
มุตโตทัย : ๘. สติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
วิปุลลาฉันท์ ๒๔
๑.ณ ทางโลกการประยุทธ์
คาดหวังชยรุดต้องเสาะทาง
เจาะฐานต้านเหมาะกั้นพลาง
แหละสู้กษัย
๒.ตะต้องมีเหล่าทหาร
เก่งกาจและชำนาญเลิศระไว
จำนวนพอกะสู้ได้
พลังสถาน
๓.ก็ทางธรรมแล้วจะจัด
ทำเล "สติปัฏฯ"เข้าระราน
กิเลสตัวกุภัยผลาญ
กะใจและกาย
๔.ริตรึก "กายานุปัสฯ"
ตัวกายะขจัดเหตุทลาย
จะได้ดับ"นิวรณ์"วาย
ปะสุขและสันต์
๕.มุทำให้มากมิพลัด
"อุคคาหะฯ" อุบัติแรกกระชั้น
เจาะลึกตรง บ ไหวหวั่น
มิย้ายตะหวน
๖.ก็กายส่วนแรกยะยล
ยึดหลักธุวตนทำสิด่วน
มิไปดูซิใหม่ชวน
ประโยชน์จะถอน
๗.ประดุจสวดมนต์ละทิ้ง
ลืมเลือนจะเลอะจริงลดลิรอน
ผิปล่อย"อุคคะฯ" เลิกจร
ประมาทอะดูร
๘.นิกรแรกบวชจะเรียน
บอก"กรรมฯ"วปุเพียรมุ่งจรูญ
สมาธิ์จิตตะสมบูรณ์
กิเลสสลาย
๙.พระพุทธ์เจ้ากับ"อร์หันต์"
เพ่งท้องตะละลมดั้นกระจาย
พระพุทธ์เจ้าวิมุตกราย
เพราะกายเหมาะสม
๑๐.พระพุทธฯสอนชนเจาะกาย
ภายในมุตรายเรียงสดมภ์
ก็พ้นทุกข์ปลาตตรม
สงบถวิล
๑๑.เพราะริ"กายานุปัสฯ"
ก่อนำชนะจัดตรงประทิน
ขยันกอปรวสีศิลป์
กะธาตุฯ ณ กาย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
สติปัฏฯ=สติปัฏฐานหรือมหาสติปัฏฐาน เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นทางสายเอกที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่การบรรลุมรรคผล นิพพานได้ พระสูตรนี้แสดงหลักการพัฒนาตนสำหรับบุคคลหลายจริต หลายระดับ คือให้มีสติสัมปชัญญะตามดูอารมณ์กรรมฐานไม่ขาดตอน ให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสต่างๆ โดยมีแนวปฎิบัติ ๔ ขั้นตอนจากการพิจารณากรรมฐานที่หยาบไปจนละเอียด คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม(เหตุเกิดและดับ)
อร์หันต์=พระอรหันต์
กายานุปัสฯ=กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนดกาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย ว่าเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔(มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อจับธาตุต่างๆแยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่ากายจะหายไป
นิวรณ์=สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ลุความดีมี ๕ คือ ๑)ความพอใจรักใคร่ ๒)ความพยาบาท ๓)ความง่วงเหงาหาวนอน ๔)ความฟุ้งซ่าน รำคาญ ๕)ความลังเลสงสัย
อุคคาหะฯ=อุคคหนิมิต คือนิมิตที่ใจเรียนหรือนิมิตติดตา ได้แก่บริกรรมนิมิตที่เพ่งหรือกำหนดจนเห็นแม่นยำเช่นดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น
ปฏิภาค= ปฏิภาคนิมิต นิมิตเทียบเคียง ได้แก่นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคนิมิตแต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่ขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา สีของนิมิตจะเปลี่ยนไปเป็นของที่มีลักษณะใส
กรรมฯ=กรรมฐาน ๕ คือมูลความฐานเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุบวชใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญ สมถะ และวิปัสสนา ฝึกอบรมจิตใจให้กล้าแข็ง โดยพิจารณาร่างกาย ยาววา หนาคืบของมนุษย์ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่มีความเปลี่ยนแปลง มองเห็นสังขารไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด มีสติรู้เท่าทัน จนพัฒนาสู่การเจริญสมถะ และวิปัสสนา
วิมุต=ความหลุดพ้น
พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า
ธาตุ=ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
(ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต)