บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, พฤศจิกายน, 2567, 05:14:38 AM



หัวข้อ: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, พฤศจิกายน, 2567, 05:14:38 AM
(https://i.ibb.co/F063tf7/Screenshot-20241029-132632-Chrome.jpg) (https://ibb.co/mXJT7Yz)
ประมวลธรรม : ๘.เกวัฏฏสูตร(สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อ เกวัฏฏะ)

อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑

  ๑.พุทธ์เจ้าประทับตรัส.............กะ"เกวัฏฯ" ณ ป่าใกล้
"นาฬันทะฯ"เมืองชัย...................สิเกวัฏฯริทูลขอ

  ๒.ให้ชวนพระสงฆ์หนา..............แสดงปาฏิหารย์จ่อ
ฝูงชนจะคล้อยก่อ......................และเลื่อมใสพระองค์ยิ่ง

  ๓.พุทธ์องค์ซิตรัสแย้ง...............มิเคยแจ้งพระสงฆ์อิง
ทำอิทธิฤทธิ์สิง...........................กะชนสรวมสิผ้าขาว

  ๔.เกวัฏฏะยืนตาม.....................ณ สอง,สามริทำพราว
พุทธ์องค์แถลงกล่าว...................วิชาฤทธิ์พระองค์รู้

  ๕.ได้ทรงประกาศแล้ว................ติอย่างแกล้วและสงฆ์ดู
หนึ่ง"อิทธิปาฯ"ชู..........................แสดงฤทธิ์สิอัศ์จรรย์

  ๖."อาเทสนาฯ"สอง....................คะเนกรองหทัยครัน
ทายใจนิกรมั่น............................รึดักใจวะคิดใด

  ๗.สามสอนนราฝึก....................พระธรรมลึกสงบใจ
มีเหตุและผลไข..........................ประโยชน์ล้นนิกรยล

  ๘.ทรงตรัสแจรงฤทธิ์.................นรีคิดมิเชื่อผล
กล่าวภิกษุบัดดล.........................ริ"คันธาระฯ"ชาวเมือง

  ๙."อาเทสนา"เดา.......................ผิใครเล่ามิเชื่อเลื่อง
เอ่ยว่าพระสงฆ์เฟื่อง...................."มนีกาวิชา"หลง

  ๑๐.แล้วทรงแสดงสอน..............วิธียอนประพฤติตรง
ด้วย"อานุสาฯ"บ่ง........................ประพฤติศีลติสามหนา

  ๑๑.จำเริญกะฌานสี่..................ลุแปดรี่กะญาณหนา
จึงดับกิเลสพา.............................อร์หันต์มิเกิดไข


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, พฤศจิกายน, 2567, 05:20:08 AM
(ต่อหน้า ๒/๒) ประมวลธรรม : ๘.เกวัฏฏสูตร

  ๑๒.พุทธ์องค์ผจงเล่า................ก็สงฆ์เฝ้าซิสงสัย
ธาตุสี่จะดับได้...........................ณ ที่ไหนตระเวณรอบ

  ๑๓.ถามเทพ,มหาพรหม............ก็สุดซมซิไผตอบ
ถามพุทธเจ้าชอบ.......................เพราะรู้รอบระบือไกล

  ๑๔.พุทธ์องค์แนะวิญญาณ........ผิดับรานขจัดไว
ธาตุสี่ก็ดับไซร้...........................มิเหลืออีก ณ ที่นั้น

  ๑๕.ชี้เห็นวะอิทธิ์ฤทธิ์...............รึเดาจิตมิเยี่ยมครัน
สู้คำแนะสอนสรร.......................จะสำคัญประเสริฐสม ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระ ไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๑

เกวัฏฯ=เกวัฏฏะ บุตรคฤหบดี
พระพุทธเจ้า=ประทับ ณ ป่ามะม่วง ของ ปาวาริกะ
นาฬันทะฯ=เมือง นาฬันทา
ปาฏิหารย์=ทรงแสดง ๓ อย่าง คือ ๑)อิทธิปาฏิหารย์-แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ๒)อาเทสนาปาฏิหารย์-ดักใจทายใจได้เป็นอัศจรรย์ ๓)อนุสาสนีปาฏิหารย์-สั่งสอน(มีเหตุผลดี)เป็นอัศจรรย์
ฌานสี่=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
วิชชา ๘=ปัญญาพิเศษ แปดประการ คือ
๑)วิปัสสนาญาณ=ญาณที่ทำให้เห็นแจ้งด้วยปัญญา ๒)มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป

(ขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, พฤศจิกายน, 2567, 07:23:25 PM
ประมวลธรรม : ๙.โลหิจจสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับ โลหิจจพราหมณ์)

ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒

  ๑.พระพุทธ์เจ้าเสด็จด้น.........ณ"โกศลฯ"พระสงฆ์ตาม
แวะพักที่"สลาฯ"คาม................สิ"โลหิจจ์ฯ"ลุปกครอง

  ๒.เพราะโลหิจจ์ฯลุเห็นผิด......วะพราหมณ์ชิดลุธรรมผ่อง
ตะไปสอนกะชนข้อง................ตริว่าโลภและเป็นบาป

  ๓.ลุธรรมแล้วก็ตนครัน...........ลิเครื่องพันธนาฯราบ
ตะเกิดโลภก็เหมือนทาบ...........จะถูกมัดสภาพเดิม

  ๔.สดับพุทธองค์ยาตร............ก็อาราธนาเริ่ม
พระพุทธ์เจ้าและสงฆ์เสริม.......คระไลสู่ ณ บ้านเยือน

  ๕.พระพุทธ์ฯเสวนากิจ............กะโลหิจจ์ฯตริผิดเกลี่อน
"ปเสนฯ"สิมอบเฉือน.................บุรีให้เจาะตัวท่าน

  ๖.ปเสนฯและโลหิจจ์ฯ............ประโยชน์นิตย์ระดาผ่าน
มิแบ่งปันกะใครขาน.................จะเกิดหายนะหรือไม่

  ๗.ผิโลหิจจ์ฯก็ยืนยัน...............พินาศครันประชาไข
มิได้รับปะภัตต์ไว......................จะลำบากละชีวา

  ๘.พระพุทธ์เจ้าริถามไป...........มิแบ่งใครจะเรียกว่า
ริตั้งจิตกุเมตตา.........................และช่วยเหลือรึศัตรู

  ๙.ก็โลหิจจ์ฯริตอบตรึก............เพาะข้าศึกซิแน่ชู
พระองค์ถามหทัยจู่....................วะคู่แค้นจะเรียกขาน

  ๑๐.กุเห็นผิดรึเห็นชอบ..............ก็พราหมณ์ตอบวะผิดพาน
มิมีทางจะสู้ราน...........................เพราะจำนนกะเหตุ,ผล

  ๑๑.พระพุทธ์เจ้าก็ทรงเร้า..........ประโยชน์เอามิแบ่งชน
ก็เท่ากับลุธรรมท้น.......................มิได้บอกกะผู้ใด

  ๑๒.จะทำอันตรายยิ่ง.................เพราะใจสิงมุร้ายใฝ่
นิกรพลาดจะรับได้.......................และเป็นการตริผิดลาม

  ๑๓.พระพุทธ์องค์จะแจงขาด.....ประเภทศาสดาสาม
เจาะผู้บวชลุธรรมงาม..................ตะคุณต่างคละกันไป

  ๑๔.ลุหนึ่ง,ผู้แสดงธรรม..............ก็ศิษย์ซ้ำมิฟังใด
และเลี่ยงหนีจะเหมือนไซร้...........ถนัดสอนตะไร้ผล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, พฤศจิกายน, 2567, 06:44:04 AM

(ต่อหน้า ๒/๒) ประมวลธรรม : ๙.โลหิจจสูตร

  ๑๕.ประโยชน์ศาสดาถอย............มิเกิดคอยจะเห็นยล
เจาะสอง,คล้ายกะสามด้น..............ตะศิษย์ฟังมิหนีหาย

  ๑๖.กุสามศาสดาโรจน์.................ประโยชน์โชติจะสอนฉาย
ตะศิษย์เองมิฟังกราย.....................จะพากันระเริงหนี

  ๑๗.ผิโลหิจจ์ฯซิทูลว่า..................ก็ศาส์ดา ณ โลกนี้
มิควรติงติเลยมี..............................รึไม่มีประการใด

  ๑๘.พระองค์ตรัสวะมีหนา.............พระศาส์ดาริบวชไกล
พิสุทธิ์ศีลสมาธิ์ใส..........................ลุฌานสี่เสาะแปด"วิชช์ฯ"

  ๑๙.ก็ตนเกริกอร์หันต์พาน............และศิษย์ผ่านลุตามติด
เพราะสั่งสอนอุดมกิจ.....................ติไม่ได้เพราะสมบูรณ์

  ๒๐.สิโลหิจจ์ฯก็เสริญเจตน์..........พระธรรมเทศนาพูน
แสดงตนอุบาฯทูน..........................พระรัตน์ตรัยศรัณย์นาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร
๒๙ กันยายน ๒๕๖๗

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๑-๓๑๒

โกศล=แคว้นโกศล
โลหิจจ์ฯ=โลหิจจพราหมณ์
สลาฯ=ตำบลบ้านชื่อ สาลวติกา
พันธนาฯ=พันธนาการ คือ เครื่องผูกมัด
ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาจากแคว้นโกศลล
ฌานสี่=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
วิชช์ฯ=วิชชา ๘ คือปัญญาพิเศษ แปดประการ ได้แก่
๑)วิปัสสนาญาณ=ญาณที่ทำให้เห็นแจ้งด้วยปัญญา ๒)มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป
อุบา=อุบาสก
พระรัตน์ตรัย=พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, พฤศจิกายน, 2567, 10:16:45 AM

ประมวลธรรม : ๑๐.เตวิชชสูตร(สูตรว่าด้วยไตรเวท)

กาพย์มหาตุรงคธาวี

  ๑.พระพุทธ์องค์.......พร้อมด้วยหมู่สงฆ์.......มุ่งตรงแคว้นโกศล
บ้านพราหมณ์นา...."มนสาฯ"ตำบล....ป่ามะม่วง.....ลุล่วง"อจิร์วดี"
มีพราหมณ์มั่ง......หลายพักอยู่ยั้ง......เช่น"วังกีส์,ตารุกข์"รี่
"โปกข์ฯ"พราหมณ์....ตาม"ชาณุฯ"ปรี่....อีก"โตเทยย์ฯ"....ชื่อเปรยเปรื่องอีกหลายคน

  ๒.สองมาณพ......"วาเสฏฐะฯนบ.....ประสพ"ภารัทฯ"ด้น
สนทนาตรอง....ทางส่องตรงก่น....อยู่ร่วมกัน....และตรับด้วยพระพรหม
วาเสฏฐะฯ......อ้างถ้อย"โปกขะฯ......ภารัทะอิง"ตารุกข์ฯ"ชม
ไม่ตกลง....ไหนบ่งชัดคม....จึงพากัน....เฝ้าพลันถามพระพุทธ์องค์

  ๓.มานพพลาง......ทูลข้อเถียงคลาง......หลายทางพราหมณ์บอกบ่ง
มีหลายสาย....ถ้าผายทำตรง....จะอยู่กับ....สดับตรับพระพรหมไว
พระพุทธ์เจ้า.....ถามวาเสฏฐ์ฯเกลา......ทางเหล่านั้นไฉน
ให้วาเสฏฐ์ฯ....ยืนเจตน์ชี้ไกล.....ถึงสามครั้ง....ทางหยั่งร่วมกับพรหมเอย

  ๔.พระองค์ตรัส......มีพราหมณ์รู้ชัด......ถนัด"ไตรเวท"เอ่ย
หนึ่งคนไหม....เคยใกล้พรหมเชย....กราบทูลว่า....ก็หามีใครได้ยล
ตรัสถามต่อ......ครูของพราหมณ์ก่อ......เหมาะพอไตรเวทท้น
หนึ่งคนมี....เห็นรี่พรหมผล....ทูลตอบได้.....ว่าไม่มีใครเห็นพรหม

  ๕.ทรงตรัสตอบ......ครูของครูพราหมณ์.....แค่นามหนึ่งมีไหม
ทูลตอบแล้ว....จะแคล้วคลาดไกล....ไม่มีผู้.....เห็นรู้จักพระพรหมเลย
ทรงถามว่า......ย้อนเจ็ดชั่วหนา......มีฝ่าหนึ่งคนเผย
ที่เคยเห็น....ดังเช่นพรหมเคย.....ทูลตอบได้....ว่าไม่มีใครเห็นพรหม

  ๖.ตรัสถามว่า......ฤษีรุ่นก่อนมา......แต่งคว้าร่ายมนต์สม
เช่น"อัฏฐกะ"...."จามะฯ"สดมภ์....สมัยนี้....พราหมณ์รี่เรียนไตรเวทชาญ
มีใครบ้าง.....เคยกล่าวตนอ้าง.....เห็นร่างพระพรหมฉาน
อยู่อย่างไร....ที่ไหนเห็นปาน....ทูลตอบว่า....จะหายังมิได้เลย

  ๗.พุทธ์เจ้าเปรียบ.......เหมือนตาบอดเฉียบ........จูงเงียบคนบอดเฉย
คนต้น,กลาง....คนวางท้ายเอย.....สามช่วงเป็น....ไม่เห็นภาพใดเข้ามา
พราหมณ์มิรู้ด้น.....ด้วยไตรเวทล้น......คนต้น,กลาง,ท้ายหนา
มิเคยเห็น.....พรหมเด่นสักครา....คำพราหมณ์กล่าว.....ก็ร้าวว่างเปล่าเช่นกัน

  ๘.ตรัสถามเพิ่ม.......พราหมณ์,ผู้อื่นเสริม......เห็นเดิมขึ้น-ตกครัน
พระอาทิตย์....มีกิจคู่จันทร์....จึงเสริญไหว้....นี้ไซร้จะพอหรือเจียว
รู้ไตรเวท.......จะพอพิเศษ.......ถึงเขตร่วมหนึ่งเดียว
อาทิตย์-จันทร์.....ได้พลันแน่เทียว.....กราบทูลใช่.....คาดไม่พออย่างแน่นอน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, พฤศจิกายน, 2567, 10:45:53 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๐.เตวิชชสูตร

 ๙.ตรัสต่อไป.......แค่มองเห็นไซร้.......มิใช่พอชี้สอน
แต่พราหมณ์รู้......พร้อมคู่ไตรฯวอน.....ทั้งครูผอง.....ไป่มองเห็นพรหมด้วยตา
ก็ยังชี้.......แนวทางตรงปรี่......จุ่งรี่ถึงพรหมหนา
ทรงตรัสถาม.....ถ้อยความกล่าวมา....ไร้หลักฐาน......ดูผ่านเลื่อนลอยหรือใย

  ๑๐.เขาทูลตอบ.......เลื่อนลอยมิชอบ.....จะยอบกระทำมิได้
พุทธ์เจ้าตรัส.....มิชัดเจนใด......ทั้งรู้,เห็น.....ยังเน้นทางตรงสู่พรหม
อยู่ร่วมใกล้.....พระพรหมอีกไซร้.....จะไม่เป็นจริงสม
ทรงเปรียบเปรย.....ห้าเผยข้อคม.....พราหมณ์กระทำ.....ประจำซมสู่พรหมพลัน

  ๑๑.หนึ่งตรัสเทียบ......รู้ไตรเวทย์เฉียบ.......ห่างเลียบไกลพรหมครัน
เหมือนชายรัก......หญิงนักแต่หวั่น.....ไม่รู้ชื่อ....และหรือบ้านอยู่ที่ใด
สอง,จะวาง.......บันไดพาดพลาง........เป็นทางสี่แพร่งไซร้
ขึ้นปราสาท.....แต่พลาดผิดไป....มิรู้ที่....ตั้งชี้ปราสาทเลยนา

  ๑๒.สาม,พราหมณ์รู้......ไตรเวทเลิกชู......ธรรมกรูเป็นพราหมณ์หนา
กลับยึดธรรม....และซ้ำไม่คว้า....ธรรมที่เป็น....พราหมณ์เด่นอีกแต่ออกนาม
เทพ,พระอินทร์......โสมะ,มหินทร์.......ยินดีพระพรหมงาม
วอน,ตั้งใจ....ก็ไม่ก่อลาม....อยู่ร่วมกัน....สดับพระพรหมได้เอย

  ๑๓.เปรียบเหมือนคน......วอนฝั่งน้ำร่น......ถึงตนย่อมไม่เลย
สี่,พราหมณ์ชาญ....รู้งานเชี่ยวเคย....กับไตรเวท...แต่เจตน์หมกกามคุณ
เครื่องจองจำ......ผูกมัดสัตว์หนำ....ย่อมย้ำห่างพรหมหนุน
เหมือนข้ามน้ำ....มิสำเร็จจุน....มีเชือกมัด....จับดัดมือไพล่หลังเอย

  ๑๔.ห้า,พราหมณ์รู้......คล่องไตรเวทอยู่......แต่พรู"นิวรณ์"เผย
พอใจกาม....ฆาตลามจนเคย....กิเลสขัด....สกัดอยู่ห่างพรหมไกล
เหมือนข้ามน้ำ.......ผ้าคลุมหัวนำ......แล้วร่ำนอนทันใด
ณ ฝั่งนี้....จะปรี่ข้ามไว....ถึงฝั่งโน้น....ก็โพ้นไกลสิ้นทางรมย์

  ๑๕.ทรงตรัสถาม......ครูของครูพราหมณ์.....กล่าวความถึงพระพรหม
ห้าข้อนี้....หนึ่ง,ชี้นิยม...."มีสิ่งหวง"....ติดบ่วงสตรีหรือไง
สอง,จิตมี......"ผูกเวร"เร็วคลี่......เกลียดชี้ไม่จบไหม
สาม,อาฆาต....คิดวาดแค้นไกล....เจ็บใจนาน....คิดผลาญสิ้นใช่หรือไร
 
๑๖.สี่,เศร้าหมอง......ใจโศกเศร้าครอง.......จับจองกิเลสไหม
ห้า,คุมจิต.....ให้ชิดอยู่ใน....อำนาจล้น....ที่ตนต้องการได้ไร
มาณพทูล.......ครูพราหมณ์กล่าวพูน......พรหมจรูญข้อห้าไซร้
เป็นเช่นนั้น....เหลือนั่นหนีไกล....ไม่เป็นเอย....เฉลยไร้ความดีงาม

  ๑๗.ทรงถามต่อ......รู้ไตรเวทส่อ.....พราหมณ์จ่อถึงพรหมตาม
หรือไม่นา.....เขาว่าตรงข้าม....พราหมณ์ยังมี....สิ่งที่หวง,ยังผูกเวร
พยาบาท.......จิตเศร้าหมองฆาต........จิตพลาดอำนาจเด่น
ตรัสถามว่า.....พราหมณ์นาจะเป็น....เทียบพระพรหม....ได้สมหรือไม่อันใด

  ๑๘.มาณพแถลง......มิได้แน่แจง.....ทรงแสดงสรุปไว้
พราหมณ์ตายแล้ว.....จะแคล้วพรหมไกล.....ไป่ฐานะ....ที่จะอยู่กับพระพรหม
ตรัสเสริมพราหมณ์....รู้ไตรเวทความ......เข้าลาม,วิบัติจม
เข้าทางผิด....เพราะคิดแดนรมย์....เป็นภาพลวง.....เห็นบ่วงทรายเป็นน้ำกลาย

  ๑๙.พุทธ์องค์ชี้......ด้วยไตรเวทนี้......ขานคลี่ว่าเป็นฉาย
ป่าไตรเวท......ไร้เขตบ้านปราย....ไม่มีบ้าน.....น้ำรานไม่มีอีกแล
ความเสื่อมถอย.......ของไตรเวทคล้อย.....อันด้อยสำคัญแฉ
วาเสฏฐ์คลาง....ใดทางพรหมแล้.....จะไปอยู่....ร่วมชูกับพระพรหมไว

  ๒๐.พุทธ์เจ้าตอบ.....รู้จักพรหมชอบ......จรรอบพรหมโลกไข
ปฏิบัติ....ใดชัดได้ไป....สู่พรหมโลก....ไร้โศกทุกข์ใจปลดปลง
ทรงแนะนำ......วาเสฏฐ์ฯพฤติทำ......ลึกด่ำพรหมจรรย์บ่ง
ถือศีลหนา.....สมาธิ์เสริมส่ง...แผ่เมตตา....จิตกล้าละนิวรณ์ราน

  ๒๑.พฤติเยี่ยงนี้......ฌานอุบัติคลี่........เกิดมีลำดับงาน
สงฆ์ตายแล้ว.....ต้องแกล้วสู่ฐาน....ผู้ร่วมกับ....และตรับพระพรหมได้เอย
สองมานพ.....ทูลสรรเสริญนบ......ขอจบอุบาฯเผย
สูตรนี้ต้อง....พฤติกรองเด่นเชย....ให้รู้-เห็น.....ผลเด่นจริงจริงแน่เทียว ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๓-๓๑๕


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, พฤศจิกายน, 2567, 10:52:42 AM

ต่อหน้า ๓/๓) ๑๐.เตวิชชสูตร

มนสาฯ=ตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อ มนสากตะ
อจิรวดี=พระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ามะม่วง ริมแม่น้ำ อจิรวดี
พราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์ที่เป็นเศรษฐี)=เช่น วังกีสพราหมณ์,ตารุกขพราหมณ์,โปกขรสาติพราหมณ์,ชาณุสโสนิพราหมณ์,โตเทยยพราหมณ์
วาเสฏฐะ=ผู้สืบสกุลวสิษฐะ
ภารัทฯ=ภารัทวาชะ ผู้สืบสกุลภารัทวาชะ
ไตรเวท=คัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ มี ๓ คัมภีร์ ได้แก่ ๑)ฤคเวท -บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ๒)ยชุรเวท-บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญ ๓)สามเวท-บทเพลงสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่ม อถรรพเวท ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔
อัฏฐกะ,วามกะ=คือ ฤษีรุ่นก่อนๆที่แต่งมนต์ ร่ายมนต์
พระอินทร์=ชื่อเทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ ฮินดู พุทธ ในทางพุทธก็คือท้าวสักกะ เป็นเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
โสมะ=พระโสมะ คือพระเจ้าแห่งคำพูดใน ฤคเวท
มหินทร์=พระมหินทร์
กามคุณ ๕=คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ
นิวรณ์ห้า=คือ อารมณ์ทางความคิด ที่ขัดขวาง ปิดกั้นมิให้จิตลุความดี เป็นอุปสรรคต่อการลุธรรม แบ่งเป็น ๕ อย่าง ๑)กามฉันทะ -ความพอใจในกาม ความรัก ความปรารถนา หลงใหล ๒)พยาบาท -ความปองร้าย ๓)ถีนมิทธะ-ความง่วงเหงา หดหู่  เกียจคร้าน ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกกังวล ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
ฌาน=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปี ติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
อุบาฯ=อุบาสก


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤศจิกายน, 2567, 03:24:52 PM

ประมวลธรรม : ๑๑.มหาปทานสูตร(สูตรว่าด้วยข้ออ้างใหญ่)

กาพย์ทัณฑิกา

  ๑.พุทธ์เจ้าพักที่......."กเรกุฎีฯ".....เชต์วนาราม
กรุงสาวัตถี....สงฆ์รี่ติดตาม....ทรงเล่าเรื่องลาม....."ปุพเพนิวาฯ"

  ๒.เรื่องเกิดชาติก่อน......ทรงเล่าเรื่องย้อน.....พุทธ์เจ้าหกหนา
และพระองค์เอง....รวมเปล่งเจ็ดนา....เจิดจ้าเนิ่นกาล....ขานนานชั่วกัลป์

  ๓.หนึ่ง"วิปัสสี"......สกุลกษัตริย์ชี้......สามสิบเอ็ดดั้น
กัปป์ก่อนกาลนี้....นามชี้"โกณฑัณฯ"....อายุถลัน....ได้แปดหมื่นปี

  ๔.ตรัส์รู้ ณ โคนไม้......ต้นแคฝอยไว......อัคร์สาวกชี้
"ขัณฑะ,ติสสะ"....มีประชุมคลี่....รวมสามครั้งถี่....สงฆ์หลายประชุม

  ๕.หกล้านแปดแสน......หนึ่งแสนรูปแก่น.....แปดหมื่นรูปสุม
สามครั้งล้วนมา....ขีณาสพกลุ่ม...."อโสกะ"คุม.....พุทธ์อุปฐากครัน

  ๖.พระพุทธ์บิดา......นามพันธุมา......พุทธ์มารดานั้น
นาม"พันธุมตี"....เมืองที่ครองพลัน...พันธุมตีนั่น....เป็นราช์ธานี

  ๗.สอง"พระสิขีฯ".......สกุลกษัตริย์ชี้........สามสิบเอ็ดหนี
กัปป์ปัจจุบัน...."โกณฑัณฯ"นามคลี่.....อายุยืนปรี่....เจ็ดหมื่นปียง

  ๘.ตรัส์รู้โคนไม้.......บุณฑริกไกล......อัคร์สาวกบ่ง
"อภิภู"ด่ำ...."สมภวะ"ตรง....มีประชุมสงฆ์....รวมสามครั้งนา

  ๙.แสนรูป,แปดหมื่น.......และเจ็ดหมื่นรื่น.......ล้วนขีณาฯหนา
พุทธ์อุป์ฐากดัง....."เขมังกรฯ"กล้า.....รับใช้ทั่วหล้า.....พระพุทธ์เจ้าเอย

  ๑๐.พระพุทธ์บิดา......."อรุณะ"นา.....พุทธ์มารดาเผย
"ปภาวตี".....เมืองที่ครองเอ่ย......"อรุณวะฯ"เคย.....ศูนย์กลางนคร

  ๑๑.สาม"พระเวสส์ภูฯ"......สกุลกษัตริย์อยู่.......สามสิบเอ็ดก่อน
กัปป์ปัจจุบัน......"โกณฑัณฯ"นามพร.....อายุยืนช้อน....หกหมื่นปีชม

  ๑๒.ตรัส์รู้โคนไม้......"สาละ"วิไล......อัคร์สาวกสม
"โสณณะ,อุตตระ"....มีประชุมคม....สามครั้งพร่างพรม....ล้วนเป็นขีณาฯ

  ๑๓.แปดหมื่น,เจ็ดหมื่น......และหกหมื่นชื่น......พุทธ์อุป์ฐากหนา
ชื่อ"อุป์สันตะ"....ผู้สนองกล้า....คล้ายกับเลขา....พุทธ์องค์ครัน

  ๑๔.พระพุทธ์บิดา......"สุปปติ"จ้า......พุทธ์มารดานั้น
นาม"ยสว์ตี"....จะมีเมืองดั้น....อโนมะพลัน....เป็นราช์ธานี

  ๑๕.สี่"กกุสันธ์ฯ"......สกุลพราหมณ์ดั้น.....ในภัทท์กัปป์นี้
"กัสส์ปะ"โคตรเดิม....เจริญสี่หมื่นปี....ตรัสรู้รี่....โคนไม้ซีกพรรณ

  ๑๖.อัคร์สาวกคู่......"วิธูระ"รู้......."สัณชีวะ"สรร
การประชุมจัด.....อุบัติเดียวมั่น....รวมสาวกนั้น....สี่หมื่นรูปคง

  ๑๗.สาวกทั้งมวล......ขีณาสพล้วน.....มาประชุมส่ง
วุฑฒิชะ.....อุปฐากสงฆ์....พระพุทธ์เจ้าตรง....อยู่ใกล้ชิดงาน

  ๑๘.พระพุทธ์บิดา......เป็นพราหมณ์ชาญหนา....."อัคคิฯ"นามขาน
พระพุทธ์มารดา....."วิสาขา"กราน....."เขมว์ตีฯ"สาน....เมืองหลวงครองครัน

  ๑๙.ห้า"โกนาคม"......ตระกูลพราหมณ์สม......ภัทร์กัปป์เดียวกัน
"กัสส์ปะฯ"โลด......ชื่อโคตรเดิมสรรค์....อายุกระชั้น.....ได้สามหมื่นปี

  ๒๐.ตรัสรู้เอื้อ.....โคนไม้มะเดื่อ......อัคร์สาวกชี้
ข้างซ้าย-ขวาปะ...."ภิยโย"ดี...."อุตตะ"ที่....ช่วยงานพุทธ์ฯเอย

  ๒๑.ประชุมสาวก......เกิดครั้งเดียวพก........สามหมื่นรูปเผย
สาวกล้วนคว้า.....ขีณาสพเชย....อุป์ฐากชื่อเปรย...."โสตถิชะ"นา


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤศจิกายน, 2567, 04:34:36 PM

(ต่อหน้า๒/๓) ๑๑.มหาประทานสูตร

  ๒๒.พุทธ์บิดานาม....."ยัญญ์ทัตตะ"ถาม......"อุตต์รา"มารดา
"โสภะ"เจ้าครอง....เมืองผ่องปกหล้า...."โสภาว์ตี"นา....ราชธานี

  ๒๓.หก"กัสสปะ"ทูน......เกิดพราหมณ์ตระกูล......ในภัทท์กัปป์นี้
โคตรเดิมนะ.....กัสสปะรี่....อายุเต็มปรี่....สองหมื่นปีไกล

  ๒๔.ตรัส์รู้โคนต้น......นิโครธ,ไทรทน......อัคร์สาวกไข
ภารัทวาชะ....ติสสะคู่ไซร้....มีประชุมได้....แค่เพียงครั้งเดียว

  ๒๕.สงฆ์แค่สามหมื่น......เข้าประชุมยืน.....ขีณาสพเจียว
พุทธ์อุป์ฐากชิด...."สัพพ์มิตตะ"เทียว....รับใช้ปราดเปรียว....พระพุทธ์เจ้านา

  ๒๖.พุทธ์บิดาชื่อ......"พรหมทัตตะ"ลือ......"ธน์วาฯ"มารดา
"กิงกิ"เจ้าครอง....ปกป้องเมืองฟ้า...."พาราณสี"มา......ราชธานี

  ๒๗.เจ็ดตัวพระองค์......เกิดกษัตริย์วงศ์.....ในภัทท์กัปป์นี้
"โคตมะ"นาม....ชื่อตามโคตรรี่....ด้อยอายุมี....เหลือร้อยปีพาน

  ๒๘.อายุเกินกว่า......มีน้อยยากหา......เพราะความจนขาน
ลักขโมยเอา.....ศีลเซาพร่องราน....อาฆาตมุ่งผลาญ....ห่วงประโยชน์ตน

  ๒๙.โคตมพุทธ์ฯใฝ่......ตรัสรู้โคนไม้....."อัตสัตถะ"ยล
สาริบุตรขวา....ปัญญาเลิศผล....ซ้าย"โมคคัลฯ"ดล....ฤทธิ์เกริกวิบูลย์

  ๓๐.ประชุมครั้งเดียว......สงฆ์หนึ่งพันเจียว......กับสองห้าศูนย์
ทั้งหมดล้วนหนา....ขีณาสพดูลย์....พุทธ์อุป์ฐากกูล....พระพุทธ์เจ้างาน

  ๓๑.พุทธบิดา......."สุทโธท์นะฯ"หนา.....พุทธ์มารดาพาน
เอ่ยนาม"มายา".....อยู่หล้าเมืองผ่าน....กบิลพัสด์ฯกราน....ราชธานี

  ๓๒.โคตมพุทธ์ฯตรัส......ประวัติ"วิปัสส์ฯ"....เกิดเป็นคนคลี่
ถึงเป็นพุทธ์เจ้า....มีเหย้าจากที่....โพธิสัตว์ชี้....มาก่อนธรรม์ดา

  ๓๓.พระโพธิสัตว์.......เกิดเป็นคนชัด......ลุพุทธ์เจ้าหนา
มีเหตุการณ์เกิด....หลายเพริศในหล้า....ต่างการเกิดนา.....ของสัตว์อื่นใด

  ๓๔.แรกโพธิสัตว์......จากสวรรค์ชัด.....ดุสิตสรวงใส
สู่ครรภ์มารดา....แสงจ้าพร่างไกล....โลกธาตุหวั่นไหว....สะเทือนโลกนา

  ๓๕.เทพ์บุตรสี่ตน......อารักขาท้น......สี่ทิศทั่วฟ้า
ป้องกันภัยรุด....อมนุษย์นา....และจากคนคร่า.....ทำลายพระโพธิ์ฯ

 ๓๖.พระโพธิ์,มารดา......ทรงศีลห้าหนา......มารดามิโร่
รู้สึกทางกาม....ใจตามชายโผล่....ชายใดล่วงโข....มิก่อได้เลย

  ๓๗.พระมารดามี......ลาภสมบูรณ์คลี่.....กามคุณห้าเผย
ไม่มีโรคใด....หว่างไซร้ครรภ์เกย....จะเห็นกายเอย....พระโพธิ์สัตว์ชิน

  ๓๘.พระโพธิ์อุบัติ......ครบเจ็ดวันชัด......พระมารดาสิ้น
สู่ดุสิตครอง....ปกป้องครรภ์ปิ่น....มิให้สัตว์ผิน....มาเกิดได้ครา

  ๓๙.พุทธ์มารดามี.......ครรภ์สิบเดือนปรี่.......จึงคลอดออกมา
หญิงอื่นประมาณ....เก้าผ่านธรรม์ดา....อาจสิบเดือนล่า....ส่วนน้อยนิดเดียว

  ๔๐.หญิงอื่นนั่ง,นอน......จึงคลอดลูกอ่อน......พุทธ์มารดาเดี่ยว
ยืนคลอดขณะ....ชมปะสวนเทียว....เทพสี่ตนเกรียว....รีบรับก่อนคน

  ๔๑.แรกประสูติคาด......โพธิ์สัตว์สะอาด......น้ำร้อน-เย็นล้น
สนานทั่วกาย....โพธิ์ฯกรายเดินท้น....เจ็ดก้าวพูดก่น....จะเป็นเลิศนา

  ๔๒.ชาตินี้โพธิ์สัตว์.....เกิดสุดท้ายชัด.......ขณะประสูติหนา
เกิดแสงสว่าง....กระจ่างทั่วหล้า....หมื่นโลกธาตุอ้า....สั่นไหวสะเทือน

  ๔๓.วิปัสฯกุมาร......ประสูติมินาน......พราหมณ์พิศร่างเกลื่อน
ทายกุมารว่า....รูปหนาครบเงื่อน....สามสิบสองเอื้อน....บุรุษยิ่งพา

  ๔๔.ถ้าครองเรือนแล้ว......เป็นจักรพรรดิ์แกล้ว......ถ้าผนวชหนา
จักเป็นพุทธ์เจ้า....ฝึกเร้าเลี้ยงมา....นั่งตักบิดา....ว่าราชการ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, พฤศจิกายน, 2567, 08:51:28 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๑.มหาปทานสูตร

  ๔๕.ทรงพิจารณ์ดี......ถูกเรียกชื่อชี้......"วิปัสสี"ขาน
ผู้รู้แจ้ง,แปล....ต่อแต่นั้นพาน.....พบคนแก่ผลาญ....ตาย,นักบวชไกล

  ๔๖.วิปัสฯออกบวช......พิจารณ์ธรรมรวด......"ปฏิจจ์ฯ"ปัจจัย
เหตุเกิดเกี่ยวข้อง....โซ่คล้องชิดใกล้....เกิด-ดับขันธ์ไว....ลุพุทธ์เจ้าครัน


  ๔๗.แรก"วิปัสสีฯ".......คิดไม่สอนรี่.......ธรรมลึกยากด้น
แต่ทรงคิดว่า....ผู้กล้ามิหวั่น....จึงเริ่มสอนพลัน...."ขัณฑะ"บุตรชาย

  ๔๘.และสอนธรรมลือ......ปุโรหิตชื่อ.....ติสสะเพียรหลาย
ทั้งสองเห็นธรรม....บวชนำขวนขวาย....อรหันต์กราย....ส่งสอนมวลชน

  ๔๙.เมื่อครบหกปี......กลับพันธุมตี......ประชุมสงฆ์ก่น
วิปัสฯพุทธ์เจ้า.....แจงเกลาธรรมล้น....."ปาฏิโมกข์"ผล.....เหมือน"โอวาทปาฯ" ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๖-๓๑๙

พุทธ์เจ้า,พุทธ์=พระพุทธเจ้า
กเรกุฎี=กเรริกุฎี (กุฎีมีมณฑปทำด้วยไม้กุ่มตั้งอยู่เบื้องหน้า)
เชต์วนาราม=เชตวนาราม ของ อนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี
ปุพเพนิวาฯ=ปุพเพนิวาส ความเป็นไปในชาติก่อน
พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์=๑)พระวิปีสสีพุทธเจ้า ๒)พระสิขีพุทธเจ้า ๓)พระเวสสภูพุทธเจ้า ๔)พระกกุสันธพุทธเจ้า ๕)พระโกนาคมนพุทธเจ้า ๖)พระกัสสปพุทธเจ้า ๗)พระโคตมพุทธเจ้า
กัลป์,กัปป์=กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย  อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป  แต่กัปปหนึ่งยาวนานกว่านั้น
ขีณาสพ=ผู้มีอาสวะ(กิเลส)สิ้นแล้ว คือ พระอรหันต์
พุทธ์อุป์ฐาก=พุทธอุปฐาก คือผู้รับใช้พระพุทธเจ้า
อรุณวะฯ=อรุณวตีนคร เป็นราชธานี ของ พระพุทธบิดา อรุณะ ใน พระสิขีพุทธเจ้า
สุปปตีฯ=สุปปตีตะ เป็นพุทธบิดา ของ พระเวสสภูพุทธเจ้า
ยสว์ตี=ยสวตี เป็น พุทธมารดาของ พระเวสสภูพุทธเจ้า
อุป์สันตะ=อุปสันตะ เป็นพุทธอุปฐาก ของ พระเวสสภูพุทธเจ้า
กกุสันธ์ฯ=พระกกุสันธพุทธเจ้า
อัคร์สาวก= อัครสาวก คือสาวก ข้างขวา-ซ้าย ของพระพุทธเจ้า
วิปัสฯ=พระวิปัสสีพุทธเจ้า
ภัทท์กัปป์=ภัททกัปป์ คือ กัปป์ที่มี พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ พระองค์ (สารกัปป์ มีพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์;มัณฑกัปป์ มี ๒; วรกัปป์ มี ๓;สารมัณฑกัปป์ มี ๔;ภัททกัปป์ มี ๕ พระองค์)
กัปป์ ปัจจุบันนี้=เป็น ภัททกัปป์ มีพระพุทธเจ้าอุบัติมาแล้ว ๔ พระองค์ คือ ๑)พระกกุสันธพุทธเจ้า ๒)พระโกนาคมนพุทธเจ้า ๓)พระกัสสปพุทธเจ้า ๔)พระโคตมพุทธเจ้า ๕) ว่าที่ พระเมตไตรยพุทธเจ้า (ขณะนี้ยังอยู่ในพุทธกาล ของ พระโคตมพุทธเจ้า)
อัคคิฯ=อัคคิทัตตะ เป็นพุทธบิดา ของ  พระกกุสันธพุทธเจ้า
เขมว์ตี=เขมวตีนคร เป็นเมืองของพระเจ้าเขมะ
ภิยโย=ภิยโยสะ เป็นอัครสาวกของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า
อุตต์รา=อุตตนา เป็นพุทธมารดา ของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า
โสภาว์ตี=โสภาวตี เป็น ราชธานี ของพระเจ้า โสภะ
ธน์วาฯ=ธนวตี เป็น พุทธมารดา ของ พระกัสสปพุทธเจ้า
อัตสัตถะ=ต้นโพธิ์ เป็นชื่อเรียกใหม่
โมคคัลฯ=โมคคัลลานะ อัครสาวก เบื้องซ้าย ของ พระโคตมพุทธเจ้า
พระโพธิ์ฯ=พระโพธิสัตว์ คือ บุคคลที่ปรารถนาพระโพธิญาณ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงบำเพ็ญบารมีธรรม อุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยาก ยินดีสละสิ่งของได้ทุกอย่างจนถึงชีวิต และสิ่งเสมอด้วยชีวิต คือ บุตร ภรรยาของตน
มหาปุริสลักษณะ=คือ ลักษณะ ๓๒ ประการ ที่บอกให้รู้ว่าผู้ที่มาเกิดจะได้เป็นบุคคลสำคัญยิ่ง หรือเรียกพระโพธิสัตว์ ลักษณะ เช่น ๑)ฝ่าเท้าเรียบเสมอกัน ๒)ใต้ฝ่าเท้า ๒ ข้างมีลายกงจักรเกิดขึ้น ๓)มีส้นบาทยาว ๔)นิ้วมือ ๔ นิ้ว,นิ้วเท้าทั้ง ๕ เสมอกัน ไม่เหลื่อมสั้น-ยาว เหมือนมนุษย์ ๕)ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อ่อนนุ่ม ฯลฯ
ปฏิจจ์ฯ=ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่เกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่
ปาฏิโมกข์=หลักคำสอนสำคัญทางศาสนา เช่น ไม่ทำบาปทั้งปวง,ทำกุศลให้ถึงพร้อม,การทำจิตให้บริสุทธิ์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, พฤศจิกายน, 2567, 10:26:56 AM
ประมวลธรรม :๑๒.มหานิทานสูตร(สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่)

กาพย์พรหมคีติ

  ๑.ณ นิคม"กัมมาฯ"...............แคว้นใหญ่นา"กุรุ"หรู
พุทธ์เจ้าประทับอยู่.................พระอานนท์ด้นเฝ้าครัน
ทูลถึงธรรม"ปฏิจจ์ฯ"..............ที่เกิดชิดอาศัยกัน
แม้จะลึกซึ้งชัน.......................อานนท์ติงว่าตื้นเอย

    ๒.พุทธ์องค์ทรงห้าม............อย่าพูดลามความนั้นเอ่ย
ปฏิจจ์ฯและเงาเปรย................ลุ่มลึกถ้ามิรู้ธรรม
สัตว์จึงไม่พ้น"อบาย"...............สภาพฉายตกต่ำหนำ
ท่องวนเวียนเกิดซ้ำ.................ยุ่งเหยิงดั่งหญ้าเกลื่อนตา

  ๓.ทรงแนะปฏิจจ์ฯเด่น............อะไรเป็นปัจจัยหนา
สิ่งใดบ้างพึ่งพา........................ต่อกันคล้ายโซ่ตรวน
ถ้ามีผู้ถามว่า.............................เกิด,ตายนาปัจจัยผวน
หรือไม่พึงตอบด่วน....................ว่ามีชี้แต่เกิดเลย

  ๔.เพราะเกิดเป็นปัจจัย............แก่,ตายไซร้จึงตามเผย
ภพเป็นปัจจัยเกย......................จึงมี"ชาติ,เกิด"ตามมา
"อุปาทาน,ยึด"รี่.........................ปัจจัยนี้ก่อภพครา
"อยาก"เป็นปัจจัยพา..................จึงมีอุปาทานตาม

   ๕.เพราะ"เวท์นา,รู้สึก".............ปัจจัยนึก"อยาก"จึงลาม
"ผัสสะ"ปัจจัยผลาม...................สัมผัสเกิดมีเวท์นา
รูป-นามปัจจัยชัด........................จึงมีผัสสะกระทบมา
"ปฏิสนวิญญ์ฯ"พา......................จึงมีรูป,นามเกิดตน

   ๖.นามรูปเป็นปัจจัย.................ก่อเกิดได้วิญญาณผล
วิญญาณปัจจัยด้น......................จึงมีนามรูปทั้งมวล
นามรูปเป็นปัจจัย........................ผัสสะไซร้กระทบถ้วน
ผัสสะปัจจัยยวน.........................จึงมีเวท์นาอารมณ์

   ๗.เพราะเวท์นาเป็นปัจจัย........."ตัณหา"ไวอยากเพิ่มสม
ตัณหาปัจจัยบ่ม..........................จึงมีอุปาทานยง
อุปาทานปัจจัย............................มีภพไกลใช่ประสงค์
ภพเป็นปัจจัยบ่ง...........................จึงมี"ชาติ',เกิด"รอคอย

  ๘.เพราะชาติเกิดปัจจัย...............แก่,ตายใกล้ใฝ่มิถอย
เหตุปัจจัยวนคล้อย.......................หว่างนามรูป,วิญญาณ
ต่างผลัดเป็นปัจจัย.......................ของกันไปมาซมซาน
แล้วจึงต่อเนื่องซ่าน......................ถึงอันอื่นสืบต่อไป

  ๙.ทรงสรุปวิญญาณ...................นามรูปซานเป็นปัจจัย
ของกันและกันได้.........................เหตุสัตว์แก่,ตาย,เกิดมา
มีเหตุคำบัญญัติ............................การรู้ชัดด้วยปัญญา
เรียกชื่อและพูดจา........................มีวัฏฏะวนเวียนปน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, พฤศจิกายน, 2567, 10:41:07 AM

(ต่อหน้า ๒/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร

  ๑๐.พุทธ์องค์ทรงแสดง..............บัญญัติแจง"อัตตา,ตน"
สี่ประการแก่ชน...........................หนึ่ง,ตนน้อยมีรูปเอย
สอง,อัตตารูปมี.............................หาที่สุดมิได้เผย
สาม,อัตตาน้อยเคย......................ไม่มีรูปจะเห็นใด

  ๑๑.สี่,ตนรูปไม่มี.........................และหาที่สุดมิได้
บัญญัติดังกล่าวไซร้.....................ย่อมมีได้สามประการ
ตนมีปัจจุบัน.................................แค่นั้นตายแล้วสูญขาน
ตนเป็นอย่างนี้พาน.......................เห็นว่าเที่ยงไม่เปลี่ยนแปลง

  ๑๒.อีกพวกบัญญัติตน................ลบล้างพ้นเห็นต่างแย้ง
จูงสู่ความเห็นแข่ง.........................เข้าใจตนถูกต้องแล
ส่วนการไม่บัญญัติ........................ตัวตนอัตตาสี่แน่
ย่อมพ้นเหตุจริงแท้........................ไม่มีประมาณใดเลย

  ๑๓.หนึ่ง,ไม่บัญญัติตน.................มีรูปทนท่องกามเผย
ย่อมไม่ถือตนเคย..........................จึงไม่ติดสันดานไว
สอง,ไม่บัญญัติตน.........................มีรูปพ้นหาสุดไหน
ไม่บัญญัติสภาพใด........................ถือจนติดสันดานปลง

  ๑๔.สาม,ไม่บัญญัติตน..................ไร้รูปยลล้นกามบ่ง
ไม่เห็นว่าจะคง................................สภาพไม่เที่ยงให้เปลี่ยนแปร
สี่,ไม่บัญญัติตน..............................ไร้รูปปนหาสุดแฉ
ย่อมไม่ถือตนแน่............................เพื่อรอสภาพเที่ยงนา

  ๑๕.พุทธ์องค์ทรงแสดง................ความคิดแจงสามข้อหนา
เรื่องเวท์นา,อัตตา...........................ความรู้สึกตรึกตัวเรา
หนึ่ง,เห็นเวทนา...............................เป็นอัตตาตัวตนเนา
ด้วยความรู้สึกเร้า...........................ตลอดมาจนชินเคย

  ๑๖.สอง,เวท์นามิใช่......................อัตตาไซร้ของตนเอ่ย
อัตตามิรู้เลย...................................อารมณ์รู้สึกไม่มี
สาม,เวท์นามิใช่..............................อัตตาใดของตนชี้
ตนไม่รู้สึกรี่....................................หรือตนก็มีอารมณ์

  ๑๗.พุทธ์เจ้าเฝ้าติงเตือน...............อย่ายึดเยือนสามข้อสม
ภิกษุตรึกตรองคม...........................ไม่ยึดใดในโลกเอย
ไม่ยึดถือก็หน่าย.............................ดิ้นรนคลายสงบเผย
จึงดับสนิทเอย................................การเกิดสิ้นสุดไปครัน

  ๑๘.พฤติพรหมจรรย์สิ้นแล้ว..........กิจอื่นแคล้วแผ่วสิ้นผัน
ภิกษุหลุดพ้นนั้น.............................ไม่ควรใครกล่าวหาความ
สัตว์ตายแล้วเกิดใหม่.....................ตายแล้วไป่เกิดอีกผลาม
มีเกิด,ไม่เกิดตาม............................ทั้งเกิดมิเกิดมิเป็น

  ๑๙.ข้อนั้นเพราะเหตใด.................พุทธ์เจ้าไซร้ตรัส"วัฏฏ์ฯ"เด่น
วัฏฏะหมุนเวียนเน้น.........................ตราบยังมีบัญญัติ"คำ"เปรย
ทางเรียกชื่อ,พูดสวย.......................ทางรู้ด้วยปัญญาเอ่ย
สงฆ์รู้มิ"ติด"เลย..............................สมมติบัญญัติหมุนเวียน

  ๒๐.ต่อนั้นพุทธ์องค์แจง.................ที่อยู่แฝง"ฐิติวิญญาฯ"เถียร
ในสัตว์เจ็ดพวกเดียร.......................กายเหมือนหรือต่างกันครา
หนึ่ง,กายสัตว์ต่างนำ........................สัญญา"จำ"มิเหมือนหนา
เทวาบางพวกนา..............................มนุษย์,เปรตบางกลุ่มเอย

  ๒๑.สอง,มีกาย,สัญญา....................เดียวกันนาใน"อบาย"เผย
พวกเทพ,พรหมเกิดเชย....................ด้วยสำเร็จปฐมยาม
สาม,มีกายเหมือนกัน........................สัญญาครันต่างกันฉาน
เทพ"อภัสสร"ปาน.............................ลุทุติย์ฌานรมย์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, พฤศจิกายน, 2567, 08:33:54 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร

   ๒๒.สี่,มีกาย,สัญญา.....................อย่างเดียวนาเช่นเทพสม
พวก"สุภกิณห์ฯ"พรหม...................ลุตติย์ฌานไกล
ห้า,สัตว์ไร้รูปมา.............................ใจเพ่งอากาศไม่สุดไซร้
พวก"อากาฯ"พรหมไว....................ลุ"อากาสานัญจาฯ"

  ๒๓.หก,สัตว์ไร้รูปฉาน.................มุ่งวิญญาณมิสุดหนา
"วิญญาณัญฯ"พรหมมา.................ถึง"วิญญาญัญจาฯ"ไกล
เจ็ด,สัตว์ไร้รูปเห็น.........................ใจมุ่งเด่นว่างเปล่าไง
คือ"อากิญฯ"พรหมไซร้..................ถึง"อากิญจัญญาฯ"ดล

  ๒๔.ครั้นแล้วทรงแจงนา...............ที่ต่อ"อาย์ตนะ"ผล
หนึ่ง"อสัญญีฯ"ยล..........................มีรูปแต่ไร้วิญญาณ
มิมีสัญญา,จำ.................................ไม่อยู่ส่ำเจ็ดพวกขาน
เรียก"อาย์ตนะ"พาน.......................รู้เกิด,ดับมีโทษ,คุณ

  ๒๕.สอง,"เนวสัญญ์ฯ"ไซร้.............ไร้รูปไร้วิญญาณกรุ่น
รู้เกิด,ดับ,โทษ,คุณ.........................รู้ทางพ้น"เนวสัญญาฯ"
ภิกษุทราบอุบาย............................ควรจะหน่ายเพื่อพ้นหนา
"ฐิติวิญญาณ"ลา............................และ"อาย์ตนะ"สองพลัน

  ๒๖.พุทธ์องค์ถามอานนท์.............รู้ทางพ้น"ฐิติฯ"เจ็ดมั่น
และอายตนะนั้น.............................ควรหรือจะชื่นพอใจ
อานนท์ทูลมิควร............................พุทธ์องค์ชวนรู้จริงไซร้
หลุดพ้นไม่ยึดไว้............................ด้วยปัญญาวิมุติครัน

  ๒๗.พุทธ์องค์ทรงชี้......................หลุดพ้นหนีวิโมกข์ผลัน
ลำดับมีแปดขั้น..............................เป็นอย่างนี้จริงแท้แล
หนึ่ง,ผู้ได้รูปฌาน...........................ย่อมพานเห็นรูปได้แฉ
สอง,ไม่หมายสิ่งแท้........................ไร้รูปจะเห็นรูปนอกกาย

  ๒๘.สาม,น้อมใจมั่นว่า...................กสิณหนาสิ่งงามปราย
สี่,ผู้ใจแน่วกราย.............................อากาศมิมีสุดทาง
จะลุ"อากาสาฯ"..............................ดับสัญญารูป,รส..ขวาง
ห้า,เพ่งวิญญาณลาง.......................มิสุดลุ"วิญญาณัญฯ"

  ๒๙.หก,เพ่ง"ไม่มีใด"......................จะลุได้"อากิญจัญฯ"
เจ็ด,ล่วงพ้นหกพลัน........................ลุ"เนวสัญญาฯ"นา
แปดผู้ล่วงพ้นเจ็ด...........................สัญญาเด็ด"เวทยิตฯ"กล้า
สงฆ์ถึงวิโมกข์นา............................ถอยจากหลัง-หน้าชำนาญ

  ๓๐.สงฆ์กระทำเข้า-ออก...............วิโมกข์ดอกแคล่วคล่องงาน
ย่อมลุ"เจโตฯ"พาน.........................จึงหลุดพ้นด้วยสมาธิ์
ลุ"ปัญญาวิมุติ"...............................จึงหลุดพ้นด้วยปัญญา
สิ้น"อาสวะ"นา................................หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

  ๓๑.พุทธ์องค์ทรงตรัสโชว์............ทั้งเจโตวิมุติเริง
ปัญญาวิมุติเบิ่ง...............................เรียก"อุภโตภาคฯ"ยล
ผู้พ้นทั้งสองทาง.............................มิมีอย่างอื่นเยี่ยมผล
จบคำเทศน์อานนท์.........................กล่าวชมภาษิตพุทธ์องค์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
 
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อ ทีฆนิกาย มหาวัคค์
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๙-๓๒๓


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, พฤศจิกายน, 2567, 02:33:11 PM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร

กัมมาฯ=กัมมาสธัมมะ ชื่อนิคมในแคว้นกุรุ
ปฏิจจ์ฯ=ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่เกิดขึ้นอาศัยกันและกัน เช่น นามรูป เป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาณ,ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
อุปาทาน=ความยึดมั่น ถือมั่น
ตัณหา=ความทะยานอยาก
เวท์นา=เวทนา คือ ความรู้สึก รับรู้อารมณ์ สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข
ผัสสะ=สัมผัส ถูกต้อง
นาม=คือ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ได้แก่ เวทนา, สัญญา, เจตนา ความจงใจ,มนสิการ ควรทำไว้ในใจ
รูป =คือสิ่งที่เป็นรูปเห็น เพราะอาศัย ธาตุ ๔
ปฏิสนวิญญ์ฯ=ปฏิสนธิวิญญาณ คือ ธาตุรู้ที่ถือกำเนิด ก้าวลงในครรภ์มารดา
สมมติบัญญัติ=คือ สิ่งที่ไม่มีลักษณะของสภาพธรรม แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดจากการคิดนึก(เกิดขึ้นจากอาศัย สภาพธรรมของ จิต และเจตสิก เช่นการเห็นรูปจึงบัญญัติว่าเป็น คน สัตว์ ขณะที่เห็นมิใช่การเห็น แต่เป็นการนึกคิด ในสิ่งที่เห็น)
วัฏฏ์ฯ=วัฏฏ สงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
อัตตา=ตัวตน
ฐิติวิญญาณ= คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ มี ๗ อย่าง
อบาย=อบาย ๔ คือภพที่หาความสุขได้ยาก ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และ เดียรฉาน
อายตนะ=คือที่ต่อ มี ๒ อย่าง คือ ๑)อสัญญีสัตตยตนะ-พวกที่มีแต่รูป ไม่มีวิญญาณ ๒)เนวสัญญานาสัญญายตนะ-คือที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
 วิโมกข์= คือ ความหลุดพ้น มี ๘ อย่าง
ปฐมยาม=ฌานที่ ๑
ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน  คือ ฌานที่ ๒ ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง)  สงบระงับ
เทพอภัสสร=คือ อาภัสสรพรหม ชั้นทุติยฌานภูมิ มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน
สุภกิณห์ฯ=สุภกิณหพรหม คือ พรหมชั้น ตติยฌานภูมิ มีกายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน
ตติย์ฌานฯ=ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ
อากาฯ=ผู้เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง
วิญญานัญฯ=ผู้เข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
อากิญฯ=ผู้เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
เนวสัญญ์ฯ=ผู้เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง
เวทยิตฯ=สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้
เจโตฯ=เจโตวิมุติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิ
ปัญญาวิมุติ= คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ
อุปโตภาคฯ=เป็นชื่อของพระอรหันต์ซึ่งหลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน(วาระ)คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติ และหลุดพ้นจากนามกายด้วย อริยมรรค อีกหนหนึ่ง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, พฤศจิกายน, 2567, 08:31:19 AM

ประมวลธรรม : ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร(สูตรว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า)

กาพย์กากคติ

  ๑.พระพุทธเจ้า.....ประทับ ณ เขา......สิคิชกูฏ
ราช์คฤห์ใกล้ยาตร...."อชาติศัส์ฯ"พูด....ต้องการตีปรูด....รวมแคว้นวัชชี
ส่ง"วัสส์การฯ"พราหมณ์......เฝ้าพุทธ์เจ้าถาม.....ความเห็นควรชี้
ทรงถามอานนท์....ชนวัชชีนี้....พฤติธรรมใดที่....ไม่เสื่อมแต่คง

  ๒.อะนนท์ซิเผย......สดับซิเคย......นิกรเจาะบ่ง
หนึ่ง,ประชุมนิตย์....สอง,ชิดประจง....เริ่ม,เลิกพร้อมตรง....ทำกิจครบครัน
สาม,การบัญญัติ.......ไม่เปลี่ยนแปลงจัด.......บัญญัติมิผัน
จะประพฤติธรรม....เก่าล้ำคงมั่น....ปฏิบัติกัน....คงเดิมอีกนาน

  ๓.เลาะสี่,จะนบ......ชราสยบ......ริเชื่อเหมาะการ
ห้า,ไม่ข่มเหง....เพ่งหญิงรุกราน....ภัสดายังพาน....และกุมารี
หก,จะเคารพ.......กราบเจดีย์นบ......ก่อสานพิธี
เจ็ด,รักษ์อร์หันต์....ครันอยู่สุขศรี....ที่ยังไม่มี....ก็ขอให้มา

  ๔.พระองค์ก็ขาน......กะวัสสการฯ......กุสัตตะหนา
ธรรมไม่เสื่อมนี้....รี่จำเริญหล้า....แก่วัชชีนา....ที่"สาเจดีย์ฯ "
วัสส์การทูลแค่......หนึ่งไม่เสื่อมแล......ไม่ถึงเจ็ดคลี่
"อชาติฯ"ไม่ควร....ด่วนรบวัชชี....ต้องปลุกปั่นปรี่....จึงสำเร็จงาน

  ๕.แหละ"วัสสะฯ"ไซร้.....สิลาลุไกล......พระองค์ก็สาน
รวมสงฆ์ทั้งมวล....ล้วนชุมนุมการ....แจงธรรมยั้งราน....การเสื่อมสิ้นลง
ของสงฆ์เจ็ดข้อ.......เหมือนวัชชีหนอ......โดยเพิ่มหลายบ่ง
หว่างอยู่ที่นี้....ทรงชี้สอนตรง....ศีล,สมาธิ์คง....พรั่งพร้อมปัญญา

  ๖.เสด็จเลาะสวน......มะม่วงเหมาะควร......แจรงสมาธิ์
ศีล,ปัญญาเฟื่อง....เมืองนาฬันทา...."สารีบุตร"นา....กล่าวเสริญชื่นชม
สู่เมือง"ปาฏ์คามฯ".....ทรงแจ้งภัยลาม.....จากศีลเสื่อมตรม
มีห้าอย่างถึง....หนึ่ง,เสื่อมทรัพย์ปม....สอง,ลือชั่วฉม....สาม,ขวยเขินอาย

  ๗.ลุสี่จะหลง.....ประลัยจะส่ง......และห้าก็ตาย
สู่ภพที่ทุกข์....สุขไม่เคยกราย....ต้องโทษทัณฑ์ผาย....ลำบากชั่วกาล
แต่ศีลสมบูรณ์......ก่อผลอาดูรย์......สู่แดนสรวงศานติ์
สุขอิ่มใจคว้า....เวลาเนิ่นนาน....แย้งผู้ศีลราน....ผลตรงข้ามกัน

  ๘."สุนิธฯและวัสส์ฯ"......อมาตย์ซิชัด......มคธศรัณย์
ชายแดนวัชชี....ปรี่มคธครัน....แม่คงคานั้น....กั้นสองหว่างกลาง
มคธสร้างเมืองยุทธิ์.......ที่ปาฏคามฯรุด......เชิญสงฆ์ฉันพลาง
ส่งพุทธ์องค์นา...."ท่าโคดม"กลาง....เป็นท่าน้ำห่าง....ข้ามแม่คงคา

  ๙.เสด็จลุ"โกฏิ์ฯ".......บุรีซิโปรด......ประชาคณา
ทรงแจงธรรมเขื่อง....เรื่องศีล,สมาธิ์....เพียรสู่ปัญญา...."อรีย์สัจจ์ฯ"ไกล
สู่นาทิกคาม.......อานนท์,สงฆ์ถาม......ตายแล้วไปไย
ผู้พฤติตนอาจ....คาดเดาตนได้....จะตกต่ำไหม....เป็นอย่างใดมี


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, พฤศจิกายน, 2567, 08:43:10 AM

  (ต่อหน้า ๒/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร

  ๑๐.ณ ป่ามะม่วง......สิ"อัมพะฯ"บ่วง......แสดง"สตีฯ"
"สัมป์ชัญญ์ฯ"รู้ตัว....จั่วรู้สึกดี...."สตีปัฏฯ"สี่....การฝึกภาวนา
เวทนา,กาย......จิต,ธรรมเด่นฉาย......ตั้งมั่นแน่วหนา
รู้ความเป็นจริง....ทิ้งความยึดกล้า....หมดอำนาจล้า....กิเลสหมดลง

  ๑๑.ก็"อัมพะฯ"ชี้.....สิโสภิณี......นิมนต์พระองค์
ฉันภัตต์วันรุ่ง....จุ่งลิจฉ์วีฯบ่ง....ขอทำแทนตรง....แลกเงินแสนไว
อัมพ์ปาฯตอบว่า.....แม้"เวสาฯ"หล้า.....ไม่คิดแลกไซร้
พุทธ์เจ้าไม่รับ.....กับคำขอใด....ของลิจฉ์วีไกล....นอกจากอัมพ์ปา

  ๑๒.พระองค์แสดง......พระธรรมแจรง......กุศีล,สมาธิ์
พร้อมปัญญาพร่าง....แก่นางอัมพ์ปา....ซึ่งได้มอบป่า....นอบน้อมสงฆ์เอย
จากนั้นพุทธ์องค์.....จำพรรษาตรง......"เวฬุว์คามฯ"เผย
ทรงอาพาธหนัก....จักต้องลาเอ่ย....จึงตั้งจิตเปรย....ดำรงชีพยง

  ๑๓.ลุหายประชวร.....อะนนท์ตริด่วน......หทัยพะวง
พุทธ์องค์ตรัสนำ....สอนธรรมล้วนตรง....อีกชัดเจนบ่ง....ไม่มีนอก-ใน
ไม่ปิดบังธรรม.......ไม่ทรงยึดหนำ......ปกครองสงฆ์ไข
ไม่คิดว่าสงฆ์....คงเรียนธรรมใด....จากพุทธ์องค์ได้....ด้วยวัยสูงแล

  ๑๔.พระพุทธ์องค์......ตริอายุบ่ง......อสีติแท้
เหมือนเกวียนเก่าซ่อม....กรอมด้วยไผ่แล....มีแต่พังแน่....ไม่ช้าไม่นาน
ทรงเตือนพึ่งตน......ธรรมล้นเพิ่มผล......เน้นสี่"ปัฏฐานฯ"
ให้ภิกษุสงฆ์.....จงพฤติธรรมซ่าน....จนสำเร็จงาน....เพิ่มกำลังสำคัญ

  ๑๕.พระองค์เสด็จ......"ปะวาละฯ"เก็จ......นิมิตกระชั้น
โอภาสชัดเจน....เด่น,บอกใบ้นั้น....แก่อานนท์พลัน....ด้วย"อิทธิ์บาท"เอย
เป็นธรรมต้องการ......ให้ชีพยืนนาน.....ถึงร้อยปีเผย
อานนท์ไม่ทัน....คิดผันความเลย....ไม่อาราธ์นาเอ่ย....จึงต้องพลาดไป

  ๑๖.ผิมารประโยชน์......เหมาะทูลระโลด......ลุ"นิพฯ"สิไว
ไม่ต้องการเพิ่ม....เติมผู้รู้ไซร้....หรืออร์หันต์ได้....ในธรรมเลิศเลอ
สัมป์ชัญญ์รู้ดี......จึงปลงใจคลี่.....อีกสามเดือนเอ่อ
นิพพานแน่ชัด....เกิดอัศจรรย์เจอ....แผ่นดินไหวเออ....รู้สึกได้เตือน

  ๑๗.อะนนท์ตริหา.......ก็เหตุธรา......สิไหวสะเทือน
ทรงแจ้งแปดข้อ....เหตุก่อไหวเลื่อน....เนื่องด้วย"ลมเคลื่อน"....."ผู้มีฤทธิ์ดล"
โพธิ์สัตว์"ก้าวนา......ครรภ์พุทธ์มารดา"......แล้ว"ประสูติ"ล้น
ครา"ตรัส์รู้"นำ....แจง"ธัมม์จักรฯ"ผล...."ปลงอายุ"ตน....ดับขันธ์"นิพพาน"

  ๑๘.พระพุทธองค์......กุ"ขัตติฯ"บ่ง......เจาะอัฏฐะขาน
ทรงสอนบรรษัท....ชัดแปดกลุ่มพาน....นับร้อยครั้งชาญ.....กล้าหาญไม่เกรง
ราชา,เหล่าพรหมนา......ผู้มั่งคั่งหนา......ชุมนุมสงฆ์เผง
เทพชั้นดาวดึงส์....ถึง"จาตุมฯ"เอง....เหล่ามาร,พรหมเก่ง....พุทธ์องค์ปลอดภัย

  ๑๙.พระองค์ตริแจง......"ภิภายะฯ"แจ้ง......ซิงำระไว
เหตุอารมณ์หลาย....เห็นกรายแปดไซร้....เช่นหมายรูปใน....เห็นนอกเล็กนา
หมายรูปในยิ่ง......รูปนอกเห็นจริง......มากล้นดาษดา
จดรูปไม่มี....นอกนี้เล็กหนา.....ไร้รูปในมา.....เห็นรูปนอกพราว

  ๒๐.อรูปจรด......สิในจะทด......รูปนอกสีขาว
หมายไร้รูปใน....ไซร้นอกเห็นวาว....รูปสีแดงจาว....แปลกแตกต่างกัน
รูปไร้หมายใน.......นอกเห็นรูปไกล......มีสีเหลืองสรรค์
แปดข้อรู้ทำ....ครอบงำรูปนั้น.....ไม่ยึดติดครัน....แต่เป็นนายเอย

  ๒๑.วิโมกข์จะตรัส......สิอัฏฐะจัด.....มลานซิเผย
จิตหลุดพ้นหยุด....ยุดอารมณ์เคย....พ้นด้วยฌานเกย....."อาส์วาฯ"สิ้นลง
เช่น"มีรูป"ตน.......เห็นรูปนอกก่น......รูปฌานสี่ตรง
ผู้ไร้รูปจด....เห็นหมดรูปบ่ง....อยู่ภายนอกคง....เสร็จด้วยรูปฌาน

  ๒๒.หทัยริงาม......กสิณริตาม......มิมีประมาณ
ผู้ทำใจว่า...."อากาศ"มีพาน....ไม่สิ้นสุดผ่าน....ถึง"อากานัญฯ"
ผู้ทำใจรุด......วิญญาณไม่สุด....."วิญญานัญฯ"พลัน
ผู้ที่ทำใจ....ไม่มีใดยั่น....ถึง"อากิญจัญฯ"....สำเร็จแน่ปอง

  ๒๓.นราลุผ่าน......"อะกิญญ์ฯ"สราญ......ลุ"เนวสัญญ์ฯ"ผอง
แล้วจึงผ่านมา...."สัญญาเวทย์ฯ"ครอง....จำ,เวท์นาตรอง....กิเลสคลายนา
สัญญาเวทย์ฯนี้......เป็นญาณสูงชี้........ที่ " อนาคาฯ"
อรีย์ขั้นสาม....ลามขั้นสี่หนา....คืออร์หันต์กล้า.....มุ่งหมายเสร็จครัน

  ๒๔.แหละพุทธองค์......สิตรัสจะปลง.......อะยุละขันธ์
อานนท์ทูลทรง.....ดำรงชีพมั่น....ทรงไม่รับพลัน....พ้นการณ์ผ่านเลย
ทรงบอกใบ้แล้ว.......หลายครั้งคราแน่ว.......ราช์คฤห์สิบเผย
หก,เวสาลี.....ไม่มีใครเอ่ย....ไม่ใช่กาลเชย.....เปลี่ยนความตั้งใจ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, พฤศจิกายน, 2567, 08:56:49 AM

   (ต่อหน้า ๓/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร

  ๒๕.พระองค์ประชุม......พระสงฆ์ลุดุ่ม......ณ "เวสะฯ"ไกล
สอนสตีปัฏฐาน....กรานสติสี่ไข...."สัมมัปป์ฯ"เพียรไซร้.....อิทธิ์บาทผลครอง
อินทรีย์หน้าที่.......ของตนห้าคลี่......พละธรรมกำลัง
โพชฌงค์เจ็ด....เสร็จตรัส์รู้หยั่ง....มรรคแปดทางดัง....ทรงดับทุกข์จริง

  ๒๖.สิธรรมสกล......"อภิญญ์ฯ"ดล......วิชายะยิ่ง
ต้องเตือนสงฆ์ไว้....ไกลปรามาทสิง....มุ่งเพียงธรรมดิ่ง....ให้สำเร็จการ
แล้วมุ่ง"ภัณฑ์คาม".......สอน"อรีย์ฯ"ตาม.....ธรรมเลิศสี่ขาน
ศีล,สมาธิ์พร้อม....น้อมปัญญาพาน....วิมุติพ้นผ่าน....จากอาส์วะครัน

  ๒๗.พระองค์คระไล......ณ "หัตถิฯ"ไว.....เลาะ"อัมพะฯ"พลัน
สู่"ซัมพุคาม"....ตามด้วย"โภคะฯ"นั้น....เพื่อสอนธรรมดั้น....แด่เหล่าสงฆ์,ชน
 ทรงแจงพิเศษ....."มหาปเทส".......หลักเทียบเคียงค้น
เป็นสัทธรรมจริง....อิงตรวจสอบล้น....กับพระสูตรยล.....และพระวินัย

  ๒๘.เสด็จ"ปะวาฯ".......พะพร้อมคณา......สิภิกษุไซร้
มีบุตรช่างทอง....ถ่อง"จุนทะ"ใกล้....นิมนต์ฉันไว....ซึ่งเนื้อสุกร
ทรงให้ถวาย......เฉพาะองค์กราย......ภัตรอื่นสงฆ์วอน
สั่งฝังเนื้อนั้น....พลันอาพาธร้อน....ตกโลหิตซ้อน....สติกลั้นพา

  ๒๙.เสด็จ"กุสีฯ".......ปะ"ปุกกุฯ"รี่......ก็สนทนา
ถวายผ้าสีทอง....ผ่องหนึ่งคู่หนา.....ทรงแนะแบ่งผ้า....อีกหนึ่งอานนท์
อานท์ถวาย.....ผ้าพุทธองค์ฉาย......ทูลผิวงามล้น
ทรงตรัสผิวพรรณ....ครันผ่องใสท้น....คราตรัส์รู้ยล....คืนจะนิพพาน

  ๓๐.พระองค์ตริตรัส.......อะนนท์ซิชัด......ก็"จุนทะ"ทาน
อย่าเดือดร้อนใจ....ไหวภัตรเขาผลาญ....พระองค์นิพฯราน....จงบอกเขาไป
บิณฑ์บาตรถวาย....ก่อนตรัส์รู้ผาย.....ก่อนนิพพานไข
อานิสงส์ล้น....แล้วด้นป่าไม้...."สาละ"ที่ใกล้....กุสินารา

  ๓๑.พระพุทธ์สิชาญ......ตริเร้าสถาน.......พลังซินา
สังเวชนีย์สี่...."ที่ประสูติ"หนา...."ตรัส์รู้"ในหล้า...."แรกแสดงธรรม"
"ปรินิพพาน".......เป็นที่เตือนซ่าน......ชีพไม่เที่ยงหนำ
พุทธ์บริษัท....ชัดจาริกด่ำ....จิตเลื่อมใสย้ำ....ไปสวรรค์ตรง

  ๓๒.อะนนท์สินำ.....วิธีกระทำ.....กะกายพระองค์
ทรงบอกเหมือนนัก....จักรพรดิ์บ่ง...ห่อผ้าใหม่คง....ตามด้วยสำลี
แล้วห่อสลับ.......กันไปแล้วนับ.....ห้ารอยชั้นมี
ใส่รางเหล็กเติม....เสริมน้ำมันคลี่....จิตกาธานปรี่....เผาสิ่งหอมครัน

  ๓๓.สตูปเสาะสร้าง......เจาะที่กระจ่าง......จะเห็นประชัน
ผู้เป็น"ถูปาฯ"....ว่าควรการสรรค์....มีสตูปดั้น....คือพระพุทธ์องค์
ปัจเจกพุทธ์เจ้า.....สาวกพุทธฯเหล่า......และจักร์พรรดิ์บ่ง
เพื่อรำลึกถึง....ตรึงบุญคุญส่ง....เพียรทำดีตรง....ของพลเมือง

  ๓๔.อะนนท์พิลาป.....ก็เสขะทราบ......มิบรรลุเรือง
ไม่ถึงอร์หันต์....พลันพุทธ์องค์เปลื้อง....สู่นิพพานเนื่อง....ตรัสปลอบใจไว
ธรรม์ดาพรากวาย.....ไม่หยุดเสื่อมกาย.....เมตตา"เรา"ใส
ทั้งกาย,วาจา....ใจกล้าบุญใหญ่....เพียรมั่นทำใจ....ย่อมสิ้นอาสฯพลัน

  ๓๕.แหละตรัสกะสงฆ์.....ก็เสริญผจง......อะนนท์ขยัน
พุทธ์อุป์ฐากเด่น....เป็นบัณฑิตลั่น....รู้การจัดสรร....ชนเฝ้าพุทธ์องค์
พหูสูตรยิ่ง.....รู้ธรรมหลายสิ่ง.....จำแม่นยำตรง
พุทธ์บริษัท....ชัดพอใจส่ง....มาฟังธรรมคง....เนืองแน่นทุกครา

  ๓๖.อะนนท์แนะเรื่อง.....มิควรเจาะเมือง....."กุสีนราฯ"
ที่ปรินิพพาน....ขานเมืองเล็กนา....ควรเลือกใหญ่กล้า....เช่นโกสัมพี
ราช์คฤห์,จัมปา......ตรัส"กุสีฯ"ว่า......เป็นเมืองใหญ่ศรี
"กุสาว์ตี"ชื่อ....ลือจักร์พรรดิ์รี่....นาม"สุทัสส์ฯ"นี้....รุ่งเรืองมานาน

  ๓๗.พระองค์ตริแจง......อะนนท์กุแจ้ง......ลุนิพฯมลาน
เหล่ามัลล์กษัตริย์....ชัดเศร้าโศกซาน....บังคมลากราน.....ยามแรกราตรี
นักบวชนอกศาสน์...."สุภัทฯ"ไม่พลาด.....ขอถามธรรมปรี่
พุทธ์องค์สอนธรรม....เขาพร่ำบวชรี่....สาวกท้ายที่....ทันเห็นพุทธองค์

  ๓๘.พระพุทธสิสั่ง......เจาะความซิขลัง.....อะนนท์สิบ่ง
หนึ่ง,ธรรม,วินัย....ไซร้"เรา"แจงตรง....บัญญัตแล้วคง....จักเป็นศาส์ดา
ของท่านทั้งหลาย.....ตถาคตวาย.....ล่วงลับแล้วหนา
พระธรรมยังอยู่....คู่พระสงฆ์กล้า....พร้อมชนมากหน้า....ชั่วกาลนาน

  ๓๙.ลุสอง ณ ครา......พระองค์ลุลา......คระไลสิผ่าน
สงฆ์ไม่ควรเรียก....เพรียกถ้อยคำพาน...."อาวุโส"ขาน....ควรเรียกใหม่แทน
เรียกสงฆ์วัยเยาว์......เรียก"ชื่อของเขา"....หรือ"ชื่อโคตร"แก่น
พูดกับสงฆ์แก่....แน่"อายัสฯ"แผน...."ภันเต"ยิ่งแม้น....ท่านผู้เจริญ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, พฤศจิกายน, 2567, 09:39:12 AM

   (ต่อหน้า๔/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร

  ๔๐.ริสาม,ผิ"เรา"......ลุล่วงซิเก่า.....ละกฏและเมิน
สิกขาบทน้อย....สงฆ์คล้อยเผชิญ....ประโยชน์ไม่เสริญ....ให้ตัดทอนพลัน
สี่,"เรา"ล่วงแล้ว.....ทำพรหมทัณฑ์แน่ว....."พระฉันนะ"ผลัน
ไม่บำเพ็ญธรรม....ตนซ้ำดื้อรั้น....จงปล่อยไปครัน....ไม่ต้องตักเตือน

  ๔๑.พระองค์ซิบ่ง.....ผิสงฆ์พะวง.....คะแคลงมิเชือน
สงสัยพระพุทธ....รุดพระธรรมเกลื่อน....หรือพระสงฆ์เงื่อน....ปฏิบัติใด
ให้สงฆ์ถามมา......ทุกข้อต่อหน้า.....พุทธ์องค์ปองไข
อานนท์ทูลรี่....มิมีถามไหน....ตรัสห้าร้อยไซร้....ต่ำโสดาบัน

  ๔๒.เจาะตรัสซิท้าย.....ก็ภิกษุหลาย......จะเตือนกระชั้น
สังขารเสื่อมไว....ไม่ประมาทกัน....ให้ถึงพร้อมครัน....ด้วยความสมบูรณ์
หมายถึงให้เร่ง.....พฤติธรรม,ศีลเคร่ง.....สมาธิ์,ปัญญ์ฯพูน
วิปัสส์นาเพียร....กิเลสเตียนสูญ....พ้นวัฏฏะพู้น....การเกิดสิ้นราน

  ๔๓.พระองค์ลุทาง......เลาะนิพฯระหว่าง.....อรูปฌาน
รูปฌานแล.....แน่ไม่ติดสาน....ทั้งสองเลิกกราน....ตามลำดับเอย
รูปฌานหนึ่งผ่าน......สอง,สาม,สี่ขาน.....ฌานมีรูปเผย
อรูปฌานสี่....ไม่มีรูปเลย....เข้าสู่หนึ่งเปรย....สอง,สาม,สี่ครัน

  ๔๔.เลาะอัฏฐะฌาน......เจาะเก้าสิฐาน......"สมาฯ"ละพลัน
สัญญา,เวท์นา....ดับมาแล้วสรรค์....ย้อนฌานแปดยัน....ฌานหนึ่งอีกครา
แล้วจากฌานหนึ่ง.....สู่ฌานสองถึง......ฌานสาม,สี่หนา
ออกจากฌานสี่....ทรงปรี่"นิพฯ"นา.....แผ่นดินไหวกล้า....เลื่อนลั่นรุนแรง

  ๔๕.สิ"มัลละฯ"ตั้ง......พระศพก็หวัง.....ซิเทิดแถลง
บูชาเจ็ดวัน....ดั้นครบแล้วแจง.....ถวายเพลิงแกร่ง....โดย"กัสส์ปะฯ"กราน
สงฆ์ร่ำไห้ครวญ......."สุภัทฯ"ห้ามด่วน.....ควรดีใจฉาน
ไม่มีใครห้าม.....ทำตามใจผ่าน....กัสส์ปะคิดอ่าน....สังคายนา

 ๔๖.ถวายพระเพลิง.......ลุแล้วก็เบิ่ง......"พระอัฏฐิฯ"หนา
กษัตริย์,พราหมณ์หลาย....ขอกรายแบ่งคว้า....มัลละฯไม่อ้า ยอมให้ผู้ใด
โทณพราหมณ์เกลี้ยกล่อม....เกิดสงบถ้ายอม......แบ่งเท่ากันไป
ตกลงกันแล้ว.....แน่วสร้างสตูปไว้.....บรรจุ"ธาตุฯ"ไซร้....บูชาพระคุณ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อ ทีฆนิกาย มหาวัคค์
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๓๒๓-๓๒๙

อชาติศัส์ฯ, อชาติ์=พระเจ้าอชาติศัตรู
วัสส์การฯ,วัสสะ=วัสสการพราหมณ์
อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระโคดมพุทธเจ้า
วัชชี=แคว้นวัชชี มีกรุงเวสาลี เป็น ราชธานี
สัตตะ=เจ็ด
สาเจดีย์ฯ=สารันทเจดีย์
สารีบุตร=พระสาริบุตร อัครสาวก เบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า
ปาฏ์คามฯ=ปาฏลิคาม
สุนิธฯ=สุนิธพราหมณ์
วัสส์ฯ=วัสสการพราหมณ์
มคธ=แคว้นมคธ มีกรุงราชคฤห์ เป็นราชธานี
โกฏิ์=โกฏิคาม
อรีสัจจ์ฯ=อริยสัจ ๔
สตี=สติ คือความรู้สึกตัว
สัมป์ชัญญ์ฯ=สัมปชัญญะ คือ ความไม่เผลอตัว
สตีปัฏฯ,ปัฏฐานฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือ วิธีปฏิบัติให้บังเกิดผลดีที่สุด เพื่อรู้แจ้งความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มี ๔ อย่าง ๑)กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณากายในกาย-กำหนดลมหายใจเข้าออก ๒)เวทนานุปัสสนสติปัฏฐาน- พิจารณา รู้ว่า ทุกข์ สุกข์ หรือ อทุกขมสุขเวทนา ๓)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาจิต มี ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ ๔)ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อัมพะฯ,อัมพ์ปา=นางอัมพปาลี เป็นหญิงนครโสเภณี
ลิจฉ์วี=พระเจ้าลิจฉวี
เวฬุว์คาม=เวฬุวคาม
อสีติ=แปดสิบ
ปะวาละฯ=ปาวาลเจดีย์
นิพฯ=ปรินิพานของพระพุทธเจ้า
ธรรมจักรฯ=ธรรมจักรกัปวตนสูตร คือธรรมที่ทรงแสดงครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์
ขัตติฯ=ขัตติยบริษัท
อัฏฐะ=แปด
ดาวดึงส์=สวรรค์ชั้นที่ ๒
จาตุมฯ=จาตุมหาราชิกา คือ สวรรค์ชั้นแรก ของ เทวดา
ภิภายะฯ=อภิภายตนะ คือ อารมณ์อันครอบงำธรรมะที่เป็นข้าศึก
วิโมกข์= คือ ความหลุดพ้น มี ๘ อย่าง
กสิณ=การภาวนา ใช้วัตถุเพ่งจูงจิตให้เป็นสมาธิ
อนาคาฯ=พระอนาคามี คือพระอริยะ ลำดับที่ ๓
ราชคฤห์=กรุงราชคฤห์
เวสะฯ=เมืองเวสาลี
สัมมัปป์ฯ=สัมมัปปธาน ๔ ความเพียรชอบ
อิทธิ์บาท๔=ธรรมอันให้บรรลุความสำเร็จ
อินทรีย์ ๕=ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน
โพชฌงค์ ๗=ธรรมเป็นเครื่องประกอบให้ตรัสรู้
อภิญญฯ=อภิญญาเทสิตธรรม รวม ๓๗ อย่าง คือ ธรรมที่แสดงแล้ว ด้วยความรู้ยิ่ง
ภัณฑ์คาม=ภัณฑคาม กรุงเวสาลี
อรีย์ฯ=อริยสัจ ๔
หัตถิฯ=หัตถิคาม
อัมพะฯ=อัมพคาม
โภคฯ=โภคนคร
มหาปเทส=คือหลักอ้างอิงเพื่อสอบสวนข้อกล่าวอ้างของผู้อื่นที่ว่าเป็นธรรม,วินัย คำสอน ของพระพุทธเจ้า ๔ ประการ
ปะวาฯ=กรุงปาวา
จุนทะ=ผู้ถวาย สูกรมัททวะ(มังสะสุกรอ่อน) แด่พระพุทธเจ้า
กุสีฯ=เมืองกุสินารา ที่จะสด็จ ปรินิพพาน
ปุกกุฯ=ปุกกุสะ ผู้ถวายผ้าสีทอง
สังเวชนีย์=สังเวชณียสถาน ๔
สตูป=ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ถูปาฯ=ถูปารหะ คือ ผู้ควรแก่สตูป
กุสาว์ตี=กุสาวตี
สุทัสส์ฯ=พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จักรพรรดิ์ ครอง เมือง กุสาวตี มาก่อน ภายหลัง เป็น กุสินารา
มัลล์กษัตริย์=มัลลกษัตริย์ ผู้ครองเมือง กุสินารา
สุภัทฯ=สุภัททะ เป็นปริพพาชก นักบวชนอกศาสนา
เรา=ที่นี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า
อายัสฯ=อายัสมา คือท่านผู้มีอายุ เรียกภิกษุที่แก่กว่า
ภันเต=ท่านผู้เจริญ คำเรียกภิกษุที่แก่กว่า
พระฉันนะ=เป็นสหชาติ ของพระพุทธเจ้า เกิดวันเดียวกัน ได้ขี่ม้ามาส่งพระพุทธเจ้าออกบวช ต่อมาได้ออกบวช เป็นผู้ดื้อ สอนยาก ชอบวางตนเหนือผู้อื่น ไม่เพียรปฏิบัติธรรม
ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ มี รูปฌาน ๑-๔ และ อรูปฌาน ๑-๔
รูปฌาน ๔= แบ่งเป็น ๑)ปฐมยาม=ฌานที่ ๑. ๒)ทุติยฌาน  คือ ฌานที่ ๒ ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง)  สงบระงับ ๓)ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)จตุตถฌาน เป็น ฌานที่ ๔ มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
อรูปฌาน ๔=พรหมที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ แบ่งได้ ๑)เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง ๒)เข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง ๓)เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง ๔)เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง
สมาฯ=สมาบัติ หรือเรียก สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้
อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ
กัสสปะ=พระกัสสปเถระ ผู้จุดไฟถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
สุภัทฯ=สุภัททะ เป็นภิกษุที่บวชเมื่อแก่
พระอัฏฐิฯ,ธาตุฯ=พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า
โทณพราหมณ์=พราหมณ์ผู้ไกล่เกลี่ย ให้มัลลกษัตริย์ ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ให้เมืองต่างๆ หลีกเลี่ยงสงคราม


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, ธันวาคม, 2567, 09:42:52 AM

ประมวลธรรม : ๑๔.มหาสุทัสสนะสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์)

รการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.พุทธ์เจ้าตรัสเล่า"กุสาว์ตี"
กับพระอานนท์ชี้อดีตผ่าน
ของ"กุสีนาราฯ"บุรีขาน
ที่"ปรีนิพพาน"พระพุทธ์องค์

   ๒.เมืองกุสาว์ตีกษัตริย์ครอง
นาม"สุทัสส์ฯ"ปกผ่องประเทืองบ่ง
พร้อมอุดมสมบูรณ์และมั่งคง
เสริมซิแก้วเจ็ดอย่างอุบัติหนา

   ๓.หนึ่งก็"จักรแก้ว"หมุนสิรอบทิศ
ชำนะก่อเกิดมิตรสกลมา
สอง,ปะ"ช้างแก้ว"เผือก"อุโบฯ"กล้า
สามซิ"ม้าแก้ว"ชื่อ"วลาหก"

   ๔.สี่,เจอะ"แก้วไพฑูรย์"มณีแผ้ว
ห้า,นรี"นางแก้ว"ละไมปรก
หก,เสาะ"ขุนคลังแก้ว"สะทรัพย์พก
เจ็ดก็"ขุนพลแก้ว"แนะพร่ำสอน

   ๕.แล้ว"สุทัสส์ฯสัมฤทธิ์เจาะสี่เพิ่ม
"รูปตระการ"ชีพเสริมยะยืนพร
โรคพยาธิ์มีน้อยมิไหวคลอน
ชาวประชา,พราหมณ์ถ้วนรตีหนา

   ๖.ธรรมชาติร่มรื่น"สระโบกฯ"ตาม
สินและปราสาทงามวิจิตรหล้า
กรุงเจริญมั่งคั่งวิบูลย์พา
สุขลุทั่วฟ้าไกลอลังกาล

   ๗.พุทธเจ้าตรัสเล่าสุทัสส์ฯกราย
ตรึกวะผลดีหลายอุบัติพาน
เนื่องเพราะกรรมดีคือเจาะให้"ทาน"
"ฝึกฤทัย,สัญญ์มาฯ"ก็สำรวม


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, ธันวาคม, 2567, 10:14:04 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๔.มหาสุทัสสนะสูตร

   ๘.จึงเกาะบำเพ็ญฌานสงบใจ
ตรึกละกาม,ฆาตไกลลิเบียนร่วม
บรรลุฌานหนึ่ง-สี่เจริญสรวม
พรหมวิหารสี่แผ่มนัสหา

   ๙.ด้วยประกอบ"เมตตา"ริให้สุข
"ความกรุณพ้นทุกข์"มุทีตาฯ"
พลอยรตียินดีสิเขาหนา
มี"อุเบกขา"วางหทัยกลาง

  ๑๐.แล้วตริลดการเฝ้าซิน้อยลง
กาลจะฝึกจิตบ่งสิมากพร่าง
แต่สุภัททาพร้อมทหารพลาง
ขอสุทัสส์ฯเห็นราชสมบัติ

  ๑๑.เห็นชิวิตให้ทรงละบำเพ็ญ
แต่สุทัสส์ฯตรัสเด่นสิขอชัด
ควรจะขอตรงข้ามละทรัพย์ปัด
อย่าริเห็นแก่ชีพมิถูกหนา

   ๑๒.ธรรมดาพรากรักก็เสียใจ
ผู้ปะคนตายไซร้ถวิลหา
ห่วงพะวงไม่ตัดจะทุกข์มา
ถูกติเตียนคิดผิดมิถูกตรง

   ๑๓.นางสุภัททาขอลุอีกครั้ง
ตามสุทัสส์ฯแจงสั่งและฝืนปลง
กาลพิลาลัยของสุทัสส์ฯบ่ง
พรหมโลกด้วย"พรหมวิหาร"เผย

   ๑๔.ครันพระพุทธ์เจ้าตรัสพระองค์ชัด
คือสุทัสส์ฯจักรพรรดิ์ยะยิ่งเอ่ย
พร้อมสะพรั่งสมบูรณ์ธนาเชย
คุมนครเขตขัณฑสีมา

   ๑๕.พุทธองค์ทรงสอนสรุปความ
แก่พระอานนท์ตาม"กุสาว์ฯ"นา
เจ้าสุทัสส์ฯปกครองนครหนา
มากหละหลายแต่ครองกุสาว์ฯหนึ่ง

   ๑๖.มีคละปราสาทครองตะอยู่ที่
"ธัมมปราสาท"ชี้ซิเดียวพึ่ง
มีแหละหลายเรือนยอดตะอยู่ถึง
เรือน"วิยูฯ"แห่งเดียวซิเท่านั้น

   ๑๗.แม้จะมีบัลลังก์สิมากมาย
เอกะแค่หนึ่งกรายมิมากครัน
แม้จะมีช้างมากก็ขี่ดั้น
แค่"อุโบสถ"คราวละตัวเดียว


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, ธันวาคม, 2567, 07:46:17 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๔.มหาทัสสนะสูตร

   ๑๘.ม้าเจาะมากอีกหลายก็ขี่ได้
ม้า"วิลาหก"ไซร้ซิปราดเปรียว
รถซิมีมากหลายตะใช้เยียว
เอกะหนึ่งคัน"เวชยันต์"พราว

   ๑๙.มีสตรีมากมายตะรับใช้
ทีละคนจริงไซร้ซิหนึ่งคราว
ผ้าเจาะคู่กันมีซิมากฉาว
เอกะคู่ใช้คราวละหนึ่งคู่

   ๒๐.ภัตรทะนานมากหลายจะกินได้
หนึ่งทะนานเดียวไซร้ก็พออยู่
ดูอะนนท์สังขารลุล่วงไหล
ดับลิไกลปรวนแปรทลายแล้ว

   ๒๑.เห็นเจาะตัวสังขารมิเที่ยงไซร้
ไม่ยะยืนวางใจจะต้องแคล้ว
ควรจะหน่ายสังขารละคลายแน่ว
ควรละกำหนัดเพื่อพ้นคระไลเสีย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๒๙-๓๓๑

กุสาว์ตี=กุสาวตี คือชื่อ ราชธานีเก่าในอดีต ของ กุสินารา
กุสีนารา=กรุงกุสินารา ที่พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน
ปรีนิพพาน=ปรินิพพาน คือ การนิพพานของพระพุทธเจ้า แบบ อนุปาทิเสสนิพพาน(ดับกิเลสพร้อมขันธ์ ๕ สิ้นชีวิต) ส่วนอุปาทิเสสนิพพาน(ดับกิเลสหมด แต่ยังไม่ดับขันธ์ ๕ ยังมีชีวิตอยู่)
สุทัสส์ฯ=พระเจ้า มหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์
อุโบฯ=อุโบสถ เป็นชื่อของช้างแก้ว
สระโบกฯ=สระโบกขรณี
สัญญ์มาฯ=สัญญมะ คือ การสำรวมจิต
ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
พรหมวิหาร ๔=หลักธรรมที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มี ๔ อย่าง คือ ๑)เมตตา-คิดให้เขาเป็นสุข ๒)กรุณา-คิดให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๔)อุเบกขา-วางใจเป็นกลาง
สุภัททา=พระราชเทวี ของ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ
อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระพุทธเจ้า
วิยูฯ=มหาวิยูหะ คือชื่อเรือนยอด


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, ธันวาคม, 2567, 09:26:22 AM

ประมวลธรรม : ๑๕.ชนวสภสูตร(สูตรว่าด้วยยักษ์ชื่อชนวสภะ)

มุทิงคนาทฉันท์ ๑๔

   ๑.พระพุทธ์ฯเสด็จ ณ "เวสาฯ"
แวะพัก ณ "นาทิคามฯ"กราย
"อะนนท์ฯ"ริถามมนุษย์ตาย
จะเกิดซิไรลุไหนจด

   ๒.พระองค์ตริตอบแหละรายคน
"พระพิมพิฯ"ด้นตถาคต
อุบัติซิยักษ์"ชนาฯ"พรต
ณ "จาตุฯ"ชั้นสวรรค์หนึ่ง

   ๓.พระพิมพิฯหวัง"อรีย์"สูง
"สกาทะฯ"จูงซิเหนือถึง
และเล่าประชุม ณ"ดาวดึงส์ฯ"
ณ ธรรม์สภาคละเทพ,พรหม

   ๔.สิ,เห็นวะผู้ประพฤติธรรม
พระพุทธะล้ำประเทืองสม
จะเหนือพระพรหมและเทพข่ม
เจาะผิวและยศเสาะใครเทียม

   ๕.และเล่า"สนังกุมาร"กล่าว
ภะษิตคละยาวประชุมเยี่ยม
เจาะสัตตเจ็ดแหละเรื่องเอี่ยม
กะเทวดาและพรหมวงศ์

   ๖.เจาะหนึ่งพิบูลย์กะศีลพร้อม
พระพุทธและน้อมพระธรรม,สงฆ์
จะถึงสวรรค์"ปราฯ"บ่ง
ลุสัตตสูงนิชั้นกาม

   ๗.และต่ำระ"จาตุฯ"แรกเบิ่ง
สุเมรุซิเชิง"อะกาศ"คาม
เจาะสุดซิเทพประจำตาม
เกาะไม้สิใหญ่ก็"คนธรรพ์"


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, ธันวาคม, 2567, 10:20:19 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๕. ชนวสภสูตร

   ๘.เลาะสองก็อิทธิบาทสี่
ลุเสร็จระคลี่ซิผลดั้น
กระทำพระพรหมและสงฆ์สรรค์
แสดงนิมิตรและฤทธิ์ไกล

   ๙.เลาะสาม"พระพุทธฯ"ตรัส์รู้
ลุโชคติพรูโฉลกไข
ก็ผู้คละกามตะพ้นไว
ก็ย่อมสุขาลุฌานหนึ่ง

   ๑๐.เพาะกายวจีหทัยหยาบ
กระวนสภาพทุรนตรึง
สิหลังสงบสุขีถึง
ลุฌานสิสองระเรื่อยสี่

   ๑๑.นิกรมิรู้อะไรนัว
กุศลรึชั่วและโทษมี
เหมาะเสพมิควร ฤ ชั่ว,ดี
ปะดำปะขาวซิเป็นจริง

   ๑๒.ผิหลังสดับ"อรีย์ธรรมฯ"
ประพฤติเหมาะล้ำและรู้ยิ่ง
"อวิชฯ"ละได้ลุ"วิชฯ"สิง
สุขีเจาะกล้า"อร์หัตต์"ผล

   ๑๓.เสาะสี่พระพุทธบัญญัติ
"สตีกะปัฏฯ"จรดดล
สถานสิจิตเกาะสี่ท้น
พิจารณ์กะ"กาย"และ"เวท์นา"

   ๑๔.วิจารณ์กะ"จิต"และ"ธรรม"
หทัยกระทำระลึกหนา
สภาวธรรมตระหนักกล้า
ฤดีจะรู้สภาพจริง

   ๑๕.ลุห้า"อรีย์สมาธิ์"นำ
ก็เจ็ดพระธรรมสมาธิ์พริ้ง
เจริญสมาธิ์วิบูลย์ยิ่ง
หทัยอะรมณ์สิหนึ่งเดียว

   ๑๖.ตริเห็นวะทุกขะเหตุไหน
ก็ทางอะไรจะดับเปรียว
ตริชอบลิกามมิฆาตเคี่ยว
มิเบียดและเบียนกะใครเผย

   ๑๗.วจีซิชอบมิเท็จ,เสียด
มิพูดฉะเฉียดและเพ้อเอย
กระทำซิชอบมิฆ่าเลย
ขโมยและผิดกะกามทอน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, ธันวาคม, 2567, 09:31:25 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๕.ชนวสภสูตร

   ๑๘.ตริชีพลุชอบอะชีพไซร้
มิทำซิใครอะดูรร้อน
ตริเพียรลุชอบฤดีถอน
ลิบาปคะคลายเจาะบุญยิ่ง

   ๑๙."สตี"ลุชอบพิจารณ์สี่
ระลึกลุปรี่กะความจริง
ก็เห็นสิกายเจาะในดิ่ง
ลุเวทนาซิในหนา

   ๒๐.ริเห็นกะจิตตะในจิต
ริเห็นประชิดกะธรรมนา
ริสี่"สตี"และ"สัมป์ฯ"กล้า
มุเพียรลิโลภและเศร้าลง

   ๒๑.พระธรรมสิเจ็ดจะช่วยเพิ่ม
สมาธิเสริมพิบูลย์บ่ง
ฉะนั้นหทัยก็มั่นส่ง
สงบกิเลสละคลายเผย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๑-๓๓๒

พระพุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า
เวสาฯ=กรุงเวสาลี
นาทิคาม=ที่พัก ที่พุทธองค์พัก
อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระพุทธเจ้า
พระพิมพิฯ=พระเจ้าพิมพิสาร
ตถาคต=พระพุทธเจ้า คำเรียกแทนตัวพระองค์
ชนาฯ=ชนวสภะ เป็นยักษ์(หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้น จาตุมหาราช) พระเจ้าพิมพิสาร ตายแล้วไปเกิดบนสวรค์ชั้น ที่ ๑
จาตุฯ=จาตุมหาราช ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ใน ๖
อรีย์ฯ=อริยบุคคล คือผู้ที่บรรลุธรรมขั้นสูง มี ๔ ชั้น แรกคือ พระโสดาบัน สูงสุดคือ พระอรหันต์
สกาทะฯ=พระสกทาคามี เป็นชื่อพระอริยะขั้นที่ ๒ใน ๔(เริ่มต้น พระโสดาบัน, พระสกทาคามี,พระอนาคามี,พระอรหันต์)
ดาวดึงส์=เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒
สนังกุมารพรหม=เป็นพรหมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนามาก
ภะษิต=ภาษิต
ปราฯ=ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ (สูงสุดในชั้นกาม)
จาตุฯ=จาตุมหาราช เป็นสวรรค์ชั้นแรก อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ในระดับเดียวกับโลก แต่ลอยอยู่บนอากาศ
อะกาศ=อากาศ
คนธรรพ์=เทพที่อาศัยตามต้นไม้ใหญ่
อิทธิบาท ๔=คือคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี ๑)ฉันทะ -ใฝ่ใจในสิ่งนั้นอยู่เสมอ ๒)วิริยะ -ทำสิ่งนั้นด้วยความเพียร อดทน เอาธุระไม่ถอย ๓)จิตตะ-ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่าน ๔)วิมังสา-ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาหาเหตุผล ตรวจสอบข้อด้อย มีการวางแผน วัดผล แก้ไข
ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
อรีย์ธรรมฯ=คือ ธรรมที่พระอริยะบรรลุ
อวิชฯ=อวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ
วิชฯ=วิชชา ความรู้แจ้งในอริยสัจ
สตีปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือ การตั้งสติพิจารณา กาย,  เวทนา,จิต,ธรรม ทั้งภายในภายนอก
อรีย์สมาธิ์=คือ ธรรม ๗ อย่าง ที่เป็นเครื่องประกอบการเจริญสมาธิ ได้แก่ ความเห็นชอบ,ความดำริชอบ,การเจรจาชอบ,การกระทำชอบ,การเลี้ยงชีพชอบ,ความเพียรชอบ,การตั้งสติชอบ
เห็นชอบ=คือสัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ
คิดชอบ=สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ
วจีชอบ=สัมมาวาจา-การเจรจาชอบ
ทำชอบ=สัมมากัมมันตะ-การกระทำชอบ
อาชีพชอบ=สัมมาอาชีวะ-การเลี้ยงชีพชอบ
เพียรชอบ=สัมมาวายามะ-ความเพียรชอบ
สตีชอบ=สัมมาสติ-การตั้งสติชอบ
สตี=สติ คือความระลึกได้
สัมป์ฯ=สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, ธันวาคม, 2567, 08:54:04 AM

ประมวลธรรม : ๑๖.มหาโควินทสูตร(สูตรว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์)

เปษณนาทฉันท์ ๑๖

   ๑.พระพุทธ์เจ้าทรงประทับ"คิชฌฯ"รี่
ณ "ราชคฤห์"ศรีกะสงฆ์ไพบูลย์
ก็บุตรคนธรรพ์นะ"ปัญจ์ฯ"กราบทูล
และเล่าเรื่องพูนปะจากดาว์ดึงส์

   ๒."สุธัมม์ฯ"แหล่งที่ประชุมได้มี
สิ"สักกาฯ"ชี้พระคุณพุทธ์ฯตรึง
พระศาสดาล่วง,อนาคตถึง
มิเทียบได้พึ่งพระพุทธ์เจ้าเลย

   ๓.พระคุณพุทธ์เจ้าลุแปดอย่างล้ำ
ประเดิมแจงธรรมประโยชน์สุขเอย
นรา,โลก,เทพเจาะเหตุทุกข์หาย
ลิทางดับเอยจะสุขสำราญ

   ๔.เจาะสองทรงแจงพระธรรมเห็นได้
ซิตนเองไซร้มิต้องคอยกาล
เพราะรู้ทันทีซิควรเรียกขาน
ตริตนอย่าผ่านและพ้นเลยไป

   ๕.เสาะสามทรงบอกกุศลธรรม,ดี
มิมีโทษปรี่ตะชั่วโทษไว
แสดงสิ่งที่มิควรเสพได้
ลิสิ่งเลวไกลประโยชน์มากล้น

   ๖.ตริสี่บัญญัติประพฤติข้อวัตร
กะสาวกชัดลุนิพพานผล
ก็เพื่อตัดทุกข์สิถาวรดล
ผละการเกิดพ้นทุรนกายนา

   ๗.มุห้ามีเสขะมิตรกำลัง
มุบำเพ็ญจังอร์หันต์กล้า
สขาที่ได้อร์หันต์แล้วหนา
มิทรงติดพาสมาบัติเคย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, ธันวาคม, 2567, 11:53:47 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๖.มหาโควินทสูตร

  ๘.ริหกมีลาภและชื่อเสียงท้น
กษัตริย์,ปวงชนรตี,รักเอย
ตะฉันอาหารมิเมามัวเผย
ประพฤติองค์เชยนิกรศรัทธา

   ๙.ตริเจ็ดทรงพูดอะไรทำได้
ก็อย่างนั้นไซร้กระทำใดนา
ก็พูดอย่างนั้นตระหนักจริงว่า
เหมาะเชื่อถือหนาปะน่าเลื่อมใส

   ๑๐.เจาะแปดธรรมหลายแสดงแล้วพ้น
มิลังเลด้นมิเคลือบแคลงใด
พระธรรมราบรื่นมิติดขั้นไหน
ตริตรองแล้วไกลและสมบูรณ์ยิ่ง

   ๑๑.ซิพลันมีแสงสว่างจ้าฉาน
"สนังกูมารฯ"นิมิตกายหยาบจริง
เจาะเทพดาว์ดึงส์ซิเห็นร่างอิง
ซิทราบความดิ่งก็เล่า"โชติปาลฯ"

   ๑๒.สิ"โชติปาละฯ"ทำหน้าที่
ปุโรหิตนี้กะ"สัมปาฯ"ผ่าน
นราหลายเรียกวะ"โควินท์ฯ"ชาญ
และสัมปาฯพานสวรร์คตแล้วครัน

   ๑๓.พระโอรส"เรณุ"เพื่อนโควินท์ฯ
ก็ครองราชย์ปิ่นและสมบัติปัน
ก็แบ่งเจ็ดส่วนสิหนึ่งองค์มั่น
ฉส่วนแบ่งกันระหว่างราช์บุตร

   ๑๔.จะมีแคว้นสัตตะ"กาลิงคาฯ"
ก็"อัสส์กา"หนา"อวันตีฯ"รุด
กะแคว้น"โสจีราฯ"วิเทหาฯ"ดุจ
เจาะ"อังคาฯ"นุชและ"กาสี"ท้าย

   ๑๕.ริโควินท์พราหมณ์ฯถวายคำสอน
กษัตริย์เจ็ดป้อนเสมอมาปราย
ซิกาลต่อมาก็ทูลลาผาย
ประพฤติตนกรายกะพรหม์จรรย์ลือ

   ๑๖.เพราะโควินท์พราหมณ์ซิรับเคารพ
ลุจากชนนบนิกรเชื่อถือ
สิเป็นราชาซิเหนือใครยื้อ
และเป็นพราหมณ์ปรือสิเหล่าพราหมณ์เอย

   ๑๗.และเป็นเทวาสิของชนมั่ง
อุทานชื่อหวังจะรับเอื้อเลย
และคราตกใจก็หลุดชื่อเอ่ย
และตั้งใจเผยซินามโควินท์ฯ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, ธันวาคม, 2567, 09:58:41 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๖.มหาโควินทสูตร

   ๑๘.ตริโควินท์ฯได้เจริญฌานมี
วิหารพรหมสี่เจาะอารมณ์จินต์
นราหลายมาเสาะฝึกปรือสิ้น
ริได้ผลยินและยลมากหลาย

   ๑๙.แหละนี่เรื่องเล่าสนังกูมาร
ซิกล่าวความขาน ณ ดาว์ดึงส์ปราย
ตะปัญญ์ฯเล่าต่อพระพุทธ์เจ้ากราย
สิทอดหนึ่งง่าย ณ พื้นโลกา

   ๒๐.พระพุทธ์เจ้าตรัสเสวยชาติชิน
มหาโควินท์ ณ ครั้งนั้นหนา
ตะครั้งนั้นแค่ซิชี้ทางกล้า
ปะกับพรหมนาและอยู่กับพรหม

   ๒๑.ณ ชาตินี้ทรงแสดงแปดมรรค
วิถีทางจักมุนิพพานรมย์
ซิสูงกว่าพรหมเพราะโลกพรหมตรม
มิพ้นห่างซมเสมือนนิพพาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๒-๓๓๓

คิชฌ์ฯ=ภูเขาคิชฌกูฏ
ราชคฤห์ฯ=กรุงราชคฤห์
ปัญจ์ฯ=ปัญจสิขะ เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์
ดาว์ดึงส์=ดาวดึงส์เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒
สุธัมม์ฯ=สุธัมมสภา เป็นที่ประชุม
สักกาฯ=ท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์
พุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า
สนังกูมารฯ=สนังกุมารพรหม เป็นพรหมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนามาก
โชติปาลฯ=โชติปาลมานพ (เป็นพระชาติหนึ่งของ พระโคตมพุทธเจ้า) ได้ทำหน้าที่ปุโรหิตแทนบิดา มีคุณความดีมาก ชนเรียก มหาโควินทพราหมณ์
สัมปาฯ=พระเจ้าทิสัมปติ
เรณุ=พระโอรส ของ พระเจ้าทิสัมปติ
โควินท์ฯ=มหาโควินทพราหมณ์ เป็นพระชาติหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
กาลิงคาฯ=ชื่อแคว้นกาลิงคะ มีราชธานีชื่อ ทันตปุระ
อัสส์นา=ชื่อแคว้นอัสสกะ มีราชธานีชื่อ โปตนะ
อวันตีฯ=ชื่อแคว้นอวันตี มีราชธานีชื่อ มาหิสสติ
โสจีรา=ชื่อแคว้นโสจิระ มีราชธานีชื่อ โรรุกะ
วิเทหาฯ=ชื่อแคว้นวิเทหะ มีราชธานีชื่อ มิถิลา
อังคาฯ=ชื่อแคว้นอังคะ มีราชธานีชื่อ จัมปา
กาสี=ชื่อแคว้นกาสี มีราชธานีชื่อ พาราณสี
วิหารพรหมสี่=พรหมวิหาร ๔ คือธรรมะสำหรับผู้นำและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วย ๑)เมตตา -ความรักใคร่ อยากให้เขามีความสุข มีจิตแผ่เมตตาให้กับสัตว์ทั่วหล้า ๒)กรุณา-ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-ความยินดีให้ผู้อื่นอยู่เป็นสุข พลอยยินดีเมื่อเขาได้ดี ๔)อุเบกขา-ความวางใจเป็นกลาง ดำรงอยู่ในธรรมที่เห็นด้วยปัญญา มีจิตเรียบตรงดังตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชัง
แปดมรรค=มรรค ๘ คือทางปฏิบัติสู่ความดับทุกข์ มี ๘ อย่าง ที่เป็นเครื่องประกอบการเจริญสมาธิ ได้แก่ ๑)สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ ๒)สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ ๓)สัมมาวาจา-การเจรจาชอบ ๔)สัมมากัมมันตะ-การกระทำชอบ ๕)สัมมาอาชีวะ-การเลี้ยงชีพชอบ ๖)สัมมาวายามะ-ความเพียรชอบ ๗)สัมมาสติ-การตั้งสติชอบ ๘)สัมมาสมาธิ-ความตั้งจิตมั่นชอบ จนสามารถทำงานร่วมกับปัญญา ขจัดตัณหาได้รวดเร็ว สงบจิตเป็นอารมณ์เดียว ไม่ไหวหวั่นทั้งพอใจและไม่พอใจ แต่ไม่ติดในอารมณ์ใด เหมือนใบบัวถูกน้ำ แต่น้ำไม่ซึม


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, ธันวาคม, 2567, 01:39:59 PM

ประมวลธรรม : ๑๗.มหาสมยสูตร(สูตรว่าด้วยการประชุมใหญ่)

ยุวมติฉันท์ ๒๕

   ๑.พุทธเจ้าประทับ"มหาฯ"
"กบิละฯ"หล้าพหุพร้อม
พระสงฆ์ก็"ปัญจะฯ"น้อม
สดับและตรึกตรอง

   ๒.กาลสิพรหม ณ"สุทธะวาสฯ"
ก็สี่ตริคาดสุระผอง
ซิ"โลกะธาตุ"สนอง
เจาะสิบแวะมาเฝ้า

   ๓.เทพซิสี่ริเราเหมาะรุด
มุฟังพระพุทธ์ฯนยเร้า
พะพร้อมพระ"คาถะ"เพรา
สิคนละบทเอย

   ๔.แล้วแสดงสิตนปะหน้า
พระพุทธะกล้าวจะเอ่ย
ซิพรรณนาและเปรย
กะจุดประสงค์มา

   ๕.สงฆ์ประพฤติริเพียรลุธรรม
และผู้มุหนำถิรหนา
พระพุทธ์ฯศรัณย์คุณา
มิไปอบายเลย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, ธันวาคม, 2567, 09:49:07 AM

(ต่อหน้า ๒/๒) ๑๗.มหาสมยสูตร

   ๖.แล้วพระพุทธเจ้าก็เล่า
พระสงฆ์ลุเค้ามหเกย
วะเทวดาปะเปรย
ประชุมซิใหญ่สุด

   ๗.ทรงประกาศสิชื่อประเภท
ประชุมเจาะเทพ,อมนุษย์
ซิยักษ์คละหลายก็รุด
จะใกล้สิสองหมื่น

  ๘.นาคกะครุฑและเทพสวรรค์
สิหกก็พลันจรชื่น
พระอินทร์พระพรหมดะดื่น
ซิมารและคนธรรพ์

  ๙.เทพพระพรหมกะเหล่าคละกลุ่ม
จะมาประชุมเยอะแยะครัน
ก็น้อมพระพุทธ์ฯและมั่น
เพราะ"พุทธ์ฯ"สะอาดใส

  ๑๐."พุทธะ"ปราศกิเลสสงบ
เพราะทุกข์ลุจบนิรใกล้
เพราะปัญญะรู้ซิไข
เจาะเหตุลิทุกข์หาย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๓-๓๓๔

มหาฯ=ป่ามหาวัน
กบิละฯ=กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ปัญจะฯ=ปัญจสต แปลว่า ห้าร้อย
สุทธะวาส=สุทธาวาส  คือ ที่อยู่ของพระพรหม ระดับ อนาคามีอริยบุคคลในพุทธศาสนา
โลกะธาตุ=โลกธาตุ คือจักรวาล สรรพสิ่งต่างๆล้วนเป็นธาตุ จึงเรียกว่าโลกธาตุ
คาถะ=คาถา คือคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี
พระพุทธะ,พระพุทธ์ฯ,พุทธะ,พุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า
อมนุษย์=ผู้ที่มิใช่มนุษย์ เช่น เทพ, พรหม, สัตว์นรก, เปรต,อสุรกาย,ภูตผี,ปีศาจ
ยักษ์=เทวดาพวกหนึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่าง มนุษย์กับคนธรรพ์ ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช
นาค=เป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก บนเขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จากอสูร
ครุฑ=เทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่ง อาศัยอยู่ในวิมานสิมพลีอยู่ใต้ปกครองของท้าววิรุฬหก ครุฑกำเนิดมาจากมนุษย์ผู้ทำบุญเจือด้วยโมหะ หลงผิดว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป กรรมจึงนำมาให้เกิด มีที่อยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาสิเนรุ และสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช
มาร=คือสิ่งใดๆที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี แบ่งได้  ๑)กิเลสมาร-ขัดขวางไม่ให้ทำความดี เช่น นิวรณ์ ๕. ๒)ขันธมาร-คือขันธ์ที่บกพร่องผลาญตัวเอง เช่น อยากฟังธรรมแต่หูหนวก  ๓)อภิสังขารมาร-คือความคิดนึกประกอบกับอารมณ์เป็นมาร เป็นตัวปรุงแต่งกรรมทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณา  ขัดขวางมิให้หลุดจากทุกข์ในสังสารวัฏ ๔)เทวปุตตมาร-เทวดาที่เป็นมาร คือท้าว ววสวัตดี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ๕)มัจจุมาร-คือความตายที่ตัดโอกาสทำความดีของตนเอง
คนธรรพ์=คือชาวสวรรค์พวกหนึ่ จัดเป็นเทพชั้นต่ำ เป็นบริวารของ ท้าวธตรฐ ชำนาญในด้านดนตรี และขับร้อง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, ธันวาคม, 2567, 08:10:52 AM

ประมวลธรรม : ๑๘.สักกปัญหสูตร(สูตรว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ)

ร่ายสุภาพ

   ๑.พุทธ์องค์เสด็จถึง    ตรึง"ถ้ำอินท์สาละ"    จะใกล้"ภูเวทฯ"ใหญ่   ตอนเหนือไซร้อัมพ์สณฑ์    ชนราช์คฤห์แล้    แท้ท้าวสักกะชวน    "ปัญจ์สิฯ"ขวนด่วนเฝ้า    พุทธ์องค์เร้าด้วยกัน   ปัญจ์ฯคนธรรพ์ถือพิณ    เคยชินติดมือไป    สักกะไวขอปัญจ์ฯ    ครันเล่นดนตรีถวาย    ปัญจ์กรายดีดพิณพร้อม    น้อมกล่าวคาถาเนื่อง    เรื่องพระพุทธ,พระธรรม    นำพระสงฆ์,อรหันต์    และกามครันจบลง    พุทธ์องค์ตรัสชม    เสียงพิณสมเสียงเพลง    คาถาเองแต่งมา   คราตอนไหนเร่งจู้   คราวล่วงทรงตรัสรู้   ที่ต้น"อช์ปาลฯ" เนรัญฯ

   ๒.สักกะพานเข้าเฝ้า    พุทธ์เจ้ากล่าว"สัมโมฯ"    บุญโขที่ทำแล้ว   ชนใจแผ้วแช่มชื่น    ใจรีบอยากทำก่อ   สักกะต่อทูลความ   ขอถามหลายข้อยาว    มีพราวดังนี้แล    แฉเทพ,มนุษย์,นาค    คนธรรพ์ยาก,อสูร    ประยูรสัตว์มากชัด   ถูกใดมัดเอาไว้    แม้ไร้จองเวรแล้ว    มีแคล้วอาชญา    หามีศัตรูเลย    เผยไม่เบียดเบียนใคร   อยู่อย่างไม่มีเวร    แต่ยังเอนเอียงทำ   ก่อหนำจองเวรเขา      ยังต้องเอาอาช์ญา   ยังมีหนาศัตรู    กรูก่อเบียดเบียนกร่าง   และอยู่อย่างมีเวร    ก็กฏเกณฑ์เหล่านี้   ทรงบ่ง"ริษยา"ชี้    ตระหนี่แท้เหตุมัด ตรึงหนา

   ๓.สักกะจัดถามต่อ    ก่อริษยา,ตระหนี่    เกิดรี่มาจากไหน    พุทธ์องค์ไวตอบเปิด    เกิดจากสิ่งที่รัก    หรือสิ่งจักไม่รัก    เมื่อไม่ปักทั้งสอง    ไม่ครองริษยา    ตระหนี่หามิมี   "สักกะ"ดีถามดิ่ง    สิ่งรัก,ไม่รักเกิด    เพริดจากอะไรกัน    พุทธ์องค์ครันตอบไป    จาก"พอใจ"เกิดแล้ว    ก็แจ้ว"แสวงหา"   ได้มาแล้วติดใจ    หทัยใฝ่"ใช้สอย"   คอยสะสมมากหลาย   หรือทลายไม่เอา    พุทธ์องค์เกลาชนไร้    ความพอใจจะคลาด    พลาดไม่มีสิ่งรัก    จักไม่เป็นที่รัก     ท้าวสักกะถามต่อ    พอใจส่อเกิดไหน    พุทธ์องค์ไวตอบมา   "พอใจ"หนาเกิดได้    จากมุ่งวิตกไซร้    คิดยั้ง"พอใจ" สลาย

   ๔.สักกะกรายถามความ    การ"ตรึก"ลามเกิดไหน    พุทธ์องค์ไขเกิดได้     ไซร้"ปปัญจ์สัญญาฯ"   พากิเลสปรุงช้า    คว้ายืดเยื้อยืนนาน    ครอบงำกรานนิสัย    ใจชินเป็นสันดาน    พาลขัดขวางปิดทาง    และพรางรู้ความจริง     ติงเครื่องครอบงำแจง     แถลง"ราคะ"ใคร่     ใฝ่"โทสะ"โกรธง่าย     พ่ายกับ"โมหะ"หลง    คง"ตัณหา"ยิ่งแล้    มี"ทิฏฐิ"งมแท้    มุ่งพร้อม"มานะ" ถือตน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, ธันวาคม, 2567, 10:36:03 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๘.สักกปัญหสูตร

   ๕.สักกะยลถามต่อ    ภิกษุก่ออย่างไหน    ธรรมปรุงไม่เนิ่นช้า    ดับหล้าลงเร็วครัน     พุทธ์เจ้ายันตอบว่า    "โสม์นัส"ฝ่าดีใจ   ไว"โทมนัส"เศร้า     เฝ้าอุเบกขาวาง    ทำสองพลาง"เสพควร"     และ"ไม่ชวนเสพ"เอย    เผยเมื่อเสพโสม์นัส     ชัดกุศลเสื่อมดล     อกุศลเติบโต      สิ่งนั้นโซมิควร     ชวนมาซ่องเสพนา     ผิหนาอกุศล     ยลเสื่อม,อีกกุศล    ดลเจริญควรเสพได้     พุทธ์องค์ไซร้เสริมทวน     ธรรมควรเสพ,สามที    มี"วิตก,วิจาร"     รานไม่มีทั้งสอง     และครองสุดท้ายไกล      ไม่มีทั้งตรึก,ตรอง    แต่ครองประณีตยิ่ง    เช่นดิ่งโสมนัส    ชัดจาก"เนกขัมมะ"     "วิปัสสนา"งาน    "ปฐมฌาน,อนุสส์ฯ"     ภิกษุรุดเพียรหนา     พาสมควรก่อล้น    จึงดับกิเลสพ้น    เนิ่นช้าคลายเผย

   ๖.สักกะเอ่ยความถาม     สงฆ์พฤติตามอย่างใด     เรียกไกลสำรวมตรึง     ถึง"ปาฏิโมกข์"ตรง     พุทธองค์ทรงตอบ    ประพฤตินอบทาง"กาย"   กับฉายทาง"วาจา"    "แสวงหา"บางสิ่ง     พิศดิ่งเพียรสองอย่าง    กระจ่าง"ควรเสพ"เหมาะ    อีกเดาะ"เสพไม่ควร"     เช่นขวนเสพทางกาย     กุศลหายเสื่อมลน     อกุศลเติบโต     สิ่งนั้นโขไม่เหมาะ   เจาะซ่องเสพอีกเลย    แต่เผยอกุศล    ผลเสื่อมไปไกลแน่    แต่กุศลเจริญ    จึงเชิญเสพต่อได้   สงฆ์มุ่งประพฤติไซร้    บ่งชี้สำรวม "ปาฏิ์โมกข์ฯ"

   ๗.ท้าวสักกะทูลถาม    สงฆ์พฤติตามอย่างไร   เรียกไวสำรวมครัน    อินทรีย์ผลันตา,หู    พรูจมูก,ลิ้น,กาย    และใจฉายระวัง   ทรงตอบหวัง"อารมณ์"    สมรู้แจ้งทางทวาร   หกกรานแยกแบ่งได้    ควร"ซ่องเสพ"กันไซร้    "ไม่ต้องเสพ"เลย อีกครา

   ๘.สักกะเปรยพุทธ์องค์    บ่งสมณพราหมณ์    ยาม"พูด,ศีล,ฉันทะ"    จะมีจุดหมายเหมือน    เตือนอย่างเดียวหรือไม่    ทรงตอบไป่มิใช่   โลกไขว่มีธาตุหลาย    สัตว์กรายยึดธาตุแล้   พึงกล่าวธาตุจริงแปล้    อื่นพร้อมพรางผล

   ๙.ยลสมณ์พราหมณ์หลาย    พรายล้วนสำเร็จโลด   โชติจากกิเลสพ้น   ด้นพรหมจารี    มีที่สุด"ล่วงส่วน"    มิป่วนปรวนแปรนา    พาเปลี่ยนใช่หรือไม่    ทรงตอบไป่จริงเอย    สำเร็จเผยจะมี   ลีล่วงส่วนเด็ดขาด    ไม่ยาตรกำเริบได้  เฉพาะผู้พ้นแล้ว     ตัณหาแคล้วหมดไป

   ๑๐.สักกะไวกราบทูล    ทวีคูณตัณหา    พาจิตไหวหวั่นคลอน   เป็นโรคชอน,หัวฝี   ดั่งมีลูกศรวิ่ง    ดิ่งฉุดคร่าสัตว์เกิด    บรรเจิดถึงภพใด    สูง,ต่ำไกลต่างกัน   ครันสักกะพอใจ    ในคำตอบพุทธ์องค์    ตรงหายสงสัยได้    เคยใกล้ถามพราหมณ์หลาย    แทนจะกรายตอบความ   กลับย้อนถามเป็นใคร    ครันรู้ไวสักกะ    กลับจะถามปัญหา   กรรมใดหนาจึงเกิด   สักกะเลิศยิ่งนา   จำตอบหนาด้วยเรียน    เพียรฟังสืบต่อมา   พราหมณ์พาอิ่มเอิบไซร้    ที่ได้เห็นท้าวสักกะ    ปะได้ถามปัญหา    สักกะมากล่าวแท้   จึงนอบกายเต็มแปล้    ดั่งแจ้งศิษย์เผย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, ธันวาคม, 2567, 10:22:05 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๘.สักกปัญหสูตร

   ๑๑.สักกะเอยกล่าวนำ    คำภาษิตหลายอย่าง    กระจ่างแล้วใช้มือ  ครือลูบคลำแผ่นดิน   ยินเปล่งคำนอบน้อม   พร้อมแด่พระพุทธ์เจ้า    เร้า"นโม,ตัสสะ"    "ภควโต"กะ    "อรหโต"ย้ำ   ล้ำ"สัมมาสัมพุทธ-"    ธัสสะ"รุดสามจบ   แปลนบพระพุทธ์เจ้า   เค้าไกลกิเลสจู้     ตรัสรู้ด้วยตน    จริงท้นจำแนกธรรม    นำสอนแก่ปวงชน    ผลกล่าวครบสามจบ    พบพาจิตมั่นคง   ตรงนมัสการ   กรานพระพุทธเจ้า    เกล้าสามแบบแจรง   แจง"ปัญญาฯ"ยิ่งหล้า    คุณ"สัทธาฯ"เยี่ยมฟ้า    เปี่ยมล้น"วิริฯ" พากเพียร ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๔-๓๓๖

ถ้ำอินท์สาละ=ถ้ำอินทสาละ
ภูเวทฯ=เวทยิกบรรพต
อัมพ์สณฑ์=หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ อัมพสณฑ์
ราช์คฤห์=กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
ท้าวสักกะ=ผู้ครอบครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ปัญจ์สิฯ,ปัญจ์ฯ=ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์
อช์ปาลฯ=อชปาลนิโครธ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ
เนรัญ=แม่น้ำเนรัญชรา
สัมโมฯ=สัมโมทียกถา คือ กล่าวขอบคุณ  แสดงอานิสงส์ที่ทำความดีถวาย เป็นเหตุให้ผู้ทำบุญแช่มชื่น และปรารถนาจะทำบุญอีก
ปปัญจ์สัญญา=ปปัญจสัญญานิทาน คือกิเลสอันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือควา เคยชิน ได้แก่ ๑)ราคะ-ความใคร่ ๒)โทสะ-ความโกรธ ๓)โมหะ-ความหลง ๔)ตัณหา-ความทะยานอยาก ๕)ทิฏฐิ-ความงมงาย ๖)มานะ-ความถือตัวเด่นกว่าผู้อื่น
วิตก=ความตรึก
วิจาร=ความตรอง
เนกขัมมะ=การดำริออกจากกาม,ออกบวช
ปฐมฌาน=ฌานคือ ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ ) ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ
อนุสส์ฯ=อนุสสติ คือกรรมฐาน เป็นเครื่องมือให้ใจระลึกถึงมี ๑๐ อย่างคือ ๑)พุทธานุสติ -ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า  ๒)ธัมมานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของพระธรรม ๓)สังฆานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ ๔)สีลานุสติ-ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕)จาคานุสติ-ระลึกถึงทาน ๖)เทวตานุสติ-ระลึกถึงคุณที่ทำให้เป็นเทวดา เช่น หิริ โอตตัปปะ ๗)อุปสมานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของนิพพาน
 ๘)มรณานุสติ-ระลึกถึงความตาย ๙)อานาปาณสติ-การกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐)กายคตาสติ-ระลึกถึงส่วนของกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ปาฏิโมกข์=คือคัมภีร์ที่รวมวินัยสงฆ์
ล่วงส่วน=หมายถึง เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก
 พระพุทธเจ้าสามแบบ=๑)พระปัญญาธิกพุทธเจ้า-พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีปัญญาแก่กล้า จะยังไม่รีบนิพพาน จะรวบรวมพุทธบริษัท ๔ จำนวนหนึ่งที่จะไปนิพพาน (เช่นพระโคดมพุทธเจ้าในกาลนี้)ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๒๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์ ๒)พระสัทธาธิกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีศรัทธาแก่กล้า จะยังไม่รีบนิพพาน จะรวบรวมพุทธบริษัท ๔ ให้ได้มาก เพื่อจะไปนิพพานทีละมาก ใช้ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๔๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์ ๓)พระวิริยาธิกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีความเพียรแก่กล้า ปรารถนาจะนำพุทธบริษัท ๔ ไปนิพพานให้ได้มากๆ จะใช้เวลานานแค่ไหนก็ยอม (เหมือนอย่างพระศรีอรียเมตไตรย) ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๘๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์
อสงไขย=เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนไม่อาจคำนวณได้ อุปมาว่าประมาณเม็ดฝน จากเกิดฝนตกใหญ่ทั้งวันคืนเวลานาน ๓ ปี โดยไม่ขาดสาย พุทธศาสนาจึงมักกล่าวถึงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่งสมบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
กัปป์=คือ กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย  อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป  แต่กัปป์หนึ่งยาวนานกว่านั้น


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, ธันวาคม, 2567, 12:47:51 PM

ประมวลธรรม : ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร(สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่)

ร่ายดั้น

    ๑.พระพุทธ์เจ้าประทับอยู่    กู่นิคม"กัมมาฯ"    คราถึงกุรุแคว้น    ทรงสอนแม้นชี้ทาง    มิพรางมรรคารุด    บริสุทธิ์ของสัตว์    ชัดก้าวล่วงโศกตรม   ทุกข์ถมใจ,กายพ้น    เพราะด้นธรรมถูกต้อง    สู่ห้องนิพพานยั้ง   ด้วยตั้ง"สติ"สี่อย่าง    ตริพร่าง"กายในกาย"    สิ่งฉายในกายใหญ่    ใฝ่พิจารณ์"เวทนา"     อารมณ์รู้สึกย่อย    อ่อยในอารมณ์ใหญ่    เพ่ง"จิตใช่ในจิต"    พิศจิตที่เกิด-ดับ    ลับต่อไปทุกครา    ดู"ธรรมหนาในธรรม"    นำธรรมย่อยวิจารณ์    ผลาญฆ่า กิเลส    หมายมุ่งจดพร้อมแล้    นิพพาน

    ๒.พิจารณ์"กายในกาย"    แยกผายหกส่วนหนา   แรกมา"อานาปาฯ"    จดมาลมหายใจ    ไวเข้า-ออกรู้มั่น    ครันหายใจเข้ายาว    รู้พราวเข้ายาวแล    แฉหายใจออกยาว    รู้ฉาวออกยาวจริง    รู้อิงกองลมได้    ไซร้ต่อ"อิริยาฯ"   พิศกายหนาท่าทาง    พลางเดิน,ยืน,นั่ง,นอน    แล้วจร"สัมป์ชัญญ์"    ครันรู้ตัวเคลื่อนไหว    ก้าวมาไกลดื่ม,กิน    แล้วผินดูร่างกาย    ฉายปฏิกูลเด่น    เช่นผม,เล็บ,หนัง,ขน    ยลต่อตรึก"ธาตุบรรพ"  พิศฉับรู้ร่างกาย    ฉายความเป็นธาตุสี่    ปรี่ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ    ต่อไป"ถวิกาฯ"    มาพินิจซากศพ    นวครบ ประเภท    ดูแต่พองขึ้นแปล้    กระดูกผง

    ๓.คงพิจารณ์เวทนา    รู้อารมณ์เก้าอย่าง    หนึ่งพร่าง"สุข"ตรึกนิตย์    สองจิต"ระลึกทุกข์"    สาม"ไม่สุข,ไม่ทุกข์"    รุดรู้อุเบกขา    สี่มาระลึกสุข   เจือรุก"กามคุณห้า"    อ้ามีรูป,เสียง..ล่อ    ห้าจ่อทุกข์ประกอบ    อามิสครอบสำแดง    หกแจงอุเบกขา    รู้หนาไม่สุข,ทุกข์    ทุกข์เจือด้วยอามิส    เจ็ดจิตรู้สุขแน่    แต่ไม่เจืออามิส    จิตรู้จาก"วิปัสส์ฯ"    แปดชัดรู้ทุกข์ไร้    อามิสไซร้เพราะด้อย    คล้อยสังขารพิการ     เก้าขานอุเบกขา    ไร้หนาทั้งสุข,ทุกข์    อามิสบุกไม่มี    เพราะดีด้วยวิปัสส์ฯ    เวท์นาชัดอารมณ์   สมมิใช่รูป,จิต    ไม่เรียกชิดเป็นเรา    เมื่อเขามีเหตุ,ปัจจัย   เวท์นาไซร้ปรากฏ    ก็ห้ามหดมิได้    ปัจจัยไซร้กลายแผ่ว    เวท์นาแน่วดับลง    มิอยู่ คงทน    จะสั่งดับลี้พ้น    อย่าหมาย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 30, ธันวาคม, 2567, 10:05:04 AM

(ต่อหน้า ๒/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร

   ๔.พิจารณ์กรายใกล้จิต    สติคิดรู้อารมณ์    ปมดี,ชั่วในตน    เห็นผลจิตไม่เที่ยง    ต้องเบี่ยงเปลี่ยนมินิ่ง    ทุกสิ่งจึงผันผวน    เกิดทุกข์รวนตลอด    จะดอดบังคับจิต    ให้ชิดอารมณ์เดียว    ก็เรียวมิทำได้   เพราะจิตไซร้"อนิจจัง"    "ทุกขัง,อนัตตา"   จิตหนารู้อารมณ์    คมสิบหกลักษณะ    ปะ"มีราคะ"ใคร่    "ไม่มีราคะ"จิต ยินดีชิดในกาม    จิตลาม"มีโทสะ"   กะ"ไม่มีโทสะ"    ดะ"มีโมหะ"จิต    คิดดี"ไร้โมหะ"    จิตปะ"ความหดหู่"   จิตรู้อยู่"ฟุ้งซ่าน"    จิต"ใหญ่ผ่านฌาน"แน่ว    จิตแผ่ว"ไม่มีฌาน"   ขานจิต"สอุตตระฯ"    ปะจิตอื่นยิ่งกว่า    ว่าเป็น"กามาว์จร"ไกล    อยู่ใน"กามภูมิ"เอย   เผยจิต"อนุตตระฯ"    จะไร้จิตไหนเทียบ    เปรียบ"รูปาวจร"   ซอน"อรูปาว์จร"    สอนจิต"ไม่ตั้งมั่น"   กลั่นในสมาธิ    จิตริตั้งมั่นยิ่ง    ดิ่งในสมาธิ    จิตตริมั่นมาดหมาย    จึงก่น หลุดเฮย    จิตไม่ทนคล้อยโพ้น    กิเลสคง

    ๕.พิจารณ์ตรงธรรมหลาย    พรายซับซ้อนตามดู    วิเคราะห์พรูกรรมฐาน    ห้าอย่างงานเพียรทำ    หนึ่งตริธรรม"นิวรณ์"     ที่จรกั้นจิตหนา     ไกลจากสมาธิ    มีริห้าได้แก่    แน่"กามฉันทะ"    จิตพยาบาทแล    แฉ"ถีนะมิทธะ"     จะง่วงเหงาเฝ้าตรม    ซม"อุทธัจจะ"คลุ้ง    มีฟุ้งซ่านกระวน   ยล"วิจิกิจฉา"    พาลังเลใจนำ    เบญจธรรมเกิดพราวฉาว    ควรเบิ่ง สาเหตุ     คลำมุ่งละทิ้งพ้น    หยุดหนา

    ๖.สอง,มาพิจารณ์"ขันธ์"     ครันห้าอย่างเกิด-ดับ    ตรับ"รูป"ส่วนเป็นกาย    ฉาย"เวท์นา"รู้สึก    ตรึก"สัญญา,จำรู้"    กู้"สังขาร"ปรุงแต่ง     แกร่ง"วิญญาณ,จิตรู้"    สู้ดูเหล่านี้ว่า    ฝ่าเกิดขึ้น,ตั้งอยู่   ครู่แล้วดับลงไป    ใครหาบังคับได้   เพราะสิ่งไซร้ไม่เที่ยง   ขอเพียงแค่เรามี    สติมั่น     คราเมื่อโกรธแล้วรู้    ไม่ตาม

    ๗.สาม"อายตนะ"    ภายในจะมีหก    ปรก"ตา,จมูก,หู"
   ชู"ลิ้น,กาย,ใจ"    และไข"อายต์นะ"     ภายนอกจะมีหก    ปก"รูป,กลิ่น,เสียง,รส"      จด"โผฏฐัพฯ,สัมผัส"    ชัด"ธัมมารมณ์,ใจ"     คู่ไว"ตา-รูป"กรู  "หู-เสียง,จมูก-กลิ่น"   ปิ่น"ลิ้น-รส,กาย-โผฏฯ"     โชติ"ใจ-ธรรมารมณ์"    ตรึกสมอายตนะ      ปะรู้ชัด"สังโยชน์"    ผูกรัดโลดอาศัย    อายตนะไวเกิด      เชิดรู้สังโยชน์หนา     ตา-รูปก่ออุบัติ  จากเหตุใดนา    สังโยชน์เกิดแล้วทิ้ง     มุ่งวาง
   
    ๘.สี่,พลางพิจารณ์ธรรม    รินำ"โพชฌงค์"    องค์เจ็ดการตรัสรู้    "สติฯ"สู้ระลึก    ตรึกใจอยู่กับกิจ    จิตอยู่กับเรื่องงาน    กรานสติทลาย    โมหะกรายเกิดหลง    คง"อวิชชา"ไกล    สติไวลิ"อวิชฯ"    ชิด"ธัมม์วิจยะฯ"   จะเลือกเฟ้นธรรมเหมาะ    เจาะเห็นความเป็นจริง    อิงว่าขันธ์ห้าเด่น    เช่นตัวตนจึงตัด    ปัดละยึดเสียได้    "วิริฯ"ไซร้เพียรมั่น    จิตกลั่นกล้าศรัทธา    คุณนาพระรัตน์ตรัย    ไวลุผลสัมฤทธิ์    จิต"ปีติ"อิ่มใจ   ไสพยาบาทชัด    "ปัสสัทธิ์"สงบ    ครบกาย,ใจอุบัติ   ชัดสำรวมอินทรีย์    มีตา,หู,ลิ้น,กาย..    ให้วายห่างจากกาม    "ราคะ"ลามมิเกิด   เทิด"สมาธิ์สัมฯ"แคล่ว    จิตแน่วในอารมณ์   จมใน"อัปปนาฯ"     พาขจัดฟุ้ง,หงุดหงิด    ชิดระดับสูงใกล้     นิพพานไซร้แน่นอน    จร"อุเบกขา"วาง    ใจเป็นกลางเห็นจริง    อิงเฉยบัญญัติหลาย    กรายผัสสะ,เวท์นา    ทั้งหยาบหนา,ละเอียด    เฉียดเท่ากันข้ามพ้น     ด้นสิ่งนี้ดีนา    นี้เลวหนากว่าเอย     หรือเปรยเท่าครือกัน     เพราะมั่น ถือตน    ควรบั่นลงคล้อยสิ้น     เลิกเสีย

    ๙.ตรึกเยีย"อริยสัจจ์ฯ"    ความจริงชัดสี่อย่าง   ทางเดินพระอริยะ   ปะทุกข์อริย์สัจจ์ฯ    จัดทุกข์คืออะไร    ใด"ทุกข์สมุท์ฯ"แจง     แฝงเหตุแห่งทุกข์ผลาญ   ราน"ทุกข์นิโรธฯ"ลับ    คือความดับทุกข์หมด    จด"นิโรธคาฯ"พลาง     ถึงทางแปดดับทุกข์    รุกกิจทำทุกข้อ   ทุกข์ก้อต้องรู้จริง     อิงเผชิญปัญหา    คราสมุทัยปะ    เหตุแล้วละต้นตอ    นิโรธขอแจ้งจด    ภาวะหมดปัญหา    ดับมุ่ง ทุกข์คลาย     แปดมรรคเจริญพร้อมแล้    ทุกข์ผลาญ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 31, ธันวาคม, 2567, 09:13:34 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร

   ๑๐.พานทุกข์อริยสัจจ์ฯ     สภาพชัดคงอยู่      ดูสภาพเดิมมิได้      ไซร้เช่นเกิด,แก่,ตาย      วายจากสิ่งที่รัก      จักอยากก็พลาดหวัง     เศร้าโศกยังเกิดทุกข์     บุกเจ็บป่วยใจ,กาย      ยึดมั่น ปัญจ์ขันธ์     เป็นดั่งทุกข์ยื้อแปล้    เช่นกัน

     ๑๑.ครันทุกข์สมุท์สัจจ์ฯ    เหตุทุกข์ชัด"ตัณหา"    ควา มอยากมาบังเกิด    เหตุเพริดในภพใหม่    ใฝ่"ราคะ"ต้องการ    ด้วยพานเหตุทุกข์สาม    "กามตัณหา"อยากใน    กามคุณไวหลาย    กรายรูป,เสียง,กลิ่น,รส..    จด"ภวตัณหา"     พายินดีในภพ    ครบเห็นโลก,วิญญาณ    มิรานสูญจึงเที่ยง     ด้วยเพลี่ยงพล้ำเห็นผิด    กิจ"วิภว์ตัณหา"    พาเห็นผิดตายแล้ว    แคล้วสูญวิญญาณหา    เกิดหล้าอื่นต่อไป   ตัณหาไวเหมือนเบ็ด    เกี่ยวเสร็จผูกสัตว์จม   ตกตมสู่"โอฆะ"    จะเวียนเกิดเวียนตาย   มิรู้กรายสิ้นสุด   รุดทุกข์สมุทย์สัจจ์ฯ    ชัดธรรมที่ควรละ   ปะ"ตัณหา"เกิดที่    ปรี่ทวารหกหนา    ตา,หู,จมูก,กาย    ลิ้น,ใจผายหรือเกิด    เพริดที่รูป,เสียง,กลิ่น     รส,ปิ่น"โผฏฯ,ธัมมาฯ"   "ตัณหาตั้งอยู่"นี่    ที่ได้กล่าวมาแล้ว    ตัณหาแจ้วเกิดอยู่    กู่เห็น"จักขุวิญญ์ฯ"     ชิน"จักขุสัมผัส"     จัดที่สุขเวท์นา    คราทุกข์เวท์นาเป็น    เห็นที่เกิด,ตั้งอยู่     จู่ขจัดละ"ใคร่"    ไม่มัวเมาสิ่งยวน    เพลินชวนก่อตัณหา    ทราบยิ่ง โทษทัณฑ์     เป็นเรื่องจริงแจ้งแท้    ไม่ผัน

    ๑๒.ครัน"ทุกข์นิโรจสัจจ์"     ชัดรอบรู้สัจจะ    ละตัณหาเหตุทุกข์     รุกหลุดพ้นตัณหา     กิเลสซามิเหลือ    ดับเครือมิหวนคืน     เรียกยืน"ทุกข์นิโรธสัจจ์"   พุทธ์องค์ตรัสหลายสิ่ง     เป็นยิ่งของร้อนจัด   ชัด"ตา,จักขุวิญญ์ฯ"    ยิน"จักขุสัมผัสฯ"      ชัดของร้อนเช่นกัน        ครันร้อนเพราะไฟหนา       ราคะ,โทสะ,โมหะ      จะร้อนเพราะเกิด,แก่   แน่ตาย,โศก,ทุกข์,ครวญ    กวน"มโนวิญญาณ"    กราน"มโนธรรม์รมณ์"     ซม"มโนสัมผัส"ร้อน   จ้อน"สุขเวทนา"   พาทุกขเวทนา      พา"อทุกขม์สุขฯ"     รุกเกิดจากปัจจัย    ไวมโนสัมผัส    ชัดเห็นอย่างนี้แล้ว     ควรแป้วหน่ายเวทนา    พา"เฉย"ก่อ"ทุกข์,สุข"    มโนใฝ่ สัมผัส      เกิดส่อเดือดร้อนแท้        ยิ่งหนา

    ๑๓.มา"ทุกข์คามินีฯ"     มีธรรมดับทุกข์ได้    ไซร้แปดทางประเสริฐ    เลิศทำสู่มรรคผล    ดลสิ้นกิเลสหมด    จดทางอื่นไม่มี    ลีทางนี้อริยะ  จะเดินสู่นิพพาน    กราน"สัมมาทิฏฐิ"    ซิรู้อริยสัจจ์   ชัดรู้ทุกขสัจจ์    ที่จัดข้องไตรลักษณ์     ประจักษ์"สังกัปปะ"     จะดำริชอบตรง    ไม่หลงในกามใด    ใจคิดออกจากกาม    ตามมิฆาต,มิเบียน     เชียร"สัมมาวาจา"    วจีพาสุจริต    กิจ"สัมกัมมันตะฯ"    กระทำชอบมีกาย     ฉายสุจริตสาม    ตาม"สัมมาอาชีวะ"     จะเลี้ยงชีพชอบเว้น    เร้นอาชีพมิจฉา    พา"สัมมาวายาฯ"   ความพยายามชอบ    จิตนอบเพียรตั้งไว้    ไซร้ซึ่งกุศลธรรม    นำหนีอกุศลกรรม    จำ"สัมมาสติ"    ตริระลึกชอบชัด    สติปัฏฐานสี่    คลี่"สัมมาสมาธิ์ฯ"    พาจิตตั้งมั่นแน่ว    มิแผ่วจนลุฌาน    กรานฌานหนึ่งต่อเนื่อง    กระเดื่องฌานสูงสุด    หลุดจากกิเลสพลัน   อรหันต์ทรงญาสุด    จึงรุดสู่นิพพาน    พลันออก วัฏฏะ     มิมุ่งหวนดั้นข้อง     สืบหนา
       ๑๔.พิจารณา"กาย"    ขจาย"เวทนา"    พาดู"จิต"และ"ธรรม"    กระทำทั้งสี่อย่าง   ต่างต้องพิจารณ์เสริม    เติมอีกหกประการ    พาน"ที่อยู่ภายใน"     ไกล"อยู่ภายนอก"แล    แฉ"ทั้งภายนอก,ใน"     ไว"มีเกิด"เสมอ     เจอ"ความเสื่อม"ประจำ     นำ"มีเกิด,เสื่อมไป"    ไวเป็นธรรมดา     พุทธ์องค์คราแจงผล    ยลปฏิบัติตั้ง    ยั้ง"สติปัฏฐาน"    พานเหตุลุผลเด่น    เช่นลุอรหัตต์ผล    ยลในปัจจุบัน    ครันยังมิได้จะ   ประลุสู่"อนาฯ"      รอย่าง เจ็ดปี    หรือจ่อเร็วดั้นด้น    เจ็ดวัน ฯ|ะ

 แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๖-๓๓๗


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 31, ธันวาคม, 2567, 09:31:30 AM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร

กัมมมฯ=นิคม ชื่อ กัมมาสธัมมะ แคว้น กุรุ
สติฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือหนทางเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวออกจากทุกข์กาย,ใจ บรรลุธรรมที่ถูกต้องทำให้แจ้งพระนิพพาน คือการตั้งสติ ๔ อย่าง คือ ๑)ตั้งสติกำหนดพิจารณา กายในกาย(กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่) ๒)ตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนาในเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อย ในอารมณ์ส่วนใหญ่) ๓)ตั้งสติกำหนดพิจารณาในจิต(จิตส่วนย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่ง ที่เกิดขึ้นดับไปมากดวง) ๔)ตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรมในธรรม(ธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่)
พิจารณากาย=แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน ๑)อานาปานบรรพ-พิจารณากำหนด ลมหายใจเข้าออก ๒)อิริยาปถบรรพ-พิจารณาอิริยาบทของร่างกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ๓)สัมป์ชัญญบรรพ-พิจารณาในความเคลื่อนไหว เช่น ก้าวไป ก้าวมา คู้แขน กิน ดื่ม ๔)ปฏิกูลมนสิการบรรพ-พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย แบ่งออกย่อย มีผม ขน เป็นต้น ๕)ธาตุบรรพ-พิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๖)นวสีวถิกาบรรพ-พิจารณาร่างกายที่เป็นศพ มีลักษณะ ๙ อย่าง
การพิจารณาเวทนา=ความรู้สึกอารมณ์ มี ๙ อย่าง ๑)สุข ๒)ทุกข์ ๓)ไม่ทุกข์ไม่สุข ๔)สุขประกอบด้วยอามิส มี รูป เสียง เป็นตัวล่อ ๕)สุขไม่ประกอบด้วยอามิส ๖)ทุกข์ประกอบด้วยอามิส ๗)ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ๘)ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส ๙)ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ประกอบด้วยอามิส
กามคุณ ๕=ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) ธรรมารมณ์(สิ่งที่รู้ด้วยใจ)
อุเบกขา=ความวางเฉย
วิปัสฯ=วิปัสสนา
ไตรลักษณ์=คือ อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)
การพิจารณาจิต= ๑๖ อย่าง ๑)จิตมีราคะ ๒)จิตปราศจาก ราคะ ๓)จิตมีโทสะ ๔)จิตปราศจากโทสะ ๕)จิตมีโมหะ ๖)จิตปราศจากโมหะ ๗)จิตหดหู่ ๘)จิตฟุ้งซ่าน ๙)จิตใหญ่(มหัคคตะ,จิตในฌาน) ๑๐)จิตไม่ใหญ่(จิตที่ไม่ถึงฌาน) ๑๑)จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า(สอุตตระ) ๑๒)จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า(อนุตตระ) ๑๓)จิตตั้งมั่น ๑๔)จิตไม่ตั้งมั่น ๑๕)จิตหลุดพ้น ๑๖)จิตไม่หลุดพ้น
กามาว์จร=กามาวจร คือ จิตที่ยังท่องเที่ยวอยู่ใน กามคุณ ๕
รูปาวจร=จิตที่ยังท่องเที่ยวในรูปภพ
อรูปาวจร=จิตที่ยังท่องเที่ยวในอรูปภพ
การพิจารณาธรรม=แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ๑)นีวรณบรรพ หรือที่เรียกว่านิวรณ์ ๕-พิจารณาธรรมที่กั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ (๑.๑)กามฉันทะ (๑.๒)พยาบาท (๑.๓)ถีนะมิทธะ-ง่วงงุน(๑.๔)อุทธัจจะ-ฟุ้งซ่าน (๑.๕)วิจิกิจฉา-ลังเลสงสัย
๒)ขันธบรรพ พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๓)อายตนบรรพ-พิจารณาอายตนะ ภายใน ๖ ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะ ภายนอก ๖ = รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ(สัมผัส,ถูกต้อง) และธรรมารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้ด้วยใจ)
๔) โพชฌงค์บรรพ -พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗
๕)สัจจบรรพ-พิจารณาอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง (๑)ทุกข์อริยสัจจ์-ทุกข์คืออะไร? (๒)ทุกขสมุทยสัจจ์-เหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหา แยกได้ ๓ คือกามตัณหา-ความอยากในกามคุณ; ภวตัณหา-ความอยากมี อยากเป็น อยากเกิดในภพ;วิภวตัณหา-ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น (๓)ทุกข์นิโรธสัจจ์-ความดับทุกข์ (๔)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา=ทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ แบ่งได้ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ;สัมมาสังกัปปะ- ดำริชอบ;สัมมาวาจา-วาจาชอบ;สัมมากัมมันตะ-กระทำชอบ;สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ; สัมมาวายามะ- ความพยายามชอบ; สัมมาสติ- ความระลึกชอบ;สัมมาสมาธิ-สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นถูกทาง
สังโยชน์=กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสาร
อวิชฯ=อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจ ๔
วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
โพชฌงค์ ๗=ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๑)สติ-ความระลึกได้ ๒)ธัมมวิจยะ-การหาความจริง ๓)วิริยะ ๔)ปีติ-ความอิ่มใจ ๕)ปัสสัทธิ-ความสงบ ๖)สมาธิ ๗)อุเบกขา
อัปปนาฯ=อัปปนาสมาธิ คือภาวะที่มีสมาธิแนบแน่น ถือว่าเป็นสมาธิในระดับสูงนๆ
จักขุวิญญ์ฯ=จักขุวิญญาณ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้น เมื่อรูป พบกับตา
จักขุสัมผัส=อาการที่รูป ตา และ จักขุวิญาณ เกิดขึ้นพร้อมกันพอดี
มโนวิญญาณ=การน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ ทั้ง ๓ คือ เวทนา สัญญา และสังขาร
มโนธรรมรมณ์ฯ=มโนธรรมรมณ์ คือความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี
มโนสัมผัส=ความกระทบทางใจ เมื่อ ใจ+ธรรมมารมณ์+มโนวิญญาณ
สุขเวทนา=ความพอใจ
ทุกขเวทนา=ความบีบคั้น ดิ้นรน
อทุกขม์สุขฯ=อทุกขมสุขเวทนา คือไม่สุข ไม่ทุกข์
อนาฯ=พระอนาคามี พระอริยะ อันดับที่ ๓ รองจากพระอรหันต์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 01, มกราคม, 2568, 08:59:44 AM

ประมวลธรรม : ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้าปายาสิ)

ร่ายโบราณ

    ๑.เหตุเกิดแคว้น"โกศล"     กัสส์ปะยลพร้อมสงฆ์     ห้าร้อยตรง ณ ป่า     กล้าสีเสียดที่เมือง     "เสตัพย์ฯ"เรืองกระเดื่อง     "ปเสนฯ"เปรื่องส่ง"ปายาฯ"     มาครองเมืองแต่รอ     แต่งตั้งคลอราชา     นั้นแล

    ๒.ปายาฯตริเห็นผิด     คิด"โลกอื่นไม่มี"    ขจี"เทพหามี"     "อุปปาฯ"ทวีเกิด      เพริดโตทันทีนั้น     ไม่มีดั้นจริงเลย     เผยผลกรรมดี,ชั่ว     ก็มัวไม่มีจริง      อิงล่ำลือกัสสปะ    วะงามพราหมณ์ทั้งหลาย     ต่างเยี่ยมกรายไปหา     ปายาฯก็ตามไปพลัน    ครันปายาฯแจ้งทิฏฐิ     ความเห็นตริเรื่องต่าง    สะพร่างกัสส์ปะฯยิน     เปรียบเลย

    ๓.กัสส์ปะฯผินถามว่า     ทรงเห็นพร่า"โลกอื่น"     ดื่นไม่มีเลยครัน     จันทร์,อาทิตย์เป็นคน    หรือยลเป็นเทพา     อยู่นาโลกนี้,อื่น    ปายาฯรื่นทรงตอบ     โดยชอบพระอาทิตย์     ชิดพระจันทร์อยู่ใน     "โลกอื่น"ไกลหาใช่    ใน"โลกนี้"แน่นอน     มิจรเทพหรือคน     นั่นเลย

    ๔.ผลปายาฯเล่าตรง    คงมีอำมาตย์,มิตร    ญาติชิดกระทำชั่ว     ครันมัวเจ็บไข้หนัก     คิดว่าจักไม่หาย     จะเสด็จกรายหา     สั่งคราตายไปแล้ว     นรกแจ้วให้มาบอก     ไม่มีดอกสักผู้     จึงรู้ว่า"โลกอื่น"     ชื่นไม่มีแน่เอย    กัสส์ปะเผยเปรียบโจร     โยนสู่ที่ประหาร     ขอซานลาญาติก่อน    จะผ่อนได้หรือไม่     ปายาฯไวตอบ"ไม่ได้"     กัสส์ปะไซร้ตอบแม้น     นรกแร้นกลับมาบอก     มิได้หรอกเช่นกัน    ดังนี้

    ๕.ครัน"ปายาฯ"ตรัสนำ     ผู้ทำดีเราสั่ง     ถึงฝั่งสวรรค์แล้ว     ให้แกล้วกลับมาบอก    มิมีดอกใครหวน    สวนมาบอกกันเลย    เผยจึงมิเชื่อว่า    ฝ่า"โลกอื่น"มีจริง   กัสส์ปะอิงเหมือนคน     ตนจมหลุมขี้มิด    ดึงขึ้นลิดสะอาด     แล้วยาตรสู่ปราสาท     บำเรอดาษเสื้อผ้า    พร้อมจ้ากามคุณห้า     ผู้นั้นกล้าคืนหลุม   ปกคลุมอุจจาระ     ปะอย่างเดิมหรือไม่     ปายาฯใคร่ตรัส"ไม่"     เพราะเหตุใดกัสส์ปะถาม    ตอบความอุจจาระ    มิสะอาดกลิ่นเหม็น    กัสส์ฯตอบเป็นเดียวกัน     พลันตัวมนุษย์เอง     เล็งเหม็นมิสะอาด     คาดน่ารังเกียจมาก     ผู้มาจากสวรรค์     ครันกลับมาบอกใคร    เรื่องไหนมิได้เลย    ฉะนี้

    ๖.ครันปายาฯทรงตรัส    ชัดผู้ทำดีแล้ว   มิแคล้วสุคติ     ซิโลกสวรรค์ถึง     พึงเป็นสหายเทพ    เสพชั้นดาวดึงส์    จึงขอให้มาบอก    มิมีดอกใครจะ     ปะมาบอกกันเลย     พระองค์เผยมิเชื่อ    โลกอื่นเครือมีจริง    กัสส์ปะอิงต่างกาล    นานร้อยปีมนุษย์    รุดเท่าหนึ่งคืน-วัน   พลันของเทพดาวดึงส์     อายุถึงพันปี     ผู้ทำดีไปเกิด     เริดบอกสอง-สามวัน    พลันมาบอกได้หรือ     ปายาฯครือตอบ"ไม่"   ชีพเราไขว่ตายแล้ว    ปายาฯแกล้วถามต่อ    ใครส่อบอกกัสส์ปะ    วะชีพดาวดึงส์นาน    เราพานไม่เชื่อเลย    กัสส์ปะเปรยเหมือนคน     ตาบอดยลไม่เห็น    เป็นแต่กำเนิดแล้ว    กล่าวแจ้วสีขาว,แดง     แจงไม่มีคนเห็น    เป็นสีนั้นไม่มี     ทีพระอาทิตย์,จันทร์     พลันดาวไม่มีเอย    เผยผู้เห็นมิมี    ตัวข้าศรีไม่รู้    สิ่งอู้จึงไม่มี    กล่าวลีชอบหรือไม่    กัสส์ปะไกล่ไม่ชอบ     กัสส์ปะตอบพระองค์    ทรงมิรับเทวา   ดาวดึงส์นาเช่นนั้น     สมณะดั้นความเพียร    เชียรสงัดในป่า    ฝ่าทิพยจักษุ    ลุเห็น"โลกนี้,อื่น"    เห็นดื่นสัตว์ผุดเกิด    กำเนิดอุปปาฯโต    ตาทิพย์โขเหนือกว่า    ว่าสูงเกินตามนุษย์    จะรุดด้วยตาเนื้อ    เกื้อเห็นไม่ใช่เลย    ฉะนั้น


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, มกราคม, 2568, 06:30:29 AM

(ต่อหน้า ๒/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร

    ๗.ปายาฯเผยเห็นพราหมณ์    ศีลธรรมลามงดงาม    ถามอยากมีชีวิต    คิดยังไม่อยากตาย    อยากกรายใกล้ความสุข    ทุกข์เกลียดไม่อยากพบ    ปายาฯนบถ้ารู้ว่า    ตายแล้วอ่าจะยาตร   ดีกว่าชาตินี้แน่    ก็แค่ฆ่าตัวตาย    แต่หน่ายไม่รู้ว่า    จะดีกว่าชาตินี้    จึงชี้ไม่ยากตาย    ปายาฯฉายไม่เชื่อ  มิเผื่อโลกอื่นมี    อุปปาฯดีโตพลัน   ไม่ยันผลกรรมดี  หรือชั่วมีจริงเลย    กัสส์ปะฯเผยความเปรียบ    พราหมณ์หนึ่งเฉียบเมียสอง    เมียแรกครองบุตรชาย    อีกรายมีครรภ์แก่   แน่ใกล้จะคลอดแล้ว    แต่พราหมณ์แป้วถึงตาย    มานพผายเรื่องทรัพย์    กับแม่เลี้ยงว่าตน    แค่คนเดียวเจ้าของ    แม่เลี้ยงตรองให้รอ    ถ้าคลอดคลอเป็นชาย    จะได้ขยายแบ่งส่วน    เป็นหญิงด่วนกรรมสิทธิ์    ชิดของพี่ชายเอง   เขามิเกรงเซ้าซี้   ชี้แม่เลี้ยงสามครั้ง    นางเผลอพลั้งผ่าท้อง    เพื่อดูน้องชาย-หญิง    ผู้เขลาจริงด้วยโลภ    ละโมบสินมิคิด     ชีวิตตน,ลูกวาย    พราหมณ์หลายมีศีลมั่น      บัณฑิตกลั่นพฤฒิรุก    มิชิงสุกก่อนห่าม    พราหมณ์ขามยังชีวิต    วิจิตรนานเท่าใด    ผู้อื่นไวบุญยิ่ง    เพราะท่านดิ่งโอบเอื้อ    เกื้อกูลชนสุขใจ    ประโยชน์ใดช่วยโลก    โชคแด่มนุษย์,เทวา    นั้นแล

    ๘.ปายาฯตรัสแย้งต่อ    เคยก่อลงโทษโจร    โดนใส่หม้อทั้งเป็น    ลำเค็ญปิดฝาแล้ว    รัดแป้วด้วยหนังสด    จรดดินเหนียวพอก    บอกยกขึ้นเตาเผา    เขาตายแล้วเปิดดู    มิกรูเห็นชีวะ    มิละหายไปเอย    เหตุนี้เลยมิเชื่อ    ว่ามีเพื่อโลกอื่น    กัสส์ปะฯรื่นทูลถาม    ระลึกตามได้หรือ    ครือกลางวันฝันเห็น    สวนเย็นรื่นรมย์ชัด    ปายาฯตรัสรำลึกได้    กัสส์ปะฯไซร้ถามเพิ่ม     เสริมคนค่อม,เด็กหลาย    กรายมาเฝ้าหรือไม่    ทรงตอบใช่ดังความ    กัสส์ปะฯถามพวกนั้น    เห็นดั้นชีวะพระองค์     ตรงเข้า-ออกหรือไม่     ทรงตอบไป่เห็นเลย    กัสส์ปะฯเผยคนเป็น   ไม่เห็นชีวะเข้า    เฝ้าออกของพระองค์     ทรงมีชีวิตอยู่    จะกู่เห็นชีวะ    ปะคนเข้า-ออกตาย   อย่างไร

    ๙.ปายาฯครันตรัสต่อ     เคยจ่อลงโทษโจร    โผนชั่ง"น้ำหนักเป็น"     เชือกเข็ญรัดคอตาย    น้ำหนักกายซิมาก     จากเมื่อ"ยังเป็นอยู่"      จู่อ่อนแก่แล้วยัง     มีพลังทำงานได้      ไซร้ดีกว่าตายคล้อย      เหตุนี้ด้อยพระองค์     ทรงมิเชื่อ"โลกอื่น"     กัสส์ปะชื่นถามตรอง     ลองชั่งเหล็กเผาไฟ     เหล็กเย็นไขเทียบกัน       อย่างไหนพลันจะเบา     อ่อนเกลาใช้งานยิ่ง     ปายาฯดิ่งตอบว่า      เหล็กจ่ากอปรธาตุไฟ     ธาตุลมไวร้อนโพลง     จะเบาโหวงอ่อนกว่า     ใช้งานค่าสูงเพียบ   เมื่อเปรียบเหล็กเย็นเอย      กัสส์ปะเผยร่างกาย    ฉายเหมือนไฟกอปรกับ      "อายุ"นับต่อหล่อเลี้ยง     "ไออุ่น"เพี้ยงรวมทั้ง    "วิญญาณ"ตั้งใจรู้     คู้"เบา"และ"อ่อนกว่า"      อ่าใช้งานดีนา     ยิ่งแล

    ๑๐.ปายาฯตรัสแย้งต่อ     จ่อโทษโจรให้ฆ่า      ผิวหนังอย่ามีรอย     เมื่อตายผลอยจับหงาย  หมายดูชีวะหลุด    รุดจากร่างมิยล   พลิกตนหันซ้าย-ขวา   จับกายมาห้อยหัว     รัวใช้มือ,ไม้เคาะ        เจาะพลิกตัวไปมา     ไม่เห็นนาชีวะ     จะออกจากร่างเลย     เผยโจรก็มี"หู"     พรู"ตา,จมูก,ลิ้น"     จิ้นมี"รูป,เสียง,รส.."   แต่มิจด"เห็น,ฟัง"       กัสส์ปะขลังทูลเล่า     คนเป่าสังช์สามครั้ง     ยั้งหยุดแล้ววางลง    คนยินตรงชอบใจ     ชุมนุมไวเสียงเพราะ     เจาะจับต้องพร้อมเร่ง    เจ้าสังข์เปล่งเสียงเอย     สังข์เฉยไม่เปล่งใด     แม้ไสพลิกคว่ำผาย    ใช้มือกรายเคาะเมียง    ก็ไร้เสียงเหมือนเก่า    คนเป่าสังข์คิดเอา     ชนหลายเขลาไม่ตรับ    จึงจับสังข์มาเป่า    เหล่าชนทราบสังข์กอปร     ตอบด้วย"คน"ตั้ง"เพียร"   มี"ลม"เชียรจึงเปล่ง     เร่งเสียงออกมาได้     กายไซร้เช่นเดียวกัน    ครันกอปรด้วย"อายุ"      จุ"ไออุ่น,วิญญาณ"     จึงพาน"เดิน,ยืน,เห็น"    เป็น"รูป,ฟังเสียง"ไกล     "ลิ้มรส"ไว"สัมผัส"     ชัดใจรู้อารมณ์     มิระดมสิ่งนี้     กายชี้แน่นิ่งเอย    นั่นแล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, มกราคม, 2568, 09:42:06 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร

    ๑๑.ปายาฯเผยตรัสเพิ่ม     เสริมสั่งลงโทษโจร     จับโยนตัด"เนื้อ,หนัง"     พังส่วน"เอ็น,ดระดูก"เพื่อ     เผื่อดูชีวะออก     มิมีดอกไม่พบ    จึงจบไม่เชื่อว่า     "โลกอื่น"หล้าจะมี     กัสส์ปะตีความแจง     แถลงมี"ชฎิล"     ผู้ชินบูชาไฟ     อาศัยกุฎีมุง     พยุงด้วยใบไม้    ที่ใกล้มีกลุ่มคน     ปะปนพักแรมกัน     ครันเขาจากไปแล้ว      ชฎิลแกล้วสำรวจ    ตรวจของทิ้งยังใช้     ได้หรือไม่กลับพบ    ทารกครบเพศชาย    จึงกรายเลี้ยงจนโต    วัยโขสิบสองปี     ชฎิลมีธุระ     จะต้องไปเมืองไกล     ให้เด็กบูชาไฟ     อย่าห่างไกลเมียงมอง     ผองไฟอย่าให้ลับ      ถ้าไฟดับจุดใหม่     จัดใส่วาง"มีด,ไม้"     พร้อมไซร้"ไม้สีไฟ"    เด็กเพลินไปไฟดับ    ฉับถากไม้สีไฟ    หวังไวจะได้ไฟ     แต่มิไยไม่ได้     เด็กไซร้ผ่าเป็นสอง     ลองสาม-ยี่สิบซีก     ฉีกบิใส่ครกตำ     ทำแล้วโปรยคอยลม    ก็ซมมิได้ผล    ชฎิลยลเด็กอ่อน     ค่อนหาไฟมิตรง     ชงทำให้เด็กดู     ถูไม่สีไฟกัน    พลันจะติดไฟได้     พระองค์ไซร้เหมือนกัน     ยืนยันหา"โลกอื่น"     วิธีดื่นผิดทาง    พลางกัสส์ปะแนะให้     สละไซร้เห็นผิดครัน    นี้แล

    ๑๒.พลันปายาฯทรงอ้าง    จะเลิกร้างมิได้     ไซร้เห็นผิดเยี่ยงนี้    ชี้ปเสนฯและราชา     ทั่วหล้ารู้กันแล้ว    พระองค์แจ้วคิดต่าง     ติไม่สร่างคลายเอย     กัสส์ปะเลยจูงใจ    เปลี่ยนไกลความเห็นผิด     พระองค์คิดไม่ยอม     กัสส์ปะออมชอมยก     ปรกอุปมาสี่ข้อ     ง้อพิจารณา    นั่นแล

    ๑๓.หนึ่ง,หนาเปรียบพ่อค้า   กล้ามีเกวียนหมู่ใหญ่     ใคร่จรจากตะวันตก     วกสู่ออกตรงข้าม    คร้ามแบ่งเกวียนสองกอง     ครองแต่ละห้าร้อย      กองแรกคล้อยไปก่อน     ถูกคนบ่อนสวนทาง     ขวางหน้าหญ้า,น้ำเปี่ยม     เรี่ยมทิ้งของหมดแล้ว     หน้ามิแคล้วกันดาร     คนซานไปตายหมด     ขบวนหลังจดรู้รอบ     มิถูกครอบงำใด     ถึงแดนไกลกันดาร    กิจการรื่นราบเรียบ     กัสส์ปะเปรียบปายาฯ     แสวงหา"โลกอื่น"โดย     คิดโกยไม่แยบคาย     ชวนคนกรายผิดทาง    พลางผู้อื่นพินาศ     พลาดเหมือนเกวียนแรกเลย    ฉะนี้

    ๑๔.สอง,เปรียบดังชายหนึ่ง     ซึ่งเลี้ยงหมูเดินทาง     พลางถึงหมู่บ้านอื่น    เห็นดื่นคูถแห้งมาก    จากคิดไกลประโยชน์    โลดอาหารหมูได้    ไซร้คลี่ผ้าห่มห่อ   จ่อคูถเทินศีรษะ    ระหว่างทางฝนตก    คูถปรกไหลเปรอะหน้า    คนติบ้าเยี่ยงนี้    เขากลับชี้อาหาร    พระองค์ปานเปรียบเหมือน    ขอจงเบือนหนีละ    กะความเห็นผิดเอย    ฉะนั้น

    ๑๕.สาม,เผยเปรียบสองคน     ยลเล่นสกากัน   พลันหนึ่งกลืนลูกโทษ    หวังโลดชัยจะพาน    ถูกว่าขานชนะบ่อย    จงปล่อยลูกสกาดี     ทำพิธีชัยกู้    ผู้ชนะจึงมอบให้    คนแพ้ใช้ยาพิษ    คิดทาลูกสกา    คราเล่นครั้งสองยืน    คนแรกกลืนลูกโทษ     โดดถึงความตายพลัน     พระองค์พลันเปรียบดั่ง    นักเลงคลั่งกลืนสกา     นำพาพิษถึงตน     ขอจงทนสละ    กะความเห็นผิดปลง    นั้นแล

    ๑๖.สี่,คงมีชายสอง    ตรองจรชนบท    จรดหาสินทรัพย์    พบกับ"ป่าน"ระหว่างทาง     พลางก็ห่อป่านพก     เห็น"ด้าย"ปกค่าสูง    คนหนึ่งจูงทิ้งป่าน    ซ่านเอาแต่ด้ายไป   อีกคนไขมิทิ้ง    ผูกรัดพริ้งด้วยกัน    เดินต่อทันพบเลือก    "ผ้าเปลือกไม้,ผ้าฝ้าย"    พบละม้าย"เหล็ก,โลหะ"    ปะ"ดีบุก,ตะกั่ว"     จั่ว"เงิน,ทอง"มากมาย      คนหนึ่งกรายทิ้งเก่า    เคร่าใหม่ราคาแพง      อีกคนแจงมิทิ้งเลย    เผยแบกมาไกลแล้ว     เมื่อแพร้วกลับถึงบ้าน     ญาติค้านผู้แบกป่าน    พล่านมิชมเชยเอย    เผยผู้แบกห่อทอง    ครอบครองทองมากมาย     ญาติฉายชื่นชมพูน    กัสส์ปะทูลปายาฯ     พระองค์นาจะเหมือน     เยือนผู้แบกป่านเอง    จงเกรงเห็นผิดเอย    ฉะนี้


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, มกราคม, 2568, 09:32:41 AM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร

     ๑๗.เผยปายาฯเลื่อมใส     กัสส์ปะไขภาษิต     ตั้งจิต"อุบาสก"     "พระรัตน์ฯ"ปกที่พึ่ง    บึ่งพระธรรมชั่วกาล   ทรงถามกรานวิธี    พลีบูชายัญ    กัสส์ปะยันเว้นฆ่า     ปายาฯว่าพฤติตาม     มีลามแจกทานเติม     เสริมคุณภาพเยี่ยม    เปี่ยมตามลำดับกาล    นั่นแล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๗-๓๔๑

กัสส์ปะฯ=พระกุมารกัสสปะเถระ คือพระสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ สำคัญในสมัยพุทธกาล ประวัติของท่าน มีมารดาพึ่งบวชเป็นภิกษุณี โดยมิรู้ว่าตั้งครรภ์ แต่ได้รับการตัดสินว่าศีลมิขาด  และได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล และได้บวชตั้งแต่เป็นสามเณร
เสตัพย์=เสตัพยนคร เป็นเมืองที่ พระเจ้าปายาสิ ครองอยู่
ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล
ปายาฯ=พระเจ้าปายาสิ เป็น ราชัญญะ คือพระราชาที่มิได้อภิเศก
อุปปาฯ=อุปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดใหญ่โตขึ้นทันที เช่น เทพ
กามคุณห้า=สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี คือ ๑)รูป-สิ่งที่ตามองเห็น ๒)เสียง ๓)กลิ่น ๔)รส ๕)โผฏฐัพพะ-สิ่งที่กายสัมผัส
ชฎิล=นักบวชเกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, กุมภาพันธ์, 2568, 06:57:34 AM

ประมวลธรรม : ๒๑.อัมพัฏฐสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับอัมพัฏฐมาณพ)

ร่ายยาว

    ๑.พระพุทธเจ้าเสด็จไป    ไกลก้องแคว้นโกศลพรั่งพร้อม    ภิกษุน้อมค้อมตามหมู่ใหญ่คง    ทรงหยุดยั้งหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ   ลือ"อิจฉาพังคละ"กรายใกล้    ไซร้เมือง"อุกกัฏฐา"ในอาณัติ    ชาญชัดด้วย"โปกขรสาติ"พราหมณ์    "ปเสนฯ"ตามให้พราหมณ์มาครอบครอง    โปกขรฯตรองถ่องข่าวสรรเสริญพุทธองค์    จึงสั่งตรง"อัมพัฏฐมานพ"    จ้องจบเฝ้าดูพระพุทธเจ้าจะมีมาด    คาด"มหาปุริสลักษณะ"ครบ    จบคล้ายคัมภีร์มนต์ของตนหรือไร    แล้วแล

    ๒.อัมพัฏฐไปเฝ้าแต่เร้าอวดดี    มีอาการมิเคารพคือเดิน,ยืน    ฝืนสนทนาขณะพุทธองค์นั่ง   พระองค์สั่งเตือนติมิฟังเลย    เผยตนเป็นพราหมณ์ต้องแสดงอาการเช่นนี้    ชี้กับคนไพร่ที่โกนศีรษะ   และปะโกรธเกรี้ยวเมื่อพุทธองค์    ทรงติติงอัมพัฏฐชัดยังมิจบ   ครบพรหมจรรย์ของพราหมณ์   แต่ลามเลือนว่าตนจบแล้ว    อัมพัฏฐแจ้วด่าว่าสกุลศากยะ    ของพระพุทธเจ้าสกุลทาส,ไพร่   ไม่เคารพนบวรรณะพราหมณ์    นั่นแล

    ๓.พุทธองค์ทรงตรัสถาม    ความศากยสกุลทำผิดอะไร    อัมพัฏฐไวตอบได้ไปกรุงกบิลพัสดุ์    ธุระชัดของโปกขรพราหมณ์    เพื่อพบถามเจ้าศากยะ   ปะเจ้าศากยะนั่งบนที่สูง   พร้อมจูงเหล่าศากยะกุมารมา    คราเด็กระริกซิกซี้    ชะรอยชี้หัวเราะเยาะตนได้    ไซร้มิมีใครเชิญนั่งเลย  เผยไม่เคารพอ่อนน้อม   ค้อมพราหมณ์ของศากยะไพร่     จึงไม่สมควรเยี่ยงนี้   ชี้เป็นการประนามศากยสกุล    ไพร่สถุลครั้งที่สอง   พุทธองค์ตรองตรัสแม้นกไส้     ได้อยู่ในรังยังส่งเสียงร้อง    พร้องตามชอบใจเคย    กุมารเอยเข้าใจเป็นถิ่นตนแน่    อัมพัฏฐแค่ไม่ควรด่วนโทษเหตุอันน้อยเอย   ฉะนี้

    ๔.อัมพัฏฐเผยวรรณะทั้งสี่นั้น   มีสามดั้นคือกษัตริย์,แพทย์,ศูทร    มักพูดกันเป็นผู้บำเรอพราหมณ์    ตามที่ศากยะไพร่ไม่นบน้อมพราหมณ์  จึงมิงามไม่สมควรเลย    เผยประนามศากยสกุลครั้งสาม    ทรงมิขามแต่ถามอัมพัฏฐโคตรใด    อัมพัฏฐไวว่องแจ้ง"กัณหายนโคตร"    โปรดตรัสต้นสกุลศากยะคือ    กษัตริย์ชื่อ"โอกกากราช"   แต่ชาติสกุล"กัณหายน"เด่น   เป็นเช่นนางทาสีชื่อ"ทิสา"    มาเป็นทาสของโอกกากราช    ศากยะยาตรจากลูกกษัตริย์    กัณหาฯชัดจากลูกนางทาสี    นึกให้ดีถึงสกุลดั้งเดิมเถิดเอย    นั่นแล

    ๕.เผยมานพทั้งหลายที่ตามมา   พาอื้ออึงแย้งพระพุทธองค์    อย่าทรงกล่าวอัมพัฏฐเป็นลูกทาสี    เพราะชาติดีถ้อยคำงาม   สดับความมากและเป็นบัณฑิต   พุทธองค์คิดตรัสถามอัมพัฏฐ  เรากล่าวชัดเป็นความจริงหรือไร   ทรงย้ำไวถึงสามครา   อัมพัฏฐพาตอบเป็นความจริง   ผู้อื่นติงติเตียนกำเนิดต่ำ   ด่ำหลงว่าพระโคดมพูดมิตรง    พุทธองค์ห้ามและเล่าเรื่อง"กัณหะ"    แม้จะเป็นบุตรทาสีแต่พากเพียร   เรียนพรหมมนต์ชำนาญยิ่ง   มิกริ่งเกรงขอธิดาพระเจ้าโอกกากราช   ครั้งแรกพลาดครั้งสองจึงสำเร็จ   เพราะเข็ดกลัวฤทธิ์กัณหะครัน   ฉะนี้

    ๖.พลันพุทธองค์ถามอัมพัฏฐเรื่องประเพณี    กษัตริย์,พราหมณ์มีดีกว่ากันอย่างไร  ไขสี่ข้อเพื่ออัมพัฏฐคลายถือตน    หนึ่ง,คนที่เกิดจากพ่อเป็นกษัตริย์    และม่ชัดเป็นพราหมณ์จะได้    ไซร้ที่นั่ง,น้ำในพวกพราหมณ์หรือไร   อัมพัฏฐไวตอบได้ยอมให้    ได้บริโภคอาหารในพิธีต่างเช่น    เด่นพิธีสารท,งานมงคล  ยลร่วมยัญญพิธี,ต้อนรับแขก    พุทธองค์แทรกจะสอนมนต์ไหม    อัมพัฏฐไวตอบสอนได้  ทรงถามให้แต่งงานกับสตรีพราหมณ์ไหม    อัมพัฏฐไขมิห้ามเลย    ทรงเปรยถามจะอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้ไหม    ตอบไวมิได้เพราะฝ่ายแม่    เป็นพราห มณ์แน่มิบริสุทธิ์เอย   นั่นแล

    ๗.สอง,เผยพุทธองค์ทรงถามบุตรเกิด    เริดจากพ่อเป็นพราหมณ์,แม่กษัตริย์    จะจัดที่นั่ง,ได้น้ำหรือไย    ห้ามไปแต่งงานกับสตรีพราหมณ์   ทรงถามว่าจะเป็นกษัตริย์ได้ไหม    อัมพัฏฐไวตอบทำได้ทุกข้อ   เว้นป้อเป็นกษัตริย์เพราะฝ่ายพ่อ   ส่อไม่บริสุทธ์นา   นั่นแล

    ๘.สามครา,ทรงถามพราหมณ์ได้โทษ   โฉดถูกโกนศีรษะขี้เถ้าโปรย   ถูกไล่โกยออกจากเมือง    จะยังเนืองได้ที่นั่ง,น้ำ  ร่วมย้ำในพิธีกรรม,สอนมนต์ให้    ไซร้จะแต่งงานกับสตรีพราหมณ์ได้หรือไม่   อัมพัฏฐไล่ความถูกห้ามทั้งหมดเลย   ฉะนี้


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, กุมภาพันธ์, 2568, 09:44:28 AM

(หน้า ๒/๔) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร

    ๙.สี่เผย,ทรงถามกษัตริย์ได้โทษ    ถูกโลดโกนศีรษะ,ขี้เถ้าโปรย    เนรเทศโกยจากนคร    จะยังจรได้ที่นั่ง,น้ำ   ร่วมซ้ำในพิธีกรรม,สอนมนต์ให้    จะได้แต่งงานกับสตรีพราหมณ์หรือไม่    อัมพัฏฐไกล่ความ    ลามทุกข้อมิได้ห้ามเลย    ฉะนั้น

    ๑๐.พุทธเจ้าเผยแสดงว่ากษัตริย์ประเสริฐ    เลิศกว่าพราหมณ์และทรงรับรอง    ภาษิตของสนังกุมารที่ว่า    โคตรที่ค่าสูงสุดในหมู่ชนคือ     กษัตริย์ลือเลี่องวิศิษฐ์เปี่ยม    แต่ใครเรี่ยมสมบูรณ์ด้วย"วิชชา,ความรู้"   และผู้"จรณะ,ประพฤติ"ยิ่งแล้ว    มิแคล้วได้ชื่อยอดเยี่ยมสุด   ในมนุษย์และเทวา   นั่นแล

    ๑๑.คราอัมพัฏฐทูลถามการมี   ความรู้ดีกับประพฤติบรรเจิด    จะเกิดเป็นอย่างไร     พุทธองค์ไขความถ้าผู้ใด    ยังไป"ถือตัว,ถืออวาหะแต่งงาน"   พาน"วิวาหะ,ชายแต่งไปบ้านหญิง"    ผู้นี้จริงแล้วห่างร้าง"ความรู้"   อู้ไกลประพฤติอันเลิศล้ำ     เมื่อกล้ำกลืนถือชาติ,ถือโคตร  โฉด"ถือตัว,ถืออาวาหะ,วิวาหะ"ได้     จึงใกล้การแจ้งรู้และพฤติอันยิ่ง    ทรงแจ้งดิ่งแน่วผู้ออกบวชคงศีลธรรม    บำเพ็ญฌานสี่,ลุวิชชาแปดนา    จึงพารอบรู้และประพฤติเยี่ยมไกล    ความรู้ไหนพฤติใดไม่เทียบเทียมเลย   แล้วแล

    ๑๒.เผยพระพุทธเจ้าแจงทางแห่งความเสื่อมสี่   ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยความรู้,ประพฤติตรอง   ของสมณพราหมณ์ที่ยังไม่ลุกิจนั้น    หนึ่ง,กระชั้นหาบเครื่องใช้,กินผลไม้ร่วงในป่า   สอง,ท่าหนึ่งทำมิได้ต้องขุดเผือก,มัน    สาม,ครันพลาดทำทั้งหนึ่ง,สองต้องอ้าง    สร้างโรงบูชาไฟบูชาอัคนีเทพ    สี่,เสพสามข้อมิได้ไซร้ก็ปลูกบ้าน   ประตูสี่ด้านคอยดักสมณพราหมณ์ทุกทิศ   ทรงพิศถามอัมพัฏฐพร้อมอาจารย์     พานสมบูรณ์ด้วยรู้และประพฤติหรือไม่   ตอบมิใช่ยังห่างเหินไกลอยู่   กู้ตรัสถามต่อทำแบบดาบส     จรดทั้งสี่แบบได้หรือไม่    อัมพัฏฐใฝ่ตอบทำมิได้    ตรัสไซร้สรุปว่าอัมพัฏฐและอาจารย์    กรานเสื่อมความสมบูรณ์รอบรู้,พฤติเยี่ยม    เลี่ยมทั้งสี่คลาดแคล้วทุกอย่าง    กร่างเตือนว่าที่ทนงตนล้วน   ถ้วนมิเป็นแก่นสารเพียงจด    อย่างดาบสยังทำมิได้เลย  นั่นแล

    ๑๓.เผยพุทธเจ้าทรงบ่งแจ้งความผิดพลาด  ยาตรสองข้อของ"โปกขรฯพราหมณ์"     หนึ่ง,ตามกล่าวสมณโล้นเป็นไพร่   ใช่พวกดำเกิดจากท้าวพรหม    สมจะเจรจากับพราหมณ์ผู้รู้ไตรเพทอย่างไร    แต่ตนไกลก็เสื่อมไร้วิชชามิสมบูรณ์    สอง,ได้พูนของบริโภคจาก"ปเสนฯ"ผู้เป็น.
ใหญ่   แต่มิใฝ่ให้โปกขรฯเฝ้าหน้าพระพักตร์    จักต้องมีม่านกั้นทุกครา     ฉะนี้

    ๑๔.เผยพุทธองค์ทรงตรัสกับอัมพัฏฐ    ชัดขานว่าขณะพระเจ้าปเสนฯ    เจนประทับบนคอช้าง   ด้านข้างมีคนวรรณศูทรยืนอยู่    สักครู่ปเสนฯมีพระดำรัสกับอำมาตย์     แล้วศูทรกาจเลียนคำพูดแพร้วไปพร้อง   จะเรียกก้องเป็นคำพูดราชา,อมาตย์ได้หรือ    อัมพัฏฐครือตอบเป็นไปไม่ได้    พุทธเจ้าไซร้ตรัสเปรียบเปรย    พราหมณ์เคยสวดมนต์เก่าแก่     แน่ฤษีรุ่นเก่าสวดมาแล้ว  ชื่อแกล้วกล้า"อัฏฐะ,วามกะ"   ปะ"วามเทพ,เวสสามิตต์,อังคีรส"   แล้วจรดตัวอัมพัฏฐอาจารย์   ก็พานร่ำเรียนมนต์เหล่านั้น    ดั้นจะเป็นฤษีหรือผู้กำลังปฏิบัติ  จะแน่ชัดเป็นไปได้หรือ    อัมพัฏฐพรือตอบเป็นฤษีไม่ได้เลย นั่นแล

    ๑๕.เผยพุทธเจ้าตรัสถามอัมพัฏฐ    ชัดฤษีรุ่นเก่าเพียบพร้อมกามคุณห้า    อาหารจ้าคุณภาพดีสตรีบำเรอ   เจอขี่รถทียมม้าล่าแทงปฏักสัตว์   จัดท่องเที่ยวตามแหล่งต่าง   สะพร่างพร้อมบุรุษอารักขา    กล้าเหมือนแม้นตัวท่านและอาจารย์    พานพบในสมัยนี้ใช่หรือไม่    อัมพัฏฐไกล่ความฤษีสมัยก่อน    มิร่อนทำเหมือนอย่างนี้    พุทธองค์ชี้สรุปอัมพัฏฐมานพ    และจบอาจารย์มิได้เป็นฤษี    หรือผู้ลีปฏิบัติเพื่อเป็นฤษี    นี้แล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, กุมภาพันธ์, 2568, 07:43:19 AM

(หน้า ๓/๔ ) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร

  ๑๖.อัมพัฏฐทีสังเกตพระพุทธลักษณะ     ปะมหาบุรุษชัดยกเว้น     เร้น"พระคุยหฐาน"ตั้งอยู่ในฝัก    และจักมิเห็นพระชิวหาใหญ่ยาว    ที่พราวปิดช่องจมูก,ช่องหูได้   พุทธเจ้าไซร้แสดง"อิทธาภิสังขาร"     แจ้งฤทธิ์กรานให้อัมพัฏฐยลนา    ฉะนี้

    ๑๗.คราอัมพัฏฐกลับแล้วเล่าความ    ตามประสบแก่โปกขรฯพราหมณ์ฟัง     โปกขรฯชังโกรธมากที่รุกรานพุทธองค์    ใช้เท้าตรงเตะอัมพัฏฐ   ตั้งใจชัดเฝ้าพุทธเจ้าแม้ค่ำแล้ว   จุดไฟแกล้วกล้าเร่งเดินทาง     พลางขอโทษแทนอัมพัฏฐ    ทรงตรัสอัมพัฏฐจงเป็นสุขเถิดนา    ฉะนั้น

    ๑๘.คราโปกขรฯพราหมณ์พิจารณา    หาครบพระพุทธลักษณะยกเว้น    เร้นข้อสองมีกงจักรใต้ฝ่าพระบาท   พลาดยังมิเห็นพุทธองค์จึงแสดงฤทธิ์    ให้ชิดเห็นได้ตามต้องการ    โปกขรฯกรานนิมนต์ถวายอาหารวันรุ่ง   พุทธองค์จุ่งพร้อมสงฆ์รับภัตตาหาร    แล้วประทานเทศนาหลายเรื่อง  กระเดื่อง"อนุบุพพิกถา"   แจงพารู้ทาน,ศีล,สวรรค์     ตามครันโทษของกามทุกข์ทน    ผลอานิสงส์การออกบวช   พร้อมยิ่งยวดธรรมอริยสัจจ์สี่     โปกขรฯรี่มีดวงตาเห็นธรรม   ประกาศนำตนเป็นอุบาสก    ถือปรกพระรัตนตรัยตลอดชีวิน    นี้แล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๒๙๕- ๒๙๘

อิจฉาพังคละ=ชื่อหมู่บ้านพราหมณ์ ใกล้เมือง อุกกัฏฐา แคว้นโกศล
โปกขรฯ=โปกขรสาติพราหมณ์ ผู้ครองเมือง อุกกัฏฐา
ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล
อัมพัฏฐ=อัมพัฏฐมานพ ลูกศิษย์ของโปกขรสาติพราหมณ์
มหาปุริสลักษณะ=ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ  เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว ลักษณะ ๓๒ คือ
๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศกรรมบถ ๑๐ สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดาสมณ-พราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก  ๒) พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำ ข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง  สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร ๓) มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ๔)มีพระองคุลียาว ๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม  สาเหตุลักษณะ ๓,๔,๕ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ๖)มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็มบริบูรณ์ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว ของ ที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย ๗)มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ ๘) ฝ่าพระหัตถ์ และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ลักษณะ ๗,๘ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ (คือ ทาน-การให้; เปยยวัชชะ- วาจาเป็นที่รัก; อัตถจริยา -การประพฤติประโยชน์; สมานัตตตา -การวางตนสม่ำเสมอ) ๙)มีข้อพระบาทสูง และ ๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน สาเหตุลักษณะ ๙,๑๐ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ ๑๑) มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ) วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม) โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน  ๑๒) มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์ แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์ ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์ ๑๓)มีพระฉวีสีทอง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้) แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาตและความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี ๑๔)มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว ๑๕)มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, กุมภาพันธ์, 2568, 09:37:04 AM

(หน้า ๔/๔) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร

และ ๑๖) เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้ ลักษณะทั้ง ๑๕,๑๖ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน ๑๗)มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ ๑๘)มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ๑๙)มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด ลักษณะ ๑๗,๑๘,๑๙ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร และเจริญด้วยพวกพ้อง  ๒๐)มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา ๒๑)มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ ๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด ลักษณะ ๒๑,๒๒ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ) ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก ๒๓)มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากใน กุศลธรรม เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์ ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ ๒๔)มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ ๒๕)มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น ลักษณะ ๒๔,๒๕ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๒๖)มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ ๒๗)มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ลักษณะ ๒๖,๒๗ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ๒๘)มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ ๒๙)มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ลักษณะ ๒๘,๒๙ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๓๐)มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๓๑)มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๓๒)มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ลักษณะ ๓๑,๓๒ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, กุมภาพันธ์, 2568, 08:25:34 AM

ประมวลธรรม : ๒๒.ปาฏิกสูตร(สูตรว่าด้วยชีเปลือยบุตรแห่งปาฏิกะ ช่างทำถาด)

กาพย์ทัณฑิกา

    ๑.พุทธ์เจ้าประทับ......ณ "อนุปฯ"ฉับ......แคว้นมัลละหนา
เช้าทรงบิณฑ์บาตร....แวะยาตรสนทนา....นักบวช"ภัคค์วา"....ผู้ทูลถามความ
     
    ๒.เรื่อง"สุนักฯ"นี้......ผู้บุตรลิจฉวี......บวชแล้วสึกผลาม
ให้เหตุผลหลาย....หนึ่ง,หน่ายมิตาม....พุทธ์องค์ทุกยาม....อุทิศต่อไป

    ๓.สอง,ด้วยพุทธ์องค์......มิแจงฤทธิ์บ่ง......ให้ดูไฉน
สาม,มิบัญญัติ....ใดจัดเลิศไซร้....ไหนเทิดสุดไว....หรือชี้ต้นตอ

    ๔.พุทธ์เจ้าเล่า"หนึ่ง".......ทรงถามเขาถึง......ทรงเคยร้องขอ
ให้เขาอุทิศ....ประชิดองค์จ่อ.....หรือเขาทูลก่อ....เป็นข้ารับรอง

    ๕.สุนักฯตอบเปล่า......ทรงตรัสไร้เง่า......มิมีกล่าวผอง
จึงมิใช่เรื่อง.....ใครเขื่องบอกร้อง....เลิกรามิต้อง....เอ่ยอ้างกับใคร

    ๖.พุทธ์องค์เล่า"สอง"......ทรงเคยตัดข้อง......ชวนมาอยู่ไข
แล้วจะแสดง....ฤทธิ์แจ้งเร็วไว....สุนักฯตอบไซร้...."เปล่า"ไม่เคยเลย

    ๗.ตรัสถามต่อไป......ถ้าแสดงฤทธิ์ไซร้......หรือไม่แสดงเผย
จะสิ้นทุกข์หมด....จบลดไหมเอ่ย....สุนักฯตอบเปรย....มิสิ้นทุกข์ปลง

    ๘.พุทธ์องค์ตรัสว่า.......แสดงฤทธิ์หนา......มิช่วยใดบ่ง
ทรงเล่า"สาม"คัด....เคยตรัสชวนจง....อุทิศตนคง....มาบวชหรือไร

    ๙.บวชแล้วทรงรุด......บัญญัติเลิศสุด......แจ้งแก่เขาไหม
สุนักฯตอบเปล่า....ตรัสเร้ามีไว....สิ่งเลิศแล้วไซร้....ตัดทุกข์หรือไย

    ๑๐.สุนักฯตอบว่า......ไม่สิ้นทุกข์นา......ทรงชี้แจงไข
การบัญญัติเลิศ....ใดเทิดยังไกล....มิช่วยอะไร....แก่ตนเองเลย

    ๑๑.พระองค์ตรัสเตือน......สุนักฯอย่าเลือน......เคยพรรณนาเผย
คุณพระรัตน์ตรัย....เอาไว้มากเอย....ประโยชน์ล้ำเลย....ณ วัชชีคาม

    ๑๒.พุทธ์องค์ตรัสเล่า......กับสุนักฯเร้า.....ถึง"โกรักฯ"นาม
เป็นชีเปลือยรี่....คลานสี่เท้าตาม....หากินพื้นทราม....คล้ายสุนัขแล

    ๑๓.ทรงตรัสชีเปลือย.....จะท้องอืดเนือย.....อีกเจ็ดวันแฉ
ตายลงถูกพา.....ทิ้งป่าช้าแน่....สุนักฯเห็นแก่....ชีเปลือยเล่าเตือน

    ๑๔.แนะนำชีเปลือย......งับอาหารเฉื่อย.......น้ำอย่ามากเบือน
พุทธ์พยากรณ์....จะถอนและเคลื่อน....ครบเจ็ดวันเยือน....ชีเปลือยตายลง

    ๑๕.ศพทิ้งป่าช้า.....มิพลิกผันหนา......พุทธ์องค์บอกบ่ง
ทรงถามสุนักฯ....นี้จักเรียกส่ง....อิทธิฤทธิ์คง....อีกหรือไม่นา

    ๑๖.สุนักฯทูลตอบ.....ทรงแสดงฤทธิ์รอบ.....โดยชอบแล้วหนา
พุทธ์องค์กล่าวแล้ว....ฤทธิ์แคล้วคุณค่า....ทุกข์ยังอยู่ฆ่า....มิหมดสิ้นเลย

    ๑๗.พุทธ์องค์ตรัสเรื่อง......"กฬารฯ"ผู้เปรื่อง.....เจริญลาภ,ยศเผย
เป็นชีเปลือยนา...."เวสาลี"เกย....วัชชีคามเอย....วัตรเจ็ดประการ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, กุมภาพันธ์, 2568, 08:45:03 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๒.ปาฏิกสูตร

    ๑๘."เปลือย,พฤติพรหมจรรย์"......"ดื่มสุรา"ครัน.....เนื้อสัตว์พื้นฐาน
"ไม่กินข้าวสุก"....มิรุกขนมกราน....ไม่ล่วงเกินผลาญ...."เจดีย์สี่"ไกล

    ๑๙.เจดีย์สี่ทิศ......เวสาลีสถิตย์.......เหนือ,ออก,ตก,ใต้
พุทธ์องค์เคยเล่า.....ขอเร้าจำไว....สุนักฯนึกไหม....กฬารฯจะแปร

    ๒๐.กฬารฯนุ่งผ้า........มีภรรยา......กินข้าวสุกแน่
กินขนมสด....ทิศหมดล่วงแท้....ทั้งสี่ทิศแล....ในเวสาลี

    ๒๑.กฬารฯเสื่อมยศ.....ลาภสูญสิ้นหมด.......แล้วก็ตายรี่
เหตุก็จริงตาม....ทรงถามฤทธิ์ปรี่....สุนักฯรับมี....แสดงฤทธิ์งาม

    ๒๒.พุทธ์เจ้าตรัสเรื่อง....."ปาฏิกฯ"กระเดื่อง......ลาภ,ยศมีถาม
เป็นชีเปลือยจัด.....ในวัชชีคาม....ปาฏิกฯกล่าวนาม....ถึงพระโคดม

    ๒๓.โคดมพุทธ์เจ้า......"ญาณวาทะ"เคล้า......กอปรญาณรู้สม
ปาฏิกฯก็เหมือน....แสดงเกลื่อนฤทธิ์ชม.....ควรทำฤทธิ์คม.....ด้วยกันได้ไว

    ๒๔.โคดมครึ่งทาง.......ปาฏิกฯครึ่งกร่าง.......ทรงทำเท่าไหร่
ปาฏิกฯทำทวี....เพิ่มรี่มากไกล....กว่าโคดมไซร้.....แสดงฤทธิ์เอย

    ๒๕.สุนักฯเล่าความ......ทูลพุทธ์องค์ตาม.......ปาฏิกฯแข่งเอ่ย
ทรงให้สุนักฯ....พูดดักไว้เอย.....ปาฏิกฯละเกย....ความเห็น,ถ้อยคำ

    ๒๖.ถ้าปาฏิกฯสละ......ความคิดปะทะ......มิได้อย่าถลำ
เผชิญพุทธ์องค์....อยู่ตรงหน้านำ....มิฉะนั้นจำ....ศีรษะแตกทราม

    ๒๗.พุทธ์องค์ทรงบิณฑ์.....เวสาลีชิน.....แวะพักอาราม
สุนักฯเที่ยวบอก....กรอกหูทั่วคาม....บ้านปาฏิกฯยาม....แสดงฤทธิ์กัน

    ๒๘.กษัตริย์ลิจฉวี......เหล่าพราหมณ์,เศรษฐี......เจ้าลัทธิผลัน
เร่งดูแสดง....ฤทธิ์แจ้งแข่งขัน....ปาฏิกฯฤทธิ์ดั้น....มากกว่าพุทธ์องค์

    ๒๙.ปาฏิกฯชีเปลือย.....ทราบเรื่องก็เนือย.......ตกใจกลัวบ่ง
หนีหา"ติณทุกข์"....ชนบุกตามตรง....ให้แสดงตนคง....ก็ตกลงไป

    ๓๐.ปาฏิกฯกระเสือก.....กระสนกลิ้งเกลือก......ลุกขึ้นมิได้
อมาตย์ลิจฉวี....ให้ปรี่ลุกไป...."ชาลิ"ด่าไซร้....ปาฏิกฯนิ่งนา

    ๓๑.พุทธ์เจ้าจึงแสดง......ธรรมแก่ชนแจ้ง......เสร็จแล้วกลับหนา
ทรงถามสุนักฯ.....จักเป็นฤทธิ์กล้า....ได้หรือไม่นา...สุนักฯตอบเป็น

    ๓๒.พุทธ์เจ้าตรัสต่อ......รู้"อัคคัญญ์ฯ"จ่อ.....สิ่งที่เลิศเด่น
รู้ยิ่งกว่านั้น.....ครันไม่ยึดเข็น....ไม่ยึดจึงเผ่น....นิพพานด้วยตน

    ๓๓.เมื่อรู้แน่แล้ว.....จึงไม่เสื่อมแกล้ว......ปะเจริญผล
ทรงแสดงสิ่งเลิศ....ประเสริฐดื่นดล....ของศาสน์ฯอื่นยล....บัญญัติสี่เครือ

    ๓๔.หนึ่ง,บัญญัติสอน......"มีผู้สร้าง"จร......"ผู้ถูกสร้างถือ"
เช่นอิศวร,พรหม....ผู้สมสร้างลือ....เวลาผ่านพรือ....วิมานทลายพลัน

    ๓๕.ผู้เกิดแรกใหม่......ตนมหาพรหมใหญ่......เกิดหลังนึกฝัน
ตนพระพรหมสร้าง....เกิดคว้างต่อครัน....ในโลกได้พลัน....บวชบำเพ็ญเพียร


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, กุมภาพันธ์, 2568, 09:48:45 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๒.ปาฏิกสูตร

    ๓๖.ระลึกชาติได้......นำความรู้ไซร้......จากพรหมโลกเชียร
ระลึกได้อยู่...."มีผู้สร้าง"เนียน...."ผู้ถูกสร้าง"เวียน....ความเห็นสืบมา

    ๓๗.สอง,พราหมณ์บางกลุ่ม......บัญญัติเลิศซุ่ม.....เกี่ยว"เทพขิฑฑ์ฯ"หนา
ต้องโทษเพราะเล่น....สนุกเด่นทุกครา....ตายแล้วเกิดมา....บำเพ็ญพรตไว

    ๓๘.ระลึกชาติว่า......เป็นเทพขิฑฑ์ฯกล้า.....จุติเพราะสนุกไข
คิดว่าเทพอื่น.....นั้นชื่น"เที่ยง"ไซร้....แต่เทพขิฑฑ์ฯไกล....."ไม่เที่ยง"แท้เลย

    ๓๙.สาม,พราหมณ์บางเหล่า......บัญญัติสอนเร้า......"เทพมโนปฯ"เผย
มีโทษสุดท้าย....คิดร้ายเขาเอ่ย....เกิดใหม่แล้วเปรย.....บำเพ็ญเพียรกราน

    ๔๐.ระลึกชาติได้......เทพมโนปฯไกล.....จุติคิดร้ายผลาญ
เห็นว่าเทพอื่น....ระรื่น"เที่ยง"ชาญ....เทพอโนปฯขาน...."ไม่เที่ยง"แน่ครัน

    ๔๑.สี่,พราหมณ์บางพวก......บัญญัติลวกลวก......"มี,เป็นเอง"สรรค์
"อธิจจ์ฯ"ไม่มี....เหตุปรี่ใดกัน....เมื่อตาย,เกิดพลัน....บำเพ็ญพรตงาม

    ๔๒.สัญญา,จำเกิด......ระลึกชาติเจิด.....เดิมรูปพรหมผลาม
ไร้สัญญา,จำ....รูปนำแวววาม.....พลัน"จำ"เกิดลาม....จุติเกิดใหม่นา

    ๔๓.จึงรำลึกได้......สิ้นสุดลงไซร้.....ตอนจุติ,ตายหนา
ย้อนหลังมิมี....ใดคลี่เลยนา....ทุกสิ่งมีมา....โดยเหตุไม่มี

    ๔๔.บัญญัติสี่เน้น......เกิดทิฏฐิเด่น......รู้บางตอนรี่
มิรู้แต่ต้น....รู้ยลจบปรี่....หลงผิดทุกที....เพราะไม่เข้าใจ

    ๔๕.พุทธ์เจ้าตรัสเรื่อง......"สุภวิโมกข์"เรือง......ทำ"กสิณ"ใส
เพ่งรูปนิมิต....เพ่งจิตสีใด....เป็นอารมณ์ไซร้....เลิกยึดหยุดลง

    ๔๖.ภาษิตพุทธ์เจ้า......ภัคค์ฯนักบวชเฝ้า......สรรเสริญพุทธ์องค์
ทรงตอบสุนักฯ....ที่ปักใจพะวง....ทรงแสดงฤทธิ์ตรง....พร้อมสิ่งเลิศแล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๓- ๓๔๔

อนุปฯ=นิคมชื่อ อนุปปิยะ แคว้นมัลละ
ภัคค์วา,ภัคค์ฯ=ภัคควโคตรปริพพาชก เป็นนักบวช นอกศาสนา,
สุนักฯ=สุนักขัตตะ เป็นบุตรเจ้าลิจฉวี ซึ่งเคยมาบวชแล้วสึกออกไป ให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารให้ดู ไม่บัญญัติและชี้สิ่งเลิศให้ดู
พระรัตน์ตรัย=พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
โกรักฯ=โกรักขัตติยะ เป็นชีเปลือย มีวัตรเหมือนสุนัข ลงคลาน ๔ เท้า ใช้ปากงับอาหารตามพื้นดิน
กฬารฯ=กฬารมัชฌกะ เป็นชีเปลือย ภายหลังเลิกข้อวัตร ๗ ประการ หมดสิ้น
เจดีย์สี่ทิศ ในกรุงเวสาลี=๑)อุเทนเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศบูรพา-ตะวันออก ๒)โคตมกเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศทักษิณ-ใต้ ๓)สัตตัมพเจดีย์ ตั้งอยู่ทิศประจิม-ตะวันตก ๔)พหุปุตตกเจดีย์ ตั้งอยู่ทิศอุดร-เหนือ
ปาฏิกฯ=ปาฏิกบุตร เป็นชีเปลือย กล่าวท้าแสดงฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า
พระโคดมพุทธเจ้า=นามหนึ่งของพระพุทธเจ้า เรียกชื่อโคตรทางพุทธมารดา ถ้าชื่อโคตรทางพุทธบิดา คือพระโคตมพุทธเจ้า
ญาณวาทะ=ผู้กล่าวรับรองญาณความรู้
ติณทุกข=ติณทุกขานุ เป็น ปริพพาชก นักบวชนอกศาสนา
ชาลิฯ=ชาลิยะ ปริพพาชก
อัคคัญญ์ฯ=อัคคัญญะ แปลว่า สิ่งที่เลิศ หรือเป็นต้นเดิม
เทพขิฑฑ์ฯ=คือ เทพพวก ขิฑฑาปโทสิกะ(ผู้เสียหายหรือมีโทษเพราะการเล่น)
เทพมโนปฯ=คือเทพ พวกมโนปโทสิกะ(ผู้เสียหายหรือมีโทษ เพราะคิดร้ายต่อผู้อื่น)
ไม่มีเหตุ=เรียก อธิจจสมุปปันนะ การมีเป็นขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุ
สุภวิโมกข์=การบำเพ็ญกสิณ คือการเพ่งรูปนิมิต แบบใช้สีต่างๆเป็นอารมณ์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, กุมภาพันธ์, 2568, 05:25:13 AM

ประมวลธรรม : ๒๓.อุทุมพริกสูตร(สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในปริพพาชการาม ซึ่งนางอุทุมพริกสร้างถวาย)

กาพย์ตุรงคธาวี

   ๑.พระพุทธ์เจ้า......พัก"คิชฌกูฏ"เขา......กรุงเพรา"ราชคฤห์"ไข
"สันธาน"นี้....เศรษฐีจะเฝ้าไว....เจอะ"นิโครธฯ".....มาโลดสามพันคน
มาชุมนุม......กล่าวถ้อยคำคลุม......มองสุ่ม"ดิรัจฯ"ยล
ด้วยเสียงดัง....จนฟังอึกทึกก่น....เห็นสันธาน....ก็พานสงบครา
     
   ๒.เพราะสันธาน......ศิษย์โคดมกราน......มิพานเสียงดังหนา
กล่าวไกล่เกลี่ย...."อัญญ์เดียรถีย์ฯ"มา....เสียงอื้ออึง....นี้จึงต่างพุทธ์องค์
ซึ่งอยู่สงัด......นิโครธกล่าวขัด......แน่ชัดตอบโต้บ่ง
แสดงปัญญา....อันกล้าแก่ใครตรง....เพราะอยู่สงบ....ไม่พบกับใครเลย

   ๓.เปรียบตาบอด......อยู่ป่าหนีรอด......ต้องดอดหนีชนผอง
ไร้ปัญญา....คบหาใครได้เอย....เหมือนโคบอด....กลัววอดถูกภัยพาล
ต้องหลบซ่อน......ในที่เปลี่ยวจร......ที่นอนสงบนาน
ขอโคดม....จงกรที่นี่พาน....มีปัญหา....จะมาถามก่อนครัน

   ๔.พุทธ์องค์กาจ......ยินถ้อยคำยาตร......โสตธาตุชัดผลัน
จากคิชฌกูฏ....เดินปรูดจงกรมพลัน....นิโครธเห็น....เตือนเด่นสงบเอย
ถ้าทรงมา......จะถามปัญหา....พฤติกล้าพรหม์จรรย์เปรย
ที่สอนศิษย์....ใกล้ชิดพระองค์เผย....พฤติพรหมจรรย์....ที่มั่นปลอดโปร่งใจ

   ๕.ทรงเสด็จด้น.....นิโครธฯนิมนต์......วางตนนั่งต่ำใกล้
พุทธ์องค์ถาม....คุยความรื่องอันใด....นิโครธฯกราบ....ขอทราบธรรมทรงแสดง
แก่สาวก......ทรงแนะสอนปก......พฤติยกพรหม์จรรย์แจง
ที่ราบรื่น....ทรงยืนยันยากแฝง....จะเข้าใจ....คนไซร้เห็นต่างแล

   ๖.พอใจอื่น......มีพฤติดาษดื่น......ครูยืนสอนต่างแฉ
ทรงขอให้....ถามไซร้ปัญหาแก้....ในลัทธิ....เจาะซิครูท่านเอง
เกี่ยวกับ"ชัง"......ความชั่วเกลียดหยั่ง.....อยู่ยั้งบำเพ็ญเร่ง
จะเหมาะกว่า....จึงพากันกล่าวเก่ง....โคดมมี....ฤทธิ์คลี่มากยืนกราน

   ๗.ทรงไม่ตอบ.....ปัญหาในกรอบ......โดยชอบของตนชาญ
แต่กลับให้....ถามไถ่ผู้อื่นกราน....นิโครธบ่ง....อย่าส่งเสียงดังเอย
นิโครธทูล.....พวกข้ายึดพูน......เพียรหนุน"ชัง,ชั่ว"เผย
โดยบำเพ็ญ....ตบะเด่นขอถามเปรย....พฤติไหนครือ....ไม่,หรือสมบูรณ์ครัน
 
   ๘.พุทธ์องค์ตรัส......"เปลือย,เลียมือ"ชัด......และจัด"ยืนถ่าย"พลัน
ทรงถามว่า....พฤติหนาเยี่ยงกระนั้น....สมบูรณ์ไหม....ตอบไวสมบูรณ์แล
ทรงตรัสรี่......ว่าสมบูรณ์นี้......จะชี้ข้อเศร้าแฉ
ยี่สิบเอ็ด....ข้อเด็ดความหมองแน่....ผู้บำเพ็ญ....ตบะเป็นผู้เศร้าตรง

   ๙.ข้อเศร้าหมอง.....บำเพ็ญตบะครอง......ใจปอง"อิ่มเอิบ"บ่ง
"ยกตนเหนือ"....ข่มเขือ,ผู้อื่นคง....เกิด"มัวเมา".....อยากเอา"ลาภ,ชื่อ"งาม
ได้ลาภ,ชื่อ......"ยกตนข่ม"ยื้อ.....พร้อมถือ"เมาลาภ"ผลาม
"แยกอาหาร".....ชอบพานติดใจวาม....ถ้าไม่ชอบ....ก็ลอบเล็งทิ้งนา

   ๑๐.บำเพ็ญตบะ......"ลาภสักการะ"......เพื่อพะพร้อมบูชา
จากกษัตริย์....พราหมณ์ชัด,เศรษฐีหนา....อมาตย์,เดียร์ถีย์....เพราะรี่หลงมัวไกล
พราหมณ์บางพวก......ถูกรุกรานจวก......เสพสวก"พืช,ผลไม้"
เกิด"ตระหนี่"....และชี้"ริษยา"ไว....เห็นเขาอยู่....มีผู้นับถือเอย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, กุมภาพันธ์, 2568, 07:29:01 PM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๓.อุทุมพริกสูตร

   ๑๑."นั่งแสดงตน".....ทางสัญจรก่น.....มิพ้นคนเห็นเผย
"พูดไม่ตรง"....ชอบบ่ง,ไม่ชอบเลย....ถ้าไม่ชอบ....จะตอบว่าชอบจริง
พุทธ์เจ้า,ศิษย์......แจงพระธรรชิด......"ไม่คิดยอมรับ"ดิ่ง
ในพุทธ์ศาสน์....กล่าวกาจถูกต้องจริง....จะยอมรับ....แม้ตรับศาสน์ฯอื่นใด

   ๑๒."คนมักโกรธ"......"ผูกโกรธ"จำโลด.....พูดโจษมิลืมไข
"ลบหลู่คุณ.....และผลุนตีเสมอ"ไว...."มักริษยา....ใจคว้าพาตระหนี่"
"คนโอ้อวด......มีมายา"ยวด......ขี้งวดอวดมั่งมี
"กระด้าง,หมิ่น"....ใจชินว่ายากรี่....ดูถูกคน....ว่าจนต่ำต้อยแล

   ๑๓."คนลามก"......หยาบช้า,ทรามปก......ใจรกพกอยากแฉ
"มีเห็นผิด....จิตยึดส่วนสุด"แท้....ยึดความคิด....มั่นจิตตนแน่วเลย
พุทธ์องค์ตรัส......แต่ละอย่างชัด.....จะมัดคนเศร้าเผย
แล้วตรัสเสริม....เผดิมชัง,ชั่วเอ่ย....จะเป็นเศร้า.....หมองเจ่าเคล้าหรือไร

   ๑๔.นิโครธรับ......เป็นความเศร้าฉับ.....และอับจนยิ่งไส
ผู้บำเพ็ญ....อาจเป็นทุกข้อไกล....มิต้องกล่าว....ว่าสาวข้อเดียวเลย
มิมีใคร.......รอดเศร้าหมองได้.......แต่ไร้เศร้าห่อนเปรย
ทรงแสดง....แถลงบำเพ็ญเผย....บริสุทธิ์....ก็รุดตรงข้ามกัน

   ๑๕.นิโครธคิด.....เกลียดชัง,ชั่วจิต....ทำกิจบำเพ็ญสรรค์
พุทธ์องค์ตรัส.....ไม่จัดแก่นสารครัน....ไม่ถึงยอด....แค่จอดสะเก็ดเอง
นิโครธขอ......พุทธ์เจ้าแจงต่อ.....แบบก่อตบะยอดเผง
พระองค์แจง....แสดง"นิวร"เร่ง....สี่ประการ....จะขานควา มยอดดี

   ๑๖."ไม่ฆ่าสัตว์".......ไม่วานฆ่าซัด......แจ่มชัดไม่ปลื้มคลี่
"ไม่ลักทรัพย์"....มิขับใครลักปรี่....ไม่ยินดี....เมื่อมีผู้ลักไป
"ไม่พูดปด".......ไม่ใช้ใครจด......ผู้คดมิเปรมไส
"ไม่เสพกาม".....มิตามใครเสพไว....ไม่ยินดี....ครามีผู้เสพเอย

   ๑๗.แล้วทรงแจง.....เสพ"เสนาสน์ฯ"แจ้ง.....มิแคลงที่อยู่เผย
เป็นที่สงัด....ขจัดนิวรณ์เอย....มีห้าอย่าง....เพื่อพรางจิตเศร้าคลาย
"อภิชฌา"......ลดอยากได้นา......"พยาบาท"ปองร้าย
"ถีน์มิทธะฯ"....พานปะหดหู่กราย...."อุทธัจจ์"พลุ่ง....เกิดฟุ้งซ่านหทัย

   ๑๘."วิจิกิจฯ"......ลังเลใจคิด......เกิดจิตนึกสงสัย
พุทธ์องค์ตรัส....ละตัดนิวรณ์ได้.....จิตเศร้าหมอง.....ลดตรองด้วยปัญญา
"พรหมวิหาร"......ธรรมสี่เจริญขาน.......แผ่ซ่านทุกทิศหนา
ทรงถามว่า.....ทำกล้าเยี่ยงนี้....บริสุทธิ์หรือ....ตอบครือสาระแล

   ๑๙.พุทธ์องค์ตอบ.....เป็นสาระยอบ.......แค่ขอบเปลือกแท้แน่
นิโครธขอ.....ทรงคลอวิธีแจง....บำเพ็ญตบะ.....ที่จะถึงยอดแกน
ทรงแจงวน.......กระทำข้างต้น.....แจ้งผลที่ได้แทน
คือระลึก.....และตรึกชาติได้แม่น....แต่หนึ่งชาติ....มิพลาดแสน,กัปป์เอย

   ๒๐.แล้วทรงตรัส.......แค่กระพี้ชัด......ยังปัดหาใช่เผย
ทรงแสดงต่อ....จะจ่อ"ทิพย์จักษ์ฯ"เอย....บำเพ็ญนี้....ถึงรี่ยอดแก่นไว
แรกนิโครธ......ถามสอนธรรมโจษ......ใดโลดแก่ศิษย์ไข
ทรงตอบแล้ว....ให้แน่วปลอดโปร่งใจ....พฤติพรหมจรรย์....ต้นสรรค์ได้งามยล

   ๒๑.พุทธ์เจ้าตรัส......เสริมศิษย์ถึงชัด.....ฐานคัดเลิศล้ำผล
ประณีตกว่า....ยิ่งกล้ากว่าที่ก่น....พราหมณ์หลายแปลก....แต่แรกมิรู้เลย
ยังมีใด......เหนือทิพย์จักษ์ใส.....สูงไกลกว่านี้เผย
สันธานฯทูล....ความพูนนิโครธเอ่ย....ติพุทธ์องค์....แต่คงนิ่งเงียบงัน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, กุมภาพันธ์, 2568, 08:30:16 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๓.อุทุมพริกสูตร

   ๒๒.ทรงตรัสถาม......นิโครธจริงตาม......กล่าวลามหรือไรกัน
นิโครธตอบ....จริงนอบขออภัยพลัน....พุทธ์องค์บ่ง....ขอจงตอบจริงใจ
นักบวชเก่า......กล่าวพุทธ์เจ้าเล่า......อดีตเขาพูดแก่นไร้
ส่งเสียงดัง....หรือตั้งอยู่เงียบไซร้....นิโครธรับ....สดับยินมาก่อนกาล

   ๒๓.อดีตรู้.....พุทธ์เจ้าเลือกอยู่.....ที่ชูสงบเงียบขาน
เหมือนกาลนี้....ทรงชี้สรุปพาน....อดีตนักบวช....จะชวดรู้กิจเอย
พุทธ์เจ้าครัน......"ตรัสรู้แล้ว"พลัน.....กระชั้นแจงธรรมเผย
"ฝึกองค์แล้ว"....จึงแกล้วสอนศิษย์เปรย....ให้ฝึกตน....ธรรมล้นที่สอนตรง

   ๒๔.พุทธเจ้า......"สงบระงับ"เพรา.....ธรรมเอามาสอนบ่ง
"ทรงข้ามพ้น"....แบะด้นไกลยะยง....แจ้งธรรมศิษย์....เพื่อจิตพ้นตามไว
"ทรงดับเย็น"......แล้วจากบำเพ็ญ.....แจงเด่นธรรมศิษย์ไข
นิโครธขอ....อภัยจ่อครั้งสองไป....พุทธ์องค์ชาญ....ประทานอภัยปลง

   ๒๕.พระพุทธ์เจ้า......แจงทางลุธรรมเป้า......ชี้เฝ้าเจ็ดปีส่ง
ถึงเจ็ดวัน.....ตรัสยันมิหวังตรง....ให้นิโครธ.....มาโลดเป็นศิษย์เลย
ไม่ต้องเลิก......เป็นนักบวชเพิก......คงเกริกชีพเดิมเฉย
ไม่ต้องการ....ให้พานอกุศลเอย....ทรงแจงธรรม....กระทำตัดเลสไป

   ๒๖.ต้องการให้......คงกุศลธรรมไว้......ทำไซร้มากขึ้นไกล
อกุศล....ให้ยลทางละไว....ธรรมผ่องแผ้ว....จะแน่วเกิดปัญญา
ทำบริบูรณ์......ก่อปัญญายิ่งพูน......อาดูลย์กับธรรมหนา
ทรงตรัสเตือน....อย่าเชือนนิโครธนา....รีบแจรง....แจ่มแจ้ง,พิบูลย์เทอญ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๕- ๓๔๘

คิชฌกูฏ=เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
สันธานฯ=สันธานคฤหบดี เป็นผู้มีบริวารมา เป็นอนาคามีบุคคล  พระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ รองลงมาจากพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่าประกอบด้วยคุณธรรม ๖ อย่าง คือมีความเลื่อมใสในพระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว,มีศีลอันประเสริฐ,มีญาณความรู้อันประเสริฐ,มีวิมุติความหลุดพ้นอันประเสริฐ
นิโครธฯ=นิโครธปริพพาชก เป็นนักบวชนอกศาสนา
ดิรัจฯ=ดิรัจฉานกถา คือกล่าาเป็นเรื่องภายนอกของสมณะ
อัญญ์เดียรถีย์ฯ=อัญญเดียรถีย์ปริพพาชก คือนักบวชลัทธิอื่น
โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบันนี้
เสนาสน์ฯ=เสนาสนะ ที่อยู่อันเงียบสงบ
ทิพย์จักษ์ฯ=ทิพยจักษุ คือหูทิพย์ แม้ระยะไกลก็ได้ยิน
บำเพ็ญตบะ=ตโปชิคุจฉาวาทะ คือใช้ความเกลียดชังความชั่วโดยใช้ตบะเพียรอยู่ ตามลัทธิ เช่น เปลือยกาย,ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,กินอาหารเลียมือที่เลอะเทอะแทนการล้าง เป็นต้น
สังวร =ความสังวร ๔ ประการ ที่จะให้บำเพ็ญตบะสูงสุด คือ ๑)ไม่ฆ่าสัตว์,ไม่ใช้ให้ใครฆ่า,ไม่ยินดีต่อผู้ฆ่า ๒)ไม่ลักทรัพย์,ไม่ใช้ให้ลัก,ไม่ยินดีต่อผู้ลัก ๓)ไม่พูดปด,ไม่ใช้ให้พูดปด,ไม่ยินดีต่อผู้พูดปด ๔)ไม่เสพกามคุณ,ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพ,ไม่ยินดีต่อผู้เสพ
นิวรณ์ ๕=คือเครื่องขัดขวางการทำสมาธิ ต้องขจัดออกไป ได้แก่ ๑)อภิชฌา-ความอยาก ๒)พยาบาท-การปองร้าย ๓)ถีนะมิทธะ-ความหดหู่ ๔)อุทธัจจกุกกุจจะ-ความฟุ่งซ่าน ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเล สงสัย
พรหมวิหาร ๔=เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ดำรงชีพประเสริฐดั่งพรหม เป็นแนวของผู้ปกครองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ๑)เมตตา-รักใคร่อยากให้เขามรสุข ๒)กรุณา-สงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-ความยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีสุข ยินดีขอให้เจริญยิ่งขึ้นไป ๔)อุเบกขา-วางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยรัก,ชัง  พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทำแล้วควรได้รับผลดี,ชั่ว สมควรแก่เหตุ แล้ววางใจมองเฉย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, กุมภาพันธ์, 2568, 09:06:18 AM

ประมวลธรรม : ๒๔.จักกวัตติสูตรสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์)

กาพย์มหาตุรงคธาวี

   ๑.พุทธ์เจ้ามา......ณ "มาตุลาฯ"......แคว้นกล้า"มคธ"ปาน
ทรงตรัสตริ....สติปัฏฐาน....พิจารณ์ย่อย....เรื่องช้อยสติสี่เอย
"กายในกาย"......ลมหายใจกราย......อีกหลายสกปรกเผย
"เวทนา"รู้....ตรึกอยู่มองเอย....เก้าอารมณ์...."สุข"อม"ทุกข์,เฉยเฉย"ตรง

   ๒."จิตในจิต"........สิบหกอย่างคิด.......เช่นติดโลภ,โกรธบ่ง
"ธรรมในธรรม"....พิศซ้ำขันธ์ปลง....นิวรณ์ตริ....อริยสัจจ์สี่จริง
ตรัสเพิ่มว่า.......แก้วเจ็ดอย่างหนา......ราชา"ทัฬหะฯ"ใหญ่ยิ่ง
จักร,ม้า,ช้าง....มณีพร่างอิง....นางแก้วน้อม....พาพร้อมขุนคลัง,ขุนพล

   ๓.ทัฬหะฯเตือน......คอยดูจักรเคลื่อน......อย่าเชือนรีบมาบอกผล
จักรเคลื่อนแล้ว....ทรงแน่วบวชด้น....ฤษีนา....ตั้งราชาใหม่ครองเมือง
บวชเจ็ดวัน......จักรก็หายพลัน......แล้วครันราชาเศร้าเนือง
เสด็จปรี่....หาฤษีทูลเรื่อง....ราชฤษีปลอบ....จักรมอบกันมิได้เลย

   ๔.ราชฤษีแจง......บำเพ็ญ"จักก์ฯ"แกร่ง......กิจแห่งจักรพรรดิ์เผย
สามอย่างนบ...."เคารพธรรม"เอ่ย....คุ้มคน,สัตว์....มอบชัดความเป็นธรรมคง
ไม่ยอมให้......"พฤติอธรรม"ได้......ที่ในเมืองนี้ได้เลยบ่ง
"มอบทรัพย์ให้"....คนไซร้ยากตรง....เพิ่มทุนชอบ....ประกอบอาชีพต่อไป

   ๕."หาพราหมณ์คัด".......กอปรขันติชัด.......โสรัจจะสงบไข
พบถามผล.....กุศลสิ่งไหน....อกุศล.....โทษด้นมีโทษ,ไม่มี
สิ่งเสพควร.......หรือไม่ควรล้วน........รู้ถ้วนปัญญาคลี่
ใดทำแล้ว....ก็แคล้วคุณหนี....ตนเกิดทุกข์....จองบุกวิโยคชั่วกาล

   ๖.สิ่งใดทำ......ได้ประโยชน์ล้ำ......กระหน่ำสุขเนิ่นนาน
ฟังแล้วดิ่ง....จับสิ่งดีกราน....ตามพฤติชัด....คือวัตรประเสริฐราชา
ราชบุตรแน่ว......กระทำตามแล้ว.......จักรแก้วบังเกิดหนา
ราชาหมุน....จักรหมุนทางขวา....กล่าวเสริญจักร....เจริญนักอวยชัยพร

   ๗.เสด็จยกทัพ......กรายสี่ทิศนับ......ชัยฉับทุกทิศจร
แนะราชา....เหล่ากล้าพฤติวอน....ศีลห้าตรอง....แล้วครองเมืองต่อไปเอย
จักร์พรรดิ์องค์......ที่สอง-เจ็ดทรง......ทำยงเยี่ยงนี้เผย
องค์ที่เจ็ด....ทรงเด็ดบวชเอย....จักรหายไป....อมาตย์ไซร้แนะวัตรนำ

   ๘.ราชาองค์......ที่แปดมิทรง......จัดตรงแจกทรัพย์ซ้ำ
ยากไร้เพิ่ม....คนเริ่มลักหนา....จับไต่สวน....ทราบรวนไร้อาชีพจริง
ประทานเงิน......กอปรอาชีพเกริ่น......เลี้ยงเยิ่นครอบครัวยิ่ง
กาลต่อมา....คนพาเพิ่มดิ่ง....ราชาทรง....แจกคงทรัพย์อย่างเดิม

   ๙.เกิดข่าวลือ......ใครลักทรัพย์ยื้อ.....ได้ครือทรัพย์แทนเสริม
ราชาคิด....ให้สิทธิ์จะเหิม....จักเพิ่มมาก....จับถากโกนหัวประจาน
แล้วตัดหัว......ชนก็มิกลัว......สร้างตัวอาวุธผลาญ
ลักทรัพย์ใคร....ก็ไซร้ฆ่าราน....เกิดการปล้น....ทุกหนระแหงทั่วเมือง

   ๑๐.ไม่ให้ทรัพย์......แก่ผู้ยากนับ.......เท่ากับลักกระเดื่อง
ศัตรามาก....ฆ่ากรากนองเนือง....อายุสัตว์....และชัดผิวพรรณเสื่อมลง
อายุคน......"แปดหมื่นปี"ผล......บุตรดลเหลือครึ่งบ่ง
ลดเรื่อยเรื่อย....ชั่วเปลือยมากคง....เช่น"เท็จ"ก่อ....พูด"ส่อเสียด",ผิดในกาม


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, กุมภาพันธ์, 2568, 08:17:03 AM

(ต่อหน้าค่า ๒/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร

   ๑๑.อายุลด......เหลือ"ห้าพัน"จด......ธรรมคดเพิ่มสองผลาม
"พูดคำหยาบ"....อีกฉาบ"เพ้อ"ลาม....อายุครัน....สองพันห้าร้อยปีเอย
อธรรมเพิ่ม......อีกสองอย่างเสริม......"โลภ"เติม"พยาบาท"เผย
อายุดั้น...."หนึ่งพันปี"เอ่ย...."มิจฉาทิฏฐ์ฯ"....เห็นผิดทำนองคลองธรรม

   ๑๒.อายุถอย.....เหลือจด"ห้าร้อย"......ชั่วพลอยเพิ่มสามนำ
"อธัมม์ราค"....จากกำหนัดทำ....ผิดธรรมเกลือก....ไม่เลือกแม่,ป้า,น้า,อา
"วิสมโลภ"......รุนแรงละโมภ......เสพโฉบดุเดือดหนา
"มิจฉาธรรม"....กระทำตนพา....พอใจชัด....กำหนัดในเพศเดียวกัน

   ๑๓.อายุจิ๊บ......"สองร้อยห้าสิบ".......ธรรมกริบกร่อนผกผัน
พฤติไม่ดี....ผู้มีคุณดั้น....พ่อ,แม่,ญาติ....แคล้วคลาดจากพระสงฆ์เอย
ไม่อ่อนน้อม......ญาติในสกุลพร้อม......เลิกค้อมเคารพเผย
อายุ,ผิว....เกิดริ้วเสื่อมเอย....อายุบุตร....เหลือรุดแค่หนึ่งร้อยปี

   ๑๔.อายุบุตร......เหลือ"สิบปี"ผุด......เกิดจุด"มิค์สัญญี"
อายุขัย....ทอนไวลงปรี่....หญิงห้าขวบ....ประจวบมีสามีครัน
รสบางอย่าง......จะหายไปจาง......"เนย"พราง"น้ำผึ้ง"พลัน
"น้ำอ้อย"หรือ....รสครือ"เค็ม"ดั้น...."กุทรุสก์ฯ"เหลือ....แค่เครือเมล็ดพืชเคียง

   ๑๕.กุทรุสก์ฯเป็น......ภัตรอันเลิศเด่น......เหมือนเช่นเนื้อสัตว์เกรียง
ข้าวสาลี....ภัตรดีเหมาะเดี้ยง....สมัยเสื่อมนี้....ไม่มีอาหารอื่นได้
คราเสื่อมจด....."กุศลกรรมบถ"......สิบลดสูญสิ้นไป
"อกุศล"....สิบดลเรืองไว...."กุศล"คำ....มิพร่ำหรือได้ยินยล

   ๑๖.ผู้พฤติรี่......กุศลมิมี......จึงหรี่สิ้นเชิงผล
ปฏิบัติ....มิชัดชอบพ้น....พ่อ,แม่,ญาติ....ก็พลาดพบสงฆ์ใดเปรย
ไม่อ่อนน้อม......เครือญาติเลิกค้อม......ทำพร้อมเหล่านี้เผย
กลับได้รับ....คำนับสรรเสริญเอย....คำเยินยอ....และจ่อบูชามากมาย

   ๑๗.คำเรียกชื่อ......ไม่มีการสื่อ.....เรียกครือพ่อ,แม่หาย
ป้า,น้า,อา....ครูอาจารย์กลาย....โลกเจือปน....เหมือนก่นสัตว์,แพะ,สุกร
มีพยาบาท......ปองร้ายอาฆาต......ฆ่าคาดแรงยากถอน
แม่ต่อบุตร....ลูกรุดแม่รอน....ลูกกับพ่อ....พ่อก่อกับ,ลูก,พี่-น้องครา

   ๑๘.พลันเกิดมี......"สัตถันกัปป์"คลี่......กัปป์ที่ก่อศัตรา
กาลเจ็ดวัน....คิดผันตนหนา...."มิคสัญญ์ฯ"เด่น....ต่างเห็นกันเป็นเนื้อกราย
ถืออาวุธ......เข่นฆ่าฟันซุด......บุกรุดกันถึงตาย
บางพวกปรี่....หลบหนีได้ฉาย....ในป่ารอด....ด้วยยอดผลไม้,เผือก,มัน

   ๑๙.คนรอดตาย......ร่าเริงใจ,กาย......ตั้งหมายกุศลสรรค์
ละเว้นฆ่า....จะพาดีครัน....ทำมากแล้ว....มิแคล้วอายุยืนยง
กระทั่งถึง......."แปดหมื่นปี"พึ่ง......หญิงตรึง"ห้าพัน"บ่ง
จึงจะรี่....สามีได้ตรง....มนุษย์มีโชค....สาม"โรค"ลามเท่านั้นพาน

   ๒๐.โรคสามคือ......"อยากอาหาร"ครือ......จะปรือ"มิอยากอาหาร"
และ"ความแก่"....อยู่แท้เรืองศานต์....ในเมืองชื่อ....เลื่องลือพาราณสีเอย
ชนคลาคล่ำ......"เกตุมตี"ล้ำ.....จดจำเมืองหลวงเผย
"สังขะ"หนา....ราชาครองเกย....ชนะสี่ทิศ....ครองชิดแก้วเจ็ดประการ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, กุมภาพันธ์, 2568, 09:25:15 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร

   ๒๑.มนุษย์อายุ......"แปดหมื่นปี"ลุ......เกิดกุพุทธ์เจ้าชาญ
"เมตไตรย"หนา....วิชชาประสาร....จรณะ....มีพะพร้อมบริบูรณ์
โคดมฯตรัส......บริหารชัด......สงฆ์จัดหลักร้อยพูน
แต่เมตไตรย....ทรงไซร้เกื้อกูล....บริหาร....สงฆ์พานหลักพันมากไกล

   ๒๒.สังขะทรง......บวชสำนักบ่ง......ธำรง ณ เมตไตรย
กาลไม่ช้า....ถึงคราลุไสว....อรหันต์....รู้พลันยอดยิ่งตามเอย
โคดมฯตรัส......สอนพึ่งธรรมชัด......เจริญจัด"สติ"เผย
ตามพระองค์....จะคงเจริญเชย....ด้วยอายุ....สุขลุโภคะ,ผิวพรรณ

   ๒๓.พระโคดม......แจ้ง"อิทธิฯ"สม......ลุชมสำเร็จสันต์
มี"ฉันทะ"....รักจะทำพลัน.....ทำเสมอ....ใจเอ่อทำดียิ่งเอย
"วิริยะ"......เพียรกอปรทำดะ.......ธุระไม่ท้อเผย
มี"จิตตะ".....ใจจะมั่นเอย....พร้อมฝักใฝ่....จิตไม่ปล่อยฟุ้งซ่านไกล

   ๒๔."วิมังสะ"......ตรอง,ตรวจสอบปะ.......ปัญญะใช้แก้ไข
วางแผนท้น....วัดผลงานไว....เพื่อปรับปรุง....ผดุงงานดีขึ้นนา
อิทธิบาท......ธรรมสี่เก่งกาจ......มิพลาดสัมฤทธิ์หนา
อายุยง....อยู่คงกัปป์นา....หรือมากกว่า....นั้นพาเท่าที่ต้องการ

   ๒๕.โคดมแสดง......"ปาฏิโมกข์ฯ"แจง......ศีลแกร่งของสงฆ์ขาน
สองสองเจ็ด....ข้อเด็ดรักษ์พาน....จึงพ้นทุกข์....ที่รุกกาย,ใจทันที
โคดมพุทธ์ฯ......ทรงแสดงวุฒิ......ก้าวรุดฌานหนึ่ง-สี่
เพ่งอารมณ์....จิตบ่มแน่วคลี่....ประณีตชุก....เหตุสุขเกิดเพราะสมาธิ์

   ๒๖.แล้วทรงแจง......"พรหมวิหาร"แจ้ง......แถลงครองชีพหนา
แบบอย่างพรหม....ระดม"เมตตา"....อยากให้เขา....สุขเพราเพริศตลอดไป
"กรุณา"......สงสารเขาจ้า.......ช่วยพาพ้นทุกข์ไข
"มุทิตา".....เกิดอ้าดีใจ....เห็นเขาสุข....ก็ปลุกยินดีเบิกบาน

   ๒๗."อุเบกฯ"ส่ง......ใจเป็นกลางบ่ง......เที่ยงตรงรัก-ชังกราน
ใช้ปัญญา....ตรึกพาเสร็จสาน....ทั้งสี่นี้....เหตุรี่มีทรัพย์มากเอย
ทรงแจงผล......"เจโตฯ"หลุดพ้น.......เพราะด้นสมาธิ์เผย
ด้วยอำนาจ....ฉกาจฝึกเอย....ทิ้งราคะ....ใจละกำหนัดยินดี

   ๒๘.ทรงแจงผล......"ปัญญาฯ"หลุดพ้น......ด้วยล้นปัญญาคลี่
เจริญปัญญา....รู้ว่าจิตหนี....อวิชชา....จึงพาจิตรู้ความจริง
กิเลสโข......ตัดสิ้นมิโผล่......เจโตฯและปัญญาฯยิ่ง
ทั้งสองเด่น....จะเป็นเหตุดิ่ง....มีพลัง....เยี่ยมยังทำกิจสมบูรณ์

   ๒๙.ทรงตรัสหยั่ง......ไม่เห็นกำลัง......ไหนสั่งข่มยากทูน
เหมือนพลัง...."มาร"คลั่งวิบูลย์....ยากจะทาน....และต้านอำนาจผจญ
ตรัสประสาร......การสมาทาน......ด้วยกรานธรรมกุศล
ถือมั่นคง....บุญส่งเพิ่มล้น....ภิกษุสงฆ์....ยินบ่งภาษิตชื่นชม ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๘- ๓๕๒


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, กุมภาพันธ์, 2568, 10:25:35 AM
 
(ต่อหน้า ๔/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร

สติปัฏฐาน ๔=คือ การตั้งสติพิจารณา กาย,  เวทนา,จิต,ธรรม ทั้งภายในภายนอก
ทัฬหะฯ=ทัฬหเนมิ พระเจ้าจักรพรรดิ์
แก้วเจ็ดอย่าง=รัตน ๗ ประการ คือ ๑)จักรแก้ว(จักกรัตนะ) ๒)ช้างแก้ว(หัตถิรัตนะ) ๓)ม้าแก้ว(อัสสรัตนะ) ๔)แก้มณี(มณีรัตนะ) ๕)นางแก้ว(อิตถีรัตนะ) ๖)ขุนคลังแก้ว(คหปติรัตนะ) ๗)ขุนพลแก้ว(ปริณายกรัตนะ)
จักก์ฯ=จักกวัตติวัตร คือ ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์
มิจฉาทิฏฐ์ฯ=มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม
อธัมม์ราค=อธมฺมราค คือ ความกำหนัดที่ผิดธรรม
วิสมโลภ= คือ ความโลภที่รุนแรง
มิจฉาธรรม= คือ ธรรมะที่ผิดความกำหนัดพึงใจกันระหว่าง ชายกับชาย หญิงกับหญิง
มิคค์สัญญี=มิคคสัญญี คือยุคที่ผู้คนฆ่าฟันกัน เพราะต่างฝ่ายต่างมองว่าผู้อื่นเป็นสัตว์ซึ่งต้องล่า คือไม่เห็นว่าผู้อื่นเป็นคน เมื่อต่างฝ่ายต่างมองแบบเดียวกัน จึงเกิดการฆ่าฟันโดยไม่ปรานีต่อกัน ผู้คนจึงล้มตายเป็นจำนวนมาก
กุทรุสก์ฯ=กุทรุสกะ คือ ชื่อเมล็ดพืชชนิดหนึ่ง
กุศลกรรมบท ๑๐=ทางแห่งกุศลแยกทางกายกรรม : ๑)ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทำลายชีวิตของผู้อื่น ๒)ไม่ลักทรัพย์ ไม่ลักขโมย หรือยึดทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน ๓)ไม่ประพฤติผิดในกาม; ทางวจีกรรม ๔)ไม่พูดเท็จ ไม่พูดโกหก ๕) ไม่พูดส่อเสียด ๖)ไม่พูดคำหยาบคาย ๗)ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อ; ทางมโนกรรม ๘)ไม่โลภคิดอยากได้ของคนอื่น ๙)ไม่พยาบาท หรือปองร้ายผู้อื่น
๑๐)มีความเห็นชอบตามคลองธรรม
อกุศลกรรมบท ๑๐=ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ
มีการกระทำทางกาย: ๑)ปาณาติบาต -การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต ๒)อทินนาทาน -การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ ๓)กาเมสุมิจฉาจาร -ความประพฤติผิดในกาม; การกระทำทางวาจา ๔)มุสาวาท -การพูดเท็จ ๕)ปิสุณาวาจา -วาจาส่อเสียด ๖)ผรุสวาจา -วาจาหยาบ ๗)สัมผัปปลาปะ -คำพูดเพ้อเจ้อ; การกระทำทางใจ ๘)อภิชฌา -เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙)พยาบาท-คิดร้ายผู้อื่น ๑๐)มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
กัลป์,กัปป์=กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย  อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป  แต่กัปปหนึ่งยาวนานกว่านั้น
สัตถันกัปป์ฯ=สัตถันตรกัปป์ คือ กัปป์ที่อยู่ในระหว่างศัตรา ๗ วัน เป็นอันตรกัปป์ที่พินาศในระหว่างที่โลกยังไม่ถึงสังสารวัฏฏกัปป์ ก็พินาศด้วยศัตราวุธเสียก่อน
อันตรกัปป์=มี ๓ อย่าง ๑)ทุพภิกขันตรกัปป์ คือ กัปป์พินาศในระหว่างอดอาหาร ๒)โรคันทรกัปป์ คือ กัปป์พินาศในระหว่างเพราะโรค ๓)สัตถันตรกัปป์ คือกัปป์พินาศในระหว่างศัตรา
ทั้งนี้เป็นผลแห่งกรรมชั่วของมนุษย์ คือ ถ้าโลภจัด ก็พินาศเพราะอดอาหาร,หลงจัด ก็พินาศเพราะโรค,ถ้าโทสะจัดก็พินาศด้วยศัตรา
มิคสัญญ์ฯ=มิคสัญญา คือ ความสำคัญในกันและกันว่าเป็นเนื้อ
เกตุมตีฯ=เกตุมตี ราชธานี ของกรุงพาราณสี
สังขะ=พระเจ้าจักรพรรดิ์สังขะ
เมตไตรย=ว่าที่ พระเมตไตรยพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้ในกาลถัดจากพระโคดมพุทธเจ้า
วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔
จรณะ=ที่พึ่ง
อวิชชา=ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔
โคดมฯ=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน
อิทธิฯ=อิทธิบาท ๔ คือ คุณให้บรรลุความสำเร็จ มี ๑)ฉันทะ -ใฝ่ใจในสิ่งนั้นอยู่เสมอ ๒)วิริยะ -ทำสิ่งนั้นด้วยความเพียร อดทน เอาธุระไม่ถอย ๓)จิตตะ-ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่าน ๔)วิมังสา-ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาหาเหตุผล ตรวจสอบข้อด้อย มีการวางแผน วัดผล แก้ไข
ปาฏิโมกข์ฯ=ปาฏิโมกข์สังวรศีล คือ การสำรวมระวังในศีลปาฏิโมกข์ของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ
ฌาน=คือ ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มาร=คือสิ่งใดๆที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี แบ่งได้  ๑)กิเลสมาร-ขัดขวางไม่ให้ทำความดี เช่น นิวรณ์ ๕. ๒)ขันธมาร-คือขันธ์ที่บกพร่องผลาญตัวเอง เช่น อยากฟังธรรมแต่หูหนวก  ๓)อภิสังขารมาร-คือความคิดนึกประกอบกับอารมณ์เป็นมาร เป็นตัวปรุงแต่งกรรมทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณา  ขัดขวางมิให้หลุดจากทุกข์ในสังสารวัฏ ๔)เทวปุตตมาร-เทวดาที่เป็นมาร คือท้าว ววสวัตดี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ๕)มัจจุมาร-คือความตายที่ตัดโอกาสทำความดีของตนเอง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, กุมภาพันธ์, 2568, 04:49:49 AM

ประมวลธรรม : ๒๕.อัคคัญญสูตรสูตร(สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศ หรือที่เป็นต้นเดิม)

กาพย์กากคติ

   ๑.พระพุทธเจ้า......ประทับยะเหย้า......ณ "บุพพะราม"
ของวิสาขา....ใกล้"สาวัตฯ"คาม....มีสาม์เณรตาม....มาบวชสองคน
"วาเสฏฯ,ภารัทฯ"......อยากบวชสงฆ์ชัด......ทูลดำริตน
พุทธ์องค์ทรงถาม....เป็นพราหมณ์อยู่ก่น....หัวหน้าไม่บ่น....ด่าว่าหรือไร

   ๒.ผิเณรก็ตอบ.......จะด่ามิชอบ......สิตรัสวะไข
ทูลว่าพราหมณ์เลิศ...."ขาว"เทิดกว่าไผ....อื่น"ดำ"เลวไซร้....ล้วนมีมลทิน
บุตรพรหมกำเนิด......จากปากพรหมเจิด.....พรหมทายาทปิ่น
เณรทิ้งเผ่ายิ่ง....แล้วดิ่งลงผิน....สู่พวกเลวยิน....โกนหัวโล้นเอย

   ๓.ก็ศีรษะโล้น......เจาะไพร่ทะโมน......สิ"ดำ"และเผย
เกิดจากเท้าพรหม....ไม่สมควรเกย....ไม่ดีงามเลย....ไปบวชเรียนตรง
พุทธ์เจ้าทรงตอบ......คำกล่าวไม่ชอบ......ด้วยลืมพลอยหลง
เกิดจากพราหมณี....แท้ทีเดียวบ่ง....ไม่ใช่ปากคง....ตู่พูดเท็จเทียว

   ๔.และทรงตริคลี่......มนุษย์สิสี่......ก็วรรณะเชียว
ทั้งผองทำ"ดี"...."ชั่ว"ปรี่เช่นเดียว....เหมือนกันเลยเจียว....ไม่แตกต่างกัน
ทรงกล่าว"ปาเสนฯ"......ราชายิ่งเด่น......นบ"โคดม"ครัน
ด้วยความเคารพ.....พราหมณ์จบด้วยสรร....พวก"ดำ"ไพร่ดั้น....ดูถูกไพร่วงศ์

   ๕.พระพุทธเจ้า.......ตริหลักและเร้า.......กะศิษย์ผจง
ถ้าคนถามว่า....ใครนาตอบบ่ง.....เป็นสงฆ์"ศากย์ฯ"ตรง....บุตรของ"สัมมาฯ"
ผู้เกิดจากธรรม....ธรรม์ทายาทนำ......รับสืบทอดหนา
คำ"ธัมม์กาย"ฉาย...."พรหมกาย"ผู้กล้า...."เป็นธรรม,พรหม"นา....คือชื่อ"เรา"เอง

   ๖.ก็พุทธองค์......ซิตรัสและบ่ง.....เจาะโลกะเผง
เวียนถูกทำลาย....สัตว์หลายเกิดเด้ง....สู่"อาภัสส์ฯ"เร่ง....เป็นพรหมล่องลอย
คราโลกกลับมี......สัตว์ใหม่เกิดคลี่......เกิดจาก"ใจ"ช้อย
มีปีติเป็น....ดังเช่นภัตรคอย....อำนาจฌานปล่อย....แสงจ้าจนชิน

   ๗.อุบัติปฐม.......ก็ภัตรนิยม........สิโอชะ"ดิน"
เรียก"ง้วนดิน"มี....ทั้งสี,กลิ่นกิน....รสแซ่บซ่าจินต์....เพลินกินแสงวาย
เกิดอาทิตย์,จันทร์.......พร้อมดาวมากครัน.......มีคืนวันฉาย
มีเดือน,ปีถ้วน....กินง้วนดินพราย....เกิดความหยาบกาย....เห็นผิวพรรณทราม

   ๘.ผิผิวขจี........จะหมิ่นทวี.......วะหยาบมิงาม
ด้วยถือตัวหมิ่น....ง้วนดินหายผลาม....บ่นเสียดายลาม....เกิด"สะเก็ดดิน"แทน
มีสี,กลิ่น,รส.......เป็นอาหารจด.......กายหยาบขึ้นแสน
ดูหมิ่นกายเอ็ด....สะเก็ดดินหายแม่น....เกิด"เถาไม้"แล่น....กลิ่น,รสสมบูรณ์

   ๙.สิพรรณะทราม......กุหมิ่นซิลาม......และเถาก็สูญ
เกิด"ข้าวสาลี"....ไม่มีเปลือกนูน....กลิ่นหอมมากพูน....ข้าวสุกกินไว
ไร้แกลบ,รำเน้น......ข้าวเก็บตอนเย็น.....เช้าแก่เก็บได้
ความหยาบร่างกาย....ขยายผิวพรรณไหว....ทรามมากขึ้นไซร้.....รูปกายเปลี่ยนแปลง

   ๑๐.กุเกิดยะยิ่ง.......ก็ชายและหญิง.....ริเพ่งมิแฝง
กำหนัดเร่าร้อน....ช้อนเมถุนแกร่ง....ต่อหน้าคนแรง....ไม่ได้ปิดบัง
น่ารังเกียจหนา......ถูกเขาขว้างปา......ว่า"อธรรม"เลว,ชัง
ครานี้คิดเป็น...."ธรรม"เด่นปลูกฝัง....สร้างบ้านอยู่ดั่ง....ปิดซุกซ่อนเอย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, กุมภาพันธ์, 2568, 07:10:34 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๕.อัคคัญญสูตร

๑๑.เสาะแผนสะสม......กะข้าวระดม......สิมากและเผย
ด้วยขี้เกียจสาว....เอาข้าวบ่อยเคย....เช้า-เย็นลดเลย....เหลือแค่ครั้งเดียว
เอาข้าวหนหนึ่ง......ใช้อีกสองถึง.......สี่,แปดวันเจียว
เมื่อเพิ่มเก็บไว....ข้าวไร้ผลเรียว....ไม่งอกอีกเชียว....ภัตรจึงเสื่อมครัน

   ๑๒.มนุษย์ประชุม......ริแก้เจาะกลุ่ม......ก็แบ่งและสรร
ที่ปลูกข้าวพราย....เป็นรายคนพลัน....การจัดการมั่น....ข้าวน่าเพียงพอ
แล้วเกิดอกุศล......เก็บรักษ์ส่วนตน.....ขโมยข้าวไม่ขอ
จึงถูกลงโทษ.....ปราบโฉดตบจ่อ....ขว้างก้อนหินล่อ....ตีด้วยไม้พลอง

   ๑๓.สิพูดและหา.......เสาะดู"ตุลาฯ".......ติเตียนและมอง
หาผู้ลักทรัพย์....แล้วขับออกตรอง....หาคนปกครอง....แบ่งข้าวให้เลย
คัดเลือกหัวหน้า.......มีศักดิ์ใหญ่นา.......ไล่คนผิดเผย
ตั้งเป็นราชา....ก่อพาสุขเอย....อิ่มใจชนเอ่ย....ตั้งแต่นั่นมา

   ๑๔.กษัตริย์อุบัติ.......กะกลุ่มซิชัด......ก็คุ้นสิหนา
มาทำหน้าที่.....ช่วยคลี่คลายนา....แก้ไขปัญหา....ปรับให้รุ่งเรือง
คนเสมอกัน......ไม่แตกต่างผัน.......เกิดด้วย"ธรรม"เปรื่อง
ไม่เกิดด้วย"อธรรม"....ธรรมนำกระเดื่อง.....ในหมู่ชนเนือง....กาลนี้,หน้ายล

   ๑๕.ก็ผู้ลิบาป.......อธรรมมิซาบ......ละเรือนลุด้น
เรียก"พราหมณ์ผู้ลอย....บาป"จ้อยทิ้งรน....อยู่กุฎีตน....สร้างด้วยหญ้ามุง
เพ่งในกุฎี......เรียก"ฌายกะ"ชี้.......ผู้เพ่งผดุง
แต่งตำราเดช..."พระเวท"สอนปรุง....ให้สวดมนต์มุ่ง....ท่องบ่นจำเอย

   ๑๖.ก็คนสิกล่าว......ละเพ่งซิฉาว.........มิทำละเลย
เรียกกันใหม่ว่า....."อัชฌาย์ฯ"แปลเอ่ย....สาธยาย,เผย.....เริ่มวรรณะพราหมณ์
อีกกลุ่มล่าสัตว์.......เป็นอาชีพชัด.......เสพเมถุนลาม
วรรณะ"ศูทร"แล....แน่แปล"พราน"ตาม....งานเล็ก,น้อยความ.....รับใช้,คนงาน

   ๑๗.ผิกลุ่มกระทำ......สิงานลุล้ำ......ประโยชน์จะขาน
วรรณะ"แพศย์"ดั้น....สำคัญยิ่งงาน....เศรษฐกิจกราน....อยู่ในมือเลย
พุทธ์องค์ตรัสย่อ......กษัตริย์,พราหมณ์จ่อ.......รวมแพศย์,ศูทรเอ่ย
เกิดจากกลุ่มนั้น.....ไม่ผันไกลเลย....ไม่ใช่อื่นเผย....เป็นพวกเดียวเพรา

   ๑๘.ซิเขาอุบัติ......นรีชะงัด.......เสมอและเท่า
ความไม่เสมอ.....ไม่เจอกลุ่มเขา.....เกิดโดยธรรมเกลา....ไม่เกิดโดยอธรรม
แบ่งวรรณะนี้......เรียกแบ่งหน้าที่.......ด้วยเต็มใจหนำ
ไม่มีผู้ใด....ยิ่งใหญ่กว่านำ....ควรลดหมิ่นทำ....ถือตัวลดลง

   ๑๙.ตริตรัสซิต่อ......นราก็จ่อ.....ผนวชซิบ่ง
"สมณ์มณฑล"เกิด....เทิดสม์ณะตรง....ล้วนมาจากพงศ์.....สี่วรรณะแล
จากพวกเดียวกัน.....เกิดเท่าเทียมครัน......ไม่ควรหมิ่นแท้
พราหมณ์เหยียดสม์ณะ....ต้องละทิ้งแช.....ไม่มีใครแน่....สูง,ต่ำกว่ากัน

   ๒๐.ผิตรัสและชี้.......ก็วรรณะสี่......ประพฤติกระชั้น
ชั่วทั้งใจพา....กาย,วาจาผัน....เห็นผิดตายพลัน....ก้าวสู่"อบาย"
ตรงข้ามพฤติดี........เกิดเห็นชอบคลี่......ถึงแดนสรวงกราย
ทำทั้งดี,ชั่ว.....ทำตัวสุขฉาย....ทั้งทุกข์ใจ,กาย....เท่าเท่ากันเลย

   ๒๑.พระองค์สิชี้......ก็วรรณะสี่......ผิพฤติซิเคย
สำรวมกายนา.....วาจา,ใจเผย....สู่"โพธิ์ปักฯ"เปรย....ทั้งเจ็ดประการ
ถึงอรหันต์........ณ ปัจจุบัน......ผู้สำเร็จงาน
จากวรรณะใด.....นับไซร้เยี่ยมปาน....เสร็จโดยธรรมสาน....ไม่ใช่อธรรมแล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, กุมภาพันธ์, 2568, 11:05:13 PM
(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๕.อัคคญญสูตร

   ๒๒.สรุปซิตรัส......พระธรรมจะวัด......ประเสริฐสิแฉ
สู่หมู่ชนชัด....ปัจจุบันแน่....อนาคตแท้.....เป็นจริงแน่นอน
ทรงยกภาษิต......"สนังกุมาร"คิด......เหมือนพระองค์สอน
หมู่วรรณะหนา....ราชากระฉ่อน.....ผู้เลิศล้ำพร....เหนือกว่ากลุ่มใด

   ๒๓.ตะวิทยา........ประพฤติลุหล้า......วิเศษชไม
ใครมีความรู้....และชูพฤติไสว....ยอดเยี่ยมสุดไกล.....เหนือคน,เทวา
พิเศษไม่มี.......เหล่าวรรณะสี่......พวกเดียวกันหนา
ความเข้าใจผิด....คิดเหยียดกันพา....หลงตนหมิ่นว่า....ดูถูกกันเอง ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๒-๓๕๕

บุพพะราม=บุพพาราม ที่ตั้งปราสาท ของ นางวิสาขา
สาวัตฯ=กรุงสาวัตถี
วาเสฏฯ=วาเสฏฐะ คือชื่อของสามเณร เดิมนับถือศาสนาอื่น
ภารัทฯ=ภารัทวาชะ คือชื่อของสามเณร  ทั้งวาเสฏฐะและภารัทวาชะนั้นเป็นพราหมณ์ในกรุงเวสาลี ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน วาเสฏฐะนั้นเป็นศิษย์ของ โปกขรสาติพราหมณ์ ส่วนภารัทวาชะเป็นศิษย์ของตารุกขพราหมณ์
ปาเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล
โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน
ศากย์ฯ=ศากยบุตร หรือ สักยปุตตะ หมายถึงพระพุทธเจ้า โดยใจความ คือ ผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้แก่พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่า สักยธิดา)
สัมมาฯ=พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นชื่อเรียกพระพุทธเจ้า เข่นเดียวกับชื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ธรรม์ทายาท=ธรรมทายาท แปลว่า ผู้รับมรดกธรรม
ธัมม์กาย=ธัมมกาย(กายธรรม) ผู้มีธรรมเป็นกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรมเพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก
พรหมกาย=(กายพรหม) คือพระกายประเสริฐ, พระนามของพระพุทธเจ้า.
อาภัสส์ฯ=อาภัสสรพรหม คือพรหมชั้นทุติยฌานภูมิ ซึ่งตอนโลกพินาศพรหมชั้นนี้ยังอยู่
ตุลา=ตุลาการ
ฌายกะ=คือ ผู้ไม่เพ่ง
พระเวท=คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า มีอยู่ ๓ คือ ๑)ฤคเวท เป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้า ๒)ยชุรเวท ว่าด้วยพิธีบูชายัญ ๓)สามเวท ว่าด้วยบทสวดสำหรับใช้ทั่วไปในกลุ่มประชาชนในพิธีกรรมต่างๆ
อัชฌาย์ฯ=อัชฌายกะ แปลว่า ผู้สาธยาย
สมณ์มณฑล=สมณมณฑล
โพธิ์ปักฯ=โพธิปักขิยธรรม ๗  หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี (๑)สติปัฏฐาน ๔;(๒)สัมมัปปธาน ๔; (๓)อิทธิบาท ๔;(๔)อินทรีย์ ๕;(๕)
พละ ๕;(๖)โพชฌงค์ ๗; (๗)มรรคมีองค์ ๘
สนังกุมาร=สนังกุมารพรหม ได้กล่าวภาษิตว่า กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร แต่ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา(ความรู้)และจรณะ(ความประพฤติ) เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, มีนาคม, 2568, 09:29:38 AM
ประมวลธรรม : ๒๖.สัมปสาทนียสูตร(สูตรว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า)

กาพย์ตรังควชิราวดี(ตรังคนที)

   ๑.พุทธ์เจ้าเสด็จมา.............ณ "ปาวาริกัมพ์วัน"
"สาริบุตร"เฝ้าพลัน................ทูลว่าเลื่อมใสพุทธ์องค์
ไม่มีสมณะใด........................ทุกกาลในอดีตบ่ง
กาลนี้,ข้างหน้าคง..................ตรัสรู้เหมือนเอย

   ๒.พุทธ์องค์ตรัส"สาริฯ".......วาจาซิอาจหาญเผย
รู้จิตพุทธ์เจ้าเปรย..................ทั้งสามกาลหรืออ ย่างไร
ว่ามีศีล,ธรรมมา......................มีปัญญาธรรมอยู่ไข
ใจหลุดพ้นแล้วไกล.................สาริบุตรตอบเปล่าเลย

   ๓.พุทธ์องค์ทรงถามว่า.........เหตุใดนาจึงพูดเอ่ย
เปล่งวาจากล้าเปรย................บันลือสีหนาทยัน
สาริบุตรทูลแน่ใจ....................เปรียบผู้ใฝ่เฝ้าดูครัน
ประตูเข้า-ออกกัน....................มีทางเดียวจะออกไป

   ๔.นายประตูทราบดี..............แม้"แมว"หนีออกมิได้
สัตว์ใหญ่แน่ออกไว..................แค่ประตูนี้เองครัน
ดังข้าสาริบุตร..........................เปรียบประดุจเป็นเช่นนั้น
รู้นัยแห่งธรรมพลัน...................แด่อรหันต์ทุกกาล

   ๕.ทั้งพระพุทธเจ้าล้วน...........สามกาลขวนละห้าขาน
"นิวรณ์"ทำจิตพาน....................เศร้า,ปัญญาด้อยพลัง
ดำรงจิต"สติปัฏฯ"......................"โพชฌงค์ฯ"จัดรู้จริงพลัง
จึงรู้"อนุตต์ฯ"ดัง.........................ญาณอันยอดเยี่ยมเลยแล

   ๖.พระสาริบุตรเล่า..................ได้ไปเฝ้าฟังธรรมแน่
รู้แท้ธรรมมิแปร.........................อริยสัจจ์ธรรมจริง
จึงเกิดเลื่อมใสนา.......................พระศาส์ดาตรัส์รู้ยิ่ง
รู้เองโดยชอบอิง.........................สงฆ์พฤติลุตามแน่นอน

   ๗.สาริบุตรแจงธรรม................อันเลิศล้ำพุทธ์องค์สอน
สิบห้าข้อมิคลอน........................ไร้ข้อควรรู้อีกเลย
หนึ่ง"โพธิปักฯ"เด็ด......................สามสิบเจ็ดทางไปเผย
สู่อรหันต์เกย..............................ด้วยจาก"สติปัฏฯ"กราน

   ๘.สอง,ธรรม"อายะฯ"วาง.........ใน-นอกอย่างละหกผ่าน
ส่งต่อกิเลสซาน.........................เช่นตา-รูป,หู-เสียงเอย
สาม,ธรรมก้าวสู่ครรภ์................มีสี่ดั้นรู้สึกเอ่ย
"ไม่รู้ตัว"ก้าวลงเลย....................ตั้งอยู่หรือออกจากครรภ์

   ๙.ก้าวสู่ครรภ์"รู้ตัว".................อยู่,ออกมัวมิรู้กัน
"รู้ตัว"ก้าว,อยู่ครัน......................มิรู้เมื่อครรภ์ตกลง
"รู้ตัว"ทั้งสามข้อ.........................ก้าวลงจ่อ,อยู่,ครรภ์บ่ง
อยู่ในครรภ์ชื่อคง.......................กามราคะมิพ้นเลย

   ๑๐.สี่,ธรรมดักใจคน................มีสี่ล้น"นิมิต"เผย
"ฟังเสียง"คน,เทพเปรย..............."ฟังเสียงละเมอ"พล่านใจ
"รู้ใจผู้สมาธิ์"มี.............................วิตกคลี่วิจารไข
รู้จิตผู้นั้นไว.................................จะได้แก้ผ่านด้วยดี

   ๑๑.ห้า,ธรรม"ทัสสนะฯ"เป็น.......ญาณที่เห็นอารมณ์ปรี่
สี่อย่างเพียรมั่นมี.........................จนลุ"เจโตสมาธิ์ฯ"
"พิศกายแต่พื้นเท้า.......................ถึงผม"เกล้ามีสิ่งหนา
"ใต้หนังสกปรก"นา.......................เช่นปอด,ตับ,เนื้อ,หัวใจ

   ๑๒."พิจารณ์กระดูก"คาด...........ไม่สะอาดผ่านหนังไข
"ดูแนววิญญาณไว........................ตั้ง"ในโลกนี้,หน้าครา
"ดูแนววิญญาณชู.........................มิตั้ง"อยู่โลกนี้,หน้า
ทัสส์นะฯธรรมเยี่ยมนา.................ทรงสอนตัดกิเลสลง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, มีนาคม, 2568, 12:27:37 PM
(ต่อหน้า ๒/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร

   ๑๓.หก,ธรรมบัญญัติคน.............เจ็ดอย่างล้น"อรีย์"บ่ง
"อุภ์โตภาคฯ"ผู้คง.........................หลุดพ้นทั้งสองส่วนเลย
จากรูปกายหนหนึ่ง.......................อีกครั้งถึงนามกายเผย
กิเลสหมดสิ้นเอย..........................ลุอรหันต์ด้วยปัญญา

   ๑๔."ปัญญาวิมุต"ท้น...................ผู้หลุดพ้นรูปกายหนา
ลุอรหันต์มา..................................ด้วยปัญญาอย่างเดียวเลย
"กายสักขี"ผู้เป็น...........................พยานเด่นนามกายเผย
กิเลสบางส่วนเอย.........................สิ้นดังหมายเริ่มโสดาฯ

   ๑๕."ทิฏฐิปฯ"ผู้ลุกิจ....................สัมมาทิฏฐิคล่องหนา
กิเลสบางส่วนมา...........................สิ้นไปหมายโสดาฯครัน
"สัทธาวิมุต"ดล..............................จะหลุดพ้นศรัทธาสรรค์
กิเลสบางส่วนยัน...........................สิ้นไปหมายโสดาฯตรง

   ๑๖.กายสักขี,ทิฏฐิปฯ..................สัทธาฯลิบผู้ถึงบ่ง
ตั้งแต่โสดาฯคง..............................สกทาฯ,อนาคาฯ
"ธัมมานุสารี"..................................ผู้แล่นปรี่ตามธรรมหนา
แก่กล้าด้วยปัญญา.........................ลุแล้วเป็นทิฎฐิปฯเลย

   ๑๗."สัทธานุสารี".........................ผู้แล่นรี่ศรัทธาเผย
ศรัทธากล้ายิ่งเอย..........................ลุแล้วเป็นสัทธาฯ
ธัมมานุสารี.....................................โสดาฯรี่ด้วยปัญญา
สัทธาฯลุโสดาฯ..............................ด้วยอินทรีย์ศรัทธามี

   ๑๘.เจ็ด,ธรรม"โพชฌงค์ฯ"เป็น.....ปัญญาเด่นตรัสรู้คลี่
มีเจ็ดอย่างที่ดี................................เช่นสติ,เพียร,สมาธิ์
แปด,ธรรมปฎิบัติ............................มีสี่จัดลำบาก,รู้ช้า
มี"ทุกขาทันธาฯ".............................ลำบากเพราะรู้ช้าเลย

   ๑๙."ทุกขาขิปปาฯ"แน่..................ลำบากแต่รู้เร็วเผย
"สุขาทันธาฯ"เอย............................ทำสะดวกรู้ช้าทราม
"สุขาขิปปาฯ"ชู...............................ง่ายรู้เร็วประณีตผลาม
สุขาขิปปาฯวาม..............................ละเอียดนอกนั้นหยาบแล

   ๒๐.เก้า,ธรรมเกี่ยววาจา...............สี่อย่างนา"ไม่ปด"แน่
"ไม่ส่อเสียด"ยุแปร.........................ให้แตกร้าววิวาทกัน
"ไม่พูดแข่งดี"ดัง.............................ได้ชัยจังอ้างโน่นผัน
"พูดด้วยปัญญา"ยัน.......................มีหลักฐานพร้อมอ้างอิง

   ๒๑.สิบ,ธรรมวิธีสอน...................ให้ขจร"อริย์"ยิ่ง
เป็น"โสดาฯ"เที่ยงจริง....................ละสังโยชน์สามสิ้นไป
"สกทาฯ"ได้เสริม...........................โสดาฯเติมละสามไข
ราคะ,โทสะไว...............................โมหะคืนโลกครั้งเดียว

   ๒๒."อนาคาฯ"ตัดนา...................สังโยชน์ห้าสิ้นไปเจียว
จะนิพพานแน่เทียว........................มิต้องกลับมาเกิดเลย
"พระอรหันต์"โชติ..........................ละสังโยชน์สิบได้เผย
บรรลุนิพพานเอย...........................ออกจากวัฏฏะห่างไกล

   ๒๓.สิบเอ็ด,ธรรมหยั่งรู้................หลุดพ้นอยู่ของคนไหน
รู้ว่า"โสดาฯ"ไง...............................จะสำเร็จวันหน้าแล
"สกทาฯ"คืนมา..............................สู่โลกหล้าครั้งเดียวแฉ
"อนาคาฯ"นี้แปร............................มิคืนสู่โลกอีกเลย

   ๒๔."อรหันต์"รู้ว่า........................คนนี้นาจะแจ้งเอ่ย
"เจโตวิมุตฯ"เอย............................"ปัญญาฯ"เยี่ยมกิเลสราน
สิบสอง,ธรรม"สัสส์ตะฯ"................ลัทธิปะ"ตน,โลก"สาน
"ว่าเที่ยง"มีสามพาน.......................ระลึกหนึ่ง-แสนชาติแล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, มีนาคม, 2568, 09:19:28 AM
(ต่อหน้า ๓/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร

   ๒๕.ระลึกหนึ่ง-สิบกัปป์.........แต่สิบนับสี่สิบแฉ
ตน,โลกเที่ยงมิแปร..................เพราะระลึกชาติได้นาน
สิบสาม,ธรรมหยั่งรู้..................เกิด,ตายกรูของสัตว์ขาน
พุทธองค์พะพาน......................เห็นสัตว์ดี,ชั่วตามกรรม

   ๒๖.สิบสี่,ธรรมแจงฤทธิ์.........แสดงกิจยอดเยี่ยมล้ำ
แยกสอง,แบบแรกนำ................ฤทธิ์กอปรกิเลสมิเป็น
ฤทธิ์ของอริยะ..........................ตรงข้ามกะแบบหลังเด่น
มิกอปรกิเลสเร้น.......................ด้วยเป็นของพระอริย์

   ๒๗.สิบห้า,ธรรมพุทธ์องค์.......บรรลุบ่งด้วยเพียรปรี่
กำลังบากบั่นมี..........................ไม่ชุ่มด้วยกามรน
ไม่ทรมานองค์...........................พะวงลำบากลำบน
ทรงได้ฌานสี่ดล.......................จึงเป็นสุขปัจจุบัน

   ๒๘.สาริบุตรแน่ใจ..................ยืนยันได้ไม่มีผัน
ไร้สมณะใดครัน........................เหนือพุทธ์เจ้าทุกกาลเลย
ถ้าถูกถามสมณะ.......................มีปะเท่าพุทธ์เจ้าได้เผย
อดีต,กาลหน้าเอย......................ตอบว่า"มี"เทียมพระองค์

   ๒๙.ถ้าถามปัจจุบัน..................มีใครสรรเท่าเทียมบ่ง
ตอบว่า"ไม่มี"ตรง.......................ถูกถามอีกเหตุใดนา
สาริบุตรตอบว่า.........................อดีต,กาลหน้าจะมีหนา
พุทธ์เจ้าตรัสรู้มา........................เสมอพระพุทธองค์

   ๓๐.แต่ปัจจุบันนี้......................จะไม่มีพุทธ์เจ้าบ่ง
อุบัติพร้อมสองคง.......................ในโลกธาตุเดียวกัน
ไม่ใช่โอกาสหรือ.........................ฐานะครือจะมีดั้น
พุทธ์เจ้าตรัสรับครัน....................ภาษิตของสาริฯเอย

   ๓๑."อุทายีฯ"สรรเสริญ.............อัศ์จรรย์เกริ่นมากมายเผย
พุทธ์เจ้าขัดเกลาเคย...................มักน้อยอานุภาพแรง
มิแสดงปรากฏ.............................เดียร์ถีย์จดแค่หนึ่งแกร่ง
ย่อมประกาศสำแดง.....................ด้วยเหตุข้อเดียวนา

   ๓๒.พุทธเจ้าตรัสแก่..................สาริฯแน่แจงธรรมหนา
แก่ชนเนืองเนืองพา.....................หายแคลงตถาคตลง
กล่าวกับสงฆ์หลายให้.................สันโดษไซร้คล้ายพุทธ์องค์
ขัดเกลามีฤทธิ์ตรง......................แต่มิแสดงตนเผยแล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๕-๓๕๗

ปาวาริกัมพ์วัน=ณ ป่ามะม่วง ซึ่งเศรษฐีขายผ้าเป็นผู้ถวาย
สาริบุตร=พระอัคครสาวกเบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า ผู้เลิศด้วยปัญญา
นิวรณ์=นิวรณ์ ๕ คือกิเลสอันกั้นจิตไม่ให้ลุความดี แยกเป็น ๑)กามฉันทะ ความพึงพอใจ ติดใจ ลุ่มหลง ๒)พยาบาท เเค้นเคือง ผูกโกรธ ๓)ถีนมิทธะ หดหู่ ท้อถอย เซื่องซึม ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ กังวลใจ ๕)วิจิกิจฉา ความไม่เเน่ใจ ความลังเล สงสัย
อนุตต์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือญาณที่ตรัสรู้เองโดยชอบ
โพธิปักฯ=โพธิปักขยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี
๑)สติปัฏฐาน ๔ ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑.กายานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณากาย;
๑.๒.เวทนานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณาเวทนา; ๑.๓.จิตตานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต;๑.๔.ธรรมานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม;
๒)สัมมัปปธาน ๔ หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑.สังวรปธาน-การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน; ๒.๒.ปหานปธาน-การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว; ๒.๓.ภาวนาปธาน-การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน; ๒.๔.อนุรักขปธาน-การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป;


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, มีนาคม, 2568, 11:08:38 AM

(ต่อหน้า ๔/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร

๓)อิทธิบาท ๔  เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑.ฉันทะ-ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น; ๓.๒.วิริยะ-ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น; ๓.๓.จิตตะ -ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ; ๓.๔.วิมังสา-ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น;
๔)อินทรีย์ ๕ คือ ๔.๑.ศรัทธา-ให้เกิดความเชื่อ; ๔.๒.วิริยะ-ให้เกิดความเพียร; ๔.๓.สติ-ให้เกิดความระลึกได้; ๔.๔.สมาธิ-ให้เกิดความตั้งมั่น; ๔.๕.ปัญญา-ให้เกิดความรอบรู้;
๕)พละ ๕ คือกำลัง ๕.๑.ศรัทธา-ความเชื่อ; ๕.๒.วิริยะ-ความเพียร;๕.๓ สติ-ความระลึกได้; ๕.๔.สมาธิ-ความตั้งมั่น; ๕.๕.ปัญญา- ความรอบรู้;
๖)โพชฌงค์ ๗ คือ องค์แห่งการตรัสรู้ มี ๖.๑.สติ-มีความระลึกได้; ๖.๒.ธัมมวิจยะ-มีความพิจารณาในธรรม;๖.๓.วิริยะ-มีความเพียร; ๖.๔.ปีติ-มีความอิ่มใจ; ๖.๕.ปัสสัทธิ-มีความสงบสบายใจ; ๖.๖.สมาธิ-มีความตั้งมั่น; ๖.๗.อุเบกขา-มีความวางเฉย;
๗)มรรค ๘ คือ หนทางดับทุกข์ ๗.๑. สัมมาทิฏฐิ-ใช้เพื่อเห็นชอบ โดย เห็นอริยสัจ; ๗.๒. สัมมาสังกัปปะ-ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก; ๗.๓.สัมมาวาจา-ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต; ๗.๔.สัมมากัมมันตะ-ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต; ๗.๕.สัมมาอาชีวะ-ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด; ๗.๖.สัมมาวายามะ-ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน; ๗.๗.สัมมาสติ-ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔; ๗.๘.สัมมาสมาธิ-ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนา
อายะฯ=อายตนะ ภายใน ๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ภายนอก ๖(รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) รวม ๑๒ แยกทำหน้าที่เป็นคู่ได้แก่ ตากับรูป,หูกับเสียง,จมูกกับกลิ่น,ลิ้นกับรส,กายกับโผฏฐัพพะ,ใจกับธรรมารมณ์
ทัสสนะฯ=ทัสสนสมาบัติ ๔ ประการ ๑)สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส,ความเพียรที่ตั้งมั่น,ความหมั่นประกอบ,ความไม่ประมาท,อาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า'ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ ๒)สมณะหรือพราหมณ์อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูก ๓) สมณะหรือพราหมณ์ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่นย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูก และรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนดโดยส่วนสอง คือ ที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และในโลกหน้า ๔)สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า 'ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูกและรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนดโดยส่วนสอง คือ ที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และไม่ตั้งอยู่ในโลกหน้า             
เจโตสมาธิ์=เจโตสมาธิ คือสมาธิที่นำจิตให้หลุดพ้นจากการครอบงำปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งหลาย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, มีนาคม, 2568, 10:15:24 AM

(หน้า ๕/๕).๒๖.สัมปสาทนียสูตร

อริยบุคคล ๗ =บุคคลผู้ประเสริฐเรียงจากสูงลงมา ๑)อุภโตภาควิมุต -ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ ๒)ปัญญาวิมุต -ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว ๓)กายสักขี -ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๔)ทิฏฐิปปัตตะ -ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๕)สัทธาวิมุต -ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านที่เข้าในอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๖)ธัมมานุสารี -ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ ๗)สัทธานุสารี -ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุตกล่าวโดยสรุป บุคคลที่ ๑ และ ๒ (อุภโตภาควิมุต และปัญญาวิมุต) ได้แก่พระอรหันต์ ๒ ประเภท บุคคลที่ ๓, ๔ และ ๕ (กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ และสัทธาวิมุต) ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค จำแนกเป็น 3 พวกตามอินทรีย์ที่แก่กล้า เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ สมาธินทรีย์ หรือปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์ ส่วนบุคคลที่ ๖ และ ๗ (ธัมมานุสารีและสัทธานุสารี) ได้แก่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จำแนกตามอินทรีย์ที่เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ ปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์
ธรรมข้อปฏิบัติ ๔=ปฏิบัติลำบากและรู้ช้า ๑)ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า ๒)ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ๓)สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ๔)สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว
เทศนาวิธีสั่งสอน ๔=
๑)พระพุทธเจ้าทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ
โสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ๒)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ
สกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้นไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ๔)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ทรงเทศนาเรื่องการหยั่งรู้,การหลุดพ้นของบุคคลอื่น ก็นับว่ายอดเยี่ยม=
๑)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ๒)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ๔)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
สัสสตะฯ=สัสสตวาทะ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในภพอื่นต่อไป


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, มีนาคม, 2568, 08:31:12 AM

ประมวลธรรม : ๒๗.ปาสาทิกสูตร(สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส)

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.พุทธองค์ทรงยาตร........ปราสาท"ศากย์ฯ"เชี่ยวชาญธนู
ครานั้น"นิครนฯ"จู่.................เจ้าลัทธิถึงแก่กรรมลง
แตกกันครันสองฝ่าย.............วิวาทกรายรุนแรงบ่ง
"จุนทะ"เล่าความตรง.............แก่อานนท์ชวนเฝ้า"โคดม"

   ๒.พุทธเจ้าตรัสถึง..............หลักธรรมตรึงซึ่งสอนนำบ่ม
ของศาส์ดา,ศิษย์คม..............แบ่งออกได้ไวหกแบบนา
หนึ่ง,สามทรามไม่ดี...............ศาส์ดานี้,หลักธรรมนำศิษย์หนา
ถ้าใครได้ทำพา.....................ประสบสิ่งไร้บุญมากเอย

   ๓.สอง,ศาส์ดา,หลักธรรม.....ไม่ดีนำแม้ศิษย์ดีเผย
พฤติตามลามแล้วเปรย...........ถูกติเตียนสามฝ่ายแล
แม้ใครได้เพียรจริง.................ประสบสิ่งมิใช่บุญแฉ
สาม,ศาส์ดา,ธรรมแน่..............ล้วนดีแต่ศิษย์แย่มิดี

   ๔. สาม,ศาสดา,ธรรม...........เสริญนำศิษย์ถูกติเตียนคลี่
ใครพฤติตามทวี.....................ยังได้พบบุญกันมากเลย
สี่,ดีทั้งสามอย่าง.....................สรรเสริญพร่างสามฝ่ายเอ่ย
ใครเรียนเพียรตามเอย.............ประสบบุญล้ำเลิศเลอ

   ๕.ห้า,ศาส์ดา,หลักธรรม.........ดีนำศิษย์หย่อนเนื้อความเอ่อ
มิเข้าใจแจ่มเออ.......................จะเดือดร้อนกร่อนศาส์ดาตาย
หก,ศาส์ดา,ธรรมดี....................ศิษย์ซึ่งปรี่คลี่ธรรมผาย
ครั้นศาส์ดาตาย.......................ศิษย์ไม่เดือดร้อนลำบากใจ

   ๖.พุทธ์เจ้าทรงตรัสหวั่น.........พรหม์จรรย์บริบูรณ์เพียงใด
มีอีกห้าข้อไว............................ควรพิจารณาเอง
หนึ่ง,ศาส์ดามิเป็น.....................เถระเด่นบวชนานรู้เผง
มิถือบกพร่องเกรง....................ศาส์ดาเถระจึงสมบูรณ์

   ๗.สอง,ศาส์ดาเถระ................แต่ปะสงฆ์เถระขาดพูน
ไม่กาจลุธรรมคูณ....................มิแย้งข้อกล่าวหาได้เลย
ถือยังยั้งพร่องพรู.....................ถ้าสงฆ์กู่เก่งอาจหาญเผย
ผู้ฉลาดวาดเปรย......................จึงชื่อว่าสมบูรณ์เลยจริง

   ๘.สาม,ถ้าศาส์ดา,สงฆ์............เถระบ่งล้ำเลิศดียิ่ง
แต่สงฆ์ชั้นกลางพิง...................ไม่ดีเท่ามิสมบูรณ์แล
รวมสงฆ์บวชใหม่พลี.................ภิกษุณีเถระ,กลางแน่
ชนพฤติพรหม์จรรย์แด..............เสพกามอยู่ก็ยังมิดี

   ๙.สาม,ประพฤติสมบูรณ์.........ดีพูนแล้วแน่วถือปรี่
ว่าพรหมจรรย์พี........................ดีสมบูรณ์ครบพร้อมพรั่งเอย
พุทธ์องค์ทรงเสริมบ่ง................พระองค์,ธรรม,สงฆ์,ชนเผย
ถ้าคุณลักษณะเชย...................พรหม์จรรย์จึงสมบูรณ์จริงนา

   ๑๐.ตรัสว่าพระองค์,สงฆ์.........ผู้บ่งเลิศ,ลาภ,ยศแล้วหนา
นึกคำ"อุททกฯ"พา....................ว่า"เห็นอยู่แต่ไม่เห็น"ชม
แจงว่า"เห็นมีดโกน"...................ลับดีโผน"ไม่เห็นคม"
ภาษิตไร้คุณงม........................ไม่มีประโยชน์ทุกอย่างครัน

   ๑๑.ทรงตรัสว่าที่ถูก...............ควรปลูกหมาย"ไม่เห็นพรหม์จรรย์"
ที่บริบูรณ์ยัน............................ประกาศดีแท้กล่าวชอบตรง
ตรัสแนะให้จุนทะ......................เทียบเคียงพระธรรมแสดงบ่ง
ด้วยปัญญายิ่งคง.......................พึงทำสังคายนาวิจารณ์

   ๑๒.ตรึกอรรถ-อรรถ,คำ-คำ......เพิ่อทำพรหม์จรรย์ยั่งยืนขาน
เป็นประโยชน์สุขกราน...............อนุเคราะห์เกื้อกูลชน,เทวา
ธรรมยิ่ง"สติปัฏฐ์".......................มีสี่ชัดมีมรรคสุดหนา
เรียก"โพธิปักขิฯ"พา...................สู่ตรัสรู้แน่วแน่เอย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, มีนาคม, 2568, 09:54:55 AM
(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร

   ๑๓.ตรัสแนะสอบสวนธรรม...........เทียบนำโพธิปักข์ฯพร้อมเพรียงเผย
ทั้งสามสิบเจ็ดเชย...........................อย่าวิวาททรงแนะวิธี
สงฆ์สอบพระธรรมมี........................ยึดสี่ข้อหลักสำเร็จรี่
เพื่อให้พรหม์จรรย์ดี.........................ดำรงอยู่ได้คงเนิ่นนาน

   ๑๔.หนึ่ง,เพื่อนพรหมจรรย์พลาง.........กล่าวท่ามกลางสงฆ์ประชุมด่วน
รู้"อรรถ,ความหมาย"พาน...............ผิดรวมทั้ง"อักษร"ควรติง
แล้วบอกอักษรนี้...........................อีกตัวชี้ไหนถูกต้องยิ่ง
ความหมาย"นี้,นั่น"อิง....................ของตัวอักษรใดดีครัน

   ๑๕.ถ้าผู้กล่าวธรรมรี่.................อักษรนี้,ความหมายนี้ดั้น
เหมาะสมดีปรี่ยัน.........................มิควรเสริญหรือคัดค้านเอย
พึงกำหนดหมายดี......................พิจารณ์คลี่อรรถ,อักษรเผย
แย้งอักษรไหนเชย.........................เหมาะอรรถ,ความหมายมากกว่ากัน

   ๑๖.สอง,รู้อรรถผิดคลอน..............ยกอักษรถูกพึงถามมั่น
อักษรไหนประชัน............................ความหมายดีกว่าเพื่อใคร่ครวญ
สาม,รู้อรรถถูกวอน..........................ยกอักษรผิดต้องสอบสวน
อักษรสองฝ่ายจง.............................อันใดถูกกว่าแล้วพิจารณ์

   ๑๗.สี่,รู้อรรถถูกต้อง......................อักษรพ้องถูกควรชมฉาน
ซึ่งภาษิตคิดชาญ.............................ได้เข้าถึงอรรถ,อักษรเอย
พุทธ์องค์ตรัสแสดง..........................มิแจงธรรมคุมกิเลสเอ่ย
กาลนี้,แต่สอนเปรย...........................ทลายกิเลสกาลหน้าคอย

   ๑๘.พุทธ์องค์ทรงแสดง...................ที่แจงปัจจัยสี่คลายหนาว-ร้อน
ยังชีพต่อได้จร..................................ปฏิบัติธรรมสะดวกเอย
แล้วทรงตรัสแนะนำ...........................โต้ตอบล้ำเจ้าลัทธิเผย
เมื่อศาสน์พุทธ์ถูกเปรย......................พาดพิงมีหลายข้อตอบควร

   ๑๙.หนึ่ง,นักบวชอื่นว่า.....................สงฆ์ศากย์ฯนายึด"สุขัลฯ"ถ้วน
หมกมุ่นเสพสุขชวน...........................จงถามว่า"สุขัลฯ"เป็นอย่างใด
สุขัลฯธรรมต่ำทราม..........................ของชนลามเท่านั้นจะไข
ฆ่าสัตว์,เท็จ,ลักไว.............................บำเรอตนอิ่มเอมกามคุณ

   ๒๐.ธรรมทรามนี้มิใช่.....................กิจไซร้พระอริยะหนุน
ไม่ได้ประโยชน์จุน...........................ไม่คลายกำหนัดระงับเลย
ไม่สงบมิใช่ทาง................................ตรัสรู้พร่างอย่างใดเผย
พุทธ์องค์ให้ตอบเอย.........................บอกเดียรถีย์กล่าวให้ตรง

   ๒๑.สอง,สงฆ์สงัดแน่ว.....................คลาดแคล้วอกุศลธรรมบ่ง
ลุ"ฌานหนึ่ง-สี่"ทรง.............................วิตก,วิจาร,ปีติคลาย
จะสุข,ทุกข์หมดลิ...............................เหลือสติ,สัมป์ชัญญะหมาย
คือสุขัลฯสงฆ์กราย.............................สู่ทางตรัสรู้นิพพาน

   ๒๒.สาม,ถ้านักบวชถาม....................ผลดีตามลุฌานจงขาน
ตอบไปสี่อย่างพาน.............................."โสดาฯ"ละสัญโญชน์สามไกล
"สักกายฯ"ยึดเป็นตน............................"วิจิฯ"ยลลังเลสงสัย
"สีลัพฯ"เชื่อโชคใด...............................โสดาฯจะตรัสรู้มินาน

   ๒๓."สกทาฯ"ละสัญโญชน์..................สามโลดเท่าโสดาฯอีกพาน
ทำ"ราคะ,โกรธ"กราน............................และ"โมหะ"เบาบางได้เอย
ตายแล้วจะคืนสู่....................................โลกนี้พรูอีกครั้งเผย
มุ่งทางตรัสรู้เชย...................................สู่พระนิพพานสิ้นทุกข์พลัน

   ๒๔."อนาคาฯ"ละหนา..........................สัญโญชน์ห้าหมดไปครัน
"สักกายฯ,วิจิฯ"ยัน................................."สีลัพฯ,ราคะ,ปฏิฯวาย
เมื่อตายแล้วเกิดเป็น.............................."โอปปาฯ"เด่นในภพใดหมาย
นิพพานที่นั่นกราย.................................ไม่คืนกลับโลกนี้อีกเลย

๒๕.สูงสุด"อรหันต์".................................สัญโญชน์ดั้นละได้สิบเผย
เพิ่มจากอนาฯเกย...................................อีกห้า"รูปราคะ,ติดใจ"
"อรูปราคะ"พิง.........................................ติดสิ่งไร้รูป"มานะ"ใฝ่
"อุทธัจจะ"ฟุ้งไว......................................."อวิชชา"ไม่รู้ความจริง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, มีนาคม, 2568, 08:19:19 AM
(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร

   ๒๖.อรหันต์ลุ"เจโตฯ"............."ปัญญาฯ"โขไร้กิเลสสิง
 จึงได้ตรัสรู้อิง..........................ลุนิพพานพ้นห่างไกล
จากวัฏฏสงสารวาย..................ชาติสุดท้ายเลิกเกิดใส
เป็นอานิสงส์ไกล......................"สุขัลฯ"ในพุทธ์ศาสน์แน่ครัน

   ๒๗.สี่,นักบวชกล่าวหา...........สงฆ์ว่ามีธรรมไม่ตั้งมั่น
พึงแจ้งอรหันต์..........................ตลอดชีพมิก้าวล่วงเอย
เก้าอย่าง"ไม่ฆ่าสัตว์"................."ไม่ลัก"ชัด"ไม่พูดปด"เผย
"ไม่เสพเมถุน"เลย....................."ไม่เก็บภัตร"ไม่ลำเอียงปราย

   ๒๘."ไม่ลำเอียงเพราะชอบ"....."ด้วยชัง"ครอบ"เพราะหลง"ขยาย
"ไม่ลำเอียงกลัว"กราย...............พุทธ์องค์กำหนดธรรมครบครัน
ทรงรู้ด้วย"สัพพัญญ์ฯ"...............ทรงเห็นดั้น"ด้วยตาทิพย์"ยัน
จึงวางหลักเกณฑ์พลัน...............ให้สงฆ์พฤติตลอดกาล

   ๒๙.นักบวชอาจกล่าวหา.........."โคดม"ว่ากำหนดกาลนาน
"ญาณทัสส์ฯ"ไร้เขตพาน.............ยาวไกลเป็นอดีตเลย
ไม่กล่าวกาลเบื้องหน้า.................เพราะว่าเขลาไม่เฉียบคมเผย
ทรงตรัสญาณทัสส์ฯเปรย............ของนักบวชความหมายต่างกัน

   ๓๐.พุทธ์องค์ลุ"สตาฯ"...............ญาณหนาระลึกชาติไกลมั่น
ไร้ขอบเขตขวางกั้น....................ตามอดีตที่อยากรู้แล
และมีมรรคญาณสี่......................ตรัสรู้ชี้อนาคตแฉ
ชาตินี้สุดท้ายแน่.........................ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

   ๓๑.พุทธ์เจ้ากล่าวเรื่องราว........อดีตสาว,ปัจจุบันไข
อนาคตหลายไกล.......................เนื่องด้วยตัวพระองค์เอย
เรื่องอดีต,อนาคต........................กาลนี้จดไม่จริงแท้เอ่ย
ไม่มีประโยชน์เลย.......................ตถาคตมิพยากรณ์

   ๓๒.อดีต,กาลหน้าชี้..................กาลนี้เรื่องจริงแท้แต่รอน
ไม่มีประโยชน์จร.........................ตถาคตก็มิทำนาย
กาลก่อน,หน้าและนี้.....................เป็นจริงที่แท้ประโยชน์ผาย
ตถาคตรู้กาลกราย.......................จะตอบปัญหาได้ครบครัน

   ๓๓.ทรงเป็น"กาลวาที"...............ตรัสที่เหมาะกาลเวลาสรร
"ภูตวาที"พลัน..............................ตรัสสภาวะที่เป็นจริง
"อัตตวาที"ชัด..............................ทรงตรัสปรมัตถ์นิพพานดิ่ง
"ธัมม์วาที",มรรคอิง......................จึงเรียก"ตถาคต"นาม

   ๓๔.ทรงตรัสรู้"รูปาย์ฯ"..............เห็นรูปนาด้วยตาผลาม
"สัททาย์ฯ"ยินเสียงตาม..............."คันธาย์ฯ"ได้กลิ่น,รสหลากเอย
"ธรรมารมณ"รู้แจง.......................แก่ชนแจ้งทั้งเทพ,พรหมเผย
แสวงหา,ตรองเชย........................ชนจึงเรียก"ตถาคต"กราน

   ๓๕.ทรงตรัสรู้"อนุตต์ฯ...............หยั่งรู้สุดแต่ตนเองขาน
ถึง"อนุปาฯกาล............................วันปรินิพพานเลยขันธ์
ช่วงหว่างนั้นทรงกล่าว..................สิ่งใดพราวก็เป็นเช่นนั้น
มิเป็นอย่างอื่นยัน..........................จึงเรียก"ตถาคต"นั่นแล

   ๓๖.พุทธ์องค์กล่าวอย่างใด..........ทำได้อย่างนั้นเลยแฉ
ทำอย่างใดก็แน่..............................พูดอย่างนั้นครือ"ตถาคต"
ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่...........................เห็นถ่องไซร้ไร้ใครครอบงำ
พลังแผ่หลายโลกนำ......................ชาวโลกเรียก"ตถาคต"เอย

   ๓๗.ถ้านักบวชถามแน่ว................ตายแล้ว"เกิดหรือไม่เกิด"เผย
"ทั้งเกิด,ไม่เกิด"เลย........................"เกิด,ไม่เกิด"ก็ไม่มีครา
ให้ตอบพุทธ์เจ้าไซร้.......................มิได้ทรงพยากรณ์หนา
เพราะไร้ประโยชน์นา.....................ไม่ใช่ธรรมสู่พระนิพพาน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มีนาคม, 2568, 08:25:57 AM
ต่อหน้า ๔/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร

   ๓๘.ถ้านักบวชถามไหน...........สิ่งใดทรงพยากรณ์สาร
พึงตอบทุกข์,เหตุทุกข์พาน.........ทุกข์เกิด,ความดับทุกข์สิ้นลง
ด้วยอริยสัจจ์สี่...........................ถ้ามีถามเหตุเน้นสัจจ์บ่ง
พึงตอบประโยชน์ตรง.................กอปรธรรมล้วนเลิศนิพพานนำ

   ๓๙.พุทธ์เจ้าทรงทบทวน..........เรื่องควรพยากรณ์ก็จะพร่ำ
เรื่องไม่สมควรทำ........................ไร้คุณจะกล่าวไปทำไม
ทรงแสดงทิฏฐิเห็น......................เบื้องต้นเด่น"ปุพพันธ์ฯ"สิ่งต่างไข
เช่น"ตน,โลกเที่ยง"ไกล..............."บ้างมี,ไม่มีที่สุด"เอย

   ๔๐.ทรงแสดงทิฏฐิเด่น.............เบื้องปลายเห็น"อปรันต์ฯ","จำ"เผย
"มีสัญญา,จำ"เปรย......................"มาก,น้อยต่างกัน,สุขทุกข์"ปน
"ตนมีที่สุด"ไกล..........................."ตนมี,ไม่มีรูป"ความจำหล่น
ตายแล้วมี"จำ"ยล........................ตายแล้วสูญไม่มีความจำ

   ๔๑.พุทธ์ งค์ทรงตรัสรอน.........ไม่พยากรณ์ทิฏฐิส่ำ
ยังมีสัตว์อื่นซ้ำ............................ไม่เป็นอย่างนี้อย่าสนใจ
พึงตั้ง"สติปัฏฯ"...........................ก้าวหนีชัดจากทิฏฐิไหว
มีสี่อย่างละไกล..........................ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง

   ๔๒."กายานุ์ฯ"กำหนด..............กายจดรู้"ไม่ใช่ตน"สิง
"แน่วลมหายใจ"อิง.....................เข้า-ออกสติรู้สั้น-ยาว
"อิริยาบถกาย"...........................รู้ทันกรายเคลื่อนทุกท่าพราว
"ปฏิกูลกาย"คาว.........................ล้วนไม่สะอาดทั้งสิ้นเลย

   ๔๓."เวทนาฯ"เห็นแน่................เป็นแต่"รู้สึก"ไป่ตนเผย
แค่สุข,ทุกข์,เฉยเฉย...................มี,ไม่มีสิ่งล่อใจครา
"จิตตาฯ"กำหนดรู้.......................เป็นจิตชูไม่ใช่ตนหนา
มี,ไม่มีโกรธนา............................มี,ไม่มีโกรธตามจริงเลย

   ๔๔."ธัมมมาฯ"พิจารณ์ธรรม......รู้จริงล้ำ"มิใช่ตน"เอ่ย
สติรู้ธรรมเกย..............................ขันธ์ห้า,โพชฌงค์คืออะไร
อริยสัจจ์สี่..................................เกิดมีในตนแล้วหรือไม่
ดับลงได้อย่างไร.........................ตามเป็นจริงยิ่งของมันนา

   ๔๕.พระอุปทานะ......................ยืนถวายงานพัดอยู่หนา
ทูลเสริญอัศ์จรรย์นา...................ธรรมเทศ์นา"ปาสาทิกฯ"ยง
น่าเลื่อมใสยิ่งนัก.........................พุทธ์เจ้าจักเรียกชื่อเทศ์นาบ่ง
"ปาสาทิกะ"ตรง..........................แปลธรรมที่น่าเลื่อมใสเอย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๗ -๓๖๑

ศากย์ฯ=เจ้าศากยะ เจ้าของปราสาทในป่ามะม่วง
นิครนฯ=นิครนถนาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือศาสนาเชน
จุนทะ=พระจุนทะ เป็น น้องชายของพระสาริบุตร
อานนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระโคดมพุทธเจ้า
อุททกฯ=อุททกดาบสรามบุตร
โพธิปักข์ฯ=โพธิปักขยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี
๑)สติปัฏฐาน ๔ ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑.กายานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณากาย; ๑.๒.เวทนานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณาเวทนา; ๑.๓.จิตตานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต;๑.๔.ธรรมานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม;
๒)สัมมัปปธาน ๔ หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑.สังวรปธาน-การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน; ๒.๒.ปหานปธาน-การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว; ๒.๓.ภาวนาปธาน-การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน;


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, มีนาคม, 2568, 05:09:27 AM

หน้า ๕/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร

๒.๔.อนุรักขปธาน-การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป;๓)อิทธิบาท ๔  เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑.ฉันทะ-ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น; ๓.๒.วิริยะ-ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น; ๓.๓.จิตตะ -ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ; ๓.๔.วิมังสา-ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น;
๔)อินทรีย์ ๕ คือ ๔.๑.ศรัทธา-ให้เกิดความเชื่อ; ๔.๒.วิริยะ-ให้เกิดความเพียร; ๔.๓.สติ-ให้เกิดความระลึกได้; ๔.๔.สมาธิ-ให้เกิดความตั้งมั่น; ๔.๕.ปัญญา-ให้เกิดความรอบรู้;
๕)พละ ๕ คือกำลัง ๕.๑.ศรัทธา-ความเชื่อ; ๕.๒.วิริยะ-ความเพียร;๕.๓ สติ-ความระลึกได้; ๕.๔.สมาธิ-ความตั้งมั่น; ๕.๕.ปัญญา- ความรอบรู้;
๖)โพชฌงค์ ๗ คือ องค์แห่งการตรัสรู้ มี ๖.๑.สติ-มีความระลึกได้; ๖.๒.ธัมมวิจยะ-มีความพิจารณาในธรรม;๖.๓.วิริยะ-มีความเพียร; ๖.๔.ปีติ-มีความอิ่มใจ; ๖.๕.ปัสสัทธิ-มีความสงบสบายใจ; ๖.๖.สมาธิ-มีความตั้งมั่น; ๖.๗.อุเบกขา-มีความวางเฉย;
๗)มรรค ๘ คือ หนทางดับทุกข์ ๗.๑. สัมมาทิฏฐิ-ใช้เพื่อเห็นชอบ โดย เห็นอริยสัจ; ๗.๒. สัมมาสังกัปปะ-ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก; ๗.๓.สัมมาวาจา-ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต; ๗.๔.สัมมากัมมันตะ-ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต; ๗.๕.สัมมาอาชีวะ-ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด; ๗.๖.สัมมาวายามะ-ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน; ๗.๗.สัมมาสติ-ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔; ๗.๘.สัมมาสมาธิ-ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนา
สุขัลฯ=สุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นในการเสพสุข
ฌานหนึ่ง-สี่=ฌาน คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก- ความตรึก,วิจาร-ความตรอง และปีติ -ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน  มีปีติ-ความอิ่มใจสงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
พระอริยะ=พระอริยบุคคลขั้นสูง มี ๔ ขั้น ได้แก่ ๑)พระโสดาบัน ละสัญโญชน์ ๓ ประการสิ้นไป
บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สัญโญชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ ๑.๑.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา; ๑.๒.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่; ๑.๓.สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา พระโสดาบันไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ๒)พระสกทาคามี ละสัญโญชน์ ๓ ประการสิ้นไป เท่ากับพระโสดาบัน และเพิ่มอีก ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง พระสกทาคามี จะมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)พระอนาคามี ละสัญโญชน์ ๕ ประการ คือ ๓.๑.สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือตัวตน; ๓.๒ วิจิกิจฉา - มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์; ๓.๓.สีลัพพตปรามาส - มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด; ๓.๔.กามราคะ - มีความพอใจในกามคุณ; ๓.๕.ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง; พระอนาคามี แปลว่าผู้จะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดเป็นโอปปาติกะอีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะลุนิพพาน ๔)พระอรหันต์ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ละสัญโญชน์ ๑๐ ประการ เพิ่มจาก พระอนาคามี ๕ คือ ได้แก่ ๔.๖.รูปราคะ-ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ; ๔.๗.อรูปราคะ-ความพอใจในอรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ; ๔.๘.มานะ -ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่; ๔.๙.อุทธัจจะ -ความฟุ้งของจิต; ๔.๑๐.อวิชชา -ความไม่รู้แจ้ง;
พระอรหันต์แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งลุนิพพาน
สัญโญชน์=สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง
เจโตฯ=เจโตวิมุติ คือความหลุดพ้นด้วยสมาธิ
ปัญญาฯ=ปัญญาวิมุติ คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
วัฏฏสงสาร=การเวียนว่ายตายเกิด
สัพพัญญ์ฯ=พระสัพพญญตญาณ พระพุทธเจ้าทรงรู้ และทรงเห็น หมายถึงทรงเห็นด้วยจักษุ ๕ คือ ๑)มังสจักขุ -ตาเนื้อ ๒)ทิพพจักขุ-ตาทิพย์ ๓)ปัญญาจักขุ-ตาปัญญา ๔) พุทธจักขุ -ตาพระพุทธเจ้า ๕)สมันตจักขุ-ตาเห็นรอบ
โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน
ญาณทัสส์ฯ=ญาณทัสสนะ-ความเห็นด้วยญาณ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, มีนาคม, 2568, 09:00:18 AM

(ต่อหน้า๖/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร

สตาฯ=สตานุสาริญาณ หมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความหยั่งรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
รูปาย์ฯ=รูปายตนะ(อายตนะคือรูปที่ได้เห็น)
สัททาย์=สัททายตนะ (อายตนะคือเสียงที่ได้ฟัง)
คันธาย์ฯ=คันธายตนะ คืออารมณ์ที่ได้ทราบ (อายตนะคือกลิ่น)
อนุตร์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณที่ทำให้ตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
อนุปาฯ=อนุปาทิเสสนิพพาน คือ
การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์, พระอรหันต์เมื่อยังมีชีวิตอยู่เรียกว่าได้อุปาทิเสสนิพพาน คือ ความดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ ครั้นท่านสิ้นชีวิตลง เรียกว่า ได้อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับทั้งกิเลสทั้งเบญจขันธ์.
ทิฏฐิ ๖๒ ประการ=แสดงความคิดเห็นของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น แยกเป็น ปุพพันตกัปปิกะ ๑๘ ประเภท และ อปรันตกัปปิกะ ๔๔ ประเภท
ปุพพันต์ฯ=ปุพพันตกัปปิกะ คือ พวกมีความเห็นปรารถเบื้องต้นของสิ่งต่างๆว่าเป็นอย่างไร มี ๑๘ ประเภท แบ่งออกเป็น ๕ หมวดได้แก่ ๑)สัสสตวาทะ ๔ หมวดเห็นว่าเที่ยง ๑.๑)เห็นว่าตัวตน(อัตตา)และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ ๑.๒) เห็นว่าตัวตนและโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่ ๑ กัปป์-๑๐ กัปป์ ๑.๓)เห็นว่าตัวตนและโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ๆ ตั้งแต่ ๑๐ กัปป์-๔๐ กัปป์ ๑.๔) นักเดา เดาตามความคิดและคาดคะเนว่าโลกเที่ยง ๒)เอกัจจอสัตตติกะ ๔ คือ หมวดเห็นว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ๒.๑)เห็นว่าพระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง ๒.๒)เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน(ขิฑฑาปโทสิกา) ไม่เที่ยง ๒.๓)เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น(มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง ๒.๔) นักเดา เดาตามคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง ๓)อันตานันติกะ ๔ หมวดเห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๓.๑)เห็นว่าโลกมีที่สุด ๓.๒) เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด ๓.๓)เห็นว่าโลกมี ที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้างและขวาง ไม่มีที่สุด ๓.๔)นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ๔)อมราวิกเขปิกะ ๔ คือ หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล ๔.๑)เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็มิใช่,อย่างนั้นก็มิใช่,อย่างอื่นก็มิใช่,มิใช่(อะไร)ก็ไม่ใช่ ๔.๒)เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑
๔.๓)เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑ ; ๔.๔)เพราะโง่เขลาจึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย ๕)อธิจจสมุปปันนะ ๒
หมวดเห็นว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ ๕.๑) อสัญญีสัตว์ คือพรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา เห็นว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็น อสัญญีสัตว์ ๕.๒)นักเดา คะเนว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ
อป์รันต์=อปรันตกัปปิกะ คือ ทิฏฐิความเห็นเบื้องปลายที่มี ๔๔ ประเภท แบ่งเป็น ๕ หมวด ๑)สัญญีวาทะ ๑๖ หมวดเห็นว่ามีสัญญา -ความจำได้ หมายรู้ ๒)อสัญญีวาทะ ๘ เห็นว่าไม่มีสัญญา ๓)เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๔)อุจ
เฉทวาทะ ๗ หมวดเห็นว่าขาดสูญ แบ่งได้ ๔.๑)ตนที่เป็นของมนุษย์ สัตว์ ๔.๒)ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ ๔.๓)ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ ๔.๔)ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ -พรหมที่เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ ๔.๕)ตนที่เป็นวิญญาณัญตนะ-เป็นอรูปพรหม เพ่งวิญญาณหาที่สุดมิได้ ๔.๖)ตนที่เป็น อากิญจัญญายตนะ -ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ๔.๗)ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ-สัญญา ความจำสิ้นลง ๕)ทิฎฐิธัมมนิพพาน ๕ หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ๕.๑)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๒)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑-ปฐมฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๓)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๒-ทุติยฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๔.)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๓-ตติยฌานเป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๕)เห็นว่าการเห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๔-จตุตถฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
สติปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง มี ๔ คือ ๑)กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน -การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์ ตัวตนเราเขา จำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง ได้แก่ ๑.๑. อานาปานสติ-กำหนดลมหายใจ ๑.๒.อิริยาบถ-กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑.๓.สัมปชัญญะ- สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑.๔.ปฏิกูลมนสิการ- พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑.๕.ธาตุมนสิการ- พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑.๖.นวสีวถิกา-พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไป ของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๒)เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน-การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิส ๓)จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ ๔)ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน -การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕, ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒,โพชฌงค์ ๗, อริยสัจ ๔, ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, มีนาคม, 2568, 08:07:06 AM

ประมวลธรรม : ๒๘.ลักขณสูตร (สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ)

ภุชงคสาลินีฉันท์ ๑๑

   ๑.สมัยหนึ่งพระพุทธ์เจ้า..............ทรงอยู่เหย้า"เชต์วันฯ"
พระอาราม"อนาฯ"ครัน...................เมืองสาวัตถีแฉ

   ๒.พระพุทธฯมีวจีตรัส..................เหล่าสงฆ์ชัดโดยแท้
ก็เรื่องของบุรุษแล้..........................มีลักข์ณากายดี

   ๓.เจาะ"สามสอง"ประการครบ......สมบูรณ์นบเล็งรี่
ซิภายหน้าจะแยกชี้........................ไปสองอย่างแน่ล้ำ

   ๔.ผิครองเรือนจะเป็นจักร-...........พรรดิ์เลิศปักทรงธรรม
มหาส์มุทรสิสี่ย้ำ............................ขอบเขตมีชัยยง

   ๕.และสมบูรณ์ซิเจ็ดแก้ว.............ราช์บุตรแกล้วกล้าบ่ง
สิชัยชำนะธรรมตรง......................ไม่ต้องใช้ศัตรา

   ๖.ผิบวชถึงอร์หันต์.....................พุทธ์เจ้าครันแน่นา
กิเลสตัดละสิ้นหนา.......................แผ่ธรรมทั่วโลกเอย

   ๗.เจาะตรัสลักข์ณะสามสอง......รูปกายครองเลิศเอย
ซิกรรมดีจะทำเผย.......................ผลลัพธ์เกิดเด่นพลัน

   ๘.สิฝ่าเท้าเสมอเรียบ"หนึ่ง".......มั่นศีลพึ่ง,ทานดั้น
อุโบสถและเอื้อครัน.....................ต่อพ่อแม่พร้อมชน

   ๙.สี่ฝ่าเท้าเจาะเห็น"จักร".........."สอง"มากนักเกิดดล
เพราะนำสุขนราล้น.....................คุ้มครองเภทภัยหนี

   ๑๐.เจาะ"สาม"ส้นพระบาทยาว...นิ้วมือพราวยาว"สี่"
พระกาย"ห้า"เหมาะตรงดี..............คล้ายกายของพรหมแล

   ๑๑.สกล"สามและสี่,ห้า".............ทรงเว้นฆ่า,เกื้อแท้
พระมังสา ฉ เต็มแปล้....................ทรงให้ของรสดี

   ๑๒.และ"เจ็ด"มือกะเท้านุ่ม.........ฝ่ามือรุม"แปด"ปรี่
และฝ่ามือก็ลายมี.........................ดุจตาข่ายเรียกขาน

   ๑๓.สกล"เจ็ดและแปด"เกิด........"สังค์สี่ฯ"เลิศเช่นทาน
และข้อเท้าซิสูงพาน....................."เก้า"รูปเหมือนสังข์คว่ำ

   ๑๔.ลุ"สิบ"ขนสิปลายงอน..........."เก้า,สิบ"ช้อนผลด่ำ
เพราะทรงช่วยประชาล้ำ...............ความสุขโดยธรรมครัน

   ๑๕.และทรงมีพระชงค์เรียว........เนื้อทรายเพรียวดุจกัน
สิ"สิบเอ็ด"เพราะสอนดั้น................รู้ศีล,กฏแห่งกรรม

   ๑๖.ฉวีไม่หยาบลุ"สิบสอง"..........ปราศฝุ่นผองติดนำ
เพราะได้สนทนาธรรม...................กับพราหมณ์พร้อมไตร่ตรอง

   ๑๗.ฉวีทองลุ"สิบสาม".................ไม่โกรธลาม,ฆาตจอง
และให้ผ้าสิเลิศปอง.......................ผ้ากัมพลเนื้อดี

   ๑๘.ลุ"สิบสี่"พระคุยฯ"ปัก.............ซ่อนในฝักปิดนี้
เพราะเหตุนำสหายรี่......................มาพบกันอีกเอย

   ๑๙.เสาะตามบุตรเจอะพ่อแม่.......พลัดพรากแท้ได้เปรย
ฤ นำพี่ปะน้องเผย..........................ให้มีไมตรีใฝ่

   ๒๐.ลุ"สิบห้า"นิโครธฯนี้...............รอบกายมีแสงใส
กระจายคล้ายกะรากไทร...............แผ่ออกไปรอบกาย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, มีนาคม, 2568, 08:58:14 AM

(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๘.ลักขณสูตร

   ๒๑.เจาะ"สิบหก"ก็ครายืน...........สองหัตถ์ยื่นลูบกราย
กะเข่าสองสิง่ายดาย ....................ไม่ต้องน้อมกายลง
     
   ๒๒.สิ"สิบห้า"และ"สิบหก"...........เหตุจากจกรู้ตรง
มนุษย์ฐานะต่างบ่ง........................ต้องช่วยให้ถูกตรงจริง

   ๒๓.ลุ"สิบเจ็ด"พระกายล้วน.........สมบูรณ์ถ้วนดั่งสิงห์
เคาะ"สิบแปด"สิหลังพิง..................เต็มเรียบเท่ากันหนา

   ๒๔.เสาะ"สิบเก้า"พระศอกลม......เท่ากันชมงามพา
ตะสิบเจ็ดระเรียงมา.......................สิบเก้านาเป็นผล

   ๒๕.เพราะทรงตรองตริทำใด.......ชนจึงใฝ่ศีลด้น
เจาะศรัทธาและทานล้น.................ปัญญา,ความรู้เอย

   ๒๖.ลุ"ยี่สิบ"ประสาทรับ...............รสชาดฉับภัตรเชย
เพราะไม่เบียฬซิสัตว์เผย................ทั้งมือ,หิน,ศัตรา

   ๒๗.เลาะ"สองหนึ่ง"พระเนตรดำ....."สองสอง"ล้ำใสนา
เจาะลูกโคอุบัติหนา..........................ด้วยทรงพฤติตนเอย

   ๒๘.เพราะคราเป็นมนุษย์โคตร.......ไม่จ้องโกรธใครเลย
มิค้อน,เมินตะมองเผย.......................มองเต็มตาด้วยรัก

   ๒๙.เกาะ"สองสาม"พระเศียรงาม....สมบูรณ์ลามยิ่งนัก
สิผู้นำกุศลชัก...................................แก่ชนให้พฤติดี

   ๓๐.เคาะ"สองสี่"ซิมีขน...................ขุมหนึ่งยลเดี่ยวชี้
และ"สองห้า"อุณาฯมี.........................ขนระหว่างคิ้วนุ่มขาว

   ๓๑.ก็ทั้งสองลุผลชัด.......................พูดคำสัตย์เพริศพราว
ซิเชื่อถือมิหลอกฉาว...........................ถ้อยคำเป็นความจริง

   ๓๒.เลาะ"สองหก"พระทนต์มี............สี่สิบซี่มากดิ่ง
เจาะ"สองเจ็ด"พระทนต์อิง..................แนบชิดมิห่างกัน

   ๓๓.พระทนต์สองกุเกิดจ่อ................เว้นคำส่อเสียดครัน
สมานคนซิแตกพลัน...........................สร้างสรรสามัคคี

   ๓๔.ลุ"สองแปด"พระชิวหา................ใหญ่,ยาวนา,อ่อนชี้
เจาะ"สองเก้า"ซิตรัสคลี่.......................ดุจเสียงพรหม,นกร้อง

   ๓๕.ก็ผลลิ้นและเสียงเกิด.................พูดคำเพริศหวานครอง
เพราะคำไซร้มิหยาบผอง....................ชาวเมืองรักพอใจ

   ๓๖.เจาะ"สามสิบ"พระคางอิง............ดุจคางสิงห์งามไซร้
เพราะพูดจริงประโยชน์ใฝ่..................ไม่เพ้อเจ้อ,พูดธรรม

   ๓๗.ลุ"สามหนึ่ง"พระทนต์เรียบ.........เท่ากันเฉียบไม่ล้ำ
เจาะ"สามสอง"พระเขี้ยวฯด่ำ...............ขาวเงางามดั่งแก้ว

   ๓๘.ก็สามหนึ่งและสามสอง..............ผลจากครองชีพแผ้ว
ซิ"สัมมาอะชีพฯ"แน่ว..........................ถูกต้องชอบธรรมเผย

   ๓๙.พระพุทธ์เจ้าแสดง"สามสอง.......ลักข์ณาตรองเกิดเอ่ย
เพราะได้ทำกุศลเคย..........................มีเหตุจึงรับผล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๑ -๓๖๒


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, มีนาคม, 2568, 08:21:24 AM

(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๘.ลักขณสูตร

มหาปุริสลักขณะ=ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ  เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว ลักษณะ ๓๒ คือ
๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศกรรมบถ ๑๐ สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดาสมณ-พราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก  ๒) พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำ ข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง  สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร ๓) มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ๔)มีพระองคุลียาว ๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม  สาเหตุลักษณะ ๓,๔,๕ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ๖)มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็มบริบูรณ์ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว ของ ที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย ๗)มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ ๘) ฝ่าพระหัตถ์ และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ลักษณะ ๗,๘ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ (คือ ทาน-การให้; เปยยวัชชะ- วาจาเป็นที่รัก; อัตถจริยา -การประพฤติประโยชน์; สมานัตตตา -การวางตนสม่ำเสมอ) ๙)มีข้อพระบาทสูง และ ๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน สาเหตุลักษณะ ๙,๑๐ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, มีนาคม, 2568, 10:53:31 AM

(ต่อหน้า ๔/๖) ๒๘.ลักขณสูตร

๑๑) มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ) วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม) โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน  ๑๒) มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์ แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์ ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์ ๑๓)มีพระฉวีสีทอง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้) แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาตและความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี ๑๔)มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว ๑๕)มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย
และ ๑๖) เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้ ลักษณะทั้ง ๑๕,๑๖ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน ๑๗)มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, มีนาคม, 2568, 08:24:23 AM

(ต่อหน้า ๕/๖) ๒๘.ลักขณสูตร

๑๘)มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ๑๙)มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด ลักษณะ ๑๗,๑๘,๑๙ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร และเจริญด้วยพวกพ้อง  ๒๐)มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา ๒๑)มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ ๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด ลักษณะ ๒๑,๒๒ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ) ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก ๒๓)มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากใน กุศลธรรม เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์ ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ ๒๔)มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ ๒๕)มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น ลักษณะ ๒๔,๒๕ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๒๖)มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ ๒๗)มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ลักษณะ ๒๖,๒๗ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ยไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, มีนาคม, 2568, 04:17:48 AM

(ต่อหน้า ๖/๖) ๒๘.ลักขณสูตร

๒๘)มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ ๒๙)มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ลักษณะ ๒๘,๒๙ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๓๐)มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๓๑)มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๓๒)มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ลักษณะ ๓๑,๓๒ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก
เชต์วัน=เชตวนาราม
อนาฯ=อนาปิณฑิกคฤหบดี
พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า
อร์หันต์=พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
พระมังสา=เนื้อเต็ม ๖ แห่ง คือ (๑,๒)พระหัตถ์ทั้งสอง (๓,๔)หลังพระบาททั้งสอง (๕,๖)จงอยพระอังสา บ่าทั้งสอง (๗)พระศอฟูบริบูรณ์เต็ม
ฉ=หก
สังค์สี่ฯ=สังคหวัตถุ ๔
ผ้ากัมพล=ผ้าทอด้วยขนสัตว์
พระคุยฯ=พระคุยหฐาน หรือนิมิตชาย แปลว่า อวัยวะเพศชาย
นิโครธฯ=นิโครธปริมณฑลโล คือโดยรอบพระวรกายมีรัศมีกระจายคล้ายดังรากไทร
อุณาฯ=อุณาโลม (รูปร่างคล้ายเลข ๙ ไทย) คือ ขนระหว่างคิ้ว มีสีขาวอ่อน เปรียบด้วยนุ่น
สัมมาอะชีพ=สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพที่ถูกต้องครรลองธรรม
พระเขี้ยวฯ=พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า  มหาลักษณะของเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษคือ "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" มีทั้งหมด ๔ องค์ (๑)พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(๒)พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) (๓)พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง (๔)พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, เมษายน, 2568, 11:00:04 AM
ประมวลธรรม : ๒๙.สิงคาลกสูตร(สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ)

อินทรสาลินีฉันท์ ๑๑

   ๑.พุทธ์เจ้าประทับป่า........."เวฬูวันฯนาใกล้เมือง
ราช์คฤห์สินามเรือง..............เช้าหนึ่งทรงออกบิณฑ์ไว

   ๒.พุทธ์องค์ปะสิงคาลฯ......ผ้า,ผมเปียกซานยลใกล้
กำลังริวอนไหว้....................ทิศทั้งหกจึงทรงถาม

   ๓.สิงคาลฯซิแจงว่า............คำสั่งพ่อข้าทำตาม
"เบื้องหน้าและขวา"ลาม........"เบื้องหลัง,ซ้าย,ล่าง,บน"

   ๔.ตรัสว่า"อรีย์สงฆ์............ไม่นอบดังบ่งแต่ด้น
สงฆ์ตัดกิเลสยล..................."กรรมกีเลส"สี่ได้แล้ว

   ๕."บาปฐานะสี่"เว้น............."ทางเสื่อมทรัพย์เด่นหกแป้ว
ปราศชั่วสิหมดแผลว.............ปกปิดทิศหกเลยนา

   ๖.ชัยชำนะโลกสอง............โลกนี้,หน้าครองสุขมา
ตายแล้วสวรรคา....................สำราญกาย,ใจจีรัง

   ๗."เรื่องกรรมกิเลส"สี่...........ทำใจหมองรี่หมดหวัง
เหล่าสงฆ์"อรีย์"จัง..................เวันได้สี่คือ"ฆ่าสัตว์"

   ๘."ลักทรัพย์,ประพฤติผิด......ในกาม"กอปรชิด,เท็จชัด
พุทธ์องค์ซิแจงตรัส................."กรรมกีเลส"ไม่ถูกเสริญ

   ๙.พุทธ์เจ้าแสดงขาน...........เว้นบาปกรรมฐานสี่เดิน
ลำเอียงเพราะ"รัก"เกิน............ด้วย"ชัง,หลง,กลัว"ชั่วทำ

   ๑๐.พุทธองค์ซิตรัสนำ.........ไม่ล่วงพฤติธรรมรักพร่า
ชัง,หลง..ซิยศซ้ำ.....................รุ่งเรืองดุจจันทร์สุกใส

   ๑๑.พุทธ์เจ้าแสดงพลาง......ไม่เดินสู่ทางเสื่อมไถ
เสื่อมทรัพย์สิหกไว.................พร้อมโทษอีกอย่างลาหก

   ๑๒.หนึ่ง,ดื่มสุรายาตร.........."เสียทรัพย์,วีวาท,โรค"ปรก
"เสียชื่อ,ละอาย"พก................"ทอนปัญญา,ปรามาท"ก่อ

   ๑๓.สอง,เที่ยววิกาลเปลี้ย....."ไม่รักษ์ตน,เมียลูก"จ่อ
"ไม่รักษ์สิทรัพย์"พอ................"ผู้อื่นแคลงใจ,เท็จเกิด"

   ๑๔.เหตุทุกขะมากปรี่............รวมโทษหกมีพร้อมเถิด
เมื่อมุ่งเลาะเที่ยวเริด.................ตรอกซอกซอยยามกลางคืน

   ๑๕.สาม,เที่ยวเลาะการเล่น.....หกอย่างโทษเด่นดูดื่น
มีการละเล่นรื่น...........................แห่งใดไปทุกที่เบิ่ง

   ๑๖.เช่น"รำ,ประโคม,ร้อง..........เสภา,เพลง"ปอง"เถิดเทิง"
โทษหกซิเปิดเปิง........................เที่ยวดูการเล่นนี้แล

   ๑๗.สี่,การพนันดาษ................ที่ตั้งปรามาทโทษแย่
"มีชัยกุเวร"แฉ...........................ผู้แพ้เสียดายทรัพย์"เอย

   ๑๘.ทรัพย์ปัจจุบันหย่อน........."ถูกมิตรหมิ่นกร่อนหยาม"เปรย
"ถ้อยคำมิมั่น"เผย......................."ไม่มีใครแต่งงานด้วย"

   ๑๙.ห้า,"เลือกตะคนชั่ว............เป็นมิตร"ทำตัวต่ำซวย
"นักเลงพนัน"ฉวย....................."เจ้าชู้,นักเลงเหล้านา

   ๒๐."หลอกเขาสิของปลอม......."เป็นคนโกง"จ่อมซึ่งหน้า
นักเลงซิชอบหนา........................"หัวไม้"ตีรันฟันแทง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, เมษายน, 2568, 11:37:41 AM
(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร

   ๒๑.หก,คนเจาะเกียจคร้าน............มีโทษหกขานอย่าแคลง
โน่นนี่จะอ้างแต่ง..............................เพื่อเลี่ยงไม่ต้องทำงาน

   ๒๒.อ้าง"หนาว" ฤ "ร้อน"................."เย็น,เช้า,หิว"ร่อนแล้วพาล
อีกอ้าง"กระหาย"ซ่าน.......................มีเลศผลัดเรื่อยบ่อยนา

   ๒๓.ผลัดเพี้ยนฉะนี้เพริด................ทรัพย์ยังไม่เกิดพลาดนา
ทรัพย์ที่อุบัติมา................................พลันสูญสิ้นไปโทษแฉ

   ๒๔.พุทธ์เจ้าแสดงสี่......................."คนเทียมมิตร"ชี้นี่แล
หนึ่ง,มิตรสิเอาแต่..............................ของเพื่อน"มิตรปอกลอก"เอย

   ๒๕.แยกสี่เสาะ"เอาบ่อย..................ฝ่ายเดียว,เสียน้อยสุด"เคย
"ไม่ช่วยสหาย"เผย.............................ยามมีภัย,"เอาแต่คุณ"

   ๒๖.สอง,มิตรถนัดพูด......................"ดีแต่พูด"ปูดสี่ดุน
"ของเก่า"เจาะพูดวุ่น.........................."ของยังไม่มา"พูดพลัน

   ๒๗."ของไร้ประโยชน์"แล้ว.............นำมาช่วยแจ้วอยู่ยัน
มีเหตุซิข้องผลัน................................ออกปากแล้วพึ่งไม่ได้

   ๒๘.สาม,มิตรประจบเกลื่อน............พึงทราบเป็นเพื่อนเทียมไซร้
แบ่งสี่จะ"ตามใจ................................ให้ทำความชั่ว"คล้อยตาม

   ๒๙."ตามใจกระทำดี"......................คราทำดีรี่ทุกยาม
"ต่อหน้าก็เสริญ"ลาม........................."อยู่ลับหลังนินทา"เอย

   ๓๐.สี่,มิตรซิชักชวน........................ทำเสียหายป่วนไป่เพื่อนเลย
แบ่งสี่จะชวนเอ่ย..............................."ดื่มเหล้า"ก่อปรามาทแล

   ๓๑."เที่ยวยามวิกาล"ตาม................"ดูการเล่น"หวามแย่แท้
"เล่นการพนัน"แล..............................พึงทราบเป็นคนเทียมมิตร

   ๓๒.พุทธ์เจ้าแสดงไว้......................มิตรเทียมหาใช่คู่คิด
เพื่อนแท้สนิทชิด...............................พึงหลีกพ้นให้ห่างไกล

   ๓๓.พุทธ์องค์ซิตรัสชี้......................มิตรแท้มีสี่พวกไง
พึงอยู่ประชิดใส.................................จำเริญรุ่งเรืองชั่วกาล

   ๓๔.หนึ่ง,มิตรพระคุณยิ่ง.................ช่วยเหลือเพื่อนจริงสี่พาน
"รักษ์ผู้ประมาท"ต้าน........................."รักษ์ทรัพย์เพื่อนปรามาท"เอย

   ๓๕."ภัยมาจะพึ่งได้"........................"ช่วยทำกิจให้ผลเชย"
งอกงามทวีเผย..................................มิตร"อุป์กาฯช่วยสี่นา

   ๓๖.สอง,มิตรสิ"ร่วมสุข...................ร่วมทุกข์"เพื่อนรุกสี่พา
"ลับตนจะบอก"หนา..........................."ปิดความลับเพื่อน"รักษา

   ๓๗."ไม่ทิ้งสหาย"ชี้..........................ภัยมา"ชีพพลีได้"นา
นี่มิตรสิแท้หนา..................................มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ครัน

   ๓๘.สาม,นำประโยชน์หนุน...............มิตรแท้กอปรคุณสี่ดั้น
"ห้ามทำซิชั่ว"กัน................................."ให้ตั้งอยู่ในความดี"

   ๓๙."ให้ได้สดับเชย...........................สิ่งที่ไม่เคยฟัง"คลี่
"บอกทางสวรรค์"ชี้..............................นี่คือมิตรแท้มีคุณ

   ๔๐.สี่มิตรซิรักใคร่............................มิตรแท้มีไซร้สี่ดุลย์
"เขาไม่รตี"จุณ....................................กับความเสื่อมของเพื่อนยา

   ๔๑."ยินดีเจริญ"โรจน์........................ห้ามผู้กล่าวโทษเพื่อนนา
เสริญผู้ซิยอหนา..................................กับเพื่อนตนด้วยรักคง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, เมษายน, 2568, 10:47:38 AM
(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร

   ๔๒.พุทธ์องค์ริตรัส................สาวกทำชัดถูกบ่ง
ทิศหก ฉ ชอบตรง....................ต้องทำอย่างไรถูกครัน

   ๔๓.หนึ่ง,ทิศซิเบื้องหน้า..........คือพ่อแม่นาต้องดั้น
บุตรทำสิห้าพลัน......................."เลี้ยงท่านตอบแทน"บุญคุณ

   ๔๔."ช่วยกิจลุล่วง"ส่ง............."ดำรงเผ่าพงศ์"ค้ำจุน
ทำตนเหมาะรับหนุน.................."โภคทรัพย์สืบทอด"ต่อไป

   ๔๕.เมื่อท่านละชีพหนา..........."บุตรทำ"ทักษิษิ์ณาฯ"ไปให้
พ่อแม่แนะบุตรใฝ่......................ช่วยบุตรด้วยห้าอย่างนา

   ๔๖."ห้ามบุตรมิทำชั่ว"............."ทำความดี"รัว"ศึกษา
"ต้องหาซิคู่"หนา........................"มอบทรัพย์ให้"มิชักช้า

   ๔๗.พ่อแม่สิทิศหน้า................บุตรบำรุงห้าอย่างพา
ช่วยบุตรสถานห้า.....................ทิศหน้าสำราญไร้ภัย

   ๔๘.สอง,ทิศซิเบื้องขวา..........คืออาจารย์กล้าเทิดไกล
ศิษย์ทำเจาะห้าไซร้.................."ลุกขึ้นยืนรับ"ทันที

   ๔๙."ยืนคอยซิรับใช้".............."เชื่อฟัง"ด้วยใจเต็มปรี่
"เฝ้าปรนนิบัติ"ดี......................."เรียนวิท์ยาเคารพ"ยิ่ง

   ๕๐.ครูย่อมจะช่วยศิษย์..........ด้วยห้าชิดไม่นิ่ง
"ฝึกคนเหมาะดี"จริง.................."เรียนดี"สอนจนแจ่มแจ้ง

   ๕๑."สอนศิลปวิทย์ฯ................สิ้นเชิงไม่ปิด"ใดแฝง
ความดีขยายแจง.......................ให้ปรากฏหมู่เพื่อนหนา

   ๕๒.ครูสร้างเกราะคุ้มภัย.........แก่เหล่าศิษย์ในทิศหล้า
โดยฝึกวิชากล้า.........................ให้เลี้ยงชีพสุขเลิศหรู

   ๕๓.สาม,ทิศซิเบื้องหลัง...........คือลูก,เมียจังต้องดู
สามีซิต้องชู...............................ห้าอย่าง"ด้วยยกย่อง"เธอ

   ๕๔."ไม่หมิ่น","มินอกใจ"..........."มอบความเป็นใหญ่"เจอ
"ให้เครื่องประดับ"เปรอ..............ชีวิตครองคู่ยืนนาน

   ๕๕.ภรร์ยาสิหน้าที่.................เกื้อกูลสามีห้าการ
"จัดการสิดี"พาน........................"ช่วยญาติข้างเคียงสามี"

   ๕๖.พึงไม่ประพฤติหนา..........."นอกใจภัส์ดา"ร้าวรี่
"รักษ์โภคะทรัพย์"ดี..................."เพียรไม่เกียจคร้าน"ทั้งมวล

   ๕๗.สี่ทิศนะเบื้องซ้าย..............คือมิตรรอบกายรักควร
ทำห้าสถานด่วน........................."แบ่งปัน,พูดถ้อยคำหวาน"

   ๕๘.เร่งมอบประโยชน์เจียร...."วางตนไม่เปลี่ยน"ทุกกาล
"ซื่อสัตย์หทัย"ขาน....................จริงใจต่อกันจีรัง

   ๕๙.มิตรอื่นริตอบแทน............อีกห้าอย่างแล่นจริงจัง
ป้องกันสหายหยุดยั้ง.................ปรามาท",รักษ์ทรัพย์เพื่อนหนา

   ๖๐."ภัยมาก็พึ่งได้".................."ยามทุกข์ยากไม่ทิ้ง"หนา
"นับถือกะญาติจ้า.......................ของมิตร"จึงสุขสำราญ

   ๖๑.ห้า,ทิศเจาะเบื้องล่าง..........ได้แก่ลูกจ้าง,นายชาญ
วางห้าสถานงาน........................."จัดงานตามกำลัง"เผย
 
   ๖๒."ค่าจ้างและรางวัล"............"ป่วยรักษาพลัน"เช่นเคย
"ของแปลกพิเศษเชย"................"มีวันหยุดพักสมควร"


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, เมษายน, 2568, 10:37:15 AM
(ต่อหน้า ๔/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร
  
   ๖๓.ลูกจ้างก็ช่วยงาน............ห้าอย่างไม่หน่ายทบทวน
"เข้างานเผดิมขวน"................."เลิกรานทีหลัง"เอื้อนาย

   ๖๔."เอาของสินายให้"...........หาหยิบอื่นไซร้กล้ำกราย
"ทำงานยะยิ่งหลาย.................."เสริญความดีนายตีแผ่

   ๖๕.หก,พิศเสาะเบื้องบน........คือสงฆ์ซึ่งชนควรแท้
บำรุงพระสงฆ์แล.....................ทำห้าด้วยกาย,วาจา

   ๖๖."ทำพูดและคิดใด"...........ด้วยเมตตาไซร้จิตกล้า
"ต้อนรับซิเต็มจ้า......................เกื้อสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่

   ๖๗.สงฆ์เอื้อนราไว.................มีหกอย่างได้ช่วยคลี่
"ห้ามทำซิชั่วปรี่........................."ให้ตั้งในความดี"ยง

   ๖๘."ช่วยด้วยหทัยงาม"...........มีน้ำใจลามความตรง
"ให้ฟังกะสิ่งบ่ง...........................ยังไม่เคยฟังมาก่อน"

   ๖๙."ฟังแล้วกระทำแจ้ง"...........หมดสงสัยแคลงใจถอน
"บอกทางสวรรค์"จร...................แก่ชนเลิกพรางต่อไป

   ๗๐.พุทธ์เจ้าสรุปหล้า...............พ่อแม่ทิศหน้าครรไล
ลูก,เมียซิหลังไว.........................มิตรอมาตย์ทิศเบื้องซ้าย

   ๗๑.ลูกจ้างซิทิศล่าง................สงฆ์ทิศบนวางสอนกราย
แก่ชาวนรีเผย............................บัณฑิตถึงพร้อมศีลผล

   ๗๒.มีความละเอียดไว..............มีไหวพริบไซร้,เจียมตน
ไม่ดื้อกระด้างก่น........................เขาย่อมได้ยศศักดิ์ศรี

   ๗๓.คนเพียรมิเกียจคร้าน..........ไม่หวั่นภัยราญมาปรี่
คนปัญญะเลิศรี่............................ย่อมได้ยศศักดิ์รุ่งเรือง

   ๗๔.ชนผู้แสวงมิตร.....................รู้ถ้อยทันชิดเนืองเนือง
ได้สอนแนะเหตุเรื่อง.....................เขาย่อมได้ยศเช่นกัน

   ๗๕.ให้,พูดเพราะเชี่ยวชาญ........ในธรรมเฉิดฉานโดยพลัน
ธรรมเครื่องเกาะใจครัน.................เปรียบรถจึงแล่นไปได้

   ๗๖.ไร้ธรรมะยึดเหนี่ยว...............พ่อแม่นั่นเทียวพลาดซ้ำ
นับถือซิเรื่องไกล...........................บุตรไม่สนใจบูชา

   ๗๗.บัณฑิตพิจารณ์ธรรม............เป็นเครื่องมือหนำตรงหนา
บัณฑิตสิยิ่งหนา............................หมู่ชนเสริญเยินยอกัน

   ๗๘.พุทธ์เจ้าซิตรัสแล้ว...............สังคาลฯทูลแน่วยืนยัน
ภาษิตพระองค์ครัน........................แจ้งเหมือนหงายของที่คว่ำ

   ๗๙.เปิดของซิปิดไว้....................บอกคนหลงไกลทางคลำ
หรือส่องประทีบนำ.........................ในที่มืดจนแจ่มหนา

   ๘๐.ตาเห็นสิรูปใด........................เปรียบพุทธ์องค์ไซร้แผ่กล้า
ได้ทรงประกาศหล้า........................ธรรมอันหลากหลายเช่นกัน

   ๘๑.สิงคาลฯซิขอถึง......................รัตน์ตรัยที่พึ่งตนพลัน
ขอเป็นอุบฯครัน...............................แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑) สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๑ -๓๖๓
           ๒) สิงคาลกสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=3923&Z=4206


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, เมษายน, 2568, 06:59:52 AM

(ต่อหน้า ๕/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร

เวฬูวัน=เวฬุวัน(ป่าไผ่)ใกล้กรุงราชคฤห์
สิงคาลฯ=สิงคาลกมาณพ
อรียสงฆ์,อรีย์=อริยสงฆ์
กรรมกีเลส=กรรมกิเลส ๔=คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ได้แก่ (๑)ปาณาติบาต ฆ่าชีวิตสัตว์ (๒)อทินนาทาน ลักขโมย (๓)กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม (๔)มุสาวาท พูดเท็จ
บาปฐานะ ๔=คือ อริยสาวกไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ คือ ความลำเอียง เพราะรัก, เพราะชัง, เพราะหลง, เพราะกลัว ทำกรรมชั่ว
ทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖=ได้แก่ การประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
(๑)การดื่มน้ำเมาคือสุราอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีโทษ ๖ คือ ความเสื่อมทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เป็นเหตุเสียชื่อเสียง เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย และเป็นเหตุทอนกำลังปัญญา (๒)การเที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖ คือ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองและไม่รักษาตัวเอง บุตรภรรยา ทรัพย์สมบัติ เป็นที่ระแวงของคนอื่น มีคำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ และเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากย่อมแวดล้อม (๓)การดูการเล่น มหรสพ มีโทษ ๖ คือ รำ ขับร้อง ประโคม เสภา เพลง หรือเถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น (๔)
การเล่นการพนัน มีโทษ ๖ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป มีความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ไปพูดที่ไหนไม่มีใครฟัง ถูกมิตรหมิ่นประมาท และไม่มีใครอยากจะแต่งงานด้วย (๕)การคบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ ๖ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นักเลงเจ้าชู้ นักเลงเหล้า เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า และเป็นคนหัวไม้ (๖)ความเกียจคร้าน มีโทษ๖ คือ ไม่ทำงาน มักอ้างว่าหนาว ร้อน เวลาเย็นแล้ว ยังเช้าอยู่ หิว หรือกระหาย เมื่อผลัดเลี่ยงงานอย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความสิ้นไป
วีวาท=วิวาท
ปรามาท=ประมาท
มิตรเทียม=มิตรเทียม ได้แก่ คน ๔ จำพวก ซึ่งควรเว้นให้ห่างไกล คือ (๑)คนปอกลอก ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย และคบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว (๒)คนดีแต่พูด ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วมาพูด อ้างเอาสิ่งที่ยังมาไม่ถึงมาพูด ช่วยด้วยสิ่งหาประโยชน์ไม่ได้ และแสดงความขัดข้องเมื่อมีกิจเกิดขึ้น (๓)คนหัวประจบ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว ตามใจเพื่อนให้ทำความดี ต่อหน้าสรรเสริญ และลับหลังนินทา (๔)คนชักชวนในทางเสียหาย ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ และชักชวนให้เล่นการพนัน
มิตรแท้=มิตรแท้ มีใจดี พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ ได้แก่ มิตร ๔ จำพวก คือ (๑)มิตรมีอุปการะ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว เป็นที่พึ่งได้เมื่อมีภัย และเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่าเมื่อมีกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น (๒)มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย และแม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์เพื่อนได้ (๓)มิตรแนะประโยชน์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง และบอกทางสวรรค์ให้ (๔)มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน และสรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, เมษายน, 2568, 09:06:35 AM

(ต่อหน้า ๖/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร

ทิศ ๖=คือ บุคคลประเภทต่างๆ มีทั้งหมด ๖ ส่วน ซึ่งอยู่รอบตัวเราพระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ทั้งในทางโลกทางธรรม โดยให้ความสำคัญกับบุคคลต่างๆ ที่เปรียบเสมือนทิศทั้ง ๖ ได้แก่
(๑)ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาและบิดา ซึ่งบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจะเลี้ยงท่านตอบ, รับทำกิจของท่าน, ดำรงวงศ์สกุล, ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก, และเมื่อท่านละไปแล้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้(ทักษิณานุประทาน)
ส่วนมารดาบิดา ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว, ให้ตั้งอยู่ในความดี, ให้ศึกษาศิลปวิทยา, หาภรรยาที่สมควรให้, และมอบทรัพย์ให้,
(๒)ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์ ซึ่งศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นยืนรับ, เข้าไปยืนคอยรับใช้, เชื่อฟัง, ทำการปรนนิบัติ, และเรียน ศิลปวิทยาโดยเคารพ,
ส่วนอาจารย์ ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำดี, ให้เรียนดี, บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด, ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง, และทำเกราะป้องกันภัยแก่ศิษย์ ฝึกวิชาให้หาเลี้ยงชีพได้
(๓)ทิศเบื้องหลัง คือ บุตรและภรรยา ซึ่งสามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ คือ ยกย่องว่าเป็นภรรยา, ไม่ดูหมิ่น, ไม่ประพฤตินอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ให้, และให้เครื่องประดับ
ส่วนภรรยา ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี, สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี, ไม่ประพฤตินอกใจ, รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้, และขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง
(๔)ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรและอำมาตย์ ซึ่งกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ การให้ปัน, เจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก, ประพฤติประโยชน์, ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ, และซื่อสัตย์จริงใจ
ส่วนมิตร ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว, รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว, เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งได้, ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ, และนับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร
(๕)ทิศเบื้องล่างคือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทาสและกรรมกร ซึ่งนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง, ให้อาหารและรางวัล, รักษาในคราวเจ็บไข้, แจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน และให้มีเวลาหยุดพักบ้าง ส่วนทาสกรรมกร ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย, เลิกงานทีหลัง,ถือเอาแต่ของที่นายให้, ทำงานให้ดีขึ้น, และนำคุณของนายไปสรรเสริญ
(๖)ทิศเบื้องบน คือ สมณพรามณ์ ซึ่งกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรม, วจีกรรม, และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา, ด้วยการเปิดประตูต้อนรับ, และให้ปัจจัยสี่เนืองๆ
ส่วนสมณพราหมณ์ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว, ให้ตั้งอยู่ในความดี, อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม, ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง, ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง, และบอกทางสวรรค์ให้


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, เมษายน, 2568, 08:21:19 AM
ประมวลธรรม : ๓๐.สังคีติสูตร(สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน)

วิชุมวิเชียรฉันท์ ๑๙

   ๑.พุทธ์เจ้าพร้อมสงฆ์............มุ่งตรง"ปาวา"
หยุดป่ามะม่วงหนา...................ฆระ"จุนทะ"ช่างทอง

   ๒.มัลล์ราชาสร้าง..................หอกว้างใหม่ครอง
จึงได้นิมนต์ผอง.......................สิประชุมเจาะใช้เอย

   ๓.พุทธ์องค์แจงธรรม.............เลิศล้ำสอนเอ่ย
แก่มัลล,สงฆ์เผย......................ลุวิกาลริค่อนคืน

   ๔.ตรัส"มัลล์ราชา".................กลับนาอย่าขืน
เหล่าสงฆ์ก็ยังตื่น.....................นิรซึมและง่วงเหงา

   ๕.ตรัสกับสารีฯ......................แจงรี่ธรรมเกลา
แก่ภิกษุด้วย"เรา"......................ทุรหลังจะพักครา

   ๖.พุทธ์องค์ทรงรี่...................ครองสีห์ไสยา
กำหนดพระทัยหนา..................สติพร้อมจะลุกเอย

   ๗.สารีบุตรด้น......................."นิครนนาฏ์ฯ"เปรย
เจ้าลัทธิตายเลย......................พหุศิษย์ก็แยกสอง

   ๘.เถียงเรื่องธรรมปรี่.............สารีฯย้ำตรอง
ไม่ควรวิวาทครอง....................เจาะเซาะลัทธิแตกไป

   ๙.สารีฯเอ่ยรุด......................ศาสน์พุทธ์เนาไซร้
พุทธเจ้าประกาศไว้..................อติยิ่งเจาะนำชน

   ๑๐.พ้นจากทุกข์ภัย...............หนีไกลหยุดรน
ธรรมนำสงบผล.......................รุจิสุขตลอดมา

   ๑๑.สารีฯกล่าวชวน...............ให้ขวน"สังคาย์ฯ"
แจงธรรมเจาะหมวดหนา..........จะมิแก่งและแย่งธรรม

   ๑๒.พรหมจรรย์ตั้งอยู่............เฟื่องฟูยืนล้ำ
เพื่อเป็นประโยชน์ล้ำ................นฤชนกะเทวา

   ๑๓.มีธรรมหลายบ่ง...............พุทธ์องค์แจงกล้า
นำชนระงับฝ่า..........................เซาะลิทุกขะสิ้นแฉ

   ๑๔.สารีบุตรยวด...................บอกหมวดธรรมแต่
หนึ่งถึงเกาะสิบแน่....................เจาะลุถูกมิแย่งขาน

   ๑๕.หนึ่ง,ธรรมหนึ่งบ่ง............"สัตว์คงชีพกราน"
ด้วยภัตรและสังขาร.................ก็พระพุทธ์ฯเสาะถูกหนา

   ๑๖.ไม่ควรโต้กัน...................พึงดั้นสังคาย์
เหล่าสงฆ์จะช่วยนา.................มหเอื้อมนุษย์หลาย

   ๑๗.อาหารสี่ค้ำ.....................รูป,ธรรม,นามง่าย
เลี้ยงกาย,หทัยเผย..................บริบูรณ์เจริญเอย

   ๑๘."อิงกาฬาหาร".................ข้าวพานกินเอ่ย
"ผัสสาอะหาร"เผย...................เพราะสิ"ตา"เจาะ"รูป"ยล

   ๑๙.เกิดวิญญาณกล้า............"ผัสสา"ตามดล
รู้เวท์นาผล..............................ประลุเจตสิกปรุง

   ๒๐."สัญเจตนาฯไซร้.............จงใจภัตรจุ่ง
ทำให้ริคิดมุ่ง...........................ก็จะเรียกวะกรรมนำ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, เมษายน, 2568, 08:46:00 AM

(ต่อหน้า ๒/๒๘) ๓๐.สังคีสติสูตร

   ๒๑."วิญญาณอาหาร"..........ภัตรกราน"วิญฯ"ทำ
วิญญานะก่อล้ำ.....................ก็อุบัติสิรูป,นาม

   ๒๒.พุทธ์เจ้าตรัสไซร้.........."ความไม่รู้"ผลาม
ใดเป็นซิภัตรลาม...................ก็นิวรณ์เจาะเช่นกัน

   ๒๓.สอง,ธรรมสองบ่ง.........พุทธองค์รู้ดั้น
ทรงตรัสซิจริงสรร................ริลุสังคายนา

   ๒๔."นาม,รูป"สองพลาง......รูปร่างสัตว์นา
สิ่งกอปรสิดิน"หนา.............."ชลไฟและลม"เอย

   ๒๕.นาม,รูปไม่มี.................ตรึกที่ใจเผย
"รู้,เวทนา"กะ"จำ"เอ่ย.............ก็ริปรุง"และ"วิญญาณ"

   ๒๖."เป็นผู้ว่ายาก"...............มากมิตรชั่วพาน 
"ไม่รู้อวิชฯนาน .....................ภวตัณหะ อยากมี
   
   ๒๗."เป็นผู้ว่าง่าย"..............."ผู้ฉายมิตรดี"
"ความไม่ละอาย"รี่................และ"มิเกรงรึกลัว"ใด

   ๒๘."ความไม่ฟุ้งซ่าน..........กับพาน"เพียร"ไซร้
"ไร้สัมปชัญญ์ฯ"ไว................"สติลืมและหลง"ครัน

   ๒๙.สาม,ธรรมสามไกล.......ตรองในกามมั่น
คิดตรอง"อะฆาต"ยัน............."และวิหิงสะฯ"เบียดเบียน

   ๓๐.พฤติชั่วทางกาย...........พูดปรายใจเจียร
สามสิ่งสิครบเวียน.................ทุจริตซิทั่วตน

   ๓๑.สัญโญชน์ผูกมัด...........ถือจัดตนล้น
"สีลัพฯก็เชื่อท้น....................."วิจิกิจฯ"ซิสงสัย

   ๓๒.เวท์นาอารมณ์...............สุขบ่มกายใจ
เห็นทุกขะยิ่งไว.......................นิรทุกข์และสุขเอย

   ๓๓.สี่,ธรรมมีชิด...................ต้องพิศใจเอ่ย
เรียกว่า"สตีฯ"เผย....................ริมุเพ่งกะกายา

   ๓๔.เพ่ง"เวท์นา"ไซร้..............ลึกในเวท์นา
เพ่งจิตซิในหนา........................และตริธรรมจะแจ้งครัน

   ๓๕.พิศทั้งสี่อย่าง...................เพียรพร่างสัมปชัญญ์
ตัดโลภะอยากดั้น.....................และขจัดซิโทมนัส

   ๓๖.อิทธิ์บาทไซร้...................พอใจงานชัด
เพียรจิตซิใฝ่จัด........................และวิมังสะแก้ไข

   ๓๗.ฌานสี่อย่างพาน..............รุดฌานหนึ่งไซร้
งดชั่วซิหมดไกล.......................ตะวิตกวิจารเหลือ

   ๓๘.รวมทั้ง"อิ่มใจ".................."สุข"ไซร้อยู่เครือ
ใจเกิดวิเวกเอื้อ..........................จิตะเงียบสงัดครอง

   ๓๙.ฌานสองถึงครา................ใจหนาตัดสอง
เหลือปีติใจตรอง........................กะสุขีสมาธิ์เอย

   ๔๐.ฌานสามพึงได้..................มีใจวางเฉย
สัมป์ชัญญะเพียบเลย.................สติมีกะสุขแล

   ๔๑.ถึงฌานสี่บุก......................ตัดทุกข์,สุขแล้
ดับเศร้า,รตีแฉ............................เจาะ"อุเบกฯ"ซิยังครอง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, เมษายน, 2568, 04:54:33 AM

(ต่อหน้า  ๓/๒๘) ๓๐.สังคีสติสูตร

   ๔๒. ธรรมหมวดห้าเช่น...........ขันธ์เด่นตนดอง
"รูป,เวทนา"นอง........................เจาะระลึกสิ"สัญญา"

   ๔๓."สังขาร"ปรุงแต่ง..............ใจแจ้ง"วิญญ์ฯ"พา
ห้าควรมิยึดหนา........................นิรตนและของเรา

   ๔๔.กาม์คุณห้าไซร้................ชวนให้รักเขลา
"รูป,เสียง"กะ"กลิ่น"เร้า..............พหุรสและ"สัมผัส"

   ๔๕.ธรรมหมวดหกจ่อ.............ที่ต่อ"อาย์ฯ"จัด
ภายในก็"ตา"ชัด.......................เจาะ"จมูก"กะ"หู,ลิ้น"

   ๔๖.กาย,ใจเชื่อมกรอก...........อายฯนอก"รูป,กลิ่น"
"เสียง,รส"กะ"โผษฐ์ฯ"ชิน...........และปะ"ธรรม"สิใจรู้

   ๔๗.ธรรมหมวดเจ็ดชัด............มี"สัทธรรม"พรู
"ศรัทธา,พหูฯ"อยู่......................."หิริ"ความละอายบาป

   ๔๘."โอคตัปฯ"กลัวหนา............"ปัญญา"ดีทาบ
ตั้งใจและ"เพียร"กราบ................"สติ"มั่นมิเปลี่ยนบ่ง

   ๔๙.ธรรมหมวดแปดชัด............"สัมมัตต์ฯ"พฤติตรง
แนว"ทิฏฐิ"ถูกยง.........................ปฏิบัติจะดียง

   ๕๐."สังกัปป์ฯ"คิดตรึก..............ไม่นึกรัก,ชัง
ด้วยดำริถูกขลัง.........................นิรฆาตและเบียดเบียน

   ๕๑."สัมมาวาจา"......................พูดนาเชี่ยวเชียร
เว้น"เท็จ"และ"หยาบ"เกรียน........"ปิสุณา"และ"เพ้อเจ้อ"

   ๕๒."กัมมันฯ"ทำชอบ................ทำนอบเว้นเปรอ
พฤติชั่วสิกามเผลอ.....................ลิพิฆาตขโมยเอย

   ๕๓."สัมมาอาชีฯ.......................ชีพที่ดีเปรย
ไม่หลอกและลวงเผย..................ทุจริตละเลิกหา

   ๕๔."สัมมาวาฯ"เพียร................จิตเชียรมั่นนา
ให้เกิดกุศลหนา..........................อกุศลละทิ้งผลาญ

   ๕๕."สัมมารำลึก"......................สี่ตรึกปัฏฐานฯ
กายเเวทนาชาญ.........................จิตะ,ธรรมะรู้เชียว

   ๕๖."สัมมาตั้งจิต"......................คิดอารมณ์เดียว
จิตเป็น"สมาธิ์"เปรียว...................ประลุฌานซิหนึ่ง-สี่

   ๕๗.ธรรมหมวดเก้านา...............ตั้งอาฆาตปรี่
"ได้ทำพินาศ"รี่............................"จะกระทำทลายเรา"

   ๕๘."คาดทำเสียหาย.................ในภายหน้า"เนา
"เขาได้ทลายเร้า.........................สขิเราสนิทรัก"

   ๕๙."เขากำลังทำ"....................."เขาพร่ำทำปัก"
"เขาทำประโยชน์นัก...................กะนรีมิรัก"เอย

   ๖๐."เขากำลังทำ".....................นั้นย้ำอยู่เปรยฝ"
เขาจักกระทำเลย"......................เจาะซิแน่กระชั้นนา

   ๖๑.ธรรมหมวดสิบสอน............"นาถกรฯ"พึ่งพา
"มีศีลซิพึ่ง"หนา.........................."สุตะฟังระลึก"ล้น

   ๖๒."มีเพื่อนดี"มาย...................สอนง่าย,อดทน"
"เอื้อเฟื้อ,ขยัน"ดล.......................ธุระเพื่อนลุล่วงพลัน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, เมษายน, 2568, 09:44:28 AM
(ต่อหน้า ๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

   ๖๓."ใฝ่ในธรรมโรจน์"............สันโดษพอ"ครัน
"ตั้งใจริเพียร"มั่น......................."สติแน่วและปัญญา"

   ๖๔.สารีบุตรแจงธรรม............หลายล้ำสิบนา
จำนวนหนึ่งก็มีหนา...................ทำเรื่องกะสัตว์ตรง

   ๖๕.ธรรมสองจำนวน.............ถ้วนสามสิบบ่ง
ธรรมสามเจาะมียง...................ก็ริรวมปะหกสิบ

   ๖๖.ธรรมสี่มีรวม....................ร่วมห้าสิบลิบ
ธรรมห้าเลาะ"ยี่สิบ"..................และฉหกซิได้ตรอง

   ๖๗.ธรรมหกมีรวม.................ร่วมยี่สิบสอง
ธรรมเจ็ดก็มีครอง....................พหุเรื่องลุสิบสี่

   ๖๘.ธรรมแปด,แปดเรื่อง........ธรรมเปรื่องเก้ามี
รวมหกซิชัดคลี่........................ก็เจาะเท่าสิธรรมสิบ

   ๖๙.สารีบุตรบ่ง.....................พุทธ์องค์สอนยิบ
ธรรมหลายฉะนี้กริบ................เหมาะลุสังคายนา

   ๗๐.เพื่อพรหมจรรย์สงฆ์........ได้ยงยืนหนา
หลีกเลี่ยงวิวาทมา....................มิพินาศสลายไป

   ๗๑.คราพุทธเจ้าตื่น...............ตรัสชื่นชมไข
สารีฯซิกล่าวไซร้......................ปริยายสิดีแท้

   ๗๒.สงฆ์หลายยินดี................ชมคลี่แล้วแล
สารีฯเสาะหาแน่........................ลุกระจ่างและชัดเจน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๔ -๓๖๖
           ๒)สังคีติสูตร http://anakame.com/page/1_Sutas/1100/1124.htm

ปาวา=เมืองปาวา
จุนทะ=บุตรนายช่างทอง
มัลล์=มัลลกษัตริย์
สารีฯ=พระสาริบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ของ พระโคดมพุทธเจ้า
เรา=หมายถึงพระพุทธเจ้า
นิครนนาฏ์ฯ=นิครนถ์นาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง และเป็นต้นศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
สังคาย์ฯ=สังคายนา
ธรรมมีประเภทละ ๑=มีรวม ๒ เรื่อง (๑)สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร อาหารเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้  แยกเป็น (๑.๑)กวฬิงการาหาร -อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย (๑.๒)ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา (๑.๓)มโนสัญเจตนาหาร -อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย (๑.๔)วิญญาณาหาร -อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป (๒)สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร (อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร)


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, เมษายน, 2568, 09:37:48 AM

(ต่อหน้า ๕/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๒=รวม ๓๐ เรื่อง คือ (๑)นาม และ รูป (๒)อวิชชา และ ภวตัณหา (๓)ภวทิฐิ และ วิภวทิฐิ (๔) ความไม่ละอาย และ ความไม่เกรงกลัว (๕)ความละอาย และ ความเกรงกลัว (๖) ความเป็นผู้ว่ายาก และ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
(๗) ความเป็นผู้ว่าง่าย และ ความเป็นผู้มีมิตรดี
(๘)ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ (๙)ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ (๑๐)ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ (๑๑)ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (๑๒) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ(คือเหตุที่เป็นได้) และ ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ(คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้) (๑๓)การกล่าววาจาอ่อนหวาน และ การต้อนรับ (๑๔)ความไม่เบียดเบียน และ ความสะอาด (๑๕) ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๑๖)สติ และ สัมปชัญญะ (๑๗)ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ (๑๘)ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ (๑๙)กำลังที่เกิดแต่การพิจารณา และ กำลังที่เกิดแต่การอบรม (๒๐)กำลังคือสติ และ กำลังคือสมาธิ (๒๑)สมถะ และ วิปัสสนา (๒๒)นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร (๒๓)ความเพียร และ ความไม่ฟุ้งซ่าน (๒๔)ความวิบัติแห่งศีล และ ความวิบัติแห่งทิฐิ (๒๕)ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ความถึงพร้อมแห่งทิฐิ (๒๖)ความหมดจดแห่งศีล และ ความหมดจดแห่งทิฐิ (๒๗)ความหมดจดแห่งทิฐิ และ ความเพียรของผู้มีทิฐิ (๒๘)ความสลดใจ และ ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้ว ในธรรมเป็น ที่ตั้งแห่ง ความสลดใจ (๒๘)ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศล และ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความเพียร (๒๙)วิชชา และ วิมุตติ (๓๐)ญาณในความสิ้นไป และ ญาณในความไม่เกิด
ธรรมมีประเภทละ ๓=มีรวม ๖๐ เรื่อง คือ (๑)อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ,โทสะ,โมหะ   
(๒) กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ,อโทสะ,อโมหะ
(๓) ทุจริต ๓ คือ กายทุจริต[ความประพฤติชั่วทางกาย], วจีทุจริต[ความประพฤติชั่วทางวาจา], มโนทุจริต[ความประพฤติชั่วทางใจ]   
(๔) สุจริต ๓ คือ กายสุจริต[ความประพฤติชอบทางกาย], วจีสุจริต[ความประพฤติชอบทางวาจา], มโนสุจริต[ความประพฤติชอบทางใจ]
(๕) อกุศลวิตก ๓ คือ กามวิตก[ความตริในทางกาม], พยาปาทวิตก[ความตริในทางพยาบาท],
วิหิงสาวิตก[ความตริในทางเบียดเบียน]
(๖) กุศลวิตก ๓ คือ เนกขัมมวิตก[ความตริในทางออกจากกาม], อัพยาปาทวิตก[ความตริในทางไม่พยาบาท], อวิหิงสาวิตก[ความตริในทางไม่เบียดเบียน]
 (๗) อกุศลสังกัปปะ ๓ คือ กามสังกัปปะ     [ความดำริในทางกาม], พยาปาทสังกัปปะ[ความดำริในทางพยาบาท], วิหิงสาสังกัปปะ[ความดำริในทางเบียดเบียน]
(๘) กุศลสังกัปปะ ๓  คือ เนกขัมมสังกัปปะ    [ความดำริในทางออกจากกาม], อัพยาปาทสังกัปปะ[ความดำริในทางไม่พยาบาท], อวิหิงสาสังกัปปะ[ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]
(๙) อกุศลสัญญา ๓ คือ กามสัญญา[ความจำได้ในทางกาม], พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท], วิหิงสาสัญญา[ความจำได้ในทางเบียดเบียน]   
(๑๐) กุศลสัญญา ๓ คือ เนกขัมมสัญญา    [ความจำได้ในทางออกจากกาม], อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท], อวิหิงสาสัญญา[ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]    
(๑๑) อกุศลธาตุ ๓ คือ กามธาตุ [ธาตุคือกาม], พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท], วิหิงสาธาตุ    [ธาตุคือความเบียดเบียน]
(๑๒) กุศลธาตุ ๓ คือ เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม], อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท], อวิหิงสาธาตุ[ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, เมษายน, 2568, 11:43:41 AM

(ต่อหน้า ๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๓)ธาตุอีก ๓ อย่าง คือ กามธาตุ[ธาตุคือกาม], รูปธาตุ [ธาตุคือรูป], อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]   
(๑๔) ธาตุอีก ๓ อย่าง คือ รูปธาตุ[ธาตุคือรูป], อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป], นิโรธธาตุ [ธาตุคือความดับทุกข์]
(๑๕) ธาตุอีก ๓ อย่าง คือ หีนธาตุ [ธาตุอย่างเลว], มัชฌิมธาตุ [ธาตุอย่างกลาง], ปณีตธาตุ [ธาตุอย่างประณีต]
(๑๖) ตัณหา ๓ อย่าง คือ กามตัณหา [ตัณหาในกาม], ภวตัณหา [ตัณหาในภพ], วิภวตัณหา [ตัณหาในปราศจากภพ]   
(๑๗) ตัณหาอีก ๓ อย่าง คือ กามตัณหา [ตัณหาในกาม],
รูปตัณหา [ตัณหาในรูป], อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
   (๑๘) ตัณหาอีก ๓ อย่าง คือ รูปตัณหา [ตัณหาในรูป], อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป], นิโรธตัณหา [ตัณหาในความดับสูญ][อุจเฉททิฏฐิ]
(๑๙) สัญโญชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน], วิจิกิจฉา [ความลังเลสงสัย], สีลัพพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]
(๒๐) อาสวะ ๓ อย่าง คือ กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้], ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น], อวิชชาสวะ      [อาสวะคือความเขลา]
(๒๑) ภพ ๓ อย่าง คือ กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร], รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร], อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร]
(๒๒) เอสนา ๓ อย่าง คือ กาเมสนา [การแสวงหากาม], ภเวสนา [การแสวงหาภพ], พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์]
(๒๓) วิธา การวางท่า ๓ อย่าง คือ เสยโยหมสฺมีติวิธา    [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา], สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา], หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]   
(๒๔)อัทธา ๓ อย่าง คือ อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต], อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต], ปัจจุบันนอัทธา  [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]
(๒๕) อันตะ ๓ อย่าง คือ สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน], สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน], สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]
(๒๖) เวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข], ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์], อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]
(๒๗) ทุกขตา ๓ อย่าง คือ ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์], สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร], วิปริฌามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]
(๒๘) ราสี ๓ อย่าง คือ มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน], สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน], อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน]
(๒๙)กังขา ๓ อย่าง คือ (๒๙.๑)ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส (๒๙.๒)ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆแล้ว สงสัยเคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส (๒๙.๓)ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใสข้อที่ไม่ต้องรักษา ของพระตถาคต ๓ อย่าง
(๓๐) ความประพฤติ ๓ อย่าง คือ (๓๐.๑) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี กายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางกาย ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้ (๓๐.๒) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี วจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางวาจา ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้
(๓๐.๓)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี มโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางใจ ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 30, เมษายน, 2568, 08:47:14 AM

(ต่อหน้า ๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๓๑)กิญจนะ ๓ อย่าง คือ ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ], โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ],โมหกิญจนะ  [เครื่องกังวลคือโมหะ]
(๓๒) อัคคี ๓ อย่าง คือ ราคัคคิ [ไฟคือราคะ], โทสัคคิ     [ไฟคือโทสะ], โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ]
(๓๓) อัคคีอีก ๓ อย่าง คือ อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล], ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล], คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี]
(๓๔) รูปสังคหะ ๓ อย่าง (๓๔.๑) สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป   [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไปกับด้วยการกระทบ] (๓๔.๒)อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วยการกระทบ] (๓๔.๓)อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป   [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]
(๓๕) สังขาร ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ], อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป], อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา]
(๓๖)บุคคล ๓ อย่าง คือ เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา], อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา], เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่]
(๓๗) เถระ ๓ อย่าง คือ ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ], ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม], สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ]
(๓๘) ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง คือ ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน], สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล], ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]
(๓๙) เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง คือ ทิฏฺเฐน [ด้วยได้เห็น],
สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง], ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ]
(๔๐)กามอุปบัติ ๓ อย่าง คือ (๔๐.๑) สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบางจำพวก (๔๐.๒) สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ ย่อมยังอำนาจให้เป็น ไป ในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรดี (๔๐.๓) สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยัง อำนาจให้เป็น ไปในกาม ที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี
(๔๑) สุขอุปบัติ ๓ อย่าง คือ (๔๑.๑) สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่า พรหมกายิกา  (๔๑.๒) สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้น บางครั้ง บางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น (๔๑.๓)สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา
(๔๒)   ปัญญา ๓ อย่าง คือ เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ], อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ], เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะก็ไม่ใช่]
(๔๓) ปัญญาอีก ๓ อย่าง คือ จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด], สุตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง], ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม
(๔๔) อาวุธ ๓ อย่าง คือ สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง], ปวิเวกาวุธ   [อาวุธคือความสงัด], ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา]
(๔๕) อินทรีย์ ๓ อย่าง คือ (๔๕.๑)อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้] (๔๕.๒)อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้]
(๔๕.๓)อัญญาตาวินทรีย์  [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง]
(๔๖) จักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ], ทิพพจักขุ  [จักษุทิพย์], ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา]
(๔๗)สิกขา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง],
อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง], อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง]
(๔๘)ภาวนา ๓ อย่าง คือ กายภาวนา [การอบรมกาย], จิตตภาวนา [การอบรมจิต], ปัญญาภาวนา  [การอบรมปัญญา]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 01, พฤษภาคม, 2568, 08:03:14 AM

(ต่อหน้า  ๘/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๔๙) อนุตตริยะ ๓ อย่าง คือ ทัสสนานุตตริยะ [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม], ปฏิปทานุตตริยะ  [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม], วิมุตตานุตตริยะ [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม]
(๕๐) สมาธิ ๓ อย่าง คือ สวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร], อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร], อวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร]
(๕๑) สมาธิอีก ๓ อย่าง คือ สุญญตสมาธิ [สมาธิที่ว่างเปล่า], อนิมิตตสมาธิ [สมาธิที่หานิมิตมิได้], อัปปณิหิตสมาธิ   [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้]
(๕๒) โสเจยยะ ๓ อย่าง คือ กายโสเจยยะ [ความสะอาดทางกาย], วจีโสเจยยะ [ความสะอาดทางวาจา], มโนโสเจยยะ [ความสะอาดทางใจ]
(๕๓)โมเนยยะ ๓ อย่าง คือกายโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย], วจีโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา], มโนโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ]
(๕๔) โกสัลละ ๓ อย่าง คืออายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ], อปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม], อุปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความเสื่อม]
(๕๕) มทะ ความเมา ๓ อย่าง คือ อาโรคยมทะ [ความเมาในความไม่มีโรค], โยพพนมทะ [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว], ชาติมทะ [ความเมาในชาติ]
(๕๖)อธิปเตยยะ ๓ อย่าง คือ อัตตาธิปเตยยะ [ความมีตนเป็นใหญ่], โลกาธิปเตยยะ [ความมีโลกเป็นใหญ่] ธัมมาธิปเตยยะ [ความมีธรรมเป็นใหญ่]
(๕๗) กถาวัตถุ ๓ อย่าง คือ (๕๗.๑)ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้ (๕๗.๒)ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้ (๕๗.๓) ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่ากาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้
(๕๘) วิชชา ๓ อย่าง คือ (๕๘.๑)บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้] (๕๘.๒)จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย] (๕๘.๓)อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป]
(๕๙) วิหารธรรม ๓ อย่าง คือ ทิพยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา], พรหมวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม], อริยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ]
(๖๐) ปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริยะ  [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์], อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์] อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์]
ธรรมหมวด ๔ มี= รวม ๕๐ เรื่อง ได้แก่
(๑)สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คือ (๑.๑)พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้ (๑.๒)พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้ (๑.๓)พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้ (๑.๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลก
(๒)สัมมัปปธาน ๔ อย่าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ ความเพียร (๒.๑)ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด (๒.๒)ประคองจิต ตั้งใจเพื่อละธรรมที่เป็น บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว (๒.๓)ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด (๒.๔)ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความตั้งมั่น ไม่เลือนลางจำเริญยิ่ง แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว
(๓) อิทธิบาท ๔ อย่าง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท  ประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร, วิริยสมาธิปธานสังขาร, จิตตสมาธิปธานสังขาร และ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร
(๔) ฌาน ๔ อย่าง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
(๔.๑)สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ (๔.๒)บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ สุข เกิดแต่สมาธิอยู่ (๔.๓)มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติย-ฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข (๔.๔) บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, พฤษภาคม, 2568, 11:12:59 AM

(ต่อหน้า ๙/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๕) สมาธิภาวนา ๔ อย่าง คือ สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว จะทำให้ (๕.๑)ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม  (๕.๒)ย่อมเป็นไป เพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ (๕.๓)ย่อมเป็นเพื่อสติและสัมปชัญญะ (๕.๔) ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
(๖)อัปปมัญญา ๔ อย่าง (พรหมวิหาร๔) คือ (๖.๑) มีใจเมตตา แผ่ไปตลอดทั่วสัตว์ทุกเหล่า หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน (๖.๒)มีใจกรุณา  แผ่ทั่วสัตว์ทุกเหล่า (๖.๓)มีใจมุทิตา  แผ่ไปตลอดทั่วสัตว์ (๖.๔)มีใจอุเบกขา กับสัตว์ทั่วโลก
(๗)อรูป ๔ อย่าง คือ (๗.๑)เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะ ไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหา ที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ (๗.๒)เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญ-จายตนะ จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุด มิได้ ดังนี้อยู่ (๗.๓) เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่
(๗.๔) เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ จึงเข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะอยู่
(๘) อปัสเสนะ ๔ อย่าง ได้แก่ (๘.๑)พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง (๘.๒)พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง (๘.๓)พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง (๘.๔)พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง
(๙)อริยวงศ์ ๔ อย่าง คือ (๙.๑)ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ ย่อมไม่แสวงหา เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วย จีวรนั้น ภิกษุนี้แลเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ (๙.๒)ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้  เรียกว่าผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ (๙.๓)ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ  เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ (๙.๔)ย่อมเป็นผู้มีปหานะ ยินดีแล้วในภาวนา เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์
(๑๐)ปธาน ๔ อย่าง คือ สังวรปธาน [เพียรระวัง], ปหานปธาน [เพียรละ], ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ], อนุรัก
ขนาปธาน [เพียรรักษา]
(๑๑)ญาณ ๔ อย่าง ได้แก่ ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม],
อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม], ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด], สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ]
(๑๒)ญาณ ๔ อย่าง ได้แก่ ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์], ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย], ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ใทุกขนิโรธ],ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานญาณ  [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]
(๑๓)องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง คือ สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ], สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม], โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย], ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]
(๑๔)องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง ได้แก่ (๑๔.๑)เป็นผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้า เพราะเหตุพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม (๑๔.๒)เป็นผู้เลื่อมใสในพระธรรม ว่าพระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้ บรรลุ จะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้-เฉพาะตน (๑๔.๓)เป็นผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือ พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของ ทำบุญเป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขต ของชาวโลก ไม่มีเขตอื่น ยิ่งกว่า


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, พฤษภาคม, 2568, 09:18:33 AM

(ต่อหน้า ๑๐/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๔.๔)เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชน สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ
(๑๕) สามัญญผล ๔ อย่าง คือ โสดาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล, อรหัตตผล
(๑๖) ธาตุ ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน], อาโปธาตุ    [ธาตุน้ำ], เตโชธาตุ [ธาตุไฟ],วาโยธาตุ [ธาตุลม]
(๑๗)อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด], ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ],
มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา], วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ]
(๑๘) วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง คือ (๑๘.๑) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูป เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ (๑๘.๒) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงาม (๑๘.๓) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงาม (๑๘.๔) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
๑๙.การถึงอคติ ๔ อย่าง คือ ถึงความลำเอียง เพราะความรักใคร่กัน, เพราะความขัดเคืองกัน, เพราะความหลง, เพราะความกลัว
(๒๐) ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง เกิดจากเหตุต่างๆ คือย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง จีวร, ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต, ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ, ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง ความมียิ่งๆ ขึ้นไป
(๒๑)ปฏิปทา ๔ อย่าง ได้แก่ ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา   [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า], ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา   [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว], สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา     [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า], สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา     [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว]
(๒๒)ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง คือ อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน], ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน], ทมา ปฏิปทา         [ปฏิบัติฝึก], สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ]
(๒๓) ธรรมบท ๔ อย่าง คือ บทธรรม คือความไม่เพ่งเล็ง,
บทธรรม คือความไม่พยาบาท, บทธรรม คือความระลึกชอบ, บทธรรม คือความตั้งใจไว้ชอบ
(๒๔) ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง (การประพฤติธรรมมีผลใน 4 แบบ) คือ (๒๔.๑)ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี (๒๔.๒)ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี (๒๔.๓)ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี (๒๔.๔)ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี.
(๒๕)ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง คือ ศีลขันธ์ [หมวดศีล], สมาธิขันธ์ [หมวดสมาธิ], ปัญญาขันธ์ [หมวดปัญญา],วิมุตติขันธ์ [หมวดวิมุติ]
(๒๖) พละ ๔ อย่าง คือ วิริยะพละ [กำลังคือความเพียร],
สติพละ [กำลังคือสติ], สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ], ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
(๒๗) อธิฏฐาน ๔ อย่าง คือ ปัญญาธิฏฐาน [อธิษฐานคือปัญญา], สัจจาธิฏฐาน [อธิษฐานคือสัจจะ], จาคะธิฏฐาน      [อธิษฐานคือจาคะ], อุปสมาธิฏฐาน [อธิษฐานคืออุปสมะ]
(๒๘) ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง คือ (๒๘.๑)เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว (๒๘.๒) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้ (๒๘.๓) วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้ (๒๘.๔)ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย
(๒๙) กรรม ๔ อย่าง คือ (๒๙.๑) กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำ (๒๙.๒) กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาว (๒๙.๓) กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำ ฝ่ายขาว (๒๙.๔) กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, พฤษภาคม, 2568, 11:08:50 AM

(ต่อหน้า ๑๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๓๐) สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง คือ (๓๐.๑)พึงทำให้แจ้งซึ่ง ขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนาด้วยสติ (๓๐.๒)พึงทำให้แจ้งซึ่ง จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ (๓๐.๓)พึงทำให้แจ้งซึ่ง วิโมกข์แปดด้วยกาย (๓๐.๔)พึงทำให้แจ้งซึ่ง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา
(๓๑) โอฆะ ๔ อย่าง คือ กาโมฆะ [โอฆะคือกาม], ภโวฆะ         [โอฆะคือภพ], ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ], อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]
(๓๒)โยคะ ๔ อย่าง คือ กามโยคะ [โยคะคือกาม], ภวโยคะ [โยคะคือภพ], ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ], อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา]
(๓๓) วิสังโยคะ ๔ อย่าง คือ กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม], ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ], ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ], อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]
(๓๔) คันถะ ๔ อย่าง คือ อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา], พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท], สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส], อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้เป็นจริง]
(๓๕) อุปาทาน ๔ อย่าง คือ กามุปาทาน [ถือมั่นกาม], ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ], สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต], อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
(๓๖) โยนิ ๔ อย่าง คืออัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่], ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์], สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล],โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น]
(๓๗) การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง คือ สัตว์บางชนิดในโลกนี้ (๓๗.๑)ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา,ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๒) รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา,ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๓)รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา, แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๔)รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์ มารดา, รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา, รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
(๓๘) การได้อัตภาพ ๔ อย่าง แบ่งเป็น (๓๘.๑)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น (๓๘.๒)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตน (๓๘.๓)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนด้วย  ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วย (๓๘.๔)ได้อัตภาพที่ ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น
(๓๙) ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง แบ่งเป็น (๓๙.๑)ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (๓๙.๒) ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (๓๙.๓)ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก (๓๙.๔)ทักขิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
(๔๐) สังคหวัตถุ ๔ อย่าง คือ ทาน [การให้ปัน], ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน], อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์], สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ]
(๔๑) อนริยโวหาร ๔ อย่าง คือ มุสาวาท [พูดเท็จ], ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด], ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ], สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]
(๔๒) อริยโวหาร ๔ อย่าง คือ มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ], ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด], ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ], สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ]
(๔๓) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม) คือ (๔๓.๑)เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่าได้เห็น (๔๓.๒)เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน (๔๓.๓)เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่าได้ทราบ (๔๓.๔)เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่าได้รู้แจ้ง
(๔๔) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง) (๔๔.๑) เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่าไม่ได้เห็น (๔๔.๒)เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน (๔๔.๓)เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่าไม่ได้ทราบ (๔๔.๔)เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง
(๔๕) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม) (๔๕.๑) เมื่อได้เห็น พูดว่าไม่ได้เห็น (๔๕.๒)เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน (๔๕.๓)เมื่อได้ทราบ พูดว่าไม่ได้ทราบ (๔๕.๔)เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, พฤษภาคม, 2568, 09:40:09 AM

(ต่อหน้า ๑๒/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

๔๖) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง) ได้แก่ (๔๖.๑)เมื่อได้เห็น พูดว่าได้เห็น (๔๖.๒) เมื่อได้ยิน พูดว่าได้ยิน (๔๖.๓)เมื่อได้ทราบ พูดว่าได้ทราบ (๔๖.๔)เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่าได้รู้แจ้ง
(๔๗) บุคคล ๔ อย่าง บุคคลบางคนในโลกนี้
 (๔๗.๑)เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำตนให้เดือดร้อน (๔๗.๒)เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน (๔๗.๓)เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำตนให้ เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย (๔๗.๔)ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำตนให้เดือดร้อน ด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ ผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือน พรหมอยู่ในปัจจุบัน
(๔๘) บุคคลอีก ๔ อย่าง บุคคลบางคนในโลกนี้
(๔๘.๑)ทำเพื่อประโยชน์ตน ไม่ทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น (๔๘.๒)ย่อมทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ทำเพื่อประโยชน์ตน (๔๘.๓)ย่อมไม่ทำเพื่อประโยชน์ตน ไม่ทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น (๔๘.๔) ย่อมทำเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย
(๔๙) บุคคลอีก ๔ อย่าง คือ (๔๙.๑)บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป (๔๙.๒)บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป (๔๙.๓)บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป (๔๙.๔) บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป
(๕๐) บุคคลอีก ๔ อย่าง คือ สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว], สมณปทุมะ [เป็นสมณะภเปรียบด้วยดอกบัวหลวง], สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว], สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย]
ธรรมมีประเภทละ ๕=มี ๒๖ เรื่อง คือ
(๑)ขันธ์ ๕ อย่าง คือ รูปขันธ์ [กองรูป], เวทนาขันธ์ [กองเวทนา], สัญญาขันธ์ [กองสัญญา], สังขารขันธ์ [กองสังขาร],วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ]
(๒) อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง คือ (๒.๑)รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป) (๒.๒)เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา), (๒.๓)สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา) (๒.๔)สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)(๒.๕.)วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ)
(๓) กามคุณ ๕ อย่าง คือ (๓.๑)รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๒.)เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๓)กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๔)รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๕)โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) คติ ๕ อย่าง ได้แก่ นิรยะ [นรก], ติรัจฉานโยนิ   [กำเนิดดิรัจฉาน], ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต], มนุสสะ [มนุษย์], เทวะ [เทวดา]
(๕) มัจฉริยะ ๕ อย่าง ได้แก่ อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่], กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล], ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ], วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ], ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม]
(๖) นีวรณ์ ๕ อย่าง ได้แก่ (๖.๑)กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม] (๖.๒)พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท], (๖.๓)ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม] (๖.๔) อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ] (๖.๕)วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, พฤษภาคม, 2568, 02:41:44 PM

(ต่อหน้า ๑๓/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗) โอรัมภาคิยสังโยชน์  คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง ได้แก่ สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน], วิจิกิจฉา [ความสงสัย], สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต], กามฉันทะ  [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม], พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
(๘) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ คือสังโยชน์เบื้องบน ๕ อย่าง
ได้แก่ รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม], อรูปราคะ        [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม], มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่], อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน], อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]
(๙) สิกขาบท ๕ อย่าง ได้แก่ (๙.๑)ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์] (๙.๒)อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์] (๙.๓)กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม] (๙.๔)มุสาวาทา เวรมณี          [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ] (๙.๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท]
(๑๐) อภัพพฐาน ๕ อย่าง ได้แก่  (๑๐.๑)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต (๑๐.๒)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย (๑๐.๓)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม (๑๐.๔) ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่ (๑๐.๕)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อครั้งยังเป็น คฤหัสถ์อยู่
(๑๑) พยสนะ ๕ อย่าง ได้แก่ (๑๑.๑)ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ] (๑๑.๒)โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ] (๑๑.๓)โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะเหตุ ที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก (๑๑.๔)สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล] (๑๑.๕)ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๒) สัมปทา ๕ อย่าง ได้แก่  (๑๒.๑) ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ] (๑๒.๒)โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ] (๑๒.๓)อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภค สัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก (๑๒.๔.)สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล] (๑๒.๕)ทิฏฐิสัมปทา        [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๓) โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง ได้แก่
(๑๓.๑)คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่ง โภคะใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ (๑๓.๒) เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป (๑๓.๓) คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือขัตติย บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคน เก้อเขิน เข้าไปหา (๑๓.๔) คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ (๑๓.๕) คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๔) อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีล ๕ (๑๔.๑) คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้  ย่อมประสบกองแห่ง โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ (๑๔.๒) เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อม แล้ว ด้วยศีล ย่อมระบือไป (๑๔.๓)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, พฤษภาคม, 2568, 10:29:19 AM

(ต่อหน้า ๑๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๔.๔)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็น ผู้ไม่หลง ทำกาละ (๑๔.๕)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๕) ธรรมสำหรับโจทก์ ๕ อย่าง คือ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทก์ผู้อื่น คือ (๑๕.๑)เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร (๑๕.๒)เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง (๑๕.๓)เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ (๑๕.๔)เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ (๑๕.๕)เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทก์ผู้อื่น
(๑๖)องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง (๑๖.๑)
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของ พระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
(๑๖.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ อันมี วิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร (๑๖.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงใน พระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชน ทั้งหลาย (๑๖.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง กุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความ บากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรม ที่เป็นกุศล (๑๖.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรก กิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
(๑๗) สุทธาวาส ๕ คือ ภูมิที่เกิดของบุคคลผู้เจริญสมถะจนได้จตุตฌาณและเจริญวิปัสสนาจนได้ตติยมรรค อันได้แก่ อริยบุคคลชั้นอนาคามี เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วจะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิแน่นอน อยู่ที่ว่ามีอินทรีย์ ๕ อย่างไหนมีอำนาจมากกว่ากันเป็นตัวกำหนดชั้นที่จะไปเกิด สุทธาวาส แบ่งได้ (๑๗.๑)อวิหา  เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน(๑๗.๒)อตัปปา เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร (๑๗.๓)สุทัสสา เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา (๑๗.๔)สุทัสสี เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด (๑๗.๕)อกนิฏฐา เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด
 (๑๘) พระอนาคามี ๕ แบ่งได้ (๑๘.๑)อันตราปรินิพพายี   
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง] (๑๘.๒)อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด] (๑๘.๓)อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก] (๑๘.๔)สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร] (๑๘.
๕)อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ]
(๑๙) ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง คือ (๑๙.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น (๑๙.๒) ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใส ในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร (๑๙.๓)ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร  (๑๙.๔) ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย (๑๙.๕)  ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะ กระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปู ในสพรหมจารี ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุ ผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, พฤษภาคม, 2568, 05:34:13 AM

(ต่อหน้า ๑๕/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๒๐) ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง (๒๐.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาม ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ  เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น (๒๐.๒)  ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น (๒๐.๓) ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร (๒๐.๔)ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการ แล้วประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลายจิตของภิกษุ ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร (๒๐.๕)  ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้า หมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็น เทพ องค์ใด องค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
(๒๑) อินทรีย์ ๕ อย่าง ได้แก่ จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา], โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู], ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก], ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น], กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย]
(๒๒) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ได้แก่ สุขุนทรีย [อินทรีย์คือสุข], ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์], โสมนัสสินทรีย์    [อินทรีย์คือโสมนัส], โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส], อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา]
(๒๓) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ได้แก่ สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา], วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ], สตินทรีย์     [อินทรีย์คือสติ], สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ], ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
(๒๔) นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง ได้แก่ (๒๔.๑)เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกามทั้งหลาย แต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจาก กาม ทั้งหลาย และเธอ พ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกาม เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกาม ทั้งหลาย (๒๔.๒)เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการ ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่พยาบาทจิตของเธอนั้นไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว จากความพยาบาท และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อน กระวน กระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนา นั้น (๒๔.๓)เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ เบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอ ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น (๒๔.๔)  เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะรูปทั้งหลายแต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไปื่ เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะอรูป จิตของ เธอนั้น ไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้ว จากรูป ทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูป เป็นปัจจัย เกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, พฤษภาคม, 2568, 08:32:48 PM

(ต่อหน้า ๑๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๒๔.๕) เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะ ความดับ แห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกาย ของตนและเธอ พ้นแล้ว จากอาสวะอันเป็นเหตุ เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
(๒๕) วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง ฟได้แก่ (๒๕.๑)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้น รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๒)พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มี ความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๓)พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการ สาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้ แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๔)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอตรึกตรอง ตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบ ระงับ แล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๕)พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอเรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ได้เรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำ ไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอด ด้วยดี ด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
(๒๖) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง ได้แก่ (๒๖.๑)อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง] (๒๖.๒)อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง](๒๖.๓)ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์] (๒๖.๔)ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย] (๒๖.๕)วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, พฤษภาคม, 2568, 08:48:10 AM

(ต่อหน้า ๑๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๖ = มีรวม ๒๒ เรื่อง
(๑)อายตนะภายใน ๖ อย่าง คือ อายตนะ คือตา, อายตนะ คือหู, อายตนะ คือจมูก, อายตนะ คือลิ้น, อายตนะ คือกาย, อายตนะ คือใจ
(๒) อายตนะภายนอก ๖ อย่าง คือ (๒.๑) อายตนะ คือ รูป (๒.๒)อายตนะ คือ เสียง (๒.๓)อายตนะ คือ กลิ่น (๒.๔) อายตนะ คือ รส (๒.๕)อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ (๒.๖) อายตนะ คือ ธรรม
(๓) หมวดวิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา], โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู], ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก], ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น], กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย], มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]
(๔) หมวดผัสสะ ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา], โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู], ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก], ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น], กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย], มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]
(๕)หมวดเวทนา ๖ ได้แก่ (๕.๑)จักขุสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา] (๕.๒)โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู] (๕.๓) ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก], (๕.๔)ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น] (๕.๕)กายสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย] (๕.๖)มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]
(๖) หมวดสัญญา ๖ ได้แก่ (๖.๑)รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๖.๒)สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] (๖.๓)คันธสัญญ [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๖.๔) รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๖.๕)โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๖.๖)ธัมมสัญญา        [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๗) หมวดสัญเจตนา ๖ ได้แก่ (๗.๑)รูปสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๗.๒) สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
(๗.๓)คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๗.๔) รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๗.๕)โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๗.๖) ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๘)หมวดตัณหา ๖ ได้แก่ (๘.๑)รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๘.๒)สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] (๘.๓)คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๘.๔)รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๘.๕)โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๘.๖)ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๙) อคารวะ ๖ อย่าง  คือ (๙.๑)ภิกษุเป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง  ในพระศาสดาอยู่ (๙.๒)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ (๙.๓)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ (๙.๔) เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่ (๙.๕)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๙.๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่
(๑๐) คารวะ ๖ อย่าง ภิกษุ (๑๐.๑)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่ (๑๐.๒)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่ (๑๐.๓)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ (๑๐.๔)เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่ (๑๐.๕)เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ (๑๐.๖)เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่
(๑๑) โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๑.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๒)ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๓) ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๕)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส (๑๑.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, พฤษภาคม, 2568, 10:53:19 AM

(ต่อหน้า ๑๘/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๒) โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๒.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๒)ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๓)ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๕.)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส (๑๒.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
(๑๓) อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๓.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๒) ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๓)ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
(๑๓.๕)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา (๑๓.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
(๑๔) สาราณียธรรม ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๔.๑) ภิกษุเข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๔.๒)ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วย เมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง (๑๔.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๔.๔)ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วย ธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหาร ในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภ เห็นปาน ดังนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรม (๑๔.๕)ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไป เพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจาร ีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ (๑๔.๖)ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่ง ประเสริฐ  เป็นเครื่อง นำสัตว์ ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำ ทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึงความ เป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลังอยู่
(๑๕)มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง คือ (๑๕.๑) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,ในพระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ไม่เป็นประโยชน์สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดา (๑๕.๒)ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,ในพระธรรมและพระสงฆ์อยู่ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขาย่อมจะก่อความวิวาท มิเป็นประโยชน์แก่ชน แต่เพื่อความพินาศแก่ชน (๑๕.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ใน พระศาสดา,ในพระธรรม,พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะก่อความวิวาทแก่ชนมาก (๑๕.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,พระธรรม, พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็น ผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท (๑๕.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา, พระธรรม, พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสีย (๑๕.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา,พระธรรม,พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขาย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไปเพื่อ มิใช่ ประโยชน์แก่ชนมาก พึงละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นเสีย
(๑๖) ธาตุ ๖ อย่าง ได้แก่ ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน], อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ], เตโชธาตุ [ธาตุไฟ], วาโยธาตุ [ธาตุลม], อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย], วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, พฤษภาคม, 2568, 04:41:43 PM

(ต่อหน้า ๑๙/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๗) สสารณียธาตุ ๖ อย่าง คือ (๑๗.๑)ภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ ประกอบด้วย เมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วแต่ถึงอย่างนั้น พยาบาท ก็ยัง ครอบงำจิตของเราตั้ง อยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึง ตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจัก ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งความพยาบาท (๑๗.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เจโตวิมุติ ที่ประกอบ ด้วย กรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสา ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบด้วยกรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วย กรุณานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา (๑๗.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วย มุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่อง แคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลยผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จัก ยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่อง สลัดออกซึ่งอรติ (๑๗.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็น ที่ตั้ง แล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น  ราคะก็ยังครอบงำ จิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่ว่า เมื่อบุคคล อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขาแต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยอุเบกขานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ (๑๗.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เราดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้ พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิตมิได้แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งนิมิตทุกอย่าง (๑๗.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าว ดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้ อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคล สงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือการเพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, พฤษภาคม, 2568, 07:39:39 AM
(ต่อหน้า ๒๐/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๘) อนุตตริยะ ๖ อย่าง คือ (๑๘.๑)ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๒) สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม (๑๘.๓)ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๔) สิกขานุตตริยะ[การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๕)ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๖)อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]
(๑๙) อนุสสติฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า], ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม], สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์], สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล], จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค], เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา]
(๒๐) สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง คือ (๒๐.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็น ผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๒)ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ (๒๐.๓)ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๔)ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๕)ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉยมีสติ สัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย   มีสติสัมปชัญญะอยู่
(๒๑) อภิชาติ ๖ อย่าง ได้แก่ (๒๑.๑)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ (๒๑.๒)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว (๒๑.๓)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน ซึ่งเป็นฝ่าย ที่ไม่ดำไม่ขาว (๒๑.๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว (๒๑.๕)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ (๒๑.๖)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่ง เป็นฝ่ายที่ ไม่ดำไม่ขาว
(๒๒) นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง ได้แก่ (๒๒.๑)อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง] (๒๒.๒)อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] (๒๒.๓)ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์] (๒๒.๔)ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ] (๒๒.๕)วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด (๒๒.๖)นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]
ธรรมมีประเภทละ ๗ =มีรวม ๑๔ เรื่อง คือ
(๑) อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ได้แก่ สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา], สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล], หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ],โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ], สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ] ,จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ], ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา]
(๒) โพชฌงค์ ๗ อย่าง ได้แก่ (๒.๑)สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้] (๒.๒)ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม] (๒.๓) วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร] (๒.๔)ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ] (๒.๕)ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ] (๒.๖)สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น] (๒.๗)อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]
(๓) บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
(๓.๑)สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ], (๓.๒)สัมมาสังกัปปะ [ความดำริชอบ] (๓.๓)สัมมาวาจา [เจรจาชอบ] (๓.๔)สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
(๓.๕)สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ] (๓.๖)สัมมาวายามะ [พยายามชอบ] (๓.๗)สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
(๔) อสัทธรรม ๗ อย่าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นคนไม่มีศรัทธา, เป็นคนไม่มีหิริ, เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ, เป็นคนมีสุตะน้อย, เป็นคนเกียจคร้าน, เป็นคนมีสติหลงลืม, เป็นคนมีปัญญาทราม
(๕) สัทธรรม ๗ อย่าง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นคนมีศรัทธา, เป็นคนมีหิริ, เป็นคนมีโอตตัปปะ, เป็นคนมีพหูสูต, เป็นคนปรารภความเพียร, เป็นคนมีสติมั่นคง, เป็นคนมีปัญญา
(๖) สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักเหตุ, เป็นผู้รู้จักผล, เป็นผู้รู้จักตน, เป็นผู้รู้จักประมาณ, เป็นผู้รู้จักกาล, เป็นผู้รู้จักบริษัท, เป็นผู้รู้จักบุคคล
(๗) นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ (๗.๑)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการสมาทานสิกขาต่อไปด้วย (๗.๒)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย (๗.๓)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
(๗.๔)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการเร้นอยู่ต่อไปด้วย (๗.๕)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, พฤษภาคม, 2568, 06:50:52 PM
(ต่อหน้า ๒๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗.๖)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย (๗.๗)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
(๘) สัญญา ๗ อย่าง ได้แก่
อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง], อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา], อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม], อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ], ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ], วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ], นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
(๙) พละ ๗ อย่าง ได้แก่
สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา], วิริยพละ [กำลังคือความเพียร], หิริพละ[กำลังคือหิริ], โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ], สติพละ [กำลังคือสติ],สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ], ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
(๑๐) วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง คือ
(๑๐.๑) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น  พวกมนุษย์และพวกเทพ บางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก (๑๐.๒)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน (๑๐.๓)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ (๑๐.๔)มีสัตว์พวกหนึ่งมี กายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพ เหล่า สุภกิณหา  (๑๐.๕)มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา (๑๐.๖)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญา ณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๐.๗)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญ จัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร
(๑๑) ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
(๑๑.๑) อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง] (๑๑.๒)ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา] (๑๑.๓)กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย] (๑๑.๔)ทิฏฐิปัตต              [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น] (๑๑.๕)สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา] (๑๑.๖) ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม] (๑๑.๗) สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
(๑๒) อนุสัย ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๒.๑) กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม] (๑๒.๒)ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๒.๓)ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น] (๑๒.๔)วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย] (๑๒.๕)มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
(๑๒.๖)ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ] (๑๒.๗)อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]
(๑๓) สัญโญชน์ ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๓.๑)กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่] (๑๓.๒)ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๓.๓)ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น] (๑๓.๔)วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย] (๑๓.๕)มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว] (๑๓.๖)ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ] (๑๓.๗)อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
(๑๔) อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
(๑๔.๑)พึงให้สัมมุขาวินัย (๑๔.๒)พึงให้สติวินัย
(๑๔.๓)พึงให้อมุฬหวินัย (๑๔.๔)พึงปรับตามปฏิญญา (๑๔.๕)พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ (๑๔.๖)พึงปรับตามความผิดของจำเลย (๑๔.๗)พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, พฤษภาคม, 2568, 10:45:11 AM
(ต่อหน้า ๒๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗.๖)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย (๗.๗)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
(๘) สัญญา ๗ อย่าง ได้แก่
อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง], อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา], อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม], อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ], ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ], วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ], นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
(๙) พละ ๗ อย่าง ได้แก่
สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา], วิริยพละ [กำลังคือความเพียร], หิริพละ[กำลังคือหิริ], โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ], สติพละ [กำลังคือสติ],สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ], ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
(๑๐) วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง คือ
(๑๐.๑) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น  พวกมนุษย์และพวกเทพ บางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก (๑๐.๒)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน (๑๐.๓)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ (๑๐.๔)มีสัตว์พวกหนึ่งมี กายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพ เหล่า สุภกิณหา  (๑๐.๕)มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา (๑๐.๖)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญา ณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๐.๗)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญ จัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร
(๑๑) ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
(๑๑.๑) อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง] (๑๑.๒)ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา] (๑๑.๓)กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย] (๑๑.๔)ทิฏฐิปัตต              [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น] (๑๑.๕)สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา] (๑๑.๖) ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม] (๑๑.๗) สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
(๑๒) อนุสัย ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๒.๑) กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม] (๑๒.๒)ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๒.๓)ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น] (๑๒.๔)วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย] (๑๒.๕)มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
(๑๒.๖)ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ] (๑๒.๗)อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]
(๑๓) สัญโญชน์ ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๓.๑)กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่] (๑๓.๒)ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๓.๓)ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น] (๑๓.๔)วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย] (๑๓.๕)มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว] (๑๓.๖)ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ] (๑๓.๗)อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
(๑๔) อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
(๑๔.๑)พึงให้สัมมุขาวินัย (๑๔.๒)พึงให้สติวินัย
(๑๔.๓)พึงให้อมุฬหวินัย (๑๔.๔)พึงปรับตามปฏิญญา (๑๔.๕)พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ (๑๔.๖)พึงปรับตามความผิดของจำเลย (๑๔.๗)พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า]


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, พฤษภาคม, 2568, 05:11:11 PM

(ต่อหน้า ๒๒/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๘=มีรวม ๘ เรื่อง คือ
(๑) มิจฉัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติผิด) ได้แก่
มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด], มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด], มิจฉาวาจา [วาจาผิด], มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด], มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด], มิจฉาวายามะ [พยายามผิด], มิจฉาสติ [ระลึกผิด], มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด]
(๒) สัมมัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติถูก) ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ], สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ], สัมมาวาจา [วาจาชอบ], สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ], สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ], สัมมาวายามะ [พยายามชอบ], สัมมาสติ [ระลึกชอบ], สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ]
(๓) ทักขิเณยยบุคคล ๘ (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) ได้แก่
(๓.๑)ท่านที่เป็นพระโสดาบัน (๓.๒)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง (๓.๓)ท่านที่เป็นพระสกทาคามี (๓.๔)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง (๓.๕)ท่านที่เป็นพระอนาคามี (๓.๖) ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง (๓.๗) ท่านที่เป็นพระอรหันต์ (๓.๘)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
(๔) กุสีตวัตถุ ๘ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) คือ
(๔.๑)ภิกษุจะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๔.๒) ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สอง (๔.๓)ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม
(๔.๔) ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่าเราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สี่ (๔.๕)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยัง บ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ ประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า (๔.๖)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่ว ราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก (๔.๗)อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อย เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุ แห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด (๔.๘)ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ ได้ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่แปด
(๕) อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง (ที่ตั้งแห่งความเพียร) คือ
(๕.๑)ภิกษุจะต้องทำการงานเธอมีความคิด อย่างนี้ว่า การงานเราจัก ต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำ ให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, พฤษภาคม, 2568, 06:53:22 AM

(ต่อหน้า ๒๓/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๕.๒)ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ เราทำการงาน เสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๓)ภิกษุมีความคิดว่า เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕. ๔)เมื่อภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๕) ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะ ที่เศร้า หมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการร่างกายเรานั้น เบาควรแก่ การงาน ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่เรา ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๖)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการเธอ มีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๗)อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเรา จะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๘) ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้ว ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบ นี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
(๖) ทานวัตถุ ๘ อย่าง คือ
(๖.๑)ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ (๖.๒)ให้ทานเพราะกลัว (๖.๓)ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา (๖.๔) ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา (๖.๕)ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี (๖.๖)ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้ หุงต้ม ย่อมไม่สมควร (๖.๗)ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป (๖.๘)ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต
(๗)ทานุปบัติ ๘ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวัง สิ่งที่ตนถวายไป ได้แก่
๗.๑. เขาเห็น กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้น ไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้น แล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อม สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์  (๗.๒)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพ เหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่า จาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๓)เขาได้ยินมาว่า  พวกเทพเหล่าดาวดึงส์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๔)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ยามา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็น สหาย ของพวกเทพ เหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ใน ที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, พฤษภาคม, 2568, 03:39:04 PM

(ต่อหน้า ๒๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

 (๗.๕)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ดุสิตา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิต นั้นไว้ อบรมจิตนั้น ไว้ จิตของเขานั้นน้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์  (๗.๖)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความ เป็นสหาย ของพวก เทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อ คุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๗)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความเป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๘)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพที่นับเนื่อง ในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพ ที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมีราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ
(๘) โลกธรรม ๘ อย่าง ได้แก่
มีลาภ, ไม่มีลาภ, มียศ,ไม่มียศ, นินทา, สรรเสริญ, สุข, ทุกข์
(๙) บริษัท ๘ อย่าง คือ บริษัทกษัตริย์, บริษัทพราหมณ์, บริษัทคฤหบดี, บริษัทสมณะ, บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา, บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์, บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี, บริษัทพรหม
(๑๐) อภิภายตนะ ๘ อย่าง ได้แก่
(๑๐.๑)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปในภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๒)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมีผิว พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๓)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๔)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณ ทราม ครอบงำรูป เหล่านั้น แล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๕)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบ อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วนมีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น  (๑๐.๖)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลืองหรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วน ทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วนมีรัศมีเหลือง แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลืองเหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๗)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่ อันแดง มีวรรณิ่ะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิด ในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดงฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๘)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกาย พฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้า ที่กำเนิดใน เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาวฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, พฤษภาคม, 2568, 09:04:31 AM

(ต่อหน้า ๒๕/๒๘)๓๐. สังคีติสูตร

(๑๑) วิโมกข์ ๘ อย่าง ได้แก่
(๑๑.๑)บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย (๑๑.๒)ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก (๑๑.๓)บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว (๑๑.๔)เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ (๑๑.๕)เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๑.๖)เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (๑๑.๗)เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญายตนะอยู่ (๑๑.๘)เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ธรรมมีประเภทละ ๙ =มี ๖ เรื่อง คือ
(๑)อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง ได้แก่
(๑.๑) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว (๑.๒)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา (๑.๓)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา (๑.๔) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว (๑.๕) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเรา (๑.๖)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็น ที่รักเป็น ที่ชอบใจของเรา (๑.๗)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว (๑.๘)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา (๑.๙)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา
(๒) อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง ได้แก่
(๒.๑)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๒)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๓)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๔)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๕)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่ง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๖) บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหา ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๗)บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา แล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๘)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๙)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
(๓) สัตตาวาส ๙ อย่าง ได้แก่
(๓.๑)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่น พวกมนุษย์ เทวดา บางพวก วินิปาติกะ บางพวก (๓.๒)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก เทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, พฤษภาคม, 2568, 10:09:10 AM

(ต่อหน้า ๒๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๓.๓) มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวก เทพเหล่าอาภัสสระ (๓.๔)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่า สุภกิณหา  (๓.๕)มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพ เหล่าอสัญญีสัตว์ (๓.๖.)มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ (๓. ๗)มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดย ประการทั้งปวง แล้ว เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ (๓.๘)มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้า ถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (๓.๙)มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวงแล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต
(๔) อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศไว้ แบ่งได้ (๔.๑)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๒)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๓)แต่บุคคลนี้เข้าถึง วิสัยแห่งเปรต เสียนี้ มิใช่สมัยจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๔)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงอสุรกายเสีย มิใช่ขณะมินี้มิใช่ขณะชิใช่สมัย ที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๕)บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพ ที่มีอายุยืน พวกใดพวกหนึ่งเสียนี้ มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๖)แต่บุคคลนี้เกิดเสีย ในปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้คติ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย ที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๗)บุคคลนี้ก็เกิด ในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทาน ที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่บุคคลทำดี หรือทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มีในโลก ไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนิน ไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ โลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่ง ด้วย ตนเอง แล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๘) บุคคลนี้ก็เกิดใน มัชฌิมชนบทแต่เป็น คนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้ อรรถ แห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๙)บุคคลนี้เกิดใน มัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถ ที่จะรู้ อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์
(๕) อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง แบ่งได้
(๕.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ (๕.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตใจ ในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ (๕.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌาน นี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ (๕.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ (๕.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดย ประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสา นัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ (๕.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจา ยตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุด มิได้ ดังนี้อยู่ (๕.๗)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ (๕.๘)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนะอยู่ (๕.๙)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา สัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
(๖) อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง คือ
(๖.๑)กามสัญญาของท่าน ผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป (๖.๒)วิตกวิจารของท่าน ผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป (๖.๓) ปีติของท่าน ผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป (๖.๔)ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่าน ผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป (๖.๕)รูปสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป (๖.๖)อากาสานัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๗)วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๘)อากิญจัญญายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๙)สัญญาและเวทนาของท่าน ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, พฤษภาคม, 2568, 08:58:48 AM

(ต่อหน้า ๒๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๑๐ =มี ๖ เรื่อง คือ
(๑)นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง แบ่งได้
(๑.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระ ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย  (๑.๒)ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรม ที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี (๑.๓)ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย (๑.๔)ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมที่กระทำ ให้ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย (๑.๕)ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วย ปัญญา เป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถ ทำสามารถ จัดใน กรณียกิจใหญ่น้อย ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย (๑.๖)ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่ง ในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย (๑.๗)ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ (๑.๘)ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรม (๑.๙)ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ และปัญญา เครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ (๑.๑๐)ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญา ที่เห็นความเกิด และ ความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
 (๒)กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง ได้แก่
(๒.๑)ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๒)ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๓)ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๒.๔)ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๒.๕)ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๖)ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๗)ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๘.)ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณหามิได้ (๒.๙)ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๑๐)ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๓)อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ได้แก่
 (๓.๑)ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] (๓.๒)อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้] (๓.๓)กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม] (๓.๔)มุสาวาท [พูดเท็จ] ๓.๕.ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] (๓.๖)ผรุสวาจา  [พูดคำหยาบ] (๓.๗)สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] (๓.๘)อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา] (๓.๙)พยาบาท [ความปองร้ายเขา] (๓.๑๐)มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด]
(๔)กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างได้แก่
(๔.๑)ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] (๔.๒) อทินนาทานาเวรมณี [เจตนาเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้] (๔.๓)กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม] (๔.๔)มุสาวาทา เวรมณี           [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ] (๔.๕)ปิสุณาย วาจาย เวรมณี[เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด] (๔.๖)ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ] (๔.๗)สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ] (๔.๘)อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา] (๔.๙)อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา] (๔.๑๐)สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]
(๕) อริยวาส ๑๐ อย่าง ได้แก่
 (๕.๑)เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว คือเป็นผู้มีกามฉันทะ, มีความพยาบาท, มีถีนมิทธะ, มีอุทธัจจกุกกุจจะ และ มีวิจิกิจฉา,อันละได้ขาดแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว (๕.๒)เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก คือเห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ หรือฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว, ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, พฤษภาคม, 2568, 02:55:56 PM

(ต่อหน้า ๒๘/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๕.๓) เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง จะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาย่อมประกอบด้วยใจ อันมีสติเป็นเครื่อง อารักขา (๕.๔)เป็นผู้มีที่พิงสี่  โดยจะต้องเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้นของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาของอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีที่พิงสี่ (๕.๕) เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว  สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณะ และพราหมณ์ เป็นอันมาก ย่อมเป็นของ อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละสละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว (๕.๖)เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ คือมีแสวงหากาม, มีการแสวงหาภพ, มีการแสวงหา พรหมจรรย์ อันสละคืนแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีการ แสวงหาอันสละ แล้วโดยชอบ (๕.๗)เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือเป็นผู้ละความดำริในทางกาม, ผู้ละความดำริในทางพยาบาท, เป็นผู้ละความดำริ ในทาง เบียดเบียนได้ขาดแล้ว (๕.๘)เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ  ด้วยบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุกเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ ชื่อว่า เป็นผู้มี กายสังขาร สงบระงับ (๕.๙)เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ด้วยมีจิตพ้นแล้วจากราคะ,จากโทสะ,จากโมหะ จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว (๕.๑๐)เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว  ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเราละ ได้แล้ว, โทสะ, โมหะ อันเราละได้แล้ว ถอนราก ขึ้นเสีย ได้แล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้วมีอันไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นอีก
(๖) อเสกขธรรม ๑๐ อย่าง ได้แก่
(๖.๑)ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๒) ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๓)เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๔)การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๕) การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๖)ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๗)ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๘) ความตั้งใจชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๙)ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๑๐)ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, พฤษภาคม, 2568, 11:40:39 AM
ประมวลธรรม : ๓๑.มูลปริยายสูตร(สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง)

กาพย์พรหมคีติ

   ๑.พุทธ์เจ้าประทับไซร้.............ณ โคนไม้สาละหนา
"ป่าสุภคะ"หล้า...........................ใกล้"อุกกัฏฐาฯ"นคร
ทรงตรัสชัดสงฆ์หลาย................ฟังบรรยายมูลธรรมสอน
เหตุธรรมล้ำแปดจร...................."สัพพ์ธัมม์ปริยาย"

   ๒.นัยแรกปุถุชน......................กิเลสท้นมิคลาย
นัยสอง"เสขะฯ"ฉาย...................ยังศึกษาพระธรรมกราน
นัยสาม-หก"ขีณาฯ"....................อร์หันต์กล้ากิเลสผลาญ
นัย"เจ็ด-แปด"เกี่ยวขาน..............พระศาส์ดารู้ยิ่งจริง

   ๓.ปุถุชนโลกยัง.......................มิได้ฟัง,ทราบธรรมยิ่ง
พุทธ์องค์บ่งแนะพริ้ง...................หรือพบพุทธ์สาวกเลย
ย่อมรู้"สัญชาฯ"เก่า....................."ใช้จำ"เอาสิ่งเห็นเปรย
ไม่รู้จริงนั่นเอย...........................จึงยึดถือครือของตน

   ๔.เช่นหมายรู้ปัฏวี....................จำผิดลี้จากจริงยล
เหตุกิเลสช้าดล.........................."มานะ,ทิฎฐิ"สูงเอย
ทำให้เกิดพอใจ..........................กำหนดใน-นอกเผย
กำหนดให้เห็นเลย......................ดินของตนครันติดใจ

   ๕.หมาย"นอก"ปัฏวีด้วย............ทิฎฐิช่วยว่าตนไซร้
และสรรพสิ่งเกิดใกล้..................จากดินแต่ไป่ดินแล
เกิดตัณหาในตน........................มานะท้น,สิ่งอื่นแฉ
ยินดีปัฏวีแน่...............................คือยินดีทุกข์นั่นเอง

   ๖.ปัฏวี,ธาตุดิน.........................มีสี่ยินประกอบเผง
"ลักขณ์ปฐวี"เบ่ง.........................ส่วนแข็งหยาบในตัวมัน
"สลัมภารฯ"ที่ปะ..........................อวัยวะเช่น"ผม"ครัน
"อารัมม์ปฐวีฯ"ดั้น.........................ทำอารมณ์กสิณคง

   ๗."สัมมติปัฐวี"...........................เป็นธาตุที่เทพเกิดส่ง
ในโลกด้วยกสิณตรง....................ด้วยอำนาจของฌานเอย
ที่หมายธาตุดินเป็น.......................ของตนเด่นยินดีเผย
พุทธ์องค์ทรงเอ่ย..........................เพราะเขาไม่กำหนดรู้

   ๘.ไม่กำหนดรู้หนา......................"ปริญญา"สามพร่างพรู
เพื่อล้าง"อวิชช์ฯ"กรู......................ขจัดเข้าใจผิดเอย
ให้จิตชิดความจริง........................รูป,นามดิ่งมิเพี้ยนเผย
ปริญญ์ฯทุกตัวเชย.......................สำคัญต่อวิปัสส์นา

   ๙.ฝึกจิตคิดปริญญ์ฯ..................เข้าถึงสิ้นทุกตัวหนา
เป็นเหตุปัจจัยพา..........................คว้าสัมฤทธิ์ทั้งสามแล
"ญาตปริญญ์ฯ"รู้คลี่......................ปัฐวีใน-นอกแท้
เข้าใจทุกข์เกิดแล้........................หนทางการดับทุกข์เอย

   ๑๐."ตีรณ์ปริญญ์"ยิ่ง.................เห็นความจริงไตรลักษณ์เผย
ธาตุดินไม่เที่ยงเปรย....................ครือนามรูปไม่เที่ยงกลาย
"ปหานปริญญ์ฯ"แน่ว....................พิจารณ์แล้วกำหนัดคลาย
ญาณอริยะฉาย...........................หรือลุอรหัตต์ดล

   ๑๑.เพราะปริญญาสาม.............มิมีลามปุถุชน
เขาทำกำหนดล้น.........................หมายยินดีรี่ธาตุดิน
ธาตุน้ำ,ไฟ,ลมใฝ่..........................หมายรู้ใน-นอกสิ้น
คิดเป็นเช่นตนชิน.........................เกิดยินดีมีเพลิดเพลิน

   ๑๒.ปุถุชนหมายคลำ................."น้ำ"เป็นน้ำกำหนดเกริ่น
ภายใน-นอกเดิน...........................น้ำเป็นเราเฝ้ายินดี
"ไฟ,ลม"ชมเช่นกัน........................พุทธ์เจ้าครันตรัสเหตุปรี่
มิกำหนดรู้คลี่................................สิ่งทั้งผองมิใช่ตน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, พฤษภาคม, 2568, 05:12:51 PM

(ต่อหน้า ๒/๖) ๓๑.มหาปริยายสูตร

   ๑๓.ปุถุชนหมายเด่น.........."ภูต"ว่าเป็นภูต,สัตว์ยล
กำหนดใน-นอกก่น...............ภูตของเราเฝ้ายินดี
หมายรู้"เทวา"ว่า...................เป็นเทวาแล้วจดรี่
ทั้งภายใน-นอกคลี่................เทวาของตนพอใจ

   ๑๔.หมาย"ปชาบดี"............ว่าเป็นที่ปชาฯใส
กำหนดใน-นอกไว้.................ปชาฯของตนยินดี
หมายรู้ว่า"พรหม"เป็น............พรหมที่เด่นแล้วลี
กำหนดใน-นอกมี..................พรหมของตนชื่นชม

   ๑๕.ปุถุชนรู้จร...................."อาภัสสรพรหม"นิยม
กำหนดใน-นอกบ่ม................อาภัสฯของตนยินดี
หมาย"สุภกิณห์ฯ"ชิน.............เป็นสุภกิณห์ปรี่
กำหนดใน-นอกที่..................สุภกิณห์ฯของตนยินดี

   ๑๖.ปุถุชนหมายรู้..............เวหัปฯอยู่เป็นนี้
กำหนดใน-นอกที่.................เวหัปฯของตนพอใจ
หมาย"อภิภูสัตว์"..................ว่าเป็นชัดอภิฯไซร้
กำหนดใน-นอกไว................อภิฯของตนยินดี

   ๑๗.หมายรู้"อากาสาฯ".......ว่าเป็นนาอากาฯรี่
กำหนดใน-นอกที่.................อากาฯของตนยินดี
หมาย"วิญญานัญจ์ฯ"หนา.....เป็นวิญญานัญจ์ฯแล้วรี่
กำหนดใน-นอกมี.................วิญญาฯของตนพอใจ

   ๑๘.ปุถุชนหมายสิ้น...........เป็นอากิญจัญญ์ฯใส
กำหนดใน-นอกไซร้..............อากิญจัญญ์ฯของตนเริงรมย์
หมาย"เนวสัญญ์ฯ"แน่ว..........ว่าเป็นแล้วเนวะฯสม
กำหนดใน-นอกคม................เนวะฯของตนเปรมปรีดิ์

   ๑๙.หมายรู้"รูป"เห็นนา........เห็นด้วยตาเนื้อรตี
หรือตาทิพย์แล้วรี่..................ว่าเป็นรูปตนแล
หมายรูปนอก-ในจริง.............ตนเห็นยิ่งแท้ชัดแฉ
หมายรู้อยู่รูปแน่....................เป็นของเราเร้าพอใจ

   ๒๐.หมายรู้"เสียง"สิ้น..........ด้วยหูยินแน่ไซร้
หรือหูทิพย์แล้วไว..................ว่าเป็นเสียงตนเอง
กำหนดนอก-ในเสียง.............ตนยินเยี่ยงนั้นเผง
หมายจินต์ยินเสียงเพ่ง..........เป็นเสียงตนยินดี

   ๒๑.หมายรู้อารมณ์นา........รู้แล้วอารมณ์ทราบคลี่
จึงรับจับไว้รี่.........................หมาย"ในอารมณ์"ทราบเอย
หมาย"นอกอารมณ์"แล้ว.......อารมณ์แน่วของตนเผย
พุทธ์องค์บ่งเหตุเปรย............ไม่ได้กำหนดรู้จริง

   ๒๒.หมายรู้อารมณ์แจง.......ใจรู้แจ้งยิ่งทุกสิ่ง
อารมณ์รู้แจ้งอิง.....................หมาย"ในอารมณ์"ทางใจ
หมาย"นอกอารมณ์"บ่ม..........เห็นอารมณ์ใจรู้ไซร้
อารมณ์รู้แจ้งใจ.....................เป็นของตนล้นดีเจียว

   ๒๓.เผยรู้จิตเป็หนา.............ฌานสมาบัติอันเดียว
หมาย"ในจิต"เดียวเชียว.........เป็นฌานสมาบัติเอย
หมาย"นอกจิต"ฌานชัด".........สมาบัติเดียวกันเผย
จึงคิดจิตเป็นเอย................... ฌานของเราเคล้ายินดี

   ๒๔.หมายรู้"กามจิต"ครัน.....ของต่างกันมากแล้วรี่
หมายในกามจิตปรี่................"นอกกายจิต"ความต่างกัน
หมายเอาความ"กามจิต".........ต่างกันคิดของเราครัน
แล้วยินดีความดั้น...................ความที่กามจิตต่างกัน

   ๒๕.ปุถุชนหมายนา..............."สักกายะ"เป็นแล้วเผย
ใน-นอกสักกาฯเอ่ย..................ขันธ์ห้าของเรายินดี
รู้นิพพานในความ.....................หมายเป็นตาม
นิพพทานรี่
ใน-นอกนิพพานปรี่..................นิพพานของตนดีใจ

   ๒๖.กล่าวมาแล้วทั้งผอง........ว่าเป็นของตนสิ้นไข
พุทธ์องค์บ่งเหตุไซร้................เพราะเขาไม่ได้รู้จริง
จึงได้คิดผิดความ....................เกิดผลลามเสียหายยิ่ง
ต้องล้าง"อวิชฯ"ทิ้ง...................ละความใฝ่ใจผิดลง

   ๒๗.นัยสองพุทธ์เจ้าเน้น.........ผู้ยังเป็นเสขะคง
เช่น"โสดาบัน"บ่ง....................."สกิทาฯ,อนาคาฯ"
มิลุอรหัตต์ผล..........................ต้องฝึกตนท้นนา
ธรรมในไตรสิกขา...................."ศีล,สมาธิ์,ปัญญา"เอย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, พฤษภาคม, 2568, 09:16:28 AM
(ต่อหน้า ๓/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

   ๒๘.สงฆ์มีฌาณรู้ยิ่ง.............ปฐวีดิ่งกว่าชนเผย
ไม่หมายใน-นอกเลย...............ปฏวีไป่ตนไม่ชม
เขาควรด่วนรู้ไกล...................ทั้งน้ำ,ไฟ,ลม,ภูติสม
เทพ,ปชาบ์ดี,พรหม.................อาภัสฯ,สุภกิณฯแล

   ๒๙."เวหัปฯ,อภิภูฯ"..............."อากาฯ",กรู,วิญญาฯ"แล้
"อากิณฯ,เนวะฯ"แน่................รูปตนเห็น,เสียงยินเชียว
อารมณ์ทราบ,แจ้งพาน...........จิตเป็นฌานสมาฯเดียว
"กามจิต"ต่างกันเจียว.............."สักกายะ"เรื่องขันธ์เอย

   ๓๐.สงฆ์รู้ยิ่งนิพพาน............ความหมายจารต่างชนเผย
ชนเข้าใจผิดเอย....................ว่าเป็นตนสุขด้วยกาม
สงฆ์ไม่กำหนดนิพฯ................ใน-นอกลิบเพราะรู้ความ
ไม่กำหนดนิพฯตาม................ว่าของเราไร้รตี

   ๓๑.นัยสาม,พระขีณาสพ.....สงฆ์ใดจบอรหันต์รี่
ทำกิจเสร็จแล้วปรี่..................สิ้น"ภวสังโยชน์"ตาม
หลุดพ้นรู้แจ้งจริง...................ยังรู้ยิ่งปฐวีความ
ไม่จดใน-นอกลาม..................ดินไป่ตนไม่ยินดี

   ๓๒.พุทธ์เจ้าเร้ากล่าวอยู่......ขีณาฯรู้ดินแล้วรี่
ยังรู้ยิ่ง"น้ำ"คลี่.......................ไฟ,ลม,ภู,เทพ,ปชาฯ
พรหม,อาภัสฯสุภกิณห์ฯ.........เวหัปฯชิน,อภิฯกล้า
อากาสาฯ,วิญญาฯ..................อากิณจัญฯ,เนวะฯแล

   ๓๓.พร้อมรูปยล,เสียงยิน.....อารมณ์จินต์ทราบ,แจ้งแฉ
ฌานสมาบัติเดียวแท้.............กามจิตต่าง,สักกาฯมี
รู้ยิ่งนิพพานลิบ......................ใน-นอกนิพฯไม่หมายปรี่
ไม่จดนิพพานรี่.......................ไป่ของตนไม่ชื่นชม

   ๓๔.นัยสี่,พระขีณาสพ.........สังโยชน์น้อยหลุดพ้นสม
แม้ดินไม่กำหนดจม................ทั้งใน-นอกไม่ใช่เรา
พุทธ์องค์ทรงกล่าวไว้.............เป็นเพราะไร้"ราคะ"เขลา
จึงหมดกำหนดเบา.................ยินดีพอใจทอนปลง

   ๓๕.ขีณาฯรู้ยิ่งฉม...............น้ำ,ไฟ,ลม,ภูต,เทพบ่ง
ปชาบ์ดีฯ,พรหมยง.................อาภัสสร,สุภกิณห์ฯแล
เวหัปฯ,อภิภูฯนา.....................อากาสาฯ,วิญญาฯแฉ
อากิญฯ,เนวะฯแน่...................รูป,เสียง,อารมณ์เอย

   ๓๖."อารมณ์"รู้แจ้งนา...........ฌานสมาบัติฯเดียวเผย
กามจิตต่างกันเลย..................สักกายฯนิพพานไกล
ทั้งหมดไม่ยึดเป็น....................ของตนเด่นไร้พอใจ
ถุทธ์องค์ทรงตรัสไซร้..............เขาปราศราคะแล้วนา

   ๓๗.นัยห้า,พระขีณาสพ.........สังโยชน์ครบจบสิ้นหนา
หลุดพ้นรู้จริงนา.......................ยังรู้ยิ่งปัฐวี
ไม่ได้เป็นของตน......................และยังพ้นจากยินดี
พุทธ์องค์บ่งผลรี่.......................เขาปราศ"โทสะ"แล้วราน

   ๓๘.สิ่งอื่นเช่นน้ำ,ไฟ...............เหมือนเช่นไซร้นัยสี่ผลาญ
เขาเลิกกำหนดพาน..................ใน-นอกไม่ยึดของตน
ไม่ยินดีคลี่สิ่งนั้น......................รีบหนีครันเลยหลุดพ้น
พุทธ์องค์ทรงตรัสผล...............เพราะโทสะผละสิ้นไป

   ๓๙.นัยหก,พระขีณาสพ.........สังโยชน์จบนบถ้วนไข
หลุดพ้นรู้จริงไกล.....................ยังรู้ยิ่งปัฐวี
ไม่ได้เป็นของตน......................และยังพ้นจากรตี
พุทธ์องค์ทรงตรัสชี้...................เขาปราศ"โมหะ"มลาน

   ๔๐.สิ่งอื่นเช่นน้ำ,ไฟ................เหมือนเช่นไซร้นัยสี่ผลาญ
เขาเลิกกำหนดพาน...................ใน-นอกไม่ยึดของตน
ไม่ยินดีรี่สิ่งนั้น...........................หนีออกพลันจึงหลุดพ้น
พุทธ์องค์บ่งชี้ผล........................เพราะโมหะหมดสิ้นจริง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, พฤษภาคม, 2568, 04:54:39 PM

(ต่อหน้า ๔/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

   ๔๑.นัยเจ็ด,"ตถาคต"........ก็รู้จดปัฐวียิ่ง
ไม่หมายใน-นอกทิ้ง.............ดินไม่ใช่ของเราแล
ไม่ยินดีปฐวี.........................เพราะเหตุใดรี่ใดเล่าแฉ
ทรงกล่าวตถาคตแล้............รู้ปฐวี..แล้วเอย

   ๔๒.สิ่งอื่นหลายน้ำ,ไฟ.......ทั้งนั้นไซร้นัยสี่เปรย
ทรงรู้ยิ่งหมดเลย..................เช่นรู้ยิ่งนิพฯความเนา
เลิกกำหนดนอก-ใน..............นิพพานไซร้เลิกหลงเขลา
ไม่หมายนิพฯของเรา............ไม่ยินดีในนิพพาน

   ๔๓.นัยแปด,ตถาคต...........รู้จรดปฏวีขาน
ไม่ยินดีพบพาน.....................ในปฐวีอีกเลย
เพราะรู้ความเพลิดเพลิน.......เป็นเหตุเกริ่นทุกข์ยากเอ่ย
เพราะมี"ภพ","ชาติ"เลย.........อุบัติ,สัตว์เกิด,แก่ตาย

   ๔๔.เนื่องจากตรัสรู้ล้ำ........"อนุตตรสัมมาฯ"ผาย
เพราะสิ้นตัณหาคลาย..........ดับ,สลัดตัณหาทั้งมวล
ตถาคตรู้ยิ่งทำ......................ทั้งหมดนำ"นัยสี่"ถ้วน
พุทธเจ้าตรัสถ้วน..................ภิกษุใจมิชื่นชม

   ๔๕.มิ"ชื่นชมยินดี"............ภิกษุรี่มิรู้สม
เนื้อความพระสูตปม............เหตุ"มานะ,ทิฏฐิ"เอย
มัวเมา,ภาษิตลึก..................เกินจะตรึก"นัยหนึ่งเผย
ถึงนัยแปด,มิเกย.................อรรถแสดงใจมิปรีดิ์

   ๔๖.ภายหลังได้ฟังโชติ.....พระสูตร"โคตม์ฯที่เจดีย์
"โคตมก"คลี่........................พุทธองค์"ตรัสรู้ธรรม"
"อันยิ่ง"ถ้าไม่รู้.....................ก็ไม่จู่แสดงนำ
"ธรรมมีเหตุ"จึงพร่ำ.............ไร้เหตุจะมิกล่าวนา

   ๔๗.ธรรมมีปาฏิหาริย์........จึงบอกกรานชัดเจนหนา
ผู้ทำตามลุนา.......................ได้ผลเป็นอัศจรรย์
คำสั่งสอนของเรา................ควรเร่งเร้าทำตาม ครัน
มีใจยินดีมั่น.........................ตถาคตตรัสรู้จริง

   ๔๘.ภิกษุหลายได้ฟัง.........ชื่นชมจังภาษิตยิ่ง
จึงลุอรหันต์ดิ่ง.....................พร้อม"ปฏิสัมภิทา"
คราพุทธ์องค์เทศน์จบ.........."สหัสสีฯ"ครบอย่างเล็กหนา
เกิดไหวสะเทือนนา..............ทรงแจงธรรมพิเศษเอย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๘ -๓๖๙
           ๒)มจร.๑.มูลปริยายสูตร https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1

สัพพ์ธัมม์ปริยาย=สัพพธัมมปริยาย คือ มูลแห่งธรรมทั้งปวง
เสขะฯ=พระเสขะ คือพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา หมายถึง พระโสดาบัน,พระสกทาคามี,พระอนาคามี
ขีณาฯ=พระขีณาสพ คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสที่ดองสันดาน
ปุถุชน=ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑)อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว
สัญชาฯ=สัญชานาติ คือ ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา
ปฐวี=ธาตุดิน แบ่งได้ ๔ คือ ปฐวี มี ๔ ชนิด คือ (๑)ลักขณปฐวี เป็นสิ่งที่แข็งกระด้าง หยาบเฉพาะตนในตัวมันเอง (๒)สสัมภารปฐวี เป็นส่วนแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และวัตถุภายนอกมีโลหะเป็นต้น พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสีเป็นต้น (๓)อารัมมณปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่นำมากำหนดเป็นอารมณ์ของปฐวีกสิณ นิมิตตปฐวี ก็เรียก (๔)สัมมติปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่ปฐวีเทวดามาเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจปฐวีกสิณและฌานในที่นี้ ปฐวี หมายถึงทั้ง ๔ ชนิด


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, พฤษภาคม, 2568, 10:48:46 AM

(ต่อหน้า ๕/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

มานะ=ความถือตัว
ทิฏฐิ=ความเห็นผิด
ภูต=ภูต หมายถึงขันธ์ ๕ อมนุษย์ ธาตุ สิ่งที่มีอยู่ พระขีณาสพ สัตว์ และต้นไม้เป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช
ปชาบดี=ชาบดี หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่กว่าปชาคือหมู่สัตว์ ได้แก่ มารชื่อว่า ปชาบดี เพราะปกครองเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
สุภกิณห์ฯ=สุภกิณหพรหม คือ สุภกิณหาพรหม เป็นพรหมที่มีรัศมีสวยงามตลอดทั่วร่างกาย ตติยฌานภูมิ อยู่ห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕,๕๐๐,๐๐๐ โยชน์ ลอยอยู่กลางอากาศในพื้นที่เดียวกัน แบ่งเป็นเขตเหมือนทุติยฌานภูมิ พื้นที่ตั้งสำเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยทิพยสมบัติมี วิมาน สวน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น
อาภัสฯ=อาภัสสรพรหม คือ พรหมชั้นทุติยฌานภูมิ ซึ่งตอนโลกพินาศพรหมชั้นนี้ยังอยู่
เวหัปฯ=เวหัปผลพรหม คือ เวหัปผลาภูมิที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ ๕๐๐ มหากัป
อภิภูสัตว์ =กับ อสัญญีสัตว์ เป็นไวพจน์ของกันและกัน หมายถึงสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัปผลพรหม บังเกิดด้วยอิริยาบถใดก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นตราบสิ้นอายุขัย
อากาฯ=อากาสานัญจายตนพรหม คือ ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
วิญญาฯ=วิญญาณัญจายตนพรหม คือฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
อากิญจ์ฯ=อากิญจัญญาตนพรหม คือ ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
เนวสัญญ์ฯ=เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม คือ ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
ปริญญา ๓=คือ หลักธรรมะเพื่อล้างอวิชชาและความเข้าใจผิดหรือ วิปัลลาศธรรม แบ่งเป็น ๓ไม่ได้กำหนดรู้ หมายถึงไม่ได้กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ประการ คือ (๑) ญาตปริญญา ได้แก่ รู้ว่า ‘นี้เป็น ปฐวีธาตุภายใน นี้เป็นปฐวีธาตุภายนอก นี้เป็นลักษณะ กิจ เหตุเกิด และที่เกิดแห่งปฐวีธาตุ’ หรือได้แก่กำหนดนามและรูป (๒) ตีรณปริญญา ได้แก่ พิจารณาเห็นว่า ‘ปฐวีธาตุมีอาการ ๔๐ คือ อาการไม่เที่ยง,เป็นทุกข์ เป็นโรค’ เป็นต้น หรือได้แก่ พิจารณากลาปะ (ความเป็นกลุ่มก้อน) เป็นต้น พิจารณาอนุโลมญาณเป็นที่สุด (๓) ปหานปริญญา ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตผล หรือได้แก่ ญาณในอริยมรรค เพราะปริญญา ๓ ประการนี้ไม่มีแก่ปุถุชน เขาจึงกำหนดหมายและยินดีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ
ภูติ=สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช
อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง=หมายถึงอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งทางใจ
ฌานสมาบัติ=สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง สมาบัติ มี ๘ อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ได้แก่ รูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
กามจิต=กาม (ความใคร่ วัตถุที่เป็นที่ตั้งของความใคร่) + จิตต (จิต) จิตที่ยังเป็นไปในกาม หมายถึง จิตที่ยังข้องในกาม คือมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือเป็นจิตที่เกิดในกามภูมิ ๑๑ เป็นส่วนมาก ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ คือ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ มหากุศลจิต ๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘
ภวสังโยชน์=สังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก)โอรัมภาคิสังโยชน์-สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
(๑)สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ คือตัวตน (๒)วิจิกิจฉา - มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (๓)สีลัพพตปรามาส - มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด
พระโสดาบัน ทำสังโยชน์ ๑-๓ ข้อให้สิ้นไปได้ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ ๑,๒,๓ ข้อให้สิ้นไปได้ และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
(๔) กามราคะ - มีความพอใจในกามคุณ (๕)ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง
พระอนาคามี ทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ข้อ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ให้สิ้นไปได้


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, พฤษภาคม, 2568, 01:03:22 PM

(ต่อหน้า๖/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

ข)อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ได้แก่
(๖) รูปราคะ - มีความพอใจในรูปสัญญา (๗)อรูปราคะ - มีความพอใจในอรูปสัญญา (๘)มานะ - มีความถือตัว ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ความรู้สึกสำคัญตัวว่าดีกว่า เลวกว่า หรือเสมอกัน (๙)อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน (๑๐)อวิชชา - มีความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ พระอรหันต์ ทำสังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง ๑๐ ข้อให้สิ้นไป
ตถาคต=ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ (๑) เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒)เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓)เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔)เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง (๕)เพราะทรงเห็นจริง(๖) เพราะตรัสวาจาจริง(๗) เพราะทรงทำจริง (๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก)
อนุตตรสัมมาฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิฌาน มีรายละเอียด คือ
ทรงได้ญาณ ๓ (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้) ได้แก่
 (๑)สัจจญาณ -ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒)กิจจญาณ - ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ (๓)กตญาณ -ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว
ญาณ ๓ในหมวดนี้ เนื่องด้วยอริยสัจ ๔ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ ๓ (ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ หรือ ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ) หรือ ปริวัฏฏ์ ๓ แห่งญาณทัสสนะ การปริวัฏฏ์ หรือวนรอบ ๓ นี้ เป็นไปในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเป็น ๑๒ ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการ ๑๒ พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ครบวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.
โคตม์=โคตมสูตร ว่าด้วยอาการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๓ อย่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง (๒) เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ (๓) เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ (คือ ความอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลสมแก่การปฏิบัติ) มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง แสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ (เช่นนั้น) โอวาทานุสาสนีของเรา จึงควรที่บุคคลจะพึงประพฤติกระทำตาม และควรที่ท่านทั้งหลายจะยินดี จะมีใจเป็นของตน จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณเทศนานี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว.
โคตมกเจดีย์=คือที่อยู่ของยักษ์ชื่อโคตมกะ
ปฏิสัมภิทา ๔=คือ ปัญญาแตกฉาน (๑)อัตถปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล (๒)ธัมมปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งในหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้
 (๓)นิรุตติปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ (๔)ปฏิภาณปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์
สหัสสีฯ=สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ คือ โลกธาตุขนาดเล็ก หมายถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แผ่รัศมีส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณ เท่าใด (พี้นที่โลกธาตุขนาดเล็ก วัดด้วยแสงอาทิตย์ที่ส่องไปถึง )โลกธาตุแบ่งได้ ๓ คือ (๑)สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก) (เอกภพ)
โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง
ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์ พันดวง, ดวงอาทิตย์ พันดวง, ภูเขาสิเนรุ พันลูก
(แดนมนุษย์ ๔ แห่ง) มี
ชมพูทวีป พันทวีป, อมรโคยาน พันทวีป, อุตรกุรุ พันทวีป, ปุพพวิเทหะ พันทวีป
(มหาสมุทร มหาราช)
มหาสมุทร สี่พัน, มหาราช สี่พัน
(เทวดากามภพ รูปภพ) มี
จาตุมมหาราชพันหนึ่ง, ดาวดึงส์พันหนึ่ง, ยามาพันหนึ่ง, ดุสิตพันหนึ่ง, นิมมานรดีพันหนึ่ง, ปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง, พรหมพันหนึ่ง
(๒)สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดกลาง)
โลกธาตุอย่างเล็ก x ๑,๐๐๐
(๓)ติสหัสสี มหาสหัสสี (โลกธาตุขนาดใหญ่)
โลกธาตุขนาดใหญ่=โลกธาตุอย่างกลาง x ๑,๐๐๐


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, พฤษภาคม, 2568, 09:25:20 AM

ประมวลธรรม :๓๒.ธัมมทายาทสูตร(สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม)

ละอออินทร์ฉันท์ ๒๑

  ๑.พุทธ์เจ้าเข้าพัก ณ "เชตฯ"ราม.....สิของ"อนาฯ"ประดางาม
วางและสร้างผลาม...........................เจาะพุทธ์องค์

  ๒.ทรงตรัสชัดสอนคณาสงฆ์...........มุ"ธัมมทาฯ"ซิมาทรง
ตรับและรับยง..................................ประพฤติตน

  ๓.เริ่มทาน,พานศีล,สมาธิ์ท้น............ลุมรรคผลนิพฯสิลิบดล
วอนซิสอนชน...................................ลุตามยาตร

  ๔.เหล่าสงฆ์จงเป็นซิทายาท.............เสาะทางธรรมแน่วและแผ้วกาจ
จำและย้ำคลาด.................................ลิ"อามิสฯ"

  ๕.สงฆ์คราอามิสฯนิกรริด.................ติสาวกเรามิเนากิจ
ธัมมทาฯปิด......................................เจาะเสียหาย

  ๖.ด้วยสงฆ์คงมุ่งประโยชน์มาย .......มิสอนชนบรรลุธรรมกราย
ถูกติเตียนหน่าย................................มิพลาด"เรา"

  ๗.พุทธ์องค์บ่งยกซิเรื่องเล่า..............พระองค์"ฉัน"เหลือจะเอื้อเขา
สงฆ์ซิสองเฝ้า....................................กระหายหิว

  ๘.พุทธ์เจ้าเร้า"ฉัน"ก็ได้ลิ่ว................ผิไม่ฉันจริงจะทิงปลิว
รูปซิแรกกิ่ว.......................................ตริทนนำ

  ๙.ด้วยตรับรับมรดกธรรม................มิจดอามิสฯมิฉันหนำ
อีกซิรูปด่ำ.........................................ก็รีบฉัน

  ๑๐.พุทธ์เจ้าเนาเสริญพระสงฆ์ดั้น.....เพราะยอมหิวกล้าซิน่าสรร
"อยาก"ชะงักงัน..................................เจาะสันโดษ

  ๑๑.ผู้ทำล้ำเพียรซิง่ายโปรด..............จะทำได้นานและพานโรจน์
ธัมมทาฯโชติ......................................เหมาะแน่นอน

  ๑๒.เมื่อพุทธ์องค์ทรงละหลีกจร.........พระสารีบุตรริรุดวอน
ถามพระสงฆ์ย้อน................................"วิเวก"เอย

  ๑๓.พุทธ์องค์ทรงแน่ววิเวกเผย...........เพราะเหตุเพียงใดพระสงฆ์เคย
มีกระทำเชย........................................และไม่ทำ

  ๑๔.สงฆ์หลายกรายขยายนำ..............พระสารีฯแจงแถลงคำ
ด้วยเพราะไกลงำ.................................จะจำใส่

  ๑๕.สารีบุตรรุดเฉลยไซร้...................."พระสงฆ์ไม่เรียนวิเวก"ไว
ไม่ละธรรมใด.......................................เลาะทิ้งเผย

  ๑๖."ผู้มักมาก,ย่อและหย่อน"เอย..........เจาะชอบนอน,เรื่องวิเวกเฉย
"โวกก์ฯ"ซิมากเคย.................................ละทิ้งงาน

  ๑๗.ผู้ทอดทิ้งไม่กระทำพาน.................วิเวกเช่นเถระติงพล่าน
บวชสิไม่นาน.........................................และบวชใหม่

  ๑๘.ถ้าสงฆ์บ่ง"ทำวิเวก"ไกล.................."ละธรรมควรทิ้ง"มลานไว
ผู้มิหย่อนไซร้.........................................จะถูกเสริญ

  ๑๙.ผู้ดำรงความสงัดเพลิน....................พระบวชกลาง,เถระถูกเยิน
บวชสิใหม่เดิน........................................พระพุทธฯนำ

  ๒๐.ครันสารีฯชี้เจาะทางพร่ำ.................สิทางสายกลางละธรรมช่ำ
โลภะ,โกรธหนำ......................................ลิบาปหนา


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, พฤษภาคม, 2568, 06:26:35 PM

(ต่อหน้า ๒/๓ ) ๓๒.ธัมมทายาทสูตร

   ๒๑.ทางกลางก่อจักษุเกิดกล้า.........ซิญาณยิ่งตรัสรู้นา
มรรคซิแปดพา..................................ลุนิพพาน

   ๒๒.ทางกลางวางตัดกิเลสผลาญ....สงบเพื่อตรัสรู้ชาญ
เพื่อเซาะเกื้อราน...............................หทัยหมอง

   ๒๓.รวมสิบหกอย่างกิเลสผอง.........ฤดีทุกข์ไม่สบายครอง
แม้สิหนึ่งต้อง....................................ริเร่าร้อน

   ๒๔."มีความโลภกับประทุษ"ซ่อน.....เจาะ"โกรธ,ผูกโกรธ"ซิโลดย้อน
"หลู่คุณา"จร.....................................และยกตน

   ๒๕.จิต"อิสสา"แล"ตระหนี่"ท้น.........กะ"มายา,โอ้และอวด"ชน
"ถัมภะ"ดื้อล้น....................................กุ"แข่งดี"

   ๒๖."คิดตนสำคัญ"ริ"หมิ่น"ปรี่..........และ"มัวหลง,ประมาท"คลี่
ปวงกิเลสชี้.......................................ลิสุขศานติ์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๙ -๓๗๐
           ๒)มจร. ๓. ธัมมทายาทสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://search.app/W2qnZ6brEihKP63JA

เชตฯ=เชตวนาราม เป็น วัดที่อนาถปิณฑิกคฤหบดี สร้างถวายพระพุทธเจ้า
ธัมมทาฯ=ธัมมทายาท หมายถึงผู้รับช่วงธรรมของพระพุทธเจ้ามารักษาไว้ด้วยการเล่าเรียนท่องบ่นทรงจำ นำไปประพฤติปฏิบัติตาม และแนะนำสั่งสอนผู้อื่นต่อๆไป หรือด้วยการปฏิบัติตามโดยเริ่มตั้งแต่ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาจนเข้าถึงมรรคผลนิพพานด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติและเข้าถึงเช่นนั้นด้วย
อามิสฯ=อามิสทายาท คือ อามิสทายาท คือบุคคลใด ๆ ในพุทธบริษัทที่มุ่งลาภสักการะ ไม่ศึกษา,ปฏิบัติธรรมจริงจัง ไม่บรรลุสภาวะธรรมที่ดีใด ๆ เลย แสวงหาประโยชน์เป็นล่ำเป็นสัน พวกนี้ตายแล้วมีอนาคตสามประการ คือ ไปเป็นเปรต ไปเป็นสัตว์ใช้แรงงาน ไปนรก หมดสิทธิ์ไปสวรรค์ นิพพาน จนกว่าจะใช้กรรมหมด
เรา=ในที่นี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า
วิเวก= คือความสงัด ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ ประการ คือ (๑)กายวิเวก-สงัดกาย (๒)จิตตวิเวก-สงัดจิต (๓)อุปธิวิเวก -สงัดกิเลส
ย่อหย่อน= หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน
โวกก์ฯ=โวกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ-ความพอใจในกาม (๒)พยาบาท-ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ-ความหดหู่และเซื่องซึม (๔)อุทธัจจกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ (๕)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย
ละทิ้งงาน=ทอดธุระ ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์, อนึ่ง หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก ๓ ประการ คือ กายวิเวก, จิตตวิเวก, และอุปธิวิเวก
เถระ=หมายถึง ภิกษุผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่าต้องมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ถ้าเป็นภิกษุณีเรียกว่าเถรี
ทางสายกลาง= คือ มัชฌิมาปฏิปทา มีความว่าพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว จะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้”
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า “ที่สุด ๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ คือ (๑)กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย -การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ (๒)อัตตกิลมถานุโยค-การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย "มัชฌิมาปฏิปทา"ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, พฤษภาคม, 2568, 07:52:57 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๓๒.ธัมมทายาทสูตร

มรรคมีองค์แปด=อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
(๑)สัมมาทิฏฐิ-เห็นชอบ (๒)สัมมาสังกัปปะ -ดำริชอบ(๓)สัมมาวาจา -เจรจาชอบ (๔)สัมมากัมมันตะ -กระทำชอบ (๕) สัมมาอาชีวะ -เลี้ยงชีพชอบ (๖)สัมมาวายามะ -พยายามชอบ(๗)สัมมาสติ -ระลึกชอบ (๘)สัมมาสมาธิ -ตั้งจิตมั่นชอบ นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไป เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
กิเลส ๑๖ อย่าง=เรียก อุปกิเลส ๑๖ หมายถึง ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง อุปกิเลส แสดงดังนี้ (๑)อภิชฌาวิสมโลภะ -ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่ จ้องละโมบ มุ่งแต่จะเอาให้ได้ (๒)พยาบาท -คิดหมายปองร้ายทำลายผู้อื่นให้เสียหายหรือพินาศ ยึดความเจ็บแค้นของตนเป็นอารมณ์ (๓)โกธะ- ความโกรธ จิตใจมีอาการพลุ่งพล่านเดือดดาล เมื่อถูกทำให้ไม่พอใจ (๔)อุปนาหะ -ความผูกเจ็บใจ เก็บความโกรธไว้ แต่ไม่คิดผูกใจที่จะทำลายเหมือนพยาบาท เป็นแต่ว่าจำการกระทำไว้ ไม่ยอมลืม ไม่ยอมปล่อย (๕)มักขะ -ความลบหลู่บุญคุณ ไม่รู้จักบุญคุณ , ลำเลิกบุญคุณ เช่น ถูกช่วยเหลือให้ได้ดิบได้ดี แต่กลับพูดว่า เขาไม่ได้ช่วยอะไรเลย หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า “คนอกตัญญู” (๖)ปลาสะ -ความตีเสมอ เอาตัวเราเข้าไปเทียบกับคนอื่น (๗)อิสสา- ความริษยา กระวนกระวายทนไม่ได้เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า (๘)มัจฉริยะ -ความตระหนี่หวงแหน แม้มีเรื่องจำเป็นต้องเสียสละแต่กลับไม่ยอม (๙)มายา -ความปกปิดสภาพธรรมความจริงในตน เช่นการกดความคิดความรู้สึกจริงๆไว้ไม่ให้รู้ชัด การพยายามไม่นึกถึง ไม่ตรงไปตรงมากับตนเอง และ ผู้อื่น (๑๐)สาเถยยะ -ความโอ้อวด (๑๑)ถัมภะ -ความหัวดื้อถือรั้น จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ยอมรับการช่วยเหลือหรือต่อต้านปฏิเสธสิ่งที่มีประโยชน์ (๑๒)สารัมภะ -ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดีให้อีกฝ่ายเสียศักดิ์ศรี ยื้อแย่งเอามาโดยปราศจากกติกาความยุติธรรม (๑๓)มานะ -ความสำคัญตัว ว่าเหนือกว่าเขา เสมอเขา หรือ ต่ำกว่าเขา (๑๔)อติมานะ -ความดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยามหรือดูถูก (๑๕)มทะ -ความมัวเมา ความหลงเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่ใช่สาระ ซึ่งมี ๔ ประการ ได้แก่ (๑๕.๑)เมาในชาติกำเนิดหรือฐานะตำแหน่ง (๑๕.๒)เมาในวัย (๑๕.๓)เมาในความแข็งแรงไม่มีโรค และ (๑๕.๔)เมาในทรัพย์ (๑๖)ปมาทะ -ความประมาทเลินเล่อ จมอยู่ในความประมาท ขาดสติกำกับ แยกดีชั่วไม่ออก
อุปกิเลส ทั้ง ๑๖ ประการนี้ แม้ประการใดประการหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจแล้วก็จะทำให้ใจสกปรกไม่ผ่องใสทันที และจะส่งผลให้เจ้าของใจหมดความสุขกายสบายใจ เกิดความเร่าร้อน หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว เต้นไปตามจังหวะที่อุปกิเลสนั้นๆ บงการให้เป็นไป


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤษภาคม, 2568, 08:51:01 AM

ประมวลธรรม : ๓๓.ภยเภรวสูตร(สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่น่ากลัว)

กาพย์มหาตุรงคธาวี

   ๑.พุทธ์เจ้าอยู่......"เชตวันฯ"ชู.....มีผู้สร้างถวาย
ชาณุพราหมณ์ฯ....เสริญความพุทธ์ฯกราย....ทรงช่วยเหลือ....ได้เอื้อผนวชเหล่าชน
พราหมณ์ทูลไซร้......ที่อยู่อาศัย......ป่าไกลทึบ,โปร่งยล
อยู่ยากชัด....สงัดยากท้น....อยู่โดดเดี่ยว....ก็เรียกภิรมย์ยากนา

   ๒.สมาธิ์ไกล......เขาจึงหวั่นไหว.......ป่าไซร้จูงจิตหนา
พุทธ์องค์เล่า....ครั้ง"เรา"เป็นนา....โพธิสัตว์....ยังชัดมิตรัสรู้เลย
ทรงคิดว่า......พราหมณ์,นักพรตกล้า......กายหาสะอาดเผย
เมื่ออยู่ป่า....มิกล้ากลัวเอย....ยังคงขลาด....เพราะยาตรอกุศลแล

   ๓.ส่วนพระองค์......กายสะอาดบ่ง......ได้ทรง"อริยะ"แฉ
พระอริยะ....เช่นพระองค์แน่....สาวกรอด....จึงปลอดภัยในพนา
พุทธองค์ย้ำ......ผู้"วจีกรรม".......ยังซ้ำ"มโนธรรม"หนา
เลี้ยงชีพมิ....บริสุทธิ์พา....อกุศล....จึงดลหวาดหวั่นกลัวภัย

   ๔.พุทธ์องค์คลี่.......อริยะชี้.......ชีพนี้สะอาดไซร้
เลี้ยงชีพดี....เมื่อรี่ป่าไกล....ปลอดภัยยิ่ง....เกรงทิ้งไปไม่หวั่นกลัว
ทรงเสริมเล่า......ผู้อยากของเขา......ยังเฝ้ากำหนัดรั่ว
ในกามคุณ....ย่อมตุนสิ่งมัว....อกุศล....ภัยล้นเกรงในวนา

   ๕.อริยะไซร้......มิเพ่งของใคร.......ป่าไหนก็ปลอดภัยหนา
พุทธ์เจ้ากล่าว....ใครฉาวร้ายกล้า....จิตวิบัติ....คิดชัดทำร้ายชนเอย
อยู่พงไพร......เขาย่อมขลาดไซร้......จิตไหวหวาดหวั่นเกรงเผย
อริยะยาตร....ไม่ขลาดใดเลย....เพราะเมตตา....จึงพาปลอดภัยในพงพี

   ๖.พุทธ์องค์ปะ......ใคร"ถีนะฯ"ฉะ......จิตจะหดหู่ปรี่
เซื่องซึมกรู....เมื่ออยู่ป่ารี่....ถีนะฯรุม....กลัวสุมในอกมิคลาย
ความหวาดกลัว......อกุศลมัว......เหตุจั่วถีนะฯรุมผาย
อริยะ....ถีนะฯวอดวาย....จึงพ้นภัย....ในป่าโปร่ง,ป่าทึบแล

   ๗.พุทธ์เจ้าตรัส......ผู้"ฟุ้งซ่าน"จัด.....จิตปัดสงบแฉ
เหตุทำให้....กลัวไหวหวั่นแล....ในป่าลึก....จึงนึกคิดฟุ้งไปไกล
เพราะโทษตน......เกิดฟุ้งซ่านท้น.....จิตพ้นไม่นิ่งไข
อริยะ....จิตสงบไว....ปลอดภัยจัง....อยู่ยั้งป่าไหนมิเกรง

   ๘.ทรงกล่าวไว้......"ผู้เคลือบแคลงใจ.....สงสัย"มักกลัวเผง
แต่เรากะ....อริยะข้ามเด้ง....ความสงสัย...."กลัว"ไม่มีในป่าเอย
"ผู้ยกตน......ข่มผู้อื่น"ท้น......มิพ้นหวาดในป่าเผย
อริยะ....มิปะข่มเลย....จึงพ้นภัย....ห่างไกลนิรันตราย

   ๙.พุทธ์องค์จั่ว.....ผู้สะดุ้งกลัว.....ขลาดมัวในป่าชัฏผาย
อริยะ....หนีผละกลัววาย....ไร้สยอง....ขนพองจึงปลอดภัยนา
"ผู้อยากลาภ,.....การสรรเสริญ"ทาบ.....ย่อมวาบกลัว,ขลาดหนา
อริยะ....ได้ละ"อยาก"นา....ผู้มักน้อย....ไม่คอยลาภกลัวไม่มี

   ๑๐.ทรงกล่าวว่า......"ผู้เกียจคร้านนา"......เพียรกล้าไร้กลัวรี่
แต่"เรา"กะ....อริยะ"เพียรคลี่"....กิเลสล้าง....สว่างใจจึงมิกลัว
ทรงกล่าวผู้......ขาด"สติชู......หย่อนกู้สัมป์ชัญญ์ฯ"มัว
ระลึกไร้....เขาไม่รู้ตัว....จึงต้องขลาด....เกรงยาตรอยู่ในป่าไกล

   ๑๑.แต่พุทธ์องค์......และอริยวงค์.....สติคงมั่นไม่หวั่นไหว
กลัวไม่เล็ง....มิเกร็งภัยใด....มาแผ้วพาน....สราญในพนาวัน
ทรงกล่าวผล........ใครจิตดิ้นรน.......แกว่งท้นจึงกลัวหวั่น
อริยะ....มีสมาธิ์ครัน....สมบูรณ์ไซร้....จิตไม่ส่ายจึงปลอดภัย

   ๑๒.พุทธ์เจ้าเกลา.......ไร้ปัญญา,เขลา......จะเนาด้วยกลัวไข
อริยะหนา....ปัญญายิ่งไว.....ไร้ขลาดกลัว.....จึงจั่วรอดในอารัญ
กล่าวมาแล้ว.......สะดุ้งกลัวแน่ว......โทษแจวสิบหกหวั่น
พระโพธิ์สัตว์......ชัดไร้โทษนั้น.....ไม่ขนพอง....อยู่ครองในป่าสบาย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤษภาคม, 2568, 07:44:22 PM

(ต่อหน้า ๒/๔)๓๓.ภยเภรวสูตร

   ๑๓.แล้วทรงเล่า......ความคิดครั้งเก่า......ก่อน"เรา"ตรัสรู้ฉาย
เผชิญความกลัว....ระรัวอยู่กราย....ในสถาน....ที่พานสะพรึงกลัวเอย
คืนวันมา......สิบสี่,สิบห้า......อีกหนาแปดค่ำเผย
คราสัตว์ใกล้....กิ่งไม้ร่วงเอย....ใบไม้ปลิว....ลมฉิวพัดหล่นลงครัน

   ๑๔.สิ่งน่าขาม......กำลังมาลาม......คงตามอาการนั้น
เช่น"เดิน"กรู...."นั่ง"อยู่"เดิน"พลัน....ไม่เปลี่ยนท่า....แน่วอาการอย่างเดิมเอย
เพื่อขจัด.......ความกลัวรัวชัด......ปัดสิ่งน่ากลัวเผย
แล้วพระองค์....ก็ทรงทำเลย....ตามที่คิด....พินิจยิ่งทุกประการ

   ๑๕.พุทธ์เจ้าบ่ง......บางคนจะหลง......พะวงเวลาขาน
"กลางคืน"เป็น....วันเด่นเห็นพาน....แต่กลางวัน....คิดพลันว่ากลางคืนแล
แต่"เรา"ไซร้.......สัตว์มิหลงไกล......เข้าใจกาลถูกแน่
ควรกล่าวไว้....สัตว์ไม่หลงแท้....เกิดในโลก....เป็นโชคเกื้อมนุษย์เอย

   ๑๖.พุทธ์องค์เล่า.....ทรงพากเพียรเนา.....ใจเฝ้าไม่ท้อเผย
สติมั่น....มิฟั่นเฟือนเลย....จิตระงับ....ไม่กระสับกระส่ายราน
สมาธิ์ท้น......ผละอกุศล......ลุดล"ปฐมฌาน"
"วิตก"เกิด....มีเริด"วิจาร"....มีปีติ....สุขรี่จากสงัดเจียว

   ๑๗.คราวิตก,.......วิจารเลิกปรก.......เอื้อยก"ทุติฯ"เชี่ยว
เกิดผ่องใส....มีใจหนึ่งเดียว....เหลือปีติ....สุขริเกิดจากสมาธิ์
ปีติคลาย......"ตติย์ฌานฯ"กราย......มีปรายอุเบกขา
สติดะ....สัมปชัญญ์นา....เสวยสุข....ด้วยชุก"นามกาย"แล

   ๑๘.เมื่อโสมนัส......โทมนัสชัด......ดับ,ตัดสุข,ทุกข์แฉ
ลุฌานสี่....ถึงรี่เร็วแน่....สติสะอาด....เพราะยาตรอุเบกขาเอย
เมื่อจิตเป็น......สมาธิ์เน้น......ใจเด่นผุดผ่องเผย
กิเลสไร้....ไกล"ดังเนิน"เปรย....จิตตั้งมั่น....ไม่หวั่นเศร้าหมองปลดปลง

   ๑๙.ทรงน้อมนึก......สู่"ปุพเพฯ"ตรึก......ระลึกชาติก่อนบ่ง
หนึ่ง-แสนชัด...."สังวัฏฏกัป"ส่ง...."วิวัฏฏ์กัป"....มุ่งนับได้ทั้งหมดการ
ภพโน้นมี.......ชื่ออย่างนั้นคลี่......ทุกข์ปรี่อย่างใดขาน
จากภพนั้น....ถลันภพนี้พาน....บรรลุนา....วิชชาหนึ่งคราต้นยาม

   ๒๐.ตัด"อวิชชา"......"วิชชา"ลุหนา......มืดพร่าสว่างมาตาม
ไม่ประมาท....ทรงยาตรเพียรลาม....สมาธิ์ชิด....อุทิศกาย,ใจมั่นคง
จิตสมาธิ์......บริสุทธิ์นา......มิหนากิเลสส่ง
จิตอ่อนควร....เหมาะด่วนใช้ตรง....จิตตั้งมั่น....เร็วหวั่นมิหวั่นไหวครา

   ๒๑.ทรงน้อมจิต......เพื่อ"จุตูฯ"ชิด.....ตรึกพิศเกิด-ตายหนา
ของหมู่สัตว์....เกิดชัดต่ำนา....ชั้นสูงรี่....เกิดดีหรือมิดีแล
ด้วยตาทิพย์.......บริสุทธิ์ลิบ......เหนือกริบมนุษย์แฉ
สัตว์พูดชั่ว....มัวกาย,ใจแน่....ตายแล้วด่ำ....ถลำเกิดในอบาย

   ๒๒.กอปรกรรมดี......กาย,ใจ,พูดปรี่.....มิรี่ร้ายใครผาย
ชวนผู้อื่น....ยืนทำดีกราย....เมื่อตายแล้ว....ไม่แคล้วสุคติเอย
ทรงรู้ล้ำ......สัตว์ไปตามกรรม......จริงด่ำเช่นนี้เผย
นี่วิชชา....สองนาลุเกย....ในยามกลาง....ทรงวางเพียรมั่นต่อไป

   ๒๓.พุทธ์องค์น้อม......สู่"อาสวักฯ"ค้อม.....ลุพร้อมยามท้ายไข
รู้ความจริง....ทุกสิ่งคือใด....สมุทัยฯ....เหตุไซร้ทุกข์ควรตัดแล
นิโรธฯชัด......ดับเหตุทุกข์ปัด......สลัดทิ้งสิ้นแท้
"นิโรธคาฯ"....ทางพาดับแน่....ทุกข์ทั้งมวล....มรรคล้วนทางประเสริฐเอย

   ๒๔.ทรงรู้นา......จิตพ้น"กามาฯ"......ระดาจากกามผาย
พ้น"ภวาฯ"ไว....จิตไกล"ภพ"เอ่ย...."เกิด"สิ้นสุด....มิรุดอีกต่อไปครัน
พ้น"อวิชฯ".......ความไม่รู้ปิด.....ประชิด"วิชชา"สรรค์
ทรงรู้แน่ว...."ชาติ"แผ่วสิ้นกัน...."พรหมจรรย์"จบ....รู้ครบอริยสัจสี่แล

   ๒๕.ทรงรู้ว่า......"ทำกิจครบ"หนา......ฆ่ากิเลสสิ้นแฉ
"กิจอื่นใด"....ไซร้มิมีแน่....เพราะลุชัด....อรหัตผลสุดแล้วเอย
อาสวักฯชัด......อวิชชาตัด.......ก่อลัดวิชชาเผย
ตัด"มืด"พราง...."สว่าง"แทนเอย....มิประมาท....ทางยาตรเพียรมั่นจริง


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, พฤษภาคม, 2568, 07:46:21 AM

(ต่อหน้า ๓/๔ ) ๓๓.ภยเภรวสูตร

   ๒๖.พุทธ์เจ้าหวัง.....พราหมณ์อาจคิดหยั่ง.....
."เรา"ยังมิปราศสิ่ง
คือราคะ....โทสะโกรธดื่ง....อีกโมหะ....มัวปะหลงจึงอยู่ดง
อย่าพึ่งคิด......เช่นนั้นเป็นนิตย์....."เรา"พิศประโยชน์ส่ง
ตนเป็นสุข....และรุกช่วยง....ผู้เกิดหลัง....จึงยังอยู่ในไพรวัน

   ๒๗.ชาณุฯทูล......ทรงเกื้ออาดูลย์......คนปูนหลังแล้วครัน
"โคดม"นา....แจงภาษิตสรร....ชัดเจนเหมาะ....ไพเราะเสนาะยิ่งเอย
เปรียบเหมือนหงาย.....ของที่คว่ำพราย.....เปิดง่ายของปิดเผย
บอกทางรี่....ผู้ที่หลงเลย....ตามดวงไฟ....ในที่มืดสว่างแล

   ๒๘.ข้าพระองค์......ชาณุมั่นบ่ง.....ดำราอุบาฯแน่
ถึงโคดม....บ่มพระธรรมแล....และพระสงฆ์....จำนงยึดที่พึ่งนา
ขอทรงจำ.......ข้าพระองค์หนำ......เป็นล้ำอุบาสกหนา
สรณะ....ปะแก่ตัวข้า....แต่วันนี้....ถึงรี่ตลอดชีพเทอญ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๗๐ -๓๗๑
           ๒)มจร.๔ ภยภรวสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=4https://

เชตวันฯ=เชตวนาราม คือ วัดที่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างถวายพระพุทธเจ้า
ชาณุพราหมณ์ฯ=ชาณุสโสณิพราหมณ์
ป่าโปร่ง=อรญฺญ คือป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู
ป่าทึบ= วนปตฺ คือสถานที่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป
วิเวก=ความสงัด ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(สงัดกาย)
สมาธิ์=สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ(เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย) หรืออัปปนาสมาธิ(สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป)
พระโพธิสัตว์= คือ บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
เหตุแห่งความสะดุ้งกลัว เมื่ออยู่เสนาสนะอันสงัด  ๑๖ ประการ คือ
(๑)มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ (๒)มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (๓)มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ (๔)มีการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์ (๕)มีปกติเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (๖)มีจิตพยาบาท  มีความดำริชั่วร้าย ปราศจากเมตตา (๗)ถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) กลุ้มรุม (๘)เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ (๙)เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย (๑๐)เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น (๑๑)เป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด (๑๒)เป็นผู้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ (๑๓)เป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร (๑๔)เป็นผู้ขาดสติสัมปชัญญะ (๑๕)มีจิตไม่ตั้งมั่น ดิ้นรนกวัดแกว่ง (๑๖)เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
กายสะอาด=กายกรรม ๓ หมายถึง การประพฤติชอบทางกาย คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม
อริยะ=พระอริยะ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก ที่ชื่อว่าพระอริยะเพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม ดำเนินไปแต่ในทางเจริญ เป็นผู้ที่ชาวโลกและเทวโลกควรดำเนินตาม
วจีกรรม ๔=คือ การกระทําทางวาจา (๑)มุสาวาท - การพูดปด (๒)สุณาวาจา - วาจาส่อเสียด ยุยงให้แตกสามัคคี (๓)ผรุสวาจา -การพูดจาหยาบคาย (๔)สัมผัปปลาปะ -คําพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ
มโนกรรม ๓= การกระทําทางใจ คือ (๑)อภิชฌา-การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา (๒)พยาบาท -การคิดร้ายต่อผู้อื่น (๓)มิจฉาทิฐิ -การเห็นผิดจากคลองธรรม
ถีนะฯ=ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม
ความเพียร=ในที่นี้ตถาคต และ พระอริยะ มีความเพียรที่บริบูรณ์ และประคับประคองไว้สม่ำเสมอ ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก มีความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, พฤษภาคม, 2568, 04:12:28 PM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๓๓.ภยเภรวสูตร

ความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน”  และ ทำความเพียรทางจิต เช่น เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”
ฌาน=คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
ฌาน ๔=หมายถึง รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
(๑)ปฐมฌาน -ฌานที่ มีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ วิตก(ความ ตรึก), วิจาร(ความตรอง), ปีติ(ความอิ่มใจ), สุข(ความสุขกายสุขใจ) และเอกัคคตา(ความมีอารมณ์ เป็นหนึ่งเดียว) จะมีความสุขเกิดจากความสงัด
(๒)ทุติยฌาน -ฌานที่ ๒ ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา มีความสุขเกิดจากสมาธิ
(๓)ตติยฌาน -ฌานที่ ๓ ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา จะเสวยสุขด้วยนามกาย(คือสรรพสิ่งที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ เช่น จิตเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น)
(๔)จตุตถฌาน -ฌานที่ ๔ ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา ดับโสมนัส โทมนัส ไร้สุขไร้ทุกข์ มีแต่สติบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขา
กิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) =หมายถึงกิเลสเพียงดังเนินคือราคะ โทสะ โมหะ มลทิน หรือเปือกตม ที่บางแห่ง คือพื้นที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น แต่ในที่นี้ ท่านพระสารีบุตรประสงค์เอากิเลสอย่างเผ็ดร้อนานัปการว่า กิเลสเพียงดังเนิน
สังวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
วิวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังฟื้นขึ้นมาใหม่
วิชชา ๓ (ญาณ ๓)= ได้แก่
(๑)ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้ระลึกชาติ รู้ชาติในอดีต รู้ภพในอดีตได้
(ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น)
(๒)จุตูปปาตญาณ (รู้การจุติ การอุบัติ รู้ภพใหม่ ด้วยทิพย์จักษุ)
รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม
(๓)อาสวักขยญาณ (รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นภพ) จิตโน้มไปเพื่ออาสวักขยาน ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จิตย่อมหลุดพ้น มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อริยสัจ ๔ =ความจริงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ทรงแสดงแก่นักบวชปัญจวัคคีย์ว่า
(๑)ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ ความไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนาเป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ ความยึดมั่นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๒)ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือเหตุทุกข์ ได้แก่ ตัณหาอันนำไปเกิดอีก โดยเป็นความเพลิดเพลินและความกำหนัด ทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
(๓)ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความที่ตัณหาดับไปอย่างไม่มีเหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสลัดทิ้ง ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
(๔)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
อาสวะ =กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อ ประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๔ อย่าง คือ (๑)กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓)ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ (๔)อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, มิถุนายน, 2568, 03:27:16 PM
ประมวลธรรม : ๓๔.อนังคณสูตร (สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส)

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.พุทธ์เจ้าทรงยั้งหนา.........."เชตวนา"พรักพร้อมเหล่าสงฆ์
"สาริบุตร"เทศน์บ่ง..................กิเลสคนท้นสี่พวกอิง
"มีกิเลส,ไม่รู้...........................ความจริง"ชูชัด"เลว"ยลยิ่ง
"มีกิเลส,รู้จริง.........................ตนมีอยู่ดูประเสริฐแล

   ๒."กิเลสไม่มีกู่.....................และไม่รู้จริง"ไม่มีแฉ
จัดเป็นเช่นเลวแล้...................เหมือนกิเลสมีมิรู้ตน
"ไร้กิเลส"รู้จริง.......................ว่าตนดิ่งไร้กิเลสผล
จึงล้ำเลิศรุดดล......................ยิ่งกว่าพวกไร้กิเลสเอย

   ๓."โมคคัลลาฯ"ถามถึง.........ดี,เลวซึ่งแตกต่างกันเผย
สาริบุตรรุดเอ่ย......................สองพวกไม่รู้ความเป็นจริง
ผู้มี"ราคะ"ล้น.........................โกรธ,หลงดลปนเร่าร้อนยิ่ง
จิตเศร้าหมองหม่นยิ่ง.............เมื่อความตายกรายมาถึงครา

   ๔.ส่วนสองพวกรู้ตาม...........ความจริงลามมุ่งมั่นละหนา
กิเลสหลายคลายพา..............ไร้กิเลสไม่เศร้าคราตาย
สาริบุตรแจงชื่อ.....................กิเลสคือ"อังคณะ"ผาย
"เปรียบดังเนิน"ขยาย.............อกุศลบาปธรรม,อยากแล

   ๕.สาริบุตรแจงมา................ปรารถนากล้าภิกษุแฉ
ผิดทางสิบสามแล้..................ความโกรธ,พอใจไซร้ตามมา
เช่นสงฆ์บ่งอาบัติ...................ปิดชัดสงฆ์อื่นไป่รู้หนา
เมื่อสงฆ์อื่นรู้นา......................จึงผูกโกรธโลดไม่ชื่นเอย

   ๖.ตนถูกประนามรุม.............ที่ประชุมสงฆ์,จึ่งโกรธเผย
แทนจะติงลับเปรย..................กลับเปิด,เป็นอังคณะแล
ศาสดาทรงสอบถาม...............สงฆ์อื่นความแล้วจึงสอนแผ่
มิถามตนบ้างแล้......................จึงโกรธเป็นอังคณะเอย

   ๗.เห็นสงฆ์อื่นได้ภัตร............อันเลิศชัดตนมิได้เผย
เห็นสงฆ์อื่นเทศน์เอ่ย...............แก่ชนไยตนมิได้แล
พึงอยากให้ชนหนา..................เฝ้าบูชาแก่ตนเองแฉ
ไม่สักการะแน่..........................สงฆ์อื่น,เป็นอังคณะนา

   ๘.สงฆ์คิดควรเป็นผู้...............สอนชูสงฆ์อื่นเหมาะกว่าหนา
คิดว่าที่อยู่นา............................ด้อยกว่าสงฆ์อื่นมิพอใจ
สงฆ์คิดไร้จีวร...........................ประณีตหย่อน,อังคณะไข
ไม่ได้เภสัชไซร้.........................เหมือนสงฆ์อื่น,อังคณะแล

   ๙.สาริบุตรแสดง....................สงฆ์แฝงอยู่ป่านุ่งห่มแฉ
สีหมองคล้ำเคร่งแท้..................แต่ยังละบาปมิได้เลย
เพื่อนสงฆ์มิเคารพ....................เลิกนบไหว้รังเกียจเผย
ละอกุศลเลย............................ไม่อยู่ป่าเคร่งชนก็ชม

   ๑๐.โมคคัลลานะเสริญ...........สาริฯเพลินแจงเหมาะสม
เหมือนช่างถากไม้คม................บ่มใจสงฆ์กิเลสหนาปลง
ส่วนสงฆ์ไร้กิเลส.......................วิเศษคล้ายได้มาลัยส่ง
ลิ้มรสพระธรรมยง.....................อิ่มเอมทั้งปากและใจ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๗๑ -๓๗๒


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, มิถุนายน, 2568, 08:46:36 AM

(ต่อหน้า ๒/๒) ๓๔.อนังคณสูตร
                             
เชตวนา=เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
สาริบุตร,สาริฯ= พระสาริบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ของ พระโคดมพุทธเจ้า ด้านเลิศด้วยปัญญา
โมคคัลลาฯ,โมคคัลลานะ = พระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ของ พระโคดมพุทธเจ้า ผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์
บุคคล ๔ ประเภท = ได้แก่
(๑)บางคน มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า มีกิเลสภายในตน เป็นบุรุษเลวทราม เพราะเขาจะไม่พยายาม จะไม่ทำความเพียร เพื่อละกิเลส เขาจะเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมองทำกาละ
(๒) บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน และรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
(๓) บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
(๔) บางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลที่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
บุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’  บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นคนเลว'
อังคณะ = ชื่อของอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล หมายถึง กิเลสดุจเนิน ๓ อย่าง พุทธองค์ตรัสเรียกว่า อังคณะ เป็นเหมือนเนิน หรือ กิเลสเพียงดังเนินได้แก่ ราคะ, โทสะ, โมหะ (กิเลสในที่บางแห่งหมายถึงมลทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเปลือกตม ดังที่ตรัสไว้ว่า พยายามเพื่อจะละมลทินหรือเปลือกตมนั้นนั่นแหละ)


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, มิถุนายน, 2568, 06:51:10 PM

ประมวลธรรม : ๓๕.อากังเขยยสูตร (สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ)

ตการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.พระพุทธเจ้าประทับ"เชตว์นาฯ".........ทรงแสดงพระธรรมปาฏิโมกข์
ภิกษุเคร่งกะศีลพูนมิโยก.........................ไม่ละเมิดสิ"อาจาระ"ฟัง

   ๒.จงระวังและคุมกาย,วจี.......................ใจพะพร้อมสิศีลชี้สะพรั่ง
เว้นมิท่องอโคจรเพราะชัง.........................ภิกษุต้องเสาะเลี้ยงชีพสะอาด

   ๓.ภิกษุจงตริภัยโทษสิแม้.......................น้อยและป้องประพฤติแน่มิพลาด
ตั้งหทัยสมาทานและยาตร.......................เรียนขยันกะสิกขาสิหนา

   ๔.พุทธองค์แนะสิบเจ็ดสิหวัง.................ภิกษุศีลพิบูลย์จังซิคว้า
บรรลุผลประสิทธิ์ชิดเพราะฝ่า.................ปาฏิโมกข์และศีลมั่นขยาย

   ๕.ภิกษุหวังสิคำยอเจาะอยาก................ใฝ่รตีและรักจากสหาย
ศีลมิขาดตริสมบูรณ์ขจาย........................ใจสงบวิปัสส์นามิห่าง

   ๖.เพื่อกิเลสละทั้งหมดจะกราย...............ใกล้ซิฌานอุดมปลายสล้าง
พูนทวีนะ"เรือนว่าง"เจาะวาง......................ตรึกพิจารณ์มุ"กัมมัฏฯ"ลุวัน

   ๗.ภิกษุหวังเสาะบิณฑ์,ยาสิเลิศ..............มีเจาะอัฏฐะของเชิดประจัน
ศีลสะอาดสงบจิตใจมิผัน..........................ต้องวิปัสสนาเคียงกะฌาน

   ๘.ภิกษุหวังมุให้บิณฑบาตร....................อานิสงส์และผลยาตรสราญ
ศีลริพูนสงัดใจกสานติ์..............................ทำวิปัสฯเสาะเรือนว่างวิบูลย์

   ๙.หวังซิญาติฯละลับแล้วระลึก...............ถึงซิเราก็บุญนึกและพูน
ศีลสะอาดสงบใจพิบูลย์............................ไม่ละทิ้งกะฌานมั่นเสถียร

   ๑๐.ภิกษุหวังจะข่มซึ่งรตี........................ให้ลิสิ้นจะต้องคลี่ริเพียร
ศีลสะอาดตริกัมมัฏฯวิเชียร.......................คืนและวันวิปัสส์นาประสงค์

   ๑๑.ภิกษุหวังชโยเลิกขยาด....................กลัวพิชิตเด็ดขาดยะยง
สีละครบวิปัสฯกล้าจะส่ง...........................หวาดขจัดเซาะสิ้นไม่เผยอ

   ๑๒.ภิกษุหวังลุฌานสี่สมาธิ์ฯ...................เพื่อสุขีมิยากนานะเออ
ควรประพฤติเจาะศีลมั่นมิเผลอ..................จ่อวิปัสสนาแน่วไสว

   ๑๓.หากเจาะหวังวิโมกข์ธรรมสงบ...........ฌานอรูปจะต้องครบละไม
ผ่านเลาะรูปฌานก่อนจะไป........................สีละมั่นวิปัสส์นาคุณา

   ๑๔.ภิกษุหวังลุ"โสดาฯ"เพราะโลด............ตัดละสามติสังโยชน์ซิหนา
ไม่ลุต่ำ"อบาย"ปิดจะหา..............................ทางลุโพธิฯกาลหน้าฉมัง

   ๑๕.ควรนุรักษ์กะศีลวิบูลย์.......................พึงสงบหทัยพูนระวัง
เร่งวิปัสสนาแน่วซิขลัง................................เรือนมิว่าง ณ คืนวันเจริญ

   ๑๖.ภิกษุหวัง"สก์ทาคาฯ"เพราะโชติ..........ตัดละผูกติสังโยชน์เผดิน
"ราคะ,โทสะ,หลง"บางซิเหิน.........................คืน ณ โลกซิครั้งเดียวก็พาน

   ๑๗.บรรลุสุดนิร์วาณมิช้า..........................หมดกิเลสละทุกข์หล้าสราญ
ควรผดุงเจาะศีลเคร่งพิจารณ์......................หมั่นวิปัสส์ฯฤดีนิ่งกศานติ์

   ๑๘.ภิกษุหวังเลาะ"โอปปาฯ"เพราะโดด......ตัดละปัญจะสังโยชน์มลาน
พึงจะบรรลุนิพพานอุฬาร.............................พรหมโลกซิแน่นอนมิหวน

   ๑๙.ไม่ปะโลกมนุษย์ประชัน......................มากพลังเจาะศีลมั่นเหมาะถ้วน
เรือนเสาะว่างซิวันคืนตริล้วน........................โดยวิปัสสนาแน่วขยัน

   ๒๐.หวังวิธีแสดงฤทธิ์คละท้น.....................เดี่ยวซิกลายหละหลายคนปะพลัน
เดินปรุผ่านประตูไม่ชะงัน.............................ผุดและดำเจาะแผ่นดินสถล

   ๒๑.ท่องนที บ รอยแยกคะคล้าย................เดินเลาะปัฏพีง่ายผจญ
พรหมโลกเหาะกายไปก็ยล..........................เสร็จเพราะศีลวิปัสส์นาถลัน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, มิถุนายน, 2568, 07:05:46 AM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๓๕. อากังเขยยสูตร

   ๒๒.ภิกษุหวังจะยินเสียงมนุษย์...........โสตทิพย์ซิไกลผุดกระชั้น
เก่งซิเหนือมนุษย์โลกจะดั้น..................ศีลวิปัสสนาทางลุใส

   ๒๓.ภิกษุหวังจะรู้ใจมนุษย์.................สัตว์หละหลายจะคิดรุดอะไร
ราคะ,โทสะ,หลงมัวไฉน........................มีรึไม่ก็รู้ดีนะเอย

   ๒๔."จิตมหัคค์ตะ"อารมณ์ยะยิ่ง..........รูปฯอรูปฯประเสริฐดิ่งและเชย
จิตมิยิ่งรึยิ่งรู้ก็เผย................................จิตตะยิ่งและเหนือกว่าก็ขาน

   ๒๕.จิตสมาธิมั่นหรือไฉน...................จิตละพ้นมิพ้นไกลก็พาน
รู้ตระหนักหทัยเขาฉะฉาน....................ศีลวิปัสสนาพร้อมลุผล

   ๒๖.ภิกษุหวังระลึกชาติสิหนึ่ง.............ได้ปะหลายดะแสนถึงและยล
โพ้นซิกัปเจอะ"สังวัฏฏ์"ทุรน..................โลกพินาศและเสื่อมจนสลาย

   ๒๗.อีกวิวัฏฏกัปซึ่งเจริญ....................กัปอุบัติชิวิตเดินขจาย
ทราบวะแต่ละชาติเคยจะกราย.............เป็นอะไรสินามใดซิหนอ

   ๒๘.คราผละภพซิสุดท้ายประหวัด......ใจระลึกซิแจ้งชัดละออ
เหตุและผลอุบัติมาก็จ่อ.........................ศีลวิปัสสนาทางสว่าง

   ๒๙.ภิกษุหวังเจาะเห็นสัตว์จะตาย........แล้วอุบัติซิใหม่กรายกระจ่าง
จักขุทิพย์ซิเกิดดีมิพราง........................หรือมิดีเพราะกรรมดลมิหนี

   ๓๐.สัตว์ประพฤติสิกายชั่วสยาย.........ใจ,วจีซิใส่ร้ายอรีย์ฯ
ทิฏฐิชวนนิกรผิดทวี...............................ตายลุในอบายทุกข์จิรัง

   ๓๑.สัตว์ประกอบกุศลกรรมติทาง.........กาย,มโน,วจีพร่างพลัง
เสริญอรียะเห็นถูกแนะหวัง.....................สอนนรากระทำตามมิแฝง

   ๓๒.กอปรกุศลสิดียิ่งละขันธ์.................สู่สวรรค์สุขีครันแสดง
พุทธเจ้าสิกล่าวเด่นแถลง........................ศีลวิปัสสนาแน่วมิเชือน

   ๓๓.ภิกษุหวังเจาะ"เจโตฯ"ละชัด............ด้วย"สมาถะกัมมัฏฐ์ฯ"เสมือน
ราคะพ้นและธรรมอื่นสะเทือน.................จึงละพ้นอราหัตต์ลุผล

   ๓๔.ควรจะแจ้งซิ"ปัญญาวิมุติ"...............ด้วยวิปัสสนารุดลุพ้น
หมดกิเลส,อวิชชาสกล............................สงฆ์ตริศีลวิปัสส์นาเสมอ

   ๓๕.พุทธองค์สิตรัสชัดอะดูรย์...............ปาฏิโมกข์ซิสมบูรณ์จะเลอ
พึงคะนึงกะศีลแน่วมิเผลอ........................ไม่ละเมิดวจี,ใจและกาย

   ๓๖.หนีละทางอโคจรเพราะโทษ............ถึงจะน้อยระวังโฉดกระจาย
จงริกรานกะสิกขาหละหลาย....................ภิกษุชมสุภาษิตพระองค์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา  มจร.๖.อากังเขยยสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=6

เชตว์นาฯ =เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
ปาติโมกข์ = คือ คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
(๑)ไม่มีภิกษุจำปาติโมกข์ได้จนจบ
(๒)เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่า อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้งสิบ คือ พระราชาเสด็จมา, โจรมาปล้น,ไฟไหม้, น้ำหลากมา, คนมามาก, ผีเข้าภิกษุ, สัตว์ร้ายเข้ามา, งูร้ายเลื้อยเข้ามา, ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต, มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
อาจาระ = ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง, รวมการที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ
โคจร = การไม่เที่ยวไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา; การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย เช่น พระราชา; การไม่คบหากับตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา
วิปัสสนา = หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ
(๑) อนิจจานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
(๒) ทุกขานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
(๓) อนัตตานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน
(๔) นิพพิทานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย
(๕) วิราคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
(๖) นิโรธานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความดับกิเลส
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งกิเลส


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, มิถุนายน, 2568, 12:12:43 PM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๓๕.อากังเขยยสูตร
 
เพิ่มพูนเรือนว่าง = ในที่นี้หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าไปสู่เรือนว่างนั่งพิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วย วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ญาติฯ = ญาติสาโลหิต หมายถึงบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น
สมาธิ์ฯ = อุปจารสมาธิ หรือ อภิเจตสิก หมายถึง เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย
โสดาฯ = โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
สังโยชน์ = คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ (๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้
พระสกทาคามี ละสังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ และทำสังโยชน์ที่ ๔, ๕ ให้เบาบาง
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๑ - ๕ ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ
อบาย = ไม่มีทางตกต่ำ หมายถึงไม่ตกไปในอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และพวกอสูร
ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือความเจริญหรือความสุข
ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว
ชื่อว่า นรก เพราะปราศจากความยินดี เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ
โพธิฯ= สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
โอปปาติกะ = คือ สัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
มหัคคตะ = อารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่
รูปฯ= รูปาวจรภูมิ คือชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ระดับจิตใจที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้ฌานหรือผู้อยู่ในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้น
อรูปฯ = อรูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ระดับจิตใจที่ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้อรูปฌาน หรือผู้อยู่ในอรูปภพทั้ง ๔ ชั้น
กัป หรือ กัลป์ = พระพุทธเจ้า ตรัสตอบภิกษุ ที่ถามระยะเวลาของกัป ทรงตรัสว่า
กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ภิกษุขอให้ทรงอุปมา ทรงเปรียบว่า มีภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ก็ยังเร็วกว่ากัปหนึ่ง ที่ยังไม่สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล
บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
ดูก่อนภิกษุ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
สังวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
วิวัฏฏกัป = หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังฟื้นขึ้นมาใหม่
อรีย์ฯ = พระอริยะ
เจโตฯ = เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้
หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน
ปัญญาวิมุตติ = คือ ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น
ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากอวิชชาที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้
ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน
สมาถะกัมมะฏฐฯ = สมถกัมมัฏฐาน
อราหัตต์ฯ = อรหัตตผล


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, มิถุนายน, 2568, 09:12:56 AM

ประมวลธรรม : ๓๖.วัตถูปมสูตร (สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี)

ยุวมติฉันท์ ๒๕

   ๑.พุทธเจ้าประทับ ณ วัด........................อนาฯเจาะชัดเสาะถวาย
ณ "เชตะราม"สิกราย................................นคร"สวัตถีฯ"

   ๒.พุทธองค์แนะภิกษุเร้า.........................ผิจิตตะเศร้ามทะปรี่
"ทุคาติฯ"หวังปะรี่......................................ก็ผ้าระรอยจุด

   ๓.แม้จะย้อมเจาะสีอะไร.........................ก็ไม่ปะใสบริสุทธิ์
หทัยมิเศร้าประดุจ....................................ก็ผ้าสะอาดหนา

   ๔.แช่สิน้ำเจาะสีอะไร.............................ซิผ้าก็ไซร้ชระจ้า
ผิตายละแล้วก็พา....................................."สุคาติฯ"เปรมปรีดิ์

   ๕.พุทธองค์แสดงกิเลส...........................เกาะจิตตะเจตน์มิสุขี
กระทำฤดีทวี............................................ซิทุกข์เลาะสิบหก

   ๖."โลภะ,โทสะ,โมหะ"ชัด........................พลังอุบัติ"อุปะฯ"ปรก
หทัยจะเศร้าตระหนก................................มิได้สะอาดแฉ

   ๗.เพ่ง"อภิชฌา"ซิดื่น..............................ก็ของสิอื่นวสะแท้
"พยาฯ"อะฆาตตริแน่.................................พินาศทลายโฉด

   ๘."โกธะ"จิตจะโกรธและหมอง................"อุปานะฯ"ตรองตริพิโรธ
เจาะตน"ปฬาสะ"โดด.................................ซิ"มักขะ"หลู่จัด

   ๙."อิสสะ"ริษยาซิเขา...............................เจริญจะเฝ้าริสกัด
ก็"มัจฉรียะ"ชัด..........................................ตระหนี่มิให้งวด

   ๑๐."มายะ"คนนิสัยซิลวง... ....................."สะเถยยะ"พ่วงวจอวด
ริ"ถัมภะ"ดื้อจะชวด..................................."สะรัมภะ"แข่งดี

   ๑๑."มานะ"ถือวะตนซิยิ่ง..........................หทัยซิดิ่งมทะปรี่
ประมาท"ปมาทะ"มี....................................."อตีมะ"เหยียดหยาม

   ๑๒.พุทธเจ้าสิตรัสแนะโข.........................ผิทราบวะโสฬสลาม
กิเลสเกาะใจซิผลาม...................................ก็คงละเลิกหนา

   ๑๓.วาระนี้เหมาะภิกษุโร่...........................ปสาทะ"โคตมะ"กล้า
พระเป็นอร์หันต์นะหล้า................................และตรัสรู้เอง

   ๑๔.บรรลุวิชชะฯรู้เจาะหนา.......................มุฝึกนรานยเร่ง
เหมาะศาสดานะเผง....................................กะชนและเทพล้ำ

   ๑๕.เป็นพระพุทธเจ้าซินา..........................พระสงฆ์ปสาทะพระธรรม
พระองค์ประกาศมิงำ...................................กระทำจะได้ผล

   ๑๖.ถ้ากระทำก็รู้จะแจ้ง.............................กะตนมิแคลงและฉงน
ประสิทธิ์ตลอดนะชน...................................เพราะกาลมิจำกัด

   ๑๗.ชนปสาทะในพระสงฆ์.........................ประพฤติเจาะบ่งรุจิชัด
กระทำสิตรงสลัด.........................................กิเลสละหมดคลาย

   ๑๘.ภิกษุสู่อรียะชน....................................ประสิทธิผลจตุกราย
พระสงฆ์เหมาะรับถวาย................................กะทักษิณาเผย

   ๑๙.สงฆ์เหมาะกราบและอัญชลี..................กะน้อมวจีสุตะเอ่ย
แนะสอนพระธรรมเฉลย................................ประโยชน์กะโลกเชียว

   ๒๐.เหตุพระสงฆ์ละทิ้งกิเลส........................พระธรรมพิเศษก็เฉลียว
รตีปสาทะเจียว.............................................พระพุทธเจ้าล้ำ

   ๒๑.ปีติใจสงบกะกาย..................................ก็สุขขจายฐิตินำ
แหละสงฆ์ปสาทะธรรม..................................เจาะอรรถละเลิศหนา

   ๒๒.เกิดรตีลุปีติใจ......................................และกายะไซร้สุขะกล้า
เพราะตัดกิเลสระอา......................................มโนก็มั่นขาน


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, มิถุนายน, 2568, 05:48:49 PM

(ต่อหน้า ๒/๓) ๓๖.วัตถูปมสูตร

   ๒๓.สงฆ์เจาะศีล,พระธรรมยะยิ่ง.............ลุปัญญะดิ่งชุติพาน
ผิบิณฑบาตรอะหาร.................................เปรอะไม่สะอาดฉัน

   ๒๔.เลือกเลาะทิ้งและฉันก็ได้..................มิก่อกุภัยนิรครัน
มิอันตรายถลัน.........................................กะมรรคและผลแล

   ๒๕.ผ้าเลอะซักก็พลอยสะอาด..............เพราะน้ำซิยาตรชระแน่
ผิทองสะอาดก็แน่....................................จะต้องคุหลอมรุด

   ๒๖.ภิกษุคล้ายแหละเช่นกะผ้า..............เพราะสีละกล้าบริสุทธิ์
พระธรรมและปัญญาผุด..........................ก็ป้องพระสงฆ์สานติ์

   ๒๗.ภิกษุเมตตะทั่วทิศา.........................ลุจิตตะกล้ามหพาน
เพราะเมตตะแน่ประสาร.........................."อุเบกฯ"จะแผ่ไกล

   ๒๘.ภิกษุรู้ประจักษ์วะมี.........................ซิเลวและดีวุฒิไซร้
กิเลสจะตัดก็ได้.......................................นิร์วาณวิธีดับ

   ๒๙.เมื่อเจาะรู้หทัยก็พ้น.........................ลิ"อาสะฯ"ยลมละลับ
กิเลสรึอาสะฯนับ......................................ซิฝังฤดีทบ

   ๓๐."กามะฯ"อยาก,รตีนิสัย....................."ภวาฯ"เจาะไซร้วสะภพ
"อวิชชะฯ"เขลาสยบ.................................มิรู้กะธรรมเลิศ

   ๓๑.ครั้นฤทัยสลัดกิเลส.........................ก็รู้วิเศษจะมิเกิด
ลุพรหมจรรย์ประเสริฐ..............................เพราะกิจสิเสร็จผลัน

   ๓๒.ไม่กระทำเจริญซิซ้ำ.........................เพราะชำนะย้ำอรหันต์
จะเรียกวะผู้กระชั้น...................................สะอาด ณ ภายใน

   ๓๓.แล้วสิ"สุนทริกฯ"เจาะบ่ง....................พระพุทธองค์จรใกล้
จะทรงสนานรึไม่.......................................ณ พาหุฯธารา

   ๓๔.พุทธเจ้าซิติงสทิง..............................จะช่วย ฤ อิงหิตะหนา
ตะพราหมณ์กุชนตริว่า...............................สทิงสะอาดเอื้อนฤชน

   ๓๕.พาหุกาฯสถานเจาะบุญ......................ประชาจะดุนอกุศล
และลอยซิบาปลุพ้น....................................และถือลิมลทิน

   ๓๖.พุทธเจ้าสิตรัสสทิง.............................ผิหลายยะยิ่งนิรยิน
จะช่วยผละบาปละสิ้น.................................กระทำสอาดเผย

   ๓๗.พุทธองค์แนะพราหมณ์สนาน..............ณ ศาสน์ฯสราญสิริเอ่ย
มิฆ่า,มิเท็จละเอย........................................ตระหนี่ละทิ้งเสีย

   ๓๘.พราหมณ์จะไปคยาสิไย.....................ประโยชน์ไฉนดนุเงี่ย
ผิดื่มนทีก็เปลี้ย...........................................มิช่วยอะไรนัก

   ๓๙.พราหมณ์สิทูลพระองค์ประกาศ..........พระธรรมซิยาตรและประจักษ์
จะเปิดกระจ่างตระหนัก...............................ตริบอกมิหลงทาง

   ๔๐.พราหมณ์สิขอ"พระรัตน์ฯ"ศรัณย์........และบวชซิพลันพิรพร่าง
ก็สุนทริกฯลุผาง.........................................อร์หันต์มิช้านาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา
มจร.๗. วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=7

อนาฯ =อนาถบิณฑกเศรษฐี ผู้สร้างเชตวนาราม ถวาย
เชตะราม =เชตวนาราม
ทุคาติ = ทุคติ มี ๒ อย่าง คือ
(๑) ปฏิปัตติทุคติ หมายถึงคติคือการปฏิบัติชั่วด้วยอำนาจกิเลสแบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือทุคติของคฤหัสถ์ผู้มีจิตเศร้าหมองฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มีจิตเศร้าหมอง ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์, ทำลายเจดีย์ประพฤติอนาจาร
(๒) คติทุคติ คือ คติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นทุกข์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๒.๑) อาคาริยทุคติ คือคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดในนรก, สัตว์ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย
(๒.๒) อนาคาริยทุคติ คือทุคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกเป็นต้น เป็นสมณยักษ์, สมณเปรต มีกายลุกโชติช่วงเพราะผ้าสังฆาฏิเป็นต้น
สุคาติ = สุคติ มี ๒ อย่าง
(๑) ปฏิปัตติสุคติ หมายถึงคติ คือการปฏิบัติดีด้วยจิตบริสุทธิ์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติสุคติ มีจิตบริสุทธิ์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ คือสุคติของบรรพชิตผู้มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์, สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ, เรียนกัมมัฏฐานในอารมณ์ ๓๘ ประการ, กระทำกสิณบริกรรม ทำฌาณสมาบัติให้เกิดขึ้น, เจริญโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, มิถุนายน, 2568, 03:52:55 AM

(ต่อหน้า ๓/๓) ๓๖.วัตถูปมสูตร

(๒) คติสุคติ หมายถึงคติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นสุข แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๒.๑) อาคาริยสุคติ คือสุคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีชาติตระกูลสูง, มั่งคั่ง, เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศ, เป็นเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่
(๒.๒) อนาคาริยสุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้วไปเกิดในตระกูลกษัตริย์, ตระกูลพราหมณ์, และตระกูลคหบดี หรือไปเกิดใน กามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น, ในพรหมโลก ๑๐ ชั้น, ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น, หรือในอรูปพรหม ๔ ชั้น
โสฬส = แปลว่า ๑๖
อุปกิเลส ๑๖ = ธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต คือ
(๑) อภิชฌาวิสมโลภะ - ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
(๒) พยาบาท - ความคิดปองร้ายผู้อื่น
(๓)โกธะ - ความโกรธ
(๔) อุปนาหะ - ความผูกโกรธ
(๕) มักขะ - ความลบหลู่คุณท่าน
(๖) ปลาสะ - ความตีเสมอ
(๗) อิสสา - ความริษยา
(๘) มัจฉริยะ - ความตระหนี่
(๙) มายา - มารยา
(๑๐) สาเฐยยะ - ความโอ้อวด
(๑๑) ถัมถะ - ความหัวดื้อ
(๑๒) สารัมภะ - ความแข่งดี
(๑๓) มานะ - ความถือตัว
(๑๔) อติมานะ - ความดูหมิ่นท่าน
(๑๕) มทะ - ความมัวเมา
(๑๖) ปมาทะ - ความประมาท
ปสาทะ = เลื่อมใส ศรัทธา
โคตมะ = ชื่อ พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน
อรียะ = พระอริยะบุคคล ๔ คู่  มี ๘ บุคคล ได้แก่
(๑) บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
(๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี
(๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
(๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
(๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
อาสวะ = หรือ อาสวกิเลส คือ กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ให้ขุ่นมัว ให้ชุ่มอยู่เสมอ แบ่งเป็น ๓ คือ
(๑) กามาสวะ - อาสวะเป็นเหตุอยากได้ เช่น ความกำหนัด ความพอใจ
(๒) ภวาสวะ - อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น เช่น ความพอใจในภพ, ความกำหนัดในภพ
(๓) อวิชชาสวะ - อาสวะคือความเขลา ได้แก่
ความไม่รู้ในทุกข์; ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย; ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ; ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนอดีต; ความไม่รู้ในส่วนอนาคต; ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต และ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ธรรมเครื่องสลัดออกจากกิเลส =  ในที่นี้หมายถึงนิพพาน
พรหมจรรย์ = หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลส จบสิ้นแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่
กิจที่ควรทำ = ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์, การละเหตุเกิดแห่งทุกข์, การทำให้แจ้ง ซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ
ไม่มีกิจอื่น = ที่เป็นอย่างนี้อีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด
สุนทริกฯ = คือชื่อพราหมณ์ สุนทริกภารทวาชะ
พาหุฯ=แม่น้ำพาหุกา
คยา =แม่น้ำคยา
สทิง, ธารา, นที = แม่น้ำ
ศาสน์ฯ = หมายถึงศาสนาพุทธ
พระรัตน์ฯ = พระรัตนตรัย


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, มิถุนายน, 2568, 06:11:56 PM

ประมวลธรรม : ๓๗.สัลเลขสูตร (สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส)

ภการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.พุทธ์เจ้าประทับ"เชตวนา"...............สาวกมหาจุนทะปะเฝ้า
ทูลถามกะเรื่องทิฏฐิกุเร้า.......................ยึดผิดกะ"อัตตาฯ"วปุตน

   ๒."โลกวาทะ"ว่าโลกนิรเที่ยง...............เที่ยงบ้างตริเพียงสุดฐิติผล
มีพจนาปัญญะจะด้น.............................เหล่าทิฏฐิหาใช่ดนุเผย

   ๓.เราไม่ซิเป็นนั่นรึไฉน.......................สิ่งนั้นมิใช่ของตนุเอ่ย
ไม่ใช่สิตัวเรา"อน"เลย...........................ตัวทิฏฐิตัดแล้วละมลน

   ๔.ตรัสจุนทะมีภิกษุสงัด......................จาก"กาม"และชัดล่วงอกุศล
จึงบรรลุฌานหนึ่งปิติดล........................มีตรึกวิจาร,ตรองสุขะไว

   ๕.ตรัสกล่าวปฐมฌานนิรเขต..............ขัดเกลากิเลสในพระวินัย
เป็นธรรมให้อยู่ภวใส.............................สุขปัจจุบันในชิวิศานติ์

   ๖.บางภิกษุความตรึกและวิจาร............จำหยุดเพราะรานสู่ทุติย์ฌาน
ใจผ่องสิเป็นหนึ่งทวิผ่าน.........................คงเหลือซิสุขกับปิติแฉ

   ๗.สงฆ์คิดวะอยู่ในภวธรรม.................."สัลเลขะ"นำแต่นิรแน่
ในธรรมวินัยของอริย์แล้........................แต่เป็นสิดำรงสุขะเผย

   ๘.เป็นได้ซิสงฆ์มีปิติคลาย...................วางเฉยเจาะกรายพร้อมสติเอ่ย
สัมป์ชัญญะอยู่ด้วยสุขะเสย...................ได้บรรลุฌานสาม"ตติย์ฌาน"

   ๙.แต่ภิกษุอาจคิดฐิติชัด......................สัลเลขะจัดเกลา"อน"พาน
ไม่เกลากิเลสเลยมรผลาญ.....................เป็นแต่สุขีในชิวิหนา

   ๑๐.เป็นได้ซิสงฆ์ทิ้งสุขะ,ทุกข์..............ยินดีและรุกโศกมละนา
สงฆ์บรรลุฌานสี่"จตุต์ฯ"กล้า...................คงเหลือแต่สติเฉย

   ๑๑.สงฆ์คิดวะธำรงจตุฌาน...................สัลเลขะพานแล้วถิระเอ่ย
ได้เกลากิเลสแล้วศยะเผย.......................แต่หามิใช่แค่ชิวิสุข

   ๑๒.เป็นได้พระสงฆ์ดับมละนำ..............."สัญญาฯ"ซิจำแล้วประลุรุก
"อากาฯ"ซิฌานเชราะชุก.........................อากาศมิมีสุดมรคา

   ๑๓.สงฆ์คิดวะตนอยู่เหมาะเจาะดี..........สัลเลขะมีพหุกล้า
ขัดเกลากิเลสแล้วนิรหนา........................แค่ธรรมสงบสู่หฤทัย

   ๑๔.เป็นได้ลุ"อากาฯ"ก็ประสิทธิ์.............กำหนดกุจิตธุวไซร้
"วิญญาณมิมีสุด"ประลุใส........................."วิญญาฯ"สิฌานชุติพาน

   ๑๕.สงฆ์คิดซิสัลเลขะปะเจตน์................ขัดเกลากิเลสแล้วมลราญ
วิญญาฯก็ฌานหาเจาะประหาร..................แค่ใจสงบดีลุสบาย

   ๑๖.เมื่อบรรลุวิญญาฯก็ผดุง...................เพ่งใจและมุ่งสู่นิรกราย
"ไม่มีอะไร"จึงประลุฉาย............................"อากิญฯ"ซิฌานรุจิเอย

   ๑๗.สงฆ์คิดเลาะสัลเลขะปะเฝ้า..............กีเลสสิเกลาแล้วฐิติเอ่ย
อากิญฯก็ฌานไม่ฉะดะเผย.......................แค่ใจสงบมั่นธุวะนา

   ๑๘.ตรัสจุนทะ,สงฆ์ได้ประลุผ่าน............อากิญฯและชาญว่องรุจิรา
ถึง"เนวสัญญาฯ"ศุจิหนา...........................สงฆ์คิดจะขัดเกลาลิกิเลส

   ๑๙.พุทธ์เจ้าริฌานเนวะปะชัด................หาใช่เลาะขัดเกลา"อน"เดช
ตามที่พระสงฆ์คิดจะพิเศษ.......................แค่ทำฤทัยนี้ปะสงบ

   ๒๐.ตรัสจุนทะขัดเกลาซิกิเลส...............มีหลากประเภทหลายมรจบ
สี่สิบและสี่ข้อเหมาะละครบ......................สัลเลขะธรรมเกลามทเถียร


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, มิถุนายน, 2568, 07:48:08 PM

(ต่อหน้า ๒/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

   ๒๑.ชนอื่นจะ"เบียดเบียน"กะนิกร............หมู่เราจะถอนเลิกนิรเบียน
หมู่คนก็"ฆ่าสัตว์"เซาะพินาศเตียน..............พวกเราจะล้มเลิกวธหนา

   ๒๒.ชนอื่นขโมยทรัพย์ดะเสมอ...............หมู่เรามิเผลอเรออุปะคว้า
ผู้อื่นเจาะ"เมถุน"คฤหา..............................พวกเราประพฤติตรงจะผนวช

   ๒๓.หมู่คน"มุสา"ชินเพาะนิสัย.................คำเท็จจะไม่เอ่ยภณยวด
ผู้อื่นเดาะ"คำหยาบ"เจาะเซาะรวด.............หมู่เราจะพูดแต่พิเราะหวาน

   ๒๔.ชนอื่นจะหลงลืม"สติ"เลือน...............พวกเราจะเตือนตนถิระพาน
ผู้อื่นจะ"ปัญญา"อนุชาญ...........................หมู่เราลุถึงพร้อมมหิผล

   ๒๕.พุทธ์องค์เจาะว่า"จิตตุปบาท"..............ความคิดมุยาตรช่วยพหุดล
แม้ไร้วจี,กายระกะด้น..................................ควรตั้งฤทัยไม่ทุษะหนา

   ๒๖.ชนอื่นตริว่า"ทิฏฐิ"ตริตน......................จักผลักผละพ้นยากมิลุกล้า
กลุ่มเราเตะไกลทิฏฐิละครา.........................หมายมุ่งสลัดทิ้งรยะไส

   ๒๗.ตรัสจุนทะทางที่ขรุขระขวาง..............พึงหาปะทางเรียบเลาะคระไล
ไม่เบียนก็ฉันนั้นลุไถล................................ยังมีเจาะทางหลีกเลี่ยงอฆะยาตร

   ๒๘.ตั้งใจลิ"ฆ่าสัตว์"ภิทะนา......................ทางเลี่ยงนราที่เสาะพิฆาต
"ไม่เล็งสิของใคร"ริระดาษ..........................ทางเดียวนรีที่วสะเอย

   ๒๙."ศรัทธา"ก็ทางเลี่ยงประลุเกื้อ..............ผู้ที่มิเชื่อถือระดะเอ่ย
มี"ความละอายบาป"วิธิเผย..........................ผู้ที่สิเสี่ยงต่ อหิริแล

   ๓๐.ตรัสจุนทะ"ธรรมหลายอกุศล".............มุ่งนำผจญสู่ขยแล้
"ทั้งหมดกุศลธรรม"รุหะแฉ...........................ผู้เว้นสิ"เบียน,ฆ่า"ก็เจริญ

   ๓๑.ตั้งใจ"ละเว้นลัก"ทุจริต........................เป็นทางสฤษดิ์งามเจาะเผชิญ
ผู้ไม่เกาะยึดทิฏฐิละเดิน...............................ทางเฟื่องซิผู้ทิ้งผละละยาก

   ๓๒.พุทธ์เจ้าตริตรัสจุนทะสิความ...............คนที่ริ"กาม"จมทะลุมาก
ไร้ทางจะยกสูงนรจาก.................................ที่ต่ำซิได้เลยนิรพราว

   ๓๓.เป็นได้เพราะคนอุปริบน......................อยู่เหนือซิพ้นตมริสกาว
ย่อมยกสิคนต่ำยุรก้าว.................................จากตมผละสูงสัสตะเผย

   ๓๔.แม้คนมิฝึกปราศละกิเลส....................จักสอนวิเศษยิ่งนฤเอ่ย
สอนดับกิเลสด้วยทวิเอย.............................ยิ่งเป็นมิได้แน่"อน"ทาง

   ๓๕.เป็นได้ซิคนฝึกพิรเวท.........................เมื่อดับกิเลสแล้วประลุพร่าง
สอนชนกิเลสตัดมทะวาง.............................ชนอื่นละดับลิบจิระกาล

   ๓๖."ไม่เบียน"ก็ฉันนั้นดุจะชิด....................ทางดับสนิทเลยรุจิพาน
สำหรับซิตั้งใจตริละผลาญ..........................ผู้เบียนจะดับลงละทะลาย

   ๓๗."ตั้งใจจะฆ่าสัตว์วิธิตัด........................ผู้ฆ่าก็ชัดดับภิทะวาย
"เจต์นามิเล็งทรัพย์"มิขยาย........................ผู้เล็งก็ทางดับอนเอย

   ๓๘.ตั้งใจเกาะมิตรดีสิริชัด.......................เป็นทางละมิตรชั่วมทะเอ่ย
"เจต์นาสาะปัญญา"รหะเผย........................ปัญญาซิทรามสละแล

   ๓๙.พุทธ์เจ้าซิตรัสจุนทะสดับ...................ทรงได้เจาะนับเหตุหิตะแน่
ห้าอย่างสิ"ขัดเกลามทะ"แล้........................."เหตุจิตตุป์บาท,เลี่ยง"เจาะเซาะหนี

   ๔๐."เหตุนำเจริญ"ยิ่งลุประชิด..................."เหตุดับสนิท"แท้อุตุชี้
พุทธ์องค์แสวงสอนนยคลี่............................สาวกประโยชน์ควรคุณะแล

   ๔๑.พุทธ์เจ้ากระทำกิจเหมาะเจาะแล้ว........พึงจุนทะแน่วโคนตะรุแล้
เรือนว่างพินิจด้วยพิรแฉ...............................ไม่ควรประมาท,หลีกทุระกำ


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, มิถุนายน, 2568, 08:46:22 AM

(ต่อหน้า ๓/ ๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

   ๔๒.สงฆ์จุนทะชื่นชมภณบ่ง............ที่พุทธองค์พร่ำตริพระธรรม
พุทธ์เจ้าแสดงสัลเลขะเจาะล้ำ...........ดั่งคล้ายทะเลลึกดุจะปาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : มจร.๘ สัลเลขสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=8

เชตวนาฯ =เชตวนาราม
อัตตาฯ = อัตตวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตา เช่น เห็นว่ารูปเป็นอัตตาเป็นต้น
โลกวาทะ = หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภโลก เช่น เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น
ฌาน = หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก ฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก) รูปฌาน  คือ ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร มี ๔ ได้แก่
(๑) ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) ประกอบด้วย
(๑.๑) วิตก คือ ความตรึกนึกกำหนดในอารมณ์ของกรรมฐาน เช่น ในขณะกำหนดลมหายใจ เข้า - ออก ก็รู้ว่าลมเข้า ลมออก
(๑.๒) วิจาร คือ ความตรอง ประคองจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน
(๑.๓) ปิติ คือ ความอิ่มเอิบใจ เช่นอาการขนลุกขนชัน น้ำตาไหล รู้สึกว่ากายพองโต รู้สึกว่ากายเบา
(๑.๔) สุข คือ ความสบายกายสบายใจ ในขั้นนี้ถ้ากำหนดอารมณ์กรรมฐานก้าวพ้นองค์ ๓ คือปิติ ก็จะเกิดสุข
(๑.๕) เอกัคคตา คือ ความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สภาวะนี้จะไม่มีอาการขององค์ ๑ - ๔ จะเป็นสภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว คือนิ่งสงบอยู่ภายในจิตอย่างเดียว
(๒) ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
(๓) ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
(๔) จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
ข) อรูปฌาน คือ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร มี ๔ได้แก่
(๑) อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
(๒) วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
(๓) อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
(๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
สัลเลขธรรม = คือธรรมขัดเกลากิเลส มี ๔๔ ข้อ
(๑) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
(๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.
(๓) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน
(๔) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.
(๕) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท
(๖) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา
(๗) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา
(๘) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
(๙) ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะ(สิ่งของ)ของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
(๑๐) ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.
(๑๑) ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ
(๑๒) ชนเหล่าอื่นจักมีความดําริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดําริถูก
(๑๓) ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก
(๑๔) ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก
(๑๕) ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก
(๑๖) ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, มิถุนายน, 2568, 03:06:37 PM

(ต่อหน้า ๔/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

(๑๗) ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก
(๑๘) ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก
(๑๙) ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก
(๒๐) ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติถูก
(๒๑) ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ
(๒๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
(๒๓) ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา
(๒๔) ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.
(๒๕) ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ
(๒๖) ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน
(๒๗) ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา
(๒๘) ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา
(๒๙) ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่
(๓๐) ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด
(๓๑) ชนเหล่าอื่นจักมีมายา (เจ้าเล่ห์) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา
(๓๒) ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง
(๓๓) ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน
(๓๔) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย
(๓๕) ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี
(๓๖) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.
(๓๗) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา.
(๓๘) ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.
(๓๙) ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.
(๔๐) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย (ด้อยการศึกษา) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (คงแก่เรียน)
(๔๑) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
(๔๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง
(๔๓) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
(๔๔) พึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลํา ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง สลัดทิ้งได้ยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคงและสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย
จิตตุปบาท = คือ ความคิดที่เกิดขึ้น ก็มีอุปการะมากในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการกระทำด้วยกายและพูดด้วยวาจา ดังนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า
(๑) ชนเหล่าอื่นจักเบียดเบียนกัน แต่เราจักไม่เบียดเบียนกัน
(๒) ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ แต่เราจักเว้นจากการฆ่าสัตว์
(๓) เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า ชนเหล่าอื่นจักยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ยาก แต่ เราจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ง่าย’ฯลฯ
การหลีกเลี่ยงความชั่ว =มี ๔๔ ข้อ ดังนี้
(๑) การเว้นจากความไม่เบียดเบียน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒)การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
(๓)การเว้นจากอทินนาทาน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
(๔)การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน
(๕)การเว้นจากมุสาวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ
(๖)การเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดส่อเสียด
(๗)การเว้นจากผรุสวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดคําหยาบ.
(๘)การเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ
(๙)ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
(๑๐)ความไม่พยาบาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
(๑๑)ความเห็นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด
(๑๒)ความดําริถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดําริผิด
(๑๓)การกล่าววาจาถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงผู้มีวาจาผิด.
(๑๔)การงานถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด
(๑๕)การเลี้ยงชีพถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
(๑๖)ความพยายามถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความพยายามผิด
(๑๗)ความระลึกถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
(๑๘)ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นผิด
(๑๙)ความรู้ถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มิถุนายน, 2568, 09:02:55 AM

(ต่อหน้า ๕/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

(๒๐)ความหลุดพ้นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด
(๒๑)ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงํา
(๒๒)ความไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
(๒๓)ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย
(๒๔)ความไม่โกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ
(๒๕)ความไม่เข้าไปผูกโกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเข้าไปผูกโกรธ
(๒๖)ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน
(๒๗)การไม่ตีเสมอเขา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักตีเสมอเขา
(๒๘)ความไม่ริษยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา
(๒๙)ความไม่ตระหนี่ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่
(๓๐)ความไม่โอ้อวด มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด
(๓๑)ความไม่มีมารยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา
(๓๒)ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อดึง
(๓๓)ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน
(๓๔)ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก
(๓๕)ความเป็นผู้มีมิตรดี มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรเลว
(๓๖)ความไม่ประมาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท
(๓๗)ความเชื่อ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
(๓๘)ความละอายต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่ละอายต่อบาป (ไม่มีหิริ).
(๓๙)ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (ไม่มีโอตตัปปะ)
(๔๐)ความเป็นพหูสูต มีไว้สําหรับหลีเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับ (ศึกษา) น้อย.
(๔๑)การปรารภความเพียร มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
(๔๒)ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม
(๔๓)ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม
(๔๔)ความเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และความสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก
ธรรมนำสู่ความเจริญ =พระพุทธเจ้าตรัสแก่จุนทะ
อกุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเสื่อม (แต่)กุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเจริญ แม้ฉันใด
(๑)ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความเจริญ สำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
(๓) เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์
ฯลฯ
(๔) ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
อุบายเพื่อความดับสนิท ของกิเลส = มี ๔๔ อย่าง คือ
(๑) เจตนาไม่เบียดเบียนเป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ฆ่าสัตว์
(๓) เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ลักทรัพย์
(๔) เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
(๕) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดเท็จ
(๖) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดส่อเสียด
(๗) เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดคำหยาบ
(๘) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดเพ้อเจ้อ
(๙) ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางเพื่อความดับสนิท ของผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
(๑๐) ความไม่พยาบาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีจิตพยาบาท
(๑๑) สัมมาทิฏฐิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความเห็นผิด
(๑๒) สัมมาสังกัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีความดำริผิด
(๑๓) สัมมาวาจา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้เจรจาผิด
(๑๔) สัมมากัมมันตะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีการกระทำผิด
(๑๕) สัมมาอาชีวะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
(๑๖) สัมมาวายามะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความพยายามผิด


หัวข้อ: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มิถุนายน, 2568, 06:41:06 PM

(ต่อหน้า ๖/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

(๑๗) สัมมาสติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความระลึกผิด
(๑๘) สัมมาสมาธิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด
(๑๙) สัมมาญาณะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความรู้ผิด
(๒๐) สัมมาวิมุตติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความหลุดพ้นผิด
(๒๑) ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ
(๒๒) ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
(๒๓) ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีความสงสัย
(๒๔) ความไม่โกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มักโกรธ
(๒๕) ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ผูกโกรธ
(๒๖) ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ลบหลู่คุณท่าน
(๒๗) ความไม่ตีเสมอ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ตีเสมอ
(๒๘) ความไม่ริษยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความริษยา
(๒๙) ความไม่ตระหนี่ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ตระหนี่
(๓๐) ความไม่โอ้อวด เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้โอ้อวด
(๓๑) ความไม่มีมารยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีมารยา
(๓๒) ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ดื้อรั้น
(๓๓) ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ถือตัวจัด
(๓๔) ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ว่ายาก
(๓๕) ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีมิตรชั่ว
(๓๖) ความไม่ประมาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ประมาท
(๓๗) สัทธา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ไม่มีศรัทธา
(๓๘) หิริ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ไม่มีความละอายบาป
(๓๙) โอตตัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ไม่เกรงกลัวบาป
(๔๐) พาหุสัจจะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
(๔๑) การปรารภความเพียร เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้เกียจคร้าน
(๔๒) ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีสติหลงลืม
(๔๓) ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีปัญญาทราม
(๔๔) ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก