หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๒๒.เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 01, กรกฎาคม, 2567, 09:53:37 AM (https://i.ibb.co/vPdDnHC/Screenshot-20240610-152605-Chrome.jpg) (https://imgbb.com/) ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๒.เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน และเหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน โคลงสองดั้น ๑."กิมพิละ"เปล่งถ้อย ถามพุทธ์องค์ข้องด้อย........................สัทธรรม ๒.อะไรนำเหตุให้ พระสัทธรรมตั้งได้...............................ไม่นาน ๓.กาลพุทธ์องค์"นิพฯ"แล้ว "บริ์ษัท"มิคร้ามแกล้ว.............................ศาสดา ๔.หาเคารพเทิดไท้ ในพระธรรมสิ้นใกล้...............................ถดถอย ๕.พระสงฆ์พลอยถูกล้าง เคารพหายคล้อยว้าง..............................หมดไป ๖.ศึกษาไกลเหตุยั้ง พระสัทธรรมต้องพลั้ง.............................พลาดสูญ ๗."กิมฯ"ทูลถามต่อย้ำ ใดเหตุทำดั้นล้ำ.......................................ศาสน์คง ๘.พุทธ์องค์ตอบกราบเฝ้า "บริ์ษัทฯ"นบน้อมเร้า................................รัตน์ตรัย ๙.เป็นปัจจัยก่อเกื้อ พระศาสน์ท้นเอื้อ.....................................ยิ่งนานฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๖๖ กิมพิละฯ,กิมฯ=พระกิมพิลเถระ พระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นพระประยูรญาติ ประสูติในราชสกุล ศากยะ ของพระพุทธเจ้า พุทธ์องค์=พระโคดมพุทธเจ้า นิพฯ=การปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า บริ์ษัทฯ=พุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๒๒.เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, กรกฎาคม, 2567, 12:28:20 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๓.ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต
โคลงสี่ตรีพิธพรรณ ๑."วาจา"ดีกล่าวถ้อย.........................จากใจ อันผ่องใสทุกครา................................เยี่ยมแผ้ว ยามจะพูดครรไล.................................กระจ่าง คุณแก่ตัวผู้แกล้ว.................................พูด,ฟัง ๒."วาจา"กอปรบ่งห้า...........................ดีเสริญ อันแรกดังพูดขาน.................................ถูกต้อง "ความจริง"ไม่บิดเยิน.............................เสริมแต่ง มิปิดบังสิ้นพร้อง....................................เรื่องราว ๓."สอง,สุภาพ"อ่อนช้อย........................หอมหวาน มิด่าคาวเสียดสี......................................มุ่งแม้น วาจากลิ่นละลาน....................................ใจนิ่ง ประชดเลิกล้มแค้น.................................ระคาย ๔.สามมี"ประโยชน์"ล้น..........................ทั้งผู้ พูด,ฟัง คำพูดหลายสุภาพ..................................ถูกแท้ ประโยชน์เกิดมิพรู..................................งดกล่าว จะก่อโทษเว้นแล้.....................................เลิกเสีย ๕.สี่ขณะพร่ำย้ำ...................................เมตตา จิตมี เขาสุขเยียเจริญ.....................................เปี่ยมล้น หากจิตขุ่นโกรธมา..................................รอกล่าว จะเกิดเสียร้ายท้น....................................ยากถอน ๖."พูดถูกกาล"เลือกได้............................เหมาะสม จะพูดตอนไหนดี......................................เพริศแพร้ว พูดถูกที่เริงรมย์.......................................ผลเยี่ยม เตือนเพื่อนเมาต้องแคล้ว..........................ผิดกาล ๗.พุทธ์องค์แจงแน่ชี้...............................วาจา องค์ประสานพานครบ..............................สิ่งห้า สุภาษิตเรียกหา.......................................โทษพร่า จะไม่มีผู้กล้า............................................ตำหนิ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๖๖ หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๒๒.เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, กรกฎาคม, 2567, 12:56:01 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๔.การค้าขาย ๕ อย่างที่อุบาสกไม่ควรทำ
โคลงสี่จัตวาทัณฑี ๑.อุบาสกผู้แปล้................................ศีลคง แปดเฮย พระพุทธฯแจงตรงงด..........................โทษค้า อาชีพบาปขัดประสงค์.........................วิบาก ติดตัว ปัญจ์อย่างขวางก้าวหน้า......................"ปัสนาฯ" ๒."สัตถ์ฯ"อาวุธหนึ่งแล้.......................งดขาย เพราะก่อโทษพาเขา.............................ชีพม้วย พวกมีชีพเลิกกราย...............................สอง"สัตต์ฯ" มนุษย์ หมดอิสระล้ำด้วย..................................ถูกขัง ๓."สาม,มังสะ"งดค้า............................."มิค"เกลา เป็นเหตุฆาตจังพาน...............................สัตว์คล้อย "มัชชะ"สี่ของเมา...................................ขายงด ประมาทเกิดได้พร้อย.............................เสี่ยงตาย ๔."วิสฯ"ยาพิษเลิกค้า............................บาปปัญจ์ รวมมุ่งปรุงหมายทำ...............................วอดพ้น อุบาสกมิพฤติพลัน.................................รวมหมด และไม่ชวนผู้ด้น.....................................ต่อเลย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๓๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๖๖-๖๗ พระพุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า ปัญจ์=ปัญจ แปลว่า ห้า วิบาก=ผลแห่งกรรมดี,ชั่ว ที่ได้ทำมาแล้วในอดีต ปัสนาฯ=วิปัสสนา สัตถ์ฯ=สัตถวณิชชา คือ การค้าขายศัตรา สัตต์=สัตตวณิชชา คือ ค้าขายสิ่งมีชีวิต หมายถึง มนุษย์ มังสะ=มังสวณิชชา คือ การค้าขายเนื้อสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์ประเภทใช้ฆ่ากินเนื้อไว้ขาย มัชชะ=มัชชวณิชชา คือการค้าขายน้ำเมา วิสฯ=วิสวณิชชา คือ การค้าขายยาพิษส มิค=สัตว์ป่า ในที่นี้หมายถึง เนื้อสัตว์ทั้งหมด หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๒๒.เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, กรกฎาคม, 2567, 12:52:36 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๕.คนพูดมากมีโทษ ๕, คนพูดด้วยปัญญา มีอานิสงส์ ๕ โคลงปฐมทัณฑี ๑.พุทธ์เจ้าทรงกล่าวห้าม...................พระสงฆ์ พูดมาก คงก่อเสียงานกวน...............................ทุกผู้ ตนจิตขุ่นเรรวน...................................มิสงบ กายใจ คนพูดพอควรรู้....................................ฝึกพร้อมดีตน ๒.คนพูดมากคาดห้า...........................โทษทัณฑ์ ครันหนึ่งอาจ"เท็จ"บิด...........................เบี่ยงลี้ สองพูด"เสียด"ประชิด..........................คนอื่น แตกคอ "คำหยาบ"สามพูดปลี้...........................ไม่ช้อยสุดเผย ๓.เคย"พูดเหลว"สี่ไร้...........................พระคุณ หนุนคะนองปากไว................................ไม่พ้น คราชีวิตปลดไกล..................................จะสู่ อบาย ตกต่ำจมภพด้น.....................................ล่มแล้วระงม ๔.สมกลับกันพูดด้วย............................ปัญญา หาพูด"เท็จ,เสียด"เคือง..........................ทุกผู้ คำหยาบไม่พูดเนือง...............................เป็นนิตย์ พูด"พล่าม"งดเลยจู้................................เด่นช้อยงดงาม ๕.ยามฉลาดพูดด้วย.............................ปัญญา มาพูดสิ่งตนทำ.......................................เสร็จได้ คราชีวิตวายนำ.......................................เขาสู่ สุคติโลกไซร้..........................................แน่แท้สวรรค์ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๖๗ |