
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๑.เวทนา(ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ) ๗ มีอะไรบ้าง?
โคลงมหานันททายี
๑."เวท์นา"รู้สึกผ่าน........................อายะฯ
เมื่อใน-นอกกระทบ..........................รับรู้
สิ่งหน่วงจิตจะรู้...............................อารมณ์
เช่น"เสียง"กับ"หู"รับ........................ได้ฟังได้ยิน
๒.เวท์นาชินเกิดทาง......................ใจ,กาย
เหตุ,ปัจจัยกรายเกิด........................ขึ้นมา
จะอยู่หรือวายด้วย...........................ปัจจัย
อริย์มรรคหนาจึง..............................ดับได้สิ้นเชิง
๓.เบิ่ง"เวท์นา"นำพา........................มวลสัตว์
ชีพวนไม่ปัดห่าง...............................วัฏฏะ
นำสู่ภพชัดดี,....................................ไม่ดี
แต่ยังเป็นธรรมประเสริฐ...................ส่งพ้นสังสาร
๔.ด้านเวท์นาแยกได้......................เจ็ดถึง
"จักขุเวทฯ"หนึ่งรู้..............................ทางตา
สอง"โสตเวทฯ"พึงรู้..........................ด้วยหู
สาม"ฆานเวทฯ"หนาทาง...................จมูกสัมผัส
๕.สี่คัด"ชิวหาเวทฯ"นำ....................กับลิ้น
ห้า"กายเวทฯ"ชินกาย........................กระทบ
"มโนเวทฯ"จินต์หก............................ทางใจ
"มโนวิญญ์"นบเจ็ด............................สัมผัสหทัย
๖.ใครเพ่งธรรมเจ็ดด้วย..................ไตรลักษณ์
ทุกข์,ไม่เที่ยงจักเป็น.........................อนัตตา
มั่นในธรรมหลักมิ.............................หวั่นไหว
เชื่ออย่างนี้หนาเรียก........................"สัทธาสารี"
๗.ใครชี้ธรรมนี้ด้วย........................ปัญญา
เขาเรียก"ธัมมารี"..............................แน่นอน
ใครแจ้งธรรมหนาไม่.........................ตกต่ำ
โสดาบันจรไกล................................สู่อรหันต์
๘.เวท์นานั้นทั้งเจ็ด.........................ควรคลาย
สุข,ทุกข์,เฉยหน่ายลง.......................ละทิ้ง
ทั้งกำหนัดวายหมด...........................จิตพ้น
รู้ด้วยตนจริง"ชาติ"............................ไม่มีหมดลง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๖-๑๑๗
เวทนา ๗=เวทนาเป็น นามธรรม คือ ความรู้สึก,การเสวยอารมณ์ แบ่งเป็น ๗ คือ ๑)จักขุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางตา ๒)โสตสัมผัสสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางหู ๓)ฆานะสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากการสัมผัสทางจมูก ๔)ชิวหาสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ อันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น ๕)กายสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุยทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางกาย ๖)มโนธาตุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ ๗)มโนวิญญาณธาตุสัมผัสชา เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือความรู้ทางใจ
อายะฯ= อายตนะ (ที่เชื่อมต่อ)ภายใน ๖=คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย,ใจ
อายตนะ ภายนอก ๖=คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส)และ ธรรมารมณ์
วัฏฏะ=วัฏฏสงสาร คือวงรอบการเวียนว่ายตายเกิด
สังสาร=สังสารวัฏ คือวงรอบการเวียนว่ายตายเกิด
สัทธาสารีฯ=สัทธนุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา,พระอริยบุคคลตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า
ธัมมารีฯ=ธัมมานุสารี ผู้อบรมอริยมรรคอันมีปัญญาให้เกิดขึ้น ปฎิบัติทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ชาติ=การเกิด
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)