บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, กันยายน, 2567, 09:53:00 AM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง ~ โคลงจิตรลดา
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, กันยายน, 2567, 09:53:00 AM

(https://i.ibb.co/Y0wvtMk/Screenshot-20240814-172543-LINE.jpg) (https://ibb.co/z6DKSYR)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง

โคลงจิตรลดา

  ๑.รู้ตัวแค่"คนพาล"..........................อาจเป็น
บัณฑิตดีพอควร...............................บางครา
แต่คนพาลเด่นคิด.............................ตนเอง
คือบัณฑิตหนาเรียก..........................พาลจริง

  ๒."พาล"ดิ่งคนโง่เขลา.....................นิสัย
คิด,พูด,ทำ,ชักนำ..............................ไม่ดี
เขามิพอใจผู้.....................................ติติง
ประโยชน์โลกนี้,หน้า.........................ตัดรอน

  ๓.ดูก่อนคนพาลข้อง.......................อกุศล
มาก,น้อยไร้ประโยชน์.......................แน่แท้
มีแต่โทษดลเทียว.............................ไร้สุข
ความเสื่อมทรามแย่กราย..................ตามมา

  ๔.จงอย่าชังคนพาล........................ควรช่วย
พอเหมาะแต่มิคบ..............................เป็นมิตร
เพราะการชังด้วยเสริม......................กิเลส
อกุศลชิดใจ......................................โทษลาม

  ๕.ตรงข้ามบัณฑิตจิต.......................กุศล
พฤติธรรมความเห็นตรง.....................ถูกต้อง
ยอดบัณฑิตผลเลิศ............................พุทธ์องค์
แสดงธรรมโปรดผองชน.....................รู้ตาม

  ๖.ชนทำความดีจิต............................อบรม
เจริญปัญญาสู่....................................อริย์
ต่าง"พาล"ขาดบ่มศีล..........................ประจำ
พร่องฝึกธรรมลิปัญญ์.........................สิ้นทาง ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๑๖/๒๑๙
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๐

ปัญญ์=ปัญญา

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง ~ โคลงจิตรลดา
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, กันยายน, 2567, 10:03:35 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๗.เรื่องของกิเลส(เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) ๑๐ อย่าง

โคลงมหาจิตรลดา

  ๑."กิเลส"เครื่องทำใจ.....................เศร้าหมอง
เป็นธรรม์ชาติยังสัตว์.......................เร่าร้อน
เรียก"กิเลส"ครองจิต.......................เปรอะเปื้อน
หมักดองสุดถอนยาก.......................กมลสันดาน
  ๒.กิเลสซ่านสิบอย่าง.....................ชั่วแฝง
รู้สึกใจขุ่นมัว...................................สกปรก
หนึ่ง"โลภะ"แจงโลภ........................อยากได้
มี"อารมณ์หก"พา.............................พอใจยินดี
  ๓."โทสะ"รี่สองหวัง........................มุ่งร้าย
เริ่มหงุดหงิด,ขุ่นเคือง.......................รำคาญ
รุนแรงมากกลายเป็น.......................เข่นฆ่า
ตัดโลภะรานไว................................โทสะหยุดเอย
  ๔.เผย"โมหะ"สามหลง....................โง่เขลา
มิรู้อริย์สัจ........................................ดับทุกข์
ขาดพินิจเกลาธรรม.........................ละเลย
ทุจริตรุกกาย...................................พร้อมวาจา,ใจ
  ๕.ใฝ่"มานะ"สี่ชอบ.........................ถือตัว
นำตนเองเปรียบเทียบ......................ผู้อื่น
ทำประโยชน์พัวพัน..........................ตนเอง
มีโทษแฝงดื่นมาก............................ลาภ,ยศ,สรรเสริญ
  ๖.เกริ่น"ทิฏฐิ"ห้าก่อ.......................เห็นผิด
ทำให้การพูด,ทำ..............................ผลต่าง
เห็นถูกแล้วคิดทำ.............................สิ่งดี
เห็นผิดก็ขวาง"ดี".............................ทำชั่วเลวทราม
  ๗.ความ"วิจิกิจฯ"หก........................สงสัย
ลังเลพระรัตน์ตรัย............................ดีหรือ
สิ่งครอบงำใจต่ำ...............................ปัญญา
จึงปิดตาปรือจาก..............................วัฏฏะสงสาร
  ๘.ผ่านเจ็ด"ถีนะ"ความ....................หดหู่
จิตง่วง,ซึม,เกียจ,ท้อ.........................ห่อเหี่ยว
หมดยินดีกรูพร้อม............................เริ่มใหม่
เพียร,สติเปรียวมั่น...........................ถีนะหมดลง
  ๙.บ่ง"อุทธัจจะ"แปด.......................ฟุ้งซ่าน
จิตพลุ่ง,วุ่นวายไร้.............................สงบ
สติประสานใจ..................................มั่นคง
วุ่นวายสยบลง..................................จิตนิ่งเยือกเย็น
  ๑๐.เก้าเด่น"อหิริฯ".........................ไม่อาย
ทำผิดทางกาย,ใจ.............................วาจา
ไม่รู้ไหนฝ่ายเลว...............................หรือดี
ไม่เกลียดกายว่าผิด..........................ทำชั่วจนเคย
  ๑๑.เอ่ยชนทำบาปขาด....................ละอาย
และไม่เกลียดต่อบาป........................กรรมเลย
โลภะเกิดพ่ายบาป.............................ทันที
หากละอายเพ้ยบาป..........................ไม่ทำทั้งปวง
  ๑๒.บ่งสิบ"อโนตตัปฯ".....................ไม่กลัว
เกรงต่อบาปกรรมเลว........................ทั้งสิ้น
พฤติล่วงศีลมัวหมอง..........................แน่แท้
เขาเดินทางผินหลัง............................ไกลจากความดี
  ๑๓.ชี้พุทธ์องค์สอนหลัก...................กรรมฐาน
วิปัสส์นาเพื่อละ...................................กิเลส
จิตสงบพานพบ...................................ปัญญา
จิตห่างไกลเภทภัย..............................วัฏฏะเวียนวน
  ๑๔.ลำดับดลละกิเลส........................ทั้งสิบ
ขั้นพระอริยะ.......................................อุบัติ
"โสดาบัน"ลิบห่าง................................กิเลส
"วิจิกิจฯ"ชัดละ....................................พร้อม"ทิฏฐิ"ไกล
  ๑๕.ใช่"อนาคามี"...............................ละเพิ่ม
อีกหนึ่ง"โทสะ"แน่................................ประหาร
ที่เหลือเจ็ดเติมแล้................................อร์หันต์
ผู้เลิศห่างรานไกล................................กิเลสทั้งมวล ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : เรื่องของกิเลส(เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง) ๑๐ อย่าง: อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๘

กิเลส ๑๐ อย่าง=๑)โลภะ คือความโลภ ๒)โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ๓)โมหะ คือ ความหลง ๔)มานะ คือ ความถือตัว ๕)ทิฏฐิ คือ ความเห็น (ผิด) ๖)วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๗)ถีนะ คือ ความหดหู่ ๘)อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่าน ๙)อหิริกะ คือ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ๑๐)อโนตัปปะ คือ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป
วัฏฏะ,วัฏฏะสงสาร=การเวียนว่ายตายเกิด


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง ~ โคลงจิตรลดา
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, กันยายน, 2567, 09:35:42 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๘.จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ

โคลงสินธุมาลี

  ๑.ภิกษุดูชนมิ................................ฟังธรรม
เบื่อกำหนัดอยากนำ........................พ้นกาย
ธาตุสี่รวมประจำ.............................กอปรกาย
เพราะเห็นชัดจึงคลาย.....................ถอนไว
  ๒.แต่ไซร้ธรรม์ชาติเรียก................วิญญาณ
"จิต,มโน"มิชาญ...............................หน่ายพ้น
เหมือนกายพบเจนพาน.....................แน่แท้
เพราะฝังใจ,ยึดท้น............................ลูบคลำ
  ๓.จิต,ใจด่ำนั้นเป็น...........................ของเรา
"เราเป็น,ตัวตนเอง"เฝ้า.......................ใกล้ชิด
ธรรม์ดาชนมักเขลา...........................ขาดรู้
มิสามารถหน่ายจิต............................พ้นคลาย
  ๔.ชนมิกรายใกล้ธรรม.....................คิดว่า
"กาย"เป็นตัวตนดีกว่า........................"จิต"เป็น
กายยืนยาวกว่าหนา..........................ร้อยปี
แต่จิต,วิญญาณมิเห็น........................ได้เลย
  ๕.พุทธ์องค์เผยธรรม์ชาติ................เรียกใจ
หรือวิญญาณเกิดไว..........................ดับตาม
เกิดดับสลับไป..................................ตลอด
ทุกคืนวันได้ความ..............................เหมือนกัน
  ๖.ครันทรงเปรียบลิงป่า....................ท่องเที่ยว
จับ-ปล่อยกิ่งไม้เทียว..........................ไปเรื่อย
คล้ายจิต,ใจเกิดเปรียว........................แล้วดับ
วันคืนทำมิเนือย..................................เสมอ
   ๗.เจอคำจิต,มโนและ........................วิญญาณ
แปลคำเดียวกันงาน.............................นามธรรม
หมาย"ธาตุรู้"เกี่ยวสาน.........................รูปธรรม
ภาษิต"มโน"นำ.....................................ควบคุม
  ๘.กลุ่มคำนี้ใช้ใน...............................ธรรมต่าง
วิญญาณธาตุรู้พลาง............................โอภาส
เรียก"วิญญาณธาตุ"วาง.......................ธาตุแท้
ธรรม์ชาติสร้างเก่งกาจ.........................แน่นอน
  ๙.ช้อน"วิญญาณธาตุ"เป็น..................หนึ่งใน
หกธาตุกอปรกายไว............................."ดิน,น้ำ"
"ลม,ไฟ"ช่องว่างใด...............................กายา
เรียกอากาศธาตุล้ำ..............................สร้างตน
  ๑๐.ค้นเพิ่ม"วิญญาณ"หมาย...............ปรุงแต่ง
จากขันธ์ห้า,รูปแจง..............................สังขาร
เรียก"วิญญาณขันธ์"แฝง.....................เวท์นา
รู้แจ้งอารมณ์ผ่าน................................ห้าขันธ์
  ๑๑.ครัน"วิญญาณธาตุ"ของ...............สัตว์,คน
ธาตุรู้ไม่สูญชน....................................ตัณหา
กิเลสสะสมท้น.....................................มากมาย
เป็นสัตว์ติดข้องหนา............................ภพเวียน
  ๑๒.ที่เปลี่ยนวิญญาณธาตุ..................สถิตย์
ชนเร่งวิปัสสน์ชิด.................................เบื่อหน่าย
ถอนยึดกิเลสมิด..................................ด้วยญาณ
วิญญาณธาตุผันผาย...........................เลิกเกิด
  ๑๓.สิ่งเลิศ"จิต"คือจำ.........................คิด,รู้
มีอารมณ์รู้จำคู่....................................คิดนึก
"มโน"ธรรม์ชาติน้อมพรู.......................อารมณ์
"วิญญาณ"แจ้งอารมณ์ตรึก.................พิจารณ์
  ๑๔.การปลงจิตสงบ...........................ไม่ข้อง
ปรุงแต่ง,ยึดติดผอง.............................กิเลส
ความเห็นถูกครรลอง...........................ทุกกาล
จึงจะหมดภัยเภท.................................นานา ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา :สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๑๔
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๘-๑๐๙

ธาตุที่ประกอบเป็นกายมนุษย์,สัตว์=มี ๖ ธาตุ ได้แก่ ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,อากาศธาตุ,วิญญาณธาตุ
ขันธ์ ๕=๑)รูป,๒)เวทนา-ความรู้สึก ๓)สัญญา ความจำได้,หมาย,รู้ ๔)สังขาร การปรุงแต่ง ๕)วิญญาณ รู้แจ้งทางอารมณ์


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง ~ โคลงจิตรลดา
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, กันยายน, 2567, 09:37:00 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๙.อาหาร ๔ มีอะไรบ้าง?

โคลงมหาสินธุมาลี


  ๑.พุทธ์องค์ตรัสอาหาร.................นำผล
แก่ผู้เกิดแล้วยล.............................และสัตว์
เสาะหาที่เกิดตน............................อาศัย
อาหารเหตุเกิดชัด..........................พร้อมแหล่งเกิดแดน
  ๒.หนึ่งแก่น"กวฬิงฯ"......................อาหาร
ก้อนข้าวรับประทาน.......................ทั่วไป
สอง"ผัสสาหาร"พาน.......................กระทบ
อาหารหู,ตาไกล..............................รับรู้อารมณ์
  ๓.สามบ่ม"มโนสัญฯ".....................เจต์นา
ตั้งใจพูด,คิดหนา.............................ชั่ว,ดี
สี่"วิญญาณาฯ"พา...........................สู่ครรภ์
กับทวารหกมี..................................ตา,หู,ใจ,กาย
  ๔.ผาย"กวฬิงกาฯ".........................ข้าว,นม
อันโอชาพร่างพรม..........................หล่อเลี้ยง
ชีพสัตว์เติบโตสม...........................สืบไป
ขาดโอชาชีพเคียง..........................รูปกายแหลกผลาญ
  ๕.งาน"ผัสสาหาร"นำ.....................เวท์นา
สุข,ทุกข์หรือเฉยหนา......................กระทบ
ผัสสะต้นเหตุพา..............................รู้สึก
ขาดผัสสะเวท์นาจบ........................อารมณ์หมดลง
  ๖.บ่ง"มโนสัญเจตฯ".......................นำเกิด
"ปฏิสนธิฯ"เริด.................................มนุษย์
เทพ,พรหม,สัตว์ทั้งเปิด.....................อบาย
เจต์นาดี,ชั่วรุด.................................วิบากวิญญาณ
   ๗.การเกิดวิบากของ.....................วิญญาณ
ทั้งในภพนี้,หน้าสาน.........................เจต์นา
เจต์นาเลิกปรุงขาน..........................จะพ้น
การเห็น,ยินอีกหนา..........................หยุดเกิดทันที
  ๘.ชี้"วิญญาณาหาร".......................นำก่อ
ปฏิสนธิฯพอ.....................................เมื่อเกิด
"กัมมชรูป"รอ...................................ผลกรรม
รูปงาม,ทรามจะเพริศ.......................จากอดีตกรรม ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : อาหาร ๔ มีอะไรบ้าง? : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๖

สัตว์แสวงหาที่เกิด=สัตว์ที่กำเนิด ๔ แบบ ๑)อัณฑาชะ เกิดจากไข่ ๒)ชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ ๓)สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๔)โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น และโตทันที
อาหาร ๔=แบ่งเป็น ๑)กวฬิงการาหาร ได้แก่ อาหารที่กินเป็นคำๆ ที่พบทั่วไป ๒)ผัสสาหาร  อาหารคือผัสสะ  การถูกต้องทางตา,หู เป็นต้น เช่นอาหารหู อาหารตา ๓)มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความจงใจทำกรรมดี,ชั่ว ย่อมเป็นอาหารให้หล่อเลี้ยง เวียนว่ายตายเกิด ๔)วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ หมายความรู้อารมณ์ว่าเห็นรูปฟังเสียง
อบาย=คือภพที่หาความสุขได้ยาก มี ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ปฏิสนธิวิญญาณ=คือปฏิสนธิจิตเป็นครั้งแรก และเป็นวิญญาณทำหน้าที่รู้อารมณ์ ๖ ในองคประกอบของขันธ์ห้าที่จะเจริญอย่างสมบูรณ์ หน้าที่ของปฏิสนธิวิญญาณมี ๘ อย่าง ๑)รับรู้อารมณ์ทางมโนทวาร เรียก มโนวิญญาณ ๒) รับรู้อารมณ์ทางตา เรียก จักขุวิญญาณ ๓)รับรู้อารมณ์ทางหู เรียก โสตวิญญาณ ๔)รับรู้อารมณ์ทางจมูก เรียก ฆานะวิญญาณ ๕)รับรู้อารมณ์ทางลิ้น เรียก ชิวหาวิญญาณ ๖)รับรู้อารมณ์ทางกาย เรียก กายวิญญาณ ๗)ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เรียกว่า จุติจิต ๘)ทำหน้าที่เกิดในภพใหม่เรียก ปฏิสนธิจิต เป็นกระบวนการข้ามภพชาติตาม ปฏิจจสมุปบาท และกฏของไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นวัฏจักรจนกว่าจะนิพพาน
กัมมชรูป=รูปที่เกิดจากกุศลกรรม และอกุศลกรรม ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ กัมมชรูปมีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายที่มีรูปขันธ์ ๕ ได้แก่ เทวดา พรหม และสัตว์อื่น ยกเว้นอรูปพรหม ๔ กัมมชรูปจะเริ่มเกิดตั้งแต่ปฏิสนธิ และเกิดทุกขณะของจิตทุกๆดวง จนเมื่อใกล้ตายเกิดจุติจิต กัมมชรูปใหม่ไม่มีเกิดอีก


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๕๖.พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง ~ โคลงจิตรลดา
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, กันยายน, 2567, 08:30:20 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๐.ผัสสะ(ความถูกต้อง) ๗ มีอะไรบ้าง?

โคลงนันททายี

  ๑.ผัสสะคือการที่..........................."ตา"กรู
"จมูก,ลิ้น,หู,กาย"..............................กระทบ
"รูป,เสียง,กลิ่น"ชู"รส"......................."สัมผัส"
"ธรรมมารมณ์"ครบรู้........................วิญญาณ
  ๒.ด้านผัสสะแบ่งเจ็ด......................แน่ชัด
"จักขุสัมผัส"หนึ่ง..............................กระทบ
"ตา"เห็น"รูป"จัดเรียก........................รับรู้
แจ้งอารมณ์จบเกิด............................"จักญาณฯ"
  ๓.ผ่าน"โสตสัมผัส"สอง...................."หู"ยิน
รับ"เสียง"ฟังชินเกิด..........................."วิญญ์โสตฯ"
"ฆานะสัมฯ"กลิ่นสาม.........................จมูก
เกิดวิญญาณโลดเรียก......................"ฆานาฯ"
  ๔."ชิวหาสัมผัส"สี่............................ถูกต้อง
ทาง"ลิ้น,รส"ลองเลิศ........................."วิญญ์เกิด"
"กายสัมผัส"ครองห้า.........................กระทบ
รู้ร้อน,เย็นเพริดวิญ-...........................ญาณกาย
  ๕.ฝ่าย"มโนธาตุ"หก........................สัมผัส
กระทบใจชัดเกิด.............................."มโนญาณฯ"
เจ็ด"วิญญ์ธาตุ"คัดรู้..........................อารมณ์
ทั้งหกทวารแล..................................ทางใจ
  ๖."ผัสสะ"ไซร้ประสาน....................."อารมณ์"
กับ"จิต"ร่วมกลมเกลียว......................สามธรรม
เช่น"ตา,รูป"บ่มจัก-.............................ขุญาณฯ
ประชุมกันนำเกิด...............................สัมผัส
  ๗.ชัดด้วย"หู,เสียง"ร่วม....................."โสตญาณฯ"
"โสตสัมผัส"พานเกิด..........................ทันที
เหมือน"ลิ้น,รส"ซ่านจูง........................สัมผัส
ทำนองเดียวนี้สัม-...............................ผัสครอง ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : ผัสสะ(ความถูกต้อง) ๗ มีอะไรบ้าง? : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๖

อายตนะ(ที่ต่อ)ภายใน ๖=คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก ๖=คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) และ ธรรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้)
ผัสสะ = คือการที่อายตนะภายใน กระทบกับ อายตนะภายนอก เกิดวิญญาณ ทั้งสามธรรมประชุมกัน เกิด ผัสสะ เช่น จักขุ(ตา) เห็น รูป เกิด จักขุวิญญาณ แล้วเกิด จักขุสัมผัส เป็นต้น
ผัสสะ ๗=ประกอบด้วย ๑)จักขุสัมผัส- ความถูกต้องทางตา  ๒)โสตสัมผัส-ความถูกต้องทางหู  ๓)ฆานสัมผัส-ความถูกต้องทางจมูก ๔)ชิวหาสัมผัส-ความถูกต้องทางลิ้น ๕)กายสัมผัส-ความถูกต้องทางกาย ๖)มโนธาตุสัมผัส-ความถูกต้องทางธาตุคือใจ ๗)มโนวิญญาณธาตุสัมผัส-ความถูกต้องทางธาตุคือความรู้ทางใจ
จักญาณฯ=จักขุวิญญาณ
วิญญ์โสต=โสตวิญญาณ
ฆานาฯ=ฆานวิญญาณ
วิญญ์เกิด=ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณกาย=กายวิญญาณ
มโนธาตุฯ=มโนธาตุสัมผัส
มโนญาณฯ=มโนธาตุวิญญาณ
วิญญธาตุฯ=วิญญาณธาตุสัมผัส