หัวข้อ: มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือ สนามฝึกฝนตน ~ วิปุลลาฉันท์ ๒๔ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, กุมภาพันธ์, 2567, 10:02:18 AM (https://i.ibb.co/TWptBYX/Screenshot-20240224-114400-Chrome.jpg) (https://ibb.co/7k8KJjc) มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน วิปุลลาฉันท์ ๒๔ ๑.ณ ทางโลกการประยุทธ์ คาดหวังชยรุดต้องเสาะทาง เจาะฐานต้านเหมาะกั้นพลาง แหละสู้กษัย ๒.ตะต้องมีเหล่าทหาร เก่งกาจและชำนาญเลิศระไว จำนวนพอกะสู้ได้ พลังสถาน ๓.ก็ทางธรรมแล้วจะจัด ทำเล "สติปัฏฯ"เข้าระราน กิเลสตัวกุภัยผลาญ กะใจและกาย ๔.ริตรึก "กายานุปัสฯ" ตัวกายะขจัดเหตุทลาย จะได้ดับ"นิวรณ์"วาย ปะสุขและสันต์ ๕.มุทำให้มากมิพลัด "อุคคาหะฯ" อุบัติแรกกระชั้น เจาะลึกตรง บ ไหวหวั่น มิย้ายตะหวน ๖.ก็กายส่วนแรกยะยล ยึดหลักธุวตนทำสิด่วน มิไปดูซิใหม่ชวน ประโยชน์จะถอน ๗.ประดุจสวดมนต์ละทิ้ง ลืมเลือนจะเลอะจริงลดลิรอน ผิปล่อย"อุคคะฯ" เลิกจร ประมาทอะดูร ๘.นิกรแรกบวชจะเรียน บอก"กรรมฯ"วปุเพียรมุ่งจรูญ สมาธิ์จิตตะสมบูรณ์ กิเลสสลาย ๙.พระพุทธ์เจ้ากับ"อร์หันต์" เพ่งท้องตะละลมดั้นกระจาย พระพุทธ์เจ้าวิมุตกราย เพราะกายเหมาะสม ๑๐.พระพุทธฯสอนชนเจาะกาย ภายในมุตรายเรียงสดมภ์ ก็พ้นทุกข์ปลาตตรม สงบถวิล ๑๑.เพราะริ"กายานุปัสฯ" ก่อนำชนะจัดตรงประทิน ขยันกอปรวสีศิลป์ กะธาตุฯ ณ กาย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) สติปัฏฯ=สติปัฏฐานหรือมหาสติปัฏฐาน เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นทางสายเอกที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่การบรรลุมรรคผล นิพพานได้ พระสูตรนี้แสดงหลักการพัฒนาตนสำหรับบุคคลหลายจริต หลายระดับ คือให้มีสติสัมปชัญญะตามดูอารมณ์กรรมฐานไม่ขาดตอน ให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสต่างๆ โดยมีแนวปฎิบัติ ๔ ขั้นตอนจากการพิจารณากรรมฐานที่หยาบไปจนละเอียด คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม(เหตุเกิดและดับ) อร์หันต์=พระอรหันต์ กายานุปัสฯ=กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนดกาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย ว่าเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔(มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อจับธาตุต่างๆแยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่ากายจะหายไป นิวรณ์=สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ลุความดีมี ๕ คือ ๑)ความพอใจรักใคร่ ๒)ความพยาบาท ๓)ความง่วงเหงาหาวนอน ๔)ความฟุ้งซ่าน รำคาญ ๕)ความลังเลสงสัย อุคคาหะฯ=อุคคหนิมิต คือนิมิตที่ใจเรียนหรือนิมิตติดตา ได้แก่บริกรรมนิมิตที่เพ่งหรือกำหนดจนเห็นแม่นยำเช่นดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น ปฏิภาค= ปฏิภาคนิมิต นิมิตเทียบเคียง ได้แก่นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคนิมิตแต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่ขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา สีของนิมิตจะเปลี่ยนไปเป็นของที่มีลักษณะใส กรรมฯ=กรรมฐาน ๕ คือมูลความฐานเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุบวชใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญ สมถะ และวิปัสสนา ฝึกอบรมจิตใจให้กล้าแข็ง โดยพิจารณาร่างกาย ยาววา หนาคืบของมนุษย์ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่มีความเปลี่ยนแปลง มองเห็นสังขารไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด มีสติรู้เท่าทัน จนพัฒนาสู่การเจริญสมถะ และวิปัสสนา วิมุต=ความหลุดพ้น พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า ธาตุ=ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือ สนามฝึกฝนตน ~ วิปุลลาฉันท์ ๒๔ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, กุมภาพันธ์, 2567, 03:29:54 PM มุตโตทัย : ๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส ตการวิปุลลาฉันท์ ๓๒ ๑.ธรรมชาติซิของดีจะเกิด มากะสิ่งมิล้ำเลิศมิงาม ดั่งกมุทเผดิมโคลนสิทราม แล้วก็ชูสะพรั่งบานสลอน ๒.สิ่งเสาะหาประณมของมนุษย์ เมื่อละตมสะอาดรุดขจร บัวมิหวนประชิดตมยะย้อน เหมือน"พระโยฯ" กิเลสรอนประหาร ๓.ท่าน"พระโยฯ" ลิสิ่งสกปรก จิตละพ้นเลาะสิ่งรกมลาน สกปรกเพราะกาย,ใจประสาน แหล่งประชุมเปรอะมูตคูถประเด็น ๔.เราจะต้องชำระกายเสมอ เสื้อระวังมิใช้เย่อจิเหม็น กลิ่นสิเน่ามิมีใครริเป็น กายมิเว้นสภาพด้อยสะอาด ๕.ชีพยะยงแขยงกลัวฉะนี้ สิ้นจะแค่ไฉนนี่ริคลาด ท่าน"พระโยฯ" พิจารณ์กายฉลาด "โยนิฯ" จิตละเอียดรู้ประรมภ์ ๖.เริ่มสมาธิ์ประจักษ์เจนผจง กายะส่วนสบายส่งนิยม "อุคคะฯ" เกิดนิมิตแล้วประสม จงเจริญซิส่วนนั้นทวี ๗.เปรียบเพาะข้าว ณ นาดีพะเนิน วาระหน้ากระทำเดินผลี ข้าวมิได้เพาะที่ไหนขจี แต่จะปลูกกะดินนั้นแน่เฉลียว ๘.แม้สำเร็จก็ข้าวเต็มขจาย เช่น"พระโยฯ"ตริกายและเชี่ยว ตรงจริตนิมิตแรกประเปรียว ทั้งสมาธิ์และยืน,นั่งไสว ๙.เมื่อดูกายและชัดเจนก็แบ่ง แต่ละธาตุกระจายแจงระไว ดินและน้ำกะไฟ,ลมก็ไซร้ ตรึกเจริญพิสัยให้หละหลาย ๑๐.พึงพินิจหทัยจนสงบ ถอยละสู่กายริจบมิวาย อย่าตริกาย ฤ จิตเดี่ยวเจาะราย พฤติชำนาญดำรงจิตประสงค์ ๑๑.พลันหทัยจะเห็นธาตุ ณ โลก ล้วนสถานะหัวโจกยะยง แม้มนุษย์และสรรพ์สิ่งพะวง เตียนระนาบคะคล้ายกลองมลาน ๑๒."ญาณสัมปยุต" เกิดอุบัติ เห็นตระหนักแสดงชัดประสาร ชื่อ"ยถาฯ" ก็รู้,เห็นซิพาน จริงกะธรรมชาติไม่จิรัง ๑๓.แต่มิสิ้นแนะฝึกมากจิรู้ ธาตุก็มีก็เป็นอยู่อลัง เกิดและตายก็เยี่ยงนี้ขมัง จิตก็คิดจะปรุงแต่งมิซา ๑๔.ปรุงและยึดเอนก์ชาตินิรันดร์ ตัวกิเลสจะคุมมั่นคณา จิตจะหลงกิเลสเที่ยงวิภา ภพจะก่ออุบัติเกิดมิถอน ๑๕.จิตจะมีสิอาการมิเที่ยง ต้องมุจริงกะ"สัจจ์ฯ"เกรียงอมร ทุกขะเกิดเพราะตนเฝ้านุสรณ์ จิตจะแจ้งปลาตทิ้งละเลย ๑๖."ฐีติฯ"เดิมซิอาการบ่มี ธรรมดาวิโมกข์นี้แหละเคย ขอ"พระโยฯ"ตระหนักธรรม์เฉลย ตนสิเห็นจิแจ้งใจศรัณย์ ๑๗.มุ่งขยันพิจารณ์เองมิบ่น ญาณก็เกิดกะตัวตนลิขันธ์ ปรารถนาสิรวงข้าวประชัน ห่อนบำรุงก็ไม่ได้ผลิน ๑๘.ธรรม"วิมุตติ" หาได้สว่าง คร้านกระทำมิตรงทางประทิน เขามิบรรลุธรรม์คลาดวศิน ชีพก็พลาดประโยชน์รานสกลฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) พระโยฯ=พระโยคาวจรเจ้า คือผู้หยั่งลงสู่ความเพียร มักใช้เรียกพระภิกษุผู้ที่เรียนสมถะ และวิปัสสนา มุตตะ, มูตร=น้ำปัสสาวะ คูถ=อุจจาระ โยนิฯ=โยนิโสมนสิการ คือการทำในใจให้ดี ละเอียดถี่ถ้วน รอบคอบ พุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาท(อัปมาท) ซึ่งเป็นแหล่งรวมของกุศลธรรมทั้งปวง อุคคะ=อุคคหนิมิต คือนิมิตที่ใจเรียน หรือติดตาได้แก่บริกรรมนิมิต ที่เพ่งหรือกำหนดจนเห็นแม่นยำ เช่นดวงกสิณที่เพ่งจนติดตาแม้หลับตาก็มองเห็น หัวโจก=หัวหน้ากลุ่มผู้นำเพื่อนไปในทางที่ไม่ดี ญาณสัมปยุต= ประกอบด้วยปัญญา คือมีความเห็นถูกต้องตามสภาวะความจริง ยถาฯ=ยถาภูตญาณทัสสน, คือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง แม้สภาวะจิต สภาวะธรรม หรือสิ่งใดมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกขณะ เป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับความจริงให้ได้ ก็จะไม่ทุกข์ เรียนรู้จากความจริง ก็แจ้งใจใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัจจ์ฯ=อริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ฐีติภูฯ=ฐีติภูตัง คือจิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา, ตัณหา(ความทะยานอยาก),อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)" เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วจะเป็น "ฐีติญานัง" คือจิตผู้รู้สูญจากอาสวะ(กิเลส) จะรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุขพ้นจากทุกข์ทั้งปวง วิมุตติธรรม=ความหลุดพ้นจากกิเลส ๕ ประการ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือการหลุดพ้นกิเลสชั่วคราวโดยอำนาจของญาณ ๒) ตทังควิมุตติ การดับกิเลสด้วยองค์ธรรมตรงกันข้าม ๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ๔) ปฏิปัสสัมธิวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยสงบ ๕) นิสสรณ์วิมุตติ คือหลุดพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนตลอดไป เช่น นิพพาน วศิน=ผู้ชนะตนเอง หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือ สนามฝึกฝนตน ~ วิปุลลาฉันท์ ๒๔ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, มีนาคม, 2567, 08:34:37 AM มุตโตทัย : ๑๐.จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง อุปชาติฉันท์ ๑๓ ๑..หทัยเผดิมรุจิใส มลไซร้"กิเลส"เฝ้า เครื่องเศร้ากิเลสมนะเมา หฤทัยจะมัวหมอง ๒..ของปลอมกิเลสยุรผ่าน ณ"ทวารฯ" สิหกปอง กิเลสซินับระดะผอง จะอุบัติทวีทน ๓..ผิไม่เสาะหาสุจิทาง ชุติร้างกระมลทุรน เหมือนเมฆสิบังสุริยน จิตะไม่สว่างใส ๔..เมฆคือกิเลสตริลิรอน ก็ริถอนมลานไกล ตริกายและใจพิริไว วปุนี้เจาะ"ธาตุ"หลาย ๕..กิเลสก็ห่างหทยา "ฐิติฯ"มาอุบัติกราย จิตเดิมปฐม"ฐิติฯ"หน่าย จะทลายกิเลสผลาญ ๖..เปรียบเหมือนสะพานพิทะขวาง นิระทางสิเชื่อมผ่าน กิเลสกะใจมิเกาะสาน ดุจะน้ำระใบบัว ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) กิเลส=อุปกิเลส คือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง แม้เกิดในใจประการใดประการหนึ่ง ก็ทำให้ใจสกปรก เศร้าหมองทันที โดยรวมคือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก เช่น ๑)ความเพ่งเล็งอยากได้ ละโมบจะเอาให้ได้ ๒)พยาบาท ..เป็นต้น ทวาร ทั้งหก=ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สุริยน=พระอาทิตย์ ธาตุ= ดิน น้ำ ลม ไฟ มหาภูตรูป ๔ ที่ประกอบกันเป็นรูปกายนี้ วปุ=ร่างกาย ฐิติภูฯ=ฐีติภูตัง คือจิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา, ตัณหา(ความทะยานอยาก),อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)" เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วจะเป็น "ฐีติญานัง" คือจิตผู้รู้สูญจากอาสวะ(กิเลส) จะรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุขพ้นจากทุกข์ทั้งปวง หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือ สนามฝึกฝนตน ~ วิปุลลาฉันท์ ๒๔ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, มีนาคม, 2567, 09:00:27 AM มุตโตทัย : ๑๑. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย อาวัตตฉันท์ ๑๖ ๑.นายสารถีผสาน ทราบวิธีดัดสอนงาน กะม้าฝึกตน ๒.พุทธ์องค์ก็ถามริวน ท่านกระทำอย่างใดผล ก็ตอบสี่ราย ๓.หนึ่ง,แบบริดัดซิ"ง่าย" "กลาง" กะ "ยากแท้" ฝึกหลาย "มิได้เลย" สี่ ๔.ตรัสตอบก็เหมือนฉะนี้ สอนสิ"ง่าย" จิตรวมรี่ ก็ให้กินพอ ๕."กลาง" จิตมิรวมก็รอ กินสิน้อยไม่ให้ขอ จะลดเกียจลง ๖."ยากแท้" ก็จิตตะหลง ไม่สงบงดข้าวยง เจาะความ"ทนทาน" ๗.ม้าฝึก "มิได้" ประหาร คน"มิได้เลย" ผู้ผลาญ เพราะ"โง่"เข้าครอง ๘.มิจฉา"มิสอน"มิลอง พุทธะไม่สอนทั้งผอง ก็เหมือนฆ่าตรม ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) พุทธ์องค์=พระพุทธเจ้า ท่าน=นายสารถี ผู้ฝึกม้า ทนทาน= เป็น อัตตัญญู คือรู้กำลังของตนว่าจะทนทานต่อการอดอาหารได้เพียงไร โง่= หมายถึง ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็นมิจฉาทิฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเหมือนดอกบัวที่จมอยู่ในโคลน เป็นอาหารของเต่า ปลา ไม่มีโอกาสที่จะโผล่พ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน พุทธะ=พระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือ สนามฝึกฝนตน ~ วิปุลลาฉันท์ ๒๔ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, มีนาคม, 2567, 02:46:00 PM มุตโตทัย:๑๒.มูลติกสูตร คชลีลาศฉันท์ ๑๒ ๑.มูลเหง้าทุกขะสาม ทุกข์ก็ตามเหตุสกล ควรขจัดหมดซิผจญ สุขฤทัยชื่นสราญ ๒.หนึ่งก็"โทษผลมูล" เหง้าอะดูร ชั่วพะพาน สามประกอบ"ราคะ"ผลาญ ชอบสะสวยงามมิซา ๓."โทสะ" ขัดเคืองหทัย คุมมิได้ร้ายประดา "โมหะ"หลงผิดสิหนา ตนแหละพลาดทางพระธรรม ๔.สองก็ "ตัณหา"ทะยาน- อยากจะซ่านทุกข์ประจำ แบ่งและแจง "กามฯ"ถลำ "กามคุณห้า" รตี ๕."กามคุณห้า" จะดึง ใจคะนึงชอบสุขี ผ่าน ณ "รูป", "เสียง" ทวี "กลิ่น"และ "รส", "ผัสสะ" ชวน ๖."อยาก"เสาะตัณหา" เจาะครบ "เกิด" ณ ภพอยากจะซวน "เป็น" กะ "มี" จึงจะหวน เพลิดและเพลินใจระเริง ๗.ส่วน "มิอยาก" ไม่มุชี้ อยากมิ "มี" "เป็น" กระเซิง ติดเกาะ"ตัณหา" ซิเพลิง เผาหทัยทุกข์พหล ๘."โอฆะ" สาม,ห้วงนที สัตว์จะปรี่จมมิพ้น ดิ่ง"อบายฯ" ต่ำประจญ ถึง ณ "โคตรภูฯ" "นิร์วาณฯ" ๙."กามะห้า" ชัดสินำ สัตว์ถลำ"รูป"ประสาน "ผัสสะ" "เสียง,รส"ซินาน "กลิ่น"จิหอมชื่นถวิล ๑๐."ห้วงฯ"ลุสัตว์จมระรี่ ด้วยรตีใจผลิน ห้วง"อวิชชา"ก็ชิน หลงมิรู้เหตุแถลง ๑๑.เมื่อมนุษย์เป็นฉะนั้น วนกระชั้นสามแสดง "กามโลก" "รูปะฯ" แจง "อรูฯ" รวมสามเสถียร ๑๒.หยุดติโลกเวียนและวน "ศีล"สกลมั่นและเพียร พฤติ"สมาธิ์" "ปัญญะ"เชียร พ้น ณ สามโลกสิหนา ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) โทษผลมูล=อกุศลมูล หมายถึง สิ่งที่เป็นรากเหง้าเค้ามูล มี ๓ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา=ความทะยานอยาก มี ๓ คือ ๑)กามตัณหา ความอยากได้ในกามคุณ ๕ : รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๒) ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออยากเป็นตลอดไป ๓)วิภวตัณหา คือความอยากที่ไม่อยากเป็น มุ่งหวังมิให้เกิดแก่ตน "อยาก"=หมายถึง ภวตัณหา "มิอยาก"=หมายถึง วิภวตัณหา โอฆะ=ห้วงน้ำไหลวน มีลักษณะดูดสัตว์ให้จมลงสู่ที่ต่ำ ระหว่างอบายภูมิถึงพรหมภูมิ จนกว่าจะแหวกว่ายขึ้นมาถึงโคตรภูญาณ แบ่งเป็น ๓ คือ ๑) กามะ ห้วงแห่งกามพาหมู่สัตว์จมอยู่ในกามคุณ ๕, ๒) ภวะ คือห้วงแห่งภพ พาสัตว์จมอยู่ในความยินดี ๓)อวิชชา ห้วงแห่งความหลง พาสัตว์ให้ลุ่มหลงและจมอยู่ในความไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผลตามความเป็นจริง จึงมีความ โลภ โกรธ หลง อบาย=ภพที่หาความสุขมิได้ คือ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน โคตรภู=โคตรภูญาณ คือปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรค หรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้น สู่ภาวะเป็นอริยะ นิร์วาณฯ=นิรวาณ,นิพพาน ห้วงแห่งกาม=หมายถึง ห้วงแห่งกาม พาสัตว์จมอยู่ในกามคุณ ๕ "ห้วง"=หมายถึง ภว คือห้วงแห่งภพ พาสัตว์จมอยู่ในความยินดีตามอัตภาพของตน ห้วงอวิชชา=หมายถึง ห้วงแห่งความหลง พาสัตว์ให้ลุ่มหลง จมอยู่ในความไม่รู้เหตุ รู้ผล ตามความเป็นจริง จึงมีความ โลภ โกรธ หลง กามโลก=เป็นโลกของผู้ที่ยังเสพ กามคุณ ๕ ตั้งแต่ โลกนรก โลกมนุษย์ และเทวโลก รูปะ= รูปโลก คือโลกของพรหมที่มีรูป อรู= อรูปโลก คือโลกของพรหมที่ไม่มีรูป ติโลกเวียนและวน=ปริวรรต คือ เวียนไป ๓-๓ คือกามโลก, รูปโลก, อรูปโลก เพราะเป็นเค้ามูลโลก จะแก้ได้เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา |