Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป >> นางนพมาศ คือใคร??
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นางนพมาศ คือใคร??  (อ่าน 5471 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ข้าวหอม
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:2705
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 876
จำนวนกระทู้: 273



| |
นางนพมาศ คือใคร??
« เมื่อ: 01, พฤศจิกายน, 2563, 09:08:07 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: นางนพมาศ คือใคร??


นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เป็นสตรีที่ปรากฏอยู่ใน เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ที่อ้างอิงว่า ถูกรจนาขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีเนื้อความว่า
นางนพมาศบอกเล่าถึงความเป็นไปภายในรัฐสุโขทัยว่า
มีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูนสุขนานัปการ
ในรัฐมีคนต่างชาติต่างภาษาและศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน
และเรื่องที่เด่นที่สุดคือการที่นางประดิษฐ์กระทงขึ้นมา
จนนางนพมาศได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีลอยกระทง
กล่าวกันว่านางนพมาศมีรูปโฉมงดงาม ในยุคหลังเมื่อคราเทศกาลลอยกระทง
ก็มีการประกวดประขันนางนพมาศสืบมา

อย่างไรก็ตามได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีตัวตนจริงของนางนพมาศ
มีนักประวัติศาสตร์หลายท่าน เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสุจิตต์ วงษ์เทศ เห็นว่าเรื่องนางนพมาศนั้น
เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้นเอง

...ประวัติ..

ใน เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ระบุว่า
นางนพมาศเป็นธิดาของพราหมณ์ในราชสำนักสมัยกรุงสุโขทัย
รับราชการเป็นพระปุโรหิตตำแหน่งพระศรีมโหสถ ยศกมเลศครรไลหงส์
พงศ์มหาพฤฒาจารย์ กับมารดาชื่อนางเรวดี นางนพมาศจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า
เรวดีนพมาศตามนามมารดา ต่อมาบิดามารดาของนางได้ถวายตัวนางแก่พระร่วงเจ้า
(บางแห่งว่าคือพญารามราช บ้างว่าเป็น พญาเลอไท)
และเลื่อนเป็นพระสนมเอกในตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เนื่องด้วยคิดค้นประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวในพระราชพิธีจองเปรียง
เป็นที่ถูกพระราชหทัยพระร่วงเจ้า

...ข้อสงสัยกับการมีตัวตนจริงของนางนพมาศ...

แรกเริ่มได้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีตัวตนของนางนพมาศ
ปรากฏครั้งแรกในพระดำรัสของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
"หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์"
และ "ว่าโดยทางโวหาร ใคร ๆ อ่านหนังสือเรื่องนี้ด้วยความสังเกตจะแลเห็นได้โดยง่ายว่า
เปนหนังสือแต่งในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง แต่งในระหว่างรัชกาลที่ 2 กับที่ 3
ไม่ก่อนนั้นขึ้นไป ไม่ทีหลังนั้นลงมาเปนแน่...และยังซ้ำมีความที่กล่าวผิดที่จับได้โดยแจ่มแจ้งว่า
เปนของใหม่หลายแห่ง ยกตัวอย่างดังตรงว่าด้วยชนชาติต่างๆ หนังสือนี้ออกชื่อฝรั่งหลายชาติ
ซึ่งที่จริงไม่ว่าชาติใดยังไม่มีเข้ามาในประเทศนี้เมื่อครั้งนครศุโขไทยเปนราชธานีเปนแน่"

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงวงศาธิราชสนิท
ทรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ ทรงคาดว่าหนังสือเรื่องนางนพมาศของดั้งเดิม
น่าจะถูกแต่งขึ้นโดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระสนมเอกในสมเด็จพระร่วงเจ้าจริง
หากแต่ฉบับเดิมอาจจะเก่าและขาดหายไปบ้าง จึงมีผู้ที่อยู่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แต่งขึ้นใหม่ โดยตั้งใจจะปฏิสังขรณ์ให้เรียบร้อย แต่ผู้แต่งมิได้ถือเอาความจริงเท็จ
ในพงศาวดารเป็นสำคัญ แต่ต้องการจะแต่งให้ไพเราะเพราะพริ้งเรียบเรียงลงไป
ตามความรู้ที่มีอยู่ในเวลานั้น เรื่องราวในหนังสือจึงวิปลาสไป

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ระบุไว้ว่า "ความน่าสนใจของหนังสือเรื่องนี้
อยู่ที่ว่าเป็นงานวรรณกรรมที่เขียนในสมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ความพยายามที่ไปจัดนางนพมาศเป็นวรรณกรรมสุโขทัยนั้น
ได้ปิดบังมิให้ได้เห็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น อันแฝงเร้นอยู่ในวรรณกรรมชิ้นนี้มาเป็นเวลานาน

สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่มองว่านางนพมาศไม่มีตัวตนจริง ได้กล่าวว่า
"ถ้าหากนางนพมาศที่มีตัวตนอยู่จริงก็คงจะมีเพียงบรรดา "เทพีนางนพมาศ"
ที่ชนะการประกวดความงามประจำปีตามเวทีประกวดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
มานานหลายสิบปี ซึ่งก็คงจะมีเยอะเกินจนยากที่จะจดจำได้ไหว

แม้จะมีการเปิดเผยว่าเรื่องนางนพมาศและประเพณีลอยกระทง
มิได้เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยก็ตาม กระนั้นทางราชการไทยยังคงหยิบยก
เรื่องนางนพมาศขึ้นมาโฆษณาวัฒนธรรมไทยเพื่อขายการท่องเที่ยวอยู่

         AddEmoticons00918
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



รายนามผู้เยี่ยมชม : ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, Black Sword, ก้าง ปลาทู, มนชิดา พานิช, น้ำหนาว, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, ปอละเตียง, กรกช, Thammada, พัฒนาการ, ลายเมฆ, ชลนา ทิชากร, ปิ่นมุก

บันทึกการเข้า

..
สารบัญเรื่องราวนำเสนอ คุณ "ข้าวหอม"
..

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.409 วินาที กับ 53 คำสั่ง
กำลังโหลด...