หัวข้อ: ~~..พุทธแท้หรือแค่กาฝาก..~~ เริ่มหัวข้อโดย: ลายเมฆ ที่ 30, มีนาคม, 2568, 01:36:44 PM (https://img2.pic.in.th/pic/-1f3c4a16ba13c4e30.jpg)
พุทธแท้หรือแค่กาฝาก... เมื่อพูดถึงต้นไม้ เราก็รู้ว่า ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผลและเมล็ด รวมกันทั้งหมดนี้นั้นแหละจึงเป็นต้นไม้ ไม่ไช่เพียงแค่ลำต้นอย่างเดียว และต้นไม้ต้องอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่ดี ดิน น้ำ ปุ๋ยที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ ต้นไม้จึงจะงอกเงยเจริญเติบโตได้ดี ใน๑ส่วนของปุ๋ยและน้ำจะถูกแบ่งออกไปเป็นเปลือก กระพี้ และแก่น เมื่อต้นไม้ค่อยๆเจริญเติบโต เปลือก กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล จะร่วงหล่นไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า และผุพังกลายเป็นดินเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ได้ดำรงอยู่อย่างนั้น.. อุปมาว่า.. - ต้นไม้คือพุทธศาสนา - เมล็ดพันธุ์ ดิน ปุ๋ย น้ำ คือชาวพุทธ ๔ ประเภท มี ๑.อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว ๒.วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า ๓.เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า ๔.ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิแม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร ไม่สามารถบรรลุอะไรได้ในชาตินี้ ด้วยขาดซึ่งสติปัญญา แต่จะเป็นอุปนิสัย วาสนา บารมีต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งคนเหล่านี้อุปมัยเหมือนเปลือก กิ่ง ก้าน ใบ ดอกที่ร่วงหล่นผุพังกลายเป็นดิน เป็นปุ๋ยเพื่อการดำรงอยู่ของต้นไม้ เป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ต้องกลายเป็นแก่นไม้ได้ในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอน.. ดังนั้นคนทั้ง ๔ จำพวกนี้ ผู้ที่มีความเชื่อมั่นว่าพุทธศานาเป็นที่พึ่งที่ระลึกแห่งตน จึงเป็นพุทธศาสนิกชน ไม่เป็นอื่นอย่างจริงแท้... มารู้จักพุทธะกัน.. พุทธะแปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ดังนั้นพุทธะคือ ผู้ตรัสรู้แล้ว มี ๓ ประเภท คือ - สัพพัญญูพุทธะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เอง สั่งสอนผู้อื่นไห้รู้ตามได้ - ปัจเจกพุทธะ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เอง แต่ยังผู้อื่นไห้รู้ตามไม่ได้ - อนุพุทธะ แปลว่าผู้รู้ตามหมายถึงพระอรหันตสาวก ฉะนั้นพุทธแท้คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรมแล้ว นอกนั้นเป็นเพียงพุทธศาสนิกชนด้วยกันแท้ๆ หากแต่แตกต่างกันบ้างตามภูมิจิต ภูมิธรรม จึงไม่ควรด้อยค่ากัน เพราะอาจกลายเป็นผู้ทำลายศาสนาด้วยการทำไห้ผู้ที่ศรัทธาอยู่แล้วเสื่อมสิ้นศรัทธา และไม่เป็นการทำผู้ที่ยังไม่ศรัทธาไห้หันมาศรัทธาได้ หมายเหตุ บทความนี้เป็นแต่เพียงความเห็นส่วนตัว หัวข้อ: Re:~~..บางส่วนจาบทสนทนา..~~ เริ่มหัวข้อโดย: ลายเมฆ ที่ 13, เมษายน, 2568, 10:24:14 AM ความอ่อนแอ หวั่นไหว จิตใจไม่หนักแน่นมั่นคง ทำไห้เกิดความเหนื่อยล้า ท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจในการดำเนินชีวิตฯ จึงทำไห้เป็นทุกข์ เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น ต่างคนต่างก็หาที่พึ่งไห้กับตนเองโดยมีศรัทธาเป็นเครื่องชี้นำ ซึ่งอาจมีทั้งพ่อแม่ ญาติ นักบวชจากศาสนาต่างๆ หมอดู ร่างทรง เทพเทวดา สถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และนี่คือบางส่วนจากบทสนทนาระหว่างลูกศิษย์กับพระในศาสนาพุทธ.. #บางส่วนจากบทสนทนา โยม..