Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
 61 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต / Re: ...-๐ นานาเครื่องจิ้มไทย จัดสำรับ กาพย์ห่อโคลง ๐-...
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 10:05:50 PM 
เริ่มโดย Black Sword - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword

ขอบคุณรูปภาพต้นแบบจาก Internet

-๐ น้ำพริกหมูสับ ๐-

     ๏   น้ำพริกหมูสับชิม         เพียงแค่ลิ้มคำแรกลอง
หัวใจให้เรียกร้องคำสองสามต้องตามมา
 
๏   น้ำพริกหมูสับลิ้มชิมลอง
คำแรกหลงรสครองจิตคล้อย
หัวใจเรียกร้องจองคำต่อ คำเฮย
คำที่สองสามต้อยติดต้องตามมา ๚ะ๛
- Black Sword -
(หมู มยุรธุชบูรพา)

• กลับสู่สารบัญ นานาเครื่องจิ้มไทย จัดไว้ในกาพย์ห่อโคลง คลิก

 62 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอน ร้อยกรองหลากลีลา / Re: ..ขอบาทเดียว..
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 09:59:06 PM 
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword

ผลัดกันเล่าเรื่องผีนี่โอเค     แสนฮาเฮตุ๊งแช่อย่างแน่นอน
 

 63 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอน ร้อยกรองหลากลีลา / Re: ..ขอบาทเดียว..
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 09:58:20 PM 
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword

มีสายลมเบาเบาเคล้าเกลียวคลื่น    ก่อไฟฟืนล้อมวงคงสุดเท่
 AddEmoticons00949

 64 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอน ร้อยกรองหลากลีลา / Re: ..ขอบาทเดียว..
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 08:56:43 PM 
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย ลิตเติลเกิร์ล


คืนนี้คงฝันหาพากันไป   ฉลองใหญ่รอยยิ้มริมทะเล

 

 65 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ / ღ วิงวอน ღ
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 08:50:01 PM 
เริ่มโดย ลิตเติลเกิร์ล - กระทู้ล่าสุด โดย ลิตเติลเกิร์ล




            ღ วิงวอน ღ

สำนวนกลอนยังกร่อยไม่ค่อยเพราะ
สิ้นเสนาะทำนองวรรคทองหาย
ทั้งเนื้อหาไม่เห็นเด่นประกาย
ยังไม่วายวนเวียนขีดเขียนกลอน

ตามรอยท่านสุนทรภู่สู่ปลายฝัน
มุ่งหมายมั่นศรัทธาตำราสอน
ก้มกราบท่านด้วยจิตขอสิทธิ์วอน
ประสาทพรความเพียรคนเขียนคำ

              
             ลิตเติลเกิร์ล

.  . • ☆ . ° .• °:. *₊ ° . ☆



 66 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม / Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 08:20:13 PM 
เริ่มโดย แสงประภัสสร - กระทู้ล่าสุด โดย แสงประภัสสร

(ต่อหน้า ๑๓/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

ผู้ทำอนันตริยกรรมจะต้องตกนรกลงไปยังขุมนรกที่ลึกที่สุดคือ มหาขุมนรกอเวจี ซึ่งอยู่ชั้นที่ ๘ เป็นขุมนรกขุมใหญ่ที่มีการลงโทษหนักโดยไม่มีผ่อนผันหรือหยุดพักแต่ใดๆเลยแม้แต่วินาทีเดียว สัตว์นรกที่ตกขุมนรกนี้จะได้รับความทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสและเป็นเวลายาวนานที่ไม่อาจจะนับได้เลยหรือเรียกว่า กัลป์
ภัพพสัตว์ =เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น
อภัพพสัตว์ =เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น   
กิเลสสาฯ=กิเลสสาวรณ์  คือ เครื่องกั้นเป็น กิเลส ได้แก่ นิตยมิตฉาทิฏฐิ คือ ความเป็นผุ้มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น มีความเห็นผิดที่มีกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนี้เองที่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ จึงเป็นอภัพพสัตว์ เพราะด้วยอำนาจกิเลส คือ ความเห็นผิด
วิปาฯ=วิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือ วิบาก หมายถึง ปฏิสนธิจิต คือ การเกิด บุคคลที่เกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้น
อนุปาฯ=อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การบรรลุนิพพาน ของพระอรหันต์ ซึ่งละ อาสวะกิเลสสิ้นพร้อมขันธ์ห้า แตกทำลาย สิ้นชีพลง
มรรค ๔= ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด ได้แก่
(๑)โสดาปัตติมรรค -มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส
(๒)สกทาคามิมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ, โทสะ, โมหะ, ให้เบาบางลง
(๓)อนาคามิมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕
(๔)อรหัตตมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐
ผล ๔=คือ ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้น ๆ ได้แก่
(๑)โสดาปัตติผล -ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย
(๒)สกทาคามิผล -ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย
(๓)อนาคามิผล -ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย
(๔)อรหัตตผล -ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
สังโยชน์ ๑๐ =คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ได้แก่
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ
(๑)สักกายทิฏฐิ -ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน
(๒)วิจิกิจฉา -ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ
(๓)สีลัพพตปรามาส -ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร
(๔)กามราคะ -ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ
(๕)ปฏิฆะ -ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง
(๖)รูปราคะ -ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
(๗)อรูปราคะ -ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ
(๘)มานะ -ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
(๙)อุทธัจจะ -ความฟุ้งซ่าน
(๑๐)อวิชชา -ความไม่รู้จริง, ความหลง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ ข้อ ๑,๒,๓; พระสกิทาคามี ละ สังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ และ ทำสังโยชน์ข้อ ๔,๕ ให้เบาบาง; พระอนาคามี ละ สังโยชน์ได้ ๕ ข้อ คือ ๑,๒,๓,๔,๕; พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ ๑๐ ข้อ ตั้งแต่ ข้อ ๑-๑๐

 67 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอน ร้อยกรองหลากลีลา / Re: ..ขอบาทเดียว..
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 09:23:53 AM 
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย ข้าวหอม

หล่อเกินคาดเลิศหรูดูจิ้มลิ้ม  ยิ่งยามยิ้มชวนฝันอกหวั่นไหว 

 68 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม / Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 06:46:54 AM 
เริ่มโดย แสงประภัสสร - กระทู้ล่าสุด โดย แสงประภัสสร

(ต่อหน้า ๑๒/๑๙) ๑.อภิธรรม ๗ คัมภีร์

กุปฺปธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้
อกุปฺปธมฺโม ~บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้
ปริหานธมฺโม ~ บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล
อปริหานธมฺโม ~ บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล
เจตนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
อนุรกฺขนาภพฺโพ ~ บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
ปุถุชฺชโน ~ บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น
โคตฺรภู ~ บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน
ภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลัวภัย ๔ คือ ทุคคติภัย(กลัวภัยจากวิบากของการทำชั่วทั้ง กาย วาจา ใจ), วัฏฏภัย (ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก) กิเลสภัย(ภัย คือกิเลส), อุปวาทภัย(ภัยคือความติเตียน) จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย
อภยูปรโต ~ บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด
ภพฺพาคมโน ~ บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้
อภพฺพาคมโน ~ บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล
นิยโต ~ บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒ จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน
อนิยโต ~ บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน
ปฏิปนฺนโก ~บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
ผเลฏฺฐิโต ~บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
อรหา ~ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ
อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ~ บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔ มี รูปราคะเป็นต้น
พระเสขบุคคล= คือ บุคคลยังต้องศึกษาอีก เพื่อดับกิเลส
พระเสขะ ๗=คือ บุคคล ๗ ประเภท ได้แก่ โสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค, สกทาคมิผล, อนาคามิมรรค, อนาคามิผล, อรหันตมรรค
อนันตริยกรรม =คือ กรรมหนักที่สุด ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี ๕ อย่าง คือ (๑)มาตุฆาต - ฆ่ามารดา (๒)ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา (๓)อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์ (๔)โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป (เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล) (๕)สังฆเภท - ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์

 69 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต / Re: ...-๐ นานาเครื่องจิ้มไทย จัดสำรับ กาพย์ห่อโคลง ๐-...
 เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 10:32:45 PM 
เริ่มโดย Black Sword - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword

ขอบคุณรูปภาพต้นแบบจาก Internet

-๐ น้ำพริกน้ำหน่อ ๐-

     ๏   น้ำพริกน้ำหน่อนี้         มีน้ำใจไหลหลั่งปาน
เลี้ยงต้นรักโลมมานแตกก้านกิ่งยิ่งสุขสม
 
๏   น้ำพริกน้ำหน่อนี้มีรส
เหมือนดุจน้ำใจหยดหยาดย้อม
โลมต้นรักงามชดช้อยฉ่ำ
ก้านกิ่งเติบโตพร้อมสุขล้นกมลสอง ๚ะ๛
- Black Sword -
(หมู มยุรธุชบูรพา)

• กลับสู่สารบัญ นานาเครื่องจิ้มไทย จัดไว้ในกาพย์ห่อโคลง คลิก

 70 
 คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอน ร้อยกรองหลากลีลา / Re: ..ขอบาทเดียว..
 เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 10:27:48 PM 
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword

ฟังคำชมยิ่งยิ้มยิ่งยิงฟัน    ส่งสายตาชวนฝันพร้อมกันไป
 AddEmoticons00942

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 15 คำสั่ง
กำลังโหลด...