บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: นักเลงกลอน ที่ 21, พฤษภาคม, 2561, 11:03:16 PM



หัวข้อ: ความไม่สมจริงในละครดัง
เริ่มหัวข้อโดย: นักเลงกลอน ที่ 21, พฤษภาคม, 2561, 11:03:16 PM


ความไม่สมจริงในละครดัง


ไม่ทราบว่าในเว็บนี้มีใครที่ได้ติดตามดูละครดังทางช่องสาม "บุพเพสันนิฐาน"กันไหม

ผมไม่ได้ติดตามดูสด แต่ว่า ดูย้อนหลังจากยูทูป  ดูสามวันจบเลย  :041:

ก็อย่างที่ทราบกันดูว่า "ละครบุพเพสันนิษฐาน" นั้น เป็นละครแต่งย้อนยุค

ตัวเอกหรือนางเอก เป็นคนในยุคปัจจุบันที่ย้อนชาติไปเกิดในอดีต

เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลก ทีในละครเรื่องนี้ นางเอก หรือเกศสุรางค์ จะพูดจา

โดยนำเอาคำพูดของคนในบุคสมัยนี้ ไปใช้พูดในสมัยอดีต  ทำให้ตัวละครซึ่งเป็นคน

ในยุคเมื่อสามร้อยปีที่แล้วไม่รู้เรื่อง

แต่สิ่งที่แปลกก็คือ ตัวละครหลายในละครเรื่องนี้ ซึ่งตามบทแล้ว เป็นคนในยุคอดีต

ย้อนหลังไปสามร้อยปีกว่า  ไม่น่าจะีู้จักภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่กลับรู้จัก

และใช้ภาษาในปัจจุบันบางคำพูด  เช่น

คำว่า"ประชาชน"

ตัวอย่าง ตอนที่พระเภทราชาไปพูดกับสมเด็จพระนารายณ์ ว่า ขุนหลวงยอมให้ไอ้ฝรั่งไพร่(เจ้าพระยาวิชเยนทร์)

มากดขี่ข่มเหงประชาชน  ซึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ในยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์

มีการใช้คำว่า ประชาชนแล้วหรือ ??  หรือว่า เป็นความพลั้งเผลอของผู้ประพันธ์ หรือคนเขียนบทเอง ?


คำว่า"ธนบุรี"

ผมเองก็ไม่ค่อยเก่งประวัติ จึงไม่ทราบว่า ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น

ไทยเรามีคำว่า "ธนบุรี" แล้วหรือ  ผมนึกว่า ธนบุรีนี้ เกิดในยุคสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน

ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลาย

เห็นได้จากที่พระเพทราชา เข้าไปต่อว่าสมเด็จพระนาราณ์ว่า ปล่อยให้ ไอ้ฝรั่งไพร่

มันคุมตัวประชาชนและสึกพระสงฆ์ เพื่อไปสร้างป้อมที่บางกอกและฝั่งธน

ในยุคสมัยสมเด็จพระนาราณ์ มีฝั่งธนได้อย่างไร


"คำว่า ชมจันทร์"

ในละคร จะมีฉากที่ พระเอกนางเอก(พี่หมื่น กับออเจ้า)  บอกว่า ชมจันทร์ หรือพระจันทร์

ในยุคสมัยที่ผมเด็กๆนั้น ตามชนบท ต่างจังหวัด เราไม่เรียกพระจันทร์ ว่าพระจันทร์ดวงจันทร์

แต่เรามักเรียกกัยว่า"เดือน"  เช่น เดือนขึ้น เดือนหงาย  แสงเดือน

แม้แต่เพลงลูกทุ่งในยุคสัก 50-60  ปีที่แล้ว  เนื้อเพลงส่วนใหญ่มาก

เมื่อพูดถึงดวงจันทร์ มักใช้คำว่าเดือน  อาทิเช่น

เพลง  เดือนต่ำดาวตก  ร้องไห้กับเดือน  ฝากใจไว้ที่เดือน  คนชื่อเดือน  หลบเดือน

เดือนลับฟ้า 

หรือเนื้อเพลงเช่น" คืนไหน คืนเดือนมืด  พี่จะสวมเสื้อยืดไปยืนคอยน้องนาง"

กวีหรือนักแต่งเพลงในยุคเก่า ใช้คำว่า เดือนหมด

แต่กวีในยุคใหม่  เวลาพูดถึง ดวงเดือนในบทกวี จะใช้คำว่าจันทร์ หรือพระจันทร์หมดเลย

ไม่มีคำว่าเดือน

แค่ในยุครัตนโกสินทร์เรานี้ ย้อนหลังไปเพียง 50-60  ปีเท่านั้นเรายังใช้คำว่า เดือน

แต่เหตุไฉน  คนในยุคสมัยอยุธยาเมื่อสามร้อยปีกว่า  กลับไม่่รู้จักดวงเดือน

กลับรู้จักแต่พระจันทร์

ผมว่าคนไทยทุกวันนี้ เริ่มทิ้งภาษาดั้งเดิม ไปมาก

เปลี่ยนไปนับถือภาษาของชาติอื่น  ด้วยถือว่า เป็นของสูง  เป็นคำสุภาพ

มองภาษาพ่อภาษาแม่ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่า เป็นคำพูดสามัญ

ไม่ใช่ภาษาชั้นสุง หรือไม่ค่อยสุภาพ

ซึ่งค่านิยมในทำนองนี้  ก็เป็นการค่อยๆทำลายภาษาไทยไปทีละน้อยๆ

ก็ไม่ทราบว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเป็นความพลั้งเผลอของผู้ประพันธ์  หรือคนเขียนบทกันแน่

โดยเฉพาะ ตอนที่บอกว่า ขุนหลวง ปล่อยให้ต่างชาติมากดขี่ข่มเหงประชาชน

เข้าใจว่า คงจะใส่อารมณ์ทางการเมืองเข้าไปมากไปหรือเปล่า(อินจัด)

ก็เลยลืมตัวไปว่า ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีคำว่าประชาชน

 :045:




หัวข้อ: Re: ความไม่สมจริงในละครดัง
เริ่มหัวข้อโดย: Black Sword ที่ 22, พฤษภาคม, 2561, 10:41:52 PM

          ผมได้ดูมั่งไม่ได้ดูมั่ง ไม่ได้ดูตลอด แต่ก็พอทราบกระแสอยู่ แต่ผมว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่น่าเกี่ยวกับค่านิยมหรือนำมาโยงถึงเรื่องทำลายภาษาไปทีละน้อยน่ะครับ มันคนละอย่างกัน ต้องแยกแยะให้ออก

          โดยส่วนตัวผมเอง ก็ไม่ค่อยเก่งเรืองประวัติศาสดร์หรืออักษรศาสตร์นัก  เอาเป็นว่า เรื่องค่านิยมของภาษาผมไม่ขอพูดถึงแล้วกัน  ขี้เกียจพิมพ์น่ะครับ จึงขอพูดแต่เรื่องคำศัพท์สามคำที่กล่าวมาก็แล้วกัน คือคำว่า "ประชาชน, ธนบุรี  และจันทร์" ทั้งสามคำนี้ในสมัยพระนารายณ์มีใช้แล้วครับ

โดยคำว่า ประชาชน นั้น สมัยพระนารายณ์  ปรากฏอยู่ในอักษรศัพท์ของหนังสือจินดามณีที่พระนารายณ์ทรงให้พระโหราธิบดีแต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบเรียนในสมัยนั้น ดังที่เห็นในภาพครับ

(http://www.homelittlegirl.com/uppic/i/P.png) (http://www.homelittlegirl.com/uppic/index.php?mod=show&id=1304)(http://www.homelittlegirl.com/uppic/i/F1.png) (http://www.homelittlegirl.com/uppic/index.php?mod=show&id=1305)

          ส่วน   ธนบุรี  นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในยุคพระเจ้าตากสินครับ แต่ว่าถูกตั้งเป็นราชธานีในยุคพระเจ้าตากสินต่างหาก ธนบุรีนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสมัยพระไชยราชาธิราช ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์สุพรรณภูมิ ก่อนยุคสมัยของพระนารายณ์ซึ่งคือยุคราชวงศ์ปราสาททอง โดยพระเจ้าไชยราชาธิราชทรงให้ขุดคลองลัดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเกิดฝั่งธน และฝั่งพระนครขึ้น จนมาถึงยุคพระนารายณ์ มีความสำคัญเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่ง เป็นเมืองหน้าด่านใกล้ปากอ่าวเพื่อเก็บภาษีและดูแลการผ่านเข้าออกของเรือสินค้าต่างชาติที่มาค้าขายในสมัยนั้น (ชาวต่างชาติมักเรียกธนบุรีว่า บางกอก) พระนารายณ์ทรงเห็นความสำคัญจึงให้สร้างป้อมรบไว้ป้องกันข้าศึกที่ธนบุรี หนึ่งนั้นคือป้อมวิไชเยนทร์ ซึ่งคอนสแตนติน ฟอลคอลเป็นผู้ดูแลการสร้าง (ซึ่งต่อมาฟอลคอนถูกพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์(หรือที่ในเวลาต่อมารู้จักกันในนามว่า "พระเจ้าเสือ") ประหารชีวิต และช่วงนี้ก็เป็นการสิ้นยุคราชวงศ์ปราสาททอง เข้าสู่ยุคราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

          จนต่อมาถึงยุคพระเจ้าตาก เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากเห็นว่าเกินฟื้นฟู จึงได้ทำการย้ายไปที่ธนบุรีและตั้งเป็นราชธานีใหม่ขึ้นมา เพราะเห็นว่าทำเลเหมาะสมและมีป้อมรบไว้พร้อมแล้วตั้งแต่ครั้งที่พระนารายณ์ให้ทรงสร้างไว้นั่นเอง

(http://www.homelittlegirl.com/uppic/i/h.png) (http://www.homelittlegirl.com/uppic/index.php?mod=show&id=1306)

          และคำว่า จันทร์ ในสมัยพระนารายณ์ก็มีแล้วเช่นกันครับ ด้วยพระนารายณ์ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ ยังทรงสนทนากับชาวต่างชาติว่าทำไมตอนเกิดจันทรคราส ดวงจันทร์จึงมีสีแดง  อีกทั้งกล้องดูดาวนั้นก็มีขึ้นในสมัยพระนารายณ์ พระนารายณ์เป็นกษัตริย์ไทยองค์แรกที่ใช้กล้องดูดาวดูจันทรุปราคา และให้สร้างหอดูดาวที่กรุงศรีอยุธยาและละโว้ และคำว่า จันทร ก็มีในอักษรศัพท์ของจินดามณีด้วย คำว่าจันทร อังคาร พุธ ที่ปรากฏนี้ไม่ได้หมายถึงวันจันทร์ วันอังคาร แต่หมายถึงจันทร์ที่เป็นดวงดาวบนฟ้า ดวงจันทร์ เพราะทั้งคำว่า พระอาทิตย์ จนถึง มฤตยู นั้นก็เป็นชื่อดาวเช่นกัน  อีกทั้งในวรรณคดียุคก่อนหน้ายุคพระนารายณ์ เช่น ลิลิตพระลอ ยวนพ่าย กำสรวลสมุทร โคลงทวาทศมาศ โคลงหริภุญชัย ก็ล้วนมีคำว่า จันทร์ ใช้แล้วทั้งนั้น

(http://www.homelittlegirl.com/uppic/i/e.png) (http://www.homelittlegirl.com/uppic/index.php?mod=show&id=1307)

          ส่วนเรื่องเนื้อเพลง ผมว่าสมัยหลาย ๆ สิบปีก่อนหากไม่แบ่งลูกทุ่งหรือลูกกรุงเนื้อเพลงก็มีใช้ทั้งคำว่าเดือนและจันทร์มาด้วยกันเป็นปกติ เช่น จันทร์เอ๋ย จูบเย้ยจันทร์ ฝนสั่งฟ้า นางอาย จากเธอที่กวางเจา มนต์รักฤดูร้อน เหล่านี้ล้วนแต่มีใช้คำว่าจันทร์น่ะครับ  หากผิดพลาดประการใดอันเนื่องจากความเลินเล่อผมเอง ก็ขออภัยผู้รู้ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับผม

- Black Sword -
 (หมู มยุรธุชบูรพา)