บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, มกราคม, 2568, 11:11:59 AM



หัวข้อ: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, มกราคม, 2568, 11:11:59 AM

(https://i.ibb.co/n12Hbjx/Screenshot-20241223-185541-LINE.jpg) (https://ibb.co/gW153Jk)

ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.ทศชาติชาดก...................เรื่องปรกกล่าวถึงอดีตชาติ
โคดมพุทธ์เจ้ายาตร................ขณะเป็นโพธิสัตว์นา
กำเนิดเป็นมนุษย์....................บำเพ็ญรุดบารมีกล้า
เพื่อลุ"อนุตตร์ฯ"มา.................เป็นพุทธ์เจ้าโปรมดสัตว์ทุกข์คลาย

   ๒.พุทธเจ้าทรงเล่า...............เรื่องเก่าเคยเกิดในชาติหลาย
ห้าร้อยกว่าเรื่องกราย..............กอปรสอนธรรมล้ำคละเรื่องเอย
มีสิบชาติท้ายชัด....................ก่อนอุบัติ"สิทธัตถะ"เผย
ทรง"ภิเนษกรมณ์"เชย............ลุ"สัมมาสัมโพธิญาณ"

   ๓.ชาติหนึ่ง"พระเตมีย์".........บำเพ็ญสี่"เนกขัมม์ฯ"บวชขาน
สอง,"มหาชนก"กราน..............."วิริยบาร์มี"พากเพียร
สาม"สุวรรณ์สาม"เด่น.............บำเพ็ญ"เมตตา"ใฝ่เชียร
สี่,"เนมิราช"เรียน.....................เร่ง"อธิษฐานบารมี"

   ๔.ห้า,"มโหสถ"กล้า...............เพ่งคว้า"ปัญญาบาร์มี"ศรี
หก"ภูริทัต"คลี่.........................เน้น"ศีลบารมี"ครบครัน
เจ็ด"จันทชาดก"......................เพื่อยก"ขันติบาร์มี"สรรค์
แปด,"นารทะ"ดั้น.....................ทำ"อุเบกขาบาร์มี"เอย

   ๕.เก้า,วิธุระ"ชัด....................บำเพ็ญ"สัจจบาร์มีเผย
สิบ,"เวสสันดร"เปรย................ทำ"ทานบาร์มี"ยิ่งไกล
เมื่อโพธิสัตว์เด่น.....................บำเพ็ญบาร์มีครบสิบไข
ตรัสรู้"สัมมาฯ"ไว.....................เป็นพระพุทธ์เจ้าต่อนั้นมา

   ๖.หนึ่ง,"พระเตมีย์"ชัด...........โพธิสัตว์ชาติหนึ่งหนา
ก่อนจะตรัสรู้มา.......................เป็นพระโคดมพุทธเจ้าเอย
พระเตมีย์จุติ............................สวรรค์ซิดาวดึงส์เผย
เป็นโอรสโชติเชย...................."กาสิกราช,จันทาเทวี"

   ๗.พระเตมีย์กุมาร..................ได้พานเห็นพระบิดารี่
ทำโทษสี่โจรปรี่.......................ถูกเฆี่ยนหนึ่งพันครั้งทารุณ
ถูกล่ามโซ่ขังจำ.......................หอกกระหน่ำทิ่มแทงตัวผลุน
อีกคนถูกเสียบพรุน.................ด้วยหลาวแหลมคมต้องล้มตาย

   ๘.พระกุมารหวั่นหวาด..........ระลึกชาติเป็นกษัตริย์ฉาย
ณ เมืองนี้บาปกราย.................ต้องตกนรกแปดหมื่นปี
บัดนี้กลับมาเกิด......................บรรเจิดเมืองนี้ไม่พ้นหนี
อยู่ครองราชย์อีกที..................ก็จะต้องไปนรกแล


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, มกราคม, 2568, 09:09:39 AM
(หน้า ๒/๔)๑.เตมียชาดก

   ๙.ทรงสังเวชสลด...............ระทดใจหน่ายครองเมืองแน่
นึกหาอุบายแปร.....................ปลีกตัวพ้นครองราชย์เอย
มีเทพธิดาพาน........................อดีตมารดาชาติก่อนเอ่ย
แนะทำตนง่อยเลย..................หูหนวก,ใบ้ไร้สามารถลง

   ๑๐.แม้ถูกทดสอบแล้ว..........มิแน่วมีพิรุธเห็นบ่ง
ด้วยความอดทนตรง................จนชนมายุสิบหกปี
พราหมณ์ทูลพระราชา.............หากว่าให้คงอยู่เมืองนี้
จะเกิดกาลกิณี........................พระราชวังจะมีภัย

   ๑๑.ราชาสั่งสารถี.................นำเตมีย์ขึ้นรถม้าไว
จัดการคนเดียวไป...................ฝังเสียป่าช้านอกเมืองปลง
สารถีกำลัง.............................ขุดหลุมฝังเตมีย์ก้าวลง
ทรงลองพลังองค์....................เดิน,ยกท้ายรถแกว่งแรงดี

   ๑๒.เตมีย์เห็นกำลัง...............กายยังแกร่งจึงบอกสาร์ถี
ทรงเล่าเรื่องที่มี.......................พร้อมแจงธรรมล้ำให้รู้ไว
สาร์ถีหากฝังเรา.......................จะมิเพราทำผิดธรรมไกล
เปรียบคนนอนร่มไม้.................แล้วรานกิ่งถือฆ่ามิตรเลย

   ๑๓.คลั่งประทุษร้ายมิตร........ด้วยจิตเป็นคนเลวทรามเผย
กษัตริย์,ต้นไม้เปรย...................เตมีย์เหมือนแขนงกิ่งไม้
ตัวท่านสาร์ถีด้น........................เหมือนคนอาศัยร่มเงาใหญ่
คนมิฆ่ามิตรไซร้........................จะพ้นภัยผู้คนบูชา

   ๑๔.สาร์ถีอ้อนวอน.................หลายครั้งซ้อนให้กลับเมืองหนา
เตมีย์ใจมั่นมา...........................จะขอบวชคนเดียวในป่าไกล
บิดาสละองค์.............................มารดาบ่งอนุญาตไส
ชนไม่ต้องการไง........................พระองค์ขอบวชคุณยวดยิ่งเอย

   ๑๕.เตมีย์ทรงเล่าว่า.................หน้าที่ราชาฆ่าโจรเผย
นรกแปดหมื่นเลย.......................จึงจำต้องหลีกเลี่ยงแล
สารถีเลื่อมใส.............................ดีใจขอบวชอยู่ด้วยแน่
เตมีย์มิยอมแปร..........................ให้นำเครื่องประดับไปคืน

   ๑๖.เจ้ากาสิกราชจด................รู้โอรสมิง่อย,ใบ้ฝืน
ทรงจัดพิธีรื่น..............................อภิเษกราชมบัติเอย
แล้วราชา,บริพาร........................เสด็จฐานป่าช้าเดิมเอ่ย
กลายเป็นอาศรมเกย...................มีเตมียฤาษีครอง

   ๑๗.เจ้ากาสิกราชขอ................เตมีย์ชลอกลับวังตรอง
มีลูกสืบทอดปอง.........................วัยมากแล้วค่อยบวชเรียนกัน
เตมีย์ทูลคนหนุ่ม..........................ควรเป็นกลุ่มพฤติพรหมจรรย์
มีเด็กมากตายครัน.......................แต่ยังไม่ถึงวัย แก่เลย

   ๑๘.ใครประกันได้ว่า................หนุ่มสาวนายังไม่ตายเอ่ย
วันคืนล่วงผ่านเอย.......................อายุเราแก่มากขึ้นแล
ใกล้ความตายทุกครา..................เหมือนปลาอยู่ในน้ำน้อยแฉ
โลกถูกครอบงำแท้......................จะภิเษกอาตมาไย

   ๑๙.เตมียฤษี.............................ตรัสชี้โลกถูกความตายไถ
ความแก่ห้อมล้อมไว.....................ไร้ประโยชน์คืนวันผ่านเลย
เปรียบงานช่างทอผ้า....................กำลังอ้าทอผ้าอยู่เผย
ส่วนที่ต้องการทอเปรย.................เหลือน้อยเรื่อยดังชีพเช่นกัน

   ๒๐.แม่น้ำมิไหลทวน..................กลับด่วนสู่ที่สูงมิผัน
อายุมิถอยครัน.............................กลับเป็นเด็กเล็กได้อีกครา
แม่น้ำล้นหลากมา.........................ไหลแรงพาไม้ริมฝั่งหนา
หลุดลอยดั่งชรา...........................มรณาพัดพาเรื่อยไป


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, มกราคม, 2568, 10:12:09 AM

(หน้า ๓/๔)๑.เตมียชาดก

   ๒๑.พระเจ้ากาสิกราช..............วอนยาตรจะมอบสมบัติใหญ่
กองทัพ,สนมวิไล.........................ปรนนิบัติรับใช้เคียงกาย
ฤาษีตรัสอาตมา..........................จะเสื่อมหนาด้วยทรัพย์ขยาย
จะมีภริยาปราย...........................จะถึงตายด้วยประโยชน์ใด

   ๒๒.เหตุใดให้ความแก่...............ครอบงำแท้จะมัวเพลินไหว
ในโลกที่มีไซร้.............................ด้วยความแก่,ความตายอันรายเรียง
ประโยชน์ใดที่คอย......................หาทรัพย์ช้อยลูกเมียมาเคียง
อาตมาพ้นลี้เลี่ยง.........................จากเครื่องผูกแล้วมิหวนคืน

   ๒๓.ผลไม้สุกถึงภัย....................ร่วงหล่นไซร้สัตว์หลายสุดฝืน
ย่อมถึงเภพภัยยืน........................คือความตายฉันนั้นแน่นอน
ชนมากมายเห็นกัน.......................เช้า,เย็นพลันไม่เจอแล้วจร
ความตายไม่เว้นผ่อน.....................ให้ใครแต่ชนสูงลงมา

   ๒๔.เจ้ากาสิกราช.......................ทรงปราดเลื่อมใสขอบวชหนา
พร้อมทั้งเหล่าเสนา.......................ออกบวชผลามตามพระเตมีย์
ราชาอีกหลายองค์........................ทราบความบ่งผนวชตามคลี่
เตมิยฤาษี.....................................ลุ"อภิญญ์ฯ"เกิดพรหมโลกเอย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๗
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม:มหานิบาตชาดก ตอนที่ ๑ บำเพ็ญเนกขัมมบารมี เตมียชาดก https://www.blockdit.com/posts/

ชาดก=คือ เรื่องราวในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์
โพธิสัตว์=พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ
พระโคดมพุทธเจ้า,พระโคตมพุทธเจ้า=พระพุทธเจ้าในกาลปัจจุบัน
ภิเนษกรมณ์=การออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า
อนุตต์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณอันประเสริฐอันเป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทศชาติ=คือทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีใน ๑๐ ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง ๑๐ เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ (คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว)
๑)ชาติที่ ๑ เตมียชาดก เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การออกบวช พระเตมีย์ใบ้ โอรสของพระเจ้ากาสิกราช แห่งกรุงพาราณสี
๒)ชาติที่ ๒ มหาชนก บำเพ็ญวิริยบารมี พระ
โพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา
๓)ชาติที่ ๓ สุวรรณสามชาดก บำเพ็ญเมตตาบารมี  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี
๔)ชาติที่ ๔ เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์
๕)ชาติที่ ๕ มโหสถชาดก บำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พระมโหสถ บุตรเศรษฐีในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในนครมิถิลา เมื่อยังเยาว์ได้แสดงสติปัญญาเฉลียวฉลาด
๖)ชาติที่ ๖ ภูริทัตชาดก บำเพ็ญศีลบารมี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนาคราชชื่อ ภูริทัต โอรสของท้าวทศรถแห่งเมืองนาค
๗)ชาติที่ ๗ จันทชาดก บำเพ็ญขันติบารมี  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นจันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราชแห่งกรุงบุปผวดี
๘)ชาติที่ ๘ นารทชาดก บำเพ็ญอุเบกขาบารมี  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวมหาพรหม นามว่า พระนารทะ ได้จำแลงกายเป็นนักบวชมาแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนพระเจ้าอังคติกษัตริย์นครมิถิลา
 ๙)ชาติที่ ๙ วิธุรชาดก บำเพ็ญสัจจบารมี  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิต ผู้เป็นปราชญ์ในราชสำนักของพระเจ้าธนญชัยโกรัพยะแห่งกรุงอินทปัต
 ๑๐)ชาติที่ ๑๐ เวสสันดรชาดก บำเพ็ญทานบารมี เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่  เรียกกันว่า มหาชาติ หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องราวที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร โอรสของพระเจ้าสัญชัย และพระนางผุสดี แห่งนครสีพีรัฐบุรี ทรงบริจาคทานมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, มกราคม, 2568, 09:08:02 AM

ต่อหน้า ๔/๔) ๑.เตมียชาดก

กาสิกราช=พระเจ้ากาสิกราช กษัตริย์แห่งกรุงพาราณสี
อภิญญา=อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ มี ๖ อย่าง คือ
๑)อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
๒)ทิพพโสต มีหูทิพย์
๓)เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
๔)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๕)ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
๖)อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา ๕ ข้อแรกเป็นฝ่ายโลกียญาณ ข้อ ๖ มีเฉพาะในพระอริยบุคคล ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล
สมาบัติ=คือ ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔.
อภิญญ์ฯ=อภิญญาสมาบัติ คือ คุณภาพของสมาธิ ทึ่ได้ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔
ฌาน=คือ ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ มีรูปฌาน ๔ แบ่ง
๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ
๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร  สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ
๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ
๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
อรูปฌาน ๔=คือฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔
๑)อากาสานัญจายตนะ -กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
๒)วิญญาณัญจายตนะ -กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
๓)อากิญจัญญายตนะ -กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์
๔)เนวสัญญานาสัญญายตนะ -ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, มกราคม, 2568, 10:14:08 AM

(https://i.ibb.co/zVrmRTP/Screenshot-20241223-163307-Chrome.jpg) (https://ibb.co/GQ0d24C)

ทศชาติชาดก: ๒.พระมหาชนกชาดก

กาพย์ตรังควชิราวดี

   ๑.ณ เมือง"มิถิลา"...................มีราชาคุ้มครองปก
"เจ้ามหาชนก"...........................มีโอรสสององค์นา
"อริฏฐ์ชนก"พี่............................"โปลชนก"รี่น้องหนา
พี่อุปราชครา.............................น้องเป็นเสนาบดี

   ๒.พระบิดาสวรรคต.................อริฏฐ์ฯจดกษัตริย์ศรี
โปลชนกครองปรีดิ์....................อุปราชช่วยดูแล
อำมาตย์หนึ่งเคืองพก.................โปลชนกคิดแกล้งแฉ
โปลชนกขบถแปร.....................จะปลงพระชนม์ราชา

   ๓.ราชาระแวงยาตร................จับอุปราชขังหนา
โปลชนกหนีมา..........................อยู่ชายแดนด้วยเกรงภัย
ตนภักดีซื่อสัตย์.........................ถูกซัดคิดร้ายไฉน
ถ้ารู้อยู่ที่ใด...............................คงมาจับตัวลงทัณฑ์

   ๔.โปลชนกมีชน......................เห็นใจล้นพร้อมช่วยครัน
เก่งฉกาจฉกรรจ์.........................ใส่ร้ายคนไม่เป็นธรรม
ชาวเมืองรวมตัวรับ......................จัดกองทัพชิงเมืองหนำ
ราชาตรองทัพนำ........................จำนวนมากเหลือกำลัง

   ๕.อริฏฐ์ชนกรี่..........................มเหสีอย่าอยู่ยั้ง
รีบหนีรอดระวัง...........................รักษ์บุตรในครรภ์พ้นภัย
ส่วนพระองค์ออกรบ....................สิ้นชีพจบขณะรบไส
โปลชนกครองราชย์ไว................มิถิลาสืบต่อมา

   ๖.มเหสีตั้งใจ............................จะหนีไกล"กาลจัมปาฯ"
ทรงครรภ์แก่แล้วนา.....................เดินทางไกลไม่ไหวเอย
ด้วยเดชพระโพธิ์สัตว์...................ในครรภ์ชัดบันดาลเผย
พระอินทร์ทราบแล้วเกย...............แปลงชายแก่ขับเกวียนมา

   ๗.ชายชราร้องถาม....................ใครจะตามไปจัมปาฯ
พระนางขอไปนา..........................ชายแปลงรับขึ้นเกวียนพลัน
อานุภาพพระอินทร์.......................เกวียนวิ่งสิ้นแค่หนึ่งวัน
ถึงเมืองพระนางครัน.....................นั่งพักอยู่ในศาลา

   ๘.พราหมณ์ทิศาปาโมกข์...........ถูกโฉลกสงสารหนา
จึงรับเลี้ยงตลอดมา......................เหมือนน้องสาวที่ร่วมวงศ์
หลังประสูติโอรส..........................ชื่อจดอัยกาตรง
"มหาชนก"ยง...............................เติบโตมีเพื่อนมากมาย


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, มกราคม, 2568, 09:19:51 AM

(ต่อหน้า ๒/๕) ๒.มหาชนกชาดก

   ๙.วันหนึ่งมหาชนก................โกรธเพื่อนชกลากตัวพ่าย
เพื่อนร้องไห้บอกปราย..............ลูกหญิงม่ายรังแกตน
มหาชนกถาม............................มารดาตามความฉงน
พ่อไปไหนมิยล.........................แม่ตอบทิศาฯพ่อเอย

   ๑๐.มหาชนกแจง...................ความแถลงกับเพื่อนเผย
เพื่อนหลายเยาะเย้ยเปรย.........ทิศาฯมิใช่พ่อจริง
มหาชนกวอน...........................มารดาอ้อนบอกทุกสิ่ง
มารดาจำต้องอิง.......................เล่าเรื่องราวความเป็นมา

   ๑๑.มหาชนกตั้งใจ..................เร่งเรียนใฝ่วิชาหนา
ให้เก่งสามารถนา......................เอาเมืองมิถิลาคืน
วัยครบสิบหกปี.........................ก็ทูลปรี่มารดายื่น
ลาไปค้าขายยืน........................สะสมทรัพย์เพื่อลุการ

   ๑๒.พระมารดานำแก้ว.............สามสิ่งแน่ว"แก้วมณี"ฉาน
แก้วมุกดาเรืองชาญ...................และแก้ววิเชียรเป็นทุน
มหาชนกซื้อ..............................สินค้าชื่อหลายกักตุน
บรรทุกเรือล่องรุน......................สู่สุวรรณภูมิไกล

   ๑๓.เริ่มต้นพระโพธิ์สัตว์..........."วิริยะ"ชัดยิ่งไข
หว่างทางพายุไว........................แรงกระหน่ำเรือแตกลง
พ่อค้าอื่น,ลูกเรือ........................ทั้งหมดครือตกใจหลง
อ้อนวอนเทวาจง........................ช่วยชีวิตตนด้วยครา

   ๑๔.มหาชนกทราบ.................กราบเรือวาบใกล้จมหนา
เสวยภัตรอิ่มนา.........................นำผ้าชุบชุ่มน้ำมัน
แล้วพันห่มทั้งตัว........................แน่นหนาทั่วคลุมกายมั่น
เมื่อเรือจมลงพลัน......................เหล่าชนจมน้ำสิ้นวาย

   ๑๕.แต่มหาชนก......................กำลังปรกด้วยภัตรฉาย
ผ้าชุ่มน้ำมันกลาย......................ช่วยไล่สัตว์น้ำห่างไกล
ให้ลอยตัวในน้ำ.........................ว่ายนานซ้ำเจ็ดวันได้
ทรงหวังตั้งพระทัย.....................จะลุฝั่งสมุทร์ครัน

   ๑๖."นางมณีเมขลา"................ผู้รักษาสมุทร์ดั้น
เห็นมหาชนกพลัน......................จะลองใจจึงถามดู
ใครหนอเจ็ดวันแล้ว....................ไม่เห็นแน่วแม้ฝั่งหรู
จะทนว่ายวนอยู่..........................ฉะนี้ทำไมกันแล

   ๑๗.มหาชนกตรัส.....................ความเพียรชัดประโยชน์แน่
แม้ไม่เห็นฝั่งแช...........................วันหนึ่งถึงฝั่งสักครา
มณีเมขลารุด..............................มหาสมุทรกว้างใหญ่หนา
คงไม่ถึงฝั่งพา.............................ท่านคงตายก่อนเอย

   ๑๘.มหาชนกตรัส.....................เพียรอยู่ชัดแม้ตายเผย
มิมีใครติเลย...............................เพราะทำเต็มกำลังแล
มณีเมขลาเน้น............................เพียรมิเห็นทางลุแฉ
จึงยากอาจตายแป......................แล้วจะหมั่นกันทำไม

   ๑๙.ตรัสเสริมสิ่งที่ทำ................อาจมิสำเร็จลงได้
ไม่ทนแต่แรกไว...........................ย่อมไร้ผลเพราะคร้านดล
มิมีวันสัมฤทธิ์..............................ควรเพียรจิตแม้ไร้ผล
ไม่ล้มตั้งใจยล.............................จึงชีพยังในทะเล

   ๒๐.คนอื่นตายหมดแล้ว............เราจึงแน่วรุดมิเฉ
ถึงฝั่งมิรวนเร..............................มณีเมขลาเยินยอ
ความเพียรของมหา-...................ชนกกล้าที่ไม่ท้อ
จึงอุ้มขึ้นไปรอ............................ณ สวนแห่งมิถิลา


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, มกราคม, 2568, 10:41:20 AM
(ต่อหน้า ๓/๕) ๒.มหาชนกชาดก

   ๒๑.โปลชนกกษัตริย์..............มิมีชัดโอรสหนา
มีแต่พระธิดา............................"สิวลี"ฉลาดเอย
ถ้าทรงสวรรคต........................ให้เลือกจดผู้เก่งเผย
สี่ข้อ,ข้อแรกเลย.......................เจ้าหญิงทรงพอพระทัย

   ๒๒.สอง,ไหนหัวนอนชี้............บัลลังก์สี่เหลี่ยมไซร้
สาม,ยกธนูใหญ่........................ซึ่งหนักคนยกหนึ่งพัน
สี่,บอกขุมทรัพย์แจง..................สิบหกแห่งมิผิดผัน
ได้แก่ขุมทรัพย์ครัน...................ที่อาทิตย์ขึ้น-ตกแล

   ๒๓.ขุมทรัพย์ใน-นอกไซร้.......และไม่ใช่ใน-นอกแฉ
ขุมทรัพย์ปลายไม้แท้................ขุมทรัพย์ที่อยู่ปลายงา
ขุมทรัพย์ปลายหางเป็น.............ทั้งหลายเด่นปริศนา
ชี้ถูกต้องแล้วนา........................เหมาะเป็นกษัตริย์เลย

   ๒๔.กษัตริย์สิ้นพระชนม์..........ไร้ผลมิมีใครเผย
จะสามารถกาจเปรย..................ลองได้ครบตามเกณฑ์วาง
ข้าราชบริพาร............................จัดการเสี่ยงราชรถพร่าง
หาผู้มีบุญพลาง..........................เหมาะสมครองบุรี

   ๒๕.ราชรถถึงสวนแล้ว.............หยุดแน่วศาลารี
มหาชนกชี้.................................กำลังนอนอยู่เลย
ปุโรหิตประโคม..........................ดนตรีโหมลืมตาเผย
ทรงทราบราช์รถเกย..................เสี่ยงทายเป็นราชา

   ๒๖.มิแสดงอาการ....................หลับตากรานต่อหนา
ปุโรหิตคิดนา..............................บุรุษมีปัญญาเลอ
มิตื่นเต้นตกใจ............................เข้าไปตรวจ"พระบาท"เจอ
ลักษ์ณะมีบุญเปรอ.....................ให้ประโคมดนตรีมา

