บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, สิงหาคม, 2567, 10:04:42 AM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, สิงหาคม, 2567, 10:04:42 AM
(https://i.ibb.co/5Y0VxX0/Screenshot-20240801-154937-Chrome.jpg) (https://ibb.co/tZG5PwG)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้

กาพย์มหาตุรงคธาวี

  ๑."อาสวะ".......คือกิเลสปะ.......อยู่ ณ จิตอันเศร้า
พุทธองค์....ทรงบ่งตัดเกลา....อาสวะ....ผู้จะรู้และเห็นหนา
ผู้ไม่เห็น......ไม่รู้จะเว้น......ประโยชน์เร้นทุกครา
รู้,เห็นใด....อาสฯไซร้มักพร่า...."โยนิโสฯ"....ใจโขคิดแยบคายจริง
  ๒."อโยนิฯ"........ไม่แยบคายริ.......อาส์ฯจิเกิดมากยิ่ง
ใจแยบคาย....อาสฯกรายมิสิง....ที่เกิดแล้ว....ก็แคล้วคลาดลดหมดไป
อาสวะ......พึงทิ้งเลิกละ......."ทัสส์นะ"กระจ่างไข
อาสวะ....อาจละก็ได้....ด้วย"สังวร"....การจรสำรวมทยอย
  ๓.อาสวะ........ที่พึงเลิกคละ.......เรื่อง"ปฏิฯ"ใช้สอย
หรือเพียรริ...."อธิวาส"พลอย....คืออดทน....ข่มล้นใจอย่ากังวล
การงดเว้น.......อาส์วะลดเด่น......."ปริฯ"เน้นเกิดผล
อาสวะ....ควรละทิ้งพ้น...."วิโนท์นะ"....จงยะยั้งให้น้อยลง
  ๔.อาสวะ.......ตัดหมดแน่ละ.......ด้วยปะ"ภาว์นา"ส่ง
หลายวิธี....จะชี้ความปลง....มีเจ็ดอย่าง....พฤติพลางกิเลสทลาย
หนึ่งลิได้........"ทัสส์นะ"เห็นไว......ชนไม่ชาญธรรมผาย
ไม่รู้ดี....ธรรมที่เลิศพราย....แต่ใส่ใจ....คลอใฝ่ธรรมที่ไม่ควร
  ๕.ไม่เหมาะสม......เอาใจใส่ชม........สามตรมกิเลสพรวน
"กามาฯ"อยาก....ถอนรากทิ้งด่วน...."ภวาฯ"ชอบ....ถูกครอบติดในภพนาน
"อวิชชา".......ไม่รู้จริงหนา........สามว่าเกิดมากขาน
และเจริญ....ชนเพลินยึดซ่าน....เรียก"อโยฯ"....ใจโผล่มิคิดแยบคาย
  ๖.ตรงข้ามย่ำ.......ชนใส่ใจธรรม.......ควรพร่ำตัด"อาสฯ"หาย
ทั้ง"กามาฯ"...."ภวาฯ"จะหน่าย...."อวิชช์ฯ"ไซร้....ยังไม่เกิดก็คงเดิม
เมื่อเกิดแล้ว......ละได้หมดแน่ว......"โยนิฯ"แผ้วจะเจิม
ใจแยบคาย....เห็นง่ายถูกเสริม....คำสอนสั่ง....ละ"สังโยชน์สาม"สุขนา
  ๗.ชนใส่ใจ......มิแยบคายไว......สงสัยสิ่งต่างหนา
เคยเกิดแล้ว....หรือแคล้วเกิดมา....ในอดีต....ที่ขีดไว้ยาวนานไกล
เกิดเป็นใด.......เกิดเป็นอย่างไร.......ในอดีตกาลนานไข
เกิดเป็นไร....แล้วไซร้เกิดไหน....อีกไหมหนอ....ผ่านรอมาแล้วอีกยาว
  ๘.เกิดอีกหรือ.......จักไม่เกิดครือ......ข้างหน้าหรือเกิดพราว
จักเกิดเป็น....ใดเด่นสกาว....เกิดอย่างไร....กาลไกลข้างหน้าเนิ่นนาน
เราจักเกิด.......เป็นอะไรเพริศ.......ไปเลิศอย่างใดขาน
ปัจจุบัน....นึกหวั่นดวงมาน....สงสัยเรา....ใจเฝ้าคิดมิได้เป็น
  ๙.เป็นอะไร......เราเป็นอย่างใด......จากไหนสัตว์เกิดเห็น
เราจะไป....เกิดไกลอย่างเช่น....ที่ไหนหนอ....เขาจ่อสงสัยมากมาย
เมื่อใส่ใจ......โดยไม่แยบคาย......"ทิฏฐิ"ร้ายหกปลาย
ความเห็นมั่น....เกิดพลันเข้ากราย.....เห็นเป็นจริง....อย่างยิ่งบันดาลทุกข์รน
  ๑๐.ความเห็นนำ......."อัตตา"ตนย้ำ......ตนซ้ำเรามีผล
เห็นมั่นว่า...."อัตตา"ตัวตน....เราไม่มี....ยึดรี่อย่างเหนียวแน่นคง
ยอมจำว่า......อัตตาชี้หนา......อัตตาเป็นแน่วตรง
ยอมจำว่า....นัตตา,ตัวบ่ง....เป็นอนัตฯ....ที่ชัดไม่ใช่ตนตัว          
  ๑๑.หรือ"เห็น"เฝ้า.......อัตตาของเรา.......ผู้เฝ้าพูด,รู้กลัว
ย่อมรับผล.....กรรมก่นดี,ชั่ว....อัตตาเรา....คิดเขลาว่าเที่ยงยั่งยืน
เป็นเช่นนั้น.......มิเปลี่ยนแปรผัน.......เหมือนครันสิ่งคงอื่น
"ทิฐิ์คตะ"....หลักจะเห็นดื่น....เป็นเห็นผิด.....เนืองนิตย์ไม่ตรงความจริง
  ๑๒."ทิฏฐิ์คหะฯ".......ยึดถือมั่นปะ......อารมณ์นะมิทิ้ง
ถือผิดเที่ยง....เหมือนเลี่ยงหลงกลิ้ง....เดินผิดทาง....ย่อมพรางสิ่งประเสริฐครัน
"ทิฏฐิ์กันตาฯ".......เห็นทางยากหา......เห็นว่าเป็นภัยพรั่น
"ทิฏฐิ์วิสุฯ"....เห็นปรุแย้งพลัน....เป็นข้าศึก....ข้อตรึก"สัมมาทิฏฐิ์"เอย
  ๑๓."ทิฏฐิ์วิปฯ"นั้น......เห็นเปลี่ยนผวนผัน......สิ่งอันเที่ยงแน่เผย
บางคราวเห็น....สิ่งเป็น"สูญ"เปรย....ความเห็นผิด....ทำจิตพลิกแปรระคน
"ทิฏฐิ์สังโยชน์ฯ".......เครื่องผูกมัดโลด......ขันธ์โฉดเป็นของตน
ร่างกาย,ใจ....นี้ใช่ตนล้น....เป็นของเรา....คงเฝ้าอยู่กับเรานาน
  ๑๔.พุทธ์องค์กล่าว......พลาดฟังธรรมสาว.......ทิฏฐิยาวมัดผลาญ
ย่อมไม่พ้น...."เกิด"ด้น"แก่"ราน....ตาย,เศร้าโศก....วิโยคทุกข์ใจ,ทุกข์กาย
แต่ฟังธรรม......พระอริยะล้ำ......พระธรรมใส่ใจผาย
ไม่ใส่ใจ....ธรรมไม่เหมาะกราย....กิเลสเกิด....และเพริศเจริญรุดนา
  ๑๕.พุทธ์เจ้าชี้.......ไม่ใส่ใจนี้.......ธรรมคลี่แบบใดหนา
คือธรรมที่....ทำรี่"กามาฯ"...."ภวาฯ"เปิด....บังเกิด"อวิชชาฯ"ตรม
ที่เกิดแล้ว.....ขยายมากแนว......ต้องแผ่วใส่ใจสม
ควรใส่ใจ....ธรรมใดที่คม....อาสวะ....ไม่ปะเกิดแล้วละไกล
  ๑๖.เขาใส่ใจ......ธรรมถูกแล้วไซร้.....กามฯใฝ่,ภวาฯไข
"อวิชชาฯ"....สามคว้าร้างไป....เกิดไม่มี....ถ้าปรี่มาก็ตัดลง
คิดแยบคาย.......นี่คือทุกข์กลาย.......ทุกข์ร้ายทราบเหตุปลง
ดับทุกข์ลิ....ปฏิบัติส่ง...ถึงทางดับ....ทุกข์ลับลาเลิกประเทือง


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, สิงหาคม, 2567, 10:05:41 AM
  ๑๗.คิดแยบคาย......ในใจย่อมหน่าย......สังโยชน์ร้ายผูกเรื่อง
สามอย่างคลาย...."สักกายทิฏฐิ์"เปลือง....ยึดกายมั่ว....เป็นตัวตนเองทุกที
"วิจิกิจฉาฯ".......ความแคลงในจิต......ยึดชิด"สีลัพฯ"ปรี่
พุทธเจ้า....ชี้เขาตัดรี่.....อาสวะ....พึงละด้วย"ทัสส์นะ"ไกล
  ๑๘.ภิกษุชัด......"อาสวะ"จัด......กิเลสตัดไฉน
"สำรวม"สอง....ติตรองระไว....อินทรีย์หก....ใจปกตา,หู,ลิ้น,กาย
จมูกรัว......เว้นความคิดชั่ว......กิเลสมัวหยุดฉาย
ยุ่ง,เดือดร้อน....ความคลอนหมดคลาย....อาสวะ....พึงละด้วยสำรวมดี
  ๑๙.อาส์วะตัด......."ปฏิฯ"สามชัด......ก็จัดแจงวิธี
"ปฏิเสว์นะ".....เสพกะใช้ปรี่....ครองชีพพอ....เหมาะก้อตัดกิเลสไว
คิดแยบคาย......ใช้จีวรคลาย......หนาวหน่าย,ตัวเหลือบไร
ปกปิดกาย....ละอายเพิกไกล....มิตกแต่ง....งามแจงแต่อย่างใดกัน
  ๒๐.ภิกษุจัก......รับบิณฑ์เคร่งนัก......ชีพพักพฤติพรหมจรรย์
กินอยู่เพื่อ....ไม่เจือทุกข์ทัน....เวทนา....คิดหาให้เกิดลดลง
คงชีวิต......ปลาตโทษชิด......ชีวิตสุขประสงค์
อีกที่นอน....แค่ผ่อนหนาวตรง....ยินดีเน้น....หลีกเร้นความเงียบชัดเจน
  ๒๑.ภิกษุคิด......ด้วยแยบคายจิต......พิชิตโรคเป็นเกณฑ์
เพื่อบรรเทา....ทุเลาโรคเดน....ด้วยเจ็บไข้....หลีกไกลจากอาพาธไว
ซ้องเสพ,คบ.......ปัจจัยสี่ครบ......กิเลสจบร้อนไส
อาส์วะลด....เพราะจดเสพใกล้....ซ้องเสพงาน....ก็ผลาญกิเลสทันควัน
  ๒๒.ภิกษุตรอง......อาสวะลดผอง......"อธิฯ"ครองสี่ดั้น
อดทนเอา....บรรเทาหนาวสั่น....สัตว์กัดต่อย....ต้องถอยหนีการรุกราน
ทนถ้อยคำ......หยาบคายกระหน่ำ......ทุกข์พร่ำเวท์นาซ่าน
ทนเจ็บปวด....ที่รวดร้าวผลาญ....ไม่พอใจ....ชีพใกล้ไม่รอดทลาย
  ๒๓.มิข่มเจตน์......อาส์วะกิเลส......เกิดเภทยากขยาย
เดือดร้อนตาม....ลุกลามวอดวาย....หมดทางแก้....แน่แท้เทียวนะตัวเรา
เมื่ออดทน......ข่มใจเกิดผล......อาส์ฯพ้นไกลตัวเขา
ไม่อุบัติ....จึงชัด"อาสฯ"เบา....เพราะอดทน....ข่มตนพยายามเอง
  ๒๔.อาส์วะเด่น......ละด้วยงดเว้น......ห้าข็น"ปริฯ"เผง
คิดแยบคาย....ไม่กรายจำเกรง....สิ่งรอบตัว....มิจั่วให้เกิดกิเลสฟู
สัตว์ดุร้าย.......ไม้มีหนามหลาย......เหวป่ายปีนหนีกรู
สงฆ์คบมิตร....ชั่วชิดย่อมดู....เหมือนพวกชั่ว....ทำมัวเมาเช่นเดียวกัน
  ๒๕.เหล่าเพื่อนสงฆ์......ก็พิศด้วยตรง.....เสียหายบ่งมิผัน
คิดแยบคาย....เว้นกรายที่หวั่น....มิสมควร....หลีกด่วนทั้งมิตรไม่ดี
หากไม่เว้น......อาส์วะย่อมเข่น......ลำเค็ญเดือดร้อนถี่
สงฆ์ทั้งหลาย....อาส์ฯวายได้รี่.....เพราะงดเว้น....สิ่งเป็นเพื่อนกิเลสลง
  ๒๖.ภิกษุดู......อาส์วะละกรู......หกอยู่"วิโนฯ"ส่ง
ด้วย"บรรเทา"....ลดเบาผจง....ทำให้น้อย....จะคล้อยลงเป็นอย่างไร
พิจารณ์เกลา.......ย่อมไม่รับเอา......จะทุเลาหมดไป
กิเลสตั้ง....อยู่ฝังไม่ได้...."กามวิตก"....คิดรกในกามต่างนา
  ๒๗."พยาบาท".......คิดปองร้ายกาจ......เบียนดาษ"วิหิงสาฯ"
วิตกสาม....เมื่อลามเกิดกล้า....เดือดร้อนมาก....แก้ยากอาจไม่ทันกาล
ถ้าบรรเทา......อาส์วะยุ่งเบา......หายร้อนเพลากสานติ์
นี้แลเรียก....อาสฯเพรียกละราน....ด้วย"บรรเทา"....ทุเลากิเลสน้อยเอย
  ๒๘.อาส์วะเด็ด.......ละด้วย"ภาว์นา"เจ็ด......จะเสร็จแบบใดเผย
ภิกษุย่อม....ทำน้อมตนเคย...."สัมโพชฌงค์"....ไปตรงทางตรัส์รู้ธรรม
เจ็ดทางตรึก......คือทางระลึก....."สติ"ปรึกษานำ
"ธัมม์วิจฯ"ครัน....เลือกสรรธรรมด่ำ....วิริยะ....เพียรปะตั้งมั่นมิแปร
  ๒๙."ปีติ"ใจ.......อิ่มเอมธรรมใส......สงบไซร้"ปัสฯ"แล
"สมาธิ"....ใจตริแน่วแน่...."อุเบกขา"....ใจพาวางเฉยในธรรม
จึงสงัด......ใจคลายกำหนัด......ทุกข์ชัดดับระกำ
ถ้าสงฆ์ขาด....ใจพลาดบ่มจำ....ภาวนา....อาสฯพาความเดือดร้อนรุม
  ๓๐.ครั้นอบรม.........ภาวนาบ่ม......อาส์ฯล่มมิเกิดกลุ้ม
ดังนี้แล....เรียกแท้อาสฯสุม....ละโดยภา-....วนาอบรมหทัย
สรุปความ.......อาส์วะละตาม.......อร่ามสงฆ์ละใส
อาสฯพึงละ....ด้วยระวังไซร้....สงฆ์ก็ละ....ได้ประลัยสิ้นแน่เทียว
  ๓๑.อาสฯละด้วย......ซ้องเสพตัวช่วย......สงฆ์อวยทิ้งหมดเจียว
อาสฯละข่ม....ใจบ่มทนเคี่ยว....สงฆ์ละได้....สิ้นไกลแล้วด้วยตนเอง
อาสฯละโดย......งดเว้นใดโกย......สงฆ์โปรยแล้วละเผง
อาสวะ....จำละต้องเคร่ง....ด้วยบรรเทา....ที่เหล่าสงฆ์ละได้ไกล
  ๓๒.อาสฯละด้วย.......ภาวนาช่วย.......จะม้วยมิเหลือไผ
ชื่อว่าสงฆ์....กั้นตรงอาสฯได้....ตัดตัณหา....จึงพาตนหมดทุกข์รน
กิเลสชัด......เป็นเครื่องผูกมัด.......สกัดได้เกิดผล
ทำที่สุด....เดินรุดเสร็จล้น.....เพราะตรัส์รู้....พรั่งพรูเรื่องของจิตใจ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา
สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๘๘-๙๒


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, สิงหาคม, 2567, 08:12:16 AM

อาสวะ=กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมอง มี ๔ อย่าง คือ ๑) กาม ความติดใจรักใคร่อยู่ในกามคุณ ๒)ภพ ความติดอยู่ในภพ ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความหัวดื้อ ๔)อวิชชา ความไม่รู้จริง,ความลุ่มหลงมัวเมา
อาสฯ=อาสวะ
โยนิโสฯ=โยนิโสมนสิการ คือ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
อโยนิโสมนสิการ=การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
ทัสส์นะ=ทัสสนะ การเห็น
สังวร=ความสำรวม
ปฏิฯ=ปฏิเสวนะ คือการใช้สอย การบริโภค
อธิฯ=อธิวาสนะ คือ การอดทน,ข่มไว้
ปริฯ=ปริวัชชนะ คือ การงดเว้น
วิโนฯ
= วิโนทนะ คือ การบรรเทา
อาสวะพึงละได้ ๗ วิธี คือ ๑) อาสวะที่พึงละได้ด้วย ทัสสนะ -การเห็น ๒)พึงละได้ด้วย สังวร -สำรวม ๓)พึงละได้ด้วย ปฏิเสวนะ- การซ้องเสพ ๔)พึงละด้วย อธิวาสนะ -การอดทนหรือข่มไว้ ๕)พึงละได้ด้วย ปริวัชชนะ-การงดเว้น ๖) พึงละได้ด้วย วิโนทนะ-การบรรเทา ๗) พึงละได้ด้วย ภาวนา-การอบรม โดยปฏิบัติ สัมโพชฌงค์ ๗(องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ได้แก่ สติ-ความระลึกได้;ธัมมวิจยะ-การเลือกเฟ้นธรรม;วิริยะ-ความเพียร;ปีติ-ความอิ่มใจในธรรม;ปัสสธิ-ความสงบใจ;สมาธิ-ความตั้งใจมั่น;อุเยกขา-ความวางเฉยในธรรม
ทิฏฐิ์คตะฯ=ทิฏฐิคตะ คือเห็นตามความไม่เป็นจริง
ทิฏฐิ์คหะฯ=ทิฏฐิคหณะ คือการยึดด้วยทิฏฐิ
ทิฏฐิกันตาฯ=ทิฏฐิกันตาระ ทางกันดารคือทิฏฐิ  น่าระแวงมีภัยเฉพาะหน้า
ทิฏฐิ์วิสุฯ=ทิฏฐิวิสุกะ ความยอกย้อนแห่งทิฏฐิ เป็นความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อ สัมมาทิฏฐิ(ความคิดเห็นที่ถูกต้อง เป็นองค์แรกในมรรคมีองค์ ๘ ทางแห่งการหลุดพ้น)
ทิฏฐิ์วิปฯ=ทิฏฐิวิปผันทิตะ ความผันผวนแห่งทิฏฐิ บางคราวก็ถือเอาความเที่ยง,บางคราวก็ถือว่าสูญ เพราะผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว
ทิฏฐิ์สังโยชน์ฯ=ทิฏฐิสังโยชนะ เครื่องผูกคือทิฏฐิ ยึดมั่นด้วยกิเลสว่า ร่างกาย,จิตใจ(ขันธ์ ๕)ที่มีอยู่นี้เป็นเรา หรือเป็นของเรา หรือต้องคงอยู่ตลอดไป
กามลฯ=กามาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองสันดานคือ กาม
ภวาฯ=ภวาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองสันดาน คือความยินดีในภพ
อวิขชาฯ=อวิชชาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองสันดาน คืออวิชชา ความไม่รู้จริง
สังโยชน์=กิเลสเครื่องผูกมัด ๓ อย่าง ๑)สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุยึดถือว่ากายของเรา ๒)วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓)สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีล พรต ได้แก่ ความติดในลัทธิพิธีต่างๆ
กามวิตก=ความตรึกในกาม
พยาบาทฯ=พยาบาทวิตก ความตรึกในการปองร้าย
วิหิงสาฯ=วิหิงสาวิตก ความตรึกในการเบียดเบียน

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, สิงหาคม, 2567, 08:59:05 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๓.ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท

กาพย์ตรังควชิราวดี

   ๑.ภิกษุไม่ประมาท....................เห็นภัยกาจทำร้ายยิ่ง
ย่อมเผากิเลสจริง.........................เหมือนไฟเผาเชื้อหมดเลย
"ความไม่ประมาท"เป็น..................ฐานธรรมเด่นกว่าอื่นเผย
ไม่ประมาทเทียบเกย....................ให้ชนเพียรประพฤฒิธรรม

   ๒.ความไม่ประมาทคือ................สติปรือรำลึกด่ำ
ว่ากำลังกระทำ..............................สิ่งใดถูกต้องหรือไร
ตรงข้าม"ประมาท"จัง.....................ขาดระวังไม่คิดใด
ทำเรื่องมิดีไว.................................เกิดเสียหายบางครั้งตาย

   ๓."ไม่ประมาท"พุทธ์องค์..............ชี้เป็นมงคลขยาย
รู้สิ่งควรทำกระจาย........................เพื่อความสุขอันยืนยง
ใจตั้งไม่ประมาท............................พากเพียรดาษพฤฒิธรรมส่ง
ยศ,กิจสะอาดคง............................มีโอกาสลุนิพพาน

  ๔.สิ่งไม่ควรประมาท.....................สี่มิพลาด"เวลา"ขาน
เห็นคุณ"เวลา"งาน..........................เร่งทำกิจให้เสร็จพลัน
อย่าประมาท"วัย"เยาว์....................แก่แล้วเขาค่อยทำดั้น
พฤติ"ธรรม"รอไม่ทัน......................ถ้ารอเรียกประมาทนำ

  ๕.ลักษณะชนประมาท..................กินข้าวคาดสาม-สี่คำ
เสร็จแล้วค่อยนึกธรรม....................พุทธ์องค์ชี้ประมาทแล
คนคิดชีพยังพรู...............................หายใจอยู่เข้า-ออกแน่
ถึงคำสอนมิแปร..............................เรียกคนไม่ประมาทเลย

  ๖.ฝึกตนไม่ประมาท.......................พุทธ์องค์ปราดตรัสสี่เผย
หนึ่ง,"ละกายชั่ว"เคย........................"ทำกายสุจริต"ตรง
สอง,"ละวาจาชั่ว"..............................พูดดีนัวเสร็จประสงค์
สาม,"ละใจชั่ว"ปลง..........................."เจริญใจคิดถูกดี"

  ๗.สี่"มิจฉาทิฏฐิ์"ละ........................เจริญปะ"สัมมาฯ"คลี่
เห็นถูกต้องทวี.................................ไปตามทำนองคลองธรรม
ฝึกตนระวังใจ..................................สำคัญไซร้ใจเป็นผู้นำ
ให้กาย,วาจาทำ...............................ทุกสิ่งตามใจต้องการ

  ๘.ทำใจไม่ประมาท........................สี่อย่าพลาดทำผิดผลาญ
หนึ่ง,มีสติทำงาน..............................ไม่กำหนัดในกามเติม
สอง,คุมใจมิเคือง..............................โกรธแค้นเรื่องใดมิเหิม
สาม,รักษ์ใจมิเกริม............................กับความหลงใหลสิ่งใด

  ๙.สี่,จิตอย่ามัวเมา..........................ไม่หลงเขลาในเรื่องไหน
ทุกสภาวะไร.....................................ก็รู้ตัวทันทุกครา
เมื่อไม่ประมาทแล้ว...........................ย่อมไม่แคล้วประโยชน์หนา
 ได้เฟ้นธรรมเหมาะนา.......................ที่บันดาลผลทุกกาล

  ๑๐.พุทธ์องค์ตรัสบอกไว้.................ชนอยากได้"อายุ"ผ่าน
ไร้โรค,วงค์สูงกราน............................เจริญไม่ประมาทพลัน
"ไม่ประมาท"เป็นบุญ..........................ที่เกื้อหนุนประโยชน์ดั้น
ยังประโยชน์ทันควัน..........................ทั้งภพนี้,ภพหน้าชม

  ๑๑.พุทธเจ้าตรัสไว้..........................ความโศกเศร้าไม่มีตรม
ผู้มีใจพร่างพรม.................................เจริญไม่ประมาทแล
อีกปัจฉิมวาจา...................................พุทธ์องค์ว่า"สังขาร"แท้
มีแต่เสื่อมต้องแปร.............................จงไม่ประมาทพร้อมเทอญ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา :
๑) ธรรมบท ๒๕/๑๙
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๒

สัมมาฯ=สัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้อง (เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) เป็นองค์แรกในมรรคมีองค์ ๘ ทางแห่งการหลุดพ้น
ปัจจจิมวาจา= วาจาสุดท้ายก่อนจะปรินิพพาน


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, สิงหาคม, 2567, 12:41:39 PM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๔.จิตที่กวัดแกว่งดิ้นรนนั้น ดัดให้ตรงได้

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.เมื่อจิตแกว่งดิ้นรน.................ผู้ล้นปัญญาพาตรงได้
เหมือนช่างศรดัดไว......................ลูกศรตรงบ่งฉะนั้นเลย
พุทธ์เจ้าเตือนจิตรักษ์...................ห้ามยากนักปัญญาช่วยเผย
สติเตือนให้เคย.............................อย่าตามใจกิเลสคือตน
   ๒.จิตดิ้นอารมณ์หลาย...............ผ่านกรายทวารห้าตา,หู
ใจคิดร้าย,ดีพรู..............................สติ,ปัญญาขาดจิตรน
จิตคด,ตรงมีธรรม..........................เกื้อนำย้ำส่งให้เกิดผล
จิตถึงธรรมถูกดล..........................จิตย่อมตรงดิ้นรนไม่มี
   ๓.ถ้าจิตสู่อธรรม.........................ที่กระหน่ำมิถูกต้องจด
ก็กลายเป็นจิตคด...........................เพราะพ้องพานกับธรรมไม่ดี
จึงต้องทรงปัญญา..........................ธรรมใดหนาพาถูกต้องคลี่
พ่อแม่,ครูสอนพลี...........................พุทธ์องค์ทรงสั่งสอนรู้เติม
  ๔.ปัญญาแยกชั่ว,ดี.......................ต่างมีมากน้อยแตกต่างผัน
จิตพ่ายกิเลสครัน...........................กำลังอารมณ์,กิเลสแรงเกริม
จึงดึงสู่ทางชั่ว................................ที่ผิดมัวจิตตัวหลงเสริม
เปรียบเห็นกงจักรเคลิ้ม..................เป็นดอกบัวงดงามเพลิดเพลิน
  ๕.รู้ดี,ชั่วผลลัพธ์น้อย....................ประโยชน์คล้อยมิฝึกปัญญา
เรียกว่าประมาทล้า..........................พลังปัญญาไม่เจริญ
ขาดพินิจแต่ฟัง...............................กิเลสสั่งโดยผิวเผิน
จิตเห็นหลงผิดเดิน..........................จิตพ่ายแพ้กิเลสทุกข์ครัน
  ๖.ตามใจตนก็คือ...........................ตามเอื้อกิเลสเกิดทุกข์ทน
ตามใจ"อยาก"จิตดล........................"ทั้งโลภ,โกรธ,หลง"มากพลัน
"ใจ"ที่กิเลสงำ..................................ขอย้ำทั้งสองอันเดียวกัน
ใจเป็นกิเลสยัน................................"กิเลส"ก็"ใจ"ผสมปราน
  ๗.ใจชอบสิ่งใดแล้ว........................ก็แน่วยินดีติดใจดื่น
จึงชอบ,ชังใดยืน..............................ตามอำนาจกิเลสราญ
สติปัญญาหนี...................................ชอบ,ชังนี้จึงเห็นถูกขาน
ใจไม่เป็นกลางงาน............................ความเห็นลงดิ่งถูกแล้วเอย
  ๘.เขาไม่รู้ว่าเห็นผิด........................จึงทำกิจทุกอย่างพลาดเผลอ
เรียกแพ้อารมณ์เจอ..........................แพ้กิเลสสุดต้านเลย
มิได้นำสติ.........................................ปัญญาริมาช่วยจิตเฉย
ถึงหายนะเกย...................................โดยตนเป็นผู้ทำตนเอง
  ๙.สติระลึกดูจิต..............................ปัญญาคิดพิจารณ์เตือนจิต
สิ่งชอบ,ชังต้องพิศ............................อย่าพึ่งยึดชอบ,ชังเร็วเกรง
จิตโลภหรือโกรธไว...........................รู้จิตไหวดิ้นสุข,ทุกข์เผง
มีโทษมิมีเคลง....................................ก็ย่อมรู้ได้ผลออกมา
  ๑๐.กิเลสถูกจิตเพ่ง.........................สติเก่งปัญญาเลิศหาญ
กิเลสอ่อนกำลังราน...........................สัณชาติกิเลสเห็นทุกข์หนา
พุทธ์เจ้าแนะทำจิต.............................ตรงมิบิด"สติปัฏฯ"กล้า
กำราบจิตนิ่งพา..................................จิตปราศกิเลส,อารมณ์
  ๑๑.ไร้อารมณ์,กิเลส.........................หมดเหตุจิตมิเดินคดเคี้ยว
จิตเดินทางตรงเปรียว........................มิกวัดแกว่งอีกแต่นิ่งชม
"สติปัฏฐาน"จด..................................กำหนดหายใจเข้า-ออกสม
หายใจสั้น-ยาวคม..............................สติรู้ทำจิตรวมทรง
  ๑๒.จิตรวม"ฉันทะ"เกิด.....................พอใจเลิศส่งพลังพราว
ลมหายใจสั้น,ยาว...............................ละเอียดขึ้น"ปราโมทย์"ประจง
อุเบกขาอุบัติ......................................จิตชัดสงบหมดพะวง
กระทำจิตให้ตรง................................เหมือนช่างดัดลูกศรแน่เทียว
  ๑๓.จิตนี้คอยเกลือกกลั้ว...................กาม์คุณยั่วปลาในน้ำศรัย
เมื่อจับขึ้นบกไกล................................ย่อมดิ้นรนหาน้ำแท้เชียว
มีปัญญายกจิต....................................พิชิตอาลัยกาม์คุณเหนี่ยว
ละออกจากกามเจียว...........................พ้นบ่วงมารหมดทุกข์ทุรน ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๙
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๒

สติปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือข้อธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใข้สติเป็นประธานในการกำหนดระลึกรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ซึ่งจะทำให้เห็นผิดจากความเป็นจริง เป้าหมายในการทำสติปัฏฐาน เพื่อฝึกสติ และใช้สติพิจารณารู้เท่าทันใน กาย,เวทนา,จิต และธรรม เพื่อให้เกิดความคลายกำหนัด ละวางตัณหา อุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๒.ต้องเป็นผู้รู้ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, สิงหาคม, 2567, 10:04:44 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๕.จิตที่ฝึกมาแล้วนำสุขมาให้

กาพย์ทัณฑิกา

   ๑.พุทธ์เจ้าตรัสไว้........จงรักษ์จิตใฝ่......เพราะยากรักษา
ต้องคอยข่มจิต....
อย่าคิดใดนา....เพราะจิตฝึกกล้า....นำสุขเลิศเลอ
 
   ๒.จิตข่มได้ยาก.......อารมณ์เกิดจาก.......ความใคร่ที่เจอ
จิตข่มยากจับ....เกิด-ดับเร็วเออ....ดิ่งอารมณเพ้อ....จิตไม่รู้ควร

   ๓.จิตไม่รู้ว่า......ควร,ไม่ควรพา.......ไม่พิศชาติด่วน
หรือโคตร,วัยแล....คิดแต่"อยาก"พรวน....อารมณ์ตกกวน....ความใคร่อย่างเดียว

   ๔.การฝึกจิตชี้.......อริย์มรรคสี่.......จิตสิ้นฤทธิ์เจียว
นำสุขแก่ชน.....มรรคผลเกิดเปรียว....ถึงนิพพานเชียว....เป็นสุขถาวร ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๓