หลวงพ่อตอนนี้เหนื่อยมาก ล้ามาก ไม่รู้จะสู้ได้อีกนานแค่ไหน พระ..ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้ก่อนว่าเราสู้อยู่กับอะไร ถ้าเราจะบอกว่าเราสู้กับงาน แต่การงานคือการสร้างคุณประโยชน์และแหล่งรายได้ของเรา ไม่ว่าเราจะทำหน้าที่อะไร หน้าที่ต้องมีความรับผิดชอบกำกับด้วย การทำหน้าที่จึงจะมีความสมบูรณ์ หน้าที่การงานนั้นไม่ใช่แค่ภาระ..เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องสู้ไหม..?หรือถ้าเราจะบอกว่าเราต้องต่อสู้กับเพื่อนร่วมงาน..เราทำงานที่ไหนที่จะไม่มีเพื่อนร่วมงานแล้วเพื่อนร่วมงานที่ไหนที่จะมีแต่เฉพาะผู้ที่เมตตาเรา รักเรา เห็นอกเห็นใจเราอย่างเดียว..มีไหม?และก็อีกถ้าเราจะบอกว่าเราต้องสู้กับชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีแค่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม,อาหาร,ที่อยู่อาศัย,ยารักษาโรค เท่านี้ชีวิตก็ดำเนินไปได้แล้ว.. โยม..แล้วที่เหลือหละหลวงพ่อ รถยนต์ โทรศัพย์ เงินทอง อื่นๆอีกเยอะเลย..? พระ..สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นค่านิยมทางสังคม ไม่ใช่เครื่องหล่อเลี้ยงไห้ชีวิตดำเนินไป ค่านิยมเกิดเพราะความปรารถนา ความต้องการของผู้คนในสังคม ..ถามว่า แล้วเราต้องต่อสู้ ต่อต้านค่านิยมทางสังคมไหม คำตอบคือไม่ หากแต่เราต้องประเมินศักยภาพหรือเรียกอีกอย่างว่า ขีดความสามารถของตนเองนั้นแหละ ประเมินแล้วก็ต้องนำมาไช้ไห้เกิดประโยชน์คือ การจัดการทรัพยากรที่ตนมีอยู่ไห้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือก็คือการประมาณตนในการไช้สอยทรัพยากรที่ตนมีนั่นเอง และต้องเพียรพยายามพัฒนาขีดความสามารถของตนไห้มีมาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นี่แหละถ้าเราได้ประเมิน ประมาณตนดีแล้ว เราก็จะพบคำตอบที่แท้จริงว่าเรากำลังสู้ หรือจะต้องสู้กับอะไรกันแน่...? -สิ่งที่เราทุกคน ทุกชีวิตต้องสู้ด้วยไม่ใช่ชีวิต,งาน,หรือว่าเพื่อนร่วมงาน หากแต่เป็นใจที่มีความปรารถนา ความต้องการเป็นแรงผลักดันของตนเองต่างหากที่เราต้องต่อสู้ด้วย ผู้มีความปรารถนาเป็นแรงผลักดันนั้น ถ้ามีพอสมควรแก่ตนก็นับเป็นเรื่องดี เพราะคือเครื่องหมายของความเจริญ แต่หากว่ามีมากไป จนเกินศักยภาพของตน ก็จะทำไห้เกิดความลำบากแก่ตนทั้งใจและกายนั้น นั่นแหละเป็นทุกข์ไช่ไหม ทุกข์เกิดเพราะใจเรานี้ดิ้นรนด้วยแรงปรารถนาที่มีมากเกินพอดี โยม..แล้วจะจัดการอย่างไรกับความทุกข์หละหลวงพ่อ..? พระ..ใช้ขันติธรรมคือความอดทน อดกลั้น เป็นเครื่องมือในการสะกดข่มใจด้วยความเพียรพยายามให้เต็มที่ เต็มกำลัง แล้วจึงใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ไตร่ตรอง หาปัจจัยที่เป็นสิ่งเกื้อหนุนไห้ใจ สร้างเหตุและรับผลแห่งเหตุนั้นๆ กับทั้งขณะที่ใจสร้างเหตุและรับผลอยู่ ตนเองมีอาการอย่างไรเช่น สุข สบาย หรือว่า หงุดหงิดงุ่นง่าน รำคาญ รุ่มร้อน ไม่สบาย ทรมานอย่างไร อย่างนี้เรียกว่าการพิจารณาธรรม เมื่อใจเรียนรู้ เข้าใจลึกซึ้งลงไป ใจจะยอมรับในความเป็นไปของสภาพสภาวะธรรมตามเป็นจริง ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม คือไม่ต่อต้านผลักไส ไม่หน่วงเหนี่ยวสภาวะธรรมใดใด ใจตนเองก็จะสงบระงับ ดับร้อนอยู่เป็นสุขได้ |