   ๒๗.ปุโรหิตทูลเสริญ................และเชิญมหาชนกหนา
ทรงขึ้นเป็นราชา........................มิถิลาที่ว่างไย
มหาชนกตรัส.............................ถามชัดราชาไปไหน
ปุโรหิตทูลไว..............................กษัตริย์สวรรคตลง

   ๒๘.ราชาไร้โอรส.....................มีจดพระธิดายง
"สิวลี"นามองค์............................แค่พระองค์เดียวเอง
มหาชนกตรับ.............................และรับเป็นกษตริย์เผง
สิวลีทูลเร่ง.................................มาปราสาทพระองค์ไว

   ๒๙.เจ้าหญิงทูลเชิญยั้ง............สามครั้งกษัตริย์มิไป
แต่ไปมิบอกใคร.........................เจ้าหญิงรีบต้อนรับทัน
มหาชนกถาม.............................ข้อความราชาเก่าสรรค์
อมาตย์ทูลเล่าพลัน.....................พระองค์ตอบปัญหาแจง

   ๓๐.หนึ่ง,เจ้าหญิงต้องพึง..........พระทัยซึ้งเราแถลง
นี้พอใจแสดง..............................เสด็จมาต้อนรับเรา
สอง,ทิศหัวนอนที่........................บัลลังก์สี่เหลี่ยมเฉลา
ราชาถอดเข็มกลัด......................ที่มัดผ้าโพกหัวลง

   ๓๑.ส่งเข็มให้เจ้าหญิง...............วางอิงบนบัลลังก์คง
สิวลีรับเข็มตรง............................วางบนบัลลังก์เหลี่ยมพลัน
มหาชนกชี้...................................เข็มวางที่ทิศใดครัน
นั่นเป็นหัวนอนยัน.........................ของบัลลังก์นี้แน่เอย

   ๓๒.สาม,ธนูอันใหญ่...................หนักมากไซร้ยกได้เลย
และน้าวเล็งได้เปรย......................อย่างง่ายดายเพราะเลิศพลัง
สี่,ขุมทรัพย์มีหลายแห่ง.................สิบหกแห่งอยู่ไหนขลัง
บอกได้ทุกที่ดัง.............................ขุดแล้วเจอทรัพย์มากมาย


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, มกราคม, 2568, 07:21:10 AM
(ต่อหน้า ๔/๕) ๒.มหาชนกชาดก

   ๓๓.หมู่ชนเสริญปัญญา..........มหาชนกยิ่งผาย
เชิญพระมารดากราย................พราหม์ทิศาฯผู้ค้ำจุน
เข้ามาอยู่ในวังใกล้....................บำรุงให้สบายหนุน
สร้างโรงทานอดุลย์...................หกทิศในมิถิลา

   ๓๔.มิถิลาผาสุก......................ราชาชุกทรงธรรมหนา
สิวลีประสูติครา.........................โอรส"ทีฆาวุ"เจริญ
พระบิดาตั้งให้...........................ดำรงไซร้อุปราชเสริญ
มิถิลาชื่นเพลิน..........................ชนสราญตลอดมา

   ๓๕.วันหนึ่งราชาทรง..............เสด็จตรงอุทยานหนา
เห็นต้นมะม่วงครา.....................ต้นแรกกิ่งหักโทรมทวี
อีกต้นใบแน่นดก.......................ทึบเขียวปรกสมบูรณ์ดี
อมาตย์แจงต้นหักมี...................ผลอร่อยคนเก็บราน

   ๓๖.ต้นสมบูรณ์ไร้ผล..............ไม่มีคนรบกวนผลาญ
ราชาตรึกตรองการ....................ราชสมบัติเปรียบเอย
ต้นไม้มีผลวาย...........................อาจถูกทลายเผย
มิถูกทลายเปรย.........................ต้องระวังคอยกังวล

   ๓๗.มหาชนกตรึก....................ต้องไม่นึกพะวงผล
เหมือนไม้ไร้ผลดล.....................จำเราต้องออกบวชเอย
สละราชสมบัติ...........................เพื่อปัดความกังวลเผย
ทรงปลงหนวด,ผมเอย................เสด็จออกจากวังไกล

   ๓๘.สิวลีทรงทราบ...................จึงทาบทามวอนกลับไว
ไม่ยอมคืนครรไล.......................สิวลีออกอุบาย
เผาเรือนเก่า,หญ้าใบ...................ให้เข้าใจไหม้คลังหมาย
ทรงแจงไร้ทรัพย์กราย................ทรัพย์แท้บวชสงบใจ

   ๓๙.สงบสุขทรัพย์นี้..................พึงชี้มิทลายไส
ตรัสอภิเษกไว.............................ทีฆาวุกษัตริย์เครือ
สิวลีเพียรงาม..............................ติดตามต่อมิเบื่อ
เจอสุนัขคาบเนื้อ.........................เจ้าของเผลอวิ่งมา

   ๔๐.เห็นคนสุนัขปล่อย..............ชิ้นเนื้อพลอยหล่นนา
มหาชนกมา...............................ไม่มีเจ้าของรับเอา
สิวลีเสียใจ................................เสวยไซร้ภัตรทิ้งเขลา
มหาชนกเกลา............................อาหารพิเศษยิ่งเลย

   ๔๑.สององค์พบเด็กหญิง.........กำไลอิงข้อมือเผย
ข้างหนึ่งมีสองเกย......................อีกข้างสวมแค่อันเดียว
ราชาถามเด็กไว.........................ทำไมกำไลสองเชียว
จึงมีเสียงดังเปรียว.....................เด็กตอบเพราะกระทบกัน

   ๔๒.เด็กบอกมีอันเดียว.............มิสบเทียวไร้เสียงยัน
มหาชนกครัน..............................สิวลีพิศกำไล
เปรียบคนสองอยู่เคียง................ยังเสียงกระทบกันได้
อยู่คนเดียวหทัย..........................สงบสุขกว่าแน่นอน

   ๔๓.สิวลียังผลาม.......................ติดตามราชาไปจร
มีช่างทำลูกศร..............................ตอบราชามีหลักการ
ต้องหลับตาข้างหนึ่ง.....................เพื่อดัดตรึงศรเสร็จงาน
ลืมตาทั้งสองพาน..........................ไม่เห็นชัดคดหรือตรง

   ๔๔.ราชาทรงเปรียบตรอง..........คนอยู่สองขัดแย้งบ่ง
อยู่เดียวมิโกรธคง.........................ขัดเคืองกับใครอีกเลย
มหาชนกตรัส................................ประสงค์ชัดไปเดี่ยวเผย
หวังสงบหลีกเปรย.........................การอยู่ร่วมผู้อื่นแล


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 13, มกราคม, 2568, 09:51:58 AM
(หน้า ๕/๕) ๒.มหาชนกชาดก

   ๔๕.สิวลีน้อยใจ.....................ต่อไปไร้วาสนาแฉ
จะอยู่ร่วมกันแน่.......................ต้องแยกทางกลับคืนเมือง
ราชาเสด็จสู่ป่า........................เจริญสมาบัติเรือง
อยู่ในป่าเนืองเนือง...................ทรงมิได้คืนกลับมา

   ๔๖.สีวลีจัดการ.....................อภิเษกขานราชา
ทีฆาวุบุตรา..............................ครองมิถิลาต่อไป
พระนางโปรดให้สร้าง...............เจดีย์พลางต่างที่ไข
เพื่อรำลึกถึงไกล......................มหาชนกระบือ

   ๔๗.ด้วยทรงปัญญาเลิศ.........ความเพียรเชิดอันเลื่องชื่อ
ตั้งความพากเพียรลือ...............แม้จะยากเย็นเพียงใด
เพราะปัญญาแม้ทุกข์...............ก็รุกเรื่อยหวังได้ไกล
ทำตนพ้นทุกข์ไว......................ทำให้ได้ผลทุกครา ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๗
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: มหานิบาตชาดก ตอนที่ ๒ บำเพ็ญวิริยบารมี มหาชนกชาดก https://www.blockdit.com/posts/

อริฏฐ์ฯ=พระอริฏฐชนก
กาลจัมปาฯ=เมืองกาลจัมปากะก
ทิศา=พราหม์ทิศาปาโมกข์
ธนูหนักหนึ่งพันคนยก=คือ ธนูที่ต้องใช้คน พันคนน้าวถึงจะยิงได้ แต่พระมหาชนกเพียงคนเดียวก็ยิงได้
ขุมทรัพย์ ๑๖ แห่ง=ที่พระมหาชนก ทำนายปริศนาของราชาองค์ก่อนได้ถูก จึงขุดพบสมบัติมากมาย
๑)ขุมทรัพย์ที่พระอาทิตย์ขึ้น
  เพราะพระปัจเจกโพธินั้นเปรียบประดุจพระอาทิตย์เมื่อท่านคอยยืนรับที่ใด ก็เเสดงว่าที่นั้นมีขุมทรัพย์อยู่
๒)ขุมทรัพย์ในที่พระอาทิตย์อัสดง
พระมหาชนถามอมาตย์ว่า เวลาเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิเสร็จแล้ว เวลากลับพระปัจเจกโพธิกลับทางใด อมาตย์ตอบว่า เวลากลับพระปัจเจกโพธิจะกลับทางท้ายพระราชมณเฑียร และพระราชาจะไปส่งเสด็จประทับยืน ณ สนามท้ายพระราชมณเฑียร จุดที่ยืนคือขุมทรัพย์ฝังไว้
 ๓)ขุมทรัพย์อยู่ใน
หมายถึงประตูพระราชนิเวศน์
๔)ขุมทรัพย์อยู่นอก
หมายถึง อยู่นอกประตูพระราชนิเวศน์
๕)ขุมทรัพย์อีกขุมหนึ่งไม่ได้อยู่ข้างนอกและข้างใน
หมายถึง อยู่ที่ธรณีประตูพระราชนิเวศ”
 ๖)ขุมทรัพย์อยู่ในที่ขึ้น
หมายถึง ประตูขึ้นราชนิเวศน์
๗)ขุมทรัพย์อยู่ในที่ลง
หมายถึง หน้าเกยชลาที่ลงจากคชสาร
เพราะราชาจะเสด็จออกจากวังด้วยช้าง ขากลับเสด็จลง ณเกยชาลา
๘-๑๑)ขุมทรัพย์อยู่ในระหว่างไม้สี่
หมายถึง อยู่ที่ทวารประตู ๔ แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รัง
๑๒)ขุมทรัพย์อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง
หมายถึง แท่นบรรทมแต่ละด้านวัดออกมา  ๔ ศอก จะมีขุมทรัพย์
๑๓)ขุมทรัพย์อยู่ที่ปลายงา ๒ ข้าง
หมายถึง จุดที่ปลายงาจรดดิน ตรงที่พญาเศวตกุญชรยืนในโรงคชสาร
๑๔)ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง
หมายถึง ตรงที่ปลายหางช้าง พญาเศวตกุญชร
๑๕)ขุมทรัพย์ที่สระน้ำ
หมายถึงทรัพย์ที่ฝังไว้ในสระโบกขรณีมงคล
๑๖)ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้
หมายถึง ทรัพย์ที่ฝังใต้ต้นรังใหญ่ ในอุทยาน ต้องขุดในเวลาเที่ยงวัน เงาจะอยู่ที่โคนต้น

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 14, มกราคม, 2568, 08:52:08 AM

(https://i.ibb.co/FBTN7d9/Screenshot-20241226-160948-Chrome.jpg) (https://imgbb.com/)
ทศชาติชาดก: ๓.สุวัณณสามชาดก

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.โพธิ์สัตว์ชัดบำเพ็ญ.............ตนเด่นเมตตาบาร์มีเลิศ
"สุวัณณ์สาม"กำเนิด..................เลี้ยงพ่อแม่ตาบอดในพนา
ความนาชาดกนี้........................เพื่อนสองชี้สนิทชิดหนา
ตั้งใจจะดองนา.........................ลูกสองต่างแต่งงานผูกพัน

   ๒.ต่อมาฝ่ายหนึ่งปราย............ลูกชาย"ทุกูลกุมาร"สรรค์
อีกฝ่ายธิดาครัน........................"ปาริกฯ"ทั้งสองครองศีลงาม
ฉลาดปราดเปรื่องยิ่ง..................เมื่อโตพริ้งพ่อดำริผลาม
แต่งงานขานทั่วคาม...................แต่ทั้งสองตรองไม่ตกลง

   ๓.ต่างมิขัดใจแล.....................พ่อแม่นำแต่งตามประสงค์
อยู่กันฉันเพื่อนคง......................ทั้งคู่คิดบวชเรียนลี้ไกล
ไม่อยากครองชีพพาน...............แบบชาวบ้านฆ่ารานสัตว์ไข
จึงอ้อนวอนขอไป......................บำเพ็ญพรตจดในป่าเอย

   ๔.เมื่อรับอนุญาต....................รีบปราดตั้งจิตบวชเผย
แต่งแบบดาบสเลย.....................ห่มผ้าย้อมเปลือกไม้,เกล้ามวย
บำเพ็ญเมตตายิ่ง........................อยู่ร่วมสิงสาราสัตว์ช่วย
ต่างฝ่ายเมตตาอวย.....................ไม่ทำร้ายกรายสุขสราญ

   ๕.พระอินทร์เล็งคู่พรต..............ดาบสจดอันตรายผลาญ
ขอสองดาบสกราน......................มีบุตรเกื้อกูลยามยากครา
แต่ทุกูลดาบส..............................บำเพ็ญพรตเพื่อพ้นทุกข์หนา
จะมีบุตรไรนา..............................มิต้องการชีพช้อยอย่างชน

   ๖.พระอินทร์ตรัสป้อง................ไม่ต้องทำเยี่ยงชาวโลกด้น
ดาบสอย่าวกวน...........................เพียงมือลูบท้องนางทันใด
นางจะตั้งท้องเครือ.......................ดาบสเชื่อตา มพระอินทร์ไข
แล้วนางตั้งครรภ์ไว.......................คลอดบุตราผิวพรรณดั่งทอง

   ๗.นาม"สุวัณณ์สาม"...................ทองงามวามบริสุทธิ์ผ่อง
ปาริกฯดาบสตรอง........................เลี้ยงเติบโตโขรู้วิธี
เส้นทางหาน้ำ,ภัตร........................ผลไม้ชัดช่วยกิจอื่นรี่
ดาบสพ่อแม่มี................................เวลาบำเพ็ญธรรมล้ำพอ

   ๘.วันหนึ่งดาบสสอง...................ออกท่องหาผลไม้ต่อ
ฝนตกหนักพักรอ..........................ใต้ไม้ใหญ่ใกล้จอมปลวกเอย
มีงูพิษอาศัย..................................อยู่ในจอมปลวกนี้เองเผย
น้ำจากผม,เสื้อเลย.........................หยดรินจอมปลวกถูกตัวงู


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 15, มกราคม, 2568, 09:11:33 AM
(ต่อหน้า ๒/๔) ๓.สุวัณณสามชาดก

   ๙.งูตกใจพ่นพิษ......................เพราะคิดป้องตนภัยล้นจู่
สี่ดวงตาเต็มพรู..........................สองดาบสจดตาบอดพลัน
มิอาจคืนศาลา...........................ที่พักคราพร่าทางฝ่าดั้น
ต้องวนเวียนคลำกัน...................เดินไม่ไกลจากที่นั้นเอง

   ๑๐.ทั้งสองเสียดวงตา.............กรรมนาชาติก่อนผัวเมียเผง
ทุกูลฯเป็นหมอเพรง...................รักษาตาเศรษฐีหายลง
ค่ารักษาไม่จ่าย.........................ปาริกฯหมายอุบายแค้นบ่ง
ทุกูลฯเตรียมยาตรง...................ป้ายตาฤทธิ์รุนแรงบอดพลัน

   ๑๑.บาปทำหนำก่อปลง...........ทั้งสองต้องตาบอดชาตินี้พรั่น
สุวัณณ์สามคอยครัน.................จึงติดตามจนเจอทราบความ
ร้องไห้,หัวเราะเอย.....................พ่อแม่เอ่ยเพราะเหตุใดผลาม
สุวัณณ์สามไห้ลาม....................เสียใจเรื่องตาบอดพิการ

   ๑๒.แต่หัวเราะโอกาส..............มิพลาดปรนนิบัติสองท่าน
สุวัณณ์สามจัดการ....................อาหาร,น้ำซ้ำดูแลทุกครา
หาเชือกเลือกผูกราว..................ศาลายาวสาวเกาะเดินหนา
พ่อแม่สบายนา...........................มิพลัดหลงไกลห่างศาลา

   ๑๓.คราสุวัณณ์สามไป..............พงไพรหาภัตรมีสัตว์หนา
ห้อมล้อมคล้ายเพื่อนนา................เพราะเมตตาจิตสัตว์ไว้ใจ
สัตว์ปรากฏจดอยู่.........................รอบรอบกรูศาลานี้ใกล้
สามชีวิตสุขไง..............................ปราศทุกข์ร้อนถอนวุ่นวายเลย

   ๑๔.วันหนึ่ง"กบิลยักข์ฯ"..............กษัตริย์รักจักฆ่าสัตว์เอ่ย
มาถึงท่าน้ำเคย.............................มีรอยเท้าสัตว์ชัดมากมาย
จึงซุ่มรอยิงสัตว์............................เห็นชัดสุวัณณ์สามมีหม้อฉาย
มีฝูงสัตว์เดินกราย........................ตามมาคาดเป็นเทพหรือคน

   ๑๕.ราชาคิดหากถาม.................กลัวผลามหนีไปจึงยิงด้น
จับตัวซักความปน.........................จึงยิงธนูพรูอาบยา
ถูกสุวัณณ์สามที่-..........................ลำตัวปรี่ปรุขวา-ซ้ายหนา
สุวัณณ์สามล้มนา..........................ยังมิตายเอ่ยความว่าครัน

   ๑๖.เนื้อ-หนังเรานี้หา...................ประโยชน์นายิงทำไมมั่น
คนยิงเป็นใครกัน............................ไยยังซ่อนตัวอยู่ทำไม
ราชารู้สึกแปลก..............................เป็นใครแผกมิโกรธเคืองใจ
จึงแจงตนครรไล.............................เป็นราชาพาราณสีคง

   ๑๗.ราชาถามเหตุใด.....................ทำอะไรในป่านี้บ่ง
สุวัณณ์สามแจ้งตรง........................แนะนำตนตามความเป็นจริง
ถามราชาไฉน.................................ยิงเราไซร้ปวดสาเหตุยิ่ง
ราชาต้องปดอิง...............................ตั้งใจใฝ่แค่ ยิง"เนื้อ"เอง

   ๑๘.สุวัณณ์สามเข้ามา.................พอดีนา"เนื้อ"เตลิดเผง
เราโกรธจึงมิเกรง...........................ยิงออกไปไกลโดนท่านเลย
สุวัณณ์สามแย้ง.............................ตรัสแคลงสัตว์หลายในป่าเผย
มิเกรงกลัวหนีเลย...........................เพราะเป็นเพื่อนกล้าของข้าแล

   ๑๙.ราชาละอายใจ......................พูดเท็จไปยิงเพราะโง่แฉ
เจ้าอยู่กับใครแจ.............................และตักน้ำไปให้ผู้ใด
สุวัณณ์สามบ้วนเลือด.....................มิเหือดปากทูลว่าอยู่ใกล้
พ่อแม่ตาบอดไซร้...........................เมื่อถูกยิงหาใครเลี้ยงดู

   ๒๐.ภัตรมีแค่หกวัน.......................แต่น้ำนั้นไม่มีเลยอยู่
พ่อแม่ต้องหิวพรู..............................เดือดร้อนทุกข์รุกหนักลำเค็ญ
ทุกข์เจ็บปวดถูกยิง..........................ไม่ดิ่งเท่าห่วงพ่อแม่เข็ญ
ขาดลูกดูแลเย็น...............................สุวัณณ์สามร่ำไห้ทุกข์ใจ


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 16, มกราคม, 2568, 06:06:36 AM
(ต่อหน้า ๓/๔) ๓.สุวัณณสามชาดก

   ๒๑.ราชาเสียใจหลาย..........ทำร้ายผู้กตัญญูใส
รับปากเลี้ยงแทนไว................ให้เหมือนที่ท่านเลี้ยงมาเอย
สุวัณณ์สามดีใจ......................ราชาไซร้รับปากดูแลเผย
พ่อแม่อยู่ใกล้เปรย..................ฝากราชากราบลาแทนตน

  ๒๒.สุวัณณ์สามกราบลง........สลบปลงสิ้นลมบัดดล
ร่างกายเกร็งแข็งยล................ด้วยพิษยาซาบซ่านทั่วกาย
ราชาเสียใจนัก........................ก่อกรรมหนักฆ่าคนตาย
ทางเดียวผ่อนบาปคลาย..........ต้องดูแลพ่อแม่ตอบแทน

   ๒๓.กบิลยักข์ราชา...............หยิบคว้าหม้อน้ำรีบแล่น
เร่งสู่ศาลาแดน........................ทุกูลดาบสยินเสียงเดิน
ถามไม่ใช่ลูกเรา......................ลูกเดินเบามิหนักสะเทิน
ราชามิกล้าบอกเอิน.................ทรงยิงสุวัณณ์สามตายลง

   ๒๔.บอกแค่เป็นราชา............พาราณ์สีมาล่าเนื้อบ่ง
เชิญเสวยน้ำตรง......................สักครู่สุวัณณ์สามกลับมา
ราชาโศกเศร้าตรัส...................มิกลับชัดเพราะตายแล้วหนา
ด้วยธนูเรานา............................นางปาริกฯโกรธแค้นมากเลย

   ๒๕.ทุกูลฯปลอบโยนว่า...........เวรนาของลูก,สองเราเผย
จงสำรวมจิตเลย.........................อย่าเคืองราชารับผิดแล
ตรัสว่าสัญญารัว.........................กับตัวสุวัณณ์สามแล้วแน่
จะเลี้ยงดูมิแปร...........................ให้เหมือนลูกชายเลี้ยงดูไว

   ๒๖.สองดาบสขอนา................ช่วยพาไป ใกล้ลูกสิ้นใจ
ราชาทรงพาไป..........................พอถึงแม่ช้อนเท้าลูกเอย
พ่อช้อนหัววางตัก.......................ปาริกฯจักคลำอกลูกเผย
เห็นกายอุ่นอยู่เลย......................จึงอธิษฐานลูกพฤติดี

   ๒๗.สุวัณณ์สามเป็นเลิศ...........บรรเจิดกตัญญูทวี
อานุภาพบุญมี.............................ช่วยคลายพิษลงชีพฟื้นคืน
สุวัณณ์สามพลิกกาย..................กลับหงายอีกข้างยังมิฟื้น
พ่อตั้งจิตซ้ำยืน...........................กายก็พลิกได้อีกทันควัน

   ๒๘.เทพธิดา"วสุนธ์ฯ"...............อดุลย์รักษ์"คันธมาทน์"สรร
ตรึกสุวัณณ์สามยัน.....................เมตตา,กตัญญูเหนือใคร
สัจจ์วาจาสัมฤทธิ์........................ขอให้พิษจางเหือดหายไส
สุวัณณ์สามฟื้นไว........................หายจากพิษธนูสิ้นเชิง

   ๒๙.ดวงตาบอดพ่อแม่...............กลับแลเห็นเช่นเดิมชัดเบิ่ง
ราชาแปลกใจ,เริง........................ฟื้นขึ้นมากล้าได้อย่างไร
สุวัณณ์สามตอบเคียง..................ใครเลี้ยงดูรักพ่อแม่ไข
เทพ,มนุษย์ไว...............................จะคุ้มครองปราชญ์ย่อมเยินยอ

   ๓๐.ตายแล้วสู่สวรรค์.................กตัญญูพรูบุญมากหนอ
ทรงตรัสแต่นี้พอ...........................จะทรงรักษ์ศีลเว้นฆ่าราน
สุวัณณ์สามทำให้.........................หทัย,ดวงตาพระองค์ศานติ์
ราชาขอขมากราน........................สุวัณณ์สามเดือดร้อนแทบวาย

