ฟังคำชมยิ่งยิ้มยิ่งยิงฟัน ส่งสายตาชวนฝันพร้อมกันไป

71
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 10:27:48 PM
|
||
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword | ||
ฟังคำชมยิ่งยิ้มยิ่งยิงฟัน ส่งสายตาชวนฝันพร้อมกันไป ![]() |
72
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 08:22:58 PM
|
||
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย ลิตเติลเกิร์ล | ||
อื้อฮื้อ..หล่อจังทั้งมาดแมน อะฮ้า...นี่แฟนของใครนั่น ![]() |
73
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 08:18:11 PM
|
||
เริ่มโดย กรกช - กระทู้ล่าสุด โดย ลิตเติลเกิร์ล | ||
ปู่กดขี้โกง ยังไม่รู้คำตอบมาถามเค้า แล้วแอบมาดูคำตอบ ![]() อิตอนแรกไม่มั่นใจ เพราะเพี้ยนกันนิสเดียว แต่พอพี่หมูเปรียบเทียบเห็นชัดเจนคาตา คุณกุ้งนาก็เห็นพ้องต้องกันอีกสองลูกตา เลยมั่นใจว่าถูกต้อง โดนชมแบบนี้ เขิลเหมือนกันเน้อเจ้า ![]() |
74
คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม / Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 07:33:32 PM
|
||
เริ่มโดย แสงประภัสสร - กระทู้ล่าสุด โดย แสงประภัสสร | ||
(ต่อหน้า ๑๑/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อรหา ~บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ~บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔ มี รูปราคะเป็นต้น ขนฺธติปญฺญตฺ=ขันธบัญญัติ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์มี ๕ คือ (๑)รูปขันธ์ (๒)เวทนาขันธ์ (๓)สัญญาขันธ์ (๔)สังขารขันธ์ (๕)วิญญาณขันธ์ อายตนปญฺญตฺติ=คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะมี ๑๒ คือ (๑)จักขายตนะ -อายตนะ คือ ตา (๒)รูปายตนะ - อายตนะ คือ รูป (๓)โสตายตนะ - อายตนะ คือ หู (๔)สัททายตนะ -อายตนะ คือ เสียง (๕)ฆานายตนะ -อายตนะ คือ จมูก (๖)คันธายตนะ -อายตนะ คือ กลิ่น (๗)ชิวหายตนะ -อายตนะ คือ ลิ้น (๘)รสายตนะ-อายตนะ คือ รส (๙)กายายตนะ -อายตนะ คือ กาย (๑๐)โผฏฐัพพายตนะ - อายตนะ คือ สิ่งที่สัมผัส(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) (๑๑)มนายตนะ -อายตนะ คือ ใจ (๑๒)ธัมมายตนะ - อายตนะ คือ ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจคิด) ธาตุปญฺญตฺติ=ธาตุบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุ มี ๑๘ คือ (๑)จักขุธาตุ (๒)รูปธาตุ (๓)จักขุวิญญาณธาตุ (๔)โสตธาตุ (๕)สัททธาตุ (๖)โสตวิญญาณธาตุ (๗)ฆานธาตุ (๘)คันธธาตุ (๙)ฆานวิญญาณธาตุ (๑๐)ชิวหาธาตุ (๑๑)รสธาตุ (๑๒)ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑๓)กายธาตุ (๑๔)โผฏฐัพพธาตุ (๑๕)กายวิญญาณธาตุ (๑๖)มโนธาตุ (๑๗)ธัมมธาตุ (๑๘)มโนวิญญาณธาตุ สจฺจปญฺญตฺติ=สัจจบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะ มี ๔ คือ (๑)ทุกขสัจจะ (๒)สมุทยสัจจะ (๓)นิโรธสัจจะ (๔)มัคคสัจจะ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ=อินทริยบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำกืจของตนมี ๒๒ คือ (๑)จักขุนทรีย์ -อินทรีย์ คือ จักขุปสาท (๒)โสตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โสตปสาท (๓)ฆานินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ฆานปสาท (๔)ชิวหินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ชิวหาปสา (๕)กายินทรีย์ -อินทรีย์ คือ กายปสาท (๖)มนินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ตาม (๗)อิตถินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ (๘)ปุริสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ (๙)ชีวิตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ชีวิต (๑๐)สุขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สุขเวทนา (๑๑)ทุกขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา (๑๒)โสมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา (๑๓)โทมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา (๑๔)อุเปกขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา (๑๕)สัทธินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ศรัทธา (๑๖)วิริยินทรีย์ -อินทรีย์ คือ วิริยะ (๑๗)สตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สติ (๑๘)สมาธินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา (๑๙)ปัญญินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ปัญญา (๒๐)อนัญญาตัญญัตญัสสามีตินทรีย์ -อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรม ที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ (๒๑)อัญญินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (๒๒)อัญญาตาวินทรีย์ -อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ ปุคฺคลปญฺญตฺติ=บุคคลบัญญัติ คือคัมภีร์ที่ ๔ ใน อภิธรรม ๗ คัมภีร์ มีคำสวดเป็นภาษาบาลี ดังนี้ ฉ ปญฺญตฺติโย ~บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖ ขนฺธติปญฺญตฺ ~บัญญัติว่า ขันธ์ อายตนปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า อายตนะ ธาตุปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า ธาตุ สจฺจปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า สัจจะ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า อินทรีย์ ปุคฺคลปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า บุคคล กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ ~บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร สมยวิมุตฺโต~บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘ อสมยวิมุตฺโต ~ บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้ |
75
คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม / Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 10:19:53 AM
|
||
เริ่มโดย แสงประภัสสร - กระทู้ล่าสุด โดย แสงประภัสสร | ||
(ต่อหน้า ๑๐/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ปุคฺคลปญฺญตฺติ= เป็นคัมภีร์ที่ ๔ สวดเป็นภาษาบาลี ได้แก่ ฉ ปญฺญตฺติโย ~บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖ ขนฺธติปญฺญตฺ ~บัญญัติว่า ขันธ์ อายตนปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า อายตนะ ธาตุปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า ธาตุ สจฺจปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า สัจจะ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า อินทรีย์ ปุคฺคลปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า บุคคล กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ ~บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร สมยวิมุตฺโต ~บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘ อสมยวิมุตฺโต ~บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้ กุปฺปธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ อกุปฺปธมฺโม ~บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้ ปริหานธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล อปริหานธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล เจตนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น อนุรกฺขนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น ปุถุชฺชโน ~บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น โคตฺรภู ~บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน ภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลัวภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย อภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็ดขาด ภพฺพาคมโน ~บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้ อภพฺพาคมโน ~บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล นิยโต ~บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒ จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน อนิยโต ~บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน ปฏิปนฺนโก ~บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ผเลฏฺฐิโต ~บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น |
76
เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 08:11:27 AM
|
||
เริ่มโดย คนเรียนไพร - กระทู้ล่าสุด โดย คนเรียนไพร | ||
![]() ![]() ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดย คนเรียนไพร วนาทรงธรรม กว่าจะได้ เกิดมา เป็นมนุษย์ ประเสริฐสุด เพราะรู้ธรรม นำสดใส รู้รักษา ความดี อย่างกว้างไกล ทั่วถิ่นไทย สุขสงบ พบอนันต์ ทั้งชีวิต รักสันติ จิตการุณ พร้อมเกื้อหนุน ป่าดง พงไพรสัณฑ์ ให้อยู่ยง คงมั่น ทุกคืนวัน สุขมหันต์ สมดุล ทุนชีวา จากแมกไม้ สายน้ำ เลิศล้ำยิ่ง สรรพสิ่ง สุขสม ปรารถนา หมู่พันธุ์ไม้ คุ้มครอง มฤคา สกุณา เริงร้อง ก้องพงไพร วนธรรม ชี้นำ ให้เรืองรุ่ง พร้อมผดุง จำเริญ เพลินหลงใหล พัฒนา ชีวิต ทุกทิศไทย ร่วมสมัย ไม่หยุดยั้ง อย่างยั่งยืน คนเรียนไพร ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๘ |
77
คำประพันธ์ แยกตามประเภท / โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต / Re: ...-๐ นานาเครื่องจิ้มไทย จัดสำรับ กาพย์ห่อโคลง ๐-...
เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 10:28:52 PM
|
||
เริ่มโดย Black Sword - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword | ||
78
เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 10:23:54 PM
|
||
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย Black Sword | ||
มีแต่รอยยิ้มย่องผ่านกล้องมา เหมือนดารามากมายยังไงยังงั้น ![]() ![]() |
79
เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 07:27:07 PM
|
||
เริ่มโดย บ้านกลอนน้อย - กระทู้ล่าสุด โดย ต้นฝ้าย | ||
เปิดกล้องวงจรปิดติดตามเหตุ นั่งสังเกตลุ้นรอผู้ต้องหา ![]() |
80
คำประพันธ์ แยกตามประเภท / กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม / Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 06:49:01 PM
|
||
เริ่มโดย แสงประภัสสร - กระทู้ล่าสุด โดย แสงประภัสสร | ||
(ต่อหน้า ๙/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ปยฺจกฺขนฺธา ~ขันธ์ คือกองทั้ง ๕ รูปกฺขนฺโธ ~ รูปขันธ์ กองรูป ๑ เวทนากฺขนฺโธ ~ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑ สญฺญากฺขนฺโธ ~สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑ สงฺขารกฺขนฺโธ ~สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ~ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑ ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ ~ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ~ รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา ~ เป็นภายในหรือภายนอก โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา ~ หยาบหรือละเอียด หีนํ วา ปณีตํ วา ~ เลวหรือประณีต ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา ~อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา ~ ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ ~ นี้พระตถาคตตรัสเรียกว่ารูปขันธ์ ธาตุกถา=คือคัมภีร์ที่ ๓ คำสวดภาษาบาลีคือ สงฺคโห ~ การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน อสงฺคโห ~ การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้ อสงฺคหิเตน สงคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้ สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด มสฺปโยโค ~ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น วิปฺปโยโค ~ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์ สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ~หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ~หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุประกอบกันกับธรรมอื่น นอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น อสงฺคหิตํ ~หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์ |