หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๒๖.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นฯ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, กรกฎาคม, 2567, 09:56:31 AM (https://i.ibb.co/p4mGgfz/Screenshot-20240704-134443-Chrome.jpg) (https://ibb.co/c2mMP6F)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๖.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่น ก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน โคลงดั้นบาทกุญชร ตรีพิธพรรณ ๑.ภิกษุดูก่อนแล้.................................มิชาญ คนอื่น ควรเก่งมองจิตตน.................................เพ่งพริ้ง กระจกส่องมองควาน.............................หาร่อง มลทิน เจอแน่เอาเปลื้องทิ้ง...............................ฝุ่นผง ๒.ปราศธุลีผ่องหน้า.............................ลาภเรา เปรียบแม่นตรงภิกษุ..............................เร่งเฝ้า ตรองตน"สิบธรรม"เพรา..........................ธรรมที่ เจริญ เกิดกุศลก้าวเร้า......................................แก่ตน ๓.เรามี"โลภ"ปรี่ล้น.................................มิมี มากหนอ จิต"ฆาต"ท้นมีหรือ....................................ยิ่งแปล้ จิต"หดหู่"มากพี........................................หรือไม่มี จิต"พล่าน"ไวฟุ้งแท้...................................หลากหรือ ๔."ลังเล"มากใช่ไซร้...............................มีจริงหนอ มี"โกรธ"ครือมากหลาย............................บ่อยครั้ง "โศกหมอง"จิตซานสิง..............................มากเรื่องหรือ "กายส่าย"รนร้อนทั้ง................................สงบวาย ๕.เรามัก"เกียจ"เชื่องช้า..........................มากหรือ "จิตมั่น"กลายคลอนแคลน........................มากน้อย ตรองสิบอย่างฝึกปรือ...............................มากดื่น ทุกธรรม ภิกษุควรแก้ช้อย.......................................พฤติเสริม ๖. มี"ฉันทะ"ชื่นปลื้ม...............................พอใจ "เพียร"มั่นเติมขยัน..................................."ไม่ท้อ" วางใจแน่วฉับไว......................................."สติ"นั่น ครบครัน "สัมปชัญฯ"ท้นคล้อ...................................พรั่งพรู ๗.คราเสร็จกิจหมั่นรู้................................เลิศเลอ ก็ละกรูบาปธรรม.......................................หมดจ้า เหมือนคนถูกไฟเจอ...................................ควรดับเหตุ ดับที่ตรงเสื้อผ้า..........................................แน่เทียว ๘.ภิกษุพฤตินับถ้วน.................................มิมี ธรรมเลว มากแน่เจียวเหลือคง..................................แต่น้อย ควรเพียรแน่วธรรมดี..................................มองมุ่ง กุศล กิเลสวายสิ้นสร้อย.....................................นิพฯถึง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๒-๑๐๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๗๔-๗๕ สิบธรรม=คือธรรมที่ภิกษุต้องพิจารณาให้ดี เพื่อละธรรมอันเป็นบาปให้หมดไป ได้แก่ ๑) เรามีอภิชฌา-ความโลภ หรือไม่มี อยู่โดยมากหนอ ๒)เรามีจิตพยาบาท-คิดให้ร้าย หรือไม่มี อยู่โดยมากหนอ ๓)เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รัดรึง หรือไม่มี อยู่โดยมากหนอ ๔)เราฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน อยู่โดยมากหนอ ๕)เรามีความลังเล สงสัย หรือข้ามพ้นความสงสัย อยู่โดยมากหนอ ๖)เรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธ อยู่โดยมากหนอ ๗)เรามีจิตเศร้าหมอง หรือไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมากหนอ ๘)เรามีกายกระสับกระส่าย หรือไม่มี อยู่โดยมากหนอ ๙)เราเกียจคร้าน หรือปรารถความเพียร อยู่โดยมากหนอ ๑๐)เรามีจิตไม่ตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่น อยู่โดยมากหนอ ฉันทะ=ความพอใจ ที่จะปฏิบัติตนเพื่อแก้ไข สัมปชัญฯ=สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว นิพฯ=นิพพาน (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๒๖.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นฯ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, กรกฎาคม, 2567, 10:04:49 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๗.ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
โคลงดั้นวิวิธมาลี ตรีพิธพรรณ ๑."ศีลวิบัติ"พฤติพลั้ง........................ผิดศีล ทางกาย บกพร่องวาจา,ใจ................................ล่วงห้าม "ทิฏฐิฯ"คิดเห็นปีน...............................ออกนอก ทางธรรม ดังเช่น"ทาน"คล้อยข้าม.......................ว่าผลอย ๒."บริจาค"ห่อนแล้...........................มิมี วิบาก "คุณ"พ่อถอยราคา..............................แม่ด้วย "ผลกรรม"ที่เลว,ดี................................หาไม่มี "ภพต่อไป"ไซร้ม้วย..............................ขาดสูญ ๓.สัตว์"โอปปาฯ"เกิดไร้......................มิเห็น คนที่พูนปัญญา....................................ตรัส์รู้ หามีเลิศมิเป็น.......................................ดังว่า เรียก"ทิฏฐิฯ"เปลี้ยผู้.............................คิดผลาญ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อภิธัมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๐ ศีลวิบัติ=การกระทำที่ขัดต่อศีล หรือการกระทำให้ศีลบกพร่อง ทิฏฐิฯ=ทิฏฐิวิบัติ คือ ความเห็นที่ขัดต่อความเป็นจริง หรือความเห็นผิดเป็นถูก ความเห็นที่ประกอบด้วยกิเลส โลภ โกรธ หลง ด้วยอำนาจของกิเลส ทำให้มีความคิดเห็นผิดทั้ง กาย วาจา ใจ โอปปาฯ=โอปปาติกะ คือ สัตว์ที่เกิด ก็เติบโตขึ้นมาทันที เช่น เทพ และสัตว์นรก หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๒๖.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นฯ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, กรกฎาคม, 2567, 12:48:07 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๘.ศีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
โคลงดั้นบาทกุญชร จัตวาทัณฑี ๑."ศีลสัมป์ทา"มุ่งแล้.........................ทำตน ถึงศีล มิล่วงละเมิดศีล..................................พฤติพร้อม "วาจา"พร่ำเพริศดล............................กายนอบ สำรวม "โกรธ,ฆ่า,เคียด"ยั้งห้อม......................เมตตา ๒."ทิฏฐิสัมฯ"รอบรู้............................ปัญญา มีสิ่งจริงหาใน......................................โลกนี้ "ทาน,วิบาก,บูชา"................................."คุณ"พ่อ,มารดา "การมอบ"มีให้ชี้...................................แน่เทียว ๓."โอปปาฯ"เกิดจ่อพริ้ง.......................โตใส พรามณ์เก่งกาจเชียวหนา......................หลุดพ้น ตัวเองไม่มีไผ........................................สอนสั่ง แจง"ภพ"เกิดล้นท้น...............................พรั่งมี ๔.เรียก"ทิฏฐิฯ"ดั่งนี้...............................เห็นตรง ตรองเหตุผลดีงาม.................................เชื่อถ้วน "ศีลสัมฯ"พฤติถูกคง..............................ใจบ่ม ความดี สองแบบตายแล้วล้วน............................สู่สวรรค์ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อภิธัมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๐ ศีลสัมป์ทา,ศีลสัมฯ=ศีลสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล,ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย วาจา ใจ ทิฏฐิสัมฯ,ทิฏฐิฯ=ทิฏฐิสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ,การตั้งอยู่ในหลักความคิดเชื่อถือที่ถูกต้องดีงาม มีเหตุผล เป็นไปตามเหตุปัจจัย วิบาก=ผลของกรรมดี กรรมชั่ว ที่ทำมาแล้ว โอปปาฯ=โอปปาติกะ คือ สัตว์ที่เกิด ก็เติบโตขึ้นมาทันที เช่น เทพ และสัตว์นรก หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๒๖.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นฯ เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, กรกฎาคม, 2567, 05:32:26 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๒๙.ธรรมที่มีอารมณ์ และ ไม่มีอารมณ์ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖(กาพย์ขับไม้) ๑."อารมณ์"สิ่งชิด.....ถูกรู้โดยจิต.....จิตรู้"อารมณ์" รู้ทางกายเช่น....."รูป,รส,กลิ่น"เด่น....."เสียง,สัมผัส"ชม รู้ทางใจสม....."ธรรมารมณ์คม......นึกคิดต่างพลาง ๒.สิ่งที่"ตา"เห็น.....ล้วน"อารมณ์"เป็น.....เด็ก,ตู้,โต๊ะขวาง ทำนองเดียวกัน.....รส,กลิ่น,เสียงครัน....."สัมผัส"ใจวาง ทุกสิ่งเห็นลาง......หรือไม่กระจ่าง......ก็อารมณ์เอย ๓.อารมณ์ทั้งหก.....เกิด,ดับเปลี่ยนผก.....ยึดถือมั่นเฉย แล้วปรุงแต่งตาม......ใจชอบผลีผลาม....เกิดทุกข์ทนเลย พุทธ์องค์สอนเสย....เลิกถือมั่นเคย.....ปล่อยจิตวางลง ๔."ธรรมมีอารมณ์"......เป็นอย่างไรสม....ภาวะธรรมบ่ง "กุศลภูมิสี่"....."วิบากภูมิ"รี่......"อัพ์ยากฤตฯ"ตรง ทั้งสามกลุ่มคง......ต่างชั้นจิตส่ง......ผลดี,เลวครัน ๕.กุศลภูมิแจง.....ระดับจิตแปลง.....ต่ำ-สูงสี่ผัน หนึ่ง"กามาฯ"ความ.....จิตต้องการ"กาม".....มีสิบเอ็ดชั้น สอง"รูปาฯ"นั้น.....เพ่ง"รูปฌานฯ"ดั้น.....สิบหกชั้นชม ๖.สาม"อรูปาฯ"......"อรูปฌาน"หนา.....มีสี่ชั้นฉม สี่"โลกุตตระ"......จิต"อริยะ".....พ้น"โลกีย์ฯ"ข่ม สามภูมิต้นซม......จิตยังท่องตรม.....ที่อยู่ตนวน ๗."วิบาก"กรรมทอน......ผลจิตกาลก่อน.....มีจิตสี่ผล แยกฝ่ายดี,ชั่ว.....ฝ่ายวิบากมัว.....ฝ่าย"อาการ"ดล เจต์นาใดด้น.....กระทำแล้วยล.....รับผลแน่นอน ๘.กิริยากลาง....."อัพ์ยากฤตฯ"วาง.....มิใช่ธรรมจร ทั้งดี,เลวเลย.....จิตอยู่กลางเฉย.....ในภูมิสามวอน เว้น"โลกุตฯ"พร.....ที่อยู่ผู้ถอน.....กิเลสพ้นไกล ๙."ธรรมไร้อารมณ์".....เป็นอย่างไรบ่ม.....แยกสองอย่างได้ "รูป"และ"นิพพาน".....มีภาวะการ.....มิใช่จิตใส "อเจต์สิกฯ"ไซร้.....มิประกอบใด......ด้วยกับจิตเลย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อภิธรรมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๖๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๐ อารมณ์=เป็นสิ่งที่ถูกรู้โดยจิต จิตจึงเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ธรรมที่มีอารมณ์เป็นไฉน=ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔,วิบากในภูมิ,กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ ดังนี้ กุศลภูมิ ๔ ได้แก่ ๑)กามาวจรภูมิ=ระดับจิตที่ยังปรารถนากามคุณเป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่ของสัตว์ในกามภพ ๑๑ ชั้น(อบายภูมิ ๔-นรก ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย;กามสุคติภูมิ ๗-มนุษย์ และ สวรรค์ ๖ ชั้น) ๒) รูปาวจรภูมิ =ระดับจิตใจของผู้ปรารถ รูปธรรมเป็นอารมณ์ หรือผู้ได้ฌาน อยู่ในรูปภพรวม ๑๖ ชั้น ๓) อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวในอรูปธรรมเป็นอารมณ์ หรือผู้ได้อรูปฌาน อยู่ในอรูปภพมี ๔ ชั้น ๔)โลกุตตรภูมิ=ชั้นที่พ้นจากโลก เป็นระดับจิตใจของพระอริยเจ้า (พ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ข้างต้น) วิบาก=จิตที่เป็นผลมาจากเหตุในกาลก่อน มี ๔ ชนิด คือเป็นกุศล(ฝ่ายดี),อกุศล(ฝ่ายชั่ว),วิบาก(ฝ่ายผล),กิริยา(ฝ่ายอาการ) อัพ์ยาฯ,อัพ์ยากฤตฯ=อัพยากฤต สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดไม่ได้ว่าเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม อยู่ในภูมิสาม ยกเว้น โลกุตตรภูมิ อเจต์สิกฯ=อเจตสิกธรรม คือธรรมที่ไม่ประกอบกับจิต |