หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, สิงหาคม, 2567, 10:43:20 AM (https://i.ibb.co/tJFhG3h/Screenshot-20240801-152009-Chrome.jpg) (https://ibb.co/4V3fqJf) ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลสเปรียบเหมือนน้ำฝาด กาพย์มหาสินธุมาลี ๑.กาสาวพัสตร์คือ.............................ผ้านุ่ง ของสงฆ์พุทธ์องค์จุ่ง ...........................ประทาน เป็นของสูงแจงมุ่ง................................อริยะ แต่งเพื่อประกาศขาน...........................ทางอร์หันต์วงศ์ ๒.ผ้ากาสาว์พัสตร์ย้อม......................น้ำฝาด สีกรักหรือเหลืองกาจ............................ยรรยง บรรพ์ชิตครองผ้ายาตร.........................ธงชัย ตัดกิเลสประสงค์.................................."สัจจะ"เสลา ๓.ผู้ใดยังไม่ปราศ...............................กิเลส ขาด"ทมะ"ข่มเจตน์...............................ขัดเกลา ขาด"สัจจะ"ต้นเหตุ...............................หย่อนฝึก หาควรนุ่งห่มเอา...................................ผ้ากาสาฯเลย ๔.ผู้คายกิเลสเปรียบ...........................น้ำฝาด มั่นในศีลมิพลาด...................................ครบเผย "ทมะ,สัจจะ"ดาษ...................................สมบูรณ์ เขาเหมาะกาสาฯเอย.............................สมควรห่มหนา ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรัถบประชาชน หน้า ๘๕ ทมะ=ความข่มใจ สัจจะ=ความจริงใจ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, สิงหาคม, 2567, 09:29:24 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๗.จะบรรลุสิ่งเป็นสาระ ก็ด้วยเข้าใจสาระ กาพย์สินธุมาลี ๑.สิ่ง"ไร้สาระ"เห็น...........................สำคัญ สิ่งมี"สาระ"พลัน.................................คุณน้อย เพราะดำริผิดครัน..............................ล้มเหลว สิ่ง"สาระ"คลาดคล้อย........................อับผล ๒.ชนเห็นสิ่ง"สาระ".........................ประโยชน์ "ไร้สาระ"มองโทษ..............................หมดค่า เขาดำริชอบโลด................................ตรองถูก ลุสิ่ง"สาระ"กว่า..................................ผลพรู ๓.ผู้เห็น"ผิด,ถูก"ผล.........................ห่างหลาย เห็นถูกพฤติธรรมกราย......................คุณเลิศ "สาระ"กุศลปราย...............................เจริญ ถึงขั้นนิพพานเพริศ............................ยืนไสว ๔.ใครเห็น"ผิด"คิดแปลก....................ผันความ มิจฉาทิฏฐิลาม...................................ทุกข์วาง ย่อมไม่ลุศีลงาม.................................สมาธิ์ ปัญญาด้อยปิดทาง............................นิพพาน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๕ หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, สิงหาคม, 2567, 09:13:39 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๘.ฝนรั่วรดที่เทียบด้วยราคะ(ความติดใจ)
กาพย์พรหมคีติ ๑.หลังคาหามุงดี...............ฝนย่อมรี่รั่วฉันใด "ราคะ"จะเสียดไว................จิตขาดอบรมแน่ครัน เรือนมุงดีฝนย่อม................ไม่รั่วจ่อมชอมฉันนั้น เปรียบจิตอบรมทัน.............ราคะไซร้ไม่ซ่านเลย ๒."ราคะ"แปลว่าย้อม.......จิตถูกกล่อมยอมแปรเผย เปรียบจิตเห็นต่างเอย.........สิ่งไม่งามว่างามดี "ราคะ"ติดใจสิ่ง...................สามแบบอิงจิตวิ่งคลี่ ทุกข์รุ่มร้อนทวี....................ต้องอบรมจิตให้คลาย ๓.หนึ่ง"กามราคะ"เรา.........ติดใจเฝ้าไม่ห่างหาย กับรูป,รส,กลิ่นกราย............เสียง,โผฏฐัพพะ,ชิดชม สอง"รูปราคะ"ควาน.............."รูปฌาน"ติดใจสม สาม"อรูป์ราคะ"งม................."อรูปฌาน"ตรึงหทัย ๔.ความติดใจเกิดหนา..........เพราะ"คิด"พาต้องผลักไส ราคะจะนำพิษภัย..................ผู้ขาดอบรมจิตชาญ ผู้อบรมจิตแล้ว.......................จึงคลาดแคล้วราคะผลาญ เหมือนเรือนมุงดีงาน...............ฝนตกหนักมิเปียกปอน ๕.ส่วนคนอบรมน้อย...........อารมณ์คล้อยกับ"กาม"ย้อน ราคะเสียดแทงจร.................คล้ายมุงเรือนไม่ดีจริง ฝนตกปียกทุกครา.................จำต้องหาทางแก้ยิ่ง เพื่อลดราคะพิง......................ทะยอยน้อยจนหมดลง ๖.ฝึกอบรมจิตด้วย...............สมถะช่วยลุประสงค์ อีกราคะจะปลง......................จิตสงบปฐมฌาน จนฌานที่แปดถึง...................ราคะพึงนิ่งแค่วาร แต่จะถูกประหาร..................."อนาคามรรค"บรรลุ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๕ ราคะ=ความติดอกติดใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม มีลักษณะเหมือนถูกสีย้อม มี ๓ อย่าง ๑)กามราคะ ติดใจในรูป,รส,กลิ่น,เสียง,โผฏฐัพพะ(สัมผัส) ๒)รูปราคะ ติดใจใน รูปฌาน ๓)อรูปราคะ ติดใจใน อรูปฌาน อนาคามรรคฯ=อนาคามิมรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล ความเป็นพระอนาคามี,ญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ ๕ อย่าง๑)สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดที่ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน ตัวสัตว์ เป็นของเรา ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริง ๒)วิจิกิจฉา วามลังเลสงสัย ๓)สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นในศีล พรต จนเกิดเหตุ ๔)กามราคะ ความติดอกติดใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ๕)ปฏิฆะ ความคับแค้น เช่นจิตที่หงุดหงิดจากอำนาจโทสะ ๑)๒) และ ๓) เป็นสังโยชน์ที่พระโสดาบัน ละได้ หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, สิงหาคม, 2567, 04:31:34 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๓๙.ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
กาพย์ตุรงคธาวี ๑."ไม่ประมาท".......ทางไม่ตายคลาด......"ประมาท"คือทางตาย มิประมาท.....จักคาดชื่อไม่วาย.....บัณฑิตตั้ง......ใจฟังความนี้เตือน ประพฤติธรรม.......สู่อริย์นำ.......เพียรทำอย่าแชเชือน เจริญธรรม......กระทำนิตย์มิเบือน.....ปัญญาเกิด......เขาเพริศสู่นิพพาน ๒.ขณะที่......สติอยู่ดี.......กุศลปรี่จิตขาน ระดับเป็น......"ศีล"เด่น"สมาธิ์,ทาน".......ประมาทไม่......มีไซร้กับจิตเลย กุศลจิต...... สติครองชิด.......ประสิทธิ์ทุกคราเผย อกุศล.......กาลพ้นสติเอย......กุศลจิต......เรียกพิศรอบคอบดี ๓.พุทธ์โอวาท........พึงไม่ประมาท......อย่าพลาดเรียนธรรมคลี่ แต่"ศีล,ทาน".......ถึงพาน"อริย์สี่".....จงทำกิจ......สัมฤทธิ์เร็วเถิดหนอ ไม่ประมาท.......อริย์มรรคกาจ......มิคลาดมรรคแปดพอ เจริญให้มาก......จะพรากกิเลสก่อ......พ้นการวน......เวียนพ้น"วัฏฏะ"ราน ๔.กุศลธรรม......."ไม่ประมาท"พร่ำ......มูลธรรมเป็นรากฐาน ธรรมเลิศกว่า......ทั้งหล้าปัดแผ้วพาน......สติรู้.....พ้นสู่ทางเสื่อมลง พบโอกาส.......ไม่พลาดธรรมส่ง......ยึดยงพระรัตน์ฯพิง เรียกไม่ประ-........มาทระลึกรู้อิง.......มุ่งเพียรธรรม......จึงนำตนสุขยง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๖ อริย์=อริยะ อริย์สี่=อริยสัจ ๔ วัฏฏะ=วัฏฏะสงสาร พระรัตน์ฯ=พระรัตนตรัย หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, สิงหาคม, 2567, 09:23:02 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๐.ยศเจริญแก่คนเช่นไร กาพย์กากคติ ๑.พระธรรมสิสัตต์.......ประการจะชัด......เจริญซิยศ สำหรับคนที่....."เพียร"รี่ไม่งด....."รำลึก"ได้หมด......"กิจหมดจด"นำ "คิดก่อนทำกิจ"......."สำรวม"เป็นนิตย์......."ครองชีพโดยธรรม" อีก"ไม่ประมาท".....คอยยาตรทนพร่ำ....."สติปัฏฯล้ำ......สู่นิพฯไม่ตาย ๒.ขยันก็ก่อ.......มิเกียจและท้อ......กระทำขยาย สร้างบุญกอปรงาน......เสร็จชาญโดยง่าย.....งานไม่เสียหาย......ไร้ทอดอาลัย สติ,รอบคอบ......ใส่ใจพูดตอบ.......คิดก่อนทำใด อย่าให้ผิดพลาด.......ซึ่งอาจแก้ไข......เสียเวลาไป.....ยากคืนกลับดี ๓."สะอาด"ก็งาน........ริซื่อมิผลาญ......ผจงวิธี ความซื่อ,สัตย์นำ.....ศีลธรรมล้นปรี่.....เว้นทำเลวชี้......ผิดกฏหมายพรวน "คิดตรอง"ก่อนว่า.....ทำอย่างนี้หนา..เกิดผลใดรวน ทำแล้วเกิดทุกข์.....เลิกรุกต่อด่วน......ทำแล้วสุขควร.....จึงทำต่อไป ๔.ระวังละลาน....สำรวมทวาร.....ฉ กายริไว อินทรีย์หกคุม......ไม่สุมดุ่มไกล......ตา,หู,ลิ้น,ใจ.....จมูก,กายปลง "ชีวิตกับธรรม".......ต้องชิดใฝ่ธรรม.....รำลึกประสงค์ ไม่เหินห่างธรรม........เห็นจำใดตรง.......น้อมนำเพื่อปลง......สู่ตนทุกครา ๕.ผิ"ไม่ประมาท"......มิตายมิพลาด......ลุนิพฯซิหนา อีก"ภาว์นา,ทาน"......"ศีล"พานพฤติคว้า.....ปัญญาเกิดกล้า.....สำเร็จธรรมครัน ยศย่อมถึงผู้......ธรรมเจ็ดล้ำพรู......"ความเป็นใหญ่"สรรค์ มีเกียรติ์ยศเกิด.....คุณเพริศยงยรร.....บริวารพลัน......ห้อมล้อมมากมาย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๖ สัตต์=สัตต คือ ที่เจ็ด สติปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือ หลักการภาวนาเพื่อรู้แจ้งเข้าใจตามความจริงของสิ่งทั้งปวง โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มี ๔ อย่าง๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน -ใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ๒)เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน -ใช้สติตั้งมั่นพิจารณา เวทนา ๓)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน-การใช้สติตั้งมั่นพิจารณาจิต ๔)ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน-ใช้สติตั้งมั่นพิจารณาธรรมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ฉ=หก อินทรย์หก=คือ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ นิพฯ=นิพพาน หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๓๖.กาสาวพัสตร์ กับกิเลส เปรียบเหมือนน้ำฝาด เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, สิงหาคม, 2567, 03:24:08 PM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๑.คนพาล กับ คนมีปัญญา
กาพย์มัณฑุกคติ ๑.นรชนฉลาดล้น................เกะกะคนมิเทียบหนา มีปัญญา,คนพาลพา................อาการเล่าแตกต่างกัน ปัญญาทรามทำ"ประมาท".......พฤติชั่วพลาดเป็นนิตย์ครัน ผู้ไม่รู้จักโทษทัณฑ์.................ทั้งโลกนี้โลกหน้าเอย ๒.พหุปัญญะทำดาษ............มิประมาทตลอดเผย ผู้พฤติดีงามเลิศเคย................ตั้งมั่นในธรรมโอฬาร ทาน,ศีล,สมาธิ์ครบครัน...........ปัญญามั่นมรรคแปดงาน มีโอกาสถึงนิพพาน..................หลุดพ้นการเวียนเกิด,ตาย ๓.มุนิปัญญะหมดทุกข์..........เพราะริรุกกิเลสวาย จึงรู้แจ้งธรรมจริงกราย............ใช้ชีวิตถูกทางธรรม ปัญญามองโลกกราก...............ลึกซึ้งมากกว่าตานำ ปัญญาเปรียบแสงเลิศล้ำ.........ไม่มีแสงไหนเทียบไกล ๔.ทุรพลจะโง่ซ้ำ...................."วจะ,ทำ"และ"พูด"ไข ชักพาคนคิดผิดไว...................มักโกรธเมื่อมีคนติง ทำชั่วมีแต่โทษคราก................จิตไหวมากตัณหาสิง ไม่รู้ผิด,ถูก,ชั่วจริง....................จึงไม่เคยมีสุขเลย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๘๖ |