บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, ตุลาคม, 2567, 08:44:34 AM



หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, ตุลาคม, 2567, 08:44:34 AM
(https://i.ibb.co/D4QJSKP/Screenshot-20241006-111121-Chrome.jpg) (https://ibb.co/VVT1PB0)
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น

โคลงสินธุมาลีแผลง

  ๑.พุทธ์องค์ตรัสความดับ................หมดไป
ของเครื่องปรุงแต่งใน.......................บุคคล
มีสิบเรียงรายไกล.............................บำเพ็ญ
ตามฌานที่ตนลุ................................เรียงกัน

    ๒.ครันหนึ่งปฐมยาม.......................ลุแล้ว
"วาจา"จะดับแผ่ว...............................หมดราน
"ทุติย์ฯ"ฌานสองแคล้ว......................เลิกปรุง
วิตก,วิจารแล.....................................ดับลง

  ๓.บ่ง"ตติย์ฌาน"สาม........................ระงับ
"ปีติ,อิ่มใจ"นับ....................................หมดสิ้น
"จตุต์ฌานฯ"สี่ลับ...............................หายใจ
ลมเข้า-ออกปลิ้นรอน.........................ดับวาย

  ๔.ฉายสู่"อรูป์พรหม".........................ที่ห้า
"อากาสาฯ"เพ่งหา...............................อากาศ
ที่สุดมิได้หนา.....................................พลันดับ
"รูปสัญญา"คลาดแคล้ว.......................เลิกรา
..
   ๕.คราหกผู้เข้าสู่..............................."วิญญาฯ"
เพ่งวิญญาณสุดหา..............................มิได้
"อากาสัญญาฯ"...................................หมายจำ
เลิกกำหนดไซร้เลย..............................หมดลง

   ๖.เจ็ดผู้ทรง"อากิญฯ"........................เพ่งมั่น
ไม่มีอะไรครัน......................................แม้น้อย
"วิญญาสัญญาฯ"บั่น.............................ดับลง
กำหนดหมายคล้อยไป..........................แน่นอน

   ๗.ผู้จรแปด"เนว์สัญฯ".........................ได้เพ่ง
สัญญาจำได้เคร่ง..................................หมายว่า
ใดไม่ดีก็เร่ง..........................................ให้พร้อม
"อากิณสัญญาฯ"ดับ..............................สิ้นไป

  ๘.เก้าไซร้ลุ"สัญญา-............................นิโรธ"
"สัญญา,จำได้"โลด...............................ดับพร้อม
"เวท์นา"เสพทุกข์โฉด.............................สุขรวม
สองอย่างดับค้อมคล้อย..........................หมดลง

  ๙.สิบบ่งผู้ลุ"ขี-.....................................ณาสพ
"อาสวกิเลส"จบ......................................อรหันต์
"ราคะ,โลภ"สลบ.....................................โทสะ
ทั้งสามดับพลันแล้..................................จีรัง ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๖๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๘-๑๑๙
 
ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน  คือ ฌานที่สอง ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง)  สงบระงับ
ตติย์ฌานฯ=ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ
จตุต์ฌาน=จตุตถฌาน คือ ฌาน ๔ ซึ่ง ลมหายใจเข้าออก สงบระงับ
อรูปพรหม=พรหมที่ไม่มีรูป
อากาสาฯ=ผู้เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง
วิญญาฯ=ผู้เข้าสู่ วิญญาณัญ-จายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
อากาสัญญาฯ=อากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญฯ=ผู้เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
เนว์สัญฯ=ผู้เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตน ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง
สัญญานิโรธฯ=ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้
อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ
ขีณาสพ=พระอรหันต์ คือผู้สิ้นอาสวกิเลส จะดับทั้ง  ราคะ(ความกำหนัด ยินดีหรือความติดใจ),โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และ โมหะ(ความหลง) ลงได้


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, ตุลาคม, 2567, 09:01:10 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๗.ปุถุชนกับพระอริยะต่างกันอย่างไร?

โคลงนันททายีแผลง

  ๑.พุทธ์เจ้าตรัสความต่าง................บุคคล
เหล่าปุถุชนและ...............................อริยะ
ชนมิเคยก่นธรรม.............................ปฏิบัติ
อริยะสดับ.......................................พฤติธรรม

    ๒.ย้ำทั้งสองรู้สึก...........................เวทนา
สุข,ทุกข์,เฉยหนาจะ..........................เหมือนกัน
แต่ชนพลาดคว้าเรียน........................พระธรรม
รับเวท์นาครันทั้ง................................กาย,ใจ

  ๓.ใครไม่สดับธรรม..........................แน่วแน่
ยามทุกข์แล้วแย่ทั้ง............................ใจ,กาย
โศกระทมแพร่ซัด...............................คร่ำครวญ
เวท์นาขยายซ่าน................................ทุกข์ทน

  ๔.ผลต่างอริยะ................................สดับธรรม
รับเวท์นางำไว้...................................แค่กาย
ใจไม่ถลำตาม....................................ไปเลย
อริยะหายเศร้า..................................โศกตรม

   ๕.ชนควรบ่มรู้ธรรม.........................อุบาย
ทุกข์เวท์นาหายไกล...........................ตัดได้
อย่าเพลินสุขหลายให้........................นอนเนื่อง
เหตุเกิด,ดับไม่รู้..................................โทษมี

