หัวข้อ: ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) ~กาพย์มหาตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, กันยายน, 2567, 10:47:47 AM (https://i.ibb.co/QNWNh59/Screenshot-20240805-083709-LINE.jpg) (https://ibb.co/qsHshZB) ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) กาพย์มหาตุรงคธาวี ๑.พุทธ์เจ้ายั้ง.....ป่ามะม่วงยัง.....หมอดัง"ชีวะฯ"จด ราชคฤห์ลุ....วันอุโบสถ....สิบห้าค่ำ....เดือนล้ำสิบสองคง "อชาติศัตร์ฯ"......กษัตริย์ถามจัด......ดีชัดอย่างไรสงฆ์ ครูหกคน....ตอบท้นมิตรง....ถามมะม่วง....กลับจ้วงขนุนไปเลย ๒.พุทธ์องค์ถาม......."อชาติฯ"ตอบความ.....ข้อลามสิบสี่เผย ทาสของท่าน....บวชผ่านดีเปรย....ได้เรียกกลับ....มารับงานทาสหรือไม่ อชาติศัตร์ฯ......ตอบจนแจ้งชัด......มิจัดคืนแต่อย่างใด แต่เคารพ....ประกบปัจจัย....พุทธ์องค์ตอบ....ผลชอบการเป็นสงฆ์จริง ๓.คนทำนา......ออกบวชแล้วครา.......เรียกหากลับหรือทิ้ง พุทธ์องค์ตอบ....ว่าชอบด้วยอิง....ข้อแรกยล.....เป็นผลของสมณะ พุทธ์เจ้ากล่าว......นิกรบวชพราว.......สกาวด้วยสีละ อกุศล....ไม่ท้นจิตตะ....หกอินทรีย์.....ตารี่หู,จมูก,กาย ๔.คุมอินทรีย์......มิก่อบาปชี้......ทวี"ความอยาก"ผาย สัมป์ชัญญะ....คุมสติกราย....บาปเกรงกลัว....ริชั่วละอายตัดรอน มีสันโดษ......มิแสวงโลด......ตัดโทษ"อยาก"ขจร ทำสมาธิ์....ละห้านิวรณ์....ปิติเกิด.....สุขเลิศยิ่งปฐมฌาน ๕.ผู้บวชนิ่ง......ใจผ่องใสจริง.......จะทิ้งตรึก,วิจาร จิตรวมหนึ่ง....สุขซึ่งสราญ....กว่าปฐม.....นิยมเรียกฌานที่สอง ผลจากบวช......อุเบกขารวด......ปิติงวดมิครอง สัมป์ชัญญะ....กับสติประคอง.....ประณีตสุข....จะรุกลุฌานสามนา ๖.บวชแล้วได้......ละสุขทุกข์ไกล......ดี,เสียใจจบหนา สติกาจ....ใจสะอาดกล้า....จึงสุขเลิศ....บรรเจิดในฌานสี่เอย ผลดีจาก.....บวชเรียนจะมาก.....โดยกรากญาณสูงเผย น้อม"ญาณทัสส์ฯ"....รู้ชัดปัญญ์ฯเอ่ย....กายแตกง่าย....สลายไปธรรมดา ๗.ใจมีฤทธิ์......."มโนมยิทธิ์ฯ"........นิมิตกายได้หนา แสดงฤทธิ์.....ด้วย"อิทธิฯ"กล้า.....เสกเป็นคน....สัตว์ดลน้อย,มากจะยล มีทิพย์โสต.....ใกล้ไกลหลายโยชน์......ก็โลดยินผจญ มี"เจโต".....รู้โขใจคน....ใครคิดใด.....ก็ใช่รู้ทั้งหมดเอย ๘."ปุพเพฯ"นึก.......อดีตชาติลึก......ย้อนตรึกเป็นใดเผย "จุตูปปาฯ"....ญาณกล้าเห็นสัตว์เอ่ย....การเกิด-ตาย....สัตว์วายอดีตทุกกาล ลุ"อาส์วักฯ"........ญาณที่ประจักษ์.......จะผลักกิเลสผลาญ ผลสูงสุด.....สงฆ์รุดสราญ.....สิบสี่ข้อ.....เลิศรอประโยชน์มากมาย ๙.สิบสี่ข้อ.......พุทธ์องค์ทรงย่อ.......สามอ้อซิง่ายดาย หนึ่งพ้นผละ......ฐานะเดิมกลาย.....ทาส,ทำนา.....พระราชามีผู้นบ สองบ่มใจ.......จิตสมาธิ์ไซร้......ฌานใฝ่หนึ่ง-สี่ครบ ฌานพลัง.....ระวังกิเลสจบ....ลงไปบ้าง......มิจางยังไม่หมดลง ๑๐.สามริ่มจาก......."ญาณทัสส์"รู้กราก.....ถึงฟาก"อาส์วักฯ"บ่ง "อาส์วัก์"เดช.....กิเลสหมดปลง......ลุนิพพาน.....มิผ่านการเกิดนิรันดร์ อชาติศัตร์ฯ.....ขอถึงพระรัตน์......บอกชัดที่พึ่งพลัน ขอขมา.....ที่ฆ่าพ่อครัน.....เพราะเชื่อหลง.....ผจงทำผิดพลาดไป ๑๑.ครา"อชาติฯ"......กราบทูลลาคลาด.......ปลาตกลับไปไกล พุทธ์องค์กล่าว......เรื่องราววิสัย.....อชาติศัตร์....ต้องขัดแค้นปลงพระชนม์ บาปมหันต์.......ฟังธรรมก็ครัน........มิประชันใดดล ถ้าไม่ฆ่า.....ดวงตาจะยล....ลุพระธรรม....เลิศล้ำยิ่งโสดาบัน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๒๙๓-๒๙๕ ป่ามะม่วง= ของหมอชีวกะ ใกล้กรุงราชคฤห์ ชีวะฯ=หมอชีวกะ เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้า อชาติศัตร์ฯ,อชาติฯ=พระเจ้าอชาติศัตรุ คือผู้ที่วางแผนฆ่าพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร) แล้วขึ้นครองราชย์แทน ครูหกคน=คือ ๑)ปูรณะ กัสสป ๒)มักขลิ โคสาละ ๓)อชิตะ เกสกัมพล ๔)ปกุธะ กัจจายนะ ๕)นิคัณฐะ นาฏบุตร ๖)สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิวรณ์ห้า=คือ อารมณ์ทางความคิด ที่ขัดขวาง ปิดกั้นมิให้จิตลุความดี เป็นอุปสรรคต่อการลุธรรม แบ่งเป็น ๕ อย่าง ๑)กามฉันทะ -ความพอใจในกาม ความรัก ความปรารถนา หลงใหล ๒)พยาบาท -ความปองร้าย ๓)ถีนมิทธะ-ความง่วงเหงา หดหู่ เกียจคร้าน ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกกังวล ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ญาณทัสส์=ญาณทัสสนะ (หรือวิปัสสนาญาณ )คือความรู้เห็นด้วยปัญญา มโนมยิทธิ์ฯ=มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ อิทธิฯ=อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา เจโตฯ=เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ปุพเพฯ=ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ จุตูปปาฯ=จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ อาส์วักฯ=อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป (ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต) หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) ~กาพย์มหาตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, กันยายน, 2567, 09:05:12 AM ประมวลธรรม : ๒.โสณทัณฑสูตร(สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อ โสณทัณฑะ) กาพย์ตุรงคธาวี ๑.พุทธ์เจ้า,สงฆ์.....สู่"อังคะ"ตรง.....อยู่คงกรุง"จัมปา" ริมสระน้ำ....ชื่อพร่ำ"คัครา"...."โสณทัณฑะ"....ครอง ณ จัมปาเมือง "โสณทัณฯ"เห็น......ชนรวมกลุ่มเด่น......ลือเน้นพระพุทธฯเรือง โสณทัณฑ์ฯพราหมณ์.....คิดลามต้องดีเฟื่อง....ช่วยบอกที....ขอรี่ตามเฝ้าครัน ๒.พราหมณ์ต่างแดน.....กะห้าร้อยแล่น......ตรองแผนห้ามโสณทัณฑ์ฯ อ้างชาติเกิด....บรรเจิดทรัพย์นองนั้น.....รู้ไตรเพท.....วิเศษ,ศีล,รูปงาม เป็นอาจารย์......มีศิษย์มากผ่าน......ประสานเรียนมนต์ผลาม และมีวัย....เกินไซร้พุทธ์องค์นาม....ทั้งเป็นเจ้า....ครองเข้าเมืองจัมปา ๓.โสณทัณฑ์ฯรับ......ความเคารพตรับ.....นบกับพิมพิฯหนา โปกข์พราหมณ์ใหญ่....น้อมไซร้วัยวุฒินา....มิควร"เรา".....ไปเฝ้าพุทธ์องค์เลย สมณะ......โคดมพุทธะ.......ควรจะมาหาเผย โสณทัณฑ์ฯกล่าว....แจ้งข่าวที่ผิดเอย....มิควรพุทธ์ฯ.....จะรุดไปหาใคร ๔.โสณทัณฑ์ฯบ่ง......ล้ำเลิศพุทธ์องค์......ชาติทรงสูงกว่าไผ กษัตริย์บวช....ละรวดทรัพย์ไผท....ถ้อยไพเราะ....ศีลเหมาะงดงามยิ่ง ผู้สิ้นกาม......ตรัส์รู้ตนงาม......ชนตามรู้ธรรมจริง เป็นอาจารย์....ศิษย์ผ่านอร์หันต์ดิ่ง....เทพเลื่อมใส.....หทัยบูชาธรรม ๕.บริษัท......ทั้งสี่,เทพชัด.......พฤติวัตรเพราะครูนำ ลัทธิอื่น....มิดื่นหรือเยี่ยมล้ำ....พระยศเรือง.....และเฟื่องฟุ้งขจร "วิชชา"เกลื่อน......ปลดทุกข์ดับเลือน......ไม่เหมือนครูอื่นสอน ราชาเด่น...."ปเสนฯ,พิมพิฯ"วอน.....มอบตนถึง....ได้พึ่งพระรัตน์ตรัย ๖.เมื่อพุทธ์เจ้า......ถึงจัมปาเรา......ก็เท่ากับแขกไซร้ ควรเคารพ....นอบนบทั้งกาย,ใจ....มิควรรอ....ท่านจ่อมาหาเรา ควรจะไป.....เฝ้าพุทธ์องค์ได้......โสณฯไซร้พรรณ์นาเว้า พราหมณ์คัดค้าน....เห็นผ่านตรงกันเร้า...ไกลร้อยโยชน์....เหมาะโลดฟังธรรมนา ๗.ขณะเฝ้า.......โสณทัณฑ์ฯเกรงเขา.......ถามเขลาตอบปัญหา คิดจะกลับ.....กลัวนับคนโง่นา.....เกิดผิดแล้ว....คลาดแคล้วจากยศ,สิน พุทธ์องค์รู้.....โสณทัณฑ์ฯคิดอยู่.....ถามดูที่ชาญชิน ลักษ์ณะใด.....พราหมณ์ไซร้ต้องมีสิ้น....จึงจะพาน.....และขานเป็นพราหมณ์จริง ๘.โสณทัณฑ์ฯแจง......มีห้าอย่างแบ่ง......จะแจ้งเป็นพราหมณ์ยิ่ง "กำเนิดดี....จะมีพ่อ,แม่ดิ่ง....เป็นพราหมณ์มา....เจ็ดกล้าชั่วโคตรตรง "ท่องมนต์"จบ.......ในพระเวทครบ.......อีกพบ"รูปงาม"บ่ง "มีศีล"มั่น....มิบั่นขาดตอนลง....คนฉลาด....ฉกาจ"ปัญญา"ไกล ๙.พุทธ์องค์ตรัส......ห้าลดหนึ่งชัด.......ยังจัดเป็นพราหมณ์ไหม โสณทัณฑ์ฯลด......จรด"รูปงาม"ไซร้.....พุทธ์เจ้าถาม.....ลดลามอีกหนึ่งครอง เหลือสามคง.......จะตัดใดลง......"โสณฯ"บ่ง"ท่องมนต์"ผอง พุทธ์ฯตัดลด.....หนึ่งจดเหลือสอง....จะลดใด......โสณฯไซร้ลด"ชาติ"ปลง ๑๐.ตัดสามพลัน......พราหมณ์มาด้วยกัน......ใจพรั่นอย่ากล่าวชง จะกระทบ....."รูป"จบ"มนต์"ตรง......"ชาติ"เกิดเรา....จะเขลาต่อ"โคดม" โสณทัณฑ์ฯชี้....."อังคะฯ"หลานดี......อยู่ที่แห่งนี้สม รูปพรรณเลิศ.....ประเสริฐชาติชม.....ท่องจำมนต์.....มากล้นอย่างครบครัน ๑๑.แต่ยังฆ่า......ขโมย,เท็จล่า.......ผิดพร่ากาม,เหล้าพรั่น สิ่งไม่ดี....ดังที่กล่าวขวัญ....ไม่ช่วยพราหมณ์....ดีตามครบถ้วนเอย แต่พราหมณ์มี.......แค่สองอย่างชี้........ถือคลี่ศีล,ปัญญ์เผย บัญญัติได้.....ว่าใช่พราหมณ์เปรย....เรียกตนเด่น....ว่าเป็นพราหมณ์เทียว ๑๒.พุทธ์องค์ถาม......ถ้าลดหนึ่งตาม.......เหลืองามแค่หนึ่งเดียว จะพอขาน....เรียกพานว่าพราหมณ์เจียว....ได้หรือไม่....โสณฯไซร้ลดมิได้ ศีล,ปัญญา.......คู่ชำระกล้า........ต้องฝ่าด้วยกันใส ศีลสะอาด.....เพราะดาษปัญญาไกล....ปัญญ์สะอาด....มิพลาดจากศีลงาม ๑๓.พุทธ์เจ้ารับ......คำโสณทัณฑ์ฯฉับ......ว่านับถูกต้องความ ตรัสถามว่า...."ศีล"หนา"ปัญญ์ฯ"ตาม....เป็นอย่างไร....โสณฯใฝ่โปรดชี้แจง พุทธ์องค์ชี้......ชนเลื่อมใสบวชี่.....พฤตคลี่พรหมจรรย์แกร่ง ศีล,ปัญญา....สมาธิ์แน่วแจรง....ฌานหนึ่ง-สี่....ต่อปรี่"วิปัสส์"งาน ๑๔.บ่มวิชชา......อีกแปดคือปัญญา......สุดคว้า"อาสวักญาณฯ" ปัญญายิ่ง.....ลุพริ้งญาณนี้ราน......กิเลสพราก....พ้นจากการเกิดครัน โสณทัณฑ์ฯทูล.....ยอพระธรรมพูน....อาดูลย์รัตน์ตรัยดั้น ขอ"อุบาฯ"....มิช้านิมนต์พลัน.....พุทธ์เจ้า,สงฆ์....ประจงวันพรุ่งเอย ๑๕.หลังถวาย......ภ้ตตาหารปลาย......โสณฯขอคลายกราบเปรย ถ้าอยู่ ณ....ที่จะกราบมิเชย....เช่นในยาน.....ขอผ่านยกปฏัก ถ้าเบี่ยงร่ม.....ขอถือว่าบังคม......กราบชมด้วยเศียรนัก พุทธ์เจ้าลุ.....สาธุการประจักษ์....แก่โสณทัณฑ์ฯ....ผู้มั่นมุ่งพระธรรม ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๒๙๘-๓๐๑ อังคะ=แคว้นอังคะ อยู่ใต้อำนาจของแคว้นมคธ จัมปา=กรุงจัมปา เมืองหลวงของแคว้นอังคะ คัครา=สระน้ำคัครา โสณทัณฑ์ฯ,โสณฯ=โสณทัณฑพราหม์ ผู้ครองกรุงจัมปา ไตรเพท=คัมภีร์สูงสุด ๓ อย่าง ของ ศาสนาพราหมณ์ พิมพิฯ=พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้น มคธ โปกข์พราหมณ์=โปกขรสาพราหมณ์ เป็นผู้ปกครองเมือง อุกกัฏฐะ เป็นพราหม์ผู้ใหญ่ ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องมาก โคดม=โคดมพุทธเจ้า เป็นชื่อเรียกพระพุทธเจ้า ตามชื่อโคตรทางพระมารดา(และโคตมะพุทธเจ้า เป็นชื่อโคตรตามพระบิดา) ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นโกศล อังคะฯ=อังคกะมานพ หลานของโสณทัณฑพราหมณ์ วิปัสส์=วิปัสสนาญาณ คือญาณอันเกิดในวิปัสสนา วิชชา ๘= ความรู้ที่ทำให้รู้จักการหลุดพ้น การดับทุกข์ได้แก่ ๑)วิปัสสนาญาณ คือญาณที่เกิดในวิปัสสนา เช่น เห็นการเกิดดับของสัตว์ ๒)มโนมยิทธิญาณ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิญาณ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสตญาณ=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป อุบาฯ=อุบาสก หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) ~กาพย์มหาตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, กันยายน, 2567, 09:43:50 AM ประมวลธรรม : ๓.กูฏทันตสูตร(สูตรว่าด้วยกูฎทันตพราหมณ์ พราหมณ์ฟันเขยิน) ร่ายสุภาพ ๑.พุทธ์เจ้าพร้อมเหล่าสงฆ์ จาริกตรงแคว้นมคธ จรดพัก ณ "อัมพลัฏฐ์ฯ" "ขานุมัติฯ"พราหมณ์เชิญ เผอิญ"กูฏทันต์ฯ"หัวหน้า เผ่าชนกล้าเตรียมครัน บูชายัญแพะ,แกะ และโค,ลูกโคผู้ จู้ลูกเมียเพศพร้อย ก็อย่างละเจ็ดร้อย ผูกแล้กับเสา ๒.ชาวเรา"ขานุมัติฯ" ยินชัดพุทธ์องค์มา จึงพากันไปเฝ้า กูฏทันต์ฯเร้าไปด้วย แต่ถูกย้วยทักท้วง พราหมณ์อื่นจ้วงไม่ควร คำลือรวนมิจริง กูฏทันต์ฯอิงเรื่องราว พุทธ์องค์พราวรอบรู้ พระธรรมสู้กิเลส รู้เหตุดับทุกข์ลง เลิกเกิดปลงแน่แท้ พราหมณ์จึ่งชวนกันแล้ รีบร้อนผลุนผลัน ๓.กูฏทันต์พราหมณ์ทูลถาม ความ"ยัญญ์สัมปทา" พาถึงพร้อมสมบูรณ์ พูนสิบหกประการ พบพานใดสำคัญ พุทธ์องค์ครันเล่าปะ วิชิตะราชา มีมหาสมบัติ สะพัดชัยยิ่งฟ้า ใคร่คว้าทำมหายัญ พลันหวังสุขแจ่มช้อย จึงมุ่งปรึกษาถ้อย ไขว่ผู้แนะสอน ๔.ปุโรหิตวอนปราบ กำราบโจรร้ายก่อน มิผ่อนฆ่า,จองจำ กระทำไร้ประโยชน์ ควรโปรดถอนรากโจร มุ่งโชนเศรษฐ์กิจดี อาชีพมีทุกคน แจกพืชท้นปลูกกัน ให้ทุนผันค้าขาย ภัตร์กระจายมีกิน ก็ผลินชุ่มลิ้น ทรัพย์เพิ่มมากมายชิ้น ปราศร้ายโจรหนา ๕.วิชิตะพาตาม ผลดีลามเกิดครัน อยากกอปร"ยัญ"ต่อไป "ปุโรฯ"ไวแนะนำ ทำขออนุญาตคน ในชนบทสี่เหล่า กษัตริย์เผ่าผู้น้อย อำมาตย์จ้อยบริพาร พราหมณ์ตระการท่วมท้น ชนร่ำรวยยิ่งล้น สี่แท้ยัญมหา ๖.ราชาวิชิตะ พระองค์คุณสมบัติ ชัดแจ้งแปดประการ ชาติขาน,รูปงามดี มีทรัพย์,กำลังรบ นบศรัทธาทำทาน พานสดับตรับฟังดาษ ความฉลาดเก่งถ้อย สัมฤทธิ์ปัญญาช้อย แปดนี้กอปรยัญ ๗.ครันปุโรหิตมี ดีคุณสมบัติสี่ ที่"ชาติ,จำมนต์"ได้ "ศีล"ไซร้ที่ครบถ้วน ล้วน"ปัญญา"พรายเพริศ เครื่องเชิดประกอบยัญ พลันคุณสมบัติ รวมชัดสิบหกกราย รายอนุมัติสี่แล้ แปดบ่งกษัตริย์แปล้ สี่กล้าปุโรฯ พราหมณ์เฮย ๘.เชยยัญสาม"ปุโรฯ" โชว์มิเดือดร้อนใจ ทรัพย์มากไหน"หมดไป" ใกล้"กำลังหมด"ลง หรือตรง"หมดไปแล้ว" ปุโรฯแผ้วเดือดร้อน ป้อนผู้บูชายัญ ถ้าครันประพฤติตน จนครบสิบประการ งาน"ฆ่าสัตว์,ขโมย" ผู้โกย"ผิดในกาม" พูดลาม"เท็จ,ส่อเสียด" เฉียด"คำหยาบ,เพ้อเจ้อ" ผู้เฟ้อ"โลภ,ปองร้าย" กราย"มิจฉาทิฏฐิ" สิบอย่างจิอกุศล ผู้ทำตนตรงข้าม ตามสิบอย่างนี้แล้ว มิแคล้วคลาดผลดี เพราะยัญมีผลลัพธ์ กับผู้ประพฤติชอบ ยัญประกอบพรั่งพร้อม สิบหกสดับน้อม ไป่ไซร้ติเตียน ๙.ผู้เพียรปุโรหิต แสดงกิจวิธี พลีบูชายัญนั้น มิดั้นฆ่าสัตว์เลย พินาศเอยไม่มี หนีตัดไม้มาสร้าง อ้างก่อโรงพิธี แรงงานมีเท่าที่ สมัครใจรี่เอง ปราศข่มเหงบังคับ ตรับทราบยัญจะดี มีเนยใสนุ่มล้ำ มธุดอมหอมน้ำ จากอ้อยพืชหวาน หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) ~กาพย์มหาตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, กันยายน, 2567, 10:14:39 AM ๑๐.พานผู้เดินทางมา เสาะหาบรรณาการ "วิชิตะ"ขานมิรับ แต่กลับเพื่มให้ไป คนไม่เอาแต่สละ จะแจกทานตามกัน วิชิตะสรรพลัน ตั้งยัญศาลาแลก สี่ทิศแจกทานไป ไกลตะวันออกกษัตริย์ ใต้จัดอำมาตย์พร้อง ตะวันตกพราหมณ์ก้อง ทิศยิ้มก็เหนือ เหล่าชน ๑๑.กูฏทันต์เกื้อทูลกราบ พุทธ์องค์ทราบยังมี ยัญใดที่ให้ดล ผลกว่าสิบหกยัญ พุทธ์องค์พลันตอบมี กูฏทันต์ฯปรีดิ์ถามต่อ ใดส่อทำน้อยแต่ ผลแน่มากกว่าเอย พุทธ์องค์เผยมีห้า ผลคว้าน้อย-มากสุด หนึ่งรุดทำทานนิตย์ อุทิศผู้ศีลยง สองตรงสร้างวิหาร อุทิศการแก่สงฆ์ ผจงให้สี่ทิศ สามชิดถึงพระรัตน์ฯ สงัดที่พึ่งพาน รี่สมาทานศีลห้า ท้ายกล้าออกบวชเรียน เพียรศีลมั่นสมาธิ์ จนพาฌานสี่คง ปัญญายงญาณะพา แปดวิชชาดิ่งค้ำ ตรงสู่อรหันต์ล้ำ หลีกพ้นเกิดหนา ๑๒.ครากูฏทันต์ฯเลื่อมใส ในพระธรรมเทศนา ประกาศพาตนเด่น เช่นอุบาสกตรึง ถึงพระรัตนตรัย ที่พึ่งใจตลอดกาล จึงประสานปล่อยสัตว์ ทั้งหมดจัดอิสระ ฟังอริยสัจแล้ ประจักษ์ธรรมยอดแท้ สู่หล้าโสดาฯ ๑๓.พระสูตรมาแสดง แจงรักษาศีลห้า ผลกล้ากว่ามหายัญ อันเตือนผู้คิดทำบุญ ไร้เงินหนุนทำทาน บุญขานมิต้องมี ดีมากมายทรัพย์จ้า ทำแค่รักษ์ศีลห้า มุ่งได้บุญสูง กว่าเฮย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๐๑-๓๐๓ อัมพลัฏฐ์ฯ=อัมพลัฏฐิกา (สวนมะม่วงห นุ่ม) เป็นบ้านของพราหมณ์ชื่อ ขานุมัตตะ ขานุมัติฯ=ขานุมัตตะ เป็นชื่อหมู่บ้านพราหมณ์ที่ พระเจ้าพิมพิสาร พระราชทานให้ กูฏทันต์ฯ=กูฏทันตพราหมณ์ ครอบครอง หมู่บ้านขานุมัตตะ ยัญญ์สัมปทา=ความถึงพร้อม คือความสมบูรณ์แห่งยัญ ๓ ประการ อันมีส่วนประกอบ ๑๖ อย่าง วิชิตะ=พระเจ้ามหาวิชิตะ ปุโรฯ=ปุโรหิตพราห มณ์ มิจฉาทิฏฐิ= คือ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น ๑)ทานไม่มีผล ๒)การบูชาไม่มีผล ๓)คุณพ่อแม่ไม่มี ๔)ไม่เชื่อการทำดี ชั่ว ๕)วิบาก ผลของกรรมดี ชั่ว ไม่มี ๖)โลกนี้และโลกหน้าไม่มี ๗)ไม่เชื่อใน โอปปาติกะ ๘) ผู้ตรัสรู้ด้วยตนเอง และประกาศพระศาสนา ไม่มี ฌานสี่=บรรลุฌาน ๔ ได้แก่ ๑)ปฐมยาม ๒)ทุติยฌาน ๓)ตติยฌาน ๔)จตุตฌาน วิชชาแปด=วิชชา ๘ คือ ความรู้ที่ทำให้รู้จักการหลุดพ้น การดับทุกข์ได้แก่ ๑)วิปัสสนาญาณ คือญาณที่เกิดในวิปัสสนา เช่น เห็นการเกิดดับของสัตว์ ๒)มโนมยิทธิญาณ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิญาณ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสตญาณ=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ) ~กาพย์มหาตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, กันยายน, 2567, 09:00:59 AM ประมวลธรรม : ๔.มหาลิสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าลิจฉวี ชื่อมหาลิ) สาลินีฉันท์ ๑๑ ๑.พุทธ์เจ้าทรงพักครัน.........มหาวัน ณ "ไพศาฯ" ทูตชาวโกศลหนา...................และจากแคว้นมคธไกล ๒.อยู่ที่ไพศาลี......................รตีปรี่จะเฝ้าใฝ่ เจ้า"ลิจฉ์วี"เกริกไซร้...............จะร่วมเฝ้าตริปัญหา ๓.เจ้าลิจฉ์วีชื่อชัด................ก็"โอฏฐัทธะ"แจ้งนา เป็นคนปากแหว่งหรา..............นิยมตั้งเพราะรูปครือ ๔.ถึงที่พักพุทธ์องค์...............สิ"โอฏฯ"บ่งเสาะถามพรือ ตา,หูทิพย์มีหรือ......................ตถาคตซิตอบมี ๕.ตรัสว่ามาก,น้อยด้วย.........สมาธิ์ช่วยเจริญคลี่ สงฆ์ในพุทธ์ศาสน์นี้................ประพฤติเพื่อพระธรรมหมาย ๖.ไป่หู,ตาทิพย์นำ.................ตะมีธรรมสิสูงปลาย ควรทำให้แจ้งกราย................กิเลสหมดนิร์วาณหนา ๗.สังโยชน์เครื่องร้อยรัด.......กิเลสมัดหทัยล้า หนึ่ง"สักกายทิฏฐ์ฯ"พร่า..........มิคิดกายซิของเรา ๘.สองลังเล"รัตน์ตรัย"...........ละสงสัย"วิจีฯ"เขลา สาม"สีลัพฯ"งมเจ่า...................กะคำสอนสิผู้อื่น ๙.ทิ้งหนี่ง-สามได้นา..............พระโสดาฯสราญชื่น สังโยชน์สี่กามรื่น....................เสาะ"กามราคะ"ติดโฉด ๑๐.สังโยชน์ห้าอาฆาต..........พยาบาทฤทัยโกรธ สังโยชน์สี่-ห้าโลด...................ผิเบาบางตะไม่หมด ๑๑.ผู้ทิ้งหนึ่ง-สามมา.............ละสี่,ห้าประเทาลด เรียก"สัก์ทาคาฯ"จด................"อรีย์"สงฆ์ซิขั้นสอง ๑๒.ตัดสังโยชน์หนึ่ง-ห้า........."อนาคาฯ"สถิตย์ครอง สังโยชน์หกติดจอง..................เกาะ"รูปราคะ"ข้องฌาน ๑๓.สังโยชน์เจ็ด,ใจคว้า.........."อรูปราคะ"แน่นนาน สังโยชน์แปดแน่กราน...............ริถือ"มานะ"ซิตนเหนือ ๑๔.สังโยชน์เก้า"อุทธัจ-..........จะฟุ้งชัดหทัยเบื่อ สังโยชน์สิบคลุมเครือ...............อวิชชามิรู้เผย ๑๕.ตัดสังโยชน์หนึ่ง-สิบ.........กิเลสลิบละหมดเปรย หลุดพ้น"เจโตฯ"เลย.................สมาธิ์เป็นซิเหตุผล ๑๖.หลุดพ้นด้วย"ปัญญา-.......วิมุติ"หนาผจงดล ไม่กลับมาเกิดผล.....................จะเรียก"อร์หันต์"ใส ๑๗.โอฏฐัทธ์ฯได้ทูลถาม........ลุธรรมตามวิธีใด ทรงตอบมรรคแปดไว...............จะหลุดพ้นและนิพพาน ๑๘.เมื่อจบคำเทศ์นา...............ก็เหล่าหล้าระรื่นบาน ภาษิตพุทธ์องค์ชาญ.................จะแจ้งจริงมิสงสัย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ไพศาฯ=กรุงไพศาลี ลิจฉ์วี=เจ้าลิจฉวี ชื่อ โอฏฐัทธะ(ปากแหว่ง)หรือ ชื่อเดิม มหาลิ สังโยชน์ ๑๐=เครื่องผูกมัดสัตว์ให้จมลงในวัฏฏสงสาร ๑)สักกายทิฏฐิ -มีความเห็นว่าร่างกายเป็นของเรา ๒)วิจิกิจฉา-มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย ๓)สีลัพพตปรามาส-งมงายในคำสอนของลัทธิอื่น,นำศีล พรตไปใช้เพื่อการที่ไม่มุ่งละกิเลส ๔)กามราคะ-ความติดใจในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ๕)ปฏิฆะ-มีจิตพยาบาท อาฆาตแค้น หงุดหงิด โกรธ ๖)รูปราคะ-มีความติดใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน ๗)อรูปราคะ-ติดใจในอรูปฌาน ๘)มานะ-ความถือตัว/ถ่อมตัว,ยกตนเหนือกว่า/ด้อยกว่า ๙)อุทธัจจะ-มีความฟุ้งซ่าน ๑๐)อวิชชา-ปัญญามืดบอด,มีความไม่รู้จริง อรีย์ฯ=พระอริยะ ในพุทธศาสนา มี ๔ ขั้น ๑)พระโสดาบัน ตัดสังโยชน์ข้อ ๑-๓ได้ ๒)พระสกทาคามี ตัดสังโยชน์ข้อ ๑-๓ได้ และทำให้สังโยชน์ข้อ ๔-๕ เหลือบางเบา ๓)พระอนาคามี ตัดสังโยชน์ข้อ ๑-๕ได้ ๔)พระอรหันต์ ตัดสังโยชน์ข้อ ๑-๑๐ได้ เจโตฯ=เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ปัญญาวิมุตติ=ความหลุดพ้นด้วยปัญญา มรรคแปด=คือ ทางดับทุกข์ มี ๘ ประการ เช่น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ |