บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอน ร้อยกรองหลากลีลา => ข้อความที่เริ่มโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 15, มกราคม, 2557, 10:59:27 PM



หัวข้อ: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 15, มกราคม, 2557, 10:59:27 PM
สวัสดี ทุกท่าน

       ผมได้ประพันธ์ "รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด"  ลองติดตาม "สัจธรรม" จาก "รำลึกหัวตะพานบ้านเก่า"
ผมจะทะยอยลงติดต่อกันไป และจะนำแต่ละตอนครั้งละ 5 บท  

       รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด ..1  ได้นำเสนอไปแล้วจำนวน 100 บท
                                                                                        
                        
                                               ด้วยความจริงใจ
                                                    
                                                          จาก
                                                      ธรรมชาติธรรม
                                           http://www.naturedharma.com
                                                      ประทีป  วัฒนสิทธิ์


 :AddEmoticons00918: :AddEmoticons00925: :AddEmoticons00943: :AddEmoticons00942: :AddEmoticons00936: :AddEmoticons00926: :AddEmoticons0094:

     อิ่มเอมใจในอักษรป้อนคำถ้อย
จัดเรียงร้อยบทกวีที่คิดสรรค์
มอบกวีแด่พี่น้องของกำนัล
คอยแบ่งปันสรรค์คิดจากจิตใจ

     ดุจดั่งเป็นเช่นกระจกส่องมองเห็นโลก
มุมเศร้าโศกสันติสุขแห่งยุคสมัย
มองด้วยจิตคิดคู่ธรรมนำซึ่งไท
อาจต่างไปต่างมุมมองของแต่ละฅน

     แต่อย่างน้อยแนวคิดถึงผิดถูก
คงช่วยปลูกวิจารณญาณผ่านสับสน
อาจตัดสินขอกังขาพากังวล
เพื่ออยู่บนถูกต้องครรลองธรรม

     ประทีปขอปณิธานงานอักษร
ร้อยกานท์กลอนกลั่นกรองมองเช้าค่ำ
เพื่อชี้เทาชี้ขาวกล่าวสีดำ
ผลน้อมนำสัจธรรมค้ำสังคม


ประทีป  วัฒนสิทธิ์
ธรรมชาติธรรม
www.naturedharma.com
 



หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 15, มกราคม, 2557, 11:04:27 PM

 :AddEmoticons00945:

                   เพา

   ๑๐๑  ขูดมะพร้าวตำเครื่องแกงแบ่งไปทั่ว      
เรื่องในครัวเตรียมการพร้อมทานได้
แขกที่มาทานดื่มกันปลื้มใจ         
จักมิให้ขาดตกบกพร่องเลย

  ๑๐๒  พวกหนุ่มหนุ่มงานหนักจักแบ่งให้      
เช่นผ่าไม้ผ่าฟืนไม่ยืนเฉย
ขูดมะพร้าวขนน้ำทำตามเคย         
อะไรเอ่ยงานหนักจักแบ่งเบา

   ๑๐๓  มีมากหลายชายหนุ่มทุ่มเทได้         
มิหวั่นไหวแม้หนักจักขุนเขา
งานแรกสุดขุดขุดคือขุดเตา         
หรือเตรียม”เพา”แบบใต้เอาไว้ปรุง

   ๑๐๔  เตาหุงข้าวต้องมีถึงสี่ห้า         
มิชักช้าประเดี๋ยวใจเป็นได้หุง
กลิ่นข้าวนาหอมรวยรินกลิ่นจรุง      
ให้หอมฟุ้งทั่วงานทั่วบ้านนา

   ๑๐๕  อีกอย่างหนึ่งมิอาจขาดหลีกเลี่ยง      
คือ “โรงเลี้ยง” ต้องมีหนึ่งที่หนา
หรือสองสามตามแต่แลงามตา      
ขอเพียงว่าเพียงพอต่อรับแขก

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
15 มกราคม 2557

 :AddEmoticons00926:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 17, มกราคม, 2557, 10:31:56 AM
 :AddEmoticons00916:

                      โรงเลี้ยง

  ๑๐๖  โรงเลี้ยงหรือคือโต๊ะทานอาหาร      
คำเรียกขานทางใต้ให้ดูแปลก
เป็นตัวยาวต่อติดมิคิดแยก         
มันผิดแผกโต๊ะบ้างช่างปะไร

   ๑๐๗  ต้องต้นหมากหรือไผ่ใช้เป็นขา         
เจาะเป็นบ่ารองรับกับคานใส่
ชั้นบนล่างสองชั้นแยกกันไป         
ดุจบันไดสองขั้นเป็นชั้นวาง

   ๑๐๘  นับจากล่างชั้นหนึ่งซึ่งที่นั่ง         
แบ่งสองฝั่งสองฝ่ายได้สองข้าง
วางชั้นบนเหนือที่นั่งระหว่างกลาง      
เป็นชั้นกว้างวางอาหารรับทานกัน

   ๑๐๙  ขาชุดหนึ่งซึ่งมีถึงสี่ขา         
นึกหน้าตาคงเห็นก็เป็นชั้น
ขุดหลุมฝังลึกศอกออกสำคัญ         
ยึดได้มั่นมิโยกไหวเมื่อใช้งาน

   ๑๑๐ ขาจะวางห่างกันวากว่ากว่า         
สิบห้าขาต่อตัววางขนาน
ปูที่นั่งสุดสวยด้วยกระดาน         
ที่วางอาหารกระดานด้วยก็สวยดี

           ประทีป  วัฒนสิทธิ์
            17 มกราคม 2557

 :AddEmoticons00918:




หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 17, มกราคม, 2557, 11:24:08 PM
 :AddEmoticons00918:

       สามอย่างกันศพเน่า  

 ๑๑๑  หากไม่มีกระดานต้องการใช้         
ฟากไม้ไฝ่ก็ได้สวยสดสี
ปูให้แน่นหวายฝ่าซีกคาดอีกที      
ชวนน้องพี่ผูกรัดมัดเร็วไว

   ๑๑๒  เสร็จโต๊ะยาวอย่างดีมิชักช้า         
มุงหลังคาร่มรื่นชื่นสดใส
เห็นหลังคาเขียวขจีงามวิไล         
มุงใบไม้สดสดดูงดงาม

   ๑๑๓  มุงหลังคาสวยสวยด้วยใบไม้         
นิยมใช้เข้าการประมาณสาม
ใบมะพร้าวสาคูคงรู้นาม         
อีกจากน้ำมุงได้ใช้กันดี

   ๑๑๔ ศพไว้นานลำบากยากสุดฝืน         
แค่สามคืนฝืนได้หรือไม่สี่
หากไว้นานเน่าเหม็นเป็นทวี         
ด้วยเหตุนี้ฝังเผารีบเอาไป

   ๑๑๕  มีสามอย่างกันศพเน่าแลดับกลิ่น         
หนึ่งเกลือกินนี้หนอพอใช้ได้
อีกฝรั่งดับกลิ่นดีนี้เอาใบ         
มันยางใสใส่ท้องศพก็ครบครัน

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
17 มกราคม 2557

 (http://upic.me/i/1k/homeold.jpg) (http://upic.me/show/34339619)


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 21, มกราคม, 2557, 09:30:06 AM
 :AddEmoticons00918:

นาของศพอยู่ไหนหามไปหา

   ๑๑๖  สมัยก่อนญาติมิตรอยู่ชิดใกล้         
จะส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านนั้น
เรื่องคอยญาติน้องพี่มิสำคัญ         
สองสามวันเผาได้ไร้กังวล

   ๑๑๗  ปัจจุบันลูกหลานบ้านมิใกล้         
ศพต้องไว้รอน้องพี่นี้เหตุผล
น่าสงสารศพใดใครยากจน         
มันมิพ้นเป็นหนี้พิรี้พิไร

   ๑๑๘  ด้วยข้าวของมันแพงดังแกล้งซ้ำ      
ต้องค่าน้ำค่าเต็นท์เป็นยกใหญ่
ค่าคนครัวอื่นอื่นดื่นถมไป         
สมัยใหม่ผิดกันเมื่อวันวาน

   ๑๑๙  เข้าเรื่องเผาเขาหามตามวิถี         
มันมิมีรถถนนให้คนผ่าน
ผลัดช่วยหามตามประสาหน้าชื่นบาน      
ถือเป็นการแทนคุณบุญผู้ตาย

   ๑๒๐  นาของศพอยู่ไหนหามไปหา         
หามศพพาให้ถึงซึ่งจุดหมาย
เพื่อเจ้าของพบนามาเยี่ยมกราย         
ก่อนสลายร่างไหม้ได้เห็นกัน

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
21 มกราคม 2557

(http://upic.me/i/h2/jkao1.jpg) (http://upic.me/show/34425061)


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 22, มกราคม, 2557, 08:46:28 PM

  :a006:

ยาหนม

   ๑๒๑  เชิงตะกอนก่อนเก่าเขาเผาศพ         
ไฟฟืนอบขอนไม้เผากายนั่น
เห็นศพไหม้ปลงใจไม่จาบัลย์         
นึกคิดวันทำดีก่อนที่ตาย

   ๑๒๒ งานบวชนาคแต่งงานการอีกอย่าง      
เพียงแต่ต่างพิธีกรรมที่จำหมาย
ยามช่วยงานการกิจทั้งหญิงชาย      
ก็คล้ายคล้ายคลึงกันงานทั่วไป

   ๑๒๓  จะร่วมมือร่วมใจไม่ทอดทิ้ง         
งานทุกสิ่งเจ้าบ้านจ่ายงานได้
จากญาติมิตรที่ช่วยทำด้วยใจ         
ทางอ้อมไซร้คอยนิมิตจิตวิญญาณ

   ๑๒๔  ก่อนจะถึงซึ่งงานการบวชแต่ง      
คงจัดแจงเตรียมสะสมขนมหวาน
ข้าวเหนียวกวนรับตอบคนชอบทาน      
ต้องน้ำตาลมะพร้าวเข้ากันดี

   ๑๒๕  ขนมหนึ่งซึ่งใต้ใช้ "ยาหนม"      
ยังนิยมทำกันนั้นทุกที่
ภาษากลาง "ละละเม"แน่นะซี         
ไว้เป็นปีไม่บูดสูตรโบราณ   
   

:a006:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 23, มกราคม, 2557, 10:21:59 AM

 :092:


ลงโรงครัว  

๑๒๖  ก่อนเข้างานควันโขมงเรือนโรงทั่ว      
“ลงโรงครัว”ประเพณีที่หมู่บ้าน
สองสามวันก่อนหน้าจะมีงาน      
รีบเตรียมการทุกอย่างวางแผนกัน

   ๑๒๗  "ลงโรงครัว"นั้นหรือคือปรุงอาหาร      
ตอนใช้ทานเป็นหมู่รู้ไหมนั่น
และอยู่ทานกันไปในหลายวัน      
เพื่อลงขันทำงานการหนึ่งใด

   ๑๒๘  ลงโรงครัวกวนกะละแมแลกวนเหนียว      
สนุกเชียวทำโรงเลี้ยงเพียงยกใหญ่
เตรียมความพร้อมมิสายสบายใจ      
ขาดอะไรตรวจทวนไม่จวนตัว

   ๑๒๙  ประเพณีแต่งงานสมัยก่อน         
มีขั้นตอนคล้ายกันนั้นถ้วนทั่ว
เริ่มแต่ต้นจนท้ายล้มควายวัว         
เรื่องพันพัวปลีกย่อยน้อยเมื่อไร

   ๑๓๐  ประเพณีแบบเก่าไทยเรานั้น         
ถูกขวางกั้นเรื่องรักจากผู้ใหญ่
มิมีเป็นเช่นว่าประชาธิปไตย         
หากคิดไปยังดีประเพณีเดิม


ประทีป  วัฒนสิทธิ์
23 มกราคม 2557

 :a015:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 23, มกราคม, 2557, 08:01:13 PM

 :AddEmoticons0094:

ฝืกใจลูกผู้หญิง


   ๑๓๑  ฝึกใจหญิงเจียมเนื้อเจียมตัวได้      
ผูกมัดใจห้ามไว้ไม่ฮึกเหิม
มิปล่อยใจในกามาอย่างร่าเริง         
แบบไว้เชิงเจียมจิตคิดเจียมใจ

   ๑๓๒  จนกระทั่งฝังใจในสายเลือด         
มิแห้งเหือดประเพณีติดนีสัย
นี่คือประเพณีเก่าเราคนไทย         
ถ้าคงไว้ได้ถ้วนล้วนเจริญ

   ๑๓๓  เมื่อหญิงชายหมายปองจะครองคู่      
แค่ได้ดูรู้ใจไปผิวเผิน
เพียงพบกันน้อยนิดกิจบังเอิญ      
เพียงเผชิญหน้าหน่อยร้อยดวงใจ

   ๑๓๔  เพียงได้พบในงานเทศกาลนี้         
งานประจำปีหรืองานขึ้นบ้านใหม่
งานบวชแต่งศพบ้างเพียงอย่างใด      
สัมผัสได้เพียงกายก็หมายปอง

   ๑๓๕ จึงบอกกล่าวพ่อแม่คนแก่เฒ่า         
ไปเยือนเหย้าเพื่อขอร่วมหอห้อง
เรื่องของใจคอยปรับคอยรับรอง      
เมื่อเกี่ยวดองครองรักภักดิ์ร่วมใจ

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
23 มกราคม 2557
 :AddEmoticons00935:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 24, มกราคม, 2557, 11:24:51 PM
 :AddEmoticons00925:

คลุมถุงชนหนทางลัด

   ๑๓๖  เรื่องคู่ผัวตัวเมียมิหลีกพ้น         
คลุมถุงชนมากมีที่มอบให้
คู่บ่าวสาวมิเคยเห็นมิเป็นไร         
หากผู้ใหญ่สองฝ่ายให้รักกัน

   ๑๓๗  เมื่อพ่อแม่พอใจสะใภ้เขย         
เลยลงเอยสองฝ่ายได้หมายหมั้น
ดูวันเดือนร่วมหอเฝ้ารอวัน         
นี่คือขั้นสาวหนุ่มคลุมถุงชน

   ๑๓๘  ถึงแม้ว่าคลุมถุงชนหนทางลัด
การรวบรัดเรื่องรักน่าสับสน
กลับตรงข้ามที่คิดผิดชอบกล
ด้วยเหตุผลกลใดใคร่ชี้แจง

    ๑๓๙ ด้วยผู้ใหญ่หูตาดุจฟ้ากว้าง
มองทุกอย่างละเอียดอ่อนที่ซ่อนแฝง
เห็นตื่นลึกกว้างหนากว่าสำแดง
จึงรู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งอัน

    ๑๔๐ เมื่อร่วมอยู่คู่ครองต้องตามติด
คอยช่วยคิดช่วยชี้ที่สร้างสรรค์
สิ่งบกพร่องแก้ไขไล่ตามทัน
ทั้งปลอบขวัญตักเตือนเป็นเพื่อนใจ

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
24 มกราคม 2557

:AddEmoticons00936:




หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 26, มกราคม, 2557, 10:34:17 PM


 :AddEmoticons00916: :a015:

พุทธศาสน์ปราศจากหนี้


    ๑๔๑  เขยสะใภ้ใต้บังคับรับคำสอน
ดั่งว่านอนสอยง่ายหมายแก้ไข
เมื่อศรัทธาแม่พ่อข้อห่วงใย
เชื่อผู้ใหญ่ในสันดานผ่านจิตมา

    ๑๔๒  ที่พลั้งเผลอผิดพลาดขาดยับยั้ง
ที่พลาดพลั้งรู้ตัวว่าชั่วช้า
คิดกลับตัวกลับใจไปทันตา
นี่คุณค่าสอนสั่งครั้งวัยเยาว์

    ๑๔๓  เรื่องการบวชก่อนเบียดก็ข้อใหญ่
ศีลเสริมใส่หนึ่งพรรษาพาหายเขลา
ศีลธรรมสุมใส่ไว้ไม่เบา
วันแล้วเล่าล้างใจให้ใฝ่ดี

    ๑๔๔  เรื่องพอเพียงประการหนึ่งพึงประกอบ
เป็นระบอบพุทธศาสน์ปราศจากหนี้
ความวุ่นวายตามมาหามิมี
เกิดสงบสุขขีที่สังคม

   ๑๔๕  การแข่งขันธุรกิจปิดทุกฉาก
ความจนยากมิตกอับเสริมทับถม
ด้วยยึดอยู่คูเคียงพอเพียงนิยม
จิตถูกบ่มแนบหนุนสรรค์คุณธรรม

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
26 มกราคม 2557

 :040 :AddEmoticons00948:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 14, กุมภาพันธ์, 2557, 03:05:39 PM
 

 :a004:

“แยบ” แบบชาวใต้   

   ๑๔๖ ความอยู่เย็นเป็นสุขมิทุกข์เข็ญ
สิ่งนี้เป็นธรรมาภิบาลเป็นคานค้ำ
ทุกครอบครัวเข้มแข็งแห่งผลกรรม
ด้วยน้อมนำธรรมดาพาชีวี

    ๑๔๗  การหย่าร้างครัวแตกสาแหรกขาด
มันมิอาจเทียบได้สมัยนี้
สมัยก่อนน้อยนิดมิมากมี
เหตุผลชี้ที่กล่าวอย่างเข้าใจ

    ๑๔๘  สมัยนี้ตรงข้ามยามก่อนเก่า
เหตุนี้เล่าร้างหย่าเหลือปราศรัย
ของเก่าดีมิมีเหลือเผื่อเมืองไทย
แล้วไหนใครช่วยพาประชาชน

   ๑๔๙  ขอไขขานการ “แยบ” แบบชาวใต้      
การแยบไซร้คือหาความตามขุดค้น
ถ้าฝ่ายชายยังมีที่กังวล         
หญิงที่ตนหมายมั่นนั้นฉันใด

   ๑๕๐  คอยส่งคนค้นความถามฝ่ายหญิง      
ว่าความจริงเรื่องนี้มีไฉน
ฤๅรังเกียจเดียดฉันท์ขั้นพอใจ         
เพื่อจักได้สู่ขอตามประเพณี

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2557


 :a015:





หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 15, กุมภาพันธ์, 2557, 09:18:59 AM

 :AddEmoticons00918:

"พองามเขางามเรา"

   ๑๕๑  วันสู่ขอพ่อแม่แลผู้ใหญ่         
ชักชวนไปมิมากนักสมศักดิ์ศรี
ญาติฝ่ายหญิงรับรอแต่พอดี         
เข้าพิธีสู่ขอกันต่อไป

   ๑๕๒  ค่าสินสอดทางใต้ใช้ "เงินตก"      
ปกติพองามตามวิสัย
"พองามเขางามเรา" มีเยื่อใย         
คำที่ใช้ดูดีมีค่าคุณ

   ๑๕๓  ประเพณีบวชนาคจากพบเห็น         
จะมิเน้นจัดงานให้พานวุ่น
ถ้ามิฆ่าวัวควายถือได้บุญ         
เป็นต้นทุนบุญส่งตรงเจ้างาน

   ๑๕๔  ทำขวัญนาคมีบ้างในทางใต้         
นิยมใช้มโนราห์ว่าขับขาน
กลอนหนังตะลุงใช้ได้ให้ต้องการ      
ผิดอีสานหรือกลางแตกต่างกัน

   ๑๕๕  เปรียบการบวชสว่างอย่างเทียนส่อง      
เทียบดั่งทองถือว่าค่าสวรรค์
มุ่งสร้างศีลข้อธรรมเป็นสำคัญ      
ถือว่าปั้นความดีที่จิตใจ

 :AddEmoticons00935:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 16, กุมภาพันธ์, 2557, 11:36:04 AM


 :AddEmoticons00918:

การสอนสั่งให้ฝังใจ

   ๑๕๖  บวชเป็นพระข้อธรรมจำใฝ่คว้า      
หนึ่งพรรษาอย่างน้อยร้อยเรียงได้
ศีลกุศลมากมายติดกายไป         
จักนำใช้ในชีวิตติดตามมา  

   ๑๕๗  เอื้อนเอ่ยเรื่องอบรมบ่มนิสัย         
ครอบครัวไทยสมัยผมอุดมค่า
ฝึกนิสัยใจคอต่อบุตรตรา         
ติดกายาแลใจในสันดาน

   ๑๕๘  สร้างคุณธรรมประจำใจในวัยเด็ก      
ฝึกแต่เล็กคู่กิจวัตรบรรทัดฐาน
แต่ตื่นนอนเข้านอนมิหย่อนยาน      
นี่คือการสอนสั่งให้ฝังใจ

   ๑๕๙  แค่หกขวบผมจำทำหลายอย่าง      
หนักมีบ้างพ่อแม่รู้ว่าสู้ไหว
เพิ่มแข็งแกร่งเพียงพอเหมาะตามวัย      
ตอนโตใหญ่ไม่ท้อต่อการงาน

   ๑๖๐  ตื่นตอนเช้ามุ่งเล้าไก่ไม่เหหัน         
ไก่ยังขันสำเนียงเสียงประสาน
เปิดประตูแผ่กว้างกางสองบาน      
ไก่ออกพล่านจากเล้าเฝ้ายืนมอง

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
16 กุมภาพันธื 2557

 :AddEmoticons00942:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 17, กุมภาพันธ์, 2557, 09:31:33 PM

 :AddEmoticons00918:

          "แม่โยด"  

   ๑๖๑  เข้าคอกทุยลุยโคลนโดนดังหมาย      
ฉี่ขี้ควายมิระอากล้าจับต้อง
กลิ่นเจ้าทุยฝังใจยังใฝ่ปอง         
ด้วยเกี่ยวข้องผูกพันกันนานมา

   ๑๖๒  ดังเพื่อนเกิดเพื่อนแก่แลเจ็บตาย      
บุญคุณควายเลอเลิศประเสริฐค่า
เป็นแม่แรงแม่งานการทำนา         
ได้ข้าวปลาเลี้ยงเรามาเนานาน

   ๑๖๓  ควายตัวใดใช้งานกอปรการกิจ         
ห้ามคอยคิดฆ่าเข่นเป็นอาหาร
ทะนุถนอมเลี้ยงไว้จนวายปราณ      
ยังมีการฝั่งร่างอย่างพิธี

   ๑๖๔  ควายแก่สุดทางใต้เรียกหลายอย่าง      
"แม่คอก" บ้าง "แม่โยด" บ้างเรียกอย่างนี้
หากตายไปเก็บเขาเขาว่าดี         
นำแขวนที่ยุ้งข้าวเป็นราวไป   
   
   ๑๖๕  ทำอย่างนี้คงระลึกนึกบุญคุณ
ที่เกื้อหนุนเรามาทำนาให้
ก็อย่างน้อยเตือนจิตสะกิดใจ         
เก็บเอาไว้ให้ดูผู้มีพระคุณ

 :AddEmoticons0094:      


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 19, กุมภาพันธ์, 2557, 05:54:26 PM
 :AddEmoticons00918:


เข้าสวนครัวเพิ่มผัก


๑๖๖  ตอนสายสายบางทีอยู่ที่บ้าน
เตรียมอาหารแม่หมูและหมูขุน
หาหยวกบอนเป็นผักเก็บกักตุน      
เผื่อเป็นทุนมื้อต่อไปได้สบาย   
      
   ๑๖๗  จับต้นบอนมาฝานจัดการต้ม
รำผสมต้มพร้อมรสหอมหลาย
ใส่ปลายสารลงไปได้มากมาย      
เป็นอาหารมื้อบ่ายสบายใจ

   ๑๖๘  ตอนมื้อเช้ามีหยวกบวกเศษอาหาร      
หยวกต้องฝานแล้วตำรำเสริมใส่
น้ำล้างจานเจือเพิ่มเติมลงไป      
เด็กเล็กใหญ่ทำได้แม่ให้งาน

   ๑๖๙  เวลาว่างบางทีพี่น้องฉัน         
เป็นบางวันไปนาหาอาหาร
จับปลากุ้งทุ่งนามารับทาน         
หามินานพอได้ไว้ต้มแกง

   ๑๗๐  ขากลับบ้านงานมีนี้ไม่หนัก         
เก็บหาผักกินได้มิหน่ายแหนง
เข้าสวนครัวเพิ่มผักพวกฟักแฟง      
มาปรุงแต่งได้ทานอาหารเย็น

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

 :AddEmoticons00936:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 20, กุมภาพันธ์, 2557, 08:59:58 PM
 :AddEmoticons00918:

ความลำบากตรากตรำลึกล้ำเลิศ

   ๑๗๑  เมื่อพ่อแม่มิอยู่บ้านมีงานยุ่ง         
คอยหาหุงปรุงไว้ไม่ยากเข็ญ
ตอนหกขวบแกงต้มผมทำเป็น      
ด้วยได้เห็นแม่พี่คอยชี้นำ

   ๑๗๒ พูดถึงเรื่องทำครัวตัวสอนจิต
ให้รู้คิดวิเคราะห์เหมาะเลิศล้ำ
เพิ่มอดทนพยายามตามกิจกรรม
เสริมคุณธรรมประจำใจได้แน่นอน

   ๑๗๓  ความลำบากตรากตรำลึกล้ำเลิศ
เป็นบ่อเกิดคุณธรรมเหนือคำสอน
ฝึกจิตใจสูงส่งตรงขั้นตอน
เปรียบอาภรณ์มีค่าน่านิยม

   ๑๗๔ ปรุงอาหารสมัยนั้นขั้นตอนยาก
ความลำบากสอนสิ่งดีมากมีถม
ยามก่อไฟกับฟืนฝืนอารมณ์
รบกับลมดับไฟไม่ได้ความ

   ๑๗๕  ต้องอดกลั้นอดทนจนไฟติด
รวมพลังจิตเพียรทำซ้ำสองสาม
คอยสุมไฟพัดเป่าเข้าชั่วยาม
ข้าวเม็ดงามใกล้สุกรุกไฟฟืน

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

 :AddEmoticons00916:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 22, กุมภาพันธ์, 2557, 07:26:39 AM

 :AddEmoticons00918:

สมัยนี้สูญหายเสียดายจริง

   ๑๗๖   คอยเช็ดน้ำดงหม้อรอข้าวสุก
โยงข้าวรุกหอมหวนน่าชวนชื่น
สิ่งเรียนรู้แสนดีที่ยั่งยืน
คอยหยิบยื่นให้ใจในกิจกรรม

   ๑๗๗  งานช่วยเหลือพ่อแม่มิแชเชือน      
มิเคยเตือนหรือบอกคอยตอกย้ำ
นิสัยรักการงานการประจำ         
ลูกลูกทำสัมฤทธิ์ด้วยจิตใจ

   ๑๗๘  ของดีดีมิควรพลาดขาดกล่าวถึง      
ที่เราพึงระลึกฝึกนิสัย
ล้วนของดีมีคุณบุญเด็กไทย         
เมื่อสมัยก่อนเก่าเขาฝึกดี

   ๑๗๙  คงเป็นการจงใจในการสอน         
แต่เก่าก่อนสอนเน้นเห็นหน้าที่
รับผิดชอบสำคัญนั้นพึงมี         
สมัยนี้สูญหายเสียดายจริง

   ๑๘๐  ฝึกให้ตื่นแต่เช้าแม้หนาวสั่น         
คุณพ่อนั้นก่อไฟไอร้อนผิง
ลูกนั่งล้อมกองไฟไม่ประวิง         
มินั่งนิ่งพ่อแม่พี่มีนิทาน

 :AddEmoticons00916:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 25, กุมภาพันธ์, 2557, 04:48:20 PM

 :AddEmoticons00918:

เจ็บมากนิดจากไม้เรียวเคี่ยวให้ดี

 :AddEmoticons00916: :AddEmoticons00935:

   ๑๘๑  นิทานดีมีข้อคิดติดตอกย้ำ         
ผมยังจำแม้ว่าเวลาผ่าน
ยังฝังจิตฝังใจในดวงมาน         
สอนเรานานจำมั่นตราบวันตาย

   ๑๘๒  พ่อสอนเสร็จคอยเน้นเฟ้นตอกย้ำ      
แจงข้อธรรมฝังใจได้มากหลาย
ชี้คุณธรรมวินัยติดใจกาย         
จุดมุ่งหมายนำใช้ในชีวิต
   ๑๘๓  ตื่นจากนอนเก็บกวาดสะอาดเรียบร้อย         
แม่ยื่นถ้อยย้ำตอกฟอกใจจิต
สอนเท่าไรไม่ระวังยังพลั้งผิด         
เจ็บมากนิดจากไม้เรียวเคี่ยวให้ดี

   ๑๘๔  ถูกเจ็บเจ็บไม่กี่ทีนี้เข็ดหลาบ      
เตียนราบคาบสิ่งชั่วจะกลัวหนี
เรื่องไม้เรียวใช้เป็นเช่นประเพณี      
การเฆี่ยนตีสอนสั่งยังใช้กัน

   ๑๘๕   เสื้อผ้าใครใครซักจักสะอาด         
หากว่าขาดเย็บปะจะไม่หวั่น
งานเกี่ยวของทุกชนิดกิจประจำวัน      
ทุกชิ้นอันทำได้ง่ายดายนัก

 :new10:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 26, กุมภาพันธ์, 2557, 04:56:48 PM
 :AddEmoticons00918:

เตารีดผ้าสมัยนั้นมันเตาถ่าน


   ๑๘๖  เตารีดผ้าสมัยนั้นมันเตาถ่าน         
ยามใช้งานยุ่งยากลำบากหนัก
ต้องรอถ่านติดไฟไปสักพัก         
ทนย้ายยักถ่านไฟเข้าในเตา

   ๑๘๗  คุมความร้อนกันเรื่อยเหนื่อยใจยิ่ง      
หากทอดทิ้งเสื้อผ้าจะถูกเผา
ใช้ใบตองรองรีดร้อนบรรเทา         
หรือไม่เล่าพรมน้ำความร้อนซา

   ๑๘๘  สมัยนั้นเนื้อผ้าที่มาใช้         
ล้วนผ้าด้ายมากมีที่เนื้อหนา
รีดให้เรียบยากยิ่งจริงจริงนา         
คอยค้นหาวิธีการผ่านอุปสรรค

   ๑๘๙  วิธีหนึ่งพึงใช้ได้ดังฝัน         
ลงแป้งมันอีกครั้งหลังจากซัก
นำแป้งมันผสมน้ำร้อนมิมากนัก         
ครึ่งจวักผสมน้ำสามสี่ลิตร

   ๑๙๐  บิดเสื้อผ้าน้ำไหลไปเกือบแห้ง      
ชุบน้ำแป้งซึมซับจับผ้าติด
โซมผ้าทั่วมิช้านำมาบิด         
แห้งสักนิดตากลมใต้ร่มเงา


 :AddEmoticons00935:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 01, มีนาคม, 2557, 11:09:40 AM
 :AddEmoticons00935:

ทุกหน้าที่มุ่งเน้นมิเว้นวัน

   ๑๙๑  ผ้าลงแป้งรีดเรียบระเบียบสวย      
ดูแววด้วยเด่นตาสง่าเฉลา
ภูมิปัญญาชาวบ้านมานานเนา         
เดี๋ยวนี้เราลืมเลือนเหมือนไม่มี

   ๑๙๒  เสริมเสื้อผ้ามากล่าวสาวความก่อน      
ช่างจี้สอนจดจำแนะนำชี้
เร่งรู้หลักจัดเห็นเป็นวิธี         
สิ่งเหล่านี้สร้างนิสัยเสริมสร้างงาน

   ๑๙๓  รู้กระทั่งรับผิดชอบกอบด้วยกิจ      
ใจอุทิศจิตขยันประสมประสาน
แม้น้อยนิดฝึกย้ำนำสันดาน         
เหล่าลูกหลานเข้มแข็งแห่งความดี

   ๑๙๔  สมัยก่อนป้อนคุณธรรมสุดล้ำเลิศ      
มิละเมิดแต่น้อยคอยแนะชี้
คอยสอดแทรกทุกการงานที่มี      
ทุกหน้าที่มุ่งเน้นมิเว้นวัน

   ๑๙๕  สมัยนั้นอาหารทานพร้อมหน้า      
คอยรอท่าทุกคนจนพร้อมนั่น
มีมื้อเช้ามื้อเย็นเป็นสำคัญ         
ไม่พร้อมกันมีเที่ยงเพียงมื้อเดียว

 :AddEmoticons00918:


หัวข้อ: Re: รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด..2
เริ่มหัวข้อโดย: นายประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 02, มีนาคม, 2557, 07:36:29 AM
 :AddEmoticons00918:

ใช้สายตาสั่งสอนสิ่งสำคัญ

   ๑๙๖  นั่งล้อมวงร่วมทานเบิกบานไซร้      
มีอะไรคุยถามความข้องเกี่ยว
สั่งงานการตอนนี้ดีจริงเจียว         
เรื่องใดเคี่ยวใดเข็ญเป็นว่ากัน

   ๑๙๗  เรื่องการสอนมีมากหลากการใช้      
มันมิได้แค่ถ้อยคอยเสกสรร
ใช้สายตาสั่งสอนสิ่งสำคัญ         
ถือเป็นขั้นสูงสุดสะดุจใจ

   ๑๙๘  คือสั่งสอนให้จิตคิดวิเคราะห์      
สิ่งใดเหมาะมิควรด่วนแก้ไข
รู้จักรับปรับเปลี่ยนเรียนฉับไว         
วินิจฉัยด้วยตนหาหนทาง

   ๑๙๙  ผมเคี้ยวข้าวไม่ดีมีเสียงบ้าง         
พ่อก็วางตาจ้องมองตาขวาง
หยุดรับทานจานช้อนจะตั้งวาง      
ลูกรอบข้างต่างตรวจสำรวจตน

   ๒๐๐ ตามองจองที่ผมคล้ายข่มขู่         
ผมตรวจรู้ว่าผิดใดไม่สับสน
นั่งทบทวนหวนคิดจิตเวียนวน      
ก็มิพ้นค้นพบเมื่อทบทวน

http://www.naturedharma.com/data-1758.html

 :AddEmoticons00918: