หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ~กาพย์วชิรปันตี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, สิงหาคม, 2567, 09:17:39 AM (https://i.ibb.co/3sDVTVN/Screenshot-20240820-194115-LINE.jpg) (https://ibb.co/qnthDhs) ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ กาพย์วชิรปันตี ๑.พุทธองค์ตรัสผอง.............จิตคุ้มครองดีเยี่ยม นำสุขเปี่ยมถึงตัว.....................จิตมิมัวแต่เย็น จิตครองเด่นมิไหว...................."อารมณ์"ใดจะโดน แม้อารมณ์"อยาก"หรือ.............."ไม่อยาก"ครือเช่นกัน ๒.ชนจิตคุ้มครองแล้ว.............เห็นรูปแกล้วนิ่งครัน ไม่นึกฉันยินดี............................หรือร้ายรี่อย่างใด จมูกได้กลิ่นคอย........................ยินดีคล้อยร้าย,ดี หู,ลิ้น,สัมผัสกาย........................ยินดีวายรู้วาง ๓.เมื่อคุ้มครองจิตได้...............จิตเย็นใสสุขพร่าง มิได้คว้างเคว้งแปร.....................กับสิ่งแย่อันใด อารมณ์ไซร้ถูกรู้........................ในโลกกู่ไม่แน่คง จึงต้องคุมจิตไว..........................กิเลสไหนมิงำ ๔.เปรียบดังคุ้มครองกาย..........ป้องกันคลายโรคส่ำ วัคซินทำป้องโรค.......................กายมีโชคภัยวาย คุ้มครองกายสัมฤทธิ์..................กระทำจิตผ่องใส ไม่มีใดเบียดเบียน......................สุขระเมียรแน่นอน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ธรรมบท ๒๕/๑๙ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๓ อารมณ์=สิ่งที่ถูกรู้หรือรับรู้,สี่งที่ยึดหน่วงจิต ผ่าน ทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ได้แก่รูป,เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ(สัมผัส),ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้) (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ~กาพย์วชิรปันตี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, สิงหาคม, 2567, 08:47:48 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๗.ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ
กาพย์มหาวชิรปันตี ๑.ภิกษุดูเราชี้............................ตถาคตมี,ไม่มี ธรรม์ชาตินี้ก็เกิด..........................ปกติเชิดสลอน "ธรรมธาตุ"จรทรงตัว...................."ธรรมฐิติ"จั่วดำรง "สังขาร"คงปรุงนั้น........................ไม่เที่ยง,ทุกข์ทันดล ๒.ธรรมทั้งปวงอนัต-...................ตาบอกสิ่งชัดไป่ตน ปัจจัยผลปรุงมิมี............................หรือมีปรุงคลี่อย่างใด กฏมีไว้ธรรม์ชาติ...........................สร้างขึ้นเองกาจแน่นอน สิ่งเร้นก่อนพุทธ์เจ้า........................ตรัส์รู้สอนเรานั่นเอง ๓.พุทธ์องค์ทรงแสดง..................ตั้งไว้แจกแจงตรงเผง ธรรมง่ายเล็งสังขาร.......................ไม่เที่ยงทานแต่แปร สังขารแลเป็นทุกข์.........................จะดิ้นรนรุกและรวน ธรรมทั้งมวลไม่ใช่..........................ตัวหรือตน,ใคร,เรานา ๔.สิ่งในธรรม์ชาตินั้น....................ปัจจัย,สัมพันธ์พึ่งพา ทั้งสองหนาอาศัย...........................มีกันอยู่ในโลกา สิ่งในหล้าเปลี่ยนแปลง..................."อนิจจัง"แจงมิคง เป็นทุกข์ตรงไม่ทน........................."อนัตตา"พ้นไป่ตน ๕.อนิจฯ,ทุกข์,อนัตฯ.....................กฏไตรลักษณ์ชัดผจญ มนุษย์ชนพบพาน...........................เกิดขึ้นทุกกาลนิรันดร์ พุทธ์องค์ดั้นสอนพิศ......................ดูธาตุสี่ชิดรูปกาย ประกอบพราย"ดิน,ลม".................."น้ำ,ไฟผสม"เป็นเรา ๖.ดูรูป"อนิจจ์"บ่ง.........................ไม่เที่ยง,ไม่คง,เสื่อมเฉา จะเกิดเร้าดับมี...............................บางคราวก็หนีหายไป เปลี่ยนแปลงไซร้สภาพ..................อยู่ชั่ววาบเดียวก็จาง สำคัญพร่างไม่รับ...........................ความเที่ยงแท้กับกายพัง ๗.รูปกายไหว,วายด้วย..................โรค,ชรา,ม้วยต้องฝัง ความเสื่อมรั้งและแปร.....................เหตุปัจจัยแท้แต่งปรุง กายด้วยนุงไร้แก่น..........................จึงอ่อนแอแม่นหักวาย ดั่งเด็กกรายชรา.............................เห็นแปรเปลี่ยนหนาไม่คง ๘."ทุกขัง"ภาวะแปร.......................กดดันเปลี่ยนแท้ตามบ่ง เกิด,ดับส่งสลาย.............................คือความทุกข์กาย,ใจนำ เจ็บปวดซ้ำร่างกาย.........................ใจกายมิสบายเอย เกิดทุกข์เผยคิด"สุข".......................แต่เป็น"ทุกข์"รุกแปรคลาย ๙.เป็นทุกข์มีเกิด,เสื่อม...................บีบคั้น,ภัยเชื่อม,โชคร้าย เกิด,แก่,ตายธรรม์ดา........................เศร้าหมอง,โรค,อาพาธนา มีศรกล้าทิ่มแทง...............................เจ็บภายในแรงมิถอน เป็นเหยื่อช้อนกิเลส..........................ยึดถือวิเศษหลงมาร ๑๐."อนัตตา"ไร้ตน.........................ไร้เจ้าของด้นต้องกราน ใครมิพานบังคับ...............................ไร้อำนาจจับกุมตัว ทั้งอยู่กลั้วชิดเหตุ.............................ปัจจัยพิเศษเสริมกัน "อนัตฯ"นั้นลักษ์ณะ...........................มีหลาย,สี่ประการแล ๑๑."สุญญโต"ว่างเปล่า....................จากคน,สัตว์เล่าตามแฉ สิ่งอื่นแม้บัญญัติ................................เรียกกันเพื่อชัดง่ายไว "อัสสาฯ"ไม่มีตน................................ไม่มีใครก่นเจ้าของ "อวัสฯ"ส่องไม่มี.................................ใครบังคับรี่ทำใด ๑๒."อัตตะฯ"ขัดแย้งต่อ...................."อัตตา"เพราะส่อไถล ตามปัจจัยและเหตุ.............................ที่สัมพันธ์เขตชิดกัน มิได้มั่นตนเอง....................................เพราะตนก็เด้งเจ้าของ ไตรลักษณ์ตรองเหตุ,ผล....................แปร,ไม่คงพ้นยึดลง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๔-๙๕ ไตรลักษณ์=คือลักษณะ ๓ ประการ ที่กำหนดรู้ความจริงของสภาวะธรรมทั้งหลายที่เป็นอย่างนั้น ๑)อนิจจัง ความเป็นของไม่เที่ยง คงอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก ๒)ทุกขัง ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของทนอยู่ไม่ได้ ๓) อนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน สุญญโต=ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา จากความเป็นนั่นเป็นนี่ที่กำหนดกันขึ้น อัสสาฯ=อสสามิกโต คือ ไม่มีตัวตนของใคร และไม่เป็นของตนใดๆ หรือไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใครจริง ไม่มีตัวตนของใคร อวัสฯ=อวสวตตนโต คือ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อใคร ไม่มีใครบังคับได้ ไม่มีใครเป็นใหญ่เหนือใคร จะสั่งบังคับเป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ ขึ้นกับเหตุปัจจัย อัตตะฯ=อตตปฏิกเขปโต คือ ขัดแย้งต่อ อัตตา ดำเนินไปตามเหตุ,ปัจจัย หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ~กาพย์วชิรปันตี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, สิงหาคม, 2567, 09:58:40 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๘.ฤกษ์งามยามดี กาพย์นาคบริพันธ์ ๑.ฤกษ์งามยามดีพุทธศาสน์................สัตว์ใดพฤติดาษ ทำดีล้ำกาย,พูด,ใจ ๒.ไม่ว่าเช้า,กลางวันใด........................หรือเย็นวันไหน ย่อมเป็นเช่นฤกษ์ที่ดี ๓.ชี้"กายสุจ์ริต"นี้................................ไม่ฆ่าสัตว์รี่ ไม่ใช่โจร,ผิดกามตรง ๔.บ่ง"วจีสุจ์ริต"คง................................เว้นเท็จ,หยาบลง พูดเพ้อเจ้อ,ส่อเสียดใคร ๕.ใฝ่"มโนสุจ์ริต"ไว...............................เว้นโลภ,ฆาตไส จิตคิดมิ"มิจฉาฯ"แล ๖.แค่พฤติดีครบถ้วนแปล้......................ก็รุ่งเรืองแผ่ ทุกกาลผ่านฤกษ์ดีงาม ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ติกนิบาต อังคุตรนิกาย ๒๐/๒๗๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๕ มิจฉาฯ=มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ~กาพย์วชิรปันตี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, สิงหาคม, 2567, 09:30:34 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๔๙.การแสวงหา ๒ อย่าง
กาพย์จิตรลดา ๑."อามิส,ธรรม"สองทาง...................ค้นหา ของเหล่าชนทั่วไป.............................ในโลก ไม่ประเสริฐ"อามิส"............................เจอโทษ ประเสริฐล้ำโชค"ธรรม"......................คุณเลิศ ๒.ไม่ประเสริฐ,อามิส.......................แสวง สิ่งมีเกิด,แก่,ตาย................................ทุกข์ทน มีปัญญาแจ้งธรรม..............................นิพพาน หยุดเกิดสุขล้นยิ่ง..............................โศกปลง ๓.สิ่งบ่งเป็นอามิส.............................อย่างไร มีเกิด,แก่,เจ็บ,ตาย..............................ทุกข์เด่น มีกิเลสใคร่"อยาก"..............................ธรรม์ดา ลูก,เมีย,สินเป็น"ชาติ"..........................ห่วงมัด ๔.ชนจัดว่ามีชาติ..............................เกิดแล้ว ยังหาโศก,กิเลส..................................พันติด แก่,ป่วยไข้แน่วตาย.............................ตามมา จึงเรียกว่าผิดทาง................................ประเสริฐ ๕.สิ่งเลิศหาคือ"ธรรม".......................ไฉน ชนทราบตนมีชาติ...............................ธรรม์ดา แก่,เจ็บ,ตายไซร้แล้ว............................สลด ลูก,เมีย,ทรัพย์พร่ามัว...........................ยึดหลง ๖.บ่งมีปัญญาผลาญ..........................กิเลส รู้โทษ"เกิด"ภัยพาน..............................จำหา นิพพานปกเกศพ้น................................การเกิด เป็น"ธรรม"เลิศพาชน...........................รุ่งเรือง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๕ หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก:๔๖.จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ~กาพย์วชิรปันตี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, สิงหาคม, 2567, 09:05:51 AM ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๐.ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
กาพย์มหาจิตรลดา ๑.ภิกษุจงดู"ตา"..............................ไม่เที่ยง "สิ่งไม่เที่ยง"สิ่งนั้น.............................เป็นทุกข์ ต้องทนสุดเลี่ยงได้............................ร้อนรุม สิ่งใด"ทุกข์"รุกนำ..............................สิ่งนั้น"ไป่ตน" ๒.ยลใด"ไม่ใช่ตน"...........................แน่แท้ สิ่ง"มิใช่ของเรา"................................"ไม่เป็น" นั่นมิใช่แลตัว....................................."ของเรา" พึงมองเห็นเด่นด้วย.............................ปัญญาเหมาะควร ๓."ตา"ล้วน"หู,จมูก"...........................ลิ้น,กาย พร้อม"ใจ"มองไม่เที่ยง........................ผันแปร ไหนไม่เที่ยงกราย"ทุกข์".....................ดิ้นรน ใดเป็น"ทุกข์"แท้ครัน...........................สิ่งนั้น"ไป่ตน" ๔.ชนพิศใดมิใช่................................ตัวตน นั่นมิ"เป็นของเรา"...............................ควรตรอง เราไม่ผจญเป็น.................................."ไป่เรา" ท่านทั้งหลายมองด้วย........................ปัญญาชอบแล ๕.แม้อริยฟัง.....................................ย่อมหน่าย ตา,หู,จมูก,ลิ้น......................................กาย,ใจ ติดกำหนัดคลายหมด..........................ลงได้ คลายแล้วหทัยเลิก..............................ติดใจทันควัน ๖.พลันรู้ญาณหลุดพ้น.......................จริงนา ความเกิด"ชาติ"สิ้นไป...........................แน่แล้ว พรหม์จรรย์เลิกหางด...........................ครองเรือน กิจจบสิ้นแน่วหลุด...............................พ้นเกิดวนเวียน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกายนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๘ |