บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, มีนาคม, 2567, 09:19:13 AM



หัวข้อ: มุตโตทัย : ๑๓ วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้ ~ อภินันท์ฉันท์ ๑๒
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, มีนาคม, 2567, 09:19:13 AM

(https://i.ibb.co/Jsr0hnH/Screenshot-20240224-114345-Chrome.jpg) (https://ibb.co/hm2hqsV)

มุตโตทัย: ๑๓.วิสุทธิเทวาเท่านั้น เป็นสันตบุคคลแท้

อภินันท์ฉันท์ ๑๒

 ๑.นฤจิตปราศกิเลส
นิรเหตุทุกข์วิลัย
"หิริ โอตตัปฯ"ละไม
บริบูรณ์ผ่องแผ้ววศิน
         
 ๒.ธุวใจมั่นก็ชัด
จะอุบัติ "สันตะฯ" สิ้น
ฤ"วิสุทธิ์เทวะ" ชิน
อรหันต์แท้ยะยง

 ๓.ผิ"อุปัตเทฯ"ปฐม
ก็พระพรหมไป่ธำรง
พหุกาม์คุณผจง
เกาะกิเลสอยู่หละหลาย

 ๔.ระดะเทวาสิชัด
จะเกาะ"วัฏฯ"มั่นมิกลาย
บ "วิสุทธิ์เทวะฯ"ฉาย
เพราะนิราศไกลนิร์วาณ
     
 ๕.อรหันต์เลิศประโยชน์
หิริโอตตัปฯ"พะพาน
ศุจิ"สุกก์ธรรม"ขาน
บริสุทธิ์สันติธรรม ฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

หิริ=ความละอายต่อบาป
โอตตัปปะ=ความเกรงกลัวต่อบาป
สัปปะฯ=สัปปบุรุษ คือคนที่เป็นสัมมาทิฐิ(ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
กาม=กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ
วิสุทธิเทวะ=วิสุทธิเทวา คือเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์ (เป็นหนึ่งในเทพ รวม ๓ คือ สมมุติเทพ(เช่น พระราชา),อุปปัตติเทพ (คือเทวดาโดยกำเนิด เช่นเทวดาในสวรรค์ และพรหม ทั้งหมด)
สุกก์ธรรม=สุกกธรรม คือ ผู้คุ้มครองโลก(มี หิริ,โอตตัปปะ),เป็นผู้สงบ
สันติธรรม=ธรรมที่ทำให้สงบ

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๓ วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้ ~ อภินันท์ฉันท์ ๑๒
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, มีนาคม, 2567, 11:13:17 AM

มุตโตทัย: ๑๔.อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ

วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

 ๑."สัจ์ธรรม"กุ"ทุกข์",เจาะ "สมุฯ"โทษ
กะ"นิโรธ"และ"มรรค"ใส
ทุกข์ไม่สบายหทยไขว่
"สมุทัย"สิเหตุชัด

 ๒.ดับทุกข์"นิโรธ"ลิ วสะหลัก
อติมรรคแนะทางตัด
ธรรมสี่จะเรียก"อริยสัจ"
มลพ้นละทุกข์ผลาญ
                                   
 ๓.อยากพ้นมุมุ่งพิริยล้ำ
วตธรรมสำเร็จผ่าน
แน่แท้ลิวัฏฏะนิรวาณ
จะมิเกิดติภพหนอ

 ๔.ธรรมสี่จะขานวะ"กิริยา"
จรฝ่ากะสี่ข้อ
ต้องก้าวซิครบจะลุละออ
จะสำเร็จพิบูลย์ผล
                                 
 ๕.ที่สุดละทุกข์"อกิริยา"
นิรคว้าลิ"อยาก"ดล
ปล่อยวางหทัยมิริเกาะตน
มละทิ้งสิทั้งผอง

 ๖.จิตว่างสงบละอกุศล
พหุผลสิบุญครอง
อยู่เหนือซิทุกขะระดะดอง
ผิวเหนือกะบาปบุญ

 ๗.เขียนเลขตะ"หนึ่ง"ทวิ,ติ,..สิบ"
มละลิบลิหมดพรุน
คงเหลือตะ"ศูนย์"ก็นิรคุณ
ปฏิเสธมิมีหรือ?

 ๘."ศูนย์"ยังดำรงลุภวยล
ชวค้นสิ"สูญ"คือ
ตัว"ปัญญะ"รู้ก็ชุติลือ
"กิริยา"ทลายถอน

  ๙.สมมติริคิดรึกิริยา
มละพร่าลิยึดรอน
ใจคืน ณ ที่"อกิริฯ"นอน
ปฏิบัติจะรู้เอง

  ๑๐.ทำตามประพฤติกะมติหลัก
ลุประจักษ์หทัยเปล่ง
รู้เห็นจะแจ้งก็ตนุเขลง
มุตะยิ่งสงบคง

 ๑๑."ขีนาฯ"ประพฤติเจาะ"ภวิโต"
พหุโผล่เจริญส่ง
"สมมติ"ทลาย"อกิริฯ"ยง
ระยะดับติภพสาม

 ๑๒.พุทธ์เจ้าและศิษย์พระอรหันต์
มิเหาะยรรติโลกคาม
แต่ดับ ณ จิต"กิริยะ"ทราม
ชรซ่านฤทัยใส

 ๑๓."สมมติ"มลาย "อกิริฯ"ชัด
"ฐิติจิต"อุบัติไกล
พร้อมธรรมลุล่วง"ฐิติ"ไสว
"ฐิติ"สองมิมีวาย
                                   
 ๑๔.ทั้งจิตและธรรม "ฐิติฯ"จะผ่าน
นิรวาณมิเปลี่ยนกลาย
ตัณหากิเลสภิทะสลาย
สุขะยิ่งสงบใจ

  ๑๕.เกิดแก่และตายก็จะมิมี
ตะจะชี้มิเสื่อมไย
นิพพานมิปรุงกิจะไฉน
ก็เพราะดับสกลลง ฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

อกิริยา=เป็นที่สุดแห่งทุกข์ หมดความดิ้นรน ทะยานอยาก อยากเห็น อยากเป็น แต่ถ้าปล่อยวาง ไม่ยึดอะไรสักอย่าง ใจจะสงบเงียบ ว่างเปล่า จึงอยู่เหนือสุข ทุกข์ เหนือบุญเหนือบาป เหนือกุศลและอกุศลใดๆ จึงพ้นไปจากทุกสิ่ง
อริยสัจ ๔=ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แเก่ ๑)ทุกข์ ความไม่สบาย กาย,ใจ ๒) สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ๓)นิโรค ความดับทุกข์ ๔)มรรค  วิธีดับทุกข์
กิริฯ=กิริยา การกระทำที่แสดงออกทางกาย
สมมติ =แปลว่า นึกเอาเอง,คิดเอาว่า
ปัญญะฯ=ปัญญา
ขีนาฯ=พระอรหันตขีนาสพ คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว
ภะวิโตฯ=ภาวิโต พหุลีกโต แปลว่า ทำให้มาก เจริญให้มาก (สติ สมาธิ ปัญญาก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น) จนจิตมีกำลัง สามารถพิจารณาสมมติทั้งหลาย และทำลายลงไปได้จนเป็น อกิริยา ย่อมดับโลกสามได้(กามโลก,รูปโลก,อรูปโลก)
อกิริยา=ฐีติจิต
ฐิติฯ=ฐีติจิต คือจิตดั้งเดิม เป็นจิตที่ว่างไม่มีอารมณ์ จิตตั้งมั่น เป็นประภัสสร(แจ้งสว่าง)
ฐิติธรรม=ฐีติธรรมที่ตั้งมั่น
ฐีติจิต และฐีติธรรม=จิตกับธรรมที่ตั้งมั่น ไม่รู้จักตายในนิพพาน เพราะดับกิเลส ตัณหาและอุปทานหมดแล้ว จิตเย็นสบายมีความสุขอย่างยิ่ง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๓ วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้ ~ อภินันท์ฉันท์ ๑๒
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, มีนาคม, 2567, 12:37:27 PM

มุตโตทัย: ๑๕.สัตตาวาส ๙

ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒

 ๑."อบายโลก"กะ "เทพโลก"
"มนุษย์"โภคประกอบงาน                 
ณ "โลกกามฯ"ก็สัตว์ขาน
สะเสพ"กามคุณ"ยง

 ๒.ก็"สัตต์ฯ"เก้าประกอบความ
เจาะ "โลกกาม "สิ"หนึ่ง"คง
ปะ"รูปโลก"ก็สี่วงศ์
"อรูปโลก"ก็สี่สรรค์

 ๓.ก็"รูปโลก"สถานที่
สิพรหมนี้ลุ"รูปฯ"พลัน
"อรูปโลก"ก็สร้างครัน
"อรูปฌาน"พระพรหมสม

 ๔.ผิ"สัตตา"สิเก้าชัด
ก็ภพสัตว์สิเศร้าตรม
จะเวียนเกิด ณ"สัตต์"ซม
แสดงนี้ก็แน่เถียร

 ๕."พระขีนาฯ"มิมีกิจ
จะยู่ชิด ณ "สัตต์ฯ"เวียน
เพราะสังโยชน์ลิสิบเชียร
วิมุตใสแหละยืนยาว

 ๖.มุเขียนเลขตะ"หนึ่ง" มอง
ระเรื่อย"สอง"ก็ "ศูนย์" พราว
เจาะ "หนึ่ง"แล้วลุ"เก้า"วาว
ประดาเลขจิคูณหาร

 ๗.เจาะเลข"สิบ"จะมี"หนึ่ง"
กะ"ศูนย์"ซึ่ง บ เจือจาน
ผิอยู่เดี่ยวมิก่อการ
จิหมดค่าประจักษ์แฝง

  ๘.ตะ"ศูนย์"ยังดำรงอยู่
หทัยรู้ก็"ศูนย์"แจง
ผิเลขใดปะหน้าแปลง
จะเปลี่ยนค่าทวีใส

 ๙.ริเลข"หนึ่ง"แตะก่อน"ศูนย์"
จะ"สิบ"พูนประจักษ์ไกล
หทัยเหมือนประดุจไว
ตริต่อใดวิจิตหวาม

 ๑๐.ผิฝึกฝนฉลาดตน
ลุ"เญยย์ฯ"ล้นและงดงาม
ริสู่"ศูนย์"สภาพนาม
จะว่างโปร่งละความเขลา

 ๑๑.ตะไม่อยู่ ณ สัตฯวาส
ก็บ้านชาติสิสัตว์เนา
จะอยู่ยั้ง ณ "ศูนย์"เพรา
"อกีรียะฯ"นั่นเอง ฯ|ะ
 
แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร

อบายโลก=สัตว์ที่เกิดในที่มีความทุกข์ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
เทพฯโลก=เทวโลก ที่อยู่ของเทวดาบนสวรรค์ รวม ๖ ชั้น
โลกกาม=กามโลก หมายถึงภูมิ มนุษย์ อบายภูมิและสวรรค์ ที่ยังเสพกามคุณ ๕
กามคุณ ๕=ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ
สัตตาวาส=เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ยังไม่หลุดพ้น เมื่อตายแล้วก็ต้องกลับมาสู่สัตตาวาสชั้นต่างๆเก้าชั้นได้แก่ กามโลก๑, รูปโลก๔(ที่อยู่อาศัยของเทวดาชั้นพรหมที่ได้รูปฌาน มี ๑๖ ชั้น), อรูปโลก ๔(ที่อยู่อาศัยของเทวดาผู้ที่ได้ อรูปฌาน มี ๔ ชั้น)
พระขีณาฯ=พระขีณาสพ คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว
สังโยชน์=คือกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง ได้แก่ ๑) สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ คือตัวตน ๒)วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระคุณของพระรัตนตรัย ๓)สีลัพพตปรามาส ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกพุทธศาสนา ๔) กามราคะ มีความพอใจในกามคุณ ๕)ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ขัดเคือง หงุดหงิด ๖)รูปราคะ มีความพอใจในรูป,สัญญา ๗)อรูปราคะ มีความพอใจในอรูปสัญญา ๘)มานะ มีความยึดมั่น ถือมั่นในตัวตน ๙)อุทธัจจะ มีความฟุ้งซ่าน ๑๐)อวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔
วิมุต=หลุดพ้น
เญยย์=เญยยธรรม คือธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์รู้แจ้ง สภาพทั้งปวงที่ปรากฏอยู่ในโลกสาม มี ๕ ประการ เช่น นิพพาน,สมมติ(สิ่งที่ชาวโลกตั้งขึ้นเพื่อเรียกขาน เช่นภูเขา,แม่น้ำ) เป็นต้น
อกิริยา=จิตมีกำลังสามารถทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้ จึงดับโลกสามได้(กามโลก รูปโลก อรูปโลก)
อกีรียะ=อกิริยะ คือ เป็นที่สุดแห่งทุกข์ หมดความดิ้นรน ทะยานอยาก อยากเห็น อยากเป็น แต่ถ้าปล่อยวาง ไม่ยึดอะไรสักอย่าง ใจจะสงบเงียบ ว่างเปล่า จึงอยู่เหนือสุข ทุกข์ เหนือบุญเหนือบาป เหนือกุศลและอกุศลใดๆ จึงพ้นไปจากทุกสิ่ง


หัวข้อ: Re: มุตโตทัย : ๑๓ วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้ ~ อภินันท์ฉันท์ ๑๒
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, มีนาคม, 2567, 12:59:07 PM
มุตโตทัย : ๑๖. ความสำคัญของปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา และ ปัจฉิมเทศนา

สรัสวตีเทวีฉันท์ ๑๘

 ๑.พุทธ์เจ้าทรงนยเทศน์แนะสั่งสอน
ติเวลาสำคัญตอน...............พิเศษยิ่ง
 ๒.หมู่สาวกนฤชนตริตรองจริง
ปฐม"ปัญจวัคฯ"ดิ่ง................ก็"ธรม์จักรฯ"
 ๓.พระทรงชี้อิติเว้นมิควรพัก
"สุขัลฯ"วุ่นกะสุขรัก...............เกาะรักครอง
 ๔.อีกทั้ง"อัตตกิฯ"เข้มลำบากผอง
เพราะทั้งสองแหละทุกข์นอง.............."สมาทัยฯ"
 ๕.แต่ถ้าติด"สมุทัย"เลาะชิดใจ
แสดงยังมิกลางไซร้................ก็ผิดกาล
 ๖.เมื่อพากเพียรตบะมั่นสงบพาล
สุขายิ่งมิฟุ้งซ่าน...............สงัดมา
 ๗.ครั้นดีใจก็"สุขัลฯ"เกาะ"ราคาฯ"
และใจเศร้าเซาะ"อัตตาฯ"...............ซิโกรธรี่
 ๘.ไม่รู้ "โมหะ"กุเกิดมิมีดี
กระทบสองจะผิดชี้...............ฤดีขวาง
 ๙.แม้พุทธ์องค์มทก่อนจะถูกทาง
"พระอัคฯ"คิดตริแตกต่าง...............ก็"มิจฯ"ครอง
 ๑๐.เมื่อทรงมุ่งยุรกลางริตรึกตรอง
ฤทัยพ้นกะผิดพร่อง...............ลุญาณยง
 ๑๑.จบทั้งสองก็วิโมกข์ไถลตรง
กะสมมติกำหนดบ่ง.................ณ โคตรภู
 ๑๒.สมมติชาติกะวาสวิบูลย์ชู
ประเพณีก็คิดอยู่.................ระดาษดา
 ๑๓.พระองค์ถึงอริย์พร้อมกะโคตรมา
และชาติ,วาสนาพา.................พิบูลย์ผล
 ๑๔.ธรรม์ยิ่งใหญ่"อะสะวักฯ" ละผิดพ้น
ปะนิพพานแนะศิษย์ยล..................สิเร่งยาตร
 ๑๕.แรกบำเพ็ญปฏิบัติจะผิดพลาด
ริรู้ทันสิเก่งกาจ..................ขยันลาม
 ๑๖.เมื่อ"เสียใจ"ฤ"รตี"ก็ไหวหวาม
แหละ"โลกธรรม"อุบัติตาม................สะกัดขวาง
 ๑๗."มัชฌีมาฯ"จรทางสิสายกลาง
ตริผลักสองประชิดทาง................."อรีย์"ไกล
 ๑๘.สองส่วนนี้ลิสลัดหทัยใส
ปลาตพ้นสว่างใจ................รตีโผล่
 ๑๙."ธรรม์จักกัปฯ" พระแสดงกระทำ"โล-
กะธาตุ"หวั่นและไหวโข.................เพราะใจดาล
ส่วนโลก์ธาตุดุจะจิตซิเกี่ยวสาน
ผิจิตตัดกระเทือนราน.................สะบั้นใกล้
  ๒๑.ตัวโลก์ธาตุก็มิใช่อะไรไหน
ก็ตัวเราซิแน่ไซร้..................มิแคลงคลาง
 ๒๒.หยุดก่อธาตุ ธุวจิตสกัดขวาง
เจาะโลก์ธาตุก็หวั่นคว้าง.............เพราะจิตปราด
 ๒๓."มัชฌิมโพธิ์ฯ"ขณะเทศน์แนะโอวาท
"อร์หันต์"ยิ่งสดับดาษ.................."มะฆาฯ"ยล
 ๒๔."เวฬูวันฯ"อธิบายฤทัยผล
สงบจิตระงับพ้น..................พลังชัย
 ๒๕.แม้โลภ,หลงฐิติแน่นสนิทใจ
จิเข้าถึงสงัดไว..................ซิเพริศแพรว
 ๒๖.ต้องเป็นผู้ปฏิบัติสมาธิ์แน่ว
"มหาส์ติปัฏฐานฯ"แวว..................เจริญปลาย
 ๒๗.แรก"กายาฯ"ตริพิจารณ์สะส่วนกาย
มุส่วนไหนก็ซากวาย................และทุกคราว
 ๒๘.ภาพเห็น"อุคค์หนิมิต"สตีพราว
"ปฏิภาคนิมิต" ยาว................สว่างหล้า
 ๒๙.ทำเชี่ยวชาญ"ปฏิภาคฯ"วิปัสส์นา
อุกฤษ์เลิศ"ฐิตีฯ"มา.................วิโมกข์คง
 ๓๐.พ้นจากโลกเพราะวิมุตติธรรมตรง
ณ "โลกุตฯ" สะอาดส่ง................สงบเพรา
 ๓๑."ปัจฉิมโพธิ์ฯ"ระยะจวนพระพุทธ์เจ้า
ปรีนิพฯ"อรีย์"เฝ้า..............ประชุมเปรย
 ๓๒.พุทธ์เจ้าตรัสมิประมาทตริ"สังข์"เผย
ผิรอบรู้ก็แจ้งเคย...............ตลอดไป
 ๓๓.สังขารเราก็กำเนิด ณ ที่ไหน
และสังขารจะคือไผ...............ประกอบงาน
๓๔.เกิดที่จิตจุติสิ่งคะนึงขาน
กุสมมติกำหนดการ ...............ณ โลกโศก
 ๓๕."ธรรม์ธาตุ"หลายดนุเองสิธาตุโลก
ก็มีอยู่ สิขร,โภค ...............ฤ สิ่งเพรา
 ๓๖.สิ่งนั้นเป็นซิอะไรก็"สังข์"เขลา
ขยายปรุงกะคิดเกลา................คระลองดล
 ๓๗.จนลืมหลง มทว่าแหละจริงท้น
กะยึดเป็นซิของตน...............สกลชิง
 ๓๘."ราคาฯ",โทสะและโมหะเกิดสิง
และจิตเดิมก็หลง"จริง...............และเวียนพบ
 ๓๙.ไม่สิ้น"วัฏฏะฯ"จะเกิดมิมีจบ
เพราะสังขารกุเหตุครบ...............วิบัติเบียน
 ๔๐.พุทธ์องค์เน้น"ปฏิภาคนิมิต"เถียร
ซิญาณเกิดเจาะจิตเนียน...............ประลุไกล
 ๔๑.ตัวสังขารนิรเหตุกำเริบใจ
จะปรุงแต่งหทัยใส...............ละเลิกพลัน
 ๔๒.หยุดยั้งได้ลุ"วิมุติฯ"ตระหนักสันต์
สงบเงียบสะอาดครัน...............ยะเย็นเยี่ยม
 ๔๓.เทศน์สามกาลอติธรรมยะยิ่งเตรียม
ลุล้วนแต่ถวิลเปี่ยม................"วิมุติฯ"ผล
 ๔๔.สำคัญเนื่องอธิคมประจักษ์ดล
มนุษย์ชนและเทพยล...............มุมุ่งหมาย ฯ|

แสงประภัสสร

ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)

ปัญจวัคฯ=พระปัญจวัคคีย์ ๕ พระองค์
ธรรมจักรฯ=ธมมจักกัปปวตนสูตร คือสูตรที่แสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรกในการประกาศพระศาสนา
อิติ=ผู้แสวงหาความดี
สุขัลฯ=กามสุขัลลิถานุโยค คือการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข ดำเนินชีวิตแยบย่อหย่อนเกินไป
อัตตะกิ=อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความลำบากให้ตนเอง บีบคั้นทรมานตนเอง
สมาทัยฯ=สมุทัย คือความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ตัณหา ความทะยานอยากมี ๑)กามตัณหา ๒)ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น ๓)วิภตัณหา คือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
ตบะ=บำเพ็ญบารมี
มท=ความลุ่มหลง
ราคาฯ=ราคะ
พระอัคฯ=พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า ที่เป็นเอก เช่นพระสารีบุตรก็คิดมิจฉาทิฏฐิมาก่อน
มิจฯ=มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไปจากความจริง มี ๑๐ คือ ๑)เห็นว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ๒) การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล ๓)การบูชาเทวดาไม่มีผล ๔)ผลของวิบากกรรมทั้งดีและชั่วไม่มี ๕) โลกนี้ไม่มี ๖)โลกหน้าไม่มี ๗)เห็นว่ามารดาไม่มี ๘)เห็นว่าบิดาไม่มี ๙)สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี ๑๐)เห็นว่าสมณะผู้ปฏิบัติดีและชอบ รู้แจ้งทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองและประกาศให้ผู้อื่นรู้ด้วยไม่มี
วิโมกข์ ,วิมุตติ,วิมุติ=หลุดพ้น
สมมติ=คาดคะเนไปเอง,คิดไปเอง
อะสะวัก=อาสวกขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ,ญาณหยั่งรู้ในธรรมทำให้สิ้นอาสวะ, เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันตรัสรู้
โลกธรรมแปด=คือเรื่องธรรมดาของโลกที่ครอบงำสัตว์ให้เป็นไปตามอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด แยกเป็นฝ่ายอิฐารมณ์:ความพอใจ เป็นที่รักและปรารถนา ๑)ลาภ ๒)ยศ ๓)สรรเสริญ ๔) สุข
และฝ่ายอนิฏฐารมณ์: ความไม่พอใจ ไม่เป็นที่ปรารถนา ๑)เสื่อมลาภ ๒)เสื่อมยศ ๓)ถูกนินทาว่าร้าย,ติเตียน ๔)ทุกข์ ได้รับทุกข์เวทนาทั้งกายใจ
มัชฌีมฯ=มัชฌิมาปฏิปทา คือทางเดินสายกลาง ไม่ยึดถือสุดทางทั้งสอง คือการทำตนให้ลำบากเกินไป หรือพัวพันในกามในความสบาย เพราะสัมมาทิฏฐิทำให้เห็นโทษที่สุดโต่ง จึงกลั่นกรองเป็นการวิเคราะห์นำไปสู่การฝึกจิตให้มีพลังเข้มแข็ง ย่อมประสบความสำเร็จ
อรีย์=พระอริยะ คือผู้ที่ได้ญาณชั้นสูง มี 4 ชั้น ตั้งแต่พระโสดาบัน จนถึงสูงสุดคือพระอรหันต์
โลกธาตุ=คือโอกาสโลกที่เป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ เรียกสมมตว่าจักรวาล โลกธาตุมีหลายขนาด ขนาดเล็กมี พันจักรวาล,ขนาดกลางมี ล้านจักรวาล,ขนาดใหญ่มี แสนโกฏฏิจักรวาลที่ประมาณมิได้ โอกาสโลกที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ก็หาประมาณมิได้ หาที่สุดไม่ได้
มัชฌิมโพธิ์ฯ=มัชฌีมโพธิกาล คือเวลาที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แด่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ณ เวฬุวันวนาราม กรุงราชคฤห์
เวฬูวัน=วัดเวฬุวันวนาราม
มหาส์ติปัฏฐาน=มหาสติปัฏฐาน  ๔ คือ หลักการภาวนาเพื่อรู้แจ้ง เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งปวงไม่ถูกกิเลสครอบงำคือวงจรปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นไตรลักษณ์คลายความยึดติดด้วยอำนาจของกิเลสทั้งปวง แบ่งเป็น ๔ คือ ๑)กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือใช้สติกำหนด พิจาณากาย ให้เห็นกายในกาย ว่าเป็นการรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔ เมื่อจับธาตุแยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่าร่างกายจะหายไป ๒)เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการเสวยอารมณ์ความรู้สึกชอบไม่ชอบ มิสติเห็นเวทนาในเวทนา ให้เห็นความจริงว่าเป็นการรับรู้ จิตจะคลายความยึดถือ ๓)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการดูจิตให้รู้เท่าทันความคิด อารมณ์ที่เข้ามาทั้งราคะ โทสะ โมหะ รู้สภาพความจริงจนวางอุเบกขาไม่ปรุงแต่งเพิ่มก็จะเห็นการเกิดดับทุกสิ่ง ๔)ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ธรรมทั้งหลายได้แก่ นิวรณ์ ๕ ,ขันธ์ ๕, อายตน ๑๒ คืออะไรมีในตนหรือไม่
อุคค์หฯ=อุคคหนิมิต คือนิมิตที่ใจเรียน หรือติดตาได้แก่บริกรรมนิมิต ที่เพ่งหรือกำหนดจนเห็นแม่นยำ เช่นดวงกสิณที่เพ่งจนติดตาแม้หลับตาก็มองเห็น
สตี=สติ คือ ความรู้สึกตัว
ปฏีภาคนิมิต=ปฏิภาคนิมิต จะต่างกับอุคคหนิมิต คือความสงบของจิต สงบจากกิเลสมากกว่า ความผ่องใส บริสุทธิ์ ดีกว่าอุคคหนิมิตหลายร้อยเท่า
ฐิติฯ=ฐีติภูตัง คือจิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา, ตัณหา(ความทะยานอยาก),อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)" เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วจะเป็น "ฐีติญานัง" คือจิตผู้รู้สูญจากอาสวะ(กิเลส) จะรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุขพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
วิโมกข์=หลุดพ้น,นิพพาน
วิมุตติธรรม=ความหลุดพ้นจากกิเลส ๕ ประการ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือการหลุดพ้นกิเลสชั่วคราวโดยอำนาจของญาณ ๒) ตทังควิมุตติ การดับกิเลสด้วยองค์ธรรมตรงกันข้าม ๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ๔) ปฏิปัสสัมธิวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยสงบ ๕) นิสสรณ์วิมุตติ คือหลุดพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนตลอดไป เช่น นิพพาน
โลกุตฯ=โลกุตตรธรรม คือธรรมที่พ้นวิสัยของโลกมี ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑
ปัจฉิมโพธิ์ฯ=ปัจฉิมโพธิกาล การเทศนาครั้งสุดท้ายขณะใกล้จะปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
สังข์ =สังขาร คือ ตัวตน, ร่างกาย
วัฏฏะ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด