หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๒.ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ~ กาพย์วิชชุมาลี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, กรกฎาคม, 2567, 03:35:15 PM (https://i.ibb.co/D4qTd2M/Screenshot-20240702-102400-Chrome.jpg) (https://ibb.co/v1tR9nd)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๒.ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า กาพย์วิชชุมาลี ๑.ธรรมหลายมีใจเป็น........................หัวหน้า มีใจเป็นใหญ่,เสร็จ...............................ด้วยใจ คนใจประทุษกล้า.................................พูด,ทำ ทุกข์ย่อมตามเขาไป.............................มิเลือน ๒.เหมือนล้อเกวียนตามรอย...............เท้าโค ถ้าคนใจประเสริฐ.................................ผ่องใส ทำพูดใดดีโข.......................................สุขเอย เหมือนเงาตามตัวไว..............................ชิดชม ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๓ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๒.ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ~ กาพย์วิชชุมาลี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, กรกฎาคม, 2567, 10:38:11 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๓.เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
กาพย์มหาวิชชุมาลี ๑.ผู้ผูกเวรว่าเขา...............................ทำร้าย เขาชนะ,ลักของ..................................เขาด่า เวรไม่หยุดไม่ย้าย...............................แต่ตรึง ชนไม่จองเวรฆ่า..................................ระงับเวรพลัน ๒.เวรนั้นมิหยุดยั้ง..............................ได้เลย จะหยุดได้ต้องเลิก................................จองเวร ไม่เลิกจองเวรเผย................................ย่อยยับ ใครทำตามหลักเกณฑ์.........................เวรดับลับไป ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๓ หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๒.ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ~ กาพย์วิชชุมาลี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, กรกฎาคม, 2567, 08:00:25 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๔.กำลัง ๗ ประการ
กาพย์มหานันททายี ๑.จงดูก่อนภิกษุ..............................ทั้งหลาย กำลังเจ็ดรายชี้..................................สุขผล "สัทธา"เชื่อกรายจน..........................เลื่อมใส "วิริยะ"ดลคือ.....................................พากเพียรรุ่งเรือง ๒.ประเทือง"หิริฯ"ละ-.......................อายบาป "โอตตัปปะฯปราบเกรง"......................บาปกรรม "สติ"มั่นทราบจะ.................................รู้ตน "สมาธิ์"แน่วทำมาก..............................ธรรมะก้าวตรง ๓."ปัญญาฯ"บ่งฉลาด........................รู้หนา ดูกร"สัทธาฯ"เป็น................................อย่างไร สาวกศาส์นาเชื่อ.................................ปัญญา ตรัส์รู้อร์หันต์ไกล................................พุทธ์องค์รู้เอง ๔.เคร่งพุทธ์องค์,ผู้ตื่น........................เบิกบาน ทรงจำแนกงานสอน.............................พระธรรม "วิริยะฯ"พานใฝ่....................................ความเพียร ไม่ทอดทิ้งทำย้ำ...................................ความดีพรั่งพรู ๕.ดูกร"หิริฯ"เป็น.................................ไฉน ความละอายใจ,กาย..............................วาจา อกุศลไซร้กรรม.....................................ความชั่ว อายต่อธรรมลามก................................."หิริพลัง" ๖.ทั้ง"โอตตัปปะฯ"ครือ........................เกรงกลัว ภิกษุกลัวชั่วต่อ......................................ความผิด ทางกาย,ใจมัวพร้อม..............................วาจา อกุศลชิดหนี..........................................ห่างไกลทันควัน ๗."สติฯ"นั้นอย่างไร............................รู้ตน ภิกษุจำทนแน่ว......................................