
ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้
ความรักที่แท้จริงคือ ความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรัก
ความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิด
และการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก
จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง
เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัว
เห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย
หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง
ในทางจิตวิทยาบรรยายความรักไว้ว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และสังคม
นักจิตวิทยา โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก กำหนดทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรักโดยให้เหตุผลว่า
ความรักประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างที่แตกต่างกัน ได้แก่
ความใกล้ชิด การผูกมัด และความหลงใหล
ความใกล้ชิด เป็นรูปแบบที่บุคคลสองคนแบ่งปันความเชื่อมั่น
และรายละเอียดหลายประการของชีวิตส่วนตัว และโดยปกติแล้ว
จะแสดงออกในรูปของมิตรภาพและความสัมพันธ์แบบรักโรแมนติก
ส่วนการผูกมัดนั้น เป็นการคาดหวังว่าความสัมพันธ์นี้จะคงอยู่ถาวร
ส่วนประการสุดท้าย และเป็นรูปแบบทั่วไปของความรักนั้น
คือการดึงดูดและความหลงใหลทางเพศ ความรักแบบหลงใหลนั้น
ถูกแสดงออกในการหลงรักเช่นเดียวกับรักโรแมนติก
รูปแบบทั้งหมดของความรักนั้น ถูกมองว่าเกิดจากสามองค์ประกอบนี้ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซิก รูบิน ใช้การจำกัดความในทางจิตมิติในคริสต์ทศวรรษ 1970
งานของเขากล่าวว่า สามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรักนั้น
ประกอบด้วยความผูกพันทางอารมณ์ ความเอื้ออาทร และความใกล้ชิด