หัวข้อ: ประมวลธรรม: ๗.โปฏฐปาทสูตร ~กาพย์ตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, ตุลาคม, 2567, 08:41:09 AM (https://i.ibb.co/yQsTqtn/Screenshot-20241011-094524-Chrome.jpg) (https://ibb.co/MCNT7rD) ประมวลธรรม : ๗.โปฏฐปาทสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก) กาพย์ตุรงคธาวี ๑.พุทธ์เจ้า,อยู่....."เชตวนาฯ"ตรู.....วัดคู่สาวัตถี เสด็จออกบิณฑ์....แล้วผินสู่"มัลลีฯ"....ที่พักโปรด....ของ"โปฏฐ์ปาฯ"นักบวช พร้อมศิษย์ผอง......สามพันคนมอง......โปฏฐ์ฯตรองกล่าวรับรวด นิมนต์นั่ง....เตรียมฟังเทศน์สวด....สงสัยใด....ถามไว้ปัญหามี ๒.โปฏฐ์ฯถามนา......."อภิสัญญา"......ดับกล้าความจำหนี แต่ฌานหนึ่ง....จนถึงฌานเก้ารี่....หมดราคะ....โทสะ,โมหะลง ปัญหามี.......ถกเถียงกันรี่.......พราหมณ์คลี่แน่วประสงค์ เมื่อตายแล้ว...."จำ"แคล้วหมดปลง....จำอย่างไร....ถามไซร้สี่ประเด็น ๓.หนึ่ง,สภาพบ่ง......มีชีวิตคง......เรียกส่ง"ตัวตน"เด่น เรียก"ชีวะ"....ก็สภาพที่เป็น....เรียกสัตตะ....คือสภาพที่มี สัญญาตรู.......มีความจำ,รู้......เกิดกรู-ดับไม่คลี่ ไร้ปัจจัย....เหตุไซร้มิมี....เกิดมี"จำ"....ดับย้ำไร้"จำ" ๔.สอง,พวกอื่น......ค้านไม่ใช่ยืน......"จำ"รื่นคือ"ตน"นำ "สัญญา,จำ"เข้า....หรือเร้าออกกระทำ....เมื่อเข้าแล้ว....คนแกล้วมีสัญญา จึงจำได้......หมายรู้สิ่งไซร้......หากไกลออกแล้วหนา สัญญาหาย....สิ้นหมายรู้นา...."จำ"ไม่มี....ไกลหนี"อัตตา,ตน" ๕.สาม,บางกลุ่ม.....ค้านมิใช่รุม......พราหมณ์ทุ่มมีฤทธิ์ผล นำสัญญา...."เข้า"พา"ออก"ดล...."เข้า"ก็จำ...."ออก"ย้ำไร้มี สี่,บ้างตรอง.......ค้านมิใช่ครอง......แต่ผองเทพฤทธิ์ศรี สัญญา"เข้า"...."ออก"เล่าทวี...."เข้า"ก็มี...."ออก"ลี้สัญญา,จำ ๖.โปฏฐ์ฯถามว่า......"อภิสัญญาฯ"......เป็นมาอย่างไรด่ำ พุทธ์องค์ตอบ....พราหมณ์สอบสัญญาพร่ำ....ว่าดับลง....เหตุบ่งไร้ปัจจัย จะผิดท้น......สัญญาของคน......เกิดจนดับเหตุไซร้ สัญญาหนึ่ง....จะพึงเกิดขึ้นไว....เพราะได้เรียน....และเพียรมั่นพระธรรม ๗.สัญญาดับ......ตัดลงได้ลับ......ต้องรับสิกขาล้ำ สัญญา,เรียน....วิเชียรสาม"ศีล"นำ....สมาธิ...และตริปัญญาครอง แล้วตรัสชี้.......กุลบุตรบวชรี่.......เต็มปรี่ศีลสามผ่อง เล็ก-กลาง-ใหญ่....ศีลใสสามส่อง....บำเพ็ญถึง....ฌานหนึ่ง"จำ"กามปลง ๘.เหลือจำชัด......ปีติ,สงัด......ถูกจัด"ฌานหนึ่ง"คง ฌานสองคลี่....สงัด,ปีติดับลง....คงเหลือ"จำ"....สุขนำจากสมาธิ์ ฌานสามสุข.......จากสมาธิ์เลือนรุก......เหลือชุก"อุเบกขา" ความวางเฉย....เกิดเลย"จำ"เลิศนา....สุขย่อมมี....จริงดีในฌานเอย ๙.ฌานสี่"จำ".......สุขุมกระหน่ำ......ดับล้ำ"อุเบกฯ"เผย "จำ"เหลือรุก....ไม่ทุกข์ไม่สุขเอย....สัจจะแน่....เหลือแค่รู้เฉยวาง อรูปฌาน.......หนึ่ง"อากาฯ"งาน......จะราน"จำรูป"ผาง รูปสัญญา....ดับนาไร้รูปวาง....เหลืออากาศ....จำยาตรเป็นอารมณ์ หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๗.โปฏฐปาทสูตร ~กาพย์ตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, ตุลาคม, 2567, 08:45:09 AM (ต่อหน้า ๒/๔)ประมวลธรรม: ๗.โปฏฐปาทสูตร ๑๐.อรูปฌาน......สอง"วิญญาฯ"พาน......จะรานสัญญาสม เหลือแต่ขาน....วิญญาณเป็นอารมณ์....สัญญาเลิด....บรรเจิดสุขุมตรง อรูปฌาน.......สาม"อากิณฯ"งาน......จะผลาญวิญญาฯปลง มีสัญญา....ยอดกว่าฌานก่อนส่ง....วิญญ์ฯไม่สุด....ยังรุดอารมณ์เอย ๑๑.สงฆ์เจริญ.....ฌานสูงเผชิญ......เลิศเกริ่นสัญญาเผย สัญญาเป็น....เลิศเด่นกว่าเดิมเปรย....ทุกขั้นฌาน....ตรึกขานโดยแยบคาย เกิดคิดมอง......ถ้าไม่คิดลอง......ผลครองดีกว่าหมาย "คิดไม่ดี".....จะชี้เลิกคิดวาย....จะดีกว่า....คิดว้าวุ่นหทัย ๑๒.คิดปรุงแต่ง......สัญญาเลิศแจ้ง......ดับแปลงสื้นสุดไป สัญญาหยาบ....เกิดวาบมาแทนไว....มิคิดปรุง...."หยาบ"จุ่งมิเกิดเลย หยาบอย่างอื่น.....ไม่เกิดอีกขื่น......ปรุงลื่นมิมีเผย จึงถูกต้อง....ครรลอง"นิโรธ"เอย....ลุความดับ....ให้ลับไปสิ้นเชิง ๑๓.ความทั้งผอง......สัญญาเดิมต้อง......ดับนองตามกระเจิง สัญญาใหม่....เกิดไซร้ดีเถกิง....ต่อเนื่องไป....ฌานไกลสุดรุดมา เลิกปรุงแต่ง.......สัญญาดับแจง......ก็แจ้ง"อภิสัญญา" วิชาหลัก....ตระหนักรูปฌานหนา....อรูปฌาน....ผู้ชาญประพฤติตน ๑๔.พุทธ์องค์ถาม......โปฏฐ์ปายินความ......เคยตามหรือไม่ผล มิเคยยิน....ขอผินถามยล....อีกหลายข้อ....ข้ารอฟังอยู่ตรอง โปฏฐ์ปาถาม......สัญญามีลาม......"หนึ่ง"งามหรือ"มาก"ผอง ทรงตอบว่า.....มีหนา"หนึ่ง,มาก"ครอง....ตามที่จะ....ดับละนิโรธไกล ๑๕.ทูลถามว่า......"สัญญา,จำ"กล้า......เกิดหนาก่อนฌานใส หรือ"ญาณ,รู้"....เกิดพรูมาก่อนไว....หรือพร้อมกัน....เกิดพลันเวลาเดียว พุทธ์องค์ตรัส.......ตอบสัญญาชัด.....อุบัติก่อนญาณเชียว ถามสัญญา...."อัตตา,ตัวตน"เปรียว....เหมือนคล้ายกัน....หรือครันเกี่ยวตัวคน ๑๖.หรือสัญญา......"จำ"กับ"อัตตา".......ไป่นาอันเดียวปน พุทธ์องค์ตรัส....คำอัตตาคิดก่น....เป็นอย่างไร....คิดใดจงตอบมา ทูลตอบรี่......รูปกอปรธาตุสี่.....คือชี้อัตตาหนา ทรงตอบว่า....อัตตาของท่านนา....เป็นอย่างหยาบ....สองปราบมิข้องใด ๑๗.สัญญา,จำ......เป็นอย่างหนึ่งนำ......"ตน"ร่ำอีกอย่างไข อัตตา,ตน....ยังยลเด่นอยู่ไซร้...."จำ"หนึ่งเกิด....อีกหนึ่งเถิดดับลง ทูลถามหนา......ตนเข้าใจว่า......"จำ"เกิดจากใจตรง โดยตา,หูฯ....มีอยู่ประเดิมส่ง...."จำ"และ"ตน"....เป็นคนละอันเลย ๑๘.ตรัสตอบไว้......"จำ"เป็นอื่นไซร้......"ตน"ใช่เป็นอื่นเผย ตนสำเร็จ....เกิดเสร็จด้วยใจเอย...."จำ"ตั้งอยู่...."จำ"กรูเกิดดับไป ทูลต่อเนื่อง......"ตน"ไร้รูปเรือง.....เกิดเปรื่องจาก"จำ"ไข ทรงตรัสว่า....ก็ถ้าอย่างนั้นไซร้...."จำ"และ"ตน"....ล้วนด้นคนละอัน ๑๙.ทรงตอบ"ตน".......ไม่มีรูปยล.......เกิดดลด้วย"จำ"สรรค์ "จำ"ตั้งอยู่....หนึ่งกรูเกิดพลัน....อีกอันกลับ....ลุดับลงทันที ถามต่อว่า......อาจรู้ไหมจ้า......."สัญญา"เป็น"ตน"มี ครือตนเป็น....อื่นเด่นหรือ"จำ"นี้....เป็นอย่างอื่น....มิกลมกลืนกันเลย ๒๐.พุทธ์องค์ตรัส.......โปฏฐ์ปาฯเห็นชัด......ชอบซัดส่ายอื่นเอ่ย เห็นอย่างอื่น....ยากขืนจะรู้เปรย....คนนอกศาสน์....คิดพลาดมิตรงกัน ทูลถามความ.....ทิฎฐิสิบตาม.......แนวลามส่วนสุดดั้น แบ่งห้าหมวด....ข้อรวดมีสองครัน...รวมสิบเรื่อง....กระเดื่องสุดโต่งครา ๒๑.โปฏฐ์ปาฯเปรย......หนึ่ง"โลกเที่ยง"เผย......หรือเปรย"ไม่เที่ยง"หนา สอง,โลกมี...."ที่สุด"หรือเห็นว่า...."ไม่มีสุด".....แนวรุดอย่างใดกัน สาม,"ชีวะ"......กับ"สรีระ"จะ......ปะอันเดียวกันมั่น หรือทั้งสอง....ตรึกตรองแล้วฉะนั้น....คนละอย่าง....แตกต่างกันไปเอย ๒๒.สี่,เมื่อสัตว์......ตายแล้วแจ้งชัด....."สลัดเกิด"หรือ"เกิด"เผย ห้า,ตายแล้ว....ยังแจ้ว"มีเกิด"เอย....ทั้ง"ไม่เกิด"....หยุดเพริดก่อชีพไกล หรือว่า"เกิด".......ก็ไม่ใช่เริด......เตลิด"ไม่เกิด"มิใช่ แต่พุทธ์องค์....มิทรงตอบไว้....เพราะไร้ประโยชน์....ไม่โลดทางนิพพาน ๒๓.ทูลถามว่า......ทรงพยากรณ์หนา......เรื่องหล้าใดบ้างสาน พุทธ์เจ้าตอบ....เหตุครอบเกิดทุกข์ผลาญ....เรื่องดับทุกข์....แน่วบุกทางดับลง คือแปดมรรค.......ทางดับประจักษ์......จึงผลักกิเลสปลง หมดทุกข์สิ้น....ผลินสุขยืนยง....ตรัสเสร็จแล้ว....ทรงแคล้วจากที่ไป หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๗.โปฏฐปาทสูตร ~กาพย์ตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, ตุลาคม, 2567, 08:42:13 AM (ต่อหน้า ๓/๔ ประมวลธรรม ๗.โปฏฐปาทสูตร) ๒๔.สอง-สามวัน.....ต่อมาโปฏฐ์ฯดั้น....เฝ้าครันพุทธ์เจ้าไว พร้อม"จิตตะ"....เพื่อจะทูลความไซร้....ถูกนักบวช....กล่าวรวดว่าแดกดัน ไม่ว่าทรง......ตรัสสิ่งใดบ่ง....ข้าฯคงรับรองครัน เขามิเห็น....ทรงแจงเด่นธรรมสรรค์... บอกยืนยัน....ให้มั่นเพียงแง่เดียว ๒๕.โปฏฐ์ปาฯเล่า.......ได้ตอบพวกเขา......ธรรมเพราพุทธ์เจ้าเชี่ยว ทางปฏิบัติ....จริงชัดแท้แน่เทียว....อันถูกต้อง....ทำนองคลองธรรมดี ปราชญ์บุรุษ......ข้าพระองค์ดุจ......จะยุดภาษิตดี ที่ถูกต้อง....จริงตรองท่วมทวี....ได้อย่างไร....จึ่งได้รับรองไป ๒๖.พุทธ์เจ้าตรัส.....ทรงแจงธรรมคัด......บ่งชัดแง่เดียวไข "เอกังฯ"เดี่ยว....ลางเกี่ยวหลายแง่ไกล..."อเนกังฯ"....หลายหลั่งแง่ขจร แง่เดียวคือ......ทุกข์,เหตุทุกข์พรือ......ทางปรือดับทุกข์ถอน โลก,หลายแง่....เที่ยงแท้ไม่เที่ยงคลอน....มีที่สุด....และรุดไม่สุดทาง ๒๗.พุทธ์เจ้าเคย......ถามพราหมณ์ที่เผย......เห็นเปรยตายแล้วพลาง "อัตตา,ตน"....สุขล้นส่วนเดียววาง....ไร้โรคา....พยาธิเบียนครือ ทรงซักต่อ......ท่านเห็นโลกคลอ.....สุขส่อส่วนเดียวหรือ ทรงถามว่า....อัตตา,ตนสุขถือ....คืน,ครึ่งวัน....สุขพลันส่วนเดียวไร ๒๘.ทรงถามดู......รู้ทางเดินสู่......โลกหรูสุขเดียวไหม พราหมณ์พฤติดี,....ชอบรี่ลุโลกไซร้....สุขส่วนเดียว....ทำเชี่ยวหรือไม่กราน ถามทั้งหมด......พราหมณ์ตอบ"เปล่า"พจน์.....เรียกจดปาฏิหารย์ โปฏฐ์ปาฯรับ....สดับไร้อัศ์จรรย์งาน....ไม่คงเตือน....เพราะเลื่อนลอยมิจริง ๒๙.ทรงเปรียบกลุ่ม......ตายแล้ว"ตน"สุม.....สุขชุมส่วนเดียวสิง ไร้โรคา....จริงหนามิรู้ยิ่ง....เปรียบหลงรัก....หญิงนักไม่รู้นาม บ้านอยู่ไหน......มิเคยรู้ใด.......ย่อมไม่สำเร็จงาม หรือเปรียบคน....ขึ้นบนปราสาทคาม....มีบันได....แต่ไม่รู้ทิศทาง ๓๐.แล้วทรงแสดง.......อัตตาสามแจ้ง......หนึ่งแบ่ง"กามภพ"วาง ตน"รูป"เด่น....ดังเช่นมนุษย์,สัตว์อ้าง....เทวาท้น....มีตนหยาบอยู่ดล สอง"รูปภพ".......เกิดจากใจครบ.......คือจบรูปพรหมผล สาม"อรูปภพ"....เกิดนบสัญญาดล....รูปไม่มี....เรียกรี่อรูปพรหม ๓๑.พุทธ์เจ้าชี้......ละอัตตาสามนี้......จะมีธรรมผ่องสม ปัญญายิ่ง....สุขจริงอิ่มใจชม....สติครบ....สงบแน่วสมบูรณ์ ทรงตรัสว่า......กระทำละอัตตา......เปรียบว่าชี้ทางจรูญ ตั้งบันได....ปรี่ไวทิศถูกกูล....ปราสาทมี.....อยู่ชี้จริงแน่นอน ๓๒.ทรงอธิบาย......ย้ำความเห็นกราย......บุตรนายควาญช้างก่อน จิตตะทราบ....สภาพอัตตานอน....ฐานะใด....ก็ไม่อยู่อื่นเลย อัตตาหยาบ......มีรูปเห็นทาบ......กอปรนาบธาตุสี่เผย มนุษย์,สัตว์....ก็ชัดห่างไกลเลย....สภาพละเอียด....มิเฉียดแต่ห่างไกล ๓๓.อัตตา,ตน......ละเอียด"รูป"ดล.....เกิดด้นยิ่งจากใจ ละเอียด,ตน....เกิดพ้นจากรูปได้....รูปไม่มี....เกิดปรี่สัญญาครัน อยู่ตอนไหน......มิเปลี่ยนสภาพไซร้......ฐานใดคงเดิมสรรค์ เหมือนน้ำนม....เนยซมจะตรงดั้น....เป็นอะไร....ก็ไม่เป็นอื่นเคย ๓๔.ทรงสรุปว่า......ถ้อยคำอัตตา......ชื่อคว้า"โลกสมัญญ์ฯ"เผย "โลกนิรุติ"....พูดรุดในโลกเอย...."โลกวิหาร"....เล่าขานทางโลกความ "โลกบัญญัติ"......กำหนดสิ่งชัด......ถนัดรู้ตรงตาม ตถาคต....พูดพจน์ถ้อยคำลาม....แต่มิยึด....มิพฤติถือมั่นปลง ๓๕.จบเทศนา.......นักบวช"โปฏฐ์ปาฯ".......เสริญกล้าพระธรรมบ่ง อุบาสก....ตนปรกพระรัตน์ฯส่ง....เป็นที่พึ่ง....จนถึงนิรันดร์กาล จิตตะพลาง......บุตรนายควาญช้าง......กระจ่างบวชสราญ ได้สำเร็จ....ลุเสร็จธรรมแตกฉาน....พระอรหันต์....กระชั้นกาลต่อมา ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๐๖-๓๑๐ หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๗.โปฏฐปาทสูตร ~กาพย์ตุรงคธาวี เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, ตุลาคม, 2567, 08:44:27 AM (ต่อหน้า ๔/๔) ประมวลธรรม ๗.โปฏฐปาทสูตร
เชตวนาฯ=เชตวนาราม มัลลีฯ=มัลลิการาม โปฏฐ์ปาฯ,โปฏฐ์ฯ=โปฏฐปาทปริพพาชก อภิสัญญาฯ=อภิสัญญานิโรธ คือ การดับความจำได้หมายรู้อันยิ่งใหญ่ อัตตา=ตัวตน คือสภาพที่ครองชีวิตร่างกายต่างๆกัน ชีวะ=สภาพที่เป็นอยู่ สรีระ=ร่างกาย สัตตะ=สภาพที่มีที่เป็น สัญญา=ความจำได้ หมายรู้ สิกขา=คือการศึกษา หรือ การสำเหนียก (เนื่องจาก ความจำของคนเกิดขึ้นดับไป โดยมีเหตุปัจจัย คือ สิกขา แบ่งออกเป็น ๓ ๑)สีลสิกขา -การศึกษาในศีล ๒)จิตตสิกขา-การศึกษาในสมาธิ ๓)ปัญญาสิกขา-การศึกษาในปัญญา) ศีลสาม=คือศีลสามชั้น ได้แก่ ๑)ศีลอย่างเล็กน้อย-จูฬศีล ๒)ศีลอย่างกลาง-มัชฌิมศีล ๓)ศีลอย่างใหญ่-มหาศีลศีล ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อรูปฌานที่ ๑ =คือ อากาสานัญจายตนะ -พรหมที่เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ อรูปฌานที่ ๒=วิญญาณัญจายตนะ-เป็นอรูปพรหม เพ่งวิญญาณหาที่สุดมิได้ อรูปฌานที่ ๓= อากิญจัญญายตนะ -ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ทิฏฐิสิบ=คือ ความเห็นส่วนสุด ในหมู่สมณพราหมณ์ สมัยพุทธกาลถกเถียงกัน แบ่ง ๕ ข้อๆละ ๒ รวม ๑๐ ได้แก่ ๑)โลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง ๒)โลกมีที่สุด หรือ ไม่มีที่สุด ๓)ชีวะ กับ สรีระ เป็นอันเดียวกัน หรือคนละอัน ๔)สัตว์ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด ๕)สัตว์ตายแล้วทั้งเกิดและไม่เกิด หรือว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ เอกังฯ=เอกังสิกะ คือ แสดงธรรมแง่เดียว อเนกังฯ=อเนกังสิกะ คือ แสดงธรรมหลายแง่ อัตตาสาม=คือ สภาพที่ครองชีวิตแตกต่างกัน มี ๓ อย่าง ๑)อัตตาที่หยาบ -ตัวตนที่มีรูป ประกอบด้วยธาตุ ๔ บริโภค กวฬิงกาอาหาร หมายถึงพวกที่อยู่ในกามภพ เช่น มนุษย์ สัตว์ เทพ ๒)อัตตาละเอียด ที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง หมายถึง รูปพรหม ๓)อัตตาละเอียด ที่หารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา(จำ) หมายถึง อรูปพรหม โลกสมัญญ์ฯ=โลกสมัญญา คือ ชื่อทางโลก โลกนิรุติ=คำพูดของโลก โลกโวหาร=โวหารทางโลก โลกบัญญัติ=บัญญัติทางโลก (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต) |