พระพุทธเจ้า พุทธ์องค์=พระพุทธองค์ ไตรลักษณ์=ลักษณะที่เป็นสามัญ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ๒) ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ต่อไปไม่ได้ ถูกบีบค้ำด้วยอำนาจของธรรมชาติ ๓) อนัตตลักษณะ ลักษณะที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความต้องการ อนิจฯ=อนิจจัง คือไม่เที่ยง พระอรหันต์=บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ เรียกว่า พระอริยะ มี ๔ ขั้น ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ สัตว์โลก=คือสัตว์ที่เกิดในภพทั้งสาม มี เห็น จำ คิด รู้ ยังมีจิตซัดส่ายในสิ่งต่างๆที่พบเห็น หรือได้สัมผัสทางรูป รส กลิ่น เสียง หรือวัตถุสิ่งของก็ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ได้แก่ ชาวโลกมนุษย์ และสัตว์ทุกชนิด วัฏฯ=วัฏฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด อนัตตา=ไม่มีตัวตน, ไม่ใช่ตัวตน โอกาสโลก=คือระบบสุริยะที่มีดาวฤกษ์(ระบบของเรามีดวงอาทิตย์)เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวยต่อการดำรงชีพ สิ่งมีชีวิตก็เกิดขึ้น เช่นโลกของเรา มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ต่างๆ ๘ ดวง เรียงจากในสุดคือ ดาวพุทธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนบจูน แต่ละดาวเคราะห์มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ยกเว้น ดาวพุธ และดาวศุกร์ วิทย์ฯ=วิทยาศาสตร์ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, ธันวาคม, 2566, 11:26:41 AM (https://i.ibb.co/Cz182QC/Screenshot-20231216-161128-Google.jpg) (https://ibb.co/mGDT84Z) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๖.อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ วาโตมมีฉันท์ ๑๑ ๑."อานุตต์โร" ไซร้ นิรแม้ใครจะเทียบเทียม ทรงกอรปศีลเปี่ยม อธิปัญญาสมาธิ์ขาน ๒.พุทธ์องค์ชี้ทาง นยศิษย์ห่างกิเลสราน มีผู้ถึงญาณ อรหันต์เลิศ พิสุทธิ์ใส ๓.ทรงฝึกคนยิ่ง "ปุริฯ"สอนจริงบุรุษวัย ไม่ให้คลาดไกล ตะละศีลแล้วิศิษฎ์ศรี ๔.รักษาศีลแล้ว ภวจิตแกล้วพลังดี เป็นฐานรากชี้ จะลุธรรมเลิศอุบัติผล ๕.ท่านทรงจ่ายแจก นยสอนแยกจริตตน ใครแววเด่นคน ประลุธรรมก่อน ธ โปรดสรร ๖.บ้างมี"พฤติหยาบ" มนุศีลซาบลุทางตัน "ชั่วพร้อมดี"ครัน ธิติต้องโทษและทุกข์ขม ๗.คนใจปรานี ปฏิบัติดีพระธรรมบ่ม กาย, วาจารมย์ หฤทัยผ่องจะง่ายสอน ๘."คนชั้นสูง"ไซ้ ตะกระด้างใจก็เน้นก่อน ยก"ไตรลักษณ์ฯ"วอน คติแต่เกิดชราศรัย ๙.เกิด, ดับไม่ทน จะ"อนิจฯ"ดลมิเที่ยงไท้ "ทุกฯ"ต้องผลักไส และ"อนัตตา" มิใช่ตน ๑๐.ทรงฝึกคนเยี่ยม ทวิคุณเปี่ยมลุเลิศยล เรียกนามพูนผล ก็"อนุตต์โร"มิไผปาน ฯ|ะ แสงประภัสสร อานุตต์โรฯ=อนุตตโร แปลว่า ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เพราะกอปรด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิชชา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ แม้แต่พระอรหันตสาวกก็เทียบไม่ได้ สมาธิ์=สมาธิ ปุริฯ=ปุริสทัมมสารถิ, ทรงเป็นสารถีที่ฝึกบุรุษได้ไม่มีใครยิ่งกว่า เพราะทรงสอนด้วยเทคนิคพิเศษ จึงทำให้มีผู้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก ธ= พระพุทธเจ้า ไตรลักษณ์=ลักษณะที่เป็นสามัญ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ๒) ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ต่อไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติ ๓) อนัตตลักษณะ ลักษณะที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความต้องการ อนิจฯ=อนิจจัง คือความเป็นของไม่เที่ยง ทุกฯ=ทุกขัง คือความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา=ความเป็นของมิใช่ตัวตน (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, ธันวาคม, 2566, 10:13:49 AM (https://i.ibb.co/BsTvL7f/Screenshot-20231216-161548-Google.jpg) (https://ibb.co/KyVB6Q5) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๗.สัตถา เทวามนุสสานัง เหมันตลีลาศฉันท์ ๑๓ ๑.พุทธ์เจ้าบรมคุรุของ มนุษย์ซ้องและเทวา กิจพุทธะห้าระยะหนา อรุณโปรดและรับบิณฑ์ ๒.บ่ายธรรม์แสดงนรชน วิกาลพ้นสมาธิ์ริน แด่สานุศิษย์วตะชิน ก็เที่ยงคืนเจาะเทพสรร ๓.เวไนยสัตว์ ณ อรุณ วิสัยจุนก็ยงยรร ชนรับพระคุณตะละวัน ฤดีโชคลุธรรมไกล ๔.ทรงพักมินานอธิบาย ประชากรายก็ผ่องใจ เป็นเลิศประพฤติสุจิใส มิมีใครจะเปรียบปราน ๕.บุญคุณ ธ ยิ่งทมะคน ทแกล้วท้นก็พร้องขาน เมตตายะยอดกิระพาน มิหวังลาภและยศยล ๖.สอนธรรมมุมั่นริประโยชน์ นิกรโลดลิทุกข์รน สอนชนพินิจวุฒิดล ริเร่งรุดมิเกรงขาม ๗.พุทธ์องค์แนะผู้ถิรธรรม พิสิษฐ์ล้ำแนะสอนลาม แก่หมู่ประชาพิระงาม ตริรู้เทียมกะตนผอง ๘.ท่านทรงฉลาดนยง่าย และยากปรายขยายนอง ชั้นเชิงอุกฤษฏ์สุตลอง กระทำตามมิเพิกเฉย ๙.การสอนสิหลายกะวิธี ผิอวดดีทะนงเคย ทรง"อิทธิฯ"ลดทิฐิเอย ก็ศรัทธาลิมัวหลง ๑๐."อาเทฯ"จะเดาขณะนั้น ฤทัยหวั่น ฤ ทุกข์คง เลือกสอนเหมาะใจระยะตรง ประสิทธิ์กิจลุเป้าหมาย ๑๑.คำสอนพระชม"อนุฯ"จด อุบายงดนะมากราย ปากเปล่าวินิตอติหลาย และง่ายกว่าสิฤทธิ์,เดา ๑๒.พุทธ์องค์ติสงฆ์มิลุธรรม จะสอนนำประทุษเรา ทอดทิ้งประวิงธุระเขลา ตะไปทำซิต่างไกล ๑๓.บวชแล้วกระทำอุตุนี้ จะไม่มีสดับไย ไม่เกิดประโยชน์นรใด ละหน้าที่แนะธรรมสอน ฯ|ะ แสงประภัสสร เวไนยสัตว์=สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน,สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้ อิทธิฯ=อิทธิปาฏิหาริย์ โดยใช้ฤทธ์ปราบพยศ อาเทฯ=อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือการดักใจ ทำนายใจของผู้อื่นว่าจิตในขณะนั้นเป็นอย่างไร เศร้าหมอง,บริสุทธิ์ ก็จะสอนให้เหมาะกับความคิดและรู้สึกในขณะนั้น อนุฯ= อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือคำสั่งสอน ทรงยกย่องคำสอนเป็นองค์ปาฏิหาริย์ ทำให้เกิดผลสำเร็จ ไม่ทรงยกย่องทั้งอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ว่าไม่สำคัญ การที่พระองค์สอนด้วยปากเปล่าให้บรรลุผลเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่าฤทธิ์ (ขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, ธันวาคม, 2566, 11:22:50 AM (https://i.ibb.co/6JYMvKB/Screenshot-20231211-084802-Google.jpg) (https://ibb.co/mFJjvn8) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๘. พุทโธ อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑ ๑."พุทโธ" จะแปลความ แสดงสามประเจิดจ้า พุทธ์เจ้าละโลกหล้า ลุนิพพานสว่างศานต์ ๒."ผู้รู้" วิชาสัจ ทลายตัดกิเลสราน ทรงสอนพระสงฆ์ชาญ นิร์วาณเลิศสงบศรัย ๓."ผู้ตื่น" ตลอดกาล เพราะพ้นผ่านละหลงไกล ปราศมัวกิเลสไหน อวิชชามลานพลัน ๔.ทรงปลุกนิกรรอด ละมืดบอดลิทุกข์ครัน งมงายเพราะยึดขันธ์ ขจัดหมดอวิชชา ๕."เบิกบาน" เพราะนิพพาน มิพ้องพานกะเกิดพา รู้แจ้งสภาพหนา บำเพ็ญพุทธกิจรมย์ ๖.ทรงพุทธกิจดล พระคุณล้นประดาชม "ผู้ตื่น"ก็เหตุฉม ประพฤติดีลุ"เบิกบาน" ฯ|ะ แสงประภัสสร พุทโธ=แปลว่า ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน ผู้รู้=คือรู้อริยสัจ ๔ รู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่งในโลก ซึ่งต้องเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจ ๔ =ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นิรวาณ=นิพพาน ผู้ตื่น=คือตื่นจากความหลง งมงาย จากการหลอกลวงของกิเลสและตัณหา,ตื่นจากความมืดบอดของอวิชชา อวิชชา=ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ได้แก่ ๑) ไม่รู้ว่าอะไรบ้างเป็นตัวทุกข์ ๒) ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากตัณหา-ความทะยานอยาก ในใจของตนเองมิใช่เกิดจากใครบันดาล ๓) ไม่รู้ว่าเมื่อเกิดทุกข์แล้ว สามารถดับได้โดยกำจัดตัณหาให้หมดไป ๔)ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นจะดับสนิทได้ด้วยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น ผู้เบิกบาน=เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง ไม่หลงงมงาย ไม่มืดบอดจากอวิชชา ย่อมเป็นผู้เบิกบาน ไม่เศร้าหมองตลอดกาล จึงบรรลุนิพพาน พุทธกิจ=ภาระกิจของพระพุทธเจ้า ๔ ช่วงเวลา ตั้งแต่เช้าทรงบิณฑบาตรและโปรดเวไนยสัตว์ จนถึงเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาธรรมแก่เทวดาที่มาเฝ้า (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอรเน๊ต) หัวข้อ: Re: พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๑.อรหัง ~ อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, ธันวาคม, 2566, 07:59:38 AM (https://i.ibb.co/5MnK6yp/Screenshot-20231211-084946-Google.jpg) (https://ibb.co/bW2bPZw) พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๙. ภควา ยุวมติฉันท์ ๒๕ ๑.พุทธเจ้าพระผู้สลาย กิเลสสินาม"ภควา" เพราะโพธิญาณระดา ลุบารมีผอง ๒.ทรงวิทูเอนกคณา ประกอบ"มหาปุริฯ"ครอง ฉวีประหนึ่งกะทอง นิกรจะชิดหมาย ๓.จึงเหมาะที่แสดงพระธรรม ประเทาเคราะห์กรรมสุจิกราย มนุษย์ลิทุกข์คะคลาย ปะสุขลิทุกข์ถอน ๔.บ้างสะบุญทวีลุนิพฯ เจาะดิ่งละลิบรุจิพร นิราศสิวัฏฯตะลอน มิวนมิกลับหลัง ๕.พุทธองค์พระผู้ปะโชค จะหวังโฉลกก็ประดัง เพราะคุณระดาษพลัง พระศาสน์ฯเจริญศรัย ๖.ธรรมแถลงตะหมู่และหมวด ก็ง่ายยะยวดประลุชัย ประพฤติสิธรรมวิไล หทัยวิโมกข์หนอ ๗.วาระนี้พระฯดับละขันธ์ มิไผสิสรรแนะพะนอ ก็เลือกเจาะธรรมเหมาะขอ ผจงและเพียรงาน ๘.ธรรมเจริญและงามประทิน สนั่นผลินนมะกราน ยะยอพระธรรมประทาน ตริพุทธะบูชา ๙.พุทธะคุณจิกล่าวระลึก หทัยริตรึกฐิติพา เมลืองพระธรรมคณา ประโยชน์จะสุขศานต์ ฯ|ะ แสงประภัสสร ภควา=นามของพระพุทธเจ้า คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า โพธิ=ตรัสรู้ วิทู=ผู้มีปัญญา มหาปุริฯ=มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เป็นลักษณะที่บ่งว่าเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง หรือเรียกพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้ เช่น ใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้างมีลายรูปจักรเกิดขึ้น, นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ และนิ้วพระบาททั้ง ๕ มีประมาณเสมอกัน ไม่เหลื่อมยาว เหลื่อมสั้นดังสามัญมนุษย์ ,พระฉวีดุจวรรณะแห่งทองคำ,พระฉวีละเอียดจึงไม่มีธุลีละอองติดกายได้ นิพฯ=นิพพาน วัฏฯ=วัฏฏสงสาร, การเวียนว่ายตายเกิด ศาสน์=ศาสนาพุทธ ขันธ์=ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขอบคุณเจ้าของภาพ จาก อินเทอร์เน๊ต) |