   ๓๑.สุวัณณ์สามเลี้ยงดู...............ค้ำชูพ่อแม่เพียรขยาย
บำเพ็ญธรรมพร่างพราย...............สิ้นชีพสู่พรหมโลกตาม
ด้วยกุศลธรรมล้ำ.........................เมตตานำต่อชน,สัตว์ผลาม
กตัญญูคุณลาม............................กุศลสูงสุดบุตรพึงทำ


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, มกราคม, 2568, 08:41:41 AM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๓.สุวัณณสามชาดก

   ๓๒.เมตตาบารมี...................บำเพ็ญนี้ชีพสงบหนำ
ชีวิต,จิตสุขพรำ.......................ไร้ภยันอันตรายพาล
เมตตาหนาธรรมรักษ์...............ปกปักผู้ประพฤติงามฉาน
เหมือนเกราะคุ้มภัยราน............มิให้ใครใฝ่ทำร้ายเอย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๗-๖๑๘
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: สุวัณณสามชาดก ตอนที่ ๓ บำเพ็ญเมตตาบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

สุวัณณสาม=คือพระชาติหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันซึ่งเสวยพระชาติเป็นสุวัณณสามดาบส ในการบำเพ็ญเมตตาบารมี โดยสุวัณณสามดาบสต้องรับภาระเลี้ยงดูสองดาบสบิดามารดาผู้ตาบอด
ทุกูลฯ=ทุกูลกุมาร ภายหลังบวชเป็น ทุกูลดาบส
ปาริกฯ=ปาริกากุมารี ภายหลังบวชเป็นดาบสสินี
พระอินทร์= มักเรียกโดยทั่วไปในชื่อท้าวสักกะหรือท้าวศักระ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์เป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา และเป็นพระโสดาบันในอดีตชาติ พระอินทร์ เกิดเป็นมฆมานพ เขาและสหายอีก ๓๒ คน ได้ร่วมกันทำทานและสร้างศาลาที่พัก สระน้ำ และสวนสาธารณะ ไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อตายไป มฆมานพและสหาย ๓๒ คน ได้ไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
กบิลยักข์=กบิลยักขราช ราชาแห่งพาราณสี
วสุนธ์ฯ=เทพธิดาวสุนธรี ผู้ดูแลเขาคันธมาทน์
คันธมาทน์=เขาคันธมาทน์

(ขอคุณเจ้าของภาพจาก อืนเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, มกราคม, 2568, 08:24:36 AM

(https://i.ibb.co/30sHJ38/Screenshot-20241229-220217-Chrome.jpg) (https://ibb.co/RCSW5FM)

ทศชาติชาดก: ๔.เนมิราชชาดก

กาพย์มหาวชิรปันตี

   ๑.โพธิ์สัตว์เสวยชาติ............."พระเนมิราช"ตั้งการ
อธิษฐานบาร์มี.........................พฤติพรหมจรรย์รี่,ทานเผย
แต่เยาว์เอยโอรส.....................มิถิลาจดราชา
ทรงรักษาศีลนบ......................อุโบสถครบเคร่งครัน

   ๒.พระบิดาชรา.....................เริ่มพระเกศาหงอกผัน
สมบัติพลันมอบให้...................เนมิราชได้ครอบครอง
บิดาตรองออกบวช..................รักษาศีลยวดตราบนาน
เนมิฯสานครองราชย์................สร้างโรงทานดาษทิศทาง

   ๓.โรงทานริมประตู................ทั้งสี่ทิศหรู,ห้ากลาง
พระองค์วางแจกทาน................ปกติผ่านหมู่ชน
ทรงสอนพลไพร่รักษ์................ศีลให้มั่นนักสุขสม
ชนใจร่มรื่นเย็น........................เนื่องด้วยบำเพ็ญธรรมแล

   ๔.คราเนมิฯพฤติธรรม............เกิดสงสัยด่ำ"ทาน"แฉ
ประพฤติแน่"พรหม์จรรย์"..........ใจสะอาดครันเสมอ
ไม่ยุ่งเผลอชาวโลก...................ไม่เป็นหัวโจกวุ่นวาย
พรหม์จรรย์กรายและทาน.........ไหนประเสริฐขานกว่ากัน

   ๕.พระอินทร์ทราบกังขา..........ของเนมิฯนาทรงดั้น
จากสวรรค์ดาวดึงส์....................จรมาอยู่ซึ่งหน้าราชา
พระอินทร์ว่าจะแจง.....................รายละเอียดแฝงพรหม์จรรย์,
ให้ทานนั้นสิ่งใด..........................เป็นกุศลไซร้มากเอย

   ๖.พระอินทร์ทูลว่า....................เกิดเป็นราชา,เทพเผย
หรือพรหมเลยเพราะยาตร...........พรหม์จรรย์สะอาดต่างกัน
ราชาครันสะอาด.........................พฤติ"ขั้นต่ำ"คาดน้อยแล
เทวาแน่พรหม์จรรย์....................."สะอาดกลาง"ครันกลางชู

   ๗.ผู้เป็นพรหมฉกาจ..................พรหม์จรรย์สะอาดสุดกู่
ทำยากอยู่ต้องรุด........................วิถีมนุษย์เบี่ยงเบน
ครองเรือนเอนต้องเลิก.................เพื่อเน้นธรรมเกริกยิ่งยง
พรหม์จรรย์บ่งยากกราย..............กว่าให้ทานหลายเท่าเอย

   ๘.แต่กษัตริย์กอปรทาน.............อันมากยิ่งกราน"ด้อย"เผย
มิพ้นเลยกิเลส.............................เป็นตัวต้นเหตุทุกข์ทน
แม้เกิดวนสุขรมย์.........................บันเทิงชื่นชมเลิศผล
มิเทียบยลประพฤติ......................แบบพรหม์จรรย์ยึดเลยนา


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, มกราคม, 2568, 08:52:27 AM
(ต่อหน้า ๒/๔) ๔.เนมิราชชาดก

     ๙.พระอินทร์ทรงเล่าเรื่อง.........เคยเกิดประเทืองราชา
ณ เมืองพาราณสี.........................นักพรตหมื่นรี่รับทาน
กุศลพานยิ่งใหญ่.........................แต่แค่เกิดไซร้เทวโลก
นักพรตโชคพฤติพรหม-...............จรรย์กลับเกิดสมเหนือแล
   ๑๐.ครือพรหมโลกแดนล้ำ.........สงบสุขหนำกว่าแน่
สมบูรณ์แท้ประเสริฐ....................จึงแพร้วเพริศเลิศกว่า"ทาน"
พระอินทร์ขานตักเตือน................เนมิฯอย่าเลือนพฤติธรรม
สองอย่างพร่ำ"ศีล,ทาน"...............ปฏิบัติกรานพิบูลย์

   ๑๑.พระอินทร์คืนเทว์โลก..........เทพอ้างมีโชคเกื้อกูล
เป็นศิษย์พูนราชา.........................ทรงสอนธรรมหนาพวกเรา
รำลึกเพราพระคุณ.......................ขอพระอินทร์จุนเชื้อเชิญ
เนมิฯเพลินดาวดึงส์......................เหล่าข้าได้พึงพบเอย

   ๑๒.พระอินทร์ทรงบัญชา.........."มาตุลี"สาร์ถีเสย
ราช์รถเกยทูลเชิญ.......................เนมิราชเดินแดนสรวง
เทพทั้งปวงรำลึก..........................พระคุณตรองตรึกอยากพบ
เนมิฯสบตอบเลย..........................ยินดีมิเคยเยี่ยมเยือน

   ๑๓.เสด็จโดย"เวชยันตร์"............มาตุลีครันแจงเคลื่อน
สองทางเกลื่อนที่อยู่......................คนทำบาปพรู,ทำบุญ
จะเลือกผลุนใดก่อน......................ย่อมทรงได้จรทั้งสอง
เนมิฯตรองเลือกไป........................ผู้ทำบาปไซร้ก่อนเอย

   ๑๔.มาตุลีพาเยี่ยม......................เมืองนรกเลียมแลเผย
ได้ผ่านเกยแม่น้ำ..........................."เวตร์ณี"ที่งำสัตว์นรก
แม่น้ำดกเถาวัลย์...........................หนามเท่าหอกพลันคอยแทง
เพลิงรุกแดงแรงชัด.......................หลาวเหล็กเสียบสัตว์เยี่ยงปลา

   ๑๕.สัตว์นรกตกน้ำ.....................ถูกของแหลมหนำตัดหนา
เป็นท่อนนาชิ้นน้อย......................."นิรย์บาลฯ"คอยใช้เบ็ด
เกี่ยวสัตว์เข็ดจากน้ำ......................มานอนหงายซ้ำย่างไฟ
บางทีใช้เหล็กแดง..........................อุดปากเสียบแทงเจ็บครัน

   ๑๖.มาตุลีพาไป...........................ขุมนรกต่างไซร้หลายหวั่น
ถูกโทษทัณฑ์จองจำ......................ทรมานช้ำสาหัส
ทุเรศจัดเวท์นา...............................น่ากลัวยิ่งหนาสัตว์เอย
เนมิฯเอ่ยถามเหตุ............................โทษแยกประเภทใดแล

   ๑๗.มาตุลีตอบปรก.......................ผู้ยิงขว้างนกโทษแฉ
ต้องโทษแน่ไม่รอ............................เอาเหล็กรัดคอขาดเอย
แม่ค้าเคยลวงปรี่..............................ของเลวว่าดีหรือปน
ถูกโทษป่นปี้นำ................................เกิดกระหายน้ำรุนแรง

   ๑๘.แม่ค้าถึงแหล่งน้ำ....................กลายแกลบเพลิงซ้ำเหมือนแกล้ง
จึงสำแดงกินไป...............................แกลบเพลิงร้อนไฟร่างเผา
ทนทุกข์เอาเวท์นา............................แสนสาหัสหนาจำทน
นี่คือผลพูดปด..................................ลวงลูกค้ามดเท็จแน่เลย

   ๑๙.ผู้ทำมิตรเดือดร้อน...................อีกเบียดเบียนกร่อนแท้เผย
ตายแล้วเอยเกิดใน...........................ขุมนรกไวหิวพาน
พบอาหารกลับกลาย........................เป็นมูตร,คูถรายเรียงหรู
จำต้องกรูดื่มกิน...............................ต่างอาหารสิ้นรับเอา

   ๒๐.ผู้ฆ่าพ่อแม่ซุน.........................ผู้มีพระคุณด้วยเขลา
ฆ่าผู้เพราศีลงาม..............................ไฟนรกลามเผาแล
กระหายแท้ต้องดื่ม...........................เลือด,หนองมิลืมอาหาร
ทรมานเป็นทุกข์...............................หนีไม่พ้นบุกถึงตน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, มกราคม, 2568, 08:17:57 AM
(ต่อหน้า ๓/๔) ๔.เนมิราชชาดก

   ๒๑.เนมิราชทรงเห็น.............ทรมานเด่นทุกข์ผล
นรกดลรู้สึก............................สยองจิตนึกกลัวกรรม
ความเลวนำมนุษย์..................ใจบาปหยาบรุดทำไป
จึงรับไซร้โทษทัณฑ์...............น่าสะพรึงหวั่นนั่นเอย

  ๒๒.เนมิฯทรงเยี่ยมแหล่ง........ผู้มีบุญแจ้งอยู่เผย
ทรงเห็นเลยวิมาน..................."วารุณี"ขานเทวี
วิมานนี้ประดับ.......................ด้วยแก้วระยับพร้อมสวน
ทรงถามด่วนบุญใด................มีวิมานได้ตระการ

   ๒๓.มาตุลีตอบไซร้..............เคยเป็นสาวใช้พราหมณ์ขาน
จัดอาหารถวายสงฆ์...............อาสนะบ่งรับรอง
ทำทานครองศีลมั่น................ผลกรรมดีนั้นบังเกิด
วิมานเลิศแก้วงาม...................เทวโลกผลามแท้แล

   ๒๔.เนมิราชเสด็จผ่าน..........วิมานโอฬารหลายแฉ
มาตุฯแน่กล่าวผอง..................ผลบุญเจ้าของวินมาน
กระทำพานคราวเป็น...............มนุษย์ทำเด่นเอาไว้
เนมิฯไซร้ตื่นตา.......................เทวโลกหนาสราญ

   ๒๕.มาตุลีเทพ์บุตร...............นำเสด็จรุดวิมาน
ประทับพานพระอินทร์.............เทพย์ดาหลายยินดีเอย
กล่าวชวนเลยราชา.................พักวิมานกล้าของตน
เพื่อเสพยลสมบัติ...................อันเป็นทิพย์ชัดดาวดึงส์

   ๒๖.เนมิราชตรัสว่า..............สิ่งที่ได้มาเพราะพึ่ง
ผู้อื่นจึงมิเป็น..........................สิทธิ์ขาดตนเด่นแน่แล
พระองค์แท้ตั้งใจ....................กอปร"ทาน,ศีล"ไว้ก่อบุญ
ของตนหนุนเองเลย................รอผลกรรมเอยแท้จริง

   ๒๗.ราชาประทับอยู่.............ดาวดึงส์ชั่วครู่กลับดิ่ง
ตรัสเล่าอิงไปเห็น....................นรก,สรวงเด่นชักชวน
ทวยราษฎร์ล้วนทำดี...............ทาน,ศีลเพื่อรี่สู่สรวง
เสพสุขล่วงวิมาน.....................อันเป็นทิพย์ขานรื่นรมย์

   ๒๘.เนมิราชครองเมือง..........อย่างเป็นธรรมเรืองสุขสม
รักษศีลฉม,ทำทาน..................เป็นเนืองนิตย์พานเสมอ
วันหนึ่งเจอเกศา.......................เริ่มหงอกแล้วนาสลดใจ
จำบวชไวมอบเมือง..................ให้โอรสเปรื่องปกครอง

   ๒๙.เนมิราชออกบวช.............พฤติพรหม์จรรย์รวดตริตรอง
เจิญคล่องเพียรมั่น....................พรหมวิหารดั้นลุธรรมา
ถึงคราพร่ำวายชนม์..................เทวโลกผลสุขลิบ
เสวยทิพย์สมบัติ.......................ผาสุกสงัดจีรัง

   ๓๐.บำเพ็ญ"อธิษฐาน.............บารมี"กรานยิ่งขลัง
เพียรมั่นตั้งใจทำ......................ความดียิ่งย้ำยืนยง
อานิสงส์กรรมดี........................ตอบแทนทวีแน่นอน
สุขสลอนโลกนี้.........................และโลกหน้าชี้ยาวนาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๘
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: เนมิราชชาดก ตอนที่ ๔ บำเพ็ญอธิษฐานบารมี  https://www.blockdit.com/posts/


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, มกราคม, 2568, 11:03:57 AM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๔.เนมิราชชาดก

เนมิฯ=พระเนมิราช
อธิษฐานบารมี=คือการตั้งจิตให้แน่วแน่ต่อจุดหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จ ไม่ยอมเปลี่ยนใจ แล้วพยายามจนสำเร็จ ไม่ใช่การบนบานขอ
พรหมจรรย์= คือการศึกษาปรมัตถ์, ประพฤติธรรมอันประเสริฐ, การถือพรตบางอย่าง เช่น เว้นเมถุน, การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน.
พระอินทร์=มักเรียกโดยทั่วไปในชื่อท้าวสักกะหรือท้าวศักระ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์เป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา และเป็นพระโสดาบันในอดีตชาติ พระอินทร์ เกิดเป็นมฆมานพ เขาและสหายอีก ๓๒ คน ได้ร่วมกันทำทานและสร้างศาลาที่พัก สระน้ำ และสวนสาธารณะ ไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อตายไป มฆมานพและสหาย ๓๒ คน ได้ไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มาตุลี=ชื่อเทวบุตรผู้เป็นสารถีของพระอินทร์.
เวชยันตร์=ชื่อวิมาน หรือรถของพระอินทร์.
เวตร์ณี=เวตรณีนรก แปลว่า แม่น้ำเวตรณี แปลว่า ข้ามยาก คือแม่น้ำด่างที่ร้อนเดือดพล่าน เรียกว่า เวตรณีบัวและสิ่งต่างๆ ในแม่น้ำนั้นเป็นอาวุธทั้งสิ้น นายนิรยบาลตกเบ็ดสัตว์นรกอีกด้วย สำหรับบาปที่ประกอบกรรมหยาบช้า เบียดเบียนผู้ที่อ่อนกำลังกว่า
นิรย์บาล=นายนิรยบาล คือยมบาล เป็น เจ้าพนักงานในนรกภูมิ มีหน้าที่ลงโทษทรมานสัตว์นรกตามคำสั่งของยมบาล  ศาสนาพุทธเชื่อว่ายมบาลเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา มี ๓ ประเภท ๑)ยมบาลยักษ์ คือยักษ์ที่อยากทำร้ายสัตว์นรก จึงจำแลงกายเป็นยมบาล เที่ยวไล่ทำร้ายสัตว์นรกต่าง ๆ หรือแปลงกายเป็นแร้งกาจิกกินสัตว์นรก ๒)ยมบาลกุมภัณฑ์ คือยมบาลที่อาศัยประจำในนรก มีหน้าที่ทำร้ายสัตว์นรก หรือแปลงกายเป็นแร้งกาจับสัตว์นรกกิน ๓)เป็นยมบาลที่เกิดขึ้นจากวิบากกรรมของสัตว์นรกเอง เรียกว่า นายนิรยบาล มีกายใหญ่โต ผิวสีดำทมิฬ เนื่องจากเกิดจากกรรมของสัตว์นรกตนนั้นๆ จึงไม่มีชีวิตจิตใจ จึงลงโทษสัตว์นรกนั้นโดยไร้ความเมตตาปรานี
วารุณี=เทพธิดาวารุณี
พรหมวิหาร=พรหมวิหาร  ๔ คือหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้แก่ ๑)เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า ๒)กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ ๓)มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป ๔)อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 17, กุมภาพันธ์, 2568, 09:20:24 AM

(https://i.ibb.co/m5sXcVxy/Screenshot-20241231-174738-Chrome.jpg) (https://ibb.co/9HXVrkM4)

ทศชาติชาดก : ๕.มโหสธชาดก

กาพย์นาคบริพันธ์

   ๑.โพธิ์สัตว์เสวยพระชาติ............."มโหสธ"กาจ
บำเพ็ญล้ำ"ปัญญาบาร์ฯ
   ๒.คราเกิดมามีแท่งยา..................อยู่ในมือหนา
โรคาโผล่ฆาตตาม
   ๓.ความย่อชาดกลาม.................."มิถิลา"งาม
มีเศรษฐี"สิริฯครัน
   ๔.ภรรยา"สุมนาฯ"พลัน...............มีบุตรชายสรรค์
ชื่อลือ"มโหสธ"เอย
   ๕.เอ่ยสิริฯปวดหัวเคย..................ใช้แท่งยาเผย
ทาหน้าผากปวดหายคลาย
   ๖.หลายคนป่วยแท่งยากราย........รักษาจนหาย
คนท้นพากันเลื่องลือ
   ๗.ปรือเติบใหญ่ฉลาดชื่อ..............ปัญญาเลิศถือ
กว่านาเด็กวัยเดียวกัน
   ๘.วันหนึ่งมโหสธครัน....................คิดหน้าฝนหวั่น
ต้องคอยจ้องหลบฝนเอย
   ๙.เลยคิดสร้างที่เล่นเปรย..............เรี่ยไรเงินเผย
วางสร้างเรือนอันตระการ
   ๑๐.ฐานที่เล่น,กิน,นอนพาน............ผู้คนพักผ่าน
ห้องตรองปรึกษาคดี
   ๑๑.ชี้มโหสธเก่งทวี.......................ช่วยตัดสินรี่
ปัญหาครันแก้ต่างไว
   ๑๒.ไซร้ชื่อมโหสธไกล..................ขจรไสว
รู้พรูเมืองมิถิลา
   ๑๓.ครานั้น"วิเทฯ"ราชา.................มีปราชญ์สี่หนา
กล่าวพราว"มิถิฯ"มีพลัน
   ๑๔.บัณฑิตคนที่ห้าทัน..................ต้องเสาะสืบสรรค์
ผู้รู้ปราดเปรื่องปัญญา
   ๑๕.ราชาจัดส่งเสนา......................หาผู้เก่งหนา
ถึงซึ่งบ้านสิริฯเลย
   ๑๖.เอ่ยเรือนมโหสธเชย................ใครออกแบบเผย
คนด้นตอบเด็กเจ็ดปี
   ๑๗.ชี้เสนากราบทูลรี่.....................มโหสธปรี่
ราชาถามทั้สี่นา
   ๑๘.ถ้าพาเด็กเข้าเมืองมา...............จะควรไม่หนา
ได้ไซร้คำตอบไม่พอ
   ๑๙.รอดูก่อนปัญญาคลอ................ฉลาดจริงหนอ
แน่แค่ออกแบบมิควร
   ๒๐.ส่วนมโสธทบทวน....................คดีความถ้วน
มีชนรี่ปรึกษาเนือง


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 18, กุมภาพันธ์, 2568, 09:02:01 AM

(ต่อหน้า ๒/๕) ๕.มโหสธชาดก

   ๒๑.เรื่องเจ้าของโคหลับเคือง..........โคถูกลักเปลื้อง
ตามถามเจอสองฝ่ายยัน
   ๒๒.ฟันเลยเจ้าของเหมือนกัน..........ใครตัวจริงลั่น
สองตรองมโหสธไว
   ๒๓.ไซร้มโหสธไข..........................ถามผู้ลักไว
ชี้ทีโคกินใดมา
   ๒๔.คราโจรตอบกิน"ถั่ว,งา".............แป้ง,ยาคูหนา
เจ้าของเร้ากินหญ้าเอย
   ๒๕.เผยมโหสธสั่งเลย.....................ตำใบไม้เอ่ย
ใส่ให้โคกินน้ำตาม
   ๒๖.ยามโคสำรอกหญ้าลาม.............ทราบแน่ชัดผลาม
ใครไซร้เป็นเจ้าของจริง
   ๒๗.ยิ่งหล้าราชาอยากอิง.................มโหสธมิ่ง
มีสี่ปราชญ์ย้ำทัดทาน
   ๒๘.พานราชาตามผลงาน.................มโหสธขาน
แน่แก้ตัดสินความตรง
   ๒๙.บ่งกษัตริย์ตั้งปัณหาชง...............ลองปัญญาส่ง
โอ้มโหสธแก้ไว
   ๓๐.ไซร้ท่อนไม้เกลาเรียบไง.............."โคน-ปลาย"ด้านไหน
โอมโหฯคิดวิธี
   ๓๑.ชี้ผูกเชือกกลางไม้ที....................ลอยในน้ำปรี่
"โคน"โจนหนักก็จมลง
   ๓๒.ตรง"ปลาย"เบาลอยน้ำทรง..........มโหสธบ่ง
พานด้านไหนโคน-ปลาย
   ๓๓.ฝ่ายราชาสั่งพากราย...................มโหสธฉาย
พา"พ่อ,ม้าอัสดร"จร
   ๓๔.ผ่อนมโหสธรู้คลอน.....................นำ"ลา"แทนก่อน
ดองสองพ่อลูกครรไล
   ๓๕.ไท้กษัตริย์เชิญพ่อไว...................นั่งที่เหมาะใส
โผล่มโหสธเข้ามา
   ๓๖.คราพ่อลุกขึ้นพา.........................ลูกนั่งแทนหนา
ชนล้นล้วนคิดติเตียน
   ๓๗.เพียรมโหสธทูลเรียน..................ติไหมที่เปลี่ยน
ราชารับตำหนิติง
   ๓๘.มิ่งมโหสธถามจริง.......................พ่อสำคัญยิ่ง
กล้าเก่งกว่าบุตรหรือไร
   ๓๙.ไท้ราชาตรัสแน่ไซร้.....................มโหสธทูลไข
ทรงบ่งพ่อเหนือบุตรแล
   ๔๐.ครามโหสธนำ"ลา".......................ต่อหน้าพักตร์หนา
ทรงบ่งพ่อเหนือบุตรแล
   ๔๑. แน่ลานี้คือพ่อแท้........................ม้าอัสดรแฉ
เห็นพ่อเด่นรับ"ลา"ไป
   ๔๒.ใช่ชี้ไซร้บุตรเหนือไกล................ก็รับม้าไข
ตามความประสงค์พระองค์
   ๔๓.ทรงคิดพ่อเหนือลูกยง..................รับพ่อข้าบ่ง
เผื่อลูกเหนือรับข้าไว
   ๔๔.ไยมโหสธกล่าวไร........................หาหลู่พ่อไม่
ใจให้ชนตระหนักจริง
   ๔๕.ดิ่งแก้ไขปัญหาอิง........................ปราชญ์สี่ผูกยิ่ง
แกล้งแต่งปัญหาขึ้นมา
   ๔๖.ราชาปรีดิ์เปรมปัญญา..................มโหสธหนา
ตรัสขัดข้องหรือไม่เอย
   ๔๗.เอ่ยขอมโหสธเลย.......................ราชบุตรเผย
สิริเศรษฐีกริ่งเกรง
   ๔๘.เพ่งแค่เจ็ดขวบชเลง....................รอโตหน่อยเขลง
ตรัสชัดเฉียบกว่าตนโต
   ๔๙.โอ้มโหสธอยู่โชว์.........................ในวังนานโข
ได้ใช้ปัญญาแก้ไว
   ๕๐.ไท้กษัตริย์ผูกปัญหาไกล..............มโหสธไข
แน่แก้ได้ถูกทุกครา


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 19, กุมภาพันธ์, 2568, 07:41:21 AM

(ต่อหน้า ๓/๕) ๕.มโหสธชาดก

   ๕๑.ถ้าปราชญ์สี่สร้างมา...............ให้จนปัญญา
โอมโหฯแก้ได้เอย
   ๕๒.เอ่ยคราช่วยปราชญ์เกย.........พ้นอับจนเผย
แต่แน่มิรู้คุณคน
   ๕๓.ก่นส่อให้กษัตริย์ยล................ด้อยปัญญาผล
สี่คนคลี่เรืองอีกครา
   ๕๔.กล้ามโหสธเกริกนา.................ครบสิบหกหนา
วัยใสควรมีคู่แล
   ๕๕.แน่มเหสีหาคู่แด......................มโหสธแฉ
ขอจ่อเลือกหญิงคู่ใจ
   ๕๖.ใกล้หมู่บ้านพบหญิงไว............ชื่อ"อมร"ไข
เป็นเด่นลูกเศรษฐีจน
   ๕๗.ด้นปลอมตัวเป็นช่างยล............รับชุนผ้าก่น
มาอาศัยบ้านหญิงนา
   ๕๘.ครามโหฯสอบปัญญา...............หญิงหลายอย่างหนา
เจอแรกเอ่อถามชื่อนาง
   ๕๙.พลางนางบอกชื่อแปลวาง.........เราไม่มีพร่าง
ชี้ไม่มีสักกาลใด
   ๖๐.ไซร้มโหสธตอบไป..................."ความไม่ตาย"ไข
เอ่อเธอชื่อ"อมร"ฤๅ
   ๖๑.ชื่อนางตอบใช่แล้วครือ.............มโหฯถามยื้อ
นำข้าวล้ำไปให้ใคร
   ๖๒.ไซร้ตอบ"บุรเทพฯ"ไง................มโหฯคิดไข
แปลแท้เทพแรกที่มี
   ๖๓.ชี้ก็คือพ่อแม่นี้............................เทพองค์แรกคลี่
จึงพึงใจสู่ขอนาง
   ๖๔.พลางมโหฯพาเธอย่าง................มิถิลาทาง
ได้ลองใจนางอีกคราว
   ๖๕.กล่าวจะล่วงไปก่อนยาว..............แล้วแต่งกายพราว
รอจ่อในบ้านหลังงาม
   ๖๖.ตามคนไปรับนางผลาม...............แล้วคิดปิดความ
เลี้ยวเกี้ยวพาราสีเลย
   ๖๗.เฉยอมรหายุ่งเปรย.....................มโหฯพอใจเผย
เข้าเฝ้าประทานแต่งงาน
   ๖๘.ผ่านมาสี่ปราชญ์แกล้งราน..........เสมอมาขาน
ราชาเข้าใจผิดไว
   ๖๙.ไล่มโหสธพ้นไกล.......................มโหฯมิเคืองใจ
รักภักดีราชาเอย
   ๗๐.เปรยตรัสว่าปัญญาเชย...............เฉียบแหลมยิ่งเผย
วิ่งชิงสมบัติได้ไว
   ๗๑.ไยมิคิดร้ายเราไกล.....................มโหฯตอบไข
ปราชญ์มิพลาดทำชั่วเลย
   ๗๒.เอ่ยแม้ลาภ,ยศเสื่อมเอย..............ไม่ละธรรมเผย
เพราะเจาะหลงลาภ,ยศแล
   ๗๓.แท้นอนใต้ร่มไม้แล้.....................ถ้าตัดไม้แฉ
เพรียกเรียกทำร้ายมิตรวาย
   ๗๔.ฉายมีคนเกื้อกูลกราย.................รักษ์ไมตรีผาย
อย่าพร่าเพราะโง่เอง
   ๗๕.เปล่งผู้ครองเรือนคร้านเกรง........ก็มิงามเผง
นักบวชจักสำรวมดี
   ๗๖.รี่กษัตริย์ขาดใคร่ครวญคลี่..........มิงามศักดิ์ศรี
ปราชญ์ยาตรโกรธก็มิงาม
   ๗๗.ความสี่ปราชญ์กลั่นแกล้งลาม......มโหรอดผลาม
ไม่ได้โต้แต่เมตตา
   ๗๘.กล้าเตรียมการป้องเมืองนา..........การข่าวเยี่ยมหนา
มิถิลาจึงปลอดภัย
   ๗๙.ไท้ราชาหนึ่งนามไซร้..................."จุลนีฯ"เมืองไกล
ครองจองเมือง"อุตร์ปัญจ์ฯ"
   ๘๐.ดั้นสงครามแผ่เขตขัณฑ์..............ร่วม"เกวัฏฯ"ผัน
ล่อจ่อลวงร้อยเอ็ดเมือง


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 20, กุมภาพันธ์, 2568, 08:32:37 AM

(ต่อหน้า ๔/๕) ๕.มโหสธชาดก

   ๘๑.เยื้องทำสัตย์สาบานเรือง.........เตรียมเหล้าพิษเขื่อง
จัดกษัตริย์ดื่มเสร็จการ
   ๘๒.ผ่านรวมอำนาจเดียวชาญ........มโหฯทราบสาร
ส่งตรงด้วยนกแก้วเอย
   ๘๓.เผยมโหฯวางแผนเกย..............ช่วยชีวิตเปรย
ชัดกษัตริย์ร้อยเอ็ดแล
   ๘๔.แน่มิถิลาเดียวแท้.....................มิทำสัตย์แฉ
ชี้"จุลนีฯ"เคลื่อนทัพพลัน
   ๘๕.ดั้นเกวัฏฯจัดการครัน...............มโหฯรู้ทัน
แน่แก้ไขได้ทุกครา
   ๘๖.กล้ามโหฯรับคำท้า...................เกวัฏฯพราหมณ์หนา
แน่วเอาแก้วมณีไป
   ๘๗.ไซร้มโหฯแสร้งจะให้................แก้วเกวัฏฯไง
แต่แน่วางที่ปลายมือ
   ๘๘.ยื้อเกวัฏฯก้มรับครือ..................แก้วตกพื้นหือ
ชัดเกวัฏฯรีบเก็บพลัน
   ๘๙.ดั้นมโหฯกดคอครัน...................ผลักเกวัฏฯผลัน
ปะทหารประกาศแล
   ๙๐.แน่เกวัฏฯก้มไหว้แล้...................มโหฯเกลียดแฉ
จักผลักเกวัฏฯกระเด็น
   ๙๑.เช่นทหารจุลนีฯเห็น...................เกวัฏฯกราบเด่น
ไซร้ไม่ทราบว่าเหตุใด
   ๙๒.ใจเหล่าทหารหวั่นไว..................กลัวอำนาจไข
ทัพดับถอยแตกกระจาย
   ๙๓.ฝ่ายเกวัฏฯฆาตมิวาย.................ทำไมตรีผาย
ชี้จุลนีฯทำสัญญา
   ๙๔.ว่าจุลนีฯมอบธิดา.......................แก่วิเทฯหนา
เด่นเป็นพระชายาเอย
   ๙๕.เอ่ยขอให้วิเทฯเกย...................มา"อุตร์ปัญจ์ฯ"เผย
รอจ่ออภิเษกแล
   ๙๖.แน่มโหฯค้านต้องแปร...............วิเทฯนิ่งแฉ
ก่อจ่อมโหฯเสียใจ
   ๙๗.ไท้ราชาหลงหญิงไว.................ด้วยภักดีใส
พลางวางอุบายแก้กล
   ๙๘.ด้นไปสร้างวังงามดล................อุโมงค์ลับยล
ชูประตูซับซ้อนเอย
   ๙๙.เอ่ยวังเสร็จวิเทฯเกย.................ประทับรอเลย
ชี้จุลนีฯสั่งล้อมวัง
   ๑๐๐.ฝั่งมโหฯหนีออกยัง.................อุโมงค์ลับบัง
กรูสู่วังจุลนีฯ
   ๑๐๑.รี่หลอกองค์มเหสี....................ลูก,ชนนี
พามาขังอุโมงค์ครัน
   ๑๐๒.หวั่นวิเทฯตกใจพลัน................ทหารล้อมมั่น
ชัดตรัสปรึกษาแก้ใด
   ๑๐๓.ไซร้มโหฯทูลห้ามไท้................มิทรงเชื่อไร
ชี้จุลนีฯเหยื่อตกปลา
   ๑๐๔.คราก่อไมตรีเลือกหา...............ผู้ไร้ศีลหนา
แย่แน่เรารับทุกข์ทน
   ๑๐๕.คนไร้ศีลงูพิษล้น.....................ก่อเดือดร้อนผล
ใฝ่ไมตรีมิมีทาง
   ๑๐๖.พลางวิเทฯเสียใจลาง..............แรกไม่เชื่อผาง
โขมโหฯนำวิเทฯไป
   ๑๐๗.ในอุโมงค์พบญาติไกล............ของจุลนีฯไซร้
ควรด่วนคืนมิถิลา
   ๑๐๘.คราพร้อมวงค์จุลนีฯนา...........เสด็จจรหนา
อยู่ชูแค่มโหฯเอย
   ๑๐๙.เผยจุลนีฯประกาศเปรย..........จับวิเทฯเกย
รับกลับคืนมิถิลา
   ๑๑๐.พาพร้อมราชวงค์นา................ทรงตกใจหนา
หวาดกลัวญาติมีภัย


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, กุมภาพันธ์, 2568, 03:16:52 PM

(ต่อหน้า ๕/๕) ๕.มโหสธชาดก

   ๑๑๑.ไซร้มโหฯทูลมิมีใคร..............อันตรายใด
เชิญเดินอุโมงค์งามแล
   ๑๑๒.แน่ราชาเพลิดเพลินแท้..........ปิดประตูแฉ
โอ้มโหฯหยิบดาบมา
   ๑๑๓.ท่าอยากตัดเศียราชา............จุลนีฯกลัวหนา
นอบตอบมิทำร้ายองค์
   ๑๑๔.บ่งถ้าทรงอยากฆ่าตรง..........จะมอบดาบปลง
ราชาได้สติเอย
   ๑๑๕.เปรยมโหฯปัญญาเอ่ย...........เลิศเลอเฉลย
ใจไม่เคยคิดร้ายต่อใคร
   ๑๑๖.ไท้ขอโทษคิดร้ายไกล...........มิถิลาไข
ลิวิเทฯ,มโหฯแล
   ๑๑๗.แน่มโหฯทูลลาแล้..................มิถิลาแปร
ชัดจัดทัพส่งราชวงศ์
   ๑๑๘.บ่งสู่อุตร์ปัญจ์ฯตรง................เว้นธิดาคง
ชายาเจ้าวิเทฯเอย
   ๑๑๙.เอ่ยจุลนีฯกล่าวเปรย..............มโหผู้เชย
น่ามาอยู่กับพระองค์
   ๑๒๐.บ่งมโหฯแจงขึ้นตรง................กับวิเทฯยง
ไปอยู่ไหนมิได้เลย
   ๑๒๑.เปรยทรงสิ้นแล้วเผย..............ข้าจะไปเกย
อยู่กรูเมืองอุตร์ปัญจ์ฯแล
   ๑๒๒. แน่วิเทฯเสด็จแล้....................สวรรคาแฉ
พลันสัญญามโหฯกราน
   ๑๒๓.งานเริ่มกับจุลนีฯพาน..............เจอเกวัฏฯผลาญ
โอ้มโหฯรอดทุกครา
   ๑๒๔.กล้ามโหฯเพริศปัญญา............คุณธรรมล้ำหนา
ไม่หลงใหลลาภ,ยศเอย
   ๑๒๕.เอ่ยปัญญาล้ำเลิศเชย.............ทำประโยชน์เผย
จริงยิ่งกว่าทรัพย์แสนแล ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ มโหสธชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๘
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: มโหสธชาดก ตอนที่ ๕ บำเพ็ญปัญญาบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

โพธิ์สัตว์=พระโพธิสัตว์ คือ ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
มโหสธ,มโหฯ=พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พระมโหสธ เพื่อ บำเพ็ญปัญญาบารมี
ปัญญาบาร์=ปัญญาบารมี คือ มีความรอบรู้ ความเข้าใจ แยกแยะเหตุและผล คุณและโทษ พระมโหสถชาดก เป็นเรื่องราวในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ด้วยการใช้ปัญญาอันเฉียบแหลมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยยึดหลักศีลธรรม
สิริฯ=เศรษฐีสิริวัฒกะ บิดาของพระมโหสธ
สุมนาฯ=นางสุมนาเทวี มารดาของ พระมโหสธ(เพราะ ทารกมีแท่งยาวิเศษอยู่ในมือ)
วิเทฯ=พระเจ้าวิเทหราช กษัตริย์เมืองมิถิลา
สี่ปราชญ์ราชบัณทิต=ของเมืองมิถิลา ได้แก่ เสนกะ,ปุตกุสะ,กามินท์,เทวินทะ
อมร=แปลว่า ไม่ตายเป็นสตรีที่มโหสธ ประลองปัญญา เพื่อเลือกเป็นคู่ครอง
บุรเทพฯ=บุรพเทวดา คือ เทวดาที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา
จุลนีฯ=จุลนีพรหมทัต กษัตริย์ เมืองอุตรปัญจาล
เกวัฏฯ=เกวัฏพราหมณ์ ปุโรหิตของกษัตริย์จุลนีพรหมทัต


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, กุมภาพันธ์, 2568, 05:17:25 AM

ทศชาติชาดก : ๖.ภูริทัตตชาดก

กาพย์มหาตุรงคธาวี

   ๑.ราชานาม......พรหมทัตขาม......เมืองงามพาราณ์สี
โอรสยาตร....อุป์ราชขจี....กาลต่อมา....คิดพาระแวงบุตรา
ก่อขบถ........ทรงให้โอรส.......จรดไกลเมืองหนา
เมื่อราชา....สิ้นนาค่อยมา.....คืนกลับเมือง....ประเทืองสืบสมบัติเอย
     
   ๒.โอรสจำ......รี่ออกบวชย้ำ......แม่น้ำ"ยุมนา"เผย
นางนาคหนึ่ง....คะนึงเหงาเอย....สามีตาย....มิคลายว้าเหว่ระกำ
ไม่อาจทน.......ภพนาคทุรน.......ท่องยลริมฝั่งน้ำ
ถึงที่พัก.....ของนักบวชล้ำ.....อยากรู้ว่า....จิตกล้าเลื่อมใสหรือไร
 
   ๓.นางนาคมา.......ประดับศาลา.......ประดาที่นอนใหม่
ดอกไม้หอม....พรั่งพร้อมสิ่งไซร้.....ของทิพย์จาก....เมืองนาคสะอาดสบาย
ราชบุตรนา......คืนกลับศาลา.......เห็นว่างดงามฉาย
ประทับนอน....ด้วยผ่อนใจคลาย....รุ่งเช้าดอก....ก็ออกนอกศาลาไป

   ๔.นางมองดู......มีรอยนอนอยู่.....จึงรู้ว่านักบวชไซร้
มิได้บวช....ยิ่งยวดเลื่อมใส....ยังยินดี....รักคลี่สวยงามภิรมย์
ตามวิสัย......คนมีกิเลสชัด.......จึงจัดอย่างเดิมสม
ฝ่ายราชบุตร....สะดุดใจชม....ใครหนอดี....จัดที่นอนแสนสบาย

   ๕.หยุดเข้าป่า......แอบใกล้ศาลา......มองหาผู้เตรียมฉาย
นางนาคมา....ถึงศาลากราย.....ราชบุตรสอบ....เธอลอบมาเป็นใครกัน
นางตอบชื่อ......"มาณวิกา"ครือ......อยู่ปรือเป็นนาคครัน
ลำน้ำนี้....สามีตายครัน....จึงท่องเที่ยว....ลดเลี้ยวบนบกเรื่อยไป

   ๖.ราชบุตร......ยินดีเร่งรุด.......พูดยุดบอกนางไข
หากยินดี....จิตคลี่พอใจ....กับพระองค์....ก็คงได้อยู่ร่วมกัน
นางตกลง.......จึงอยู่ร่วมบ่ง......ชีพตรงครองคู่สรร
มีบุตรา....ชื่อ"สาครฯ"พลัน....บุตรีผุด....พิศุทธิ์"สมุทรชา"

   ๗.ครากษัตริย์......เจ้าพรหมทัต......ทรงชัดสวรคา
จัดกระบวน....รับด่วนจรนา....กษัตริย์แทน....ครองแคว้นพาราณ์สีไกล
ราชบุตรถาม.....นางนาคจะตาม......ไปคามพาราณฯไหม
นางตอบจัก....นาคมักโกรธไว....มีฤทธิ์ร้าย....แค่กรายตาก็ไหม้เลย

   ๘.นางนาคตรับ......ทรงพาลูกกลับ.......ไปลับในเมืองเอ่ย
ตัวนางทูล....อาดูรนักเอย....ขอกลับคืน....จำชื่นเมืองนาคเร็วพลัน
วันหนึ่งนา.......โอรส,ธิดา.......ลงมาเล่นน้ำครัน
เห็นเต่าไว....ตกใจหวั่นกัน....ราชาให้....นำไปทิ้งวังน้ำวน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 23, กุมภาพันธ์, 2568, 07:49:18 PM

(ต่อหน้า ๒/๕) ๖.ภูริทัตตชาดก

   ๙.เต่าดิ่งนา......น้ำ"ยมุนา"......ถึงฝ่าเมืองนาคยล
ถูกพวกนาค....จับลากอับจน....ออกอุบาย....ทูตกรายมาเฝ้าท้าวเธอ
กษัตริย์พาราณฯ......ยกธิดาพาน......แด่ท่าน"ธต์รฐฯ"เกลอ
สองเมืองไซร้....สานไมตรีเจอ.....ธตรฐ....ท้าวจดยินดีสราญ

   ๑๐.ธต์รฐส่ง.......ทูตสี่ตนบ่ง......จัดตรงบรรณาการ
พาราณ์สี....ขอรี่รับสาน....พระธิดา....ลงมานาคพิภพเลย
กษัตริย์พาราณฯ.......แปลกพระทัยพาน......ต่างกรานคน,นาคเผย
มีเผ่าพันธุ์....ต่างกันมากเอย....จะแต่งงาน....สำราญรมย์มิได้ไกล

   ๑๑.ทูตนาคกลับ.......ยังพิภพลับ.......ทูลตรับถูกหมิ่นไข
กษัตริย์พาราณฯ....ทรงขานงูไซร้....มิควรคู่....เชิดชูพระธิดางาม
ธตรฐ......ทรงพิโรธจด......สั่งทดฝูงนาคผลาม
แจงอิทธิ์ฤทธิ์....ประชิดเกรงขาม....แผ่พังพาน....รังควานให้คนหวาดกลัว

   ๑๒.ฝูงนาคนา......ไม่ทำร้ายหนา......แค่พาตกใจรัว
ท้ายราชา....ยอมมาส่งตัว....สมุทรชา....ถึงคราภพนาคดล
มิรู้ว่า.....อยู่เมืองนาคนา.......ล้วนหนาแปลงเป็นคน
สมุทรชา....อยู่มาสุขด้น....มีโอรส....สี่จดพระนามยิ่งยง

    ๑๓.พระนามปะ......"สุทัศนะ"......."ทัตตะ"โพธิ์สัตว์บ่ง
"สุโภคะ"....และ"อริฏฐ์ฯ"คง....คราอริฏฐ์ฯ....เล่นชิดกับเพื่อนนาคเอย
เพื่อนนาคเล่า......มารดาของเรา.......ด้วยเขาไป่นาคเผย
กินนมอยู่....อริฏฐ์ฯกรูแปลงเกย....เป็นงูครัน....แม่พลันตกใจร่วงลง

    ๑๔. อริฏฐ์ฯแล.......ตกจากตักแท้.......เล็บแม่ข่วนตาส่ง
บอดหนึ่งแย่....ตั้งแต่นั้นปลง....สมุทรชา....รู้นาอยู่เมืองนาคเอย
โอรสสี่......โตขึ้นเร็วรี่.......พ่อคลี่แบ่งเขตเผย
ครองสมบัติ....สี่ชัดเขตเลย....ทัตตะรอง....สนองมาเฝ้าประจำ

    ๑๕.ทัตตะครอง......โอรสที่สอง.......ผู้คล่องปัญญาหนำ
แก้ปัญหา....บิดาได้ช่ำ.....ข้อขัดข้อง....สิของเทพก็แก้ไว
คำเยินยอ........ปรีชาจริงหนอ.......ถูกจ่อขานนามไข
"ภูริทัตต์"....ผู้ชัดเกรียงไกร....คือทัตตะ.....ผู้เมลืองยิ่งปัญญา

   ๑๖.ภูริทัตต์.......ใจปฏิบัติ......ยืนหยัด"อุโบฯ"หนา
เพราะมีโชค....เห็นโลกเทวา....จึงอยากไป....เกิดในเทวโลกเอย
คราบิดา......อนุญาตมา......อย่าล้ำเมืองนาคเผย
ภูริทัตต์....อึดอัดมากเลย....ฝูงนาคล้อม....รอพร้อมให้บริการ

   ๑๗.ภูริทัตต์........ยั้งจอมปลวกคัด.......ใกล้ชัดต้นไทรฉาน
ริมแม่น้ำ....ยิ่งล้ำชื่อกราน....ยมุนา....จิตกล้าแกร่งแน่วมั่นคง
อธิษฐาน......ถ้าใครต้องการ......แม้ราน,หนัง,เลือดบ่ง
กระดูก,เอ็น....ก็เน้นให้ตรง....ขอเพียงรักษ์....ศีลจักบริสุทธิ์แล

   ๑๘.มีนายพราน......ชื่อ"เนสาท"ขาน.......เดินผ่านล่าสัตว์แฉ
รู้โอรส....นาคจดแน่แท้....ภูริทัตต์....ตรองชัดเป็นคนชั่วเอย
กาลภายหน้า.......อาจมีภัยฝ่า......จึงพาไปเมืองนาคเผย
อยู่ไม่นาน....เกิดพรานเบื่อเปรย....ขอคืนเมือง....ประเทืองบวชดีดว่าครัน