   ๖.ชี้พุทธ์องค์ตรัสหย่อน...................ฟังธรรม
เขาดำรงล้ำเกิด...................................แก่,ตาย
โศก,เสียใจช้ำทรวง.............................คับแค้น
ประกอบทุกข์ผายยิ่ง...........................เสมอ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๕๗
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๙

ปุถุชน=คนที่ยังหนาด้วยกิเลส
อริยะ=พระอริยะ คือผู้ลุธรรมสูงสุดในพุทธศาสนา มี ๔ ขั้น คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และสูงสุด พระอรหันต์
เวท์นา,เวทนา=การเสวยอารมณ์ เช่น ความรู้สึก สุข,ทุกข์,ไม่สุข,ไม่ทุกข์ หรือ เฉยๆ


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, ตุลาคม, 2567, 09:19:45 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๘.สตรีที่บุรุษไม่ชอบใจเลย สตรีที่บุรุษชอบใจแท้

โคลงวชิระมาลี

  ๑.สตรีซึ่งชายหน่าย.......................มิชอบ
มีห้าอย่างตอบชัด.............................จริงแท้
"รูปมิงาม"ประกอบ............................ชวนมอง
อีก"ไร้ทรัพย์"ยากแล้.........................ขัดสน

    ๒.คน"ไร้ศีล"พลาดแล้ว..................พฤติธรรม
ยัง"เกียจคร้าน"นำชีพ........................ต่ำลง
"ไร้บุตร"กับเขางำ..............................สืบสกุล
ทั้งห้า,ชายมิหลง................................นิยม

  ๓.ชมชื่นสตรีของชาย......................มีห้า
"รูปสวย"ดูหน้าตา..............................งดงาม
"มีทรัพย์"ต้นทุนพา............................มั่นคง
"มีศีล"ควบคุมกาม.............................สุขใจ

  ๔.ใฝ่"สตรีขยัน"...............................การงาน
ยัง"ให้บุตร"กานต์เกิด.........................ยอดเยี่ยม
สตรีมีห้าองค์พาน...............................ประกอบ
ชายย่อมพอใจเปี่ยม...........................แน่นอน ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๖
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๐


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, ตุลาคม, 2567, 09:33:05 AM

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๙.บุรุษที่สตรีไม่ชอบใจเลย บุรุษที่สตรีชอบใจแท้

โคลงรัตนะมาลี

  ๑.พุทธ์องค์ตรัสองค์ห้า...................ของชาย
สตรีมิเฉียดกราย..............................หลีกไกล
"รูปไม่งาม"คลายรัก..........................มิชอบ
"ไร้ทรัพย์"สภาพไหว.........................ไม่คง

    ๒.บ่งชาย"ไม่มีศีล"........................คนเถื่อน
ไม่เป็นที่พึ่งเตือน..............................แก่ใคร
อีก"เกียจคร้าน"เกลื่อนแล้ว...............ไม่เรือง
ชาย"ไม่มีบุตร"ให้.............................แก่หญิง

  ๓.แต่จริงชายประกอบ.....................องค์ห้า
สตรีชอบทั่วหล้า................................ต้องการ
"มีรูปงาม"กล้าเกรียง..........................ดึงดูด
"มีทรัพย์"เป็นหลักฐาน........................ชีพคง

  ๔.ตรงแน่ชาย"มีศีล".........................เกียรติยิ่ง
"ขยัน"การงานจริง..............................ก้าวหน้า
"มีบุตร"ให้หญิงได้..............................ชื่นชม
ห้านี้หญิงทั่วฟ้า..................................พึงชาย ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๖
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๐


หัวข้อ: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก :๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, ตุลาคม, 2567, 09:03:58 AM
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๐.ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี

โคลงจิตระมาลี

  ๑.ความทุกข์เกิดเฉพาะ...................สตรี
มีห้าอย่างจะชี้...................................ต่างชาย
"แต่งงาน"แล้วรี่สู่...............................เรือนอื่น
ต้องจากญาติหลายครัน....................คิดถึง

    ๒.ทุกข์ตรึงมี"ระดู".........................ลำเค็ญ
ต้อง"อุ้มท้อง"ยากเข็ญ.......................จำทน
ย่อม"คลอดบุตร"เห็นเสี่ยง..................ชีวิต
"ต้องบำเรอ"ตนแก่..............................สามี

  ๓.ชี้ทุกข์ห้าอย่างนั้น.........................ไม่หยุด
เหตุหญิง"แต่งงาน"รุด.........................ทุกข์เกิด
ต้องช่วยหญิงหลุดจาก........................ลำบาก
ชีพเป็นสุขเลิศครอง............................เหย้าเรือน

  ๔.เตือนหญิงพึงรักษา........................ศีลห้า
เพิ่มคุณภาพแกร่งกล้า.........................ฝึกฝน
เป็นแม่มีหน้าที่.....................................สอนลูก
สร้างยุวชนเด่น....................................สังคม

  ๕.ความตรมของหญิงจะ.....................บรรเทา
จากทุกข์ทั้งห้าเขลา.............................ผ่อนคลาย
ครอบครัวสุขเย้าใจ..............................สบาย
เป็นหลักชัยหมายแก่............................ครอบครัว ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๗
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๐-๑๒๑