บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, กันยายน, 2567, 10:25:52 AM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, กันยายน, 2567, 10:25:52 AM
(https://i.ibb.co/ZYq7Wdc/Screenshot-20240818-130155-LINE.jpg) (https://ibb.co/txVF8BY)

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?

โคลงมหานันททายี


  ๑."เวท์นา"รู้สึกผ่าน........................อายะฯ
เมื่อใน-นอกกระทบ..........................รับรู้
สิ่งหน่วงจิตจะรู้...............................อารมณ์
เช่น"เสียง"กับ"หู"รับ........................ได้ฟังได้ยิน
  ๒.เวท์นาชินเกิดทาง......................ใจ,กาย
เหตุ,ปัจจัยกรายเกิด........................ขึ้นมา
จะอยู่หรือวายด้วย...........................ปัจจัย
อริย์มรรคหนาจึง..............................ดับได้สิ้นเชิง
  ๓.เบิ่ง"เวท์นา"นำพา........................มวลสัตว์
ชีพวนไม่ปัดห่าง...............................วัฏฏะ
นำสู่ภพชัดดี,....................................ไม่ดี
แต่ยังเป็นธรรมประเสริฐ...................ส่งพ้นสังสาร
  ๔.ด้านเวท์นาแยกได้......................เจ็ดถึง
"จักขุเวทฯ"หนึ่งรู้..............................ทางตา
สอง"โสตเวทฯ"พึงรู้..........................ด้วยหู
สาม"ฆานเวทฯ"หนาทาง...................จมูกสัมผัส
  ๕.สี่คัด"ชิวหาเวทฯ"นำ....................กับลิ้น
ห้า"กายเวทฯ"ชินกาย........................กระทบ
"มโนเวทฯ"จินต์หก............................ทางใจ
"มโนวิญญ์"นบเจ็ด............................สัมผัสหทัย
  ๖.ใครเพ่งธรรมเจ็ดด้วย..................ไตรลักษณ์
ทุกข์,ไม่เที่ยงจักเป็น.........................อนัตตา
มั่นในธรรมหลักมิ.............................หวั่นไหว
เชื่ออย่างนี้หนาเรียก........................"สัทธาสารี"
   ๗.ใครชี้ธรรมนี้ด้วย........................ปัญญา
เขาเรียก"ธัมมารี"..............................แน่นอน
ใครแจ้งธรรมหนาไม่.........................ตกต่ำ
โสดาบันจรไกล................................สู่อรหันต์
  ๘.เวท์นานั้นทั้งเจ็ด.........................ควรคลาย
สุข,ทุกข์,เฉยหน่ายลง.......................ละทิ้ง
ทั้งกำหนัดวายหมด...........................จิตพ้น
รู้ด้วยตนจริง"ชาติ"............................ไม่มีหมดลง ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๖-๑๑๗

เวทนา ๗=เวทนาเป็น นามธรรม คือ ความรู้สึก,การเสวยอารมณ์ แบ่งเป็น ๗ คือ ๑)จักขุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางตา ๒)โสตสัมผัสสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางหู ๓)ฆานะสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากการสัมผัสทางจมูก ๔)ชิวหาสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ อันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น ๕)กายสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุยทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางกาย ๖)มโนธาตุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ ๗)มโนวิญญาณธาตุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือความรู้ทางใจ
อายะฯ= อายตนะ (ที่เชื่อมต่อ)ภายใน ๖=คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย,ใจ
อายตนะ ภายนอก ๖=คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส)และ ธรรมารมณ์
วัฏฏะ=วัฏฏสงสาร คือวงรอบการเวียนว่ายตายเกิด
สังสาร=สังสารวัฏ คือวงรอบการเวียนว่ายตายเกิด
สัทธาสารีฯ=สัทธนุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา,พระอริยบุคคลตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า
ธัมมารีฯ=ธัมมานุสารี ผู้อบรมอริยมรรคอันมีปัญญาให้เกิดขึ้น ปฎิบัติทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ชาติ=การเกิด

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)



หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, กันยายน, 2567, 06:52:27 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๒.สัญญา(ความจำ) ๗ มีอะไรบ้าง?