   ๑๙.ภูริทัตต์........ด้วยปัญญาหยัด.......พรานชัดอันต์รายหวั่น
ไม่ทราบแท้....ทางแก้ไขกัน....จำต้องพา....กลับมาล่าสัตว์ต่อไป
มีพญาครุฑ.......จับนาคกินซุด.......นาครุดพันต้นไทร
เมื่อครุฑกิน....นาคสิ้นเห็นไว....มีไทรติด.....ประชิดมาด้วยทุกข์นา

   ๒๐.ครุฑคิดไซร้.......ฤาษีอาศัย......ร่มไทรที่พักหนา
แปลงมาณพ....แล้วจบถามว่า....กรรมเกิดพรู....กับผู้ใดครุฑ,นาคแล
ฤาษีไซร้........ครุฑ,นาคมิได้......ตั้งใจถอนไทรแฉ
กรรมไม่มี....จะรี่แก่ใครแท้....ครุฑดีใจ....บอกไปตนคือครุฑเอง


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 24, กุมภาพันธ์, 2568, 11:08:41 AM

(ต่อหน้า ๓/๕) ๖.ภูริทัตตชาดก

   ๒๑.ครุฑสอนมนต์......"อาลัมพายน์"ด้น......ท่องบ่นฤาษีเผง
เป็นมนต์ที่.....ครุฑชี้นาคเกรง.....จับนาคได้....ง่ายไซร้แน่นอนทีเดียว
มีพราหมณ์หนึ่ง.......หนี้มากทุกข์ตรึง.......ไร้ซึ่งปัญญาเชียว
จึงเข้าป่า....คิดฆ่าตนเจียว....พบฤาษี....ใจชี้เลิกฆ่าตัวตาย

   ๒๒.ปรนนิบัติ......ฤาษีเด่นชัด......ได้หยัดอาลัมพายน์
พราหมณ์เห็นทาง....กระจ่างชีพกราย....ลาฤาษี....ท่องรี่สาธยายมนต์
นาคเล่นน้ำ......ยินเสียงมนต์พร่ำ......คิดซ้ำครุฑมาหน
โจนหนีล่วง....ทิ้งดวงแก้วพ้น....บนบกเลย....พราหมณ์เอยเก็บเอาไปนา

   ๒๓.พรานเนสาท......เห็นพราหมณ์ถือยาตร......มิพลาดจำได้หนา
คือดวงแก้ว....เคยแน่วเห็นมา....ภูริฯมี....จึงรี่ขอเอาจากพราหมณ์
ต้องการใด......หาแลกเปลี่ยนให้.......พราหมณ์ไขอยากทราบผลาม
นาคอยู่ไหน....ตนไซร้จะตาม....เพราะมีมนต์....ท่องท้นจับนาคได้แล

   ๒๔.เนสาทรี่.......พาพราหมณ์เดินปรี่......ยังที่ภูริฯแฉ
ด้วยความโลภ....ละโมบแก้วแท้....โสมทัตผู้....ลูกกรูละอายหลีกไป
บิดาคิด......ไม่ซื่อต่อมิตร......จะปลิดชีพเพื่อนไส
ภูริทัตต์....เห็นชัดพราหมณ์ภัย....คิดทำร้าย....หากกรายโต้พราหมณ์จะวาย

   ๒๕.ภูริทัตต์......เกรงศีลขาดชัด.....ต้องพลัดสะอาดฉาย
ขดกายนิ่ง....พราหมณ์ดิ่งมนต์กราย....อ้าปากเร้า....เขย่าสำรอกหมดเอย
แล้วทำร้าย.......ภูริฯเจ็บหลาย......แทบวายมิโต้เผย
ภูริทัตต์....ถูกจัดโชว์เอย....ให้คนดู....พราหมณ์กรูบีบแจงฤทธิ์คง

   ๒๖.เนรมิตตน.......เล็ก,ใหญ่,ขดล้น......มีพ่นไฟ,น้ำบ่ง
เสกสีกาย....ได้หลายสีตรง....ชนสงสาร....ให้กรานข้าวของมากมี
พราหมณ์ยิ่งโลภ......พาแสดงโอบ.......จนโฉบพาราณสี
ทูลราชา....จะพานาครี่....แสดงฤทธิ์.....ให้พิศดูแปลกตาเลย

   ๒๗.นางสมุทรชา.......ผิดสังเกตว่า........ภูริฯหาเฝ้าเผย
พี่น้องช่วย....ตามด้วยกันเอ่ย....สุทัศนะ....รีบปะมนุษย์ครา
สุโภคะ......ป่าหิมพานต์ปะ......อริฏฐะเทวา
อัจจิมุข....น้องรุกไปนา....โลกมนุษย์.....ไปจุดเดียวกับพี่ชาย

   ๒๘.สุทัศนะ......พี่ชายใหญ่ดะ.....ถึงปะพาราณฯฉาย
ได้ข่าวมี....นาครี่จับกราย....ให้คนดู....เร่งกรูมาดูทันที
ภูริฯเห็น......พี่ชายมาเด่น.....รีบเผ่นเลื้อยหาปรี่
แทบเท้าซบ....ไห้จบเลื้อยหนี....เข้าที่ขัง....ตนยั้งอยู่ตามเดิมเอย

   ๒๙.พราหมณ์บอกกับ......สุทัศนะตรับ......นาคงับอย่ากลัวเผย
ไม่กี่วัน....จะพลันหายเอง....สุทัศนะ....นี้ปะนาคไร้พิษแล
พราหมณ์กล่าวชัด......สุทัศฯหมิ่นจัด.....ใช้สัตว์ไร้พิษแฉ
สุทัศนะ....ท้าปะเขียดแล้...มิพิษกล้า....มากกว่านาคของท่านครัน

   ๓๐.พราหมณ์บอกสู้.......ต้องเดิมพันกู้......จะดูสมควรการ
สุทัศนะ....ขอกษัตริย์พาราณฯ....ประกันด้วย....ได้ฉวยดูต่อสู้พาน
นาค,เขียดบ่ง.....ราชาตกลง......เขาตรงเรียกน้องขาน
อัจจิฯนา....ขอยาพิษกราน....สอง-สามหยด....พิษจดแรงยิ่งนักเอย

๓๑.นาง,ลูกสาว....."ธตรฐ"ท้าว......ฉาวกษัตริย์นาคเผย
พิษนี้หยด....ตกรดพื้นเอย....พืชตายหมด....หากหยดลงน้ำปลาตาย
หากโยนพิษ.......สู่อากาศชิด.....ฝนริดเจ็ดปีผาย
สุทัศฯขอ....ขุดบ่อสามกราย....แรก"ใส่พิษ"....สองชิดใส่"โคมัย"เอย

   ๓๒.สาม"ยาทิพย์".......เริ่มท้าแข่งกริบ......หนึ่งพริบใส่"พิษ"เผย
เกิดเปลวไฟ....จนไหม้ลามเลย....ไปบ่อสอง....สามมองยาทิพย์ไหม้ปลง
ไฟจึงดับ......พราหมณ์ยืนข้างกลับ......ได้รับไอพิษส่ง
ผิวหนังลอก....ถลอกด่างบ่ง....ร้องกลัวแล้ว....จะแน่วปล่อยนาคไปครัน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 25, กุมภาพันธ์, 2568, 01:10:54 PM

(ต่อหน้า ๔/๕) ๖.ภูริทัตตชาดก

   ๓๓.ภูริทัตต์......ยินแล้วเลื้อยถัด.......สลัดคอกขังพลัน
แปลงกายผุด....มนุษย์ประชัน....ราชาถาม....ความเป็นมาพี่น้องนา
ภูริฯกล่าว......เราพี่น้องฉาว......บุตรท้าว"ธตรฐ"หนา
สมุทรชา,แม่....ยอมแพ้จับมา....รักษ์ศีลมั่น....ไม่ถลันฆ่าพราหมณ์เอย

   ๓๔.บัดนี้มี.....อิสระแล้วคลี่......ขอปรี่เมืองนาคเผย
ราชารี่....พี่สมุทรชาเอย....หลังน้องไกล....ห่างไปเมืองนาคนานแล
พระบิดา......เสียพระทัยนา......ก็ลาออกบวชแฉ
พระองค์มา....ครองพาราณฯแท้....อยากให้หลาน....กราบกรานอัยกาชื่นชม

   ๓๕.สุทัศนะ......ทูลขอกลับปะ......บอกพระมารดาสม
ขอพระองค์....รอตรงอาศรม....พระอัยกา....ได้มาพบกันต่อไป
ฝ่ายเนสาท.......ผู้ชี้ทางยาตร......หวังคาดได้แก้วใส
พราหมณ์ได้โยน....แก้วโผนแล้วไซร้....รับไม่ทัน....แก้วพลันตกพื้นดินเอย

   ๓๖.ดวงแก้วนั้น......แทรกพื้นดินพลัน......ถลันคืนเมืองนาคเผย
เนสาทเสีย....แก้วเปลี้ยสุดเอ่ย....ลูกละอาย....พ่อร้ายต่อมิตรมีคุณ
เสียไมตรี.....ภูริทัตต์คลี่......พราหมณ์ที่จับนาคกรุ่น
ถูกพิษนาค....กลายกรากเรื้อนหนุน.....ตกใจกลัว....อยากรัวล้างบาปกรรมแล

   ๓๗.เนสาทมา.......น้ำยมุนา......กล่าวว่าทำร้ายแฉ
ภูริทัตต์....มิตรชัดอยากแท้....ล้างบาปเอย....พานเอ่ยซ้ำหลายครั้งครา
สุโภคะ.......กำลังตามปะ.......ทัตตะอยู่แล้วหนา
โกรธแค้นมาก....จึงลากพรานมา....หางพันขา....ดึงล่าลงน้ำ-บกเวียน

   ๓๘.เนสาทร้อง.......ตัวอะไรจ้อง.......มาถองเราเล่นเบียน
สุโภคะ....เรานะนาคเซียน....ลูกราชา....นาคกล้าพิภพนี้ครัน
พรานรู้ว่า......ญาติภูริฯนา......พูดอ้าวอนปล่อยพลัน
พรานบอกความ....เป็นพราหมณ์ยืนยัน....ไม่ฆ่าเล่น....เพราะเป็นผู้บูชาไฟ

   ๓๙.พราหมณ์ทรงเวทย์......รอบรู้มนต์เดช.....วิเศษอย่าฆ่าไซร้
สุโภคะ...จึงจะพาไป....เมืองนาคให้....ญาติไซร้ช่วยตัดสินนา
อริฏฐะ......เห็นพี่ชายฉะ.......จับดะพราหมณ์มาหนา
อริฏฐะ....เสริญยะยอพา....พรหมยิ่งใหญ่....พราหมณ์ไซร้มิควรฆ่าเลย

   ๔๐.ฆ่าพราหมณ์ผู้......บูชาไฟกรู......จะพรูเสียหายเผย
ภูริฯคืน....เมืองชื่นยินเอย....อริฏฐ์ฯใจ....เลื่อมใสบูชาพราหมณ์นา
จำเป็นต้อง.....กล่าววาจาพร้อง.....ให้ตรองหักล้างหนา
มิให้ใคร....ได้คล้อยตามพา....สู่ทางผิด....ก้าวปิดทางแห่งความจริง

   ๔๑.ภูริทัตต์......แจงความจริงสัตย์.......ความชัดหลายเรื่องยิ่ง
บูชาไฟ....ยังไม่สุดดิ่ง.....หากสูงสุด....คนจุดเผาศพสมควร
ได้ยกย่อง......บูชาไฟถ่อง......เกินผองพราหมณ์ครบถ้วน
เผาบ้านเมือง....กระเดื่องบุญชวน....บุญสูงสุด....มิรุดเป็นเช่นนั้นเลย

   ๔๒.บูชายัญ.......บุญสูงสุดดั้น.......พราหมณ์ครันเผาตนเลย
แต่กลับนำ....สัตว์ทำแทนเอ่ย....เหตุใดไซร้.....จึงไม่เผาตนเองนา
อริฏฐ์ฯชี้......พรหมคุณทวี......ผู้คลี่สร้างโลกหนา
ภูริฯตอบ....ถ้ากอปรโลกมา....เหตุใดไม่....สร้างให้มีแต่สุขเลย

   ๔๓.เหตุใดพรหม......ไม่สร้างโลกสม.....เทียบชมเท่าเทียมเผย
ไยแบ่งชั้น....แยกสรรคนเปรย.....วรรณะต่ำ....หมดล้ำสุขเทียบเขานา
พราหมณ์ต่างหาก......ยกย่องตนมาก......สูงกรากเหนือชั้นอื่นหนา
เหยียดอื่นต่ำ.....อ้างซ้ำผู้มา.....รับใช้พรหม....นี่สมพราหมณ์ยิ่งได้ฤๅ

   ๔๔.อริฏฐะ.......มิอาจเถียงดะ......ด้วยปะเหตุผลครือ
ภูริทัตต์....ให้ปัดอย่าถือ....โทษเนสาท....ให้ยาตรคืนเรือนทันที
ภูริฯตรอง........นำแม่,พี่,น้อง.......เฝ้าปองอัยการี่
หลังจากนั้น....พลันภูริฯปรี่.....อุโบสถ....ศีลจด ณ ศาลาเลย


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, กุมภาพันธ์, 2568, 08:39:20 AM

(ต่อหน้า ๕/๕) ๖.ภูริทัตตชาดก

    ๔๕.ปณิธาน......ภูริทัตต์ฉาน......ศีลสานรักษาเผย
บริสุทธิ์....มิรุดมัวเลย....ทุกข์ยากใด....จะใฝ่อดกลั้นอดทน
ตั้งมั่นอยู่......ในศีลพรั่งพรู......เชิดชูประเสริฐผล
กิจโพธิสัตว์....จิตชัดสร้างดล....ศีลบาร์มี....เชิดปรี่คงมั่นสมบูรณ์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ ภูริทัตตชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๘
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: ภูริทัตตชาดก ตอนที่ ๖ บำเพ็ญศีลบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

พรหมทัต=พระเจ้าพรหมทัต ราชาเมืองพาราณสี
ยมุนา=แม่น้ำยมุนา
มาณวิกา=ชื่อนางนาค เป็นมารดา ของ สาครพรหมทัต กับ นางสมุทรชา
สาครฯ=สาครพรหมทัต
สมุทรชา=พระนางสมุทรชา พระมารดาของภูริทัตต์
ธตร์ฐ=ท้าวธตรฐ ราชาแห่งนาค ราชบิดา ของภูริทัตต์
โอรสของพระนางสมุทรชา=มี ๔ องค์คือ (๑)สุทัศนะ (๒)ทัตตะ (คือพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น นาค ภายหลังถูกขนานนามว่า ภูริทัตต์) (๓)สุโภคะ (๔)อริษฐะ
เนสาท=นายพรานเนสาท มีลูกชาย ชื่อ โสมทัต
อาลัมพายน์=คือ มนต์อาลัมพายน์ เป็นวิชาสะกดจิตอย่างหนึ่งที่ใช้สะกดจิตพวกนาค เมื่อร่ายมนต์แล้วพวกนาคจะกลัวจนรีบหนีไปเพราะคิดว่าเป็นครุฑ (พญานาคกลัวครุฑ) หรือสิ้นฤทธิ์เดช ไร้เรี่ยวแรงและพลัง เพราะเสียงมนต์นั้นเป็นประดุจเหล็กร้อนยอนเข้าไปในหู โดยเชื่อกันว่า เป็นมนต์ที่ใช้ปราบนาคโดยเฉพาะ
ภูริฯ=ภูริทัตต์
อัจจิฯ=นางอัจจิมุข น้องต่างแม่ของ ภูริทัตต์
โคมัย=ดินประสมด้วยขี้วัว


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 26, มีนาคม, 2568, 09:37:42 AM


ทศชาติชาดก : ๗.จันทกุมารชาดก

กาพย์ตุรงคธาวี

   ๑.มีกษัตริย์......"เอกราชา"ชัด.......ครองฉัตร"บุปผ์วดี"
ชื่อเก่าเมือง....รุ่งเรืองพาราณสี....โอรสใหญ่....นามไซร้"จันท์กุมาร"
เป็นโพธิ์สัตว์.......สร้าง"ขันติ"คัด......สวัสดิ์บาร์มีสาร
ทรงอุปราช....ฉลาดในเมืองชาญ...."กัณฑ์หาล"....เรียกขาน"ปุโรฯ"เอย

   ๒.กัณฑหาล......ตัดสินคดีพาน......จัดการไม่เที่ยงเผย
รับสินบน....ทำด้นเสมอเลย....ถูกคนฟ้อง....ร่ำร้องไร้ยุติธรรม
จันทกุมาร......พิจารณ์ใหม่สาน......ประทานความเที่ยงหนำ
ชนสดุดี....เป็นที่ยิ่งเลิศล้ำ....ราชาครัน....ให้จันท์กุมารแทน

   ๓.กัณฑหาล.......แค้นจันท์กุมาร......ต้องรานประโยชน์แสน
เหลือหน้าที่....แค่ชี้แนะนำแค่น....แก่ราชา....อายหนาฆาตเรื่อยมา
ถึงคืนหนึ่ง......เอกราชฝันตรึง.......ไปถึงดาวดึงส์หนา
เห็นความสุข....ชื่นชุกงามนา....ตื่นจากฝัน....ก็พลันอยากอยู่ชม

   ๔.กัณฑ์หาลทูล......อยากอยู่สวรรค์พูน......ทางกูลแค่หนึ่งสม
ทาน,ฆ่าไซร้...."คนไม่ควรฆ่า"ซม....บูชายัญ....สี่สรรคคละอย่างนา
มีโอรส......มเหสีจด.....จรดธิดาหนา
เศรษฐี,ช้าง....สะพร่างโคและม้า....อย่างละสี่....เตรียมคลี่บูชายัญ

   ๕.ราชาเชื่อ......คำกัณฑ์หาลเอื้อ......ช่วยเกื้อพอใจมั่น
ระบุชื่อ....ระบือชนรู้กัน....ว่าเป็นใคร....ไฉนถูกเข้าพิธี
จันท์กุมาร.......ทราบแล้วกัณฑ์หาล.......ทูลการบูชานี้
พระองค์เอง....เหตุเร่งเกิดคลี่....ด้วยริษยา....พยาบาทอย่างเดียว

   ๖.ราชบุรุษ......จับเศรษฐีซุด......ญาติทรุดอ้อนวอนเคี่ยว
กษัตริย์มิยอม....ใจพร้อมลุ่มหลงเชียว....โลกสวรรค์....ดื้อรั้นใจงมงาย
พระบิดา.......และพระมารดา.......ราชาสาธยาย
การให้ทาน....เว้นผลาญฆ่าจึงกราย....สู่สวรรค์....ทรงรั้นคำปรามเอย

   ๗.จันท์กุมาร.......ทูลได้ขวางกราน......คนพาลเกิดเหตุเผย
ขอชีวิต....อย่าคิดฆ่าสิ้นเลย....จะจองจำ....กระหน่ำเป็นทาสแล
ยังประโยชน์.......หรือจะขับไกลโหด.......ไล่โลดนอกเมืองแฉ
ราชาฟัง....ก็หลั่งน้ำเนตรแปร....ปล่อยทั้งผอง....เลิกตรองการบูชา

   ๘.กัณฑ์หาลล่อ.......ราชาคล้อยจ่อ......หลงกลสวรรค์หนา
จันท์กุมาร....เมื่อคลานเด็กอยู่นา....พี่เลี้ยงดู....อุ้มชูเป็นอย่างดี
โตขึ้นแล้ว.......โปรดจะฆ่าแน่ว......ให้แคล้วเสียไยรี่
พระองค์ยัง....พลังล้นคุณคลี่....ลูกไม่มี....อยู่รี่คนอื่นไย

(https://i.ibb.co/4RBqKhkw/Screenshot-20250328-092417-Chrome.jpg) (https://ibb.co/RTLFYR8G)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 27, มีนาคม, 2568, 08:47:59 AM
(ต่อหน้า ๒/๒) ๗.จันทกุมารชาดก

   ๙.ในที่สุด......เขาคงฆ่ารุด......บุกฉุดพระองค์ไส
พราหมณ์สังหาร....จองผลาญสกุลไท้....ไม่มีคุณ....อดุลย์อย่างใดตรอง
ต้องเรียกว่า......เนรคุณหนา......คิดฆ่าตระกูลผอง
ราชาสลด....รันทดใจประคอง....ปล่อยชีวิต....เลิกริดอีกครั้งนา

   ๑๐.กัณฑ์หาลมา.......เพ็ดทูลอีกครา.......ราชาเชื่อใหม่หนา
จันท์กุมาร....ทูลกรานไปสรวงนา....ด้วยพิธี....จัดคลี่บูชายัญ
ไยพราหมณ์ไม่......บูชายัญไซร้.......ใช้ลูกเมียตนสรร
แต่มาชื่น....ผู้อื่นฆ่าลูกกัน....พราหมณ์จงนำ....ลูกทำซ้ำบูชา

   ๑๑.จันท์ฯตรัสใด......ราชาเฉยไซร้......และไม่ฟังอีกหนา
"วสุลฯบุตร....จันท์ฯรุดวอนนา....ก็มิฟัง....ยับยั้งไร้ผลเอย
กัณฑ์หาลสั่ง.....ปิดประตูวัง......คล้ายขังกั้นคนเผย
ผู้อื่นเข้า....ไปเฝ้ามิได้เอ่ย....บูชายัญ....จึงดั้นต่อไปไว

   ๑๒.ถึงเวลา........บูชายัญหนา......ญาติราชาร่ำไห้
รวมทั้งลูก....คนถูกบูชาไซร้....นางจันทาฯ....ชายาจันท์กุมาร
ขอชีวิต......ก็ไร้สัมฤทธิ์......จึงชิดติดตามพาน
ถึงหลุมยัญ....กล่าวดั้นสัจจ์ฉาน.....กัณฑ์หาลชั่ว....จิตมัวมุ่งฆาตนา

   ๑๓.ขอเทพปัก........ขาดที่พึ่งนัก.......พระรักษาภัสดา
อย่าให้ใคร....มาไล่ทำร้ายนา....พระอินทร์ยิน....ถ้อยสิ้นเสด็จพลัน
จากสวรรคา......ถือฆ้อนเหล็กหนา.......ไฟกล้าลุกโชติถลัน
ถึงราชา....กล่าวอย่าให้ฆ่าครัน....ไม่มีใคร....ฆ่าไวคนทำดี

   ๑๔.เพื่อหวังไป......ถึงสวรรค์ใส.....รีบไวปล่อยทันที
ราชายิน....พระอินทร์ทรงกล่าวชี้....ตกใจสุด....สั่งรุดปล่อยสัตว์,คน
กลุ่มชาวบ้าน......รุมตีพราหมณ์ผลาญ.....จนรานตายลงผล
วกกลับมา.....จะฆ่าราชาตน.....จันท์กุมาร.....เข้ากรานกอดรอดตาย

   ๑๕.เหล่าชนหยัด.......ไว้ชีวิตกษัตริย์.......ผู้ชัดโง่เขลาหลาย
แต่มิให้....อยู่ได้ครองเมืองปราย....ถอดยศเสีย....ให้เปลี้ยเป็นจัณฑาล
เนรเทศ......พ้นจากขอบเขต......ไร้เดชจนชั่วกาล
ปวงชนพร้อม....นบน้อมจันท์กุมาร....ปกครองเมือง....กระเดื่องยุติธรรม

   ๑๖.ราชาใหม่........ทราบบิดาไซร้......ทุกข์ใจลำบากนำ
ก็ช่วยเหลือ....เอื้อเฟื้อไม่ระกำ....ชีพประทัง....พลังอยูได้นา
จันท์กุมาร.......ครองเมืองเชี่ยวชาญ.......สราญร่มเย็นหนา
ถึงที่สุด....ชนม์ทรุดตามกาลพา....ทรงเสวย.....สุขเกยสวรรคา ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ จันทกุมารชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๘
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: จันทกุมารชาดก ตอนที่ ๗ บำเพ็ญขันติบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

เอกราชา=คือราชาแห่งเมือง บุปผวดี เป็นเมืองโบราณ ของ พาราณสี
จันท์กุมาร,จันท์ฯ=จันทกุมาร เป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ ที่บำเพ็ญ ขันติบารมี
กัณฑ์หาล=กัณฑหาลพราหมณ์ เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าเอกราชา
สิ่งบูชายัญ ของเอกราชา=มีดังนี้ (๑)พระกุมาร  คือ พระจันทกุมาร, พระสุริยกุมาร,พระภัททเสนกุมาร, พระสุรกุมาร และพระวามโคตตกุมาร (๒)พระกุมารี คือ พระอุปเสนากุมารี, พระโกกิลากุมารี, พระมุทิตากุมารี และพระนันทากุมารี (๓)พระมเหสี คือ พระนางวิชยา, พระนางเอราวดี, พระนางเกศินี และพระนางสุนันทา (๔)คฤหบดี คือ ปุณณมุขคฤหบดี, ภัททิยคฤหบดี, สิงคาลคฤหบดี และวัฑฒคฤหบดี (๕)ช้างแก้ว คือ ช้างอภยังกร, ช้างนาฬาคิรี, ช้างอัจจุคคตะ (ช้างวรุณทันตะ) (๖)ม้าอัสดร คือ ม้าเกศี, ม้าสุรามุข, ม้าปุณณมุข, ม้าวินัตกะ (๗)โคอุสุภราช คือโคยูถปติ,โคอโนชะ,โคนิสภะ, โคควัมปติ
วสุลฯ=พระวสุลกุมาร คือบุตรของ พระจันทกุมา
นางจันทาฯ=พระนางจันทาเทวี พระชายาของพระจันทกุมาร

(ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 28, มีนาคม, 2568, 08:54:25 AM


ทศชาติชาดก : ๘.นารทชาดก

ร่ายสุภาพ

   ๑.ราชาหนึ่งนามว่า   อ่า"อติราชฯ"เรือง   ครองเมืองมิถิลา   ตั้งมั่นนา"ราชธรรม"   คำลือธิดางาม   นาม"รุจาฯ"เก่งกาจ   ยาตรคืนหนึ่งเทศกาล   ประชาพานตกแต่ง   บ้านเรือนแข่งวิจิตร   พิศเจริญยิ่งนัก   พระจันทร์จักทรงกลด   จดกลางท้องฟ้าพร่าง    ปรารถหว่างอำมาตย์   ราตรีดาษเด่นฟ้า  จึงรื่นใจรมย์หล้า   มุ่งพร้อมทำใด เพลินนา

   ๒.ไว"อลาต"อำมาตย์   ทูลคาดน่าเตรียมทัพ   กวาดต้อนจับเมืองน้อย   รวมช้อยในอำนาจ   อำมาตย์"สุนาม"แฉ   ทุกเมืองแปถูกงำ    ในอำนาจหมดแล้ว   ควรแผ้วดื่มอวยชัย   ใจสราญด้วยรำฟ้อน   "วิชัย"ย้อนระบำ    สิ่งประจำเห็นอยู่   ควรกู่หาครูธรรม   ให้แนะนำธรรมเลิศ   บรรเจิดกว่าสิ่งใด   ทรงพอใจยิ่งนัก   จักไปหาใครดี   อลาตฯบอกมีผู้รู้   ชีเปลีอยสู้ชื่อว่า "คุณาฯ"ค่าพูดจา   พาน่าฟังคงขจัด   สงสัยตัดบ่งได้   กษัตริย์พอใจไซร้   เยี่ยมเยื้อนคุณาฯ เร็วครัน

   ๓.ครากษัตริย์ถาม   ตามปัญหาหลายนำ   พึงพฤติธรรมอย่างไร   ในพ่อ,แม่,ครูพลาง   เหตุบางพวกมิยึด    ประพฤติธรรมดีเลย   เผยคำถามเหล่านี้   ชี้ขั้นสูงไม่ง่าย  จะพ่ายเข้าใจได้   ยิ่งไซร้คุณาฯคิด   มิจฉาทิฏฐิเขลา   เบาปัญญาไร้ทาง   ยังคลางใจเช่นเดิม    ประเจิมคุณาฯทูล   สนใจพูนเรื่องนี้    ชี้ไร้ประโยชน์เอย   ข้าจะเผยโลกหนา    บุญ,บาปหามีไม่   โลกหน้าไป่มิมี   ทวีญาติเช่นพ่อ,แม่  แน่ปู่,ย่า,ตา,ยาย    กลายไม่มีเพราะสัตว์   เกิดชัดเสมอกัน   ครันได้ดีได้ชั่ว   ก็จั่วได้เองแล  แฉทานหรือผลทาน   ก็รานไม่มีเลย   ผายร่างกายกอปรมา  คราสูญชีวิตแล้ว   ก็แตกสลายแป้ว   ทุกข์แล้หรือสุข รอนไป

   ๔.คุณาฯรุกทูลต่อ   ใครจ่อฆ่า,ทำร้าย   ท้ายจะไม่บาปแย่   เพราะแน่บาปไม่มี  สัตว์พีเกิดมาครบ   จบแปดสี่กัปป์แล้ว    ก็แผ้วพ้นทุกข์เอง   เผงไม่ครบกำหนด   จดกุศลเท่าไร   ไกลจากบริสุทธิ์   กาลรุดครบผ่านแล้ว   บาปก่อมากมายแคล้ว   ผ่องเกลี้ยงกรายหนา
(https://i.ibb.co/p6XsTNxc/Screenshot-20250328-092636-Chrome.jpg) (https://ibb.co/mrzYKdGk)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 29, มีนาคม, 2568, 09:06:01 AM

(ต่อหน้า ๒/๔) ๘.นารทชาดก

   ๕.ราชาครันตรัสว่า   ทรงฝ่าโง่มักหลง   คิดตรงทำดีแล้ว   แผ้วสู่สุคติ   ตริเพียรทำกุศล   ครานี้ยลบุญ,บาป   ตราบนี้ไม่มีแล   แฉผลกรรมไม่มี   ดีเองเมื่อถึงคราว   สาวฟังธรรมท่านแล้   ก็ห่อนประโยชน์แท้   มุ่งแม้นขอลา

   ๖.ราชากลับวังแจ้ง   โองการแว้งต่อนี้  ชี้จะไม่ทำการ   ขานไร้ประโยชน์เอย   เผยไม่มีผลใด   ขอไปสุขเพลินยล   ไม่ห่วงผลบุญกรรม   เกิดคำล่ำลือทั่ว   ราชาจั่วหลงผิด   คิดเชื่อคำคุณาฯ   จะพาบ้านเมืองทราม   ความทราบถึงรุจาฯ   ร้อนใจหนาบิดา   มาเลิกทำทานแล้ว   สั่งแป้วรื้อโรงทาน   ตั้งพานสี่ทิศลง   เพราะหลงเชื่อบาป,บุญ   คุณประโยชน์ไม่แกล้ว   คราเมื่อถึงกาลแล้ว   จุ่งคล้อยสุขศานสติ์ เองแล

   ๗.รุจาฯกรานราชา   ขอทรัพย์นาหนึ่งพัน   จะนำไปทำทาน   ราชาขานทานนั้น   ดั้นไร้ประโยชน์หนา    ยากหาผลตอบแทน   แดนปรโลกหน้า   มิมีอ้าใดเลย   เจ้าเคยถือศีลอยู่   ควรจู่เลิกเสียเถิด   ไม่เกิดผลใดเลย   รุจาฯเผยคนใด   ทำบาปไรสะสม   บาประดมมากเข้า   เขาก็เฝ้ารับผล  ที่ก่อดลนั้นเอง   เหมือนเผงเรือบรรทุก   ซุกของทีละน้อย   ยิ่งมากคล้อยเรือจม   ซมในที่สุดเอย   เผยเปรียบใบไม้ห่อ   ของเหม็นจ่อย่อมทำ    ใบไม้หนำเหม็นตาม   ปราชญ์ลามเลือกคบเพื่อน   เกลื่อนคนดีรี่ตาม   หากผลลามคบเพื่อนชั่ว   ชีพมั่วแปดเปื้อนเบือน   เหมือนลูกศรจุ่มด้วย   ยาพิษอาบซาบม้วย   ย่อมย้ำคันศร หมองมัว

   ๘.ก่อนนารุจาฯตรึก   ระลึกชาติก่อนเกิด   เพริดบุตรช่างทางนา  ได้คบหามิตรชั่ว   ก็จั่วทำชั่วตาม   บางชาติผลามมิตรดี   ทำทวีบุญได้   คราวไซร้ทำชั่วร้าย   ท้ายผลกรรมตามทัน   พลันตกนรกอยู่   จู่หลายชาติพ้นทุกข์  บุกทรมานเอย   เผยเกิดเป็นมนุษย์   ก็ทรุดลำเค็ญนาน   หนีกรรมผลาญหมดแล้ว   ผลบุญแผ้วบังเกิด   ประเจิดขึ้นลำดับ   ผลลัพธ์บุญและบาป   ตามติดทาบตัวเรา  มิเพลาหยุดลงเลย   เผยปิตุเรศแล้   โปรดเชื่อคำเตือนแท้   ลูกแก้วหวังดี มิแช
 
   ๙.แลราชามิฟัง   ยังคำธิดาเตือน  เยือนยึดคำคุณาฯ   รุจากลัวคะนึง   ถึงผลทุกข์ราชา   จะตามมาหลังวาย   ฉายจิตอธิษฐาน   ขอกรานเทวาอวย   อำนวยเปลื้องมิจฉา   ทิฏฐิกล้าราชา    เกิดสุขหนาปวงชน   บัดดลท้าวมหาพรหม   นามสม"นารท"   พระโพธิ์สัตว์กำลัง  บำเพ็ญจังบาร์มี   พี"อุเบกขา"แล  แฉกรุณาสัตว์  ชัดทรงเล็งประชา   หนาจะเดือดร้อนมาก   ราชาคิดกรากมิจฉา   ทิฏฐิกล้าจึงทรง   ลงจากโลกเทวา   แปลงกายนาบรรพชิต     คิดเอาคนโททอง   และตรองคนโทแก้ว   เพริศแพร้วใส่คานหาบ   แบกทาบบนไหล่สอง   เหาะครรลองปราสาท    ลอยยาตรหน้าพระพักตร์   ราชาจักตะลึง    ตรัสตรึงผู้วรรณะ   ปะงามมาจากไหน   พระพรหมไวตอบว่า   มาจากโลกเทวา    ราชาถามเหตุใด   มีฤทธิ์ไกลลอยได้   พรหมตอบไซร้ชาติก่อน   บำพ็ญผ่อนคุณธรรม นำสี่ประการแล   แฉด้วยมี"สัจจะ"   "ธรรมะ,ทมะ"น้อม   "จาคะ"จึงฤทธิ์พร้อม  มุ่งแล้ไปไหน  ดังใจ

   ๑๐.ราชาไวถามว่า  ผลบุญนามีหรือ   มีจริงครือโปรดแจง   พรหมแถลงบาป,บุญ   รุนมีผลอยู่จริง   มีอิงพ่อแม่แล  แฉโลกหน้ามีอยู่   จู่ผู้คนมิทราบ   กษัตริย์ทาบทามว่า   อ่าโลกหน้ามีจริง   อิงขอยืมห้าร้อย   จะคล้อยใช้โลกหน้า   กล้านารถตอบ   ถ้าท่านนอบพฤติธรรม   ยืมนำมากกว่านี้   ก็ชี้ให้ยืมได้   ไซร้ผู้มีศีลยง   ก็คงคืนทรัพย์แล้   คราท่านนรกแท้   โชคคล้อยหมดทาง ทวงเงิน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 30, มีนาคม, 2568, 09:30:41 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๘.นารทชาดก
 
   ๑๑.พลางราชานั่งตรึง   พรหมจึงทูลหากทรง   คิดผิดยงอย่างนี้   ตายลี้นรกทน   ทุกข์ผลสาหัสนัก   โลกหน้าจักชดใช้   บาปไซร้ก่อชาตินี้  ชี้นรกแจง  แถลงการทรมาน   ผลาญสัตว์นรก   ตกน่าสะพรึงกลัว   มัวสยองต่อบาป   ราชาซาบสลด   จรดผิดทางแล   แฉวอนขอพึ่งเกล้า   แสงส่องถูกทางเฝ้า   แจ่มแจ้งธรรมเกษม ด้วยเทอญ

   ๑๒.เปรมพระนารท   ปะโอกาสตรัสพร   สอนธรรมะราชา   ตั้งมั่นนาในทาน   กรานศีลทางสู่สวรรค์   ครันแจงธรรมเปรียบกาย   กับรถรายประกอบ   ชิ้นส่วนรอบดีย่อม   แล่นกล่อมทางเรียบรื่น  สติชื่นดุจปฏัก   เพียรจักเป็นบังเหียน   ปัญญาเชียรห้ามล้อ  เดินทางจ้อปราศภัย   พระพรหมให้โอวาท   อย่าพลาดคบเพื่อนดี   หนีประมาทปล่อยแล้   จงมุ่งพฤติธรรมแท้   พูดแล้วหายไป กับตา

   ๑๓.ราชาไวทรงมั่น   กลั่นในศีลธรรมเอย   เผยตรงเริ่มทำทาน   พานเลือกคบมิตรนำ   กระทำถูกทางควร   ขวนราชธรรมสิบ   ชนสุขลิบสบาย   บ้านเมืองกรายสงบ   พบร่มเย็นสมดัง   คำขลังพระนารท   ให้ละมิตรบาปเสีย   เคลียกัลยาณ์มิตร   ประชิดบุญละบาป   กำซาบไม่ประมาท   การยาตรบำเพ็ญตรอง   ครอง"อุเบกขาบาร์ฯ"   นารทวางเฉย   เคยด้วยปัญญาไว   ที่ไม่หวั่นไหวรู้   กับผู้เห็นผิดหลาย   ทำคนกรายเดือดร้อน   สัตว์โลกป้อนตามกรรม  ทำดีแลย่อมพริ้ง   ทำชั่วเกิดบาปกลิ้ง   เชือดชิ้นสยอง ตอบแทน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ นารทชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: นารทชาดก ตอนที่ ๘ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

นารถชาดก=เป็นเรื่องราวของ พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น มหาพรหมนารท เพื่อบำเพ็ญอุเบขาบารมี
อติราช=พระเจ้า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา
ราชธรรม=ทศพิศราชธรรม คือจริยวัตร ๑๐ ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ (๑)ทาน คือการให้ ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้การศึกษา ให้การงาน ให้โอกาส การพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งปันที่ดินทำกิน เพื่อให้อยู่ดีกินดี การใช้อำนาจเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความสุขโดยรวม (๒)ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา เพื่อวางตนเป็นแบบอย่าง ไม่ประพฤติผิดจารีตประเพณีและกฎหมายที่คนทั่วไปรักษา (๓)บริจาค คือ การช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน การให้เงินเดือนแก่คนที่ทำหน้าที่อย่างเสียสละ เช่นทหารผ่านศึก ไม่ให้ลำบากจนเกินไป เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำการเกษตรไม่ได้เศรษฐกิจไม่ดีหรือมีสงคราม ก็ไม่ควรเก็บภาษีจนเดือดร้อนประชาชนที่กำลังลำบาก การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความลำบากเช่นฝนแล้งน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ การช่วยเหลือคนยากไร้ ดูแลคนเป็นบ้าอนาถาไร้ที่พึ่ง (๔)ความซื่อตรง คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน เปิดเผยข้อมูล นโยบายที่เป็นประโยชน์ ไม่ปิดบังอำพราง เปิดเผยการใช้จ่ายภาษี ไม่คดโกง (๕)ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เป็นกันเอง ไม่เย่อหยิ่งถือตน (๖)ความเพียร คือ ความเพียรพยายามในการทำความสุขเพื่อส่วนรวม การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม (๗)ความไม่โกรธ คือ การไม่แสดงอาการโกรธ เพราะผู้ปกครองที่ขี้โกรธ คนย่อมไม่กล้าทักท้วง ทำให้มีแต่คนยกยอปอปั้น แต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ต่างจะปกปิดสิ่งผิดพลาด ปิดหูปิดตา จนนำไปสู่ความฉิบหายในที่สุด (๘)ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ไม่ออกกฎหมายหรือระเบียบที่ทำให้ยากลำบากในการเป็นอยู่จนเกินไป การที่ผู้ปกครองไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า การออกกฎเกณฑ์ปกป้องไม่ให้มีการรังแกกัน (๙)ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปกครองย่อมต้องเจอคำนินทา ปัญหาและอุปสรรคนานาประการ (๑๐)ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย มีหลักการ ไม่เป็นไม้หลักปักขี้เลน เอนไปเอนมาตามคำยุยง มีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 31, มีนาคม, 2568, 09:40:52 AM
(ต่อหน้า ๔/๔) ๘.นารทชาดก

รุจา=รุจาราชกุมารี พระธิดา ของพระเจ้าอังติราช
อำมาตย์ ๓ คน=เป็นที่ปรึกษาของราชา ได้แก่ อลาตอำมาตย์,สุนามอำมาตย์,วิชัยอำมาตย์
คุณาฯ=ชีเปลือยคุณาชีวก
มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ได้แก่
(๑)เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มี(๒)เห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล (๓)เห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล (๔)เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี (๕)เห็นว่า โลกนี้ไม่มี (๖)เห็นว่า โลกหน้าไม่มี (๗)เห็นว่า มารดาไม่ (๘)เห็นว่า บิดาไม่มี (๙)เห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี (๑๐)เห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้ง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก
กัปป์=คือระยะเวลานานมากจนนับไม่ได้ อาจอุปมาได้เหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบลูกใหญ่ มีความยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง พึงเอาผ้าแคว้นกาสีลูบภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาศิลาลูกใหญ่นั้นพึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปป์หนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป (พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุว่า กัปป์นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัปป์ มิใช่ ๑๐๐ กัปป์ มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง)
อุเบกขาบาร์ฯ=อุเบกขาบารมี คือ ความเป็นผู้วางเฉยด้วยปัญญา อันหมายถึง วางเฉยที่เป็นกุศลจิต ไม่หวั่นไหว เพราะ มีปัญญา ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นต้น (การวางเฉยด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่อุเบกขาบารมี) แต่การวางเฉยด้วยจิตที่ไม่เป็นอกุศล ไม่หวั่นไหว ด้วยปัญญา เป็นอุเบกขาบารมี เพราะฉะนั้น ท่านนารทพรหม มีการวางเฉยด้วยปัญญา ที่ไม่หวั่นไหวในการกระทำที่ไม่ดีของพวกที่มีความเห็นผิดทั้งหลายที่ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน เพราะ นารทพรหมโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้ดูแลสัตว์โลก นึกถึงประโยชน์ความสุขของผู้อื่นเสมอ หากไม่มีปัญญา ก็ย่อมไม่เกิดอุเบกขาบารมี ที่จะวางเฉย แต่เกิดความไม่ชอบ และใช้อำนาจของตน ทำร้ายผู้ที่ทำผิดได้
สัจจะ= คือ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง
ธรรมะ =ธรรม คือ ความดีที่แท้จริง  โดยไม่ขึ้นอยู่กับศาสนา แต่เป็นของสากล แบ่งได้ ๒ ได้แก่
(๑)ความดี (บุญ) หมายถึง  การทำในสิ่งที่สมควรทำ ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น  โดยเกิดจากจิตสำนึกที่ดีของมนุษย์ เช่น ๑.๑.ความดีต่อตนเอง  ตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน  มีความพากเพียรพยายาม  ขยัน  อดทนต่อความยากลำบาก  มีความรับผิดชอบ  และมีวินัย  เป็นต้น
๑.๒.ความดีต่อผู้อื่น  เช่น  ช่วยเหลือผู้อื่น  เสียสละให้แก่ผู้อื่น  และให้อภัยแก่ผู้อื่น   ซึ่งเกิดจากความเมตตาสงสาร อยากให้ผู้อื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น  และกระทำด้วยความจริงใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
(๒)ความชั่ว (บาป) หมายถึง  การทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำ  หรือการเพิกเฉยไม่ทำในสิ่งที่สมควรทำ ความบาปเกิดจากกิเลสตัณหาที่อยู่ในใจ ได้แก่ โลภ โกรธ หลง ในลาภ ยศ สรรเสริญ  ทำให้ตนเองเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว โดยไม่นึกถึงผู้อื่นหรือส่วนรวม  ซึ่งนำไปสู่การเอาเปรียบผู้อื่นหรือทำร้ายผู้อื่น แยกเป็น ๒.๑.บาปต่อตนเอง  เป็นการทำร้ายตนเอง  เช่น  ไม่ตั้งใจเรียน  ชอบเที่ยวเสเพล  เล่นการพนัน  เสพยาเสพติด (รวมถึงเหล้า บุหรี่)  เป็นต้น ๒.๒.บาปต่อผู้อื่น เช่น การเอาเปรียบผู้อื่น  ทำร้ายผู้อื่น  และไม่ให้อภัยแก่ผู้อื่น (ทำให้เกิดความอาฆาตพยาบาท) รวมทั้งไม่ช่วยเหลือผู้อื่นหรือเสียสละให้แก่ผู้อื่น (แล้งน้ำใจ)  โดยที่ตนเองสามารถกระทำได้โดยไม่ยากลำบากนัก
ทมะ= คือ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
จาคะ =คือ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 01, เมษายน, 2568, 10:50:55 AM

(https://i.ibb.co/XkX55Td0/Screenshot-20250328-094220-Chrome.jpg) (https://ibb.co/JFnppPb6)

ทศชาติชาดก : ๙.วิธุรชาดก

ร่ายดั้น

   ๑.ในเมือง"อินทปัตต์"   ชัด"แคว้นกุรุ"   "ธนัญชัย"ราชา   ปกเมืองหนามีปราชญ์   ฉลาด"วิธุระ"   จะกล่าวถ้อยอะไร   ผู้อื่นไวเลื่อมใส   ใจชื่นชมศรัทธา   ครานั้นมีพราหมณ์สี่   เพื่อนที่สนิทกัน   ออกบวชพลัน ณ ป่าหิม์พานต์บางครา   ฤษีหนาเข้าเมือง  เนืองเนืองสอนธรรมชน   จนมีเศรษฐีสี่   ปรี่เชิญฤษีเยือน   บ้านเตือนรับอาหาร   ฤษีพานเล่าเรื่อง   ทรัพย์กระเดื่องหลายเมือง   แรกทรัพย์เรืองพระอินทร์   องค์สองยินสมบัติ   ชัดพญานาคเอย   เผยองค์สามได้เล่า   เรื่องเก่าพญาครุฑ   องค์ท้ายรุดทรัพย์ไว   ธนัญชัยราชา   เศรษฐีหนาอยากได้   สมบัติไซร้เช่นกัน   ครันฤษีสี่ทำทาน   ศีลมุ่ง ผดุง   ขอเกิดมีพร้อมแล้   ทรัพย์หลาย

   ๒.ทั้งสี่ตายไปแล้ว  อำนาจแผ้วแห่งทาน   ศีล,บุญพานไปเกิด   คนหนึ่งเพริศ"สักกะฯ"   สอง"วรุณ"พญานาค   สามเกิดกรากพญาครุฑ   สี่เป็นบุตรธนัญชัย   ราชาไวสวรรคต   ได้จดราชสมบัติ    เมืองอินท์ปัตต์ต่อมา   ทั้งสี่หนามิพลาด   ยาตรศีลอุโบสถ   จรดทานเนืองนิตย์   คราหนึ่งจิตประหวัด   เผอิญชัดพบกัน   ครันสระโบกขรณี   มีไมตรีพากัน   ถกเถียงยันศีลใคร   ประเสริฐไกลที่สุด   สักกะฯรุดทรงละ   สมบัติ ณ ดาวดึงส์   บำเพ็ญตรึงโลกมนุษย์   บริสุทธิ์กว่าใคร   วรุณไวพญานาค   กล่าวถากครุฑศัตรู   แต่ตนกรูเจอครุฑ   มิขุดเคืองข่มไว้    นาคไซร้มีศีลสุด   ครุฑกล่าวโต้แย้งนาค   อาหารปากของครุฑ   แต่ยุดอดกลั้นได้   ศีลไซร้ของครุฑเหนือ   ราชาเขือกล่าวเยี่ยม   เพราะเรี่ยมละทิ้งวัง   สราญจังนารี   ศีลดีประเสริฐสุด   ทั้งสี่รุดถกเถียง   มิเกรียงซึ่งคำตอบ   นอบสู่วิธุระ  โปรดตัดสินให้ด้วย   สู่ผล

   ๓.ทั้งสี่คนเล่าเรื่อง   เขื่องแก่วิธุระ   ปะคุณธรรมสี่   เพริศคลี่เชิดชูหนุน   เจือจุนกันและกัน   ครันมิมีธรรมใด   เลิศไกลหรือด้อยเลย   เผยผู้ใดมั่นธรรม   ทำล้ำสันติยิ่ง   สี่คนดิ่งชื่นชม   ปัญญาสมวิธุฯ   กุแก้ปัญหายอด  ตลอดเหตุผลเอย   เผยผองสี่บูชา   สูงค่า วิธุระ   ปราดเปรื่องแลพร้อมช้อย   ช่วยชน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 02, เมษายน, 2568, 11:08:34 AM

(ต่อหน้า ๒/๔) ๙.วิธุรชาดก

   ๔.จนวรุณพญานาค   กลับจากเมืองมนุษย์   ความผุดแก้วมณี   มเหสีทูลถาม   มันผลามหายไปไหน   วรุณไวตอบให้   ไซร้วิธุระฐาน   ปัญญากรานเฉียบแหลม   วาจาแซมไพเราะ   ตอบธรรมเหมาะยินดี   มิใช่มีแต่เรา   ให้แก้วเขาแม้แต่   แน่,สักกะ,พญาครุฑ   เร็วรุดราชามอบ   ของตอบแทนบูชา   "วิมลา"มเหสี   อยากลีฟังธรรมมาก   จัดฉากเป็นไข้เลย   เผยนาควรุณมาเยี่ยม   หากให้เรี่ยมหายโรค   นางโศกทูลอยากหาย   ต้องกรายเอาหัวใจ   วิทุฯไวมาให้   วรุณไซร้ตกใจ   วิทุฯไขผู้คน   สกลรักใคร่ยิ่ง   จะวิ่งเอาหัวใจ   ไม่มีใครสามารถ  พระนางยาตรอาการ   หนักแกร่ง เทียบหนัก   พญานาคมิรู้แท้ อย่างใด

   ๕.ไย"อริทันตี"   ขจีธิดานาค   อยากช่วยเหตุวิตก   รกใจบิดาครัน   พลันทราบแล้วทูลว่า   จะจ่าช่วยมารดา   นางหนาป่าวประกาศ   ฉกาจ"คนธรรพ์,ครุฑ"   มนุษย์,นาค,กินนร"   หากจรเอาหัวใจ   บัณฑิตไววิทุระ   นางจะยอมแต่งงาน   "ปุณณ์ยักษ์ฯ"หลาน"เวสุวัณ"   พลันผ่านมาเห็นนาง   พลางนึกรักประสงค์   อยากได้ยงชายา   ขอทราบหนาวิธุระ   คือใครจะพบไหน   ปุณณ์ยักษ์ฯไขราชครู   ชูกษัตริย์ธนัญชัย   ยากไกลจะได้ตัว   รัววางแผนท้าพนัน   ยันเล่นสกากับกษัตริย์   เดิมพันชัดวิธุระ   คาดว่าชัยได้แล้   แน่นอน

   ๖.ปุณณ์ยักษ์ฯจรอินท์ปัตต์   จัดท้าพนันไว   ธนัญชัยชนะ   จะถวายแก้วมณี   ทวีเหมาะจักพรรดิ์  และคัดม้าวิเศษ   มีเดชแก่ราชา   กษัตริย์หนาตกลง   ถ้าทรงแพ้จะให้   ใดไซร้แก่ข้าเล่า   จงเคร่าเว้น"ตัวเรา"   "เมือง"เพรา,มเหสี"  อยากมีใดยอมให้   ปุณณ์ฯชอบไซร้คำตอบ   นอบเล่นสกาพลัน   ครันราชาทอดแพ้   ปุณณ์ยักษ์ฯแท้ทรัพย์เบา   จะเอาแค่วิธุระ   พระราชาตกใจ   ไขวิธุระเปรียบเรา   จะเพราให้วิธุระ   ปะตัดสินดีกว่า   ปุณณ์ยักษ์ฯฝ่าสอบถาม   ผลามวิธุระว่า ท่านง่าเป็นทาสกษัตริย์   หรือชัดเสมอราชา   หรือสูงกว่าราชา   คำตอบหนาเป็นทาส  ถ้าทรงยาตรตรัสใช่   วิทุฯไกล่ทำตาม   เฉกค่า พนัน   รีบเร่งมิช้าคล้อย แน่เผย

   ๗.ราชาเอยฟังคำ   วิธะฯกรำพร่ำยอม   ก็ทรงตรอมใจนัก   วิธุฯปักเข้ากับ   ปุณณ์ยักย์ฯนับมิเคย   เชยรู้จักมาก่อน   วิทุฯค่อนเรื่องจริง   พูดยิงสิ่งเป็นธรรม   ไม่หลีกหนำฟังธรรม   วาจาชิงไพเราะ   เหมาะต้องอิงหลักธรรม   ราชาพรำทรงเข้าใจ  หทัยโทมนัส    ต้องเสียชัดวิธุระ   พระราชาขอปุณณ์ฯ   วิธุฯจุนแจงธรรม   นำครั้งสุดท้ายก่อน   วิธุฯร่อนธรรมของ   ผู้ครองเรือนสงบ   จบแล้วปุณณ์ยักษ์ฯขอ  วิธุฯคลอตามไป   วิธุฯไวขอเวลา   สามวันคราสั่งสอน   ให้พรหลักลูกเมีย   ข้าพูดเยียเป็นจริง   อิงธรรมมิเห็นแก่   ใครแน่นอกจากธรรม   ข้าทำคุณแก่ท่าน   พูดจริงผ่านราชา   ขอท่าน ยินยอม   ปุณณ์ฯจุ่งเห็นด้วยช้อย   อยู่สอน

   ๘.ตอนวิธุฯกลับบ้าน  กว้านบอกบุตรทราบความ   ต้องผลามจากลูกไกล   จำรีบไวสอนเตือน   อย่าลืมเลือนบางครา   กษัตริย์หนาอาจถาม  พ่อเคยตามสอนธรรม   อะไรนำไว้บ้าง   เมื่อเจ้าอ้างธรรมไป   พอพระทัยอาจให้   นั่งไซร้เสมอราชอาสน์   อย่าพลาดจงจำหนุน  ราชสกุลมิมี   ใครตีเสมอได้   จงทูลไซร้ขอนั่ง   ฝั่งเหมาะฐานะตน   หนนี้วิธุระ   ดะแสดงธรรมเที่ยง   เยี่ยง"ราชวสดีฯ"   มีธรรมข้าราชการ   พานเจริญก้าวหน้า   หลักหล้ายึดทำงาน   การแก้ปัญหาเอย   วิธุฯเผยข้ารัฐ   ชัดสุขุม,ฉลาด   คาดหมายมุ่งทำงาน   กิจก่อ รอบคอบ    กาลบ่งเหมาะรู้แท้   พฤติใด


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 03, เมษายน, 2568, 08:49:02 AM

(ต่อหน้า ๓/๔) ๙.วิธุรชาดก

    ๙.จำไคลคลาวิธุฯ  มุไปกับปุณณ์ยักษ์ฯ   ประจักษ์ระหว่างทาง  พลางปุณณ์ยักษ์คิดว่า   น่าเอาแต่หัวใจ  ไปจะสะดวกนา  พยายามฆ่าวิธุฯ   ปรุหลายวิธีแล    แฉมิสำเร็จเลย  วิธุฯเปรยต้องการ   รานฆ่าด้วยเหตุใด  ปุณณ์ฯเล่าไกลเรื่องราว   คราววิธุระฟัง   ขลังด้วยปัญญายิ่ง   สิ่งแท้นางวิมลา   ต้องการหนาฟังธรรม   คำเลื่องลือเท่านั้น   ควรดั้นธรรมปุณณ์ยักษ์ฯ   มิปักใจหลงผิด  คิดทำสิ่งไม่ควร   จึงขานแจงธรรมสื่อ   ชื่อ"สาธุนรธรรม"   นำธรรมของคนดี  "มีกตัญญูรู้   กู้พระคุณคนเอย   เผย"ไม่คิดทำร้าย   ป้ายผู้มีคุณ"ยิ่ง   ดิ่ง"ไม่ประทุษมิตร"  จิตเป็นอิสระ   ฉะ"พ้นอำนาจสตรี"   ทวีประพฤติผิด   ปุณณยักษ์ฯคิดรู้สึก  ทำผิดลึกไปแล้ว   มิควรแป้วทำร้าย  ป้ายวิธุฯคิดพา   กลับหนาอินทปัตต์   จะตัดมิอยากได้   ไซร้นางอริทันตี  ทีนี้วิธุฯทราบ   ทาบทามให้ปุณณ์ยักษ์   จักพาไปเมืองนาค  มิกรากเกรงภัยใด   ไขไม่เคยทำชั่ว   จึงมิกลัวความตาย   จะวายเมื่อใดแล   สองมุ่ง เมืองนาค   กรายเยี่ยม"วรุณ"เฝ้าพร้อง   เร่งหนา

   ๑๐.คราถึงเมืองนาคแล้ว   วิธุฯแกล้วทูลนา   พญานาควรุณ   มีคุณใดจึงได้   ใกล้สมบัติเช่นนี้   วรุณชี้ชาติก่อน   ร่อนเกิดเป็นเศรษฐี   มีศีล,ให้ทานพูน   วิธุฯทูลได้ทรง   ตระหนักตรงผลกรรม   ขอทรงทำกรรมดี   พีต่อไปแม้ว่า   เมืองนาคพร่าจะไร้   ไซร้สมณ์พราหมณ์แล   แฉไร้ที่ทำทาน   ขอให้พานเมตตา   ประทุษหนามิทำ   จงกระหน่ำมีโชค   เทวโลก เลิศนา   ดีกว่าภพนี้แท้ นาคแล

   ๑๑.แฉพญานาควรุณ   ฟังธรรมจุนวาจา   ไพเราะนาพอใจ  ไวเรียกวิมลา   มาพบวิธุระ  ปะแล้วนางถามจู่   อยู่ในที่อันตราย   ไยมิกรายกริ่งเกรง  หรือโศกเองอย่างใด   วิธุฯไขมิได้   ทำชั่วไซร้มิกลัว  มัวเรื่องความตายใด   ข้าไวมีหลักธรรม  ปัญญานำจึงมิหวั่น   พรั่นกลัวภัยใดเลย  เผยสององค์พอใจ   ในปัญญา,ธรรมมั่นคง   วรุณทรงตรัสว่า   ปัญญาค่าคือหัวใจ   ใสของบัณฑิตแล  แฉหาใช่เลือดเนื้อ  แล้วเอื้อยกธิดา   แก่ปุณณ์ฯหนาทันที   ปุณณ์ฯผู้มีตาสว่าง  กระจ่างด้วยธรรมเลิก   เพิกหลงหญิงจนทำ   ผิดพรำจนเสียหาย   ปุณณ์ฯกรายส่งวิธุฯ   ถึงเขต อินท์ปัตต์   กระเดื่องเมืองบ้านน้อย   เช่นเดิม

๑๒.เสริมวิธุฯคืนถิ่น   ปิ่นราชาธนัญชัย    ใจโสมนัสยิ่ง   วิธุฯดิ่งทูลเล่า   เรื่องเก่าผ่านมาแล้ว   แจ้วทูลท้ายคือธรรม   นำเป็นสิ่งสูงสุด   บุคคลรุดมีธรรม   ปัญญานำไม่ต้อง   จ้องหวั่นมหาภัย   ชัยจะมีต้องใช้   ไซร้คุณธรรม,ปัญญา   ของตนมาประกอบ   นอบแสดงธรรมยล   แก่บุคคลคือแจง   แถลงความจริงชัด   เป็นสัจจบารมี  วลีวิธุระ   พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ   เห็นทำดีด้วย"จริง"  อิงทำอย่างทุ่มเท   ไม่เฉทำความ"ตรง"   มั่นคงมิหนีเลี่ยง   เที่ยงทำความ"แท้"แฉ   แลสัตย์ซื่อใจชิด   จิตมุ่ง กุศล   ถึงนิพพานแผ้วพริ้ง   แน่เผย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ วิธุรชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: วิธุรชาดก ตอนที่ ๙ บำเพ็ญสัจจบารมี  https://www.blockdit.com/posts/

วิธุรชาดก=เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ ขณะเสวยพระชาติเป็น วิธุรบัณฑิต เพียรบำเพ็ญ สัจจบารมี
สัจจบารมี=สัจจบารมี หมายถึง ความทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการทำความดีในทุกรูปแบบ ด้วยความ “จริง” “ตรง” และ “แท้” ต่อทั้งคำพูดและการกระทำ โดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด สัจจะ มีคุณลักษณะ ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ความจริง คือ ทำอะไรทำจริง ทำอย่างทุ่มเท จริงจัง ไม่เล่น ไม่เหลาะแหละ (๒) ความตรง คือ ทำอย่างตรงไปตรงมา ไม่คด ไม่บิดพลิ้ว (๓)ความแท้ คือ ทำด้วยเจตนาสุจริต เป็นไปเพื่อกุศลความดีล้วนๆ


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 04, เมษายน, 2568, 11:03:00 AM

(ต่อหน้า ๔/๔) ๙.วิธุรชาดก

อินทปัตต์=เมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ มี พระเจ้าธนัญชัยเป็นราชา
วิธุระ,วิธุฯ=วิธุรบัณฑิต เป็นปราชญ์ของ ราชสำนักอินทปัตต์
สักกะ=ท้าวสักกะเทวราช
วรุณพญานาค= เจ้าแห่ง พญานาค
พระนางวิมลา=มเหสีของ วรุณพญานาค
อริทันตี=นางอริทันตี ธิดาของวรุณพญานาค
ปุณณ์ยักษ์ฯ,ปุณณ์ฯ=ปุณณกยักษ์ เป็นหลานของท้าวเวสุวัณมหาราช
ราชวสดีฯ=ราชวสดีธรรม เป็นคำสอน แยกเป็น
ก.คำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อกษัตริย์
(๑)ราชเสวก(ผู้รับใช้)ไม่พึงเดินในทางที่จัดไว้สำหรับพระมหากษัตริย์แม้จะทรงอนุญาต (๒)ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติอันน่าใคร่ทัดเทียมกับพระมหากษัตริย์ ราชเสวกควรเดินหลังในทุกสิ่งทุกอย่าง (๓)ราชเสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา เครื่องลูบไล้ทัดเทียมกับพระมหากษัตริย์ (๔)ราชเสวกไม่พึงประพฤติอากัปกิริยา หรือพูดจาทัดเทียมพระมหากษัตริย์ (๕)ราชเสวกไม่พึงทำการทอดสนิทด้วยพระสนมกำนัลใน ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คะนองทั้งกาย วาจา ใจ ให้มีปัญญารักษาตน และสำรวมอินทรีย์ให้สมบูรณ์ (๖)ราชเสวกไม่ควรปราศรัยกับสนมกำนัลในที่ลับ (๗)ราชเสวกไม่ควรถือเอาทรัพย์จากพระคลังหลวง (๘)ราชเสวกไม่พึงขึ้นร่วมพระตั่ง บัลลังก์ อาสน์ เรือ รถ พระที่นั่งด้วยอาการทะนงว่าเป็นคนโปรด (๙)ราชเสวกไม่ควรเข้าเฝ้าในที่ใกล้หรือไกลเกินไป (๑๐)ราชเสวกไม่ควรทำเหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์เป็นเพื่อนกันกับเรา (๑๑)ราชเสวกไม่ควรถือตัวว่าเป็นปราชญ์ราชบัณฑิตที่ทรงบูชา ราชเสวกไม่ควรเพ็ดทูลด้วยคำหยาบ (๑๒)ราชเสวกผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็นพิเศษไม่ควรวางใจในพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย (๑๓)ราชเสวกไม่ควรเพ็ดทูลคุณและโทษเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงยกย่อง พระโอรส ราชวงศ์ ด้วยแว่นแคว้น (๑๔)ราชเสวกไม่ควรทัดทานเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงปูนบำเหน็จแก่ข้าทหาร (จตุรงคเสนา) ผู้มีชอบแก่ราชการ (๑๕)ราชเสวกพึงโอนไปประดุจคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือนไม้ไผ่ (๑๖)ราชเสวกไม่ควรพูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ ควรเปล่งวาจาพอประมาณ ราชเสวกไม่พึงกระทบกระเทียบ พึงเป็นคนพูดจริง พูดอ่อนหวาน ไม่ส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ (๑๗) ราชเสวกพึงตามเจ้านาย ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย และพึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์ (๑๘)ราชเสวกพึงประพฤติประโยชน์แก่เจ้านายทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๙)ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาทในเวลาผลัดพระภูษา สรงสนาน (๒๐)ราชเสวกไม่ควรโกรธตอบแม้ถูกกริ้ว
(๒๑) บุรุษผู้หวังความเจริญแก่ตนไม่พึงกระทำอัญชลีในหม้อน้ำ หรือพึงประทักษิณนกแอ่นลม หากแต่ควรนอบน้อมต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นนักปราชญ์สูงสุด
ข.การวางตนในฐานะข้าราชการ มีดังนี้
(๑) ราชเสวก(ผู้รับใช้)ไม่ควรกล้าเกินไป ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทในการทุกเมื่อ (๒)ราชเสวกอันพระมหากษัตริย์ตรัสใช้ไม่พึงหวั่นไหวในฉันทาคติ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจทุกอย่างให้เสมอต้นเสมอปลายเหมือนตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเที่ยงตรงฉะนั้น (๓)ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ ไม่หวั่นไหวในการทำราชกิจนั้น ไม่ว่าจะทรงตรัสใช้ในเวลาใดทั้งกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม (๔) ราชเสวกไม่พึงเห็นแก่การหลับนอน (๕)ราชเสวกไม่พึงดื่มสุราจนเมามาย (๖)ราชเสวกไม่พึงฆ่าสัตว์ในเขตที่ทรงประกาศให้เป็นเขตอภัยทาน (๗)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู ราชเสวกพึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา ราชเสวกพึงเป็นผู้ประมาณในโภชนะ พึงมีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวให้แกล้วกล้า (๘)ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนักซึ่งเป็นเหตุให้สิ้นเดช (๙)ราชเสวกพึงเป็นคนไม่มักโกรธ (๑๐)ราชเสวกพึงเลี้ยงดูบิดามารดา พึงประพฤติอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวานต่อผู้เจริญในสกุล (๑๑)ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำฝึกฝนศิลปศาสตร์ดีแล้ว ราชเสวกพึงเป็นผู้ทำประโยชน์คงที่ อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด ขยัน (๑๒)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม เคารพผู้อาวุโส อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข (๑๓)ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างจากทูตที่ส่งมาด้วยความลับ (๑๔)ราชเสวกพึงดูแลเจ้านายของตน ไม่นำความลับไปพูดในราชสำนักอื่น (๑๕)ราชเสวกพึงคบหาสมาคมกับพราหมณ์ และสมณะ ผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ แล้วพึงสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ (๑๖)ราชเสวกพึงบำรุงเลี้ยงดูพราหมณ์ และสมณะผู้มีศีลเป็นพหูสูตด้วยข้าวน้ำ (๑๗)ราชเสวกไม่พึงทำทานที่เคยพระราชทานแก่พราหมณ์ และสมณะให้เสื่อมไป (๑๘)ราชเสวกไม่ควรห้ามเมื่อเห็นวณิพกซึ่งมาในเวลาพระราชทาน (๑๙)ราชเสวกพึงเป็นคนขยันไม่ประมาท มีปัญญาพิจารณาในงานที่ตนพึงทำมีปัญญาสมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดราชกิจ และจัดการให้สำเร็จด้วยดี พึงเป็นผู้รู้กาลเทศะ (๒๐)ราชเสวกพึงตรวจตราลานข้าวสาลี ปศุสัตว์และนาเสมอๆ ราชเสวกพึงตวงข้าวเปลือกให้รู้ประมาณ แล้วเก็บในยุ้งฉาง (๒๑)ราชเสวกพึงนับบริวารในเรือนแล้วให้หุงต้มพอประมาณ (๒๒)ราชเสวกไม่ควรตั้งบุตร ธิดา พี่น้อง วงศ์ญาติผู้ไม่ตั้งในศีลให้เป็นใหญ่
๒๓) ราชเสวกพึงตั้งทาส หรือกรรมกรผู้ตั้งมั่นในศีลเป็นคนขยันให้เป็นใหญ่ (๒๔)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมาก
สาธุนรธรรม=คือ ธรรมของคนดีมี ๔ ข้อ ดังนี้ (๑)เดินตามทางที่ท่านผู้รู้ได้เดินมาแล้ว หมายถึง การรู้จักคุณของผู้มีพระคุณ (กตัญญู) ถ้าเราทำคุณกับผู้ไม่มีคุณธรรม อาจจะได้ผลน้อย ไม่ได้ผล หรือได้ผลร้าย (๒)ไม่เผามืออันชุ่มเสีย หมายความว่า ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้มีคุณ (๓) ไม่ประทุษร้ายมิตร (๔)ไม่ตกอยู่อำนาจของอิสตรี หมายถึง สตรีที่ไม่มีคุณธรรม

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 05, เมษายน, 2568, 09:12:34 AM
(https://i.ibb.co/ZzyTxM6Z/Screenshot-20250328-094349-Chrome.jpg) (https://ibb.co/B28sBCV1)


ทศชาติชาดก : ๑๐.เวสสันดรชาดก

รการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.เรื่องเจาะเวสสันดรชะดกเทิด
กล่าวพระโพธิ์สัตว์เกิดลุ"เวสสันฯ"
ครือพระชาติสุดท้ายสิก่อนครัน
ตรัสรู้ล้ำเป็นพระพุทธเจ้า

   ๒.เรื่องพระเวสสันดรจะเรียกปรก
ว่ามหาชาดกเพราะทรงเกลา
บารมีครบสิบประการเพรา
ต่างกะชาดกเก้าเจริญเดี่ยว

   ๓.เริ่มซิ"เนกขัมฯบวชริบำเพ็ญ
เพียร"วิรียาฯ"เด่นขยันเคี่ยว
"เมตตะบาร์มี"เอื้อมนุษย์เจียว
ตั้ง"อธิษฐานบารมี"เอย

   ๔."ปัญญะบาร์มี"ยิ่งทวีศรี
มั่นกะ"ศีลบาร์มี"มิขาดเลย
"ขันติบาร์มี"อดทนทุรนเผย
ใจ"อุเบกขา"วางเหมาะกลางแล

   ๕."สัจจบาร์มี"พูดสิความจริง
"บารมีทาน"ยิ่งกุศลแน่
คราพระเวสสันดรเสาะสิบแฉ
พร้อมเหมาะ"สัมมาพุทธเจ้าฯเรือง

   ๖.ย่อประวัติชาดก"พระสญชัย"
ราชะครองราชย์ไซร้"สิพี"เมือง
มีมเหสี"ผุสดี"เสือง
เป็นธิดาจาก"มัททราช"เอย

   ๗.ชาติอดีตนางเคยตริขอเป็น
พุทธมารดาเด่นพระอินทร์เอ่ย
ให้สิพรสิบอย่างประเสริฐเผย
ปัจจุบันได้เป็นมเหสี

   ๘.นางพระครรภ์แก่ใกล้ประสูติเรือง
ชมตลาดในเมืองลุเจ็บถี่
จึงอุบัติโอรสเจาะแปลปรี่
ชื่อเหมาะ"เวสสันดร"เคาะร้านค้า

(https://i.ibb.co/ZRfpB1sx/Screenshot-20250404-120924-Chrome.jpg) (https://ibb.co/Y4NFcT9h)


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 06, เมษายน, 2568, 09:13:51 AM

(ต่อหน้า ๒/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

   ๙.วันประสูติมีช้างซิตกลูก
เผือกลุเพศผู้ถูกเจาะนามว่า
ช้างวะ"ปัจจัยนาค"กุเกิดหนา
คู่พระเวสสันดรตะนั้นเอย

   ๑๐.เมื่อกุมารเติบโตเจริญวัย
มีพระทัยฝักใฝ่สิทานเอ่ย
ขอซิตั้งโรงทานจรดเผย
ทิศะสี่มุมเมืองเจาะอาหาร

   ๑๑.ใครจะขอสิ่งใดก็ทรงให้
เป็นกุศลคุณไกลประสบซ่าน
"ให้"จะอิ่มเอมใจเพราะเจือจาน
ตนก็พ้นจากความตระหนี่เหนียว

   ๑๒."ผู้ซิรับทาน"คลายลิเดือดร้อน
หิวกระหายรอดผ่อนสิแน่เชียว
การเสาะ"ให้ทาน"เกิดประโยชน์เจียว
คุณลุ"ผู้ให้,รับ"มหาศาล

   ๑๓.เกียรติคุณเวสสันฯระบือไข
เมตตะผู้อื่นไกลเกาะสำราญ
ให้สบายมีสุขปะพบพาน
จึงมิหวงเก็บทรัพย์กะองค์เอง

   ๑๔.คราว"กลิงค์ราษฎร์"เกิดเจาะฝนแล้ง
ปลูกเพาะพืชสำแดงมิได้เปล่ง
ชาวประชาอดอยากก็แจ้งเผง
ราชะยืมช้างเผือก ณ สีพี

   ๑๕.ข่าววะปัจจัยนาคพลังก่น
สิงสถิตย์ไหนฝนจะตกคลี่
พืชจะปลูกสมบูรณ์ทวีศรี
ถ้าตริขอเวสสันฯจะให้ผาง

   ๑๖.ราชะส่งแปดพราหมณ์ลุสีพี
พบพระเวสสันฯขี่ ณ หลังช้าง
ทรงประพาสเยื่ยมชาวประชาพลาง
พราหมณ์สิขอปัจจัยฯลิทุกข์ผลาญ

   ๑๗.ทรงประทานให้ตามสิเขาขอ
ชนประจักษ์โกรธส่อหทัยราน
ต่อนิเมืองเราแน่วซิยากพาน
ไร้คชาปัจจัยฯลิพ้นหนี

   ๑๘.พลเมืองพากันสิเฝ้าทูล
ราชะสญชัยพูนซิโทษรี่
ให้เศวตคู่เมืองลิคุณศรี
ควรตริไล่เวสสันฯมลนไกล

   ๑๙.จำกษัตริย์ต้องขับพระเวสสันฯ
ไปละห่างเมืองครันสิว่องไว
โดยพระเวสสันดรมิขัดใด
รอพระองค์ทรงแจกมหาทาน

   ๒๐."สัตส์ดกทานฯนี้ก็เจ็ดอย่าง
อย่างละเจ็ดร้อยพร่างประชาพาน
มี"คเชนทร์,ม้า,ทาส,สตรี"ขาน
รถกะแม่โคนมและทาสี

   ๒๑.คราวพระมัทรีทราบพระเวสสันฯ
ต้องเสด็จไกลครันริตามรี่
ขอพระมัทรีตามดะเฝ้าปรี่
จิตรตีรับใช้ลุแห่งหน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 07, เมษายน, 2568, 07:47:29 AM

(ต่อหน้า ๓/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

   ๒๒.เหล่าประยูรญาติห้ามพระมัทรี
ป่าสภาพอยู่ชี้เจาะยากล้น
ผุสดีมารดาก็ทูลวน
ขอละเว้นโทษเอยมิลงทัณฑ์

   ๒๓.ราชะตรัสบ้านเมืองจะสุขได้
ราษฎรสุขไซร้กษัตริย์นั้น
สุขยะยิ่งถ้าเขาเจาะทุกข์ผลัน
ราชะนิ่งเฉยอยู่สิอย่างไร

   ๒๔.พลเมืองกล่าวเวสฯกุบ้านเมือง
ยากระคนทุกข์เขื่องก็ต้องไส
แม้พระเวสสันดรแหละลูกไง
จำตริทำตามกฏมิหวนหนา

   ๒๕.ราชะกับผุส์ดีก็วอนขอ
หลานพระชาลีจ่อและกัณหา
แต่พระมัทรีค้านมิยอมนา
ชนก็เกลียดพ่อ,บุตรจะอยู่ยาก

   ๒๖.พลเมืองโกรธแค้นซิแล้วนา
แล้วพระลูกสองหนาจะลำบาก
ควรจะออกจากเมืองริเร็วกราก
เหล่าประยูรญาติก็จึงยอม

   ๒๗.สี่พระองค์ทรงรถเลาะห่างหลีก
ผู้ริขอรถอีกก็ให้จ่อม
แล้วริจรด้วยบาท ณ ป่าจอม
ทรงกระทำบำเพ็ญสิพรตเผย

   ๒๘.ทรงเสด็จถึง"มาตลาฯ"คาบ
ราชะ"เจต์ราช"ทราบซิรับเอ่ย
ถามริ"เขาวงกต"สิทางเอย
เจตราชบอกผ่านวนาไข

   ๒๙.ป่าซิอันต์รายแล้วจะถึงยัง
"โบกข์รณี"ร่มยั้งสบายใจ
ผลไม้อาหารสิมากใช้
เจตราชสั่ง"เจต์บุตร"ระวังขวาง

   ๓๐.เจตุบุตรพรานป่าจะดูแล
ทางมิให้ใครแน่เสาะต้นทาง
เว้นเฉพาะทูตสีพีจะเชิญพลาง
คืนนครนอกนั้นมิให้ผ่าน

   ๓๑.ถึงสระโบกขร์ณีพระราชวงศ์
สี่ก็บวชรี่บ่งเจาะพรตกราน
ภาวนาที่นั้นตลอดขาน
เจตุบุตรรักษาสิปากทาง

   ๓๒.เมืองกลิงค์ราษฎร์มีสิพราหมณ์เฒ่า
นามซิชูชกเฝ้าทนงพลาง
เป็นวนิพกร่ำและรวยผาง
คิดริฝากเพื่อนไว้เพราะกลัวหาย

   ๓๓.คราวจะไปเอาเงินตะเพื่อนชี้
ใช้ปรุหมดแล้วรี่มิคืนง่าย
เพื่อนเจาะจงลูกสาวลิหนี้กลาย
นาม"อมิตต์ดา"รับเจาะลูก,เมีย

   ๓๔.นางอมิตต์ดางามแหละชูชก
เลี้ยงเลาะเป็นเมียกกและหลงเยีย
นางกตัญญูพ่อตริยอมเคลีย
ปรนนิบัติสามีและบ้านเรือน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 08, เมษายน, 2568, 08:21:25 AM

(ต่อหน้า ๔/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

   ๓๕.เสริญอมิตต์ดาทั่วซิพราหมณ์หลาย
ต้องติ,ทุบเมียหน่ายเพราะแชเชือน
ไม่ริแลเรือนเหมือนอมิตต์เอื้อน
พราหมณีเกลียดชังอมิตต์ฯเอย

   ๓๖.คราอมิตต์ฯตักน้ำเยาะถูกหยัน
พราหมณีรุมกันและทักเผย
คิดริมีสามีชราเอย
หน้าก็น่าเกลียดนักริเลือกไย

   ๓๗.อายุยังน้อยไยริมีผัว
แก่และรังเกียจกลัวจะหาไผ
กาลกิณีเดือดร้อนสิทั่วไป
ควรละไกลหมู่บ้านจะดีหนา

   ๓๘.พราหมณีทุบตีอมิตต์ไห้
ต้องละหนีกลับไวและเล่านา
นั่นแหละชูชกบอกตนจะทำหา
นางอมิตต์ดาดูมิต้องทำ

   ๓๙.นางอมิตต์ดากล่าวสิเมียไซร้
ปล่อยละผัวรับใช้มิได้พร่ำ
ถ้าผิรักเราจริงก็หานำ
คนสิมาให้ใช้จะดีเอย

   ๔๐.คราเจาะชูชกไร้ซิหาทาส
นางอมิตต์เปรื่องปราดแนะจรเปรย
หาพระเวสสันดร ณ ป่าเอย
ขอพระชาลี,น้องซิข้าเรา

   ๔๑.กลัวเลาะป่าชูชกมิอยากดิ่ง
แต่ก็เกรงเมียทิ้งริทำเนา
เร่งมุเขาวงกตริลวงเขา
เจตุบุตรว่าตนสิทูตบ่ง

   ๔๒.เชิญพระเวสสันดรสิเร็วรี่
คืนนครสีพีสง่าคง
เจตุบุตรหลงเชื่อแนะชี้ตรง
ทางลุอาศรมภาวนายล

   ๔๓.ถึงอะศรมชูชกชลอก่อน
ให้พระมัทรีจร ณ ป่าพ้น
จึงจะเข้าขอสองกุมารผล
ถ้าริเข้าตอนนี้มิได้การ

   ๔๔.คราพระนางรู้สึกระวนจัด
ฝันมิดียักษ์ตัดพระกรฝาน
ควักพระเนตรซ้าย,ขวาหทัยราน
พิสวงมีเหตุร้ายกุเกิดดล

   ๔๕.นางละล้าไม่อยากคระไลไกล
จากอะศรมจำไปเสาะไม้ผล
ทรงเกาะจูงลูกรักกะพ่อยล
ช่วยชะแง้แลและเรียกหา

   ๔๖.นางก็เล่าความฝันซิกลัวยิ่ง
ทรงลุหยั่งรู้จริงสิเหตุมา
มีซิผู้มาขอพระลูกหนา
แต่พระองค์ไม่บอกพระนางตรง

   ๔๗.ถ้าริบอกตรงแล้วหทัยนาง
ต้องทุรนครวญครางมิรับบ่ง
ว่าพระองค์ใจมั่นกระทำยง
แน่วละทรัพย์,กายนอกและในเผย


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 09, เมษายน, 2568, 10:59:56 AM

(ต่อหน้า ๕/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

   ๔๘.แม้ชิวิตเลือดเนื้อพระองค์แล้ว
ใครจะขอให้แคล่วมิหวาดเอย
แน่พระองค์รับฝากจะดูเชย
นางเสด็จเข้าป่าเสาะอาหาร

   ๔๙.กาลเหมาะชูชกรุด ณ อาศรม
ขู่กุมารสองขรมลุกลัวราน
แล้วมุทูลอ้อมค้อมจะขอกราน
ตัวพระชาลี,น้องสิทาสหนอ

   ๕๐.คราพระเวสสันดรรตีมาน
ทรงกระทำบุตรทานเพราะหมายจ่อ
ตัดกิเลส,เลิกหวงกะทรัพย์คลอ
คนซิรักสุดยิ่งก็ให้แฉ

   ๕๑.แต่พระองค์ ขอผลัดวะลูกยา
ควรจะลามารดาสิก่อนแล
กักขละชูชกค้านมิรอแล้ว
นางจะหวงแหนไม่ยกพระลูกขวัญ

   ๕๒.ถ้าจะทำทานแล้วพระองค์ควร
มอบกุมารให้ด่วนสิทันควัน
จำพระเวสสันดรก็ยอมครัน
เรียกพระลูกแก้วเอยซิมาหา

   ๕๓.สองกุมารอยู่ใกล้จะยินความ
หลบละหนีผลามลงสระบัวนา
ใบกมุทบังหัวมิเห็นหนา
เฒ่าประชดไม่เต็มหทัยจริง

   ๕๔.ทรงเสาะหาบุตรสองชม้ายเห็น
บ่งซิรอยเท้าเด่นและชัดยิ่ง
ตรัสวะขึ้นมาเถิดซิอย่านิ่ง
พราหมณ์จะเย้ยคำพ่อมิมีสัจจ์

   ๕๕.พ่อมุบำเพ็ญทานกิเลสพ้น
เพื่อลุโพธิ์ญาณ,ชนสิพึ่งชัด
พ้นซิเวียนตายเกิดลุช่วยปัด
ทุกขะของสัตว์โลกลุล่วงเถิด

   ๕๖.สองกุมารทรงนึกซิหน้าที่
บุตรจะต้องพฤติดีและเชื่อเพริศ
ตรึกระลึกความเพียรสิพ่อเกิด
วงค์กษัตริย์ไม่ควรประหวัดฝาน

   ๕๗.จึงเสด็จขึ้นจากสระบัวงาม
มอบพระบุตรแก่พราหมณ์สิเป็นทาน
เฒ่าก็ฉุดลากสองกุมารซาน
เพื่อจะให้ยำเกรงสิต่อไป

   ๕๘.ครันพระมัทรีกลับสิค่ำพลบ
หาพระบุตรไม่พบก็ถามไถ่
กับพระเวสสันฯแต่พระองค์ไซร้
เกรงพระนางไม่ทนกะเศร้าใจ

   ๕๙.แสร้งติเตียนมัทรีถไลปลื้ม
คงจะรื่นรมย์ลืมพะวงใด
นางก็เสียใจเล่าเจอะสัตว์ใกล้
รอซิสัตว์ไปก่อนเลาะกลับคืน

   ๖๐.นางก็ทูลใจซื่อมิคิดแล
สุขสบายตนแม้ตะน้อยชื่น
บุตรละหายจำต้องเสาะแหล่งอื่น
วนปะลูกทั้งสองซิแน่นอน


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 10, เมษายน, 2568, 08:17:57 AM

(ต่อหน้า ๖/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

   ๖๑.คราพระนางเพียรตามสถานใกล้
ไม่พะพานเห็นไผ ณ ทางจร
จนสลบสิ้นแรงมิคลายถอน
จนพระเวสฯนำน้ำปะพรมหาย

   ๖๒.แล้วพระเวสฯเล่าได้กุทานหนา
แจกพระบุตรจงสาธุบุญฉาย
คราพระนางคลายโศกกะบุญกราย
บารมีทานยิ่งใหญ่ฉะนี้เอย

   ๖๓.สักกะเทว์ราชเล็งผิใครมา
ขอพระมัทรีอีกนาพระเวชฯเกย
ยากจะหาภัตรมาประทังเผย
จึงมิได้บำเพ็ญสิเต็มที่

   ๖๔.สักกะแปลงเป็นพราหมณ์ประสงค์ดัก
ขอเพราะอยากปกปักพระมัทรี
แลพระเวชฯยินดีและมอบรี่
โดยพระนางเต็มใจประกอบทาน

   ๖๕.สักกะคืนร่างเดิมริเสริญหนา
โมทนาทานบารมีฉาน
ของพระเวสสันฯแล้วถวายกราน
คืนพระนางมัทรีเผดิมพร่าง

   ๖๖.ฝ่ายซิชูชกพากุมารสอง
ผ่านพนาครรลองตะหลงทาง
ถึงนครสีพีเผอิญย่าง
ที่ประทับสญชัยและทรงเห็น

   ๖๗.สองพระนัดดาแล้วระลึกได้
สั่งลุเข้าเฝ้าใกล้เจาะความเป็น
เฒ่าริทูลเวสสันฯซิยกเด่น
สองกุมารเป็นทาสมุเดินรุด

   ๖๘.เหล่าอมาตย์,ชนล้วนสิสงสาร
แลติเวสสันฯพานมิห่วงบุตร
คราพระชาลียินติพ่อสุด
ทรงกุกล่าวเวสสันฯผนวชเอย

   ๖๙.ทรงมิมีสมบัติอะไรชัด
ตั้งหทัยมั่นตัดกิเลสเอ่ย
ไม่ตริหวงแหนโภคทรัพย์เลย
ผู้สิเป็นที่รักก็ละได้

   ๗๐.มีพระทัยมั่นในพระโพธิ์ญาณ
เป็นประโยชน์ก่อขานกะชนไกล
โลภะ,โกรธ,รัก,ชังกิเลสไว
นั้นจะขวางกั้นทางลุโพธิ์ญาณ

   ๗๑.ด้วยบิดามั่นตัดกิเลสอยู่
การติเตียนองค์พรูมิควรกราน
องค์กษัตริย์ฟังแล้วรตีขาน
เรียกพระชาลีมาใกล้ตะหามา

   ๗๒.คราพระชาลีตรัสซิทาสตรอง
ราชะขอไถ่สองกุมารนา
ตรัสบิดาตีค่าพระองค์หนา
ครือเจาะพันตำลึงเพราะเป็นชาย

   ๗๓.แต่พระกัณหาเป็นสตรีเทิด
ตรงเหมาะค่าตัวเลิศขยายปราย
จากพระชาลีครือเจาะสิ่งผาย
อย่างละร้อย"ช้าง,ม้าเสาะโคผู้"


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 11, เมษายน, 2568, 08:15:14 AM

(ต่อหน้า ๗/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
   
   ๗๔.มีซิ"แม่โคนม,กะทาสี"
"ทาสและรถ"รวมรี่สกลพรู
สัตตะสิ่งค่าตัวซิมากหรู
ราชะไถ่ตัวหลานระเร็วพลัน

   ๗๕.ราชะโปรดชูชกซิอาหาร
รสอร่อยไม่พานเจอะเลยฝัน
เสพดะล้นเกินจึงแหวะออกครัน
ชีพมลายถึงตายสิต่อมา

   ๗๖.ราชะโปรดหาผู้สิทายาท
ได้เสาะแล้วคงพลาดมิมีนา
เหล่าประชาคิดเวสฯประกอบหนา
บารมีทานยิ่งมหันต์เอย

   ๗๗.เพื่อประโยชน์ชนแท้มิใช่องค์
ทูลเสนอรับตรงสนิทเชย
ทั้งพระเวสฯ,มัทรีซิหวนเกย
ตรัสกระบวนรถเชิญเสด็จแน่ว

   ๗๘.ถึงอะศรมหกองค์รตียิ่ง
ราชะตรัสชนดิ่งตริได้แล้ว
องค์พระเวสฯ,มัทรีริยอมแจว
ถึงนครสญชัยละครองราชย์

   ๗๙.โปรดพระเวสสันฯครอง ณ สีพี
ทรงริกอปรทานรี่มิทรงพลาด
มีเสมอทุกวันประชาดาษ
เมืองสิใกล้รับเมตตะเหมือนกัน

   ๘๐.ชน ณ สีพี,ใกล้เคียงก็ร่มเย็น
ต่างตริเอื้อบำเพ็ญพระธรรมดั้น
โลภะไม่มีอยากหทัยกลั่น
จิตก็ผ่องใสสุขยะยืนนาน

   ๘๑.ด้วยพระเวสฯตั้งมั่นเสาะแจกทรัพย์
ความ"ตระหนี่,โลภ"ขับจะถูกราน
ผู้สิ"รับ"ทานได้ประโยชน์กราน
โสมนัสยิ่งกับทานซิแน่ไว

   ๘๒.ผู้ตริ"ให้"เอมใจเพราะได้ช่วย
ยังประโยชน์เขาด้วยเจาะสุขไข
"ผู้ริให้,ผู้รับ"ก็ปลื้มใจ
ปีติเกิดดื่มด่ำเพราะยินดี

   ๘๓.บารมีบำเพ็ญสิ"ทาน"ครัน
สอนกระทำดีมั่นมิท้อหนี
เพียรประกอบทานจาคะเร็วรี่
ชื่อก็เสริญเยินยอยะยืนนาน

   ๘๔.โพธิสัตว์เวสสันฯกระทำครบ
บารมีสิบจบก็เสร็จงาน
ชาติสิสุดท้ายก่อนประสูติ์กาล
เป็นพระโคดมพุทธเจ้าหนา ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ เวสสันดรชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙
        ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๐ บำเพ็ญทานบารมี  https://www.blockdit.com/posts/


หัวข้อ: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 12, เมษายน, 2568, 10:24:51 AM

(ต่อหน้า ๘/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก

เวสสันฯ,เวสฯ=พระเวสสันดร เป็นผู้เสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติ เพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า
เวสสันดรชาดก=หรือเรียก มหาเวชสันดรชาดก เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้ ๑๐ บารมี คือ (๑)ทานบารมี =ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี (๒)ศีลบารมี = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต (๓)เนกขัมมบารมี = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต (๔)ปัญญาบารมี = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช (๕)วิริยาบารมี = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน (๖)สัจจบารมี = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้ (๗)ขันติบารมี = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้ (๘)เมตตาบารมี = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย (๙)อุเบกขาบารมี = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว (๑๐)อธิษฐานบารมี = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่างๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์
วิรียาฯ=วิริยบารมี
เมตตะบาร์มี=เมตตาบารมี
ปัญญะบาร์มี=ปัญญาบารมี
ขันติบาร์ฯ=ขันติบารมี
อุเยกขา=อุเบกขาบารมี
สัจจบาร์มี=สัจจบารมี
สัมมาพุทธเจ้าฯ=พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สิพี=เมืองสีพี
พระสญชัย=พระเจ้าสญชัย ครองกรุงสีพี พระราชบิดาของพระเวสสันดร
ผุสดี=พระนางผุสดี มเหสีของพระเจ้าสญชัย
คำอธิษฐานของพระนางผุสดี= พระอินทร์ประทานพร ๑๐ ประการแก่พระนาง  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร (แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุ จึงขอพรจากพระอินทร์ได้ และยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวปัสิสีพุทธเจ้าและอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ประการ คือ (๑)ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี (๒)ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย (๓)ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง (๔)ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม (๕)ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป (๖)ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ (๗)ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง (๘)ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ (๙)ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ (๑๐)ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
พระนางมัทรี=พระชายา ของพระเวสสันดร ทรงมีโอรส คือ พระชาลี พระธิดา คือ พระกัณหา
ปัจจัยนาค=ช้างเผือกคู่บุญบารมีของพระเวสสันดร เกิดในวันเดียวกันกับพระเวสสันดร
กลิงค์ราษฎร์=เมืองกลิงคราษฎร์
สัตส์ดกทาน=สัตสดกทาน การบริจาคทาน ๗ สิ่งๆละ ๗๐๐ ก่อนที่พระเวสสันดรจะเสด็จไปบวช ได้พระราชทาน ช้าง ๗๐๐ เชือก, ม้า ๗๐๐ ตัว, รถม้า ๗๐๐ คัน, สตรี ๗๐๐ คน, แม่โคนม ๗๐๐ ตัว, ทาสชาย ๗๐๐ คน, ทาสหญิง ๗๐๐ คน
มาตลาฯ=มาตลนคร
เจต์ราช=กษัตริย์เจตราช
เจตุบุตร=พรานป่าเจตุบุตร
สระโบกขร์ณี=สระโบกขรณี คือ สระบัว
เขาวงกต=ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้
ชูชก=พราหมณ์เฒ่า หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน
อมิตต์,อมิตต์ดา=นางอมิตตดา ภรรยาชูชก
ท้าวสักกะเทวราช=ศาสนาพราหมณ์ เรียก พระอินทร์
ค่าไถ่ตัวพระชาลี,พระกัณหา=พระเวสสันดรกำหนดค่าตัวสองกุมารไว้ดังนี้ (๑)พระชาลี มีค่าตัว ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง (๒)พระกัณหา มีค่าตัวสูงกว่า(เนื่องจากเป็นหญิง) คือ ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง โคผู้ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ ทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ รถ ๑๐๐

(ขอขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)