หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๘.ขันธ์ (กอง) ๕ มีอะไรบ้าง ~ โคลงสี่สุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, มิถุนายน, 2567, 09:46:59 AM (https://i.ibb.co/xH1VWs6/Screenshot-20240411-174309-Chrome.jpg) (https://imgbb.com/)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๘.ขันธ์(กอง) ๕ มีอะไรบ้าง โคลงสี่สุภาพ ๑.ขันธ์แปล"กอง"ที่ชี้.......................รูป,นาม ขันธ์แบ่ง"ปัญจ์"แยกตาม....................ต่างแท้ "รูปขันธ์,หนึ่ง"มองงาม........................ธาตุสี่กอปรกัน เป็นร่างหญิง,ชายแล้..........................เลิศไซร้แลหา ๒."เวท์นา,สอง"รับรู้...........................สุข,ทุกข์ หรือไม่สุข,ทุกข์รุก..............................ซุ่มเร้า "สัญญา"อยู่สามชุก.............................หมายมุ่ง จำรูป,เสียงเคียงเฝ้า............................ไม่พลั้งลืมเผลอ ๓.เจอ"สังขาร,สี่"แจ้ว..........................คิด,ปรุง ดี,ชั่วทำหลากมุง.................................จิตดิ้น "วิญญาณ"รับทราบผลุง.......................ตาผ่าน หู,จมูก,กาย,ใจ,ลิ้น...............................บ่งแจ้งปัญจ์ขันธ์ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : วิภังค์ อภิธัมปิฎก ๓๕/๕๔๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๓ ขันธ์=ส่วนของรูป กับ นาม แยกเป็น ๕ กอง เรียกขันธ์ห้า ได้แก่ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์,สัญญาขันธ์,สังขารขันธ์,วิญญาณขันธ์ ปัญจ์=ปญจ แปลว่า ห้า รูปขันธ์=เป็นสภาพที่ไม่รู้ คือ กาย มีทั้งหมด ๒๘ รูป(แบ่งเป็น อุปาทยรูป ๒๔ และมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบกันเป็น กายคน) เวท์นา=เวทนาขันธ์ คือความรู้สึก มีทั้งหมด ๕ ได้แก่ สุขกาย, สุขใจ,ทุกข์กาย,ทุกข์ใจ,อุเบกขาทางใจ สัญญาขันธ์=คือความจำได้ รู้จำได้กับสิ่งที่ปรากฏทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย และความรู้สึกทางใจ(ด้วยเวทนา สัญญา สังขาร) สังขารขันธ์=คือการคิด ปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์ และกริยาหลากหลาย มีรวม ๕๐ สังขาร วิญญาณขันธ์=เป็นสภาพรับรู้ จากทวารทั้ง ๖ คือตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๘.ขันธ์ (กอง) ๕ มีอะไรบ้าง ~ โคลงสี่สุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, มิถุนายน, 2567, 08:52:10 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๙.อายตนะ(ที่ต่อ) ๑๒ มีอะไรบ้าง ? โคลงดั้นวิวิธมาลี ๑."อายตนะ"เชื่อมเกี้อ.......................คะนึง เป็นสื่อนำชักพึง.................................มั่นรู้ เหมือนดังต่อกันถึง.............................ทางยิ่ง อีกนอก,ในถ้วนกู้................................สิบสอง ๒."อายะฯ"ในที่ช้อน..........................มีหก ครันอยู่ในกายตรอง...........................เกิดสิ้น "ตา,หู,จมูก,กาย"ปรก..........................ใจก่อ อีกที่เหลือ"ลิ้น"ชิ้น..............................เด่นหนา ๓."อายะฯ"นอกที่ต้อน.......................นอกกาย "รูป,กลิ่น,รส,เสียง"พา.........................ต่อยิ้ม "ธรรมาฯ"ส่งรับหลาย.........................มากยิ่ง "สัมผัส"จับได้ลิ้ม................................ส่งผล ๔."อายะฯ"ในรับรู้..............................จากนอก กระทบเกิด"วิญฯ"ดล..........................มุ่งแล้ว ตาเห็นรูป"วิญฯ"กลอก........................เห็นแน่ รูปไม่มีต้องแคล้ว...............................ไป่วิญฯ ๕."อายะ"ใน,นอกพร้อม......................วิญญาณ สามอย่างกอปรผลิน...........................จึ่งรู้ เกิดสักครู่ดับผลาญ............................ลงแน่ "วิญฯ"อื่นดับล้วนจู้..............................เช่นกัน ๖.เจริญมรรคเพิ่มกล้า........................ปัญญา ศีล,สมาธิ์เสริมสรรค์............................ย่ำก้าว คิดทันดับลงพา...................................สงบ สามสิ่งละทิ้งน้าว................................."อยาก"สูญ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : วิภังค์ อภิธัมปิฎก ๓๕/๕๔๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๓-๑๑๔ อายต์นะ,อายะ=อานตนะ แปลว่า ที่เชื่อมต่อ,เครื่องติดต่อเป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น หมายถึง จักษุ โสตฆาน,ชิวหา,กาย,ใจ เป็นอายตนะภายใน ๖ จะติดต่ อกับอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส)และ ธรรมารมณ์ เช่น ตาเห็นรูป เกิดจักขุวิญาณ,หูได้ยินเสียง เกิดโสตวิญญาณ เป็นต้น วิญฯ=วิญญาณ(จิต,ใจ) ธรรมมาฯ=ธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่ใจรู้,สิ่งที่ใจนึกคิด หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๘.ขันธ์ (กอง) ๕ มีอะไรบ้าง ~ โคลงสี่สุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, มิถุนายน, 2567, 11:51:14 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๐.ธาตุมีอะไรบ้าง ?
โคลงดั้นบาทกุญชร ๑.ธาตุสิบแปดอยู่ยั้ง.........................ตัวเอง มีปัจจัยปรุงกอปร...............................เกิดกล้า ก็มีแบบชัดเผง...................................แข็งแกร่ง มิไผดลสร้างจ้า..................................แต่ไหน . ๒.ตามกิจธาตุแบ่งแล้........................หกทาง สามแต่ละทางไว................................ย่อยไว้ "ธาตุตา,หนึ่ง"เห็นวาง.........................."รูปธาตุ" "วิญญ์จักขุฯ"ล้นใกล้...........................ก่อสรรค์ ๓."โสตธาตุฯ"สองยาตรคล้อย............ยินเสียง"สัทท์ธาตุ" "ธาตุโสตต์วิญฯ"ประชัน.......................พร่ำแจ้ว "ฆานะธาตุ"สามเคียง...........................ชูกลิ่น"คันธธาตุ" "วิญญ์ธาตุฯ"กลิ่นคลุ้งแผ้ว....................คล่องสม ๔."ชิวหาธาตุฯ"สี่ลิ้ม.............................มีลอง"รสธาตุ" "วิญญ์ธาตุชิวหาฯ"พรม.........................อร่อยลิ้น อีก"กายธาตุ"ปัญจ์ครอง........................"โผฏฐัพพะธาตุ" "กายธาตุวิญญ์"รู้สิ้น.............................ลูบคลำ ๕."มโนธาตุ"ตรับพร้อม..........................ฉ แฝง"ธัมมธาตุ" "วิญญ ธาตุมโน"นำ................................ชอบรู้ ธาตุหลายพุทธ์เจ้าแจง..........................มิใช่ตัวเรา เป็นรูป,นามถ้วนสู้..................................ไม่คง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : วิภังค์ อภิธัมปิฎก ๓๕/๕๔๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๔ ธาตุ ๑๘=สิ่งที่ทรงสภาวะ ไม่ใช่สัตว์,คน,ตัวตน ไม่มีผู้บันดาล มีรูปลักษณะ หน้าที่ อาการ เฉพาะตัว ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ถ้าแบ่งตามหน้าที่ จะได้ ๖ อย่างๆละ ๓ ธาตุ รวม ๑๘ คือ ๑) จักขุธาตุ(ประสาทตา),รูปธาตุ(รูปร่างต่างๆที่เห็น),จักขุวิญญาณธาตุ(ธาตุที่เห็นรูป) ๒) โสตธาตุ(ประสาทหู),สัททธาตุ(เสียงต่างๆ),โสตวิญญาณธาตุ(ธาตุที่ได้ยินเสียง) ๓)ฆานะธาตุ (ประสาทจมูก),คันธธาตุ(กลิ่นต่างๆ),ฆานะวิญญาณธาตุ(ธาตุที่รู้กลิ่น) ๔)ชิวหาธาตุ(ประสาทลิ้น),รสธาตุ(รสต่างๆ),ชิวหาวิญญาณธาตุ(ธาตุที่รู้รส) ๕)กายธาตุ(ประสาทกาย),โผฏฐัพพะธาตุ(เครื่องกระทบกายต่างๆ),กายวิญญาณธาตุ(ธาตุที่รู้กายสัมผัส) ๖)มโนธาตุ(ใจที่รับอารมณ์และพิจารณาอารมณ์ จากทวารทั้ง ห้า),ธัมมธาตุ(เครื่องกระทบใจต่างๆ),มโนวิญาณธาตุ(ธาตุที่รู้ความรู้สึกนึกคิด) ปัญจ์=ปญจ=ห้า ฉ=หก |