Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป >> ตำนานสามปลา : โดยคุณวินทร์ เลียววาริณ
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานสามปลา : โดยคุณวินทร์ เลียววาริณ  (อ่าน 5101 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:65535
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10568


เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ


| |
ตำนานสามปลา : โดยคุณวินทร์ เลียววาริณ
« เมื่อ: 07, เมษายน, 2563, 03:51:58 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: ตำนานสามปลา : โดยคุณวินทร์ เลียววาริณ


-  ำ  ตอน ตำนานสามปลา -

-----------------------------------------------

-1-


ปลาตะเพียนสานเป็นงานฝีมือที่ใช้ใบลานตากแดดทำเป็นเส้นยาว ๆ
สานเป็นรูปปลาตะเพียน  แล้วลงสีให้สวยงาม

ช่างทำปลาตะเพียนสานสองแบบ  แบบเรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย  สำหรับชาวบ้าน
และแบบวาดลวดลายบนตัวปลาสำหรับคนมีฐานะ

ต่างจากงานจักสานทั่วไป  ปลาตะเพียนสานมีความหมายเชิงสัญลักษณ์

เมืองไทยอุดมสมบูรณ์
ในคลองและแม่น้ำอุดมด้วยปลาตะเพียนซึ่งโตเต็มที่ช่วงเดียวกับข้าวตกรวง
ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  ฐานะร่ำรวย
เงินทองไหลมาเทมา  มั่งมีศรีสุข  ทำมาค้าขึ้น

บางคนก็ใช้ปลาเป็นเครื่องราง  เพื่อให้การค้าขายสำเร็จ
โดยตัดแผ่นโลหะทองและเงินเป็นรูปปลาตะเพียน
ตัวหนึ่งเป็นปลาตะเพียนทอง  ตัวหนึ่งเป็นปลาตะเพียนเงิน
ลงอักขระเมตตามหานิยม  ติดตามร้านค้า  หาบเร่  คล้ายนางกวักหรือแมวกวัก

ปลาตะเพียนสานยังเป็นสัญลักษณ์ของความขยันหมั่นเพียร  อุตสาหะ
อาจเพราะปลาตะเพียนดูแลลูกปลาทั้งฝูง

นอกจากนี้ก็มีความเชื่อว่า  ฝูงปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี

มีความเชื่อว่า  การแขวนปลาตะเพียนสานเหนือเปลเด็กเป็นสิริมงคลอย่างหนึ่ง
ช่วยให้เด็กสุขภาพแข็งแรง  ปลาตะเพียนสานเป็นเครื่องเล่นชิ้นแรกของเด็ก
พ่อแม่นิยมแขวนปลาตะเพียนสานเหนือเปลให้เด็กดูเล่น  จะได้ไม่ร้องงอแงรบกวน
โดยแขวนปลาตะเพียนในระดับที่สายตาเด็กสามารถมองเห็นชัดเจน

ญี่ปุ่นก็มีงานฝีมือรูปปลาและเกี่ยวข้องกับเด็กเช่นกัน
ออกแบบเป็นธงปลาคาร์พหลากสีสัน  แขวนไว้ที่สูง
เมื่อลมพัด  ปลาจะ  ‘ว่าย’  กลางท้องฟ้า  ดูสวยงาม
เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันเด็ก  วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี
เพื่อให้บุตรเติบโตแข็งแรง

ปลาตะเพียนสานมีที่มาอย่างไร?
มันเกี่ยวกับธงปลาคาร์พของญี่ปุ่นหรือไม่?



ผมรู้เรื่องนี้มาจากอาจารย์ศุภกิจ นิมมานนรเทพ

อาจารย์ศุภกิจเป็นอดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
และอดีตรองอธิบดีกรมทะเบียนการค้า  กระทรวงพาณิชย์
เป็นบรรณาธิการคนหนึ่งที่ช่วยตรวจต้นฉบับของผม
มีความรู้รอบตัวสูงมาก  ผมรู้เกร็ดแปลก ๆ มากมายจากแก

อาจารย์ว่า  “ต้นกำเนิดของปลาตะเพียนสานไม่ใช่อยู่ดี ๆ ชาวบ้านทำรูปปลาตะเพียน”

“แล้วมีอะไรครับ?”

“เชื่อว่าปลาตะเพียนสาน
น่าจะมีกำเนิดในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระแห่งอยุธยา
พระเจ้าท้ายสระหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์ พ.ศ. 2252-2275  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอยุธยา
ทรงเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา”

“องค์สุดท้ายคือพระเจ้าเอกทัศใช่ไหมครับ?”

“ใช่  ราชวงศ์นี้สิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2310  คราวเสียกรุงครั้งที่สอง
พระเจ้าท้ายสระทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ
และเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าบรมโกศ  ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเสือ
ครองราชย์ยาวนานถึง 23 ปี”

“ขออภัย  ทำไมเรียกว่าพระเจ้าท้ายสระครับ?”

“พระนามพระเจ้าท้ายสระ
มาจากการที่พระองค์ทรงประทับอยู่พระที่นั่งบรรยงก์รัตพาสน์ข้างสระน้ำท้ายวัง”

อาจารย์เล่าว่า  “รัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
เช่น  จีน  ฮอลันดา  อังกฤษ  มีการขุดคลองสำคัญเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคม
คือคลองมหาไชย และคลองเกร็ดน้อย”

“แล้วปลาตะเพียนสาน?”

“พระเจ้าท้ายสระทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนมาก
จนถึงขั้นออกกฎมณเฑียรบาลห้ามราษฎรจับหรือกินปลาตะเพียน
ผู้ฝ่าผืนจะถูกปรับโทษสินไหม  เป็นเงิน 5 ตำลึง
พระองค์ทรงโปรดการตกปลามาก
ทำให้พระองค์ทรงมีอีกพระนามว่า  ขุนหลวงทรงปลา”

“ไม่น่าเชื่อ”

“ปลาตะเพียนกลายเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับชาวบ้าน
เมื่อกินปลาตะเพียนไม่ได้  ก็ทำปลาตะเพียนสานขึ้นมาดูเล่น
คล้ายเตือนใจชาวบ้านว่า  ‘กินไม่ได้ ได้แต่ดู’...”

ไม่นึกว่าความอร่อยสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของชาติได้!



-2-


ก็มาถึงประวัติธงปลาคาร์พของญี่ปุ่น

เชื่อไหมว่าธงปลาคาร์พของญี่ปุ่นวิวัฒนาการมาจากปลาตะเพียนสานของไทย
ทั้งสองเกี่ยวข้องกับเด็กเหมือนกันทุกประการ

สยามกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางการทูตมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา
และชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่มีบทบาทสานความสัมพันธ์ก็คือ  ยามาดะ นากามาสะ

ชื่อเต็มของเขาคือ  ยามาดะ นินซาเอมอนโมโจ นากามาสะ
เกิดที่เมืองนูมาสุ  ทางเหนือของคาบสมุทรอิสุ  แคว้นชิซูโอกะ
ตำนานเล่าว่าสมัยหนุ่ม  ยามาดะมีเรื่องทะเลาะวิวาทจนต้องหลบหนีการจับกุม
เขาลอบอาศัยเรือสินค้าญี่ปุ่นเดินทางหนีไปถึงเกาะไต้หวัน
แล้วเข้าร่วมกับพวกโจรสลัดวาโกะ
ต่อมาก็เดินทางถึงเมืองสยาม

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า  ยามาดะเคยทำงานค้าขายอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาเป็นคนหามเกี้ยวของ โอคุโบะ จิเอมอง ทาดาซะ  ไดเมียวแห่งแคว้นซุนชู
แล้วเดินทางมาเมืองสยาม

ยามาดะเข้ารับราชการในราชสำนักสยาม  ก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ
จนในที่สุดได้รับตำแหน่งออกญาเสนาภิมุข ครองเมืองนครศรีธรรมราช

เขาได้รับราชโองการให้ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
เขาผูกสัมพันธ์กับข้าราชการชั้นสูงในญี่ปุ่น
โดยนำปลาตะเพียนสานของสยาม
ไปมอบเป็นของกำนัลแก่บุตรหลานของข้าราชการที่นั่น
เป็นที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ
เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีปลาตะเพียน  จึงดัดแปลงใช้ปลาคาร์พแทน
พัฒนาต่อมาจนกลายเป็นธงปลาคาร์พ
แต่ความหมายยังดำรงอยู่  คือเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เด็ก



-3-
 

ตำนานปลาตะเพียนสานทำให้ผมนึกถึงตำนานปลาอีกชนิดหนึ่ง
ที่กลายเป็นปลาต้องห้ามเช่นกัน  ไม่ใช่เพราะความอร่อยของเนื้อปลา
แต่ที่ไข่ของมัน

นั่นคือไข่คาเวียร์

คาเวียร์เป็นชื่อที่นักเขียน  ’รงค์ วงษ์สวรรค์'
บอกว่าเป็นอีกคำหนึ่งที่คนไทยชอบเรียกผิด ๆ
เราชอบเรียกว่า “ไข่ปลาคาเวียร์”

ที่ผิดเพราะคาเวียร์ไม่ใช่ชื่อปลา
ปลาที่ออกไข่คาเวียร์คือปลาสเตอร์เจียน

ที่ถูกคือ  ไข่คาเวียร์

ใครไปเข้าภัตตาคารหรูแล้วสั่ง  “ไข่ปลาคาเวียร์”  เท่ากับปล่อยไก่ตัวใหญ่

ไข่คาเวียร์ตามความหมายของคนทั่วไป
หมายถึงไข่ปลาสเตอร์เจียนในทะเลแคสเปียนและทะเลดำ
แต่มันก็อาจเป็นไข่ปลาชนิดอื่นด้วย
เช่น  แซลมอน  เทราต์  และตระกูลอื่น ๆ ของสายพันธุ์สเตอร์เจียน

เชื่อว่าพวกเปอร์เซียนอาจเป็นพวกแรกที่ชมชอบไข่คาเวียร์
คำว่าคาเวียร์ก็น่าจะมีรากศัพท์มาทางเปอร์เซีย
แต่มันกลายเป็นอาหารของชนชั้นสูง  เมื่อซาร์แห่งรัสเซียยกมันเป็นอาหารวัง
เมื่อคาเวียร์ไปถึงยุโรป  ก็กลายเป็นอาหารชนชั้นสูง

ที่แผ่นดินอังกฤษ  กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 2 ทรงโปรดคาเวียร์มาก
จนทรงออกกฎห้ามชาวบ้านจับปลาสเตอร์เจียน
ปลาชนิดนี้เป็นของหลวง
ใครจับไปกินหรือทำคาเวียร์  มีบทลงโทษ

ไม่นึกว่าความอร่อยสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของชาติได้!

แต่จะว่าไปแล้ว ประวัติศาสตร์ของชาติไหน ๆ
ก็มักเกี่ยวข้องกับความอร่อยเสมอ
เมื่อผู้ครองอำนาจกิน ‘ปลาตะเพียน’ แห่งอำนาจแล้วติดใจ  สั่งห้ามคนอื่นกิน

เพราะเมื่อเสพอำนาจแล้ว  มักไม่ยอมแบ่งให้คนอื่น



อำ หรือ ไม่อำ

ตอน 1 เป็นเรื่องจริง
ตอน 2 เป็นเรื่องอำ
ตอน 3 เป็นเรื่องจริง


ขอบคุณบทความจาก

วินทร์ เลียววาริณ

www.winbookclub.com

16 กุมภาพันธ์ 2562


รายนามผู้เยี่ยมชม : ปิ่นมุก, ลิตเติลเกิร์ล, กรกช, Sasi Aksarasrom, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, ก้าง ปลาทู, ลมหนาว ในสายหมอก, เฒ่าธุลี

บันทึกการเข้า

รวมบทกลอน "ที่นี่เมืองไทย..."
รวมบทกลอน "ร้อยบุปผา"
รวมบทประพันธ์ทั่วไป "Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์กลบท "Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์ฉันท์ "Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
กลอนสุภาษิต-คำพังเพย-สำนวนไทย บ้านกลอนน้อย
ลานอักษร มยุรธุชบูรพา
..

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.195 วินาที กับ 42 คำสั่ง
กำลังโหลด...