หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, พฤษภาคม, 2567, 09:23:10 AM (https://i.ibb.co/2sYqnqP/Screenshot-20240411-173903-Chrome.jpg) (https://ibb.co/61JYnYb) ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ กลอนกลบท สิงห์โตเล่นหาง ๑.สมัยหนึ่งพุทธ์องค์ทรงสถิตย์ "คิชกูฏ"ชิด อร์หันต์ครันหลากหลาย กำลังเดินจงกรมบ่มทลาย กิเลสหน่ายมิห่างข้างพระองค์ ๒.พุทธ์เจ้าถามภิกษุลุเห็นไหม "สารีฯ"ไซร้เดินร่วมรวมเหล่าสงฆ์ ภิกษุตอบทรงชี้คลี่ประจง กลุ่มนี้ทรง"ปัญญา"หล้าเลิศไกร ๓.พุทธองค์ถามซ้ำพร่ำการเห็น "โมคคคัลฯ"เน้น"มันตาฯ,อานนท์"ศรัย "อนิรุทธ์ฯ,เทวะฯ"กะ"กัสสฯ"ไว แยกเดินไกลเป็นกลุ่มดุ่มทุกกาล ๔."โมคคัลลาฯ"ฤทธิ์มากยากใครเหมือน "กัสส์ปะ"เฉือนธุดงค์บ่งเยี่ยมขาน อนุรุทธ์ฯตาทิพย์กริบคมงาน "มันตาฯ"ซ่านแสดงแจงธรรมดี ๕."อุบาลีฯ"วินัยไซร้เลิศขับ "อานนท์ฯ"ตรับฟังด่ำจำแจ้งปรี่ "เทวทัตฯ"ลามกพก"อยาก"มี นิสัยดีหรือชั่วมัวห่างแล ๖.ภิกษุดูสัตว์หลายกรายเข้ากัน ธาตุเดียวนั้นนิสัยใจคอแฉ เลวกับเลวลงกันมั่นมิแปร ดีกับดีอยู่แท้แน่ชื่นชม ๗.อดีต,อนาคต,จดตอนนี้ สัตว์หลากรี่ธาตุเหมาะเกาะเกี่ยวสม นิสัยเลว,ดีผองต้องพร่างพรม แยกธาตุบ่มนิสัยไซร้คล้ายคลึง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๘๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๙-๑๑๐. พุทธองค์=พระพุทธเจ้า คิชกูฏ=ภูเขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ สารี=พระสารีบุตรเถระ เป็นเอตทัคคะ(ผู้ยอดเยี่ยมทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ) เลิศทางปัญญา โมคคัลลา=พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เลิศทางมีฤทธิ์ มันตาฯ=พระปุณณมันตานีเถระ ผู้เป็นพระธรรมกถึก(ผู้แสดงธรรมเป็นเลิศ) อานนท์=พระอานนทเถระ เป็นผู้สดับตรับฟังมาก(เป็นพุทธอุปัฏฐาก) อนิรุทธ์=พระอนุรุทธเถระ เป็นผู้มีทิพยจักษุ เทวะ=พระเทวทัต ไม่ได้เป็นผู้เลิศพิเศษอย่างใดแต่ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก กัสสะฯ=พระมหากัสสปเถระ เป็นผู้เลิศในการธุดงค์ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, พฤษภาคม, 2567, 03:08:03 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๓.เรื่องที่มิได้ตรัสบอกมีมากกว่า กาพย์นันททายี ๑.คราหนึ่งประทับป่า......................ประดู่ ถามภิกษุดู"ใบ".................................ในมือ กับบน"ต้น"พรูไหน............................มากกว่า ภิกษุตอบถือไว้.................................น้อยหนา ๒.ทรงตอบว่าตรัส์รู้.........................มากมาย แต่มิขยายบอก.................................ให้ทราบ เพราะไม่ขจายคุณ............................พรหม์จรรย์ ไม่ใช่ทางปราบทุกข์..........................เบื่อหน่าย ๓.ไม่กรายความรู้ยิ่ง.........................นิพพาน ไม่ใช่ทางผ่านสู่..................................สงัด กำหนัดมิผลาญหมด...........................ระงับ พุทธ์องค์จึงปัดเสีย.............................กล่าวความ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๐ ป่าประดู่=ป่าไม้ประดู่ลาย ใกล้กรุงโกสัมพี พรหมจรรย์=การศึกษา ประพฤติธรรมอันประเสริฐ,การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, พฤษภาคม, 2567, 09:18:25 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๔.เรื่องที่ตรัสบอกคืออะไร
กาพย์มหานันททายี ๑.ภิกษุเราบอกเรื่อง........................ใดบ่ง "เหตุทุกข์เกิด"ตรงนี้..........................ต้องดับ เพราะเรื่องมีคงคุณ............................พรหม์จรรย์ ทำให้หน่ายลับไกล............................กำหนัดสลาย ๒.เพราะเรื่องคลายดับทุกข์.............สงบ ความรู้ยิ่งครบสู่.................................นิพพาน จึงบอกเหตุจบแล...............................ด้วยเพียร อริย์สัจซ่านเสร็จ...............................ทุกข์เกิด,ดับลง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๐-๑๑๑ พรหมจรรย์=การศึกษา ประพฤติธรรมอันประเสริฐ,การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, พฤษภาคม, 2567, 11:45:07 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๕.ใบไม้ขนาดเล็กที่ห่อน้ำหรือห่อใบตาลไม่ได้
กาพย์พรหมคีติ ๑.จงดูก่อนภิกษุ.........................คนที่มุมาดไม่ข้อง อริย์สัจชัดตรอง...........................เหตุทุกข์เกิดเริดดับวาย ไม่กระทำย้ำแนว..........................เขาก็แจวแคล้วทุกข์คลาย ไม่ต้องตรัส์รู้มาย..........................ก็พ้นทุกข์สำเร็จครัน ๒.นั่นมิใช่ฐานะ...........................ที่ชนจะพึงมีได้ เปรียบคนคิดกล่าวไว....................จะเอาใบตะเคียนพลัน ทองกวาว,มะขามป้อม....................ใบเล็กห้อมกระทงสรร ใส่น้ำ,ห่อ"ตาลฯ"กัน.......................ไม่ใช่ฐานะจะมี ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๙ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๑ ตาลฯ=ใบตาล เป็นใบไม้ขนาดใหญ่มาก หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, พฤษภาคม, 2567, 08:32:08 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๖.ธรรมที่เป็นใหญ่คือปัญญา เทียบด้วยราชสีห์
กาพย์ตุรงคทาวี ๑.ราชสีห์.....เดรัจฉานนี้.....พญารี่เนื้อใหญ่ กำลังเลิศ.....บรรเจิดกว่าสัตว์ไหน.....ทั้งฝีเท้า.....รุกเร้าอาจหาญ ธรรมตรัส์รู้....."โพธิปักฯ"พรู.....ใจสู้รู้ตามฉาน "ปัญญินทรีย์"......ปัญญานี้ตนลาน.....เลิศธรรมสู่....ตรัส์รู้แนวทาง ๒.ภิกษุดู.....ธรรมเพื่อตรัส์รู้.....มีพรูอะไรบ้าง "สัทธินทรีย์".....ธรรมที่เป็นใหญ่กว้าง.....คือความเชื่อ.....มีเพื่อโพธิ์กระจ่าง "วิริยินฯ"......ความเพียรเลิศปิ่น......"สตินฯ"ระลึกพลาง "สมาธินฯ"......ใจรินมั่นคงกลาง......"ปัญญินทรีย์".....พร้อมที่ลุโพธิ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๓๐๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๑ โพธิปักฯ=โพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ปัญญินทรีย์=ธรรมที่เป็นใหญ่ ในหน้าที่ของตน คือปัญญา สัทธินทรีย์=ธรรมที่เป็นใหญ่ คือความเชื่อ โพธิ์ฯ=โพธิ คือการตรัสรู้ วิริยินฯ=วิริยินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่ คือความเพียร สตินฯ=สตินทรีย์ คือความระลึกได้ สมาธิน=สมาธินทรีย์ คือความตั้งใจมั่น หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, พฤษภาคม, 2567, 10:24:26 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๗.เรื่องของสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ) กาพย์กากคติ ๑.พระพุทธเจ้า.....แนะภิกษุเร้า.....สมาธิหมาย ลมหายใจเข้า-.....ออกเฝ้ามิคลาย.....เรียก"อานาฯ"ปราย.....ทำให้มากคง อารมณ์คุมนิ่ง.....กายไม่ไหวติง.....ใจไม่หวั่นปลง เมื่อเป็น"โพธิ์สัตว์"......มิตรัส์รู้ตรง.....ก็พึ่งธรรมยง....ลำบากพ้นไกล ๒.หทัยและกาย.....ก็สุขกระจาย....."อุปาฯ"ลิใส ไม่พึงยึดมั่น.....ตัดพลันมิไขว่.....กิเลสร้ายไซร้.....หมดทลาย ภิกษุพึงหวัง......กาย,ตา,จิตพรั่ง......มิยากใจ,กาย จิตพ้น"อาสวะ".....ใจละยึดคลาย.....ทำสมาธิ์กราย.....ลมหายใจนำ ๓.ผิโพธิหนา.....กระทำ"อานาฯ"....."วิหารธรรม" ที่ป่า"อิจฉาฯ"......ถ้ามีผู้ย้ำ.....ถามพุทธ์เจ้าจำ-......พรรษา,ธรรมใด ภิกษุจงตอบ.....ด้วย"อานาฯ"รอบ....หมายลมหายใจ เข้า-ออกรู้สึก.....รู้นึกว่องไว.....สมาธิ์มิไหว.....สติสมบูรณ์ ๔.ก็ภิกษุหลาย......ริกล่าวขยาย...."อนาฯ"อะดูลย์ "อริย์วิหาร".....คือฐานธรรมกูล......อริยะพูน......ประพฤติดำรง "พรหมวิหาร"ตรอง.....ธรรมประจำของ.....พระพรหมอยู่ทรง "ตถาฯวิหาร".....เป็นฐานธรรมตรง.....จิตวางเฉยส่ง.....สงบสกนธิ์ ๕.ผิภิกษุไหน.....มิบรรลุไซร้.....สิมรรคและผล ต้องการธรรมยอด.....เพื่อปลอดรอดพ้น.....โยคะผูกตน.....เริ่มพฤติ"อานาฯ" กำหนดหายใจ.....เข้า,ออกรู้ไซร้.....ทำให้มากหนา "อาสวะ"ย่อม.....สิ้นกรอมถูกฆ่า.....หมดทุกข์ในหล้า......ตลอดยาวนาน ๖.พระภิกษุฟัง......อร์หันต์ลุฝั่ง.....กิเลสละผลาญ มรรค,ผลสำเร็จ......กิจเสร็จสิ้นงาน.....ประโยชน์ตนราน......"อานาฯ"ยังทำ "อานาฯ"เจริญ......อยู่เป็นสุขเพลิน....."สติสัมฯ"นำ ดั่งพุทธ์เจ้าไซร้......ใช้สติฯล้ำ.....เผยแพร่ศาสน์พร่ำ.....สั่งสอนมวลชน ๗.เจริญ"อะนาฯ"......ซิหนึ่งก็คว้า.....สิหลายปะผล "อานนท์"จงตรอง.....ทำคล่องมากดล....."สติปัฏฯ"ล้น.....สี่บริบูรณ์ หนึ่ง"กายาฯ"นึก......ถึงกายระลึก.....รวมธาตุสี่กูล ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ.....ก่อไซร้รวมพูน.....เป็นกายคนทูน.....เห็นจริงชัดเลย ๘.แหละ"เวทนา".....ก็สองจะพา....."สุขา"ฤ เฉย สามระลึกถึง....."จิตฯ"ซึ่งเก็บเกย.....ความดี,ชั่วเปรย.....ฝึกรู้ความจริง สี่"ธัมมาฯ"คิด.....กุศลธรรมชิด.....มีในตนยิ่ง "สติสัมป์ฯ"ครอง....."เพียร"ปองมั่นนิ่ง.....สมาธิ์จะดิ่ง.....สำเร็จมิซา ๙."สตีปัฏฐาน".....ริทำซิผ่าน.....ลุ"โพชฯ"สิหา มีปัญญาเลิศ....."ธัมม์ฯ"เจิดค้นมา.....สมาธิ์,เพียรหนา....."ปิติ"อิ่มใจ "สติ,ปัสสัทธิ์".....สุขกาย,ใจชัด......"อุเบกฯ"หทัย ใครล้ำโพชฌงค์.....ย่อมคงรู้ใฝ่....."วิชชา"สัจใส....วิมุติพ้นพลัน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑,๔๑๒,๔๑๓,๔๑๗ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๑-๑๑๓ อานาฯ,อะนาฯ=อานาปนสติ คือ การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก เป็นวิธืการทำกรรมฐานวิธีหนึ่ง โพธิ์สัตว์=พระโพธิสัตว์ คือผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ตรัส์รู้=ตรัสรู้ โพธิ=ตรัสรู้ อุปาฯ=อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น อาส์วะ=อาสวะ คือกิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน วิหารธรรม=ธรรมประจำใจ ป่าอิจฉาฯ=ป่าอิจฉานังคละ อะดูลย์=อาดูลย์ อริย์วิหาร=อริยวิหาร คือธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า พรหมวิหาร=คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ตถาฯวิหาร=ตถาคตวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของตถาคต โยคะ=เครื่องผูกมัด สติสัมฯ,สติ=สติสัมปชัญญะ อานนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก สติปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักการภาวนา ข้อปฏิบัติให้รู้แจ้ง ตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ แบ่งเป็น ๔ คือ ๑)กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ระลึกถึงกายอันเป็นที่ประชุมของธาตุทั้งสี่ ๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงความเสวยอารมณ์ มีสุข ทุกข์ อุเบกขา ๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงจิต ผู้สะสมความดีและชั่วทั้งหลาย ๔)ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือให้ระลึกถึงธรรม สภาพที่ทรงไว้ในตน เช่น กุศลกรรม อกุศลธรรม ปะปนกันอยู่ สตีปัฏฐาน=สติปัฏฐาน โพชฯ=โพชฌงค์ ๗ คือองค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๑) สติสัมโพชฌงค์ มีสติรู้สึกตัว ๒) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือสอดส่องสืบค้นธรรม ๓) วิริยสัมโพชฌงค์ คือมีความเพียร ๔) ปิติสัมโพชฌงค์ เกิดความอิ่มใจ ๕) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เกิดความสุขกาย ใจ ๖) สมาธิสัมโพชฌงค์ คือใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ ๗)อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ วิมุติ=ความหลุดพ้น |