แสงประภัสสร
|
Permalink: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
 มุตโตทัย : ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์ วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒ ๑.พระพุทธเจ้าวัด ก็"พระสัทฯ"สถิตย์ชน แปรเปลี่ยนและปลอมผล "ปฏิรูปฯ"อุบัติเทียม ๒.ตะตั้ง ณ ใจมั่น อรหันต์พระธรรมเปี่ยม แน่แท้และแผ่เยี่ยม ชุติเรืองถะถั่งชน ๓.ผิเรียนพระธรรมจัด "ปริยัติฯ"พระธรรมยล ย่อมยังมิได้ดล "ปฎิบัติ"ประโยชน์หลาย ๔.กระทำสมาธิ์แล้ว จะละแผ้วกิเลสคลาย สัทธรรมสะอาดกราย บริสุทธิ์มิแปรผัน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) มุตโตทัย=หัวใจอิสระ เป็นธรรมเทศนาชี้บอกแนวทางปฎิบัติให้บังเกิดความหลุดพ้น จากกิเลส อาสวะ(แดนเกิด แห่งความหลุดพ้น) พระสัทฯ=พระสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า มี ๗ อย่าง ๑)ศรัทธา ๒)หิริ ๓)โอตตัปปะ ๔)พาหุสัจจะ ๕)วิริยารัมภะ ๖)สติ ๗)ปัญญา ปฏิรูปฯ=พระสัทธรรมปฏิรูป คือคำสอนของพระพุทธเจ้าเลือนหายไปจากเหตุผล ๕ ประการคือ พุทธบริษัท ๔(ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม เป็นต้น ปริญัติฯ=พระปริยัติธรรม คือธรรมที่พึงศึกษาเล่าเรียน ได้แก่ พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก ปฎิบัติ =ปฎิบัติธรรม คือ การเจริญภาวนา สมาธิ์=สมาธิ กิเลสฯ=อุปกิเลส คือ สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มี ๑๖ อย่าง เช่นโกรธ,พยาบาท (ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต)
รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), Black Sword, หยาดฟ้า, ข้าวหอม, malada, เป็น อยู่ คือ, เฒ่าธุลี, มนชิดา พานิช, คิดถึงเสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๒. ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
ปัฐยาวัตรฉันท์ ๑๖
๑.พระพุทธเจ้าริมั่นหมาย กิเลสริดรอนคลาย ลุโพธิญาณ
๒.พระพุทธเจ้าสิเบิกบาน 'ภค์วา' ทรงจัดการ จำแนกพระธรรม
๓.แนะสอนมนุษย์ประพฤตินำ กระทำดีเลิศล้ำ นิกรยะยอ
๔.พระฯฝึกและเพียรเหมาะกลางหนอ วิโมกข์บรรเจิดพอ วิวัฒน์วิบูลย์
๕.พระสงฆ์กระทำประเทืองพูน ขยาย"พุทธ์ฯ"อาดูลย์ สดับสกล
๖.ผิใครมิฝึกบำเพ็ญตน ตะไปสอนสั่งชน จะโทษระทม
๗.จะถูกติเตียนและขื่นขม ลิชีพต้องตรอมตรม เพราะความทะนง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
โพธิ=ตรัสรู้ พระฯ=พระพุทธเจ้า ภค์วาฯ=ภควา แปลว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า วิโมกข์=ความหลุดพ้น พุทธ์ฯ=พุทธศาสนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
เปษณนาทฉันท์ ๑๖
๑.เพราะเหตุใดปราชญ์จะรับศีล, สวด กุศลใดยวด"นโม" ต้องพาน "นโม"สำคัญและใจน้อมขาน ละไม่ได้การวิเศษทุกครา
๒."น" คือธาตุน้ำและ"โม" ธาตุดิน "น" ดั่งแม่จินต์ และ"โม" พ่อ,นา ประสมสองธาตุกุรูปแรกหนา อุบัติวิญฯพาและจิตในตน
๓.เจริญเป็นก้อนและแท่ง,ชิ้นเนื้อ ขยายตัวเกื้อปะปุ่มห้าดล ก็"หัว" หนึ่ง, "แขน,และขา" สอง,ผล คะคล้ายกายคนแจรงมั่นคง
๔.ตะธาตุลม,ไฟก็อาศัยอยู่ สิตายแล้วรู้มลายหมดลง เพราะจิตไม่ได้เกาะยึดบรรจง "นโม"ธาตุส่งก็สร้างกายสรรค์
๕.อุบัติกายแล้วถนอมด้วยภัตร์ และพ่อแม่จัดแนะสั่งสอนครัน ทวีความดีเพราะ"บุพพาฯ"พลัน พระคุณมากนั้นประมาณไปไกล
๖.และกายนี้ก่อและเกิดจากท่าน ก็สินทรัพย์ดาลเพราะกายทำไว้ ผิกายไม่มีจะทำได้ไย จะทำไหนได้ ณ โลกนี้เลย
๗.ฉะนั้นปราชญ์นำ "นโม" ตั้งก่อน กระทำน้อมป้อนกุศลแน่เอย ก็กายพ่อแม่ซิให้เชย จะเป็นทุนเคยสิตนฝึกฝน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
นโม=นอบน้อม เป็นบุคคลาธิษฐานคือนอบน้อมด้วย กาย วาจา ใจ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์ รูปเริ่มแรก=เรียก กลละ ที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จาก กลละเป็นอัมพุชะ(ก้อนเลือด),ต่อไปเป็น ฆนะ(เป็นแท่ง),เปสิ(ก้อนเนื้อ), แล้วขยายตัวออกคล้ายจิ้งเหลน เกิดปัญจสาขา(กิ่งทั้งห้าของกาย แยกออกเป็น หัว ๑ แขน ๒ และขา ๒) ต่อจากนั้นจึงมีผม ขน และเล็บ..... วิญฯ=ปฎิสนธิวิญญาณ คือวิญญาณดวงแรกที่ก้าวลงในท้องมารดา, หรือจิตอันเป็นปฐมที่หยั่งลงในครรภ์มารดา บุพพาฯ=บุพพจารย์คือ ผู้สอนก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
ติลกีฏฐฉันท์ ๑๓
๑...ผิกล่าว"นโม" ทวิธาตุ ก็จะพลาดประกอบชม เสาะผัน "มโน" ก็สดมภ์ หฤทัยสิความหมาย
๒...ประสานประสมวปุ,ใจ เหมาะเจาะได้พลังกาย ก็มูลฐานรุจิกราย ปฏิบัติพระธรรมผล
๓..."มโน"ซิใจมหฐาน จิผสานกระทำตน ผจงแนะกายวสะรน ธุระเสร็จเพราะใจจินต์
๔...พระพุทธเจ้าริพระธรรม วตะนำเจาะใจชิน "นโม" "มโน"ระดะศิลป์ พหุหลายลุจากใจ
๕...หทัยกำหนดตริสกล ตะละคนจะต้องไข เพราะยึด"มโน"มทไว กวะ"โอฆะ"ท่วมถม
๖...พินาศตลอดเพราะ"อวิชฯ" นิรมิตแหละภพตรม เพราะหลงวะเป็นตนุรมย์ ริ"มมังฯ"ทะนงถือ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
นโม=นอบน้อม มโน=ใจ โอฆะ= ห้วงน้ำ คือกิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมจิตใจของหมู่สัตว์ให้ตกลงสู่ความพินาศ มี ๔ คือ ๑)กาโมฆะ, กาม ได้แก่ความใคร่ที่เกิดขึ้นเพราะดำริวัตถุกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒)ภโวฆะ คือภพ ยังมีความติดใจลุ่มหลงอยู่ในภพ ๓ ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ๓)ทิฏโฐฆะ คือทิฐิต่างๆ ได้แก่ มิจฉาทิฐิ ที่เป็นตัวหน่วงเหนี่ยวสัตว์ไว้ในภพ เป็นสาเหตุห้ามทั้งสวรรค์และนิพพาน ๔)อวิชโชฆะ คืออวิชชา ได้แก่ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ ไม่รู้อดีต,ไม่รู้อนาคต, ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต พร้อมทั้งไม่รู้หลักแห่งปัจจยากร(อาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัยปรุงแต่ง) มมังฯ=มมังการ คือ ความถือว่าเป็นของเรา,ความสำคัญว่าเป็นของเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
อาวัตตฉันท์ ๑๖
๑.คัมภีร์แนะถ้อยพระธรรม เจ็ดแนะจิต,รูป,นิพฯนำ เจาะพุทธ์มารดา
๒.คัมภีร์มหาฯสิพา พุทธเจ้าตรัส์รู้หนา แฉเหตุก่อการ
๓.เหตุหนุนอุบัติละลาน ตัว"มโน"เดิมแน่ผลาญ "มหาเหตุ"ใจ
๔."อารมฯ" สิใจตริใฝ่ ธรรม"อวิคฯ" คอยสุกใส ลุจากใจตน
๕.บัญญัติพระธรรมสกล "ญาณฯ"พลังเนื่องผล จะรู้อนันต์
๖.สาวกหทัยประชัน รู้ตริตามพุทธ์องค์สรร เพราะจิตใจแจง
๗.ท่าน"อุปติสสะ"แคลง "อัสสชิ"ไม่เทศน์แฝง เพราะเหตุก่อธรรม
๘.ทุกสิ่งจะเกิดและทำ เหตุ"มหา"จิตส่งพร่ำ กระทำทันที
๙."โลกุตฯ" ประสิทธิ์ทวี ต้อง"มหาเหตุ"สักขี ณ โลกแน่นอน
๑๐.ผู้ทำ "มหาฯ" มิคลอน จิตสว่างเจิดแจ่มป้อน จะรู้ทุกกาล
๑๑.รอบรู้เอนกพะพาน เป็นอนันต์ได้กล่าวขาน "อรีย์ฯ"เลิศวงค์ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
คัมภีร์พระอภิธรรม=คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎก มีอยู่ ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมะขั้นสูง จะกล่าวถึงเรื่องของจิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นธรรมที่โปรดพุทธมารดา เมื่อจบพระธรรมเทศนา เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏได้บรรลุธรรม และสันตุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา)ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบุคคล เจาะ=ตั้งใจเฉพาะ พุทธฯ=พุทธมารดา มหาปัฏฯ=คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุ ปัจจัย และความสัมพันธ์อันเป็นเหตุเป็นผลที่อิงกัน อาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวง เช่น ความไม่โลภ โกรธ หลง ทาน ศีล ภาวนา เป็นปัจจัยให้เกิดในที่มีสุข, ความยินดี ในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นปัจจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี มหาเหตุ=มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ ๗ ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อารมฯ=อารมมณปัจจัย เป็นธรรมที่อุดหนุน โดยเป็นอารมณ์ หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย และธัมมารมณ์(อารมณ์ที่ใจ) อวิคฯ=อวิคตปัจจัย คือ สภาพธรรมนั้นๆจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย ปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นเลย บัญญัติ=กำหนดหลักเกณฑ์ ญาณฯ=ทศพลญาณ ๑๐ คือญาณอันเป็นกำลังของพระพุทธเจ้าที่ทำให้สามารถบันลือสีหนาท ประกาศศาสนาได้มั่นคง พระอัสสชิ= หนึ่งใน ๕ ของพระปัญจวัคคีย์ อุปติสสะ= คือชื่อเดิมของพระสารีบุตร ก่อนที่จะบวช ได้ขอให้พระอัสสชิแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าให้ฟัง โลกุตรฯ=คือภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ อริยมรรค ๔, อริยผล ๔, นิพพาน ๑ มหาฯ= มหาเหตุ,มหาปัฏฐาน อรีย์ฯ=พระอริยะ คือผู้บรรลุญาณสูงสุดในพุทธศาสนา มี ๔ ขั้น ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ได้แก่ พระโสดาบัน, พระสกิทาคามี,พระอนาคามี และพระอรหันต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
อีทิสังฉันท์ ๒๐
๑...ชาตะเป็นมนุษย์จะเกิดกะพ่อ และแม่มิเว้นสิสัตว์ซิหนอ ก็หลักการ
๒...ส่วน"อวิชฯ" กำเนิดตะใจสิงาน หทัยมุหลงกิเลสจะผลาญ จะก่อใย
๓...คำ "อวิชฯ" มิรู้ กะ"สัจจ์ฯ" วิไล จะปรุงกระจายจะยึดและไข กุภพพาน
๔...การกุภพ ระเรียงถะถั่งละลาน สิ"ปัจฯ" เพราะเกิดตลอดผสาน ณ บัดดล
๕...แม้"อวิชฯ" และ "วิชฯ" ก็จากกระมล เผดิม ฤา "ฐีติฯ" อย่าฉงน เพราะแน่นอน
๖...เมื่อฤทัยประกอบ"อวิชฯ"จะคลอน มิรู้ทุรนระทมมิถอน มิเลิกรา
๗...ถ้าหทัยประกอบซิ "วิชฯ" จะพา เพราะ"วุฏฯ" เจริญกะมรรคซิหนา กิเลสคลาย
๘..."ฐีติฯ"ตัวปฐมกุ "วัฏฯ"ขจาย ลิวัฏฏะรานหทัยจะฉาย เพราะรู้ทัน
๙...ควร"วิปัสสนา"ลุมรรคประชัน นิราศมิยึดมิเหนี่ยวกะขันธ์ มลานไป
๑๐..."ฐีติภูฯ" จะหยุดละ"วัฏฏะ" ได้ ปลาตทุรนกะเกิดวิสัย นิรันดร์กาล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
อวิชฯ=ความไม่รู้ใน อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) สัจจ์ฯ=อริยสัจ ๔ ปัจฯ=ปัจจยาการ คืออาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัย เช่น อวิชชา สังขาร ฯลฯ ชาติ(การเกิด) ชรา มรณะ ต่างเกิดขึ้นตามปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อมีชาติ ชรา มรณะแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส ก็เกิดตามปัจจัย วิชฯ= วิชชา คือความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ฐีติภูฯ=ฐีติภูตัง คือจิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา, ตัณหา(ความทะยานอยาก),อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)" เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้วจะเป็น "ฐีติญานัง" คือจิตผู้รู้สูญจากอาสวะ(กิเลส) จะรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุขพ้นจากทุกข์ทั้งปวง วุฏฯ=วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือวิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึง"วุฏฐานะมรรค"(เป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติด ถือมั่นหรือออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค ขันธ์= ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย: ๑. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์~วิปริตตปุญญฉันท์ ๒๒
มุตโตทัย : ๗. อรรคฐานเป็นที่ตั้งแห่งมรรค ผล นิพพาน
ยุวมติฉันท์ ๒๕
๑.ฐานะของมนุษย์ประเจิด จะเลิศเพราะเกิดศุภศรี ก็พ่อและแม่ประวีร์ นโมกำเนิดใจ
๒.กายมนุษย์พะพร้อมติวิต ประสิทธิ์กะกายหฤทัย วจีสดับละไม อดุลย์วสุหวาน
๓.อีกมนุษย์สะสมกะทรัพย์ จะนับคะเนพหุการ กระมลก็เก่งประมาณ ลุมรรควิโมกข์ศิลป์ ๔.พุทธองค์กำหนดพระธรรม จะนำมนุษย์ชยริน มิได้เจาะจงผลิน ดิรัจฯกระนี้เผย
๕.เหล่ามนุษย์ผจงวิมุต พิสุทธิ์สะอาดสุขะเชย ฉะนี้มิควรจิเปรย ติบุญกระจิ๊ดหนา
๖.เมื่อมิมีก็เร่งกุศล ถกลสมาธิ์ระดะพา เจริญกะศีลนะคณา พระพุทธฯแนะอย่าผลาม
๗.ใครกระทำสิน้อยประชัน ผิดั้นและเพียรทมะงาม ประกอบกะบุญซิลาม สงบ"นิร์วาณ"สันต์
๘.พุทธองค์จะกล่าวดิรัจฯ สกัดพิสิษฐ์ธุระครัน เพราะร่างชะงักชะงัน มิคล้ายมนุษย์หนอฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
นโม=น คือธาตุน้ำ หมายถึงแม่, โม คือธาตุดิน หมายถึงพ่อ ติ=สาม วิต=ทรัพย์สมบัติ,ลาภ,มีชื่อเสียง วิโมกข์=หลุดพ้น ดิรัจฯ=ดิรัจฉาน คือสัตว์ที่มีร่างกายเจริญโดยขวาง ซึ่งตรงข้ามกับมนุษย์ที่เจริญตรงขึ้นไป, สัตว์ทั้งหลายเว้นมนุษย์ วิมุต= หลุดพ้น กระจิ๊ดริด= น้อยมาก พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า ทมะ=การข่มใจ,การฝึกสอนตน นิร์วาณ=นิรวาณ,นิพพาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|