
เป็นข้อมูลที่ดีมากๆเลยคุณแม่บ้าน...ราชบัณฑิตฯเข้าใจหาคำที่ลึกซึ้ง หากเทียบกับคำเก่าคือ "ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี" ถือว่า "ทีฆายุกา โหตุ นาถปรมราชินี" ความหมายลึกซึ้งกว่า เพียงแต่ความกระชับและเรียบง่ายสู้คำเดิมไม่ได้ ส่วนความหมาย
เพื่อถวายพระพรเหมือนกัน
มหาราชินี=มหา+ราชินี
นาถปรมราชินี=นาถ+ปรม+ราชินี...ถ้าแยกตามศัพท์บาลีจริงๆ จะได้ นาถา+ปรมา+ราชินี หรือ นาถา+ปรมราชินี
สนธิกันจึงเป็น "นาถปรมราชินี"
คำว่า"ปรมะ" นิยมเรียงไว้หน้าศัพท์ที่ตนขยาย หากแยกเป็น ๓ ศัพท์จริงๆ จะเรียงใหม่เป็น ปรมา+นาถา+ราชินี...แต่ความหมายจะไม่ตรงตามประเด็น จึงต้องทำเป็น ๒ ศัพท์ คือ นาถา+ปรมราชินี เพื่อให้ตรงคำว่า "บรมราชินี"(บรม มาจาก ปรมะ) เอาคำว่า นาถา มาเป็นคำวิเสสนะของคำว่า ราชินี เพียงคำเดียว และคำว่าทีฆายุกา ก็เป็นวิเสสนะเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่เป็นวิกติกัตตา ใน โหตุๆ เป็นกิริยาคุมประโยคและเป็นตัวบังคับให้แปลว่า "ขอจง..." อย่างในประโยคนี้แปลเป็นสำนวนไทยคือ "ขอจงทรงพระเจริญ(ด้วยอายุ)"
ทีฆายุกา มาจาก ทีฆะ(ยาว-ยืนยาว)+อายุ(อายุ) ถ้าใช้กับเพศชายจะเป็น ทีฆายุโก(ต่างกันตามลิงค์และการันต์ในภาษาบาลี) เช่นคำว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
นาถะ แปลว่า ที่พึ่ง, ปรมะ แปลว่า ยิ่ง
ทั้งคำว่า โหตุ และ ราชินี เป็นศัพท์ปฐมบุรุษในภาษาบาลีแล..(จะไม่เหมือนกับบุรุษในภาษาไทย)
พรานไพร