ยืนยง ทั้งพูด,ทำดลตรอง..................................รำลึก สติประจงจำ..........................................นึกได้ทุกกาล ๘.งาน"สมาธิฯ"ชี้..................................สงบ ภิกษุพานพบถึง......................................ฌานหลาย กิเลสตัดครบจึง......................................เกิดสุข มีกำลังรุกก้าว.........................................ธรรมเจริญ ๙.เกริ่นด้วย"ปัญญาฯ"คือ....................รอบรู้ อริยผู้เลิศ.............................................เก่งกาจ ทราบความเกิดกู้และ.............................ความดับ ตัดกิเลสฆาตหมด..................................สิ้นทุกข์ระทม ๑๐.ผู้บ่มกำลังทั้งเจ็ด...........................ประการ เป็นบัณฑิตพานสุข................................เฟ้นธรรม เลือกธรรมชัดชาญเชี่ยว........................ปัญญา จิตหลุดพ้นพาไกล.................................คล้ายดับกองไฟ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒,๓,๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๓-๘๔ กำลัง ๗ ประการ=๑)กำลังคือ ความเชื่อ(สัทธาพละ) ๒)กำลังคือ ความเพียร(วิริยพละ) ๓)กำลังคือ ความละอายต่อบาป(หิริพละ) ๔)กำลังคือ ความเกรงกลัวต่อบาป(โอตตัปปพละ) ๕)กำลังคือ สติความระลึกได้(สติพละ) ๖)กำลังคือ ความตั้งใจมั่น(สมาธิพละ) ๗)กำลังคือ ปัญญา(ปัญญาพละ) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๒.ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ~ กาพย์วิชชุมาลี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, กรกฎาคม, 2567, 09:32:26 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๕.มารย่อมข่มเหง และไม่ข่มเหงอย่างไร
กาพย์นันททายี ๑."มาร"แปลว่าผู้ทำ.........................ให้ตาย สิ่งขัดขวางวายคุณ............................ความดี บุคคลพลาดกรายลุ...........................ผลเลิศ มารผลาญคนหนีจาก.........................ทำบุญ ๒.กุลบุตรเห็นงามขาด.....................ระวัง ตา,ลิ้น,หูฟังกาย,ใจ.............................เกียจคร้าน บริโภคจังยิ่ง.......................................เพียรน้อย มารย่อมข่มต้านเขา............................แน่นอน ๓.ผู้จรไม่เห็นว่า................................สวยงาม อินทรีย์คุมตามเหมาะ..........................ประมาณ ไม่เสพจนลามมาก...............................เพียรยิ่ง ศรัทธามีพานพบ..................................สงบใจ ๔.ใครมักเห็นสดสวย..........................เปรียบเหมือน ต้นไม้แกร่งเลือนกลาย.........................อ่อนแอ มารย่อมข่มเฉือนพัง.............................พินาศ เหมือนลมพัดแฉไม้...............................หักพัง ๕.ดังผู้มักมิเห็น..................................สวยเลอ เขาแข็งแรงเจอคล้าย...........................หินผา มารมิข่มเธอเลย...................................เมินไป เปรียบลมมิพาไหว................................สะเทือน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๕ มาร=แปลว่าผู้ทำให้ตาย หมายถึงสิ่งใดๆที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณงามความดี,สิ่งที่ผลาญคุณความดี,หรือตัวการที่ขัดขวางบุคคลมิให้ลุผลสำเร็จอันดีงาม พุทธศาสนาแบ่งมาร ออกเป็น ๕ อย่างคือ๑)กิเลสมาร คือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง มี โลภะ,โทสะ,โมหะ ๒)ขันธมาร คือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูปขันธ์,เวทนาขันธ์,สัญญาขันธ์,สังขารขันธ์,วิญญาณขันธ์ อันเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง(อนิจจัง)เป็นทุกข์(ทุกขัง)และไม่แน่นอน(อนัตตา) ๓) อภิสังขารมาร คือเจตนาอันปรุงแต่งจิต ให้ทำกรรมวนเวียนในสังสารวัฏ เช่นทำให้เกิดชรา พยาธิ ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้น ๔) เทวปุตรมาร คือเหล่าเทวาผู้ขัดขวางการทำดี มีพญาวัสวัตดี เป็นหัวหน้า ๕)มัจจุมาร คือความตายเป็นเหตุตัดโอกาสทำความดี ที่จะก้าวหน้าได้ สรุปมารที่อยู่นอกตัวเราคือ เทวปุตรมาร นอกนั้นอยู่ในตัวเรา อินทรีย์ห้า=ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ |