Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา >> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม >> - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -  (อ่าน 230368 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #225 เมื่อ: 06, พฤษภาคม, 2562, 10:21:41 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


<<< ก่อนหน้า                 ต่อไป  >>>                   .

- ตั้งพระยาจักรีมอญ -

พม่ามารุกรบด้านตะวันตก
ไทยสะทกสะท้านจนขวัญหนี
ขุนศึกแกร่งกล้าเข้มน้อยเต็มที
เรียกจักรีจากเหนือช่วยเหลือพลัน


          อภิปราย ขยายความ ............

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินเสร็จศึกเชียงใหม่เสด็จกลับกรุงธนบุรี  ทรงแวะเมืองระแหง  นมัสการประพุทธปฏิมา ณ วัดกลาง  วัดดอยเขาแก้ว  แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งล่องลงตามล้ำปิง  ออกสู่เจ้าพระยาลงถึงกรุงธนบุรี  ในเวลาเดินทาง ๕ วันเต็ม  วันนี้มาดูความตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อครับ


          * ฝ่ายพระเจ้ามังระเจ้าแผ่นดินกรุงอังวะนั้น  เสด็จลงมาเมืองย่างกุ้งเพื่อทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกศธาตุ  ทางกรุงวะก็เกิดความวุ่นวายขึ้น  โดย  พระยาหงสาวดี  พระยาอุปราชา  กับตละเกิ้งและรามัญทั้งปวงที่ถูกกวาดต้อนขึ้นไปในคราวที่พม่าตีเมืองหงสาวดีได้สมัยพระเจ้ามังลอง  เมื่อเห็นว่าพระเจ้ามังระไม่อยู่กรุงอังวะ  จึงคบคิดกันเป็นบกฏจะยกเข้าปล้นเอาเมือง  แต่เสนาบดีผู้อยู่รักษาเมืองจับกุมตัวไว้ได้ทั้งหมดแล้วบอกลงมาให้พระเจ้ามังระทรงทราบ  พระเจ้าอังวะจึงให้มีหนังสือตอบขึ้นไปว่า  จงประหารชีวิตพระยาหงสา  พระยาอุปราชาและตละเกิ้งสมิงรามัญตัวนายผู้ร่วมคิดกันเป็นกบฏนั้นเสียให้สิ้น  แล้วให้ข้าหลวงมาเร่งกองทัพอะแซหวุ่นกี้ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองเมาะตะมะให้ยกตามมอญกบฏเข้าไปตีเมืองไทยให้ได้


          อะแซหวุ่นกี้จึงให้งุยอคุงหวุ่นเป็นแม่กองทัพหน้า  กับอุตมสิงหจอจัว ๑   ปคันเลชู ๑   เมี้ยนหวุ่น ๑   อคุงหวุ่นมุงโยะ ๑   เนมโยแมงละนรทา ๑   ยุยยองโบ่ ๑   ถือพลห้าพันยกล่วงหน้ามาก่อน   ให้ตะแคงมรหน่องเชื้อวงศ์พระเจ้าอังวะ  กับหม่องจ่ายิด  ถือพลสามพันอีกทัพหนึ่งยกหนุนมา  กองหน้าพม่ายกตามครัวมอญมา  เข้าตีกองทัพไทยซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ ท่าดินแดงนั้นแตก  พระยายมราชแม่ทัพถอยลงมาแล้วบอกเข้ามากราบทูลว่า  พม่ายกทัพใหญ่มาเหลือกำลังต้านทานต่อรบ  ขอพระราชทานกองทัพเพิ่มเติมขึ้นไปช่วย  พระเจ้าตากสินจึงดำรัสให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจุ้ยกับพระยาธิเบศบดีเป็นแม่ทัพถือพล  ๓,๐๐๐  ยกไปตั้งค่าย ณ เมืองราชบุรี


          พระยายมราชบอกลงมาอีกว่า  พระยาอภัยรณฤทธิ์ ๑   พระยาเพชรบุรี ๑   หลวงสมบัติบาล ๑   หลวงสำแดงฤทธา ๑   ทั้งสี่นายแตกพม่าเข้ามา  แต่พระยาสุนทรพิพิธ ๑   หลวงรักษามนเทียร ๑   พระยาสุพรรณบุรี ๑   พระยากาญจนบุรี ๑   พระยานครไชยศรี ๑   ทั้งห้านายนี้ยังไม่พบตัว  จึงดำรัสให้จับเอาบุตรภรรยามาจำไว้  ให้เจ้าตัวทำราชการแก้ตัว  ส่งไปเข้ากองพระเจ้าลูกเธอพระเองเจ้าจุ้ยและพระยาธิเบศบดี  แล้วดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ถือพล  ๑,๐๐๐  ยกไปช่วยพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจุ้ย


          * ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ เวลาเช้าเสด็จลงพระตำหนักแพ  ให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่งกองทัพซึ่งกลับจากเชียงใหม่ยังล้าหลังอยู่มาไม่ทันนั้นจงรีบเร่งลงมาโดยเร็วอย่าให้ใครแวะเข้าบ้านเป็นอันขาด  ใครแวะเข้าบ้านจะประหารชีวิตเสีย  เรือท้าวพระยาพระหลวงขุนหมื่นข้าราชการทั้งปวงนั้นก็รีบเร่งลงมาถึงหน้าพระตำหนักแพ  พอกราบถวายบังคมลาแล้วก็โบกพระหัตถ์สั่งให้รีบออกไปเมืองราชบุรี  ขณะนั้นพระเทพโยธาจอดเรือแวะขึ้นบ้าน  ตำรวจลงมากราบทูลก็ทรงพระโกรธมาก  รับสั่งให้ตำรวจรีบไปเอาตัวมาในทันใด  ดำรัสให้เอาตัวพระเทพโยธาขึ้นมัดไว้กับเสาพระตำหนักแพ  ทรงถอดพระแสงดาบออกจากฝักฟันพระเทพโยธาบนพระตำหนักแพจนศีรษะขาดตกลงแล้วให้ตำรวจนำศีรษะไปเสียบประจานไว้ที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์  และศพนั้นโยนลงน้ำทิ้งไป  ประกาศอย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างสืบไป


          * พวกรามัญที่หนีพม่ามานั้นคือ  พระยาเจ่ง  ตละเสี้ยง  ตละเก็บ  กับพระยากลางเมือง  คนเหล่านี้หนีเข้ามาแต่ครั้งกรุงเก่า  เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้วนำตัวกลับไป  และมีโอกาสหนีเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีอีกครั้ง  พระเจ้าตากสินทรงให้ข้าหลวงไปรับสมิงรามัญไพร่นายทั้งปวงที่พาครัวเข้ามาทุกด่านทุกทิศทางเข้ามาถึงพระนครแล้ว  ทรงพระกรุณาให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แขวงเมืองนนท์บ้าง  เมืองสามโคกบ้าง  คัดเลือกชายฉกรรจ์ได้สามพันคน  โปรดตั้งหลวงบำเรอภักดิ์  เชื้อรามัญครั้งกรุงเก่าให้เป็นพระยารามัญวงศ์  เรียกว่าจักรีมอญ  ควบคุมกองมอญทั้งสิ้น  และโปรดให้พระราชทานตราภูมคุ้มห้ามสรรพากรขนอนตลาดทั้งปวง  ให้ค้าขายทำมาหากินเป็นสุข  แล้วให้เกณฑ์พระยารามัญวงศ์คุมกองมอญยกหนุนออกไปต่อรบพม่าอีกทัพหนึ่ง  แล้วโปรดให้มีตราขึ้นไปหากองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองตะวันออกทั้งปวง ให้เร่งรีบยกลงมาช่วยราชการสงคราม



          * เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่นั้น  ทราบจากพระยาเชียงใหม่  พระยานครลำปางว่า  พระยาน่านยังมิได้เข้าสวามิภักดิ์  จึงให้พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่  เมืองนครลำปางกับขุนนางข้าหลวงไทยไปเจรจาเกลี้ยกล่อมพระยาน่านแต่โดยดี  พระยาน่านก็ยอมสวามิภักดิ์ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาแล้วแต่งขุนนางสองนายลงไปเข้าเฝ้าด้วย  พอข้าหลวงถือตราขึ้นไปหากองทัพกลับและเกณฑ์หัวเมืองทั้งปวง  เจ้าพระยาจักรี และท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายก็จัดแจงทัพทุก ๆ หัวเมืองยกลงมาตามพระราชดำรัสให้หานั้น



          ฝ่ายกองทัพพม่านั้นก็ยกแยกกันไป  เที่ยวไล่จับผู้คนครอบครัว ณ แขวงเมืองกาญจนบุรี  เมืองราชบุรี  เมืองนครไชยศรี  เมืองสุพรรณบุรี  ทุกบ้านทุกตำบล ณ วันอังคารแรม ๖ ค่ำ เดือน ๓  กรมการเมืองนครไชยศรีบอกเข้ามากราบทูลว่า  ตำรวจที่ถือหนังสือท้องตราพระราชสีห์ไปเมืองสุพรรณบุรีนั้น  ไปถึงตำบลบ้านภูม  พบทหารพม่าสามสิบคนควบม้าไล่ก็วิ่งหนีจนกะทอผ้าที่ใส่หนังสือท้องตรานั้นตกหาย  พม่าเข้าล้อมบ้านภูมไว้  นายพูน  นายสา  นายแก่น  หนีมาได้  แต่นายพรหมนั้นหายไป  พระเจ้าตากสินจึงให้พระยาพิชัยไอสวรรย์  ว่าที่กรมท่า  ยกกองทัพพลพันหนึ่งไปเมืองนครไชยศรีเพื่อตีทัพพม่าที่ยกมานั้น”


          * เรื่องราวในการศึกสงครามเริ่มเข้มข้นมากขึ้นแล้ว  กองทัพพม่าแกร่งกล้ากว่ากองทัพไทย  ด่านท่าดินแดงถูกพม่าตีแตกได้โดยง่าย  เพราะขุนศึกผู้เข้มแข็งของกรุงธนบุรีมีน้อยนัก  แม้จะได้กองกำลังจากชาวรามัญมาเพิ่มกำลังทัพ  ทรงตั้งให้หลวงบำเรอภักดิ์หัวหน้ากลุ่มรามัญเป็นพระยารามัญวงศ์ หรือ พระยาจักรีมอญ  แล้วก็ยังไม่ทำให้กองทัพไทยแข็งแกร่งพอที่จะต้านทานทัพพม่าได้  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงเรียกเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ที่ตั้งกองกำลังรักษาราชการอยู่ ณ เชียงใหม่นั้น  ให้เร่งจัดกำลังทัพจากเมืองเหนือรีบยกกลับลงมาช่วยเป็นการด่วน

          เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป ตามอ่านกันวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๖ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, ปิ่นมุก, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, กลอน123, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..

บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #226 เมื่อ: 07, พฤษภาคม, 2562, 10:14:58 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ล้อมค่ายพม่าบีบให้จำนน -

ยกทัพหลวงออกรบสมทบทัพ
ตั้งค่ายรับปัจจาพม่ามั่น
รายล้อมค่ายนางแก้ววางแนวกัน
เส้นทางตันขาดเสบียงเสี่ยงอดตาย

ไม่ให้ตีมิให้ยิงนิ่งรอจับ
เพียงวางกับดักมันผู้ขวัญหาย
เมื่อทั้งหมดอดอยากอย่างมากมาย
ทั้งไพร่นายคงพร้อมยอมจำนน


          อภิปราย ขยายความ...................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงถึงความที่พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพเข้าตีไทยทางด้านตะวันตกกรุงธนบุรี  ทัพพม่าตีด่านท่าดินแดงแตกแล้วก็แยกย้ายกันเที่ยวไล่จับผู้คนครอบครัวไทยแขวงเมืองกาญจนบุรี  ราชบุรี  นครชัยศรี  สุพรรณบุรี  เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป  วันนี้มาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบอกเล่าไว้ต่อไปครับ


          * “ทัพพม่ายกมาทางเมืองกาญจนบุรีตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากแพรก  แบ่งทัพมาสามพันเศษ  ยกเข้าตั้งค่ายอยู่ที่บ้านนางแก้ว  แขวงเมืองราชบุรีสามค่าย  พระยายมราชซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงนั้นถูกพม่าตีแตกก็เลิกถอยเข้ามา  พระเจ้าลูกเธอ (พระองค์เจ้าจุ้ย) กับพระยาธิเบศบดีจึงให้หลวงมหาเทพเป็นกองหน้าคุมพลพันหนึ่งยกไปตั้งค่ายประชิดโอบค่ายพม่าด้านตะวันตก  ทัพพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ก็ยกพลพันหนึ่งไปตั้งค่ายประชิดด้านตะวันออก  พระเจ้าลูกเธอกับพระยาธิเบศบดีตั้งค่ายมั่นอยู่ที่โคกกระต่าย  แล้วบอกข้อราชการเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ


          ณ วันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓  ได้มหาพิชัยฤกษ์  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบสามวา  พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นอันมาก  เสด็จยกพยุหยาตรานาวาทัพพลโยธาแปดพันแปดร้อยเศษ  จากกรุงธนบุรีโดยทางชลมารคไปหยุดประทับ ณ เมืองสาครบุรีคอยน้ำขึ้น  เพลาค่ำห้าทุ่มจึงเคลื่อนกองทัพไป  เพลารุ่งขึ้นเช้าเข้าที่เสวย ณ วัดกลางค่ายบางกุ้ง


          เพลาบ่ายโมงเศษเสด็จถึงค่ายมั่นเมืองราชบุรี  ดำรัสให้พระยาวิจิตรนาวี  ไปสืบข่าวราชการที่ค่ายบ้านนางแก้ว  แล้วเกณฑ์ท้าวพระยานายทัพนายกองพลทหาร  หนุนเพิ่มเติมไปล้อมค่ายอีกเป็นหลายทัพหลายกอง


          * ฝ่ายตะแคงมรหน่องยกกองทัพพลสามพันติดตามทัพพระยายมราชเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ปากแพรก  อะแซหวุ่นกี้ก็เกณฑ์กองทัพพม่ารามัญหนุนเพิ่มเติมมาอีกพันหนึ่ง  พระยายมราชถอยทัพมาตั้งค่ายอยู่ ณ ดงรังหนองขาว  พระเจ้าตากสินจึงให้พระยาสีหราชเดโช  กับพระยาอินทรวิชิตเจ้าเมืองวิเศษชัยชาญถือพลสองพัน  ยกหนุนไปช่วยกองทัพพระยายมราช


          วันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓  พระยาวิจิตรนาวีซึ่งไปสืบราชการ ณ ค่ายบ้านนางแก้วนั้นกลับมากราบทูลว่า  พม่าประมาทฝีมือไทย  นิ่งให้ตั้งค่ายล้อมมิได้ออกรบพุ่ง  ให้ร้องถามออกมาเป็นภาษาไทยว่า  ตั้งค่ายมั่นแล้วหรือยัง  ฝ่ายข้างเราร้องบอกไปว่ายังไม่ตั้งมั่น  แต่บัดนี้ไทยได้ตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าไว้รอบแล้ว  ครั้นค่ำลงเพลาสามยามเศษจึงเสด็จพยุหโยธาทัพจากค่ายเมืองราชบุรีไปทางวัดอรัญญิก  ประทับ ณ พลับพลาค่ายวัดเขาพระ  คอยฟังข่าวราชการอยู่ที่นั่น  และพม่ายังหาได้ยกออกตีค่ายไทยไม่  นิ่งให้ล้อมด้วยจิตคิดประมาทว่าไทยฝีมืออ่อน  จะออกตีเมื่อไรก็จะแตกเมื่อนั้น  จะได้จับผู้คนได้มาก  ฝ่ายทัพไทยก็ตั้งค่ายล้อมไว้ถึงสามชั้น



          วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ เพลาเช้า  สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราทัพไปทอดพระเนตรถึงค่ายล้อม  พระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ)  หลวงบำเรอภักดิ์  หลวงราชเสนามาเฝ้า  จึงดำรัสให้ไปตั้งค่ายรักษาหนองน้ำที่เขาชะงุ้มไว้


          ในวันเดียวกันนั้นขุนปลัดเมืองราชบุรีบอกเข้ามากราบทูลว่า  พม่ายกเข้ามาทางประตูสามบ้าน  ด่านเจ้าขว้าว  จับชาวด่านไปสองคนแล้วจะยกกลับไปหรือจะตั้งอยู่ประการใดยังไม่ทราบ  จึงดำรัสสั่งให้พระเจ้าลูกเธอ (พระองค์เจ้าจุ้ย) กับกองทัพจีนพระยาราชาเศรษฐี (พระยาพิพิธ) ยกลงไปรักษาค่ายเมืองราชบุรี  แล้วให้รื้อค่ายเปล่าลงไปตั้งริมน้ำให้สิ้น  แล้วให้ปักขวากหนามไว้มาก ๆ  และให้กองเจ้าพระยาอินทรอภัยยกไปรักษาสระน้ำเขาชั่วพรานตั้งค่ายอยู่สามค่าย


          ค่ำวันนั้นพม่ายกออกตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยถึงสามครั้ง  ได้รบกันเป็นสามารถและพม่าก็แตกถอยไปทุกครั้ง  ฝ่ายไทยจับพม่าเป็นได้สามคน  ที่บาดเจ็บหนีรอดไปได้เป็นอันมาก  จึงบอกข้อราชการและส่งพม่ามาถวาย  เมื่อทรงทราบดังนั้นจึงให้เตรียมพลทหารจะเสด็จไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัยด้วยพระองค์เอง  แต่พระยาเทพอรชุนและหลวงดำเกิงรณภพกราบบังคมทูลห้ามไว้  โดยขออาสาจะยกไปเอง



          * รุ่งขึ้นจึงดำรัสให้เกณฑ์ทหารกองในกองนอกและกองอาจารย์กองทนายเลือก  ได้ ๗๔๕ คน  ให้พระยาเทพอรชุน  หลวงดำเกิงรณภพ  ยกเป็นกองโจรไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัย  แล้วทรงให้ถามเชลยพม่าได้ความว่านายทัพที่ยกมาตีค่ายสระน้ำนั้นชื่อเนมโยแมงละนรทา  ถือพลพันหนึ่ง  ที่ค่ายบ้านนางแก้วนั้นนายทัพชื่องุยอคุงหวุ่น  ถือพลสองพันเศษ  ที่ค่ายปากแพรกนั้นนายทัพชื่อตะแคงมรหน่อง  เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าอังวะ  กับหม่องจ่ายิด  ถือพลสามพันเศษ  และยังมีทัพหนุนมาอีกเป็นอันมาก  ส่วนทางทวายนั้นก็ยกมาอีกทัพหนึ่ง  ไม่ทราบว่านายทัพชื่ออะไร


          ทรงทราบดังนั้น  จึงให้พระณรงค์วิชิตไปตัดเอาศีรษะพม่าผู้ที่ถูกปืนตาย ณ ค่ายเขาชั่วพราน  ไปเสียบไว้หน้าค่าย ประชิดให้รอบ  แล้วสั่งให้ประกาศนายทัพนายกองทั้งปวงว่า  ห้ามนายทัพนายกองที่ตั้งล้อมมิให้เข้าตีค่ายพม่า  แต่ให้ตั้งล้อมไว้ให้จงมั่น  ถ้าพม่ายกออกจากค่ายก็ให้รบพุ่งดันให้ถอยกลับอย่างเดียว  ดำรัสว่า  "กักมันไว้ให้โซแล้วเอาข้าวล่อเอาเถิด"  แม้นพม่าหนีไปได้จะเอาโทษถึงสิ้นชีวิต”


          * มาถึงตรงนี้จึงเห็นได้ว่า  สิ่งสำคัญในการทำสงครามคือ  “น้ำ”  นอกจากใช้เป็นเส้นทางในการเดินทัพลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์แล้ว  บ่อน้ำ  หรือแหล่งนำในการบริโภคก็นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสั่งกำชับให้ควบคุมดูแลบ่อน้ำ  หนองน้ำ  สายน้ำลำธาร  ไว้ให้จงดี  อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้ข้าศึกศัตรูใช้ประโยชน์ได้


          ทรงใช้ยุทธวิธีล้อมค่าย  ตัดกำลังลำเลียงอาหาร  เพื่อให้ทหารในค่ายขาดเสบียงอาหาร  อดอยาก  โหยหิว  แล้วเอาข้าวปลาอาหารออกล่อให้ทหารออกจากค่ายมาเอา  แล้วล้อมจับตัวไว้  ไม่ต้องยิงข้าศึกศัตรู  ไม่ต้องเข้าตีชิงเอาค่าย  บีบให้ทหารพม่าในค่ายอดตาย  ถ้าไม่ยอมอดตายก็ให้ออกมายอมแพ้เสียแต่โดยดี  ยุทธการแบบนี้จะได้ผลหรือไม่  ก็รอดูกันต่อไป

          อ่านต่อวันพรุ่งนี้ครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๗ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #227 เมื่อ: 08, พฤษภาคม, 2562, 10:16:14 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- พม่ารุกหนักไทยร่อแร่ -

แม้เสียค่ายไทยยังตั้งต่อสู้
ต้านทานอยู่ไม่ท้อถอยย่อย่น
พม่าโหมโรมรันไม่ลุกลน
สู้อย่างคนมีสติพร้อมวิชา


          อภิปราย ขยายความ......................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกพยุหยาตราจากกรุงธนบุรีไปต้านตีกองทัพพม่าที่ยกมาทางกาญจนบุรี  ที่ตีค่ายไทยที่ด่านท่าดินแดงแล้วยกเลยเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านนางแก้วเมืองราชบุรี  ทรงบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง  ตรัสสั่งให้ตั้งค่ายรายล้อมค่ายนางแก้วของพม่าไว้  แล้วสกัดกำลังบำรุงมิให้พม่าส่งเสบียงเข้าเลี้ยงทหารในค่ายนี้ได้  ไม่ต้องยิงปืนเข้าไปในค่าย  ไม่ต้องปีนปล้นค่าย  รอให้ทหารในค่ายอดอาหารหิวโซแล้วออกมายอมแพ้แต่โดยดี  ยุทธวิธีนี้จะสำเร็จหรือไม่  วันนี้มาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ


          * “ครั้นค่ำลงก็ปรากฏว่าพม่าออกแหกค่ายด้านหลวงมหาเทพ  พลทหารยิงปืนระดมไปก็กลับเข้าค่าย  ที่ถูกปืนตายก็เป็นอันมาก  และในคืนวันนั้นพม่ายกมาแต่ปากแพรกจะเข้าช่วยพม่าที่อยู่ในค่ายล้อม  ได้ยกเข้าตีค่ายหนองน้ำเขาชะงุ้มล้อมกองรามัญไว้  แต่กองพระยาธิเบศบดีตีเข้าไปกันเอากองรามัญออกมาได้  เสียขุนณรงค์ไปคนหนึ่งตายในที่รบ  พม่าตีวกหลังหักออกมาจึงได้รบกันเป็นสามารถ  กองทัพพระยาธิเบศบดีต่อรบต้านทานจนเหลือกำลังก็แตกถอยมา  พม่าได้ค่ายหนองน้ำเขาชะงุ้มแล้วเข้าตั้งมั่นอยู่ในค่าย


          ทรงทราบความนั้นในเวลาเดียวกันกับที่กองทัพพระยานครสวรรค์ยกมาถึง  จึงดำรัสให้พระยานครสวรรค์เร่งยกไปช่วยพระยาธิเบศบดี  ในคืนวันนั้นจึงได้ทราบว่ากองมอญพระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) ออกจากที่ล้อมได้แล้วจึงเสด็จกลับมา ณ ค่ายศาลาโคกกระต่าย  พระยานครสวรรค์  พระยาธิเบศบดีปรึกษากันแล้วบอกส่งพระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) และหลวงบำเรอภักดิ์  หลวงราชเสนา  ลงมา ณ พลับพลาค่ายโคกกระต่าย  จึงดำรัสให้มีตราขึ้นไปให้พระยานครสวรรค์  พระยาธิเบศบดี  ถอยทัพลงมาตั้งค่ายรับพม่าอยู่นอกค่ายล้อมบ้านนางแก้ว  ไกลประมาณห้าเส้น


          วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔  พระยายมราช  พระยาสีหราชเดโช  พระยาอินทรอภัย  บอกลงมากราบทูลว่า  ได้ตั้งค่ายอยู่ ณ ดงรังหนองน้ำขาว  พม่ายกมาแต่ค่ายปากแพรกเข้าตีค่าย  รบกันเป็นสามารถ  พม่าถูกปืนตายและบาดเจ็บลำบากเป็นอันมาก  จับเป็นได้สองคนดังที่ส่งตัวมาถวายพร้อมนี้  แต่บัดนี้กระสุนดินดำยังเหลืออยู่น้อย  ขอพระราชทานเพิ่มเติมไปอีก  ดำรัสสั่งให้มีตราตอบขึ้นไปว่า  รอกองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ลงมาถึงจึงจะให้รีบยกหนุนขึ้นไป  ให้คอยเอากระสุนดินดำที่กองทัพเจ้าพระยาจักรีนั้นเถิด  ขณะนั้นกรมการเมืองคลองวาฬบอกส่งข่าวเข้ามาว่า  พม่าเมืองมะริดห้าร้อยยกมาตีบ้านทับสะแก  ได้ตั้งค่ายรับไว้  แต่กรมการตัวน้อยนัก  ขอพระราชทานกองทัพไปช่วย  ทรงสั่งให้มีตราบอกไปว่า  ราชการศึกยังติดพันกันอยู่ ให้ผู้รั้งกรมการทั้งปวงรับรองสู้รบพม่าไว้ให้ได้”


          * สถานการณ์คับขันเข้าขั้นวิกฤตแล้วครับ  ไทยต้องเสียค่ายหนองน้ำเขาชะงุ้มซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับอุปโภคบริโภคของกองทัพ  พม่ารุกหนักเข้ามาอีก  ค่ายดงรังที่หนองน้ำขาวกำลังจะแตก  กระสุนดินดำเหลือน้อยเต็มที  นายกองทูลขอสนับสนุนด้านกระสุนดินดำ  พระเจ้าตากสินก็ตรัสให้รอเอาจากกองทัพเจ้าพระยาจักรีที่กำลังยกมาจากทางเมืองเหนือใกล้จะถึงแล้ว  ในขณะเดียวกันนั้นทางกรมการเมืองคลองวาฬ (ประจวบคีรีขันธ์) ก็แจ้งมาว่า  ทหารพม่าประมาณ ๕๐๐ คนยกมาตีทับสะแก  ไทยมีกำลังน้อยจะต้านทานมิอยู่  ขอให้ทางกรุงธนบุรีส่งกองกำลังลงไปช่วยด้วย  สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสให้บอกลงไปว่า  ขอให้กรมการเมืองคลองวาฬพยายามต้านทานข้าศึกไว้ก่อน  สถานการณ์ทางพระองค์ยังมีการสู้รบติดพันกันอย่างหนัก  ไม่อาจส่งกองกำลังลงไปช่วยทางคลองวาฬได้  ไทยจะพ้นวิกฤตินี้ได้อย่างไรหรือไม่  ดูกันต่อไปครับ



           “ในเวลาเดียวกันนั้น  ก็มีข่าวร้ายและข่าวดีมาพร้อมกัน  กล่าวคือ  หลวงมหาเทพออกไปแต่กรุงธนบุรี  เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมทูลพระกรุณาว่า  สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์ (พระมารดา) ทรงพระประชวรพระยอดอัคเนสัน  เสด็จทิวงคตเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ฉศก (จุลศักราช ๑๑๓๖ = ๒๓๑๗)  ในราตรีเพลาสองยามแปดบาท  
           เวลาไล่เลี่ยกันนั้น  คนไทยที่เป็นเชลยพม่าสองคนหนีออกมาจากค่ายล้อมบ้านนางแก้ว  ให้การแก่นายทัพนายกองว่า  อดอาหารมานานถึง ๗ วันแล้ว  ได้กินแต่เนื้อช้างเนื้อม้าพอประทังชีวิต  แต่น้ำในบ่อนั้นยังมีอยู่  สำหรับปืนใหญ่ที่ไทยยิงเข้าในค่ายนั้น  ถูกทหารพม่าล้มตายเป็นอันมาก  พม่าได้ขุดหลุมลงหลบซ่อนอยู่  ทรงทราบดังนั้นจึงพระราชทานม้า ๑๐ ม้า  ให้พระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) คุมกองรามัญใหม่ทั้งนายทั้งไพร่สี่ร้อยคนพร้อมอาวุธครบมือ  เป็นกองโจรยกไปลาดตระเวนข้างหลังเขาชะงุ้ม  คอยตีพม่าซึ่งจะยกมาช่วยพม่าในค่ายที่ล้อมนั้น


          ในขณะนั้นกองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  ซึ่งยกทัพมาจากเชียงใหม่ก็ลงมาถึง  นำขุนนางเมืองน่านสองนายเข้าเฝ้า ณ พลับพลาค่ายโคกกระต่าย  กราบบังคมทูลข้อราชการซึ่งได้เกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองน่าน  จนได้เมืองน่านมาเป็นเมืองขึ้นเข้าในขอบขัณฑสีมา


          สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระโสมนัสที่ได้เมืองน่านมาเข้าอยู่ในขอบขัณฑสีมาโดยมิต้องยกกำลังเข้าสู้รบกัน  ตรัสสรรเสริญเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระแสงดาบฝักทองด้ามทอง  กับพระธำมรงค์เพชรวงหนึ่ง   แล้วให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ยกไปตั้งค่ายอยู่เหนือพระมหาธาตุวัดเขาพระ  และให้ตั้งค่ายรายกันขึ้นไปถึงหลังค่ายล้อมบ้านนางแก้ว  อย่าให้พม่าวกหลังได้    ให้พระยารามัญวงศ์คุมพลทหารสี่ร้อยจัดเป็นสองกอง  ไปคอยด้อมมองจับพม่าที่ออกมาตักน้ำ ณ หนองเขาชะงุ้มให้จงได้”


          * ท่านผู้อ่านครับ  การรบใหญ่ยังไม่มาถึง  ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการเริ่มต้น  จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระปรีชาสามารถในการวางกลยุทธ์ที่จะพิชิตข้าศึกได้อย่างรัดกุมมาก  ในยามนั้นแม้จะทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชมารดาก็มิได้ทรงเสียพระทัยจนเสียการศึกสงคราม  ผลการรบที่ค่ายบ้านนางแก้วจะเป็นอย่างไร  อ่านกันต่อในวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๘ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กลอน123, น้ำหนาว, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #228 เมื่อ: 09, พฤษภาคม, 2562, 10:47:17 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- พม่าวอนขอชีวิต -

พม่าเมื่อถูกล้อมใกล้ยอมแพ้
ยังเล่นแง่นักเลงอวดเก่งกล้า
บอกถ้วนทั่วตัวนายยอมวายชีวา
แต่เมตตาลูกน้องที่ต้องตาย

จึงขอนัดเจรจาหาทางออก
ทางไทยบอกจงยอมเสียง่ายง่าย
จะเว้นโทษเข่นฆ่าชีวาวาย
พม่าบ่ายเบี่ยงพักคิดสักวัน


          อภิปราย ขยายความ................................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงถึงพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านนางแก้ว  พระเจ้าตากสินทรงสั่งให้ทหารไทยยกกำลังไปตั้งค่ายรายล้อมพม่าไว้มีการรบย่อย ๆ ประปรายหลายครั้ง  พระเจ้าตากทรงให้มีตราเรียกกองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) จากเชียงใหม่ให้ลงมาช่วยรบ  และให้เกณฑ์ทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ มาสบทบด้วย  เมื่อเจ้าพระยาจักรียกทัพลงมาแล้วทรงพระราชทานรางวัลความดีความชอบที่เจ้าพระยาจักรีได้เกลี้ยกล่อมเอาเมืองน่านมาขึ้นกับกรุงธนบุรีได้  จากนั้นทรงให้ไปตั้งค่ายมั่นอยู่เหนือพระมหาธาตุวัดเขาพระ  ตั้งค่ายรายล้อมถึงหลังค่ายพม่าบ้านนางแก้ว  ให้หลวงบำเรอภักดิ์คุมพลไปคอยจับทหารพม่าถ้าจะออกมาตักน้ำที่หนองเขาชะงุ้ม  เรื่องจะเป็นอย่างไร  ดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถ์เลขาว่าดังต่อไปนี้ครับ


          * เวลาห้าทุ่มเศษของค่ำวันนั้น  พม่าในค่ายที่ถูกล้อมได้ยกออกมาแหกค่ายหน้าที่พระยาพิพัฒโกษา  พระยาเพชรบุรี พลทัพไทยระดมปืนใหญ่น้อยยิงออกไปจากค่ายถูกพม่าบาดเจ็บล้มตายมาก  แหกออกมิได้ก็ล่าถอยกลับเข้าค่ายไป  ครั้นถึงเวลาสามยามพม่าก็ออกแหกค่ายหน้าที่หลวงราชนิกุล  พลทหารไทยก็ระดมยิงปืนใหญ่น้อยเข้าใส่ถูกพม่าบาดเจ็บล้มตายอีกเป็นอันมาก  เมื่อแหกค่ายมิได้ก็ล่าถอยกลับเข้าค่ายไป  คราวนี้ฝ่ายไทยเสียนายสุจินดาโดยถูกปืนพม่าเสียชีวิตคนเดียว


          วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  พระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งเสด็จดำเนินทัพไปหยุดอยู่ที่หลังค่ายหลวงมหาเทพ  ให้จักกายเทวรามัญร้องเข้าไปเป็นภาษาพม่าว่า  “ให้พม่าทั้งปวงออกมาหาโดยดีเถิด  ทรงพระกรุณาจะโปรดปล่อยไปให้สิ้น”  พม่านายทัพในค่ายร้องออกมาว่า  “ท่านล้อมไว้ครั้งนี้  ซึ่งจะหนีไปให้รอดจากความตายหามิได้แล้ว  แต่เอ็นดูไพร่พลทั้งปวงมากนักจะพลอยตายเสียด้วย  ถึงตัวเราผู้เป็นนายทัพจะตายก็ตามกรรมเถิด  แต่จะขอพบตละเกล็บสักหน่อยหนึ่ง” (ตละเกล็บ คือหัวหน้ามอญกบฏคนหนึ่งที่หนีมาจากอังวะ)  จึงดำรัสสั่งให้ตละเกล็บซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาพระรามนั้นขี่ม้ากั้นร่มระย้าออกไปเจรจากับพม่าตามความประสงค์  พม่าได้เขียนหนังสือเป็นภาษาพุกามใส่ใบตาลขดทิ้งออกมาจากในค่าย  อ่านและแปลออกเป็นคำไทยได้ความว่า


           “พระเจ้าช้างเผือก ณ กรุงศรีอยุธยามีบุญบารมีมากนัก  พระราชอาณาจักรผ่านแผ่ไปในชมพูทวีปทั้งปวง  ฝ่ายพระเจ้าปราสาททอง ณ กรุงรัตนบุระอังวะก็มีบุญบารมีมากเป็นมหัศจรรย์  และพระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่ายเป็นเวรแก่กัน  ใช้ให้ข้าพเจ้านายทัพนายกองทั้งปวงมากระทำสงครามกับท่านอัครมหาเสนาบดีกรุงศรีอยุธยาในครานี้  และข้าพเจ้าเสียทีแก่ท่าน  ท่านล้อมไว้  จะพากันออกไปก็มิได้  จะหนีไปก็ขัดสนนัก  อันจะถึงแก่ความตายบัดนี้  ใช่แต่ตัวข้าพเจ้านายทัพนายกองเท่านั้นหามิได้  จะตายสิ้นทั้งไพร่พลเป็นอันมาก  และการสงครามแห่งพระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจักสำเร็จสุดสิ้นแต่ครั้งนี้ก็หามิได้  ฝ่ายท่านอัครมหาเสนาบดีกรุงไทยก็ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  และพระราชกำหนดกฎหมายพิชัยสงคราม  ฝ่ายข้าพเจ้าก็เหมือนกัน  ดุจถืออาวุธและไม้ฆ้อนไว้ทั้งสองมือ  อันสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า  ซึ่งเกิดมาเป็นมนุษย์แต่ละคนนี้ยากนัก  ไฉนข้าพเจ้าทั้งปวงจะรอดชีวิต  ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นข้าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้น  ก็สุดแต่ปัญญาท่านอัครมหาเสนาบดีนั้นเถิด”


          สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงดำรัสสั่งให้เขียนหนังสือตอบทิ้งไปในค่ายพม่าเป็นอักษรรามัญฉบับหนี่งมีใจความสำคัญว่า

           “ถ้าท่านทั้งปวงออกมาถวายบังคมโดยดี  เราจะช่วยกราบทูลขอพระราชทานชีวิตไว้ทั้งนายและไพร่  ถ้ามิออกมาเราจะฆ่าเสียให้สิ้น”


          ในขณะนั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพจากเมืองพระพิษณุโลกก็ลงไปถึง  โดยมีกองทัพเมืองเหนือทั้งปวงทยอยลงไปถึงตามลำดับแล้วพร้อมกันเข้าเฝ้ากราบถวายบังคม  พระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาพระราชทานร่มแพรแดงมีธงระย้าด้ามปิดทองแก่เจ้าพระยาสุรสีห์  แล้วดำรัสสั่งให้ยกไปดูการ ณ ค่ายล้อมบ้านนางแก้ว


          ในขณะนั้นพระยาเพชรบุรีมิเป็นใจในการศึก  คิดย่อท้อต่อการสงคราม  พูดกับบ่าวว่าถ้าพม่ารบแหกค่ายออกมาได้รับรองมิหยุด  เราจะพากันหนีข้ามเขากลับไปเมือง  บ่าวนั้นนำคำพูดของพระยาเพชรบุรีมาฟ้องข้าหลวงให้กราบทูล  จึงดำรัสให้เอาตัวพระยาเพชรบุรีมาถามสอบ  ก็ยอมรับว่าได้พูดจริงตามนั้น  จึงตรัสสั่งให้มัดมือไพล่หลังแล้วเอาตระเวนรอบทัพ  จากนั้นให้ประหารชีวิตตัดศีรษะไปเสียบไว้หน้าค่ายอย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง


          พระยาพระรามรามัญใหม่ (ตละเกล็บ) กับหมื่นศรีสหเทพมากราบทูลว่า  ได้ไปเจรจากับพม่าโดยกล่าวว่า  ก่อนหน้านี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกพยุหโยธาทัพขึ้นไปตีเชียงใหม่ได้แล้ว  โปสุพลากับโปมะยุง่วนหนีไปได้  ภายหลังโปสุพลาจะฆ่าโปมะยุง่วนเสีย  โปมะยุง่วนหนีเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท  ทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้  คราวนี้ถ้าพม่าตัวนายจะออกมาถวายบังคมขอสวามิภักดิ์เราจะช่วยพิดทูลให้รอดชีวิต  แต่พม่าว่าตละเกล็บพึ่งมาเข้าเป็นข้าเจ้ากรุงศรีอยุธยาใหม่จะไว้ใจมิได้  จะใคร่พบท่านนายทัพนายกองผู้ใหญ่


          ทรงทราบดังนั้นจึงดำรัสให้กลับไปบอกแก่พม่าว่า  ให้แต่งพม่าตัวนายออกมาเถิด  จะพาไปพบท่านแม่ทัพผู้ใหญ่ตามปรารถนา  งุยอคุงหวุ่นจึงให้พม่านายกองคนหนึ่งกับไพร่ห้าคนออกมาหาตละเกล็บซึ่งเป็นพระยาพระราม  ดำรัสให้พระยาพระรามพาพม่านั้นไปให้พบพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์กับเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ที่ค่ายเหนือพระมหาธาตุวัดเขาพระ


          พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์จึงให้พระยาพระราม (ตละเกล็บ) บอกแก่พม่าว่า  “ถ้านายมึงออกมาถวายบังคมกูจะช่วยให้รอดจากความตาย  ถ้ามิออกมาจะฆ่าเสียทั้งสิ้น”  พม่าตัวนายจึงว่า  ขอให้ยับยั้งอยู่แต่ในเพลาพรุ่งนี้สามโมงเช้า  จะขอปรึกษาให้พร้อมกันก่อน  จึงให้ปล่อยพม่านายไพร่กลับเข้าค่ายไป”


          * การล้อมค่ายพม่าบ้านนางแก้วได้ผล  กองทัพพม่าที่ยกหนุนมาทางด่านท่าดินแดง  ปากแพรก  ไม่สามารถช่วยพวกตนในค่ายบ้านนางแก้วได้  พม่าในค่ายนางแก้วกำลังอดอยาก  ช้างม้าในค่ายก็อดตาย  พลพม่าต้องแล่เนื้อเถือหนังช้างม้ากินเป็นอาหารพอประทังชีวิต  พวกเขาพยายามแหกค่ายตีหักออกจะหนีไป  ก็ไม่สำเร็จ  เพราะถูกยุทธการ  “ปิดประตูตีแมว”  จึงเจรจาร้องขอชีวิตต่อไทย  ผลจะเป็นอย่างไร  อ่านต่อวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๙ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #229 เมื่อ: 10, พฤษภาคม, 2562, 10:56:57 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- นายค่ายพม่าเจรจายอมแพ้ -

ไทยรวมพลมากน้อยทยอยหนุน
ฝ่าย“งุยอคงหวุ่น”ไม่ผลุนผลัน
ส่งเจ็ดนายเจรจาความเมืองกัน
ให้คำมั่นยอมอายถวายบังคม


          อภิปราย ขยายความ..................................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งเสด็จไปถึงหน้าค่ายบ้านนางแก้ว (ปัจจุบันเรียกค่ายบางแก้ว) ตรัสให้จักกายเทวรามัญ  ร้องตะโกนเป็นภาษาพม่าให้พม่าทั้งปวงออกมาถวายบังคม  แล้วจะทรงพระกรุณาโปรดปล่อยไปทั้งสิ้น  พม่าร้องตอบว่าออกไปไม่ได้  ขอพบตละเกล็บชาวรามัญที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราม  เพื่อเจรจาความเมือง  หลังจากนั้นพม่าได้ส่งตัวนายออกมาเจรจา  ทรงให้พาไปพบพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์และเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  พระเจ้าหลานเธอตรัสรับรองว่าถ้านายค่ายพม่าออกมาถวายบังคม  จะขอรับรองให้รอดชีวิต  ตัวนายพม่าขอทุเลาว่า  เพลาพรุ่งนี้สามโมงเช้าจะให้คำตอบ  จึงปล่อยเข้าค่ายไป  วันนี้มาดูเรื่องนี้ต่อไปครับ


          * “ณ วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) กราบถวายบังคมลายกกองทัพไปตั้งค่ายล้อมพม่า ณ ค่ายเขาชะงุ้ม  จึงดำรัสให้กองทัพหัวเมืองทั้งปวงและข้าหลวงในกรุงยกไปตั้งล้อมอยู่หลายค่าย  ในวันเดียวกันนั้น  พระกุยบุรี  พระคลองวาฬ  บอกเข้ามากราบทูลว่า  พม่าประมาณสี่ร้อยเศษยกมาตีเมืองบางสะพาน  ได้รบกันเป็นสามารถ  พม่าแหกค่ายหนีออกไปแล้วเผาเมืองบางสะพานเสีย  ยกไปทางเมืองปทิว  จึงทรงร่างท้องตราให้ไปถึงพระเจ้าหลานเธอเจ้าบุญจันทร์ และพระยาธิเบศบดีครั้งกรุงเก่า  ซึ่งโปรดตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช  ให้อยู่รักษากรุงธนบุรีนั้นให้มีหนังสือตอบบอกไปว่า  ให้พระกุยบุรี  พระคลองวาฬ  รักษาด่านทาง  ให้ใส่ยาเบื่อในหนองน้ำบ่อน้ำที่ทางข้าศึกจะมานั้นทั้งหมด  อย่าให้กินน้ำได้ แล้วให้เอาพม่าเมืองเชียงใหม่ซึ่งจำไว้ในคุกสามคน  ทวายคนหนึ่งกับพม่าซึ่งปล้นค่ายเจ้าพระอินทรอภัย ณ เขาชั่วพรานคนหนึ่ง  ให้ลงพระราชอาชญาตัดมือตัดเท้าเสีย  แล้วให้เขียนหนังสือผูกแขวนคอไป  ใจความหนังสือนั้นว่า  “บอกแก่เจ้านายมันให้เร่งยกมาอีกเถิด”


          จากนั้นเสด็จไปทอดพระเนตรค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัย  และพระโหราธิบดี  ซึ่งตั้งรักษาสระน้ำน้ำอยู่ ณ เขาชั่วพรานนั้น  พระยารามัญวงศ์ (จักกรีมอญ) และหลวงบำเรอภักดิ์จับพม่าได้สองคนนำมาถวาย  ดำรัสให้ถามพม่าได้ความว่า  มาแต่ค่ายปากแพรก เพื่อมาส่งลำเลียง  พม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ ค่ายปากแพรกนั้นมีคนสามพันเศษ  ที่ยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ ณ เขาชะงุ้มนั้นสี่กองมีคนมากมายหลายพัน  ทรงทราบดังนั้นจึงดำรัสให้หลวงภักดีสงครามทหารกองนอก  ซึ่งอยู่ในกองพระยาเทพอรชุนที่ยกมาช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัยนั้น  ให้คุมพลทหารห้าร้อยยกไปเป็นกองโจร  ให้ถมห้วยหนองบึงบ่อที่มีน้ำตามทางมาแต่ปากแพรกเสียให้สิ้น  อย่าให้หลงเหลือเป็นกำลังข้าศึกได้  ถ้าถมไม่ได้ก็ให้เอาเปลือกไม้เบื่อเมา (เช่น หางไหลและสลัดได) และซากศพใส่ลงไป  อย่าให้กินน้ำได้  และให้ออกก้าวสกัดตีตัดลำเลียงพม่าอย่าให้ส่งถึงกัน


          ค่ำลงวันนั้นเวลาประมาณสองยาม  พม่าในค่ายเขาชะงุ้มทำค่ายวิหลั่นยกออกปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปถูกพม่าบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก  พลทหารพม่ารวนเรลงมาถึงค่ายเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์แล้วถอยกลับเข้าค่าย  ครั้นเพลาสามยามเศษพม่ายกออกเราะค่ายพระยานครสวรรค์จนรุ่ง  ทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปถูกพม่าบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก  รุ่งเช้าวันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๔ จึงเสด็จดำเนินทัพขึ้นไปช่วย  ดำรัสให้กองอาจารย์และฝีพายทนายเลือกเข้ารบ  ถ้าเห็นหนักที่ไหนให้เข้าช่วยที่นั้น  ครั้นเพลาสองโมงพม่าก็กลับเข้าค่าย  เมื่อเห็นว่าพม่ากลับเข้าค่ายแล้วก็เสด็จกลับมา ณ พลับพลาค่ายโคกกระต่าย


          * ณ วันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔  งุยอคุงหวุ่นนายทัพค่ายบ้านนางแก้ว  ให้พม่าตัวนาย ๗ คนออกมาเจรจาความเมืองด้วยพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์และเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ว่า  ถ้าท่านแม่ทัพกรุณาทูลขอชีวิตไว้ได้นายทัพนายกองทั้งปวงก็จะชวนกันออกมาถวายบังคมด้วยกันทั้งสิ้น  พระเจ้าหลานเธอและเจ้าพระยาจักรีก็รับปากแล้วปล่อยกลับไป ๒ คน  กักตัวไว้ ๕ คน  โดยกล่าวว่าครั้งก่อนลวงว่าจะออกมาทำให้กราบทูลพระเจ้าอยู่หัวเป็นเท็จไปครั้งหนึ่งแล้ว  ถ้าครั้งนี้เป็นเท็จอีกก็ช่วยอะไรไม่ได้


          เวลาเที่ยงวันนั้นกองทัพพระยานครราชสิมานำพลพันเก้าร้อยลงมาถึง  เมื่อเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมก็ทรงพระพิโรธ  ดำรัสคาดโทษว่ามาช้ากว่าหัวเมืองทั้งปวง  พระยานครราชสีมากราบทูลแก้ตัวว่า  เหตุที่มาช้าเพราะว่า  เลกหัวเมืองขึ้นที่เกณฑ์ไปรบเชียงใหม่นั้นหนีตาทัพกลับบ้าน  จึงให้ไปเที่ยวตามจับตัวกับทั้งบุตรภรรยา  ได้ทั้งชายหญิงรวมเก้าสิบหกคนด้วยกัน  ทรงฟังความดังนั้นแล้วตรัสว่า  เลกหนีตาทัพจะเอาไว้มิได้  ให้ตัดศีรษะเสียสิ้นทั้งบุตรภรรยา ณ ริมทางนอกค่ายโคกกระต่ายนั่นเอง”


          * อ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเรขามาถึงตอนนี้  ผู้อ่านบางท่านอาจจะคิดรู้สึกว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินออกจะทรงโหดเหี้ยมเกินไป  ที่กระทำทารุณกรรมต่อเชลยศึกพม่าด้วยการตัดมือตัดตีน  เขียนป้ายแขวนคอปล่อยตัวไปท้าทายข้าศึกศัตรู  และยังให้ใส่ยาเบื่อลงไปในแหล่งน้ำที่เป็นเส้นทางเดินทัพของพม่าข้าศึก  นอกจากยาเบื่อเมาแล้วยังให้นำซากศพคนและสัตว์ตายเน่าใส่ลงในน้ำมิให้ข้าศึกดื่มกินได้  ส่วน “เลก” คือทหารเกณฑ์ที่หนีการเกณฑ์เป็นทหารนั้น เมื่อจับตัวได้ก็ทรงให้ประหารชีวิตด้วยการตัดหัวเสียสิ้น

          สงครามก็ต้องโหดร้ายทารุณอย่างนี้แหละครับ

          เมื่องุยอคงหวุ่นแม่ทัพในค่ายบ้านนางแก้วส่งนายทัพนายกองคนสนิทออกมาเจรจาความเมือง  แล้วตกลงกันว่าจะยกออกมาถวายบังคมยอมแพ้แต่โดยดีแล้ว  จะจริงตามข้อตกลงหรือไม่  อ่านต่อในเช้าวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๐ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, กลอน123, น้ำหนาว, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #230 เมื่อ: 11, พฤษภาคม, 2562, 10:09:07 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- น้ำพระทัยพระเจ้าตาก -

ฝ่ายพม่ายอมแพ้แต่ไว้ชื่อ
ว่าข้าคือชาติเชื้อสิงห์เสือสม
เป็นชาติชายตายตนชื่อคนชม
มิยอมก้มหัวแพ้แก่ศัตรู

ยอมเคารพนบเกล้าเพียง“เจ้าตาก”
ด้วยทรงมากเมตตาไม่ลบหลู่
คนแพ้ยอมยอบลงทรงอุ้มชู
พร้อมเลี้ยงดูให้สุขทุกคนไป


          อภิปราย ขยายความ........................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงการรบกับพม่าที่บ้านนางแก้ว  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ทรงใช้ยุทธวิธีตั้งค่ายล้อมค่ายพม่า ตัดการลำเลียงทุกทางเพื่อให้พม่าอดอยากแล้วยอมจำนน  ผลจะเป็นอย่างไรมาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  ซึ่งกล่าวไว้ดังต่อไปนี้


           “ในวันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ นั้น งุยอคุงหวุ่นนายทัพพม่าก็ให้อุตมสิงหจอจัวปลัดทัพกับพม่าตัวนายหมวดนายกอง ๑๓ คน  นำเอาอาวุธต่าง ๆ มัดรวมออกมาเฝ้าพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์  พระเจ้าหลานเธอจึงให้พระยาพิพัฒโกษาและหลวงมหาเทพมัดอุตมสิงหจอจัวและพม่าตัวนายทั้งหมดนั้น  นำมาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ พลับพลาค่ายโคกกระต่าย  จึงดำรัสให้ถามพม่า ๑๔ คน  ทั้งหมดให้การว่า  “ข้าพเจ้านายทัพนายกองทั้งปวงปรึกษาพร้อมกันแล้ว  จึงนำเอาเครื่องศัสตราวุธออกมาถวายบังคม  ถ้าทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแล้ว  จะขอถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นข้าทูลละอองพระบาททำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป”


          จึงดำรัสว่า  “กูจะให้จำไว้ก่อนกว่าจะได้ตัวนายมาพร้อมกัน  ถ้าเอ็งสวามิภักดิ์โดยจริงแล้ว  แม้นสำเร็จราชการศึกได้เมืองอังวะจะให้รั้งเมืองอังวะ”  แล้วดำรัสให้พระยาพระราม (ตละเกล็บ) ข้าหลวงมีชื่อคุมตัวอุตมสิงหจอจัวกับพม่า ๑๓ คนกลับไป ณ ค่ายล้อม  ให้ร้องเรียกงุยอคุงหวุ่นและพม่านายทัพนายกองทั้งปวงให้ออกมา  พม่าตัวนายในค่ายร้องตอบออกมาว่าขอเวลาปรึกษากันก่อน  พวกข้าหลวงก็พาพม่า ๑๔ คนกลับมาค่ายหลวง  สำหรับอุตมสิงหจอจัว  ปลัดทัพพม่าที่ออกมาเจรจาครั้งนั้นจะได้ไหว้ผู้ใดก็หามิได้  ถวายบังคมแต่สมเด็จพระเจ้าตากสินเพียงพระองค์เดียว  ทรงดำรัสสรรเสริญว่า  “มิเสียทีเป็นขุนนางนายทหาร  น้ำใจองอาจรักษายศมิได้เข็ดขามย่อท่อ  ควรที่เป็นทหารเอก”  จากนั้นทรงสั่งให้เอาพม่าทั้ง ๑๔ คนไปจำไว้ที่ตะรางในค่ายหลวง


          * ณ วันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๔  โปรดให้พระยานครราชสิมายกทัพไปตั้งค่ายประชิดล้อมค่ายพม่า ณ เขาชะงุ้ม  ให้ปลูกร้านเอาปืนใหญ่ขึ้นยิงค่ายพม่า  พร้อมกันนั้นก็ดำรัสสั่งให้มหาดเล็กไปถอดอุตมสิงหจอจัวและพม่า ๑๓ คนคุมตัวไปเรียกงุยอคุงหวุ่น ณ ค่ายล้อมว่า  “ให้ออกมาเถิดพระเจ้าทรงธรรมไม่ฆ่าเสีย  พระราชทานเสื้อผ้าและเครื่องอุปโภคแก่เราเป็นอันมาก  อย่าสงสัยเลย”



          งุยอคุงหวุ่นร้องตอบออกมาว่า  “เราให้ไปเป็นหลายคน  ไม่มีผู้ใดกลับมาบอกว่าร้ายดีประการใด  มีแต่ตัวเจ้ามายืนร้องเรียกอยู่อย่างนี้จะเชื่อฟังมิได้”  อุตมสิงหจอจัวก็ร้องตอบไปว่า  “พวกเราที่ออกมานั้นพระเจ้าทรงธรรมทรงเอาตัวไว้  ถ้าหนีหายไปสักคนหนึ่งจะให้ใช้ถึง ๑๐ คน  แม้นเราจะให้กลับเข้าไปหาท่าน  ท่านมิกลับออกมาก็ดี  ฆ่าเสียก็ดี  เราจะได้พม่าที่ไหนไปใช้ให้พระเจ้าทรงธรรมเล่า  เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะทรงโกรธแล้วฆ่าเราเสีย  เพราะเหตุนี้เราจึงมิได้ให้ใครกลับเข้าไปแจ้งความแก่ท่าน”  งุยอคุงหวุ่นร้องตอบออกมาว่า  “จงปล่อยใครในจำนวนนั้นเข้ามาสักคนเถิด  ถ้าเราฆ่าเสียก็ดี  มิให้กลับออกไปก็ดี  จงให้อาวุธซึ่งล้อมอยู่นี้สังหารเราเถิด”  อุตมสิงหจอจัวจึงให้  แยละ ๑   แยข่องจอ ๑   เข้าไปในค่ายแล้วบอกว่า พระเจ้าทรงธรรมทรงพระเมตตาหาฆ่าเสียไม่  งุยอคุงหวุ่นก็ว่า  ผู้น้อยและไพร่ไม่ตาย  แต่ตัวเราเป็นผู้ใหญ่เห็นจะตายเป็นมั่นคง”  แล้วก็ปล่อยตัวแยละ  แยข่องจอ  ออกจากค่ายกลับไปหาอุตมสิงหจอจัว  พม่าทั้งหมดกลับเข้าเฝ้าและกราบทูลให้ทรงทราบ



          ทรงดำรัสว่าเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  จะคิดอ่านให้งุยอคุงหวุ่นออกมาไม่ได้ละหรือ  พวกข้าหลวงกราบทูลว่า  เห็นขัดสนอยู่  แต่ถ้าเอาปืนลูกไม้ยิงเข้าไปอีกจนพม่ากลัวมากเข้าก็น่าจะพากันออกมาจากค่ายทั้งหมด  พระองค์ดำรัสตอบว่า  อันจะฆ่าพม่าให้ตายนั้นง่าย  แต่จะเป็นบาปกรรมหาผลประโยชน์สิ่งใดไม่”  แล้วทรงให้คุมตัวพม่าทั้ง ๑๔ คนไปไว้ในตะรางตามเดิม


          * ค่ำวันนั้นเวลาทุ่มเศษ  ดำรัสให้ไปเอาตัวอุตมสิงจอจัวมาเฝ้า  ตรัสถามว่า  พม่าที่มารบครั้งนี้มีเพียงเท่านี้หรือว่าจะมียกหนุนมาอีก  อุตมสิงหจอจัวกราบทูลว่า  มีทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าอังวะ  พระเจ้าอังวะทรงตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ขณะนี้ยังตั้งอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ  มีรี้พลเป็นอันมาก  รอคอยฟังข่าว  ตะแคงมรหน่องและหม่องจ่ายิดนายทัพปากแพรกจะบอกขึ้นไปประการใด  เห็นทีว่าอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่จะยกหนุนลงมาอีกเป็นแน่



          ทรงฟังดังนั้นจึงมีตราให้ไปหานายทัพผู้ใหญ่มาร่วมปรึกษาราชการ  เมื่อแม่ทัพผู้ใหญ่มาประชุมพร้อมกันแล้วจึงตรัสปรึกษาว่า  “เราจะให้หาทัพหัวเมืองปากใต้สี่เมือง  คือ  เมืองจันทบูร ๑   เมืองไชยา ๑   เมืองนครศรีธรรมราช ๑   เมืองพัทลุง ๑   ให้ยกเข้ามาอีก  แม้นทัพใหญ่อะแซหวุ่นกี้ยกหนุนเพิ่มเติมมามาก  จะได้สู้รบมีกำลังมากขึ้น”  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) กราบทูลว่า   “อันทัพเมืองฝ่ายใต้ทั้งสี่เมืองนั้นระยะทางไกลนัก  เห็นจะยกมามิทัน  ถึงมาตรว่าอะแซหวุ่นกี้จะยกทัพใหญ่หนุนมา แต่ทัพในกรุงกับทัพเมืองเหนือซึ่งสู้รบอยู่บัดนี้  ก็เห็นจะพอต้านทานทัพอะแซหวุ่นกี้ไว้ได้”


          ทรงเห็นชอบตามที่เจ้าพระยาจักรีกราบทูลนั้น  จึงดำรัสต่อไปว่า  “อันเมืองฝ่ายใต้นั้นยังมิได้กระทำสงครามกับพม่า  บัดนี้ข้าวในฉางหลวงซึ่งจะจ่ายในกองทัพก็น้อยลง  จงให้มีตราเกณฑ์เอาข้าวสารเมืองนครศรีธรรมราชหกร้อยเกวียน  เมืองพัทลุง  เมืองไชยา  เมืองจันทบูร  สามเมืองให้เกณฑ์เอาเมืองละสี่ร้อยเกวียน  ถ้าข้าวขัดสนให้ส่งเงินคิดเป็นราคาข้าวเปลือกเกวียนละห้าตำลึง  ข้าวสารเกวียนละสิบตำลึงเข้ามาตามรับสั่ง”   แล้วให้หมายบอกนายทัพนายกองทั้งปวงว่า  “ถ้าพม่าเลิกหนีไปก็อย่าให้ยกติดตาม  เกรงเกลือกพม่าจะซุ่มซ่อนพลไว้โจมตีตามระยะทาง  ด้วยข้าศึกมิได้แตกเลิกถอยไปเอง  แม้นจะยกทัพตามไปก็ให้ก้าวสกัดไปเอาทางปากแพรกทีเดียว”


          * * แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าต้องพ่ายแพ้แน่นอน  งุยอคุงหวุ่นแม่ทัพพม่าค่ายนางแก้วยอมแพ้แต่ยังไม่ยอมมอบตัว  ให้อุตมสิงหจอจัวปลัดทัพพร้อมนายทัพนายกองจำนวนหนึ่งรวบรวมอาวุธยุทโธปกรณ์ผูกรวมกันแบกออกจากค่าย  เข้ามอบตัวแก่พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์  ในการเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้น  อุตมสิงหจอจัวเดินผ่านนายทัพนายกองขุนศึกขุนนางไทยอย่างทระนงองอาจ  หมอบคลานเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมแต่เฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินเท่านั้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้นจึงตรัสชมว่า  เขาสมกับเป็นชายชาติทหาร  ตรัสให้กลับไปเจรจาเกลี้ยกล่อมงุยอคุงหวุ่น  แต่ไม่สำเร็จ  เพราะแม่ทัพยังไม่ไว้วางใจ  สมเด็จพระเจ้าตากสินแสดงน้ำพระราชหฤทัยให้เห็นว่าทรงมีพระเมตตาต่อข้าศึกศัตรู  โดยตรัสว่า  “อันจะฆ่าพม่าให้ตายนั้นง่าย  แต่จะเป็นบาปกรรมหาผลประโยชน์สิ่งใดมิได้”   จึงทรงหาอุบายให้งุยอคุงหวุ่นแม่ทัพค่ายนางแก้วยอมมอบตัวต่อไป

          ติดตามอ่านต่อในวันพรุ่งนี้ครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๑ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, กลอน123, น้ำหนาว, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #231 เมื่อ: 12, พฤษภาคม, 2562, 10:17:42 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- ได้ค่ายนางแก้วโดยละม่อม -

“งุยอคุงหวุ่น”ครุ่นคิดหนัก
จะยอมหักคามือหรือหาไม่
แต่แล้วยอมพร้อมงออย่างท้อใจ
สู้แล้วไร้ผลดีมีแต่ทราม

จึงยอมแพ้แก่ไทยไม่สู้ต่อ
เข้าเฝ้าขอเป็นข้าแผ่นดินสยาม
พระเจ้าตากรับไว้ไม่คุกคาม
เลี้ยงดูตามฐานะจะพึงมี


          อภิปราย ขยายความ................................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงตอนที่งุยอคุงหวุ่นแม่ทัพค่ายบ้านนางแก้ว  ให้อุตมสิงหจอจัวปลัดทัพนำนายหมวดนายกอง ๑๓ คนพร้อมอาวุธต่าง ๆ มัดรวมกันออกจากค่ายมามอบตัว  เป็นการ “หยั่งเชิง” สมเด็จพระจ้าตากสิน  จึงทรงให้กักขังอุตมสิงหจอจัวไว้ระหว่างรอการเจรจาต่อรองกับงุยอคุงหวุ่น  วันนี้มาดูเรื่องราวต่อไปครับ


          ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔  ซึ่งเป็นเทศกาลตรุษวันต้น  จึงดำรัสให้ข้าหลวงคุมตัวอุตมสิงหจอจัวไป ณ ค่ายล้อมอีก  ไปร้องเรียกงุยอคุงหวุ่นให้ออกมาจากค่าย  งุยอคุงหวุ่นร้องตอบออกมาว่า  “ท่านจะเข้ามามัดก็มัดเอาเถิด  หรือจะเข้ามาฆ่าเสียก็ฆ่าเถิด  จะนิ่งตายอยู่ในค่าย  ไม่ออกไปแล้ว”  อุตมสิงหจอจัวจึงพากันกลับมากราบทูลตามนั้น  จึงให้อุตมสิงหจอจัวเขียนหนังสือเป็นอักษรพุกามมีใจความว่า  “ถ้างุยอคุงหวุ่นจะออกมาถวายบังคมก็ให้เร่งออกมา  แม้นมิออกมาพระเจ้าทรงธรรมจะให้พลทหารเข้าไปฟันเสียให้สิ้นทั้งสามค่าย”  จากนั้นเสด็จไปตั้งอยู่หลังค่ายหลวงมหาเทพ  ให้พม่าถือหนังสือเข้าไปถึงงุยอคุงหวุ่นในค่าย


          ครั้นถึงเพลาเย็นวันนั้น  งุยอคุงหวุ่นจึงมัดอาวุธที่มีอยู่ในค่ายทั้งสิ้นให้ไพร่พลขนออกมาถวาย  และสั่งมากราบทูลด้วยว่า  “ขอผัดอีกวันหนึ่ง  เพลาพรุ่งนี้เราจะออกไปเฝ้า  ให้อุตมสิงหจอจัวมารับเราด้วย”  สมเด็จพระเจ้าตากสินดำรัสให้พวกข้าหลวงคุมเอาตัวพม่าทั้งปวงกับอาวุธทั้งหมดส่งมายังค่ายหลวง  แล้วเสด็จกลับ


          * รุ่งขึ้นวันศุกร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  ดำรัสให้ข้าหลวงคุมตัวอุตมสิงหจอจัวออกไปรับงุยอคุงหวุ่นที่ค่ายล้อม  งุยอคุงหวุ่นให้เมี้ยนหวุ่น  กับ  ปคันเลชู  สองนายกับพม่ามีชื่อตัวนายอีก ๑๒ คนออกมาก่อน  อุตมสิงหจอจัวกับข้าหลวง ๑๔ คนนั้นมาเข้าเฝ้าถวายบังคม ณ ค่ายหลวง  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงพระราชทานเลี้ยงหน้าพระที่นั่งอิ่มหนำทุกคนแล้ว  เมี้ยนหวุ่นกับปคันเลชูกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้ามาทำสงครามเสียท่วงทีล้อมขังไว้ได้ถึงตายทั้งสิ้น  ขาดจากเป็นข้าพระเจ้าอังวะแล้ว  บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตไว้  จะขออาสาทำราชการกว่าจะสิ้น  จะขอพระราชทานไพร่พม่าสองคนกับตัวข้าพระพุทธเจ้า ๒ คนนี้  จะเข้าไปกล่าวเอาตัวงุยอคุงหวุ่นนายทัพออกมาให้ได้”


          จึงโปรดให้ตามคำกราบทูลนั้น  เมี้ยนหวุ่นกับปคันเลชูกลับเข้าค่ายไปเกลี้ยกล่อมงุยอคุงหวุ่นจนถึงเพลาบ่ายของวันนั้น  งุยอคุงหวุ่นกับเนมโยแมงละนรทา  ยุยยองโบ่  อคุงหวุ่นมุงโยะ  และพม่ามีชื่อตัวนายทั้งสิ้นกับหญิง ๒ คน  ทั้งไพร่พล ๑,๓๒๘ คน  กับม้าแดงสองม้า  ม้าดำหนึ่ง  ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นออกมาสิ้นทั้งสามค่าย  พวกข้าหลาวงก็นำเข้าเฝ้ากราบบังคมทูล  จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโภชนาหารให้เลี้ยงจนอิ่มหนำสำเร็จแล้ว  งุยอคุงหวุ่นจึงถวายทรัพย์สิ่งของเครื่องอุปบริโภคทั้งปวงซึ่งมีมานั้น  ทรงกล่าวว่า  “เราทำสงครามใช่จะปรารถนาเอาทรัพย์สิ่งสินหามิได้  ตั้งใจจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  และประชาราษฎรทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม”  จากนั้นทรงให้พวกข้าหลวงคุมพม่าทั้งปวงไปจำไว้ในตะราง”


          * ท่านผู้อ่านครับ  งุยอคุงหวุ่นนายทัพหน้าพม่าที่อะแซหวุ่นกี้ให้ยกมาก่อนนั้นได้ตั้งค่ายเป็นสามค่าย ณ บ้านนางแก้ว ราชบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสั่งให้แม่ทัพนายกองยกทัพไปตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓  จนถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  ไม่ทรงปรารถนาจะฆ่าพม่าให้ตาย  โดยต้องการจับเป็นทั้งหมด  พม่าถูกกักขังอยู่ในค่ายเป็นเวลานาน ถึง ๔๗ วัน  ก็ยอมจำนน  พากันออกมาถวายบังคมขอเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท  เมื่อทหารพม่าออกจากค่ายหมดแล้ว  จึงดำรัสให้พระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) คุมกองรามัญพันหนึ่งเข้าอยู่ในค่ายนั้นแทน  แล้วให้ร้องแห่พูดจาภาษาพม่า  เพื่อให้พวกพม่า ณ ค่ายเขาชะงุ้มได้ยิน  จะได้สำคัญว่าพวกเดียวกันยังอยู่ในค่ายบ้านนางแก้ว  แล้วจะตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้มให้จงได้  เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป  ติดตามอ่านกันต่อในวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๒ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, กลอน123, เนิน จำราย, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, เฒ่าธุลี, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #232 เมื่อ: 13, พฤษภาคม, 2562, 11:07:23 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- วีรกรรมนายขนมต้ม -

ปราบพม่าตะวันตกหมดยกกลับ
พร้อมรอรับศึกใหม่ไม่ถอยหนี
ฝ่ายเจ้ากรุงอังวะฉลองเจดีย์
จัดให้มีชกมวยด้วยโปรดปราน

“ขนมต้ม”เชลยไทยได้ขึ้นชก
เพียงต้นยกคู่ต่อยไม่คอยต้าน
พ่ายน็อกหมดสิบคนพ้นประมาณ
พม่าม่านม่อยระย่อไม่ต่อกร

เพราะหวังได้ไทยสิ้นแผ่นดินสยาม
จึ่งคุกคามเมืองเหนือ“กินเหยื่ออ่อน”
“อะแซหวุ่นกี้”จัดการตัดตอน
ยกทัพรอนรานทางกลางตอนบน


          อภิปราย ขยายความ................................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงตอนที่พระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าที่บ้านนางแก้ว  ราชบุรี  ทรงใช้เวลาล้อมค่ายอยู่ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  แม่ทัพนายกองพม่าจึงยอมจำนน  พากันออกมามอบตัวขอเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทนั้น


          วันนี้ใคร่ขอรวบลัดตัดความในในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า  ต่อจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงบัญชาการรบ  ตรัสให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  กับ  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  เจ้าพระยาสองพี่น้องดำเนินการเข้าตีค่ายพม่าที่เหลือทั้งหมดจนแตกยับเยิน  พม่าล้มตายลงเป็นอันมาก  จับตัวเชลยได้หลายพันคน  ที่รอดตายและรอดถูกจับตัวได้หนีกลับไปได้ไม่มากนัก  ศึกพม่าด้านเบื้องตะวันตกกรุงธนบุรีก็สงบลง  เมื่ออะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่พม่าที่มาตั้งบัญชาการรบอยู่ที่เมืองเมาะตะมะนั้นเห็นว่ากองทัพไทยกล้าแกร่งเกินกำลังจะต่อตีได้ง่าย ๆ  จึงไม่คิดสู้รบต่อไป  วันนี้มาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อครับ


          “เมื่อทรงปราบปรามพม่าที่ยกมาประชิดดินแดนไทยด้านตะวันตกได้ราบคาบแล้วจึงยกทัพกลับกรุงธนบุรี  กองทัพทั้งปวงก็เลิกทัพตามเสด็จกลับมาทั้งสิ้น  เมื่อถึงกรุงธนบุรีแล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจุ้ย เป็น กรมขุนอินทรพิทักษ์   ตั้งพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ เป็น กรมขุนอนุรักษ์สงคราม   ตั้งพระเจ้าหลานเธอบุญจันทร์ เป็น กรมขุนรามภูเบศ  แล้วพระราชทานรางวัลแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยโดยสมควรแก่ความชอบในราชการสงคราม  ส่วนม้าแดงสองม้าที่ได้มาแต่ค่ายพม่านั้นเห็นว่ามีฝีเท้าเร็วควรจะเป็นราชพาหนะพระที่นั่งได้  จึงโปรดตั้งชื่อขึ้นระวางเป็น เจ้าพระยาอาชาชาติ ๑   เจ้าพระยาราชพาหนะ ๑

          จากนั้น  ให้ปลูกพระเมรุ ณ วัดบางยี่เรือใต้เสร็จแล้ว  โปรดให้เชิญพระโกศบรมศพสมเด็จพระพันปีหลวง  กรมพระเทพามาตย์ (พระมารดา)  ใส่เรือพระที่นั่งกิ่ง  แห่โดยกระบวนนาวาพยุหไปโดยทางชลมารค  เชิญขึ้นสู่เมรุแล้วให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์หนึ่งพันรูปมาสดับปกรณ์  ถวายไตรจีวรบริขารต่าง ๆ มีงานมหรสพสามวัน  แล้วถวายพระเพลิง


          ถึง ณ เดือน ๑๐ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ (พ.ศ. ๒๓๑๘)  มีหนังสือบอกจากเมืองเชียงใหม่ลงมาว่า  โปสุพลา  โปมะยุง่วน  ซึ่งแตกหนีจากเชียงใหม่ไปอยู่เมืองเชียงแสนนั้น  มีข่าวว่าจะยกกลับมาตีเชียงใหม่อีก  จึงดำรัสให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เป็นแม่ทัพ  คุมทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงยกขึ้นไปช่วยราชการเมืองเชียงใหม่  และโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ยกกองทัพขึ้นไปช่วยด้วย  ถ้าตีทัพพม่าแตกแล้วให้ยกตามไปตีเมืองเชียงแสนทีเดียว


          * กล่าวฝ่ายพระเจ้าอังวะที่ยังคงอยู่ ณ เมืองย่างกุ้ง  ได้ทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกศธาตุเสร็จแล้วโปรดให้มีการฉลอง  ในงานฉลองนี้จัดให้มีการแข่งขันชกมวยด้วย  ได้มีขุนนางพม่ากราบทูลว่า  มีนักมวยคนไทยฝีมือดียิ่งนักถูกกวาดต้อนมาจากรุงศรีอยุธยา  จึงตรัสให้จัดหามาเข้าร่วมการแข่งขัน  ขุนนางนั้นจึงได้นายขนมต้มคนหนึ่งเป็นมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่า  เอาตัวมาถวายพระเจ้าอังวะ  พระเจ้ามังระจึงให้จัดพม่าคนมวยเข้ามาเปรียบนายขนมต้ม  เมื่อเห็นว่าเปรียบได้กันแล้วก็ให้ชกกันหน้าที่นั่ง  ผลปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็ชนะอย่างง่ายดาย  ดำรัสให้หาคนมวยอื่นมาเปรียบชกอีก  นายขนมต้มก็ชกทั้งพม่าและมอญแพ้ไปถึงเก้าคนสิบคนไม่มีใครสู้ได้


          พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้นก็ทรงยกพระหัตถ์ตบพระอุระ  ตรัสสรรเสริญฝีมือนายขนมต้มว่า  “ไทยมีพิษอยู่ทั่วตัว  แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้  คนเดียวชำนะถึงเก้าคนสิบคนฉะนี้  เพราะเจ้านายไม่ดีจึงเสียเมืองแก่ข้าศึก  ถ้าเจ้านายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุธยา”  ตรัสสรรเสริญแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่นายขนมต้มโดยสมควร


          ในเวลานั้นหนังสือบอกจากอะแซหวุ่นกี้ก็มีขึ้นไปกราบทูลว่า  กองทัพถูกไทยตีแตกหมดทุกกองทัพ  เสียรี้พลไปเป็นอันมาก  ไทยล้อมจับได้เป็นพันเศษ  และเมืองไทยบัดนี้มีกำลัง  เพราะหัวเมืองฝ่ายเหนือผู้คนยังบริบูรณ์มั่งคั่ง  จะขอกองทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือให้ได้เสียก่อน  ไทยจึงจะหย่อนกำลัง  ภายหลังจึงจะตีเอาเมืองบางกอกเห็นจะได้โดยง่าย  พระเจ้ามังระเห็นชอบด้วย  จึงให้เกณฑ์กองทัพเพิ่มเติมมาอีก  ให้อะแซหวุ่นกี้ยกไปตีเมืองฝ่ายเหนือให้ยับเยินจงได้  แล้วเสด็จกลับคืนไปเมืองอังวะ


          อะแซหวุ่นกี้รับพระราชบัญชาแล้วจัดแจงแต่งกองทัพ  ให้แมงแยยางูผู้น้องกับกะละโบ่ ๑   ปัญญีแยข่องจอ ๑   ปัญญีตจวง ๑   ถือพลสองหมื่นเป็นกองหน้า  ตัวอะแซหวุ่นกี้เป็นโบชุกแม่ทัพ  กับ  ตะแคงมรหน่อง  และเจ้าเมืองตองอู  ถือพลหมื่นห้าพัน  พร้อมด้วยช้างม้าสรรพาวุธพร้อมเสร็จ  เมื่อจัดเตรียมทัพพร้อมแล้ว  ถึง ณ เดือน ๑๑  ก็ยกกองทัพจากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ไทยทางด่านเมืองตาก  แล้วหยุดทัพอยู่ที่นั้น  กรมการเมืองตาก  เมืองกำแพงเพชร  เห็นกองทัพพม่ายกมามากเหลือกำลังจะต่อรบก็พาครัวหนีเข้าป่า  แล้วส่งหนังสือบอกไปถึงกองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  กับ  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  และบอกลงมายังกรุงธนบุรีกราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ”


          * นายขนมต้มเป็นชาวอำเภอบางบาล  นักมวยดังในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา  เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึก  เขาได้แสดงฝีมือให้ปรากฏต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้าอังวะ  ปราบนักมวยพม่ามอญราบคาบด้วยการชนะน็อกทั้งหมดมากกว่า ๑๐ คน  จนพระเจ้าอังวะทรงตบอกกล่าวชม  แถมแขวะมาถึงไทยว่า  “ ไทยมีพิษอยู่ทั่วตัว ...ฯลฯ...”  ก็เห็นจะจริงดังคำตรัสของพระองค์นะครับ


          อะแซหวุ่นกี้เห็นว่ากรุงธนบุรีเข้มแข็งเพราะมีกำลังอันเข้มแข็งทางเหนือให้การสนับสนุนค้ำจุนอยู่  หากเข้าตียึดหัวเมืองฝ่ายเหนือได้หมดแล้ว  กรุงธนบุรีก็ไม่รอดมือไปได้  จึงขออนุญาตพระเจ้าอังวะยกทัพใหญ่เข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยมุ่งตรงพิษณุโลกเป็นเป้าหมายสำคัญ  สมเด็จพระเจ้าตากสินจะทรงรับมือศึกใหญ่นี้อย่างไร  อ่านต่อวันพรุ่งนี้ครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี่ผึ้งไทย
๑๓ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, เฒ่าธุลี, เนิน จำราย, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #233 เมื่อ: 14, พฤษภาคม, 2562, 10:47:30 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- คำทำนายอะแซหวุ่นกี้ -

“อะแซหวุ่นกี้”เข้าตีดะ
ตากเลยละสุโขทัยไม่ตกหล่น
ล้อมพิษณุโลกแล้วตีวน
สู้กันจนอุตลุดสุดฝีมือ

เจ้าพระยาจักรีฝีมือแกร่ง
ขุนพลแห่งพม่ายอมน้อมนับถือ
กล่าวทำนายว่าจะเรืองระบือ
ต่อไปคือแน่ชัดกษัตริย์ไทย


          อภิปราย ขยายความ...........................

          เมื่อวันวานนี้ได้บอกกล่าวเล่าความถึงตอนที่  พระเจ้าอังวะจัดงานฉลองยอดฉัตรพระมหาเจดีย์เกศธาตุ (ชเวดากอง) ให้มีการชกมวย  และนำนายขนมต้มเชลยชาวไทยที่เป็นนักมวยฝีมือดีของไทย  ขึ้นชกกับนักมวยพม่ามอญ  แล้วผลปรากฏว่านายขนมต้มชนะน็อกรวด ๑๐ คนกว่า  ทรงตบพระอุระตรัสชมเชยแล้วเสด็จกลับอังวะ  โปรดให้อะแซหวุ่นกี้จัดทัพใหญ่ยกเข้าตีไทยทางภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน  มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพิษณุโลกของเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  วันนี้อ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปครับ


          * “ทางเมืองเหนือนั้น  กองทัพโปสุพลา  โปมะยุง่วน  ยกจากเชียงแสนเข้าประชิดเมืองเชียงใหม่  ครั้นกองทัพเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ยกขึ้นไปถึง  ทัพพม่าก็เลิกถอยไป  ขณะที่เจ้าพระยาพี่น้องทั้งสองจะยกทัพติดตามไปตีเชียงแสนก็พอดีได้รับหนังสือแจ้งว่ามีกองทัพใหญ่พม่ายกมาทางเมืองตาก  เจ้าพระยาทั้งสองจึงรีบยกทัพกลับมาถึงกลางทางเหนือเมืองสุโขทัย  แล้วหยุดพักอยู่ที่วัดปากน้ำในเขตเมืองสวรรคโลก  กองทัพอะแซหวุ่นกี้ยกมาติดเมืองสวรรคโลกแล้วจับกรมการเมืองได้สองคน  อะแซหวุ่นกี้ให้ถามว่า  พระยาเสือ  เจ้าเมืองพิษณุโลกอยู่หรือไม่  กรมการเมืองตอบว่า  ไม่อยู่  ไปเมืองเชียงใหม่  อะแซหวุ่นกี้จึงว่า  “เจ้าของเขาไม่อยู่  อย่าเพ่อไปเหยียบเมืองพิษณุโลกเขาเลย“  จึงให้กองทัพหน้ายกลงมาตั้งค่าย ณ บ้านกงธานี (คือเมืองสุโขทัยธานีปัจจุบัน)

           (“พระยาเสือ”  ที่อะแซหวุ่นกี้เรียก หมายถึง  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ที่เรียกว่าพระยาเสือนั้น  ด้วยว่าเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นดูจะรบแบบเหี้ยมหาญดุดันจนเป็นที่ขยาดของทหารพม่า  ผู้คนจึงตั้งฉายาให้ว่า “พระยาเสือ”)


          เจ้าพระยาทั้งสองทราบดังนั้น  เจ้าพระยาสุรสีห์  จึงปรึกษาเจ้าพระยาจักรี  ว่าควรจะยกไปตีพม่าดีหรือไม่  เจ้าพระยาจักรีว่า  อย่าไปตีเลย  พม่าคงจะยกไปตีเมืองเรา  เรากลับไปจัดแจงบ้านเมืองไว้รับข้าศึกดีกว่า  แต่เจ้าพระยาสุรสีห์ว่าจะขอไปตีดูกำลังข้าศึก  เจ้าพระยาจักรีก็ว่าเจ้าจะไปตีก็ไปเถิด  ข้าจะไปจัดแจงบ้านเมืองไว้ท่า  ว่าแล้วก็ยกเข้าเมืองพิษณุโลกจัดแจงป้องกันเมือง  กวาดต้อนครอบครัวเข้าไว้ในเมือง  แล้วให้กองพระยาสุโขทัย  พระยาอักษรวงศ์  พระยาพิชัยสงคราม  ยกไปรับทัพพม่า ณ บ้านกงธานี


          เจ้าพระยาสุรสีห์ยกไปตั้งค่าย ณ บ้านไกรป่าแฝก  พม่าทราบดังนั้นก็ยกทัพมาล้อมไว้  แล้วขนค่ายตับมาเป็นอันมากตั้งค่ายล้อม  เปิดช่องไว้แต่ด้านจะลงแม่น้ำ  เจ้าพระยาสุรสีห์ตั้งค่ายอยู่สามวันเห็นทัพพม่ามากเหลือกำลังจะต่อรบ  ก็ถอยทัพมาทางด้านที่เปิดไว้  รีบมาเข้าเมือง  กองทัพอะแซหวุ่นกี้ยกเข้าตีเมืองสวรรคโลก  เมืองสุโขทัย  กองทัพไทยที่ยกมาตั้งรับใต้บ้านกงธานีแตกพ่าย  แล้วจัดทัพย่อยแยกย้ายไปตีเมืองพิชัย  ทัพใหญ่ยกเข้าถึงเมืองพระพิษณุโลกในเดือนอ้ายข้างขึ้น ให้ตั้งค่ายรายล้อมอยู่ห่างเมืองทั้งสองฟาก  เจ้าพระยาทั้งสองก็เกณฑ์พลทหารขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินปราการรอบเมือง  ป้องกันเมืองเป็นสามารถ  ให้ทำสะพานเรือกข้ามแม่น้ำกลางเมืองสามแห่ง


          อะแซหวุ่นกี้ขึ้นขี่ม้ากั้นร่มระย้าออกเลียบหน้าค่าย  มีพลทหารถือปืนนกสับแห่หน้าสามพัน  ทหารถือทวนตามหลังพันหนึ่ง  เจ้าพระยาสุรสีห์ยกพลทหารออกจากเมืองเข้าโจมตีทัพพม่า  พม่าก็ต่อรบ  ทั้งสองฝ่ายรบกันถึงตะลุมบอน  ทัพไทยต้านทานเหลือกำลังก็ถอยเข้าเมือง  วันรุ่งขึ้น  อะแซหวุ่นกี้ก็ยกพลออกเลียบค่ายเหมือนวันก่อน  เจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นดูบนเชิงเทินแล้วสั่งให้ทหารออกโจมตีก็พ่ายกลับเข้าเมืองอีก  เจ้าพระยาจักรี จึงว่า

          “ฝีมือทหารเจ้าเป็นแต่ทัพหัวเมือง  ซึ่งจะต่อรบกับฝีมือทัพเสนาบดีนั้นไม่ได้  พรุ่งนี้ข้าจะออกตีเอง”


          วันรุ่งขึ้นเป็นคำรบสาม  อะแซหวุ่นกี้ยกออกเลียบค่ายอีก  เจ้าพระยาจักรีก็ยกพลทหารออกจากเมืองเข้าโจมตีทัพอะแซหวุ่นกี้แตกถอยกลับเข้าค่าย  และอะแซหวุ่นกี้ก็ยกออกเลียบค่ายอย่างนั้นทุกวัน  เจ้าพระยาจักรีก็ยกพลออกโจมตีทุกวัน  ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะถึงเก้าวันสิบวัน  อะแซหวุ่นกี้จึงให้ล่ามร้องบอกว่า  “เพลาพรุ่งนี้เราอย่ารบกันเลย  ให้เจ้าพระยาจักรีแม่ทัพออกมา  เราจะขอดูตัว”


          ครั้นรุ่งขึ้นเช้า  เจ้าพระยาจักรีจึงขี่ม้ากั้นสัปทนยกพลทหารออกไปยืนม้าให้อะแซหวุ่นกี้ดูตัว  อะแซหวุ่นกี้จึงให้ล่ามถามถึงอายุว่าเท่าใด  บอกไปว่าอายุได้สามสิบเศษ  จึงถามถึงอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง  ล่ามบอกว่า  อายุได้เจ็ดสิบสองปี  แล้วอะแซหวุ่นกี้ก็พิจารณาดูรูปลักษณะเจ้าพระยาจักรี  แล้วสรรเสริญว่า  “รูปก็งามฝีมือก็เข้มแข็ง  สู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้  จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้  ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้”  แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับหนึ่ง  กับสักลาดพับหนึ่ง  ดินสอแก้วสองก้อน  มาให้เจ้าพระยาจักรี  แล้วว่าจงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคง  เราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้  และในเพลาวันนั้น  ไทยกับพม่าก็เข้าไปกินข้าวในค่าย  มิได้ทำอันตรายแก่กัน  แล้วต่างคนก็กลับไปค่ายไปเมือง


          เจ้าพระยาจักรี   เจ้าพระยาสุรสีห์  ก็บอกลงมากราบทูล ณ กรุงธนบุรีว่า  ทัพพม่ายกมาติดเมืองพระพิษณุโลก  แต่ ณ เดือนยี่ข้างขึ้นนั้นแล้ว"


          *ท่านผู้อ่านครับ  ความตอนนี้มีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า  อะแซหวุ่นกี้ใช้จิตวิทยาในการสงคราม โดยทำนายว่าเจ้าพระยาจักรีจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน  เป็นการยุแหย่ให้เกิดความแตกแยกระหว่างเจ้าพระยาจักรีกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน  เท็จจริงอย่างไรก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะใช้ปัญญาพิจารณาเอาเองนะครับ


         อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่า  ดูตัวเจ้าพระยาจักรีแล้ว  สำทับว่าจงรักษาเมืองพิษณุโลกให้ดีเราจะตีหักเอาให้จงได้  เป็นการแสดงความมั่นใจว่าต้องได้เมืองพิษณุโลกเป็นแน่  เมื่อเป็นดังนั้น  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  จะจัดการป้องกันเมืองอย่างไร  ได้หรือไม่  ติดตามอ่านต่อวันพรุ่งนี้นะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพืธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๔ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, ก้าง ปลาทู, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #234 เมื่อ: 15, พฤษภาคม, 2562, 11:32:54 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ยกทัพหลวงขึ้นไปรบพม่า -

สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพหลวง
ด้วยเป็นห่วงสองแควรับศึกใหญ่
เสด็จโดยชลมารคกรากกรำไป
ถึงตอนใต้พิษณุโลกยกขึ้นพลัน

ตั้งค่ายรบเรียงรายกระจายทั่ว
ให้ตื่นตัวตีพม่าอย่าย่อยั่น
บางค่ายรบอุตลุดพัลวัน
จนตั้งมั่นคงพอพร้อมต่อตี


          อภิปราย ขยายความ......................................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวความถึงตอนที่ที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย  โดยเข้ามาทางเมืองตากแล้วยึดเมืองสวรรคโลก  สุโขทัย  และเข้าล้อมเมืองพระพิษณุโลก  รบกับเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ผลัดกันแพ้และชนะถึงเก้าครั้งสิบครั้ง  ในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ประกาศพักรบ  ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรีแล้วกล่าวคำทำนายว่า  “ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้”  จากนี้เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  ดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ


           “สมเด็จพระเจ้าตากสิน  ดำรัสให้เกณฑ์กองทัพทั้งทางบกทางเรือ  พร้อมด้วยช้างม้าสรรพาวุธครบครัน  พลฉกรรจ์ลำเครื่องจีนไทยเป็นคนหมื่นสองพันสองร้อยเจ็ดสิบคน  แล้วดำรัสถามพม่าตัวนายที่ยอมจำนนขอเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหมดจากค่ายบ้านนางแก้วนั้นว่า  จะให้ไปทำสงครามกับพม่าที่ยกมาใหม่นั้นจะไปหรือไม่  งุยอคุงหวุ่น  อุตมสิงหจอจัวและนายทัพพม่าทั้งปวงตอบเหมือนกันว่า  “หากโปรดให้ไปรบกับข้าศึกอื่น  จะขออาสาไปทำสงครามกว่าจะสิ้นชีวิต แต่จะให้ไปรบกับพม่าพวกเดียวกันนั้นเห็นเหลือสติปัญญา  จะไปดูหน้าพวกกันกระไรได้  มีความละอายนักจนใจอยู่แล้ว”


          เมื่อทรงทราบคำกราบบังคมทูลดังนั้นจึงดำรัสว่า  มันยังไม่ภักดีแก่เราโดยแท้  ยังนับถือเจ้านายมันอยู่  และเราจะยกไปทำการสงคราม  ผู้คนอยู่รักษาบ้านเมืองน้อย  พวกมันมาก  จะแหกคุกออกกระทำจลาจลแก่บ้านเมืองข้างหลัง  จะเอาไว้มิได้ ดำรัสให้เอาไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดทอง (วัดสุวรรณฯ ปัจจุบัน) คลองบางกอกน้อยทั้งสิ้น  พร้อมกับให้ประหารแม่ทัพพวกอ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่คนที่จำคุกไว้นั้นด้วย  จากนั้นโปรดให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์) ไปอยู่รักษาเมืองเพชรบุรี  ป้องกันด่านทางข้างตะวันตก  ให้หมื่นศักดิ์บริบาลลงเรือเร็วขึ้นไปสืบราชการศึก ณ เมืองพระพิษณุโลก


          * ณ วันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ (พ.ศ. ๒๓๑๘)  สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบสามวา  ยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรีไปโดยทางชลมารค  หยุดประทับแรม ณ พลับพลาหน้าฉนวนน้ำหน้าพระราชวังหลวงกรุงเก่า  หมื่นศักดิ์บริบาลซึ่งขึ้นไปสืบราชการศึก ณ พิษณุโลกนั้นกลับลงมากราบบังคมทูลว่า  ทัพพระยาสุโขทัย  พระยาอักษรวงศ์เมืองสวรรคโลก  พระยาพิชัยสงคราม  ที่ไปตั้งค่ายรบพม่า ณ บ้านกงธานีนั้นได้เลิกทัพถอยลงมาแล้ว  จึงให้เร่งยกทัพเรือขึ้นไป  ครั้นเสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครสวรรค์จึงดำรัสให้พระยาราชาเศรษฐีคุมกองจีนสามพันตั้งค่ายรักษาอยู่ที่นั้น


          ณ วันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓  กองทัพหลวงเสด็จถึงค่ายปากน้ำพิงตะวันออกเสด็จขึ้นประทับ ณ พลับพลาในค่าย  แล้วดำรัสให้กองพระยาราชสุภาวดียกขึ้นไปตั้ง ณ บ้านบางทรายเป็นหลายค่าย  รายขึ้นไปตามริมน้ำ  ให้กองเจ้าพระยาอินทรอภัยยกขึ้นไปตั้งค่าย ณ บ้านท่าโรง ให้กองพระยาราชภักดียกไปตั้งค่าย ณ บ้านกระดาษ ให้กองเจ้าหมื่นเสมอใจราชยกไปตั้งค่าย ณ วัดจุฬามณี  และให้ตระเวนบรรจบถึงกัน  ให้กองพระยานครสวรรค์ยกไปตั้งค่ายรายโอบค่ายพม่าขึ้นไปแต่วัดจันทร์จนถึงเมืองพระพิษณุโลก  ให้ชักปีกกาตลอดถึงกันทุก ๆ ค่าย  แล้วให้พระศรีไกรลาสคุมไพร่พลห้าร้อยไปทำทางหลวง ณ ปากน้ำพิงขึ้นไปจนถึงเมืองพระพิษณุโลก


          ณ วันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓  หลวงดำเกิงรณภพไปสืบข่าวราชการมากราบทูลว่า  ทัพพม่ายกลงมาฟากตะวันตกเข้าตีค่ายพระยาราชภักดี ณ บ้านกระดาษ  ทำอาการประหนึ่งจะเข้าตั้งค่ายประชิดแล้วเลาะล่วงค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยลงมาจนถึงค่ายพระยาราชสุภาวดี ณ บ้านบางทราย  ครั้นเพลาค่ำก็เลิกถอยไป  ทรงทราบดังนั้นจึงดำรัสให้พระยาวิจิตรนาวี  หลวงดำเกิงรณภพ  หลวงรักษาโยธา  หลวงภักดีสงคราม  คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียนสามสิบสี่บอกลากขึ้นไปใส่ค่ายบางทราย  ครั้นเพลาค่ำทัพพม่ายกมาตั้งค่ายประชิดลงหน้าค่ายเจ้าหมื่นเสมอใจราช ณ วัดจุฬามณีสามค่าย  ตำรวจไปสืบราชการมากราบทูล  จึงดำรัสให้พระยาธรรมไตรโลก  พระยารัตนพิมล  พระยาชลบุรี  คุมพลทหารอยู่รักษาค่ายหลวง ณ ปากน้ำพิงฟากตะวันออก


          ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓  จึงเสด็จยกพยุหยาตราทัพหลวงขึ้นไปประทับ ณ ค่ายมั่นวัดบางทรายฝั่งตะวันออก  ค่ำวันนั้นทัพพม่ายกเข้าตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัย ณ บ้านท่าโรงฟากตะวันตก  ได้รบกันเป็นสามารถ  ตำรวจไปสืบราชการนำความมากราบทูล  จึงให้หลวงดำเกิงรณภพยกเอาพลเกณฑ์หัดสองร้อยลงเรือข้ามน้ำไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัย  ทัพพม่าก็เลิกถอยไป  วันรุ่งขึ้นจึงลงเรือพระที่นั่งข้ามไปทอดพระเนตรค่ายพระโหราธิบดีฟากตะวันตก  เห็นผิดกับพระราชดำริ  ตั้งอยู่แต่ริมน้ำเอาต้นไม้ใหญ่ไว้นอกค่าย  แม้นพม่าเข้ามาแฝงต้นไม้ยิงก็จะได้  ขึ้นบนต้นไม้ยิงปรำลงมาในค่ายก็จะเสียท่วงทีแก่ข้าศึก  จึงดำรัสสั่งให้รื้อค่ายเก่าเสียแล้วตั้งใหม่  ให้โอบต้นไม้ใหญ่ไว้ในค่ายกว้างออกไปกว่าค่ายเก่า


          ในวันเดียวกันนั้นพระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) ยกกองมอญขึ้นไปตั้งค่ายประชิดค่ายพม่าเหนือเมืองพระพิษณุโลกฟากตะวันออก  พม่ายกออกตีได้รบกันเป็นสามารถ  พวกกองมอญยิงปืนตับต้องพม่าล้มตายลำบากไปเป็นอันมากแล้วถอยทัพเข้าค่าย  กองรามัญจึงตั้งค่ายลงได้


          * ไม่ทรงโหดเหี้ยมเกินไปนักหรอกนะครับ  ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสั่งประหารเชลยศึกพม่าที่จับมาจากค่ายบ้านนางแก้ว  เพราะตรัสถามแล้วว่าจะร่วมรบพม่าที่เมืองเหนือด้วยหรือไม่  พวกเขาก็ตอบตามความเป็นจริง  หากไม่ประหารก็จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติดังที่มีพระราชดำริ  ทรงทำถูกต้องดีแล้ว  หลังจากนั้นเสด็จพยุหยาตราโดยชลมารค  ถึงบ้านปากพิงใต้เมืองพิษณุโลก  ทรงยกพลขึ้นบกตั้งค่ายรายขึ้นเป็นหลายค่าย  พม่าก็ยกเข้าโจมตี  มีการรบกันประปราย  แต่ก็ดุเดือดทุกครั้ง  เรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไป  ตามอ่านวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขั้ผึ้งไทย
๑๕ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, กลอน123, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #235 เมื่อ: 16, พฤษภาคม, 2562, 10:32:25 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- ขุดอุโมงค์เข้ารบกัน -

พม่าไทยขุดอุโมงค์โยงทางรบ
ครั้นเดินพบใต้ดินไม่ผินหนี
เข้าแทงฟันกันตุ้บทิ่มทุบตี
ตายเป็นผีมากมายอยู่ใต้ดิน

รบใต้ดินบนดินไม่สิ้นสุด
อุตลุดชุลมุนสะท้านถิ่น
พระเจ้าตากสั่งก้องป้องธรณินทร์
ทุกคนยินดีพร้อมรบยอมตาย


          อภิปราย ขยายความ........................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวเล่าเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ทรงยกยกทัพหลวงโดยทางเรือขึ้นไปรบพม่าที่กำลังเข้าโจมตีเมืองพิษณุโลก  ทรงยกทัพไปถึงบ้านปากพิงใต้เมืองพิษณุโลกก็ยกพลขึ้นบก  ตรัสให้ตั้งค่ายรายเรียงตามลำน้ำน่าน  พม่ายกกองกำลังเข้าตีค่ายที่ตั้งเสร็จและไม่เสร็จหลายค่าย  ไทยสู้รบอย่างดุเดือดทุกค่าย  พม่าก็ล่าถอยไป  วันนี้มาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปครับ


           ฝ่ายในเมืองพระพิษณุโลกนั้น  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ก็ยกพลทหารออกตั้งค่ายประชิดค่ายพม่านอกเมืองฟากตะวันออก  พม่ายกออกรบชิงเอาค่ายได้  เจ้าพระยาสุรสีห์ขับพลทหารหนุนเข้าไป ฟาดฟันทหารพม่าตีเอาค่ายคืนได้  พม่าล้มตายและลำบากไปเป็นอันมาก


          แต่บรรดาค่ายพม่าซึ่งตั้งค่ายรายประชิดกันอยู่นั้น  พม่าขุดอุโมงค์เดินใต้ดินเข้ามารบทุกค่าย  ฝ่ายข้างทหารไทยก็ขุดอุโมงค์ออกไปจากค่ายทุก ๆ ค่าย  และอุโมงค์ทะลุถึงกัน  ได้รบกันกับพม่าในอุโมงค์  ฆ่าฟันกันล้มตายเป็นอันมาก  เจ้าพระยาจักรี    เจ้าพระยาสุรสีห์  ให้ทหารตัดศีรษะพม่ามาถวายเนือง ๆ  จึงพระราชทานปืนใหญ่รางเกวียนยี่สิบบอกให้ลากขึ้นไป ณ ค่ายประชิด  ให้ยิงทลายค่ายพม่า

          ขณะนั้น  พระยานครสวรรค์แต่งคนไปลาดตระเวน  จับได้ไทยเชลยพม่าสองคนให้การว่า  อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาครั้งนี้มีกำลังพลสามหมื่นห้าพัน  ทัพหลังคนห้าพันตั้งอยู่บ้านกงธานี  อะแซหวุ่นกี้และแมงแยยางูผู้น้อง  กับ  กะละโบ่  และเจ้าเมืองตองอู  ถือพลสามหมื่นยกมาติดเมืองพระพิษณุโลก  บัดนี้นายทัพพม่าทำการขัดสนนัก  เห็นอาการจะเลิกถอยไป  พระยานครสวรรค์จึงบอกส่งไทยเชลยสองคนกับคำให้การมาถวาย ณ ค่ายหลวง


          ณ วันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ กลางคืนเวลาประมาณสี่ทุ่ม  สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไป ณ ค่ายมั่นใกล้วัดจันทร์  ดำรัสให้กองพระยายมราชและพระยานครราชสิมา  พระยาพิชัยสงคราม  ยกไปช่วยพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายประชิดโอบค่ายพม่า ณ วัดจันทร์นั้น  ครั้นเพลาสิบเอ็ดทุ่ม  กองทัพไทยก็จุดปืนใหญ่ยิงทลายค่ายพม่า  แล้วยกออกปล้นทุกหน้าค่ายพม่า  พวกพม่าก็ยกหนุนกันออกมารบจนเพลารุ่ง  นายทัพทั้งปวงจะหักเอาค่ายพม่ามิได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย


          วันพุธ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓  จึงดำรัสปรึกษาท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า  ทัพหลวงจะตั้งมั่นอยู่ที่นี่  เห็นราชการจะเนิ่นช้า  จะถอยลงไปตั้งอยู่ ณ ค่ายท่าโรง  แล้วจะเกณฑ์กองทัพยกไปทางฟากตะวันตกให้เข้าตั้งค่ายประชิดโอบหลังค่ายพม่าไว้  และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงก็เห็นด้วยกับพระราชดำริ  ครั้นเพลาสี่ทุ่มจึงเสด็จถอยทัพหลวงลงไปตั้งอยู่ ณ ค่ายท่าโรง  วันรุ่งขึ้นจึงให้ข้าหลวงไปหากองทัพพระยานครสวรรค์ที่ค่ายวัดจันทร์  และกองพระโหราธิบดีกับกองมอญพญากลางเมือง ณ ค่ายบางทราย  ให้ยกลงมา ณ ค่ายหลวง


          ดำรัสให้พระยามหามนเทียร  เป็นแม่ทัพถือพลห้าพัน  ให้กองพระยานครสวรรค์เป็นทัพหน้า  หลวงดำเกิงรณภพ  หลวงรักษ์โยธา  คุมพลทหารกองใน  กองนอก  กองเกณฑ์หัด  สามพันสี่ร้อยเป็นกองหนุน  ยกไปตั้งค่ายประชิดติดค่ายพม่า แล้วดำรัสให้พระราชสงครามลงไปเอาปืนพระยาราชปักษี  ปืนฉัตรชัย  ณ กรุงธนบุรี  บรรทุกเรือขึ้นมาให้มาก”


          * ท่านผู้อ่านครับ  การรบกับพม่าที่ยกมาตีเมืองพระพิษณุโลกเป็นการรบที่ดุเดือดมากที่สุด  รบกันถึงขนาดที่พม่าและไทยลงทุนลงแรงขุดอุโมงค์เดินทัพใต้ดินเข้ารบกัน  เป็นการรบทั้งบนดินและใต้ดินอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย  เส้นทางเดินทัพและสถานที่ตั้งค่ายทัพพม่าทัพไทยนั้น  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้อย่างชัดเจน  สมรภูมิย่อย ๆ ในการรบเริ่มตั้งแต่บ้านไกร  ป่าแฝก  บ้านกง  ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองจังหวัดสุโขทัย  ซึ่งอยู่ทางเบื้องทิศตะวันตกเมืองพิษณุโลก

          บ้านปากพิง  หรือปากน้ำพิง  ท่าโรง  บางทราย  บ้านกระดาษ  วัดจุฬามณี  วัดจันทร์  สมรภูมิเหล่านี้อยู่ด้านใต้เมืองพระพิษณุโลก  ส่วนที่กองทัพมอญยกไปตั้งทางเหนือเมืองพระพิษณุโลกนั้น  เห็นจะเป็นบริเวณประตูมอญ  ด้านเหนือวัดใหญ่ในปัจจุบัน


          อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพเฒ่าชาวพม่าหมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องตีเอาเมืองพระพิษณุโลกให้จงได้  แต่ในเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพหลวงขึ้นมาช่วยอย่างนี้แล้ว  ความปรารถนาของอะแซหวุ่นกี้จะสำเร็จหรือไม่  ต้องติดตามดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปยามค่ำของวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, เนิน จำราย, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #236 เมื่อ: 17, พฤษภาคม, 2562, 11:52:39 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- พิษณุโลกขาดเสบียง -

“กองทัพเดินด้วยท้อง”ถูกต้องมาก
เมื่ออดอยากท้องกิ่วหิวกระหาย
ไร้แรงรบปิ่มว่าชีวาวาย
ล้วนสิ้นลายเสือสิงห์หมดยิ่งยง

กองทัพเมืองสองแฅวร่อแร่แล้ว
ทนแขม่วท้องสู้สุดแรงหลง
ขาดเสบียงเลี้ยงท้องที่พร่องลง
คาดว่าคงไม่นานเมืองพานพัง


          อภิปราย ขยายความ......................

          เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงตอนที่อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าแห่งอังวะยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก  สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพหลวงจากกรุงธนบุรีโดยทางชลมารคขึ้นไปช่วย  ทรงตั้งค่ายหลวงที่บ้านปากพิง  รุกขึ้นไปถึงบางทรายแล้วถอยกลับลงมาปักหลักที่ท่าโรง  มีพระราชดำรัสให้พระราชสงครามลงไปเอาปืนพระยาราชปักษี  ปืนฉัตรชัย  จากกรุงธนบุรีขึ้นมายิงพม่า  การศึกระหว่างพม่ากับไทยที่พิษณุโลก  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้อย่างละเอียด  ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่คนไทยรุ่นเรานี้ควรรับรู้วีรกรรมของคนไทยที่ต่อสู้ข้าศึกศัตรูปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเรา  ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง  ดังนั้นต่อไปนี้ผมจะยกข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาแสดงทั้งหมด  โดยไม่ตัดคำและความเลย  ดังนี้ครับ


           “ฝ่ายนายกองทัพหน้าพม่า  เข้าไปแจ้งข้อราชการแก่อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพว่า  ไทยมีฝีมือเข้มแข็งนัก  จะรบเอาชัยชำนะโดยเร็วเห็นจะไม่ได้  แล้วทัพหลวงก็ยกขึ้นมาช่วยรี้พลเป็นอันมาก  อะแซหวุ่นกี้จึงให้ม้าใช้ไปสั่งปัญญีตวงซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านกงธานี  ให้นายทัพคุมพล ๓,๐๐๐ ยกลงมา ณ เมืองกำแพงเพชร  แล้วให้เดินทัพลงไป ณ เมืองนครสวรรค์  แซงลงไปเมืองอุทัยธานี  ถ้าได้ทีให้วกหลังตัดลำเลียงกองทัพไทยจะได้พะว้าพะวังระวังทั้งหน้าหลังหย่อนกำลังลง  และทัพอีกสองพันนั้นให้ยกหนุนมาตั้งค่ายใหญ่ใกล้เมืองพระพิษณุโลกฟากตะวันออก


          ครั้น ณ วันเสาร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๓  จึงพระยาสุโขทัยซึ่งตั้งซุ่มคอยสอดแนมสืบราชการ ณ ทัพพม่าบ้านกงธานีนั้น  บอกลงมากราบทูลว่าพม่าตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านกงธานีห้าค่าย  บัดนี้ยกกันข้ามน้ำไปฟากตะวันตกกองหนึ่ง  ยกหนุนมาเมืองพระพิษณุโลกกองหนึ่ง  ครั้นทรงทราบจึงดำรัสว่า  เกลือกพม่าจะวกหลังตีเสบียง  ให้กองพระยาราชภักดีกับพระยาพิพัฒโกษายกลงไปช่วยราชการพระยาราชาเศรษฐี  ซึ่งตั้งค่าย ณ เมืองนครสวรรค์  แล้วให้กองพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามหามนเทียรและพระยานครสวรรค์  ซึ่งไปตั้งค่ายประชิดโอบหลังค่ายพม่า ณ วัดจันทร์ฟากตะวันตก  แล้วให้หลวงภักดีสงครามและพระยาเจ่งกับกรมการเมืองชัยนาท  คุมพลไทยมอญห้าร้อยเศษยกขึ้นไปตั้งอยู่ ณ บ้านดอกไม้แขวงเมืองกำแพงเพชร  คอยดูท่วงทีพม่าซึ่งยกมาแต่บ้านกงธานีนั้นจะไปแห่งใด  ถ้าเห็นได้ทีจึงให้ออกโจมตี  ถ้าไม่ได้ทีก็ให้ลาดถอยมา


          ฝ่ายในเมืองพิษณุโลก  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เกณฑ์พลทหารออกตั้งค่ายนอกเมืองฟากตะวันตก  ตั้งค่ายประชิดค่ายพม่าซึ่งล้อมเมืองนั้น  ครั้นเพลาค่ำในวันเสาร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๓  จึงเจ้าพระยาสุรสีห์ให้เอาไม้มาทำคบเอาผ้าชุบน้ำมันยางจุดเพลิงในกระบอกปืนใหญ่  ยิงไปเผาค่ายพม่าไหม้ขึ้นค่ายหนึ่ง  หอรบไหม้ทำลายลงสองหอ  พม่าออกมาดับไฟยิงตายและลำบากไปเป็นอันมาก  แต่เสบียงอาหารในเมืองขัดสนนัก  ด้วยจะกวาดเข้าเมืองหาทันไม่  จึงบอกลงไป ณ ทัพหลวงขอพระราชทานเสบียง  ก็โปรดให้กองทัพคุมลำเลียงขึ้นไปส่ง  พม่าก็ออกตีตัดลำเลียงกลางทางไปส่งหาถึงไม่


          ครั้งหลังจึงโปรดให้กองลำเลียงขนเอาขึ้นไปส่งอีก  ให้กองพระยานครราชสิมายกไปช่วยป้องกันลำเลียง  แล้วให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพลงมาคอยรับ  แต่กะละโบ่แม่กองหน้าพม่านั้นเข้มแข็ง  ยกทัพมาสกัดตีกองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์กับทัพพระยานครราชสิมาหาเข้าถึงกันได้ไม่  ทัพเมืองพิษณุโลกก็ถอยกลับเข้าเมือง  ทัพเมืองนครราชสิมาก็พากองลำเลียงถอยกลับมาค่ายหลวง  และข้าวในเมืองพิษณุโลกก็เปลืองลงทุกวัน ๆ  แจกจ่ายรี้พลก็หาพออิ่มไม่  ไพร่พลก็ถอยกำลังอิดโรยลง

          ฝ่ายข้างกองทัพพม่าก็ขัดเสบียงอาหารลงเหมือนกัน  แต่อยู่ภายนอกที่ทำเลกว้าง  เที่ยวหาบุก กลอย และรากกระดาษปนกับอาหารกินค่อยเนิ่นช้าวันไป  ไม่สู้ขัดสนนักเหมือนในเมือง


          ครั้น ณ วันศุกร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๓  จึงขุนพัศดีถือหนังสือบอกขึ้นมากราบทูลว่า  พม่าเมืองมฤตยกกองทัพเข้ามาตีเมืองกุย  เมืองปราณ  ต้านทานมิได้  จึงถอยเข้ามาตั้งอยู่ ณ เมืองชะอำและทัพพม่าเลิกกลับไป  บัดนั้นพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์) ให้แต่งพลทหารไปขัดทัพอยู่ที่ช่องแคบด่านเมืองเพชรบุรี  จึงดำรัสให้กองพระเจ้าหลานเธอเจ้าประทุมไพจิตรยกลงมารักษากรุงธนบุรีระวังราชการศึกข้างฝ่ายใต้


          ฝ่ายกองทัพพม่าซึ่งยกลงมา ณ เมืองกำแพงเพชร  มายังมิทันถึง  จึงกองทัพข้าหลวงไทยมอญห้าร้อยก็ยกออกโจมตีที่กลางทาง  ทัพพม่ามิทันรู้ตัวก็แตกฉาน  ทัพพวกข้าหลวงเก็บได้ศัสตราวุธต่าง ๆ แล้วลาดถอยมา  จึงบอกส่งสิ่งของเครื่องศัสตราวุธลงมาถวาย  จึงดำรัสสั่งให้พระสุนทรสมบัติกับหมื่นศรีสหเทพ  คุมเอาเสื้อผ้าไปพระราชทานขุนนางไทยมอญซึ่งล่าลงมา ณ บ้านร้านดอกไม้นั้น”


          ** สถานการณ์คับขันเข้าขั้นวิกฤติแล้วครับ  คำกล่าวที่ว่า  “กองทัพเดินได้ด้วยท้อง”  แสดงความเป็นจริงให้ปรากฏแล้ว  เสบียงอาหารในเมืองพิษณุโลกขาดแคลน  เพราะพม่ายกทัพมาล้อมเมืองรวดเร็วจนไม่ทันขนเสบียงอาหารมาสะสมไว้ได้ในเมืองได้  รบกันนานวันเข้า  อาหารสำหรับทหารก็ขาดแคลนลง  เมื่อทหารอดอยากกำลังวังชาก็โรยราลง  เจ้าพระยาสองพี่น้องร้องขอเสบียงจากกองทัพหลวง  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรีบจัดส่งไปให้  ครั้งแรกถูกกองกำลังพม่าดักปล้นจนหมดสิ้น  ทรงส่งครั้งที่ ๒  ตรัสให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกกำลังออกมารับ  ก็ถูกพม่าออกโจมตีจนกองเสบียงต้องล่าถอยกลับค่ายหลวง  เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ต้องล่าถอยเข้าเมืองพิษณุโลก


          ทางฝ่ายกองทัพอะแซหวุ่นกี้นั้นก็ขาดแคลนเสบียงอาหารเช่นกัน  แต่ยังดีที่อยู่นอกเมือง  สามารถไปเที่ยวขุดหาหัวกลอยหัวมันตามป่ามากินกันได้บ้าง  จึงได้เปรียบกองทัพไทยเมืองพิษณุโลกมาก  พร้อมกันนั้น  อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าผู้เชี่ยวชาญการศึกสงคราม  ยังสั่งให้กองทัพหลังที่ตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านกง  บ้านธานี  ใกล้เมืองสุโขทัยนั้น  ยกกำลังลงไปทางกำแพงเพชร  ให้เลยลงไปนครสวรรค์  อุทัยธานี  คอยดักปล้นกองลำเลียงเสบียงกรัง  อย่าให้ส่งขึ้นมาเลี้ยงกองทัพหลวงของพระเจ้าตากสินได้


          สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้เชิงกลศึก  จึงตรัสสั่งให้กองกำลังของไทยแยกย้ายกันไปก้าวสกัดตัดตีกองกำลังของอะแซหวุ่นกี้ที่เมืองกำแพงเพชรส่วนหนึ่ง  ยกลงไปช่วยป้องกันเมืองนครสวรรค์อีกส่วนหนึ่ง  กองกำลังพม่ายกไปทางกำแพงเพชรยังไม่ทันตั้งค่ายก็ถูกไทยโจมตีแตกกระเจิงไป  แล้วกองกำลังไทยก็ปักหลักมั่นคอยคุมเชิงพม่า  อยู่ที่บ้านลานดอกไม้ใกล้เมืองกำแพงเพชรนั้น


          ในยามนั้นกองทัพน้อยพม่าก็ได้ยกจากเมืองมะริดเข้าตีไทยที่กุยบุรี  และปราณบุรี  กรมการเมืองต่อสู้ต้านทานมิได้ก็ล่าถอยมาตั้งหลักอยู่ที่เมืองชะอำ  พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์) จึงแต่งกองกำลังให้ลงไปขัดทัพอยู่ที่ช่องแคบด่านเมืองเพชรบุรี  ให้กองพระเจ้าหลานเธอเจ้าประทุมไพจิตรยกลงมารักษากรุงธนบุรี  เฝ้าระวังราชการศึกข้างฝ่ายใต้  สมเด็จพระเจ้าตากสินจะทรงแก้ไขสถานการณ์วิกฤตินี้อย่างไร  ตามไปอ่านต่อวันพรุ่งนี้นะครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๗ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #237 เมื่อ: 18, พฤษภาคม, 2562, 10:38:58 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- ทัพหลวงถอยตั้งหลัก -

พม่าโหมโรมรันไม่ครั่นคร้าม
ไทยสู้ตามแรงที่พอมีหวัง
พระเจ้าตากสินทำเต็มกำลัง
เสด็จยังค่ายทหารบัญชารบ

ตรัสปลุกใจให้ทหารอาจหาญสู้
ค่อยเรียนรู้กลศึกลึกให้จบ
ทรงสั่งการต้านรุกทุกทางครบ
แผนสยบพม่าทรงบรรจงวาง


          อภิปราย ขยายความ.........................................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาวางให้อ่าน  เป็นเรื่องราวของการรบระหว่างไทย-พม่าในสมรภูมรบรอบ ๆ เมืองพิษณุโลก  กองทัพฝ่ายเมืองพิษณุโลกของเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ขาดเสบียงอาหารอย่างหนัก  สถานการณ์อยูในขั้นวิกฤติแล้ว  วันนี้มาอ่านพระราชพงศาวดารฉบับเดิมต่อครับ


           ฝ่ายทัพพม่าก็ยกลงมาตั้งค่าย ณ บ้านโนนศาลาสองค่าย  บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง  บ้านหลวงค่ายหนึ่ง  ในแขวงเมืองกำแพงเพชร  แล้วยกแยกลงไปทางเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง  เข้าเผาบ้านอุทัยธานีเสีย  ครั้นถึง ณ วันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓  ขุนยกกระบัตรเมืองชัยนาทไปสืบราชการทัพพม่าขึ้นมากราบทูลว่า  พม่าตั้งค่ายอยู่ ณ แขวงเมืองกำแพงเพชรสี่ด้าน  ยกไปเมืองอุทัยธานีกองหนึ่งเผาบ้านเมืองเสีย  แล้วจะไปทางใดอีกมิได้แจ้ง  จึงดำรัสให้ขุนอินทรเดชะเป็นแม่กอง หลวงปลัดเมืองอุทัยธานี  กับหลวงสรวิชิตนายด่านเป็นกองหน้า  หม่อมเศรษฐกุมารเป็นกองหลวง  ให้หม่อมอนุรุทธเทวาเป็นจางวาง  บังคับทั้งสามกอง  คนพันหนึ่งยกลงไปป้องกันเสบียงและปืนใหญ่  ซึ่งบรรทุกเรือขึ้นมานั้น  อย่าให้เป็นอันตรายกลางทาง  ถ้ามีราชการศึก ณ เมืองนครสวรรค์ให้แบ่งกองอาจารย์ไปช่วยบ้าง  ให้แบ่งลงมาตั้ง ณ บ้านคุ้งสำเภาบ้าง  แล้วให้กองพระโหราธิบดีและหลวงรักษ์มนเทียรยกลงไปตั้งค่ายอยู่ ณ โคกสลุด  ให้กองพระยานครชัยศรีไปตั้งค่าย ณ โพธิ์ประทับช้าง  ป้องกันลำเลียงจะได้ไปมาสะดวก


          ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ  จึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหาเจ้าพระยาจักรี ณ เมืองพระพิษณุโลกลงมาเฝ้า ณ ค่ายบ้านท่าโรง  เจ้าพระยาจักรีป่วยลงมาไม่ได้  ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ลงมาเฝ้า  จึงดำรัสปรึกษาโดยพระราชดำริ    จะใคร่ผ่อนทัพลงไปตั้ง ณ เมืองนครสวรรค์ป้องกันเสบียงไว้    และราชการในเมืองพระพิษณุโลกนั้นให้เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์จงรับรองป้องกันรักษา  และเจ้าพระยาสุรสีห์กราบถวายบังคมลากลับไปเมือง


           ในวันนั้น ทัพพม่ายกออกมาจากค่ายเข้าตีกองพระยานครสวรรค์  ซึ่งเดินค่ายขึ้นไปถึงบ้านบางส้มป่อยตั้งลงยังมิทันแล้ว  ได้รบกันเป็นสามารถ  จับพม่าได้คนหนึ่ง  พม่าถูกปืนตายและลำบากลากกันไปเป็นอันมาก  ถอยไปเข้าค่าย  พระยานครสวรรค์จึงให้หมื่นศรีสหเทพถือหนังสือบอกส่งพม่าลงมาถวาย  แล้วกราบบังคมทูลถวายว่า  บัดนี้พม่าขัดสนด้วยข้าวและเกลือ  เกลือนั้นหนักสองบาทซื้อกันเป็นเงินบาทหนึ่ง  ครั้น ณ วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๒ ค่ำ  พระยารัตนพิมลซึ่งอยู่รักษาค่ายปากน้ำพิงบอกมากราบทูลว่า  แต่งคนไปสอดแนมถึงวังสองสลึง  เห็นพม่ายกมาประมาณสองร้อย  ครั้นเพลาบ่ายพม่าเผาป่าขึ้นใกล้ปากน้ำพิงเข้าไปสามคุ้ง  จึงดำรัสให้หลวงวิสุทธโยธามาตย์  หลวงราชโยธาเทพ  คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียนแปดบอกลงเรือข้ามไป ณ ค่ายปากน้ำพิง  ฟากตะวันตก


           ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ  จึงเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทขึ้นไปทางฟากตะวันออก  แต่ค่ายบ้านท่าโรงจนถึงค่ายพระยานครสวรรค์  ซึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านแขก  ฟากตะวันตกนั้น  เสด็จทรงพระเก้าอี้อยู่ที่กลางหาดทราย  จึงพระยาธรรมาธิบดี  พระยานครสวรรค์  ลงว่ายน้ำข้ามมาเฝ้ากราบทูลว่าพม่าตั้งค่ายประชิดสี่ค่าย  แล้วปักกรุยจะตั้งค่ายโอบลงมา  จึงดำรัสว่ามันทำลวงดอก  อย่ากลัวมัน  ให้ตั้งค่ายรายเคียงออกไป  ถ้ามันตั้งรายตามไป  ให้ตั้งรายแผ่กันไปจงมาก  ให้คนรักษาอยู่แต่ค่ายละห้าร้อยคน  แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสีย  มันจะตีค่ายไหนให้ตีเข้า


            “อันธรรมดาเป็นชายชาติทหารแล้ว  จงมีน้ำใจองอาจและอย่ากลัวตาย  ตั้งใจอาสาพระรัตนตรัย  และพระมหากษัตริย์  ด้วยเดชะผลกตัญญูนั้นจะช่วยอภิบาลบำรุงรักษา  ก็จะหาอันตรายมิได้  ถ้าใครย่อท้อต่อการสงครามให้ประหารชีวิตเสีย  ศึกจึงจะแก่กล้าขึ้นเอาชัยชำนะได้”


           แล้วให้ยกเอากองพระยาสีหราชเดโชและกองหมื่นทิพเสนามาเข้ากองพระยานครสวรรค์     ยกกองเกณฑ์หัด  กองทหารกองอาจารย์มาไว้ในกองหลวง     แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังค่ายบ้านท่าโรง  จึงให้ข้าหลวงขึ้นไปเมืองพิษณุโลกหาเจ้าพระยาจักรีมาเฝ้า  พอเจ้าพระยาจักรีหายป่วยแล้วก็ลงมาเฝ้า ณ ค่ายหลวงท่าโรง  ครั้นได้ทรงฟังเสียงปืนใหญ่น้อย ณ ปากน้ำพิงหนาขึ้น  จึงเสด็จสั่งเจ้าพระยาจักรีให้จัดแจงพลทหารรักษาค่ายท่าโรง  เจ้าพระยาจักรีเกณฑ์กองพระยาเทพอรชุน  และพระพิชิตณรงค์ให้อยู่รักษา  แล้วกลับขึ้นไปเมืองพระพิษณุโลก  ครั้นค่ำเพลาสามยามก็เสด็จยกทัพหลวงลงมา ณ ปากน้ำพิง……….


* ท่านผู้อ่านครับ  ได้อ่านเรื่องราวการรบระหว่างไทย-พม่าในสมรภูมิหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยจากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแล้ว  ท่านมีความรู้สึกรักชาติ  รักและหวงแหนแผ่นดินไทยเพิ่มขึ้นไหมครับ  พิษณุโลกกำลังขาดเสบียง สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชดำริผ่อนกำลังถอยทัพลงมาปักหลักทางใต้  เมืองพิษณุโลกจะสูญเสียให้แก่อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าแห่งพม่าหรือไม่  วันพรุ่งนี้มาเปิดอ่านกันต่อนะครับ.

เต็ม อภินันท์
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๘ เมมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, กลอน123, เนิน จำราย, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #238 เมื่อ: 19, พฤษภาคม, 2562, 10:03:27 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- พม่าใกล้ประกาศชัยชนะ -

หลายค่ายไทยไพรีโจมตีแตก
นายกองแหวกวงผ่านการขัดขวาง
หนีข้าศึกสิ้นคิดหลงทิศทาง
เป็นตัวอย่างไม่ดีที่ควรตาย

พระเจ้าตากสินสั่งประหารชีวิต
ประกาศิตจอมทัพคือกฎหมาย
ทหารที่ขี้ขลาดผิดชาติชาย
รบแล้วพ่ายซ้ำซากเป็นหลักลอย

พม่ารุกบุกทะลุทะลวงทะลัก
เป็นศึกหนักทัพสองไทยต้องถอย
พระเจ้าตากสินสั่งทัพทยอย
ผ่อนค่อยค่อยสู้พรางอย่างไว้เชิง


          อภิปราย ขยายความ ........................

          เมื่อวันวานได้กล่าวถึงเรื่องการรบระหว่างไทย-พม่าในสมรภูมิเมืองพระพิษณุโลก  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพหลวงขึ้นช่วยรบ  มีการย้ายค่ายหลวงเป็นหลายครั้ง  และครั้งล่าสุดทรงย้ายค่ายหลวงจากบ้านท่าโรงกลับลงไปตั้ง ณ ปากน้ำพิง  อันเป็นที่ตั้งค่ายหลวงครั้งแรก  เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  ดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปครับ


           “ครั้นเพลาสิบเอ็ดทุ่ม  ทัพพม่ายกมาขุดสนามเพลาะเข้าตีค่ายพระยาธรรมไตรโลก  พระยารัตนพิมล ณ คลองกระพวง  ยิงปืนระดมรบกันเป็นสามารถ  รุ่งขึ้นวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ  จึงเสด็จข้ามสะพานเรือกไปฟากตะวันตก  
      ดำรัสให้กองพระยาสุโขทัยยกหนุนออกตั้งค่ายชักปีกกาขุดคลองเดินถึงกัน  
      ให้หลวงดำเกิงรณภพคุมพลเกณฑ์หัดและกองอาจารย์เก่าใหม่ไปเข้ากองพระยาสุโขทัย  
      ให้กองหลวงรักษโยธา  หลวงภักดีสงคราม  ยกไปตั้งค่ายประชิดค่ายพม่า ณ ปากคลองกระพวง  
      ให้กองหลวงเสนาภักดีกองปืนแก้วจินดาออกตีวกหลัง


          ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า  พระยาสุโขทัยและนายทัพนายกองทั้งปวงก็ยกออกพร้อมกันตีกระหนาบหน้าหลังค่ายพม่า  พม่ายกออกมารบ  รบกันเป็นสามารถถึงอาวุธสั้น  ล้มตายลงทั้งสองฝ่าย  ขุนอาสาศรเพลิงถูกปืนพม่าตาย  ครั้นวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ  จึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหากองเจ้าพระยาอินทรอภัยและกองมอญ  พระยากลางเมือง  ยกลงมา ณ ปากน้ำพิง  ในทันใดนั้นหลวงเสนาภักดีกองปืนแก้วจินดา  มากราบทูลว่า  ได้ตีวกหลังพม่าเข้าไป  พม่าขุดสนามเพลาะวงล้อมไว้สามด้าน  กองอาจารย์ถอยเสีย มิได้ช่วยแก้  ข้าพระพุทธเจ้าให้ขุดสนามเพลาะรบอยู่คืนหนึ่ง  ต่อรุ่งขึ้นพระยาสุโขทัยจึงตีเข้าไปแก้ออกมาได้


          ครั้นได้ทรงฟัง  จึงดำรัสให้เอาตัวอาจารย์ทอง  เอาตัวนายดีนายหมวดกองอาจารย์ไปประหารชีวิตเสีย  และเลกนั้นพระราชทานให้ขุนรามณรงค์คุมทำราชการสืบไป  ครั้นเพลาบ่ายเสด็จไปทอดพระเนตรค่ายที่รบคลองกระพวง  แต่ค่ายมั่นออกไประยะทางยี่สิบสองเส้นให้ตั้งค่ายขุดคลองเดินตามปีกกาให้ถึงกัน  ขณะนั้นดำรัสภาคโทษพระสุธรรมาจารย์  พระวิสารสุธรรมเจ้ากรมกองอาจารย์  แล้วให้ทำราชการแก้ตัวตั้งค่ายประชิดค่ายพม่า  กับกองทหารกองเกณฑ์หัดสืบไป  ในวันนั้นเวลาบ่ายห้าโมงเศษพม่าออกปล้นค่ายกองทัพไทย  ได้รบกันเป็นสามารถ  หลวงดำเกิงรณภพให้ยิงปืนใหญ่น้อยต้องพม่าตายและลำบากมาก


          อนึ่ง  ขุนหาญ  ทนายเลือกกองนอกรักษาค่าย  ให้เพลิงตกลงในถังดินดำติดขึ้นไหม้  คนตายหลายคน  และตัวขุนหาญนั้นก็ย่อท้อต่อการศึก  จึงดำรัสให้ประหารชีวิตเสีย  แล้วให้ข้าหลวงไปหาพระยายมราชซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ วัดจันทร์ ลงมาเฝ้า  ตรัสสั่งให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์บังคับทั้งสิบทัพซึ่งตั้งรับทัพพม่า ณ คลองกระพวงให้กล้าขึ้น


          * ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ  กลางคืนประมาณยามเศษ  อะแซหวุ่นกี้  ให้กะละโบ่ยกทัพมาข้ามแม่น้ำฟากตะวันออก  เข้าปล้นค่ายกรมแสงในคน ๒๑๔ คน  ตั้งค่าย ณ วัดพริกห้าค่าย  ได้รบกันเป็นสามารถ  พม่าแหกเอาค่ายได้  แตกทั้งห้าค่าย  นายทัพนายกองและไพร่พลหนีกระจัดพลัดพรายกันไป  จึงพระยาเทพอรชุน  พระพิชิตณรงค์  ซึ่งรักษาค่ายท่าโรงบอกส่งคนซึ่งแตกลงมาแต่ค่ายวัดพริกทั้งนายไพร่หลายคนลงมาถวาย  จึงดำรัสให้ประหารชีวิตหมื่นทิพหนึ่ง  ไพร่สิบสามคน  เป็นคนสิบสี่คน  ตัดศีรษะเสียบไว้ ณ หน้าประตูค่ายปากน้ำพิง  แล้วตรัสสั่งว่า  บรรดานายไพร่ซึ่งแตกพม่ามานั้น  ได้ตัวมาเมื่อใดให้ฆ่าเสียให้สิ้น  แล้วให้ข้าหลวงไปหากองพระโหราธิบดี  กองหลวงรักษ์มนเทียร  ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ โคกสลุด  และกองพระยานครชัยศรี  ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ โพธิประทับช้างนั้น  ให้ยกขึ้นมาช่วยราชการทัพหลวง ณ ปากน้ำพิง


          ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จึงพระยานครสวรรค์บอกลงมากราบทูลว่า  ทัพพม่าตั้งค่ายโอบลงมาถึงริมแม่น้ำแล้วยกข้ามไปตีค่ายวัดพริกฟากตะวันออกแตก  เห็นพม่าจะวกหลัง  จะขอพระราชทานลาดทัพข้ามมาตั้งค่ายรับอยู่ฟากตะวันออก  จึงดำรัสให้กองมอญพระยากลางเมือง  และกองพระโหราธิบดี  และกองพระยาเทพอรชุน  กองพระยาพิชิตณรงค์  ซึ่งตั้งอยู่ค่ายท่าโรง  เข้ากองพระยายมราช  ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพยกขึ้นไปตีทัพพม่า  ซึ่งเข้าตั้งอยู่ ณ ค่ายวัดพริกฟากตะวันออกนั้น  และให้กองหลวงรักษามนเทียรไปอยู่รักษาค่ายประชิด  แทนพระยากลางเมือง ณ ปากน้ำพิงฟากตะวันตก


          ฝ่ายพระยายมราชยกกองทัพไปตั้งค่ายประชิดค่ายพม่า ณ วัดพริก  พม่ายกกองแหกค่ายพระยายมราชหักเอาค่ายได้  ในทันใดนั้นพระยายมราชขับพลทหารเข้าตีพม่าแตกชิงเอาค่ายคืนได้  พม่าถอยไปเข้าค่ายวัดพริกตั้งรบกันอยู่  ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้ให้แมงแยยางูผู้น้องยกทัพใหญ่ลงมาตั้งค่ายโอบหลังค่ายหลวง ณ ปากน้ำพิงฟากตะวันออกเป็นหลายค่าย  ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ  สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเห็นศึกหนักเหลือกำลัง ถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ  จึงให้ลาดทัพหลวงถอยมาตั้งมั่น ณ บางข้าวตอก  ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้เร่งให้ตะแคงมรหน่อง  ปัญญีแยข่องจอ  และเจ้าเมืองตองอู  นายทัพนายกองทั้งปวง  ทำการติดเมืองพระพิษณุโลกกวดขันขึ้น


          * ฝ่ายข้างในเมืองก็ขาดเสบียง  ตวงข้าวแจกทหารแต่มื้อละฝาเขนง  ไพร่พลอิดโรยนักถอยกำลังลง  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  เห็นเหลือกำลังที่จะตั้งมั่นรักษาเมืองไว้ได้  ด้วยสิ้นเสบียงอาหารขัดสนนัก  จึงบอกลงมากราบทูล ณ ค่ายหลวงแต่ยังเสด็จอยู่ ณ ปากน้ำพิง  ว่าในเมืองสิ้นเสบียง  จะขอพระราชทานล่าทัพออกจากเมือง  ก็โปรดทรงพระอนุญาต


          เจ้าพระยาจักรี   และเจ้าพระยาสุรสีห์   จึงสั่งให้นายทัพนายกองซึ่งออกไปตั้งค่ายประชิดรับพม่าอยู่นอกเมืองทั้งสองฟากนั้น  เลิกถอยเข้าเมืองสิ้น  พม่าก็เข้าตั้งค่ายไทยประชิดใกล้เมืองให้ทำบันไดจะพาดกำแพงเตรียมการจะปีนปล้นเอาเมือง  พลทหารซึ่งรักษาหน้าที่เชิงเทินระดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไปดังห่าฝน  พม่าจะปีนปล้นเอาเมืองมิได้  ต่างยิงปืนตอบโต้กันอยู่ทั้งสองฝ่าย”


          ** ท่านผู้อ่านครับ  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพยายามต่อตีพม่าเป็นสามารถแล้ว  แต่พม่าแข็งแกร่งเหลือเกิน  ค่ายไทยถูกตีแตกเป็นหลายค่าย  พระเจ้าตากสินทรงใช้อาญาทัพประหารชีวิตนายกองที่แตกจากค่ายหนีพม่ามาเสียหลายคน  แม้กระนั้นก็ยังแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นไม่ได้  อะแซหวุ่นกี้สั่งระดมกำลังโจมตีหนัก  จนพระเจ้าตากสินต้องย้ายทัพหลวงถอยร่นลงไปเรื่อย ๆ


          พร้อมกันนั้น  อะแซหวุ่นกี้ก็กำชับให้กำลังพลของตนระดมตีพิษณุโลกให้แตกจงได้  ทหารในเมืองพิษณุโลกขาดเสบียงอาหารจนหมดกำลังสู้รบแล้ว  เจ้าพระยาสองพี่น้องจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลขอทิ้งเมืองพิษณุโลกเพื่อรักษากำลังของตนไว้ก่อน  ทรงโปรดฯ อนุญาตแล้วเจ้าพระยาจักรี   เจ้าพระยาสุรสีห์  จะพากำลังพลอันอิดโรยของตนตีหักพม่าหนีออกไปจากเมืองพิษณุโลกได้อย่างไร  เช้าพรุ่งนี้มาอ่านกันต่อไปครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑๙ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, เนิน จำราย, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #239 เมื่อ: 20, พฤษภาคม, 2562, 10:35:16 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- เสียพิษณุโลกแก่พม่า -

แล้วสองเจ้าพระยาพาทหาร
ทลายด่านค่ายพม่าถลันเถลิง
หักค่ายแหกตีเตลิดแล้วเปิดเปิง
จ้านกระเจิงไปเขตเพชรบูรณ์


          อภิปราย ขยายความ..........................

          เมื่อวันวานนี้ได้ยกความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาให้อ่าน  ถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินซึ่งยกทัพหลวงจากกรุงธนบุบุรีขึ้นไปรบพม่าที่มาตีเมืองพิษณุโลก  กองทัพทั้งสองฝ่ายรบกันอย่างดุเดือด  ฝ่ายไทยเสียเปรียบ เพราะในเมืองพิษณุโลกขาดเสบียงอาหาร  ค่ายที่พระเจ้าจากสินตั้งเรียงรายรบกับพม่า  ถูกตีแตกเป็นหลายค่าย  อะแซหวุ่นกี้โหมเข้าตีเมืองพิษณุโลกอย่างหนัก  เพราะขาดเสบียงอาหาร  ไพร่พลของเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ในเมืองพิษณุโลกต่างอิดโรย  เจ้าพระยาสองพี่น้องเห็นว่าจะต้านทานกำลังทัพอะแซหวุ่นกี้ไม่ได้แน่  จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าตากสิน  ยอมทิ้งเมืองออกไปตั้งหลักก่อน  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงอนุญาต  แล้วพร้อมกันนั้นก็ทรงสั่งถอยทัพหลวง  ลงไปทางใต้อย่างช้า ๆ  เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  อ่านพระราชพงศาวดารต่อไปครับ


           “ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๑  ค่ำ  เจ้าพระยาทั้งสองจึงให้เจ้าหน้าที่ระดมยิงปืนใหญ่น้อยหนาขึ้นกว่าทุกวัน  เสียงปืนสนั่นไปมิได้ขาดตั้งแต่เช้าจนค่ำ  แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นตีบนเชิงเทินรอบเมือง  ลวงให้พม่าเข้าใจว่าตระเตรียมตั้งต่อสู้อยู่ในเมืองให้นานวัน  ครั้นเพลาประมาณยามเศษ  เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดทหารเป็นสามกอง  กองหน้ากองหนึ่ง  กองกลางให้คุมครอบครัวกองหนึ่ง  กองหลังรั้งท้ายกองหนึ่ง  แล้วยกกองทัพและครอบครัวทั้งปวงเปิดประตูเมืองข้างด้านฟากตะวันออก  ให้พลทหารกองหน้ารบฝ่าออกไป  เข้าหักค่ายซึ่งตั้งล้อม


          พม่าในค่ายต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยออกมา  พลทหารไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปแหกค่ายพม่าเข้าไปได้  ได้รบกันถึงอาวุธสั้นฟันแทงกันเป็นตะลุมบอน  พม่าแตกเปิดทางให้  เจ้าพระยาทั้งสองก็รีบเดินทัพไปทางบ้านมุงดอนชมพู  และครอบครัวทั้งปวงนั้นก็แตกกระจัดพลัดพรายตามกองทัพไปได้บ้าง  พม่ากวาดไปได้บ้าง  ที่หนีลงมาหาทัพหลวง ณ บางข้าวตอกได้บ้าง  พม่าก็ติดตามกองทัพไป  และกองทัพซึ่งรั้งหลังก็รอสกัดต่อรบต้านทานที่กลางทางเป็นสามารถ  พม่าก็ถอยกลับไปเมือง  เจ้าพระยาทั้งสองก็เร่งเดินทัพไปถึงเมืองเพชรบูรณ์  หยุดพักอยู่ที่นั้น”


          * เหตุผลที่เจ้าพระยาทั้งสองตีค่ายพม่าหักออกทางด้านทิศตะวันออกเมืองพิษณุโลก ไม่ตีหักออกทางด้านทิศใต้แล้วลงไปรวมกับกองทัพหลวงของพระเจ้าตากสิน  ก็อาจจะเป็นเพราะว่า  ทางทิศใต้เมืองพิษณุโลกนั้น  มีค่ายพม่าตั้งอยู่อย่างหนาแน่นล้อมตีเมืองพิษณุโลกพร้อมกับตีต่อต้านกองทัพหลวงของพระเจ้าตากสินอยู่  ส่วนทางทิศตะวันออกนั้นเป็นทิศทางที่ค่ายพม่าเปราะบางที่สุดจึงตีหักออกทิศทางนั้น  ครั้นตีค่ายพม่าแตกแล้วก็พากำลังหนีไปทางวังทอง  มีครัวส่วนหนึ่งหนีลงไปยังค่ายหลวง ณ บางข้าวตอก  เจ้าพระยาทั้งสองนำพากำลังที่เหลือทั้งหมดเดินทางไปทางบ้านมุงชมพู (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครอง อ.เนินมะปราง)  แล้วเลยไปถึงเมืองเพชรบูรณ์  แล้วปักหลักอยู่ที่นั่น  เพื่อรอโอกาสจะ  “เอาคืน”  ต่อไป


          ** “ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แจ้งว่าทัพไทยแหกหนีออกจากเมืองแล้ว  ก็ขับพลทหารเข้าในเมือง  ให้จุดเพลิงเผาบ้านเรือนและอารามใหญ่น้อยทุกตำบล  แสงเพลิงสว่างดังกลางวัน  ให้ไล่จับผู้คนและครอบครัวซึ่งยังตกค้างอยู่ในเมืองหนีออกไม่ทันนั้น  และเก็บเอาทรัพย์สินและเครื่องศัสตราวุธต่าง ๆ แล้วตั้งอยู่ในเมือง  อะแซหวุ่นกี้จึงออกประกาศแก่นายทัพนายกองทั้งปวงว่า  ไทยบัดนี้ฝีมือเข้มแข็งนัก  ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน  และเมืองพระพิษณุโลกเสียครั้งนี้ใช่จะแพ้เพราะฝีมือทแกล้วทหารนั้นหามิได้  เพราะเขาอดข้าวขาดเสบียงอาหารจึงเสียเมือง  และซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้านั้น  แม่ทัพมีสติปัญญาและฝีมือแต่เพียงเสมอเราและต่ำกว่าเรานั้น  อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย  จะเอาชัยชำนะเขามิได้  แม้นดีกว่าเราจึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชำนะ


          พอข้างกรุงอังวะได้ม้าใช้ถือหนังสือลงมาถึงอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพว่า  พระเจ้ามังระทิวงคต  บัดนี้จิงกูจาราชบุตรพระชนม์ยี่สิบห้าปีได้เสวยราชสมบัติ  แล้วฆ่ามังโปอนาวิงต่อ  ซึ่งเป็นอานั้นเสีย  มีรับสั่งให้หากองทัพกลับไปกรุงอังวะ  อะแซหวุ่นกี้ได้แจ้งเหตุดังนั้น  ก็ให้เลิกทัพจากเมืองพระพิษณุโลก  กวาดครอบครัวเดินทัพทางเมืองสุโขทัยไปลงบ้านระแหงเมืองตาก”


          * ท่านผู้อ่านครับ  ในที่สุดเมืองพระพิษณุโลกก็เสียให้แก่พม่า  หลังจากที่เจ้าพระยาสองพี่น้องพากำลังตีหักค่ายพม่าหนีออกจากเมืองไป  อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าก็ขับพลเข้าเมือง  ไล่จับทุกคนที่หลงเหลืออยู่ในเมือง  พร้อมกับให้จุดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือน  วัดวาอารามใหญ่น้อยทุกตำบล  เก็บกวาดทรัพย์สินและศัสตราวุธนานาไปจนสิ้น  แล้วตั้งกองทัพอยู่ในเมืองจัดการฉลองชัยชนะตามประเพณีของผู้ชนะ  น่าสนใจคำประกาศของอะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าแห่งพม่าที่กล่าวกลางกองกำลังของตนที่ว่า......


           “ ไทยบัดนี้มีฝีมือเข้มแข็งนัก  ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน  และเมืองพระพิษณุโลกเสียครั้งนี้มิใช่จะแพ้เพราะฝีมือทแกล้วทหารนั้นหามิได้  เพราะเขาอดข้าวขาดเสบียงอาหารจึงเสียเมือง  และซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้านั้น  แม่ทัพมีสติปัญญาและฝีมือแต่เพียงเสมอเราและต่ำกว่าเรานั้น  อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย  จะเอาชัยชำนะเขามิได้  แม้นดีกว่าเราจึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชำนะ”

          คำนี้น่าจะมาจากคำกล่าวที่ว่า  “กองทัพเดินได้ด้วยท้อง”  ทหารเก่งกาจขนาดไหนถ้าขาดเสบียงอาหารเสียแล้วก็ไปไม่รอด  เป็นสัจธรรมแท้นะครับ


          เมื่อยึดเมืองพิษณุโลกได้แล้ว  ไม่ทราบว่าใจอะแซหวุ่นกี้คิดจะยกเข้าตีกองทัพหลวงของพระเจ้าตากสินหรือไม่  พอดีทางกรุงอังวะผลัดแผ่นดินใหม่  พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่มีคำสั่งให้หากองทัพอะแซหวุ่นกี้กลับไป  การรบในสมรภูมิเมืองฝ่ายเหนือจึงสิ้นสุดไปด้วย

          แต่การศึกกับพม่ายังไม่จบลงง่าย ๆ ดอกนะครับ  วันพรุ่งนี้มาอ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ.

<<< ก่อนหน้า                 ต่อไป  >>>

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๐ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.418 วินาที กับ 318 คำสั่ง
กำลังโหลด...