โคลงทีฆปักข์

  ๑."สัญญา"ธรรม์ชาติจำ..................หมายรู้
เช่นสีต่างแยกกรู..............................จำได้
มีธรรมสามดูงาน..............................สัมพันธ์
"เวท์นา"รู้ไซร้"วิญญาณ"..................."จำ"ตาม
  ๒.ถามสัญญาจำใด.........................สิ่งไหน
วิญญาณรู้แจ้งใส..............................ครบถ้วน
ที่จำเรื่องได้เหตุ................................ผัสสะ
"สัญญา"ล้วนแตกต่างกัน..................เจ็ดนา
  ๓.หนึ่งว่า"จำ"เกิดจาก.....................สัมผัส
"จักขุ"ทางตาชัด...............................เห็นร่าง
สอง"โสตสัมฯ"วัดเสียง......................ด้วยหู
"ฆานะฯ"พร่างจมูก............................แน่จำ
  ๔.คำ"ชิวหาฯ"สี่จำ...........................ผ่านลิ้น
ห้า"กายสัมฯ"จำสิ้น...........................ทางกาย
"มโนธาตุ"ชินด้วย.............................หทัย
"วิญญ์ธาตุฯ"กรายจำรู้......................ทางใจ
  ๕.จะดับไซร้สัญญา.........................ต้องดับ
ด้วยผัสสะโดยตรับ...........................อริย์สัจ
เพียรพฤติธรรมจับมั่น.......................มิท้อ
นี่ทางตัดกิเลส..................................หมดลง
   ๖.บ่งสัญญาเหตุและ......................ปัจจัย
ที่สัญญาเกิดไว.................................มิเที่ยง
ทั้งผองควรไสหลีก............................เบื่อหน่าย
กำหนัดเลี่ยงหยุดเกิด........................ทันควัน
  ๗.สัญญา,ปัจจัยเกิด........................เป็นทุกข์
และอนัตตารุก..................................ไป่ตน
อย่าเพลิดเพลินสุขเลย.....................ควรหน่าย
ทำลายพ้นกิเลส................................สลาย
  ๘.หมายสัญญาส่งให้.......................ตริตรอง
คิดชั่วสัญญาครอง............................ทั้งหมด
คิดฆาต,เบียนจองไกล.......................จาก"จำ"
คิดดีจดก็จาก....................................สัญญา
  ๙.ว่า"สัญญาขันธ์"คือ......................อย่างไร
ความจำ,หยาบ,นอก,ใน.....................กาลหน้า
ทราม,ประณีต,ใกล้ไกล.....................ขณะนี้
อีกมากหนาเรียกสัญ-........................ญาขันธ์
  ๑๐.ครันสัญญาในเกิด.....................ที่ตน
กรรมซึ่งตัณหาดล.............................ยึดครอง
จำได้มากล้นผ่าน...............................ตา,หูฯ
ส่วน"นอก"ของผู้อื่น............................ตนจำ
  ๑๑.พร่ำ"สัญญาหยาบ".....................จำผ่าน
"ตา,หู,จมูก"กราน................................"กาย,ลิ้น"
จำจาก"ใจ"ขานว่า...............................ละเอียด
กรรมชั่วสิ้นเรียกหยาบ.......................แน่นอน
  ๑๒.ย้อน"ทำดี"และกลาง..................ชั่ว,ดี
จำละเอียดทวี....................................บ่งหนา
สัญญาเกี่ยวชี้สุข...............................เฉยเฉย
เป็นสัญญาละเอียด............................จดจำ    
  ๑๓.ด่ำมุ"สมาบัติ".............................ละเอียด
ตรงข้ามผู้ไม่เฉียด............................."หยาบ"จำ
อารมณ์ผู้เกลียดอา-..........................สวะ
ละเอียดล้ำจำแท้...............................สัญญา

(ยังมีต่อค่ะ)


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 30, กันยายน, 2567, 08:57:21 AM
(ต่อหน้า ๒/๒)ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๒

๑๔.ถ้าจำข้องทุกข์,สุข.......................เรียกทราม
ไม่ทั้งสองจะลาม................................ประณีต
จำอารมณ์กามกิ-................................เลสเรียก
ชั่วเลวกีดความดี.................................ละออ
  ๑๕.บ่อเกิด,แปรสัญญา.....................เสื่อมจำ
"อนุปัสส์ญาณ"นำ...............................ปัญญา
สัญญาเกิด,กรำเสื่อม...........................เหตุใด
มีเหตุห้าสัญญา...................................เกิดตรง
  ๑๖.บ่งหนึ่ง"อวิชชา"..........................เกิดแล้ว
สัญญาจำเกิดแจว...............................ตามมา
สองตัณหาแน่วเกิด.............................จำเกิด
สาม"กรรม"มาเกิดสัญ-........................ญาตาม
  ๑๗.ความสี่"ผัสสะ"เกิด......................"จำ"เกิด
ห้า,สัญญาขันธ์เกิด..............................ครบหนา
สัญญาขันธ์เริดเสื่อม...........................ดับเหตุ
"อวิชชา"หนึ่งดับ................................."จำ"ปลง
  ๑๘.บ่งสอง"ตัณหา"ดับ......................"จำ"ดับ
สาม"กรรม"ละสิ้นลับ...........................สัญญา
สี่"ผัสสะ"ฉับตัด..................................."จำ"หาย
เปลี่ยนแปลงหนาสัญญา-....................ขันธ์เลือน
  ๑๙.เตือนเหตุเกิด,ดับสัญ-..................ญาจำ
มีเหตุ,ปัจจัยกระทำ..............................มิใช่
เกิด,ดับเองซ้ำด้วย...............................ตัวมัน
อย่าคิดไพล่เยี่ยงนี้..............................ผิดหนา ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๗

สัญญา=ความจำได้ หมาย รู้,ระบบความจำคน,สัตว์,สิ่งของ และเหตุการณ์ต่างๆได้ แบ่ง ออกเป็น ๗ อย่าง
๑)จักขุสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางตา
๒)โสตสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางหู  
๓)ฆานสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก
๔)ชิวหาสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
๕)กายสัมผัสชา สัญญา -ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางกาย
๖)มโนธาตุสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ
๗)มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา สัญญา-ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ
ผัสสะ=สัมผัส
กำหนัด=ความพอใจ ยินดี
อนัตตา=ไม่ใช่ตน
สัญญาขันธ์=ส่วนประกอบของชีวิตที่เป็นความจำได้ หมายรู้ กำหนดรู้อาการและลักษณะต่างๆของอารมณ์ แบ่งออกเป็น ๖ ทางแห่งการรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สมาบัติ=ภาวะที่จิตสงบ ประณีต บรรลุคุณวิเศษขั้นสูงด้วยอำนาจแห่งการเข้าสมาธิ เช่น ฌานสมาบัติต่างๆ
อาสวะ=อาสวะกิเลส คือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว มี ๔ คือ  ๑)กาม ความติดใจรักใคร่ในกามคุณ ๒)ภพ ความติดอยู่ในภพ อยากเป็นโน่น เป็นนี่ ๓)ทิฏฐิ ความเห็นผิด ๔)อวิชชา ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมัวเมา คือไม่รู้ อริยสัจ ๔
อนุปัสส์ญาณ=คือ ญาณที่เกิดจาก การพิจารณากาย ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์มิใช่สุข เป็นอนัตตามิใช่อัตตา ตัวตน โดยเบื่อหน่าย ไม่ยินดี เพื่อดับทุกข์มิใช่ก่อทุกข์
ตัณหา=ความทะยานอยาก มี ๓ คือ ๑)กามตัณหา ความอยากในกาม ๒)ภวตัณหา ความอยากได้ ๓)วิภวตัณหา ความไม่อยากได้


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 01, ตุลาคม, 2567, 05:30:01 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๓.เจตนา(ความจงใจ) ๗ มีอะไรบ้าง?

โคลงรัสสปักข์

  ๑."เจต์นา"คือจงใจ...................มุ่งหมาย
เป็น"เจตสิก"กราย......................ตามจิต
จงใจปรุงแต่งหลาย....................กอปรกรรม
พุทธ์พจน์เจต์นาคล้าย................ตัวกรรมนั่นเอง
  ๒.เพ่งจงใจทำชั่ว......................คราใด
เป็นอกุศลไว...............................กรรมเกิด
ทำดีกุศลใส................................ก่อกรรม
กรรมคือกระทำไซร้....................ทันทีเกิดผล
  ๓.ชนทำกรรมดี,เลว..................มิสูญ
โอกาสเหมาะไพบูลย์..................ผลตาม
ควรแก่เหตุเกื้อกูล.......................ที่ทำ
สะสมความดีพูน.........................ประโยชน์แน่นอน
  ๔.จงใจจรชักพา.......................จิตมุ่ง
น้อมนำจิตแต่งปรุง......................ก่อกรรม
สะสมบ่อยจรุง.............................มากขึ้น
ดี,ชั่วทุกอย่างฟุ้ง..........................วิบากตามมา
  ๕.เจต์นาว่ามีอยู่.........................เจ็ดอย่าง
หนึ่ง,จงใจผ่านทาง.......................จักขุ
สอง,จงใจผ่านพร่าง.....................โสตเจตุฯ
สาม,จงใจผ่านวาง........................ฆานะเจต์นาฯ
   ๖.สี่,พาสัมผัสทาง.....................ชิวหาฯ
"กายสัมผัสชา"ห้า........................ที่กาย
หก,"มโนธาตุ"จ้า...........................ด้วยใจ
เจ็ด,"มโนวิญญ์ฯ"คว้า....................เกิดรู้ทางใจ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๗

เจตนา=คือ ความจงใจ ตั้งใจ แบ่งออกเป็น ๗ อย่าง
๑)จักขุสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางตา
๒)โสตสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางหู  
๓)ฆานสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก
๔)ชิวหาสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
๕)กายสัมผัสชาเจตนา -ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางกาย
๖)มโนธาตุสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ
๗)มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เจตนา-ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ
เจตสิก=คือ สิ่งที่ประกอบจิตให้มีอาการเกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์อย่างเดียวกับจิต


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, ตุลาคม, 2567, 09:22:48 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๔.จิต ๗ มีอะไรบ้าง

โคลงวิชชุมาลีแผลง

  ๑.จิตคือธรรม์ชาติรู้......................อารมณ์
ถูกปรุงแต่งด้วยเหตุ........................ปัจจัย
เพื่อทำหน้าที่บ่ม..............................ชั่วคราว
เกิดแล้วดับไปเรื่อย.........................สืบสาน
  
   ๒.การเกิดเพราะ"อายะ-................ตนะ"
นอก,ในกระทบกัน...........................เกิด"จิต"
หรือ"เจ็ดวิญญาณ"ปะ......................ตั้งอยู่
แปรปรวนเร็วอิดโรย.........................ดับลง

  ๓.บ่งตาเห็นรูปเกิด........................."จักวิญฯ"
หูฟังเสียงเกิด"โสต...........................วิญญาณ
จมูกดมได้กลิ่น................................"ฆาวิญฯ"
ลิ้นชิมรสซ่านเกิด............................."ชิววิญฯ"

  ๔.กายชินสัมผัสเกิด........................."กายวิญฯ"
จิตมี"คิด,มโน-....................................ธาตุรู้
กระทบ"ธรรม์รมณ์ฯ"ชิน...................."มโนวิญฯ"
จิตมีเจ็ดพรูพร่าง...............................วิญญาณ

  ๕.จะพานพบจิตได้..........................จากขันธ์
จิตย้ำสี่ขันธ์คือ..................................เวท์นา
สัญญา,สังขารครัน............................และวิญฯ
ทุกข์ขันธ์จะมาปรุง............................แต่งกัน

  ๖.พลันเป็นปัจจัยกอปร....................ด้วยจิต
แปรปรวนตามปัจจัย..........................เร็วยิ่ง
ตามไตรลักษณ์เป็นนิตย์....................ไม่เที่ยง
เกิดและดับจริงแท้.............................เสมอ

  ๗.เจอจิตเปรียบปานได้....................คล้าย"เงา"
สิ่งว่างเปล่าเกิดแล้ว...........................เห็นรูป
มีปัจจัยครบเขา..................................จึงเกิด
ไม่ครบองค์วูบดับ...............................ลับไป

  ๘.ไซร้ตัวอย่างแสงไฟ......................สาดส่อง
แสงกระทบวัตถุ.................................เกิดเงา
พอแสง,วัตถุพร่อง..............................ไร้เงา
จิตเปรียบ"เงา"เขาไร้..........................ตัวตน

  ๙.ยลจิตคล้ายเงาเห็น.......................มีอยู่
แต่หาตัวตนแล้ว..................................ไม่มี
เพราะสภาพมองดู...............................ไป่ตน
อนัตตาที่ไร้.........................................ตัวเรา

  ๑๐.เท่าเทียมขันธ์ห้าพร้อม................ตัณหา
ทุกข์,สุข,โลภโกรธ,หลง.......................คือเงา
มีเหตุปัจจัยมา.....................................ถ้วนเกิด
ปัจจัยขาดเร้าจึง..................................ดับหนา ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๘

จิต ๗=จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เช่น เมื่อประสาทตากระทบกับรูป ก็เกิดการเห็น เป็นต้น จิตจะเกิดและดับอย่างรวดเร็วทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อไปรับอารมณ์แต่ละทวาร การที่จิตดับลง ๑ ครั้ง เท่ากับ ตาย ๑ ครั้ง เรียก ขณิกมรณะ เพราะจิตเกิดดับสืบต่อกันเร็วมาก ทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นตัวเรา ของเราตลอดเวลา ปัญญาที่จะเห็นแจ้งสภาพธรรม ต้องใช้การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จิตแบ่งได้ ๗ อย่าง คือ ๑)จักขุวิญญาณ -ความรู้อารมณ์ทางตา ๒) โสตวิญญาณ-ความรู้อารมณ์ทางหู ๓)ฆานวิญญาณ -ความรู้อารมณ์ทางจมูก ๔)ชิวหาวิญญาณ-ความรู้อารมณ์ทางลิ้น  ๕)กายวิญญาณ-ความรู้อารมณ์ทางกายจ ๖)มโนธาตุ ธาตุคือใจ ๗)มโนวิญญาณธาตุ -ความรู้อารมณ์ทางใจ
อายตนะภายใน ๖=คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก ๖=คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้)
ธรรม์รมณ์=ธรรมารมณ์ คือ สิ่งที่ใจรู้
ไตรลักษณ์=คือลักษณะ ๓ ประการ ที่กำหนดรู้ความจริงของสภาวะธรรมทั้งหลายที่เป็นอย่างนั้น
๑)อนิจจัง ความเป็นของไม่เที่ยง คงอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก ๒)ทุกขัง ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของทนอยู่ไม่ได้ ๓) อนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน
ขันธ์ห้า=ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, ตุลาคม, 2567, 08:56:19 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๕.ปฏิบัติได้แค่ไหน อะไรสงบระงับ?

โคลงจิตรลดาแผลง

  ๑.ผู้เริ่มกัมมัฏฐาน.........................ฝึกใหม่
ยังมี"วัตถุฯ,กิเลสฯ".........................เต็มแปล้
มิสงัดใจเรื่อง..................................อกุศล
หวัง"ฌาน"สลัดแล้..........................กามหลาย
   ๒.กามหมาย"วัตถุกาม"................รูปต่าง
ที่น่ารักพอใจ..................................ใฝ่หา
"กิเลสกาม"พร่างรวม......................ฉันทะ
อกุศลกรรมพา...............................กำหนัด
  ๓.ชัด"นิวรณ์"ห้าขวาง.................."สมถะ"
ให้ท้อมิลุธรรม...............................ได้เลย
หนึ่ง"กามฉันทะ"หลง.....................รักใคร่
สอง"อาฆาต",โกรธเผย.................."ริษยา"
  ๔.ว่า"ถีนะมิทธะ"...........................ท้อแท้
เกียจคร้าน,ง่วงเหงา,ซึม..................หมดหวัง
สี่"อุทธัจจ์ฯ"แล้ใจ...........................ฟุ้งซ่าน
ห้า"วิจิกิจฯ"ยัง................................สงสัย
  ๕.ใจมั่นบริกรรม...........................ภาวนา
สติกำหนดลม.................................หายใจ
"วิตก,ตรึก"พาแน่ว...........................สมาธิ
"วิจาร,ตรอง"นิ่งใน...........................อารมณ์
  ๖.เมื่อบ่มในอารมณ์........................แนบใจ
"ปีติ,อิ่มใจ"ช่วย................................จิตคง
ณ สมาธิ์ได้นาน...............................สุขเกิด
"เอกัคคตาฯ"ส่ง................................หนึ่งเดียว
   ๗.เปรียว"อุปจาระฯ"......................ลำดับ
"อัปปนาฯ"ภาวนา.............................ปฐมฌาน
"วาจา"ระงับไป.................................สิ้นเชิง
จิตบริสุทธิ์กาล.................................วางเฉย
  ๘.ผู้เกย"ทุติย์ฌาน".......................ที่สอง
วิตก,วิจารย่อม.................................สยบ
เหลือปีติครองพร้อม........................."เอกัคฯ"
ใจเห็นขันธ์ห้าครบ............................ไม่คง
  ๙.บ่งผู้ถึงตติย์-................................ฌาณสาม
ปีติครันหมดแล้ว................................ระงับ
ยงสติ,ความสุข..................................สัมป์ชัญฯ
อาสวกิเลสลับ....................................เร็วไว
  ๑๐.ไซร้หากไม่สิ้นอาส-....................วกิเลส
เพราะตายก่อนก็ล่วง..........................โอปปาฯ
สถิตย์วิเศษชั้น...................................รูปพรหม
ไม่กลับคืนโลกหล้า.............................อีกเลย
  ๑๑.เผยผู้เข้า"จตุต์"...........................ฌานสี่
ลมหายใจเข้า-ออก..............................สงบ
อุเบกขาที่วาง......................................สติใส
ไร้ทุกข์ไร้สุขจบ.................................."อาสวาฯ"
  ๑๒.คราลุฌานสี่เป็น..........................รากฐาน
วิปัสสนาฆ่า.........................................กิเลส
เพ่งกายไม่พานเที่ยง...........................รู้แจ้ง
เพราะปัญญาจงเจตน์..........................อริย์วงศ์


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, ตุลาคม, 2567, 05:28:21 PM

(ต่อ ๖๕.ปฏิบัติได้แค่ไหน อะไรสงบระงับ?)

  ๑๓.ทรง"สัญญาเวทยิตฯ"..................สมาบัติ
หมายดับจิต,เจต์สิก.............................ทั้งมวล
ใช้พลังชัดด้วย....................................สมถะ
และวิปัสส์นาควร.................................แน่แล
  ๑๔.แท้"สัญญาเวทยิต-......................นิโรธ"
หรือ"นิโรธสมา-...................................บัติ"คง
ฌานเก้าจะโชติช่วง.............................เฉพาะ
อร์หันต์,อนาฯตรง................................เจ็ดวัน
  ๑๕.ครันสัญญาเวทยิตฯ.....................สงบ
"สัญญา,จำ"และ"เวท์นา........................รู้สึก"
กายและใจครบสอง.............................ปราศรู้
มิใช่นิพพานลึก.....................................อย่างใด
  ๑๖.ใกล้"พระขีณาสพ"........................อร์หันต์
ผู้หมดอาสวะ.........................................สิ้นแล้ว
ราคะ,โลภครันพร้อม.............................โทสะ
เครื่องหมักดองผองแคล้ว......................หมดไป ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๖๙
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๘

วัตถุฯ=วัตถุกาม คือ วัตถุอันน่าใคร่ ชวนให้อยากได้ ได้แก่ กามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เช่น ดอกไม้สวย เสียงที่ไพเราะ
ฌาน=คือการเพ่งหรือการเผาเพิ่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ จนกระทั่งจิตปราศจากนิวรณ์เข้าถึงฌานได้  ผู้ปฏิบัติจะต้องเจริญกัมมัฏฐานแนวสมถะ แม้ยังขจัดกิเลสไม่ได้ แต่เป็นพื้นฐานสู่วิปัสสนากรรมฐาน
นิวรณ์ ๕=คือเครื่องกั้น หรือกลุ่มอารมณ์ทางความคิด ที่ปิดกั้นมิให้บรรลุความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ลุธรรมไม่ได้ หรือต้องเลิกล้มไป มี ๕ อย่างคือ ๑)กามฉันทะ เป็นกลุ่มอารมณ์ หลง รักใคร่ ความปรารถนา ๒)พยาบาท ปองร้าย อารมณ์ โกรธ เกลียด แค้น ริษยา ดูหมิ่น ขัดเคือง ๓)ถีนะมิทธะ ง่วงเหงา หดหู่ เกียจคร้าน ท้อแท้ หมดหวัง ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ กลุ่มอารมณ์ กังวล ระแวง ไม่สงบนิ่ง ๕)วิจิกิจฉา ลังเลสงสัย กลุ่มอารมณ์ กลัว ไม่มั่นใจ
อุปจาระฯ=อุปจารภาวนา คือ ภาวนาขั้นจวนเจียน, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอุปจาระ ได้แก่การเจริญกรรมฐานต่อไป ถึงขณะที่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นขณะเพ่งวัตถุก็ดี นิวรณ์สงบไปก็ดี นับแต่ขณะนั้นไปจัดเป็นอุปจารภาวนา
อัปปนาฯ=อัปปนาภาวนา คือ ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ ฝึกสมาธิถึงขั้นอัปปนาภาวนา เป็นขั้นบรรลุปฐมฌาน
ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน  คือ ฌานที่สอง ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง)  สงบระงับ
ตติย์ฌาน=ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ
สัมป์ชัญฯ=สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ
โอปปาฯ=โอปปาติกะ คือ ผู้ที่ผุดขึ้นโดยอาศัย อดีตกรรม ไม่ต้องมีพ่อแม่ ตายก็ไม่มีซากปรากฏ ได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย
จตุต์=จตุตถฌาน คือ ฌาน ๔ ซึ่ง ลมหายใจเข้าออก สงบระงับ
อาสวาฯ=อาสวกิเลส
ขันธ์ห้า=ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สัญญาเวทยิตฯ=สัญญาเวทยิตนิโรธ(หรือ นิโรธสมาบัติ) คือการดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์) การเข้าสู่องค์ฌาน กายสังขารและจิตตสังขารจะระงับ แทบไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกาย,ใจ เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า และจะระงับทุกขเวทนาทางกายได้
เจต์สิก=เจตสิก คือธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่างๆ อาการที่ประกอบกับจิตมีลักษณะ ๔ ประการ ๑)เกิดพร้อมกับจิต ๒)ดับพร้อมกับจิต ๓)มีอารมณ์เดียวกับจิต ๔)อาศัยวัตถุเดียวกับจิต
อนาฯ=พระอนาคามี
พระขีณาสพ=พระอรหันต์ คือผู้สิ้นอาสวะ กิเลสที่ดองสันดาน ผู้ที่ ราคะ(ความกำหนัด ยินดีหรือความติดใจ),โทสะ(ความคิดประทุษร้าย),โมหะ(ความหลง) ย่อมสงบระงับ