
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๖๖.ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
โคลงสินธุมาลีแผลง
๑.พุทธ์องค์ตรัสความดับ................หมดไป
ของเครื่องปรุงแต่งใน.......................บุคคล
มีสิบเรียงรายไกล.............................บำเพ็ญ
ตามฌานที่ตนลุ................................เรียงกัน
๒.ครันหนึ่งปฐมยาม.......................ลุแล้ว
"วาจา"จะดับแผ่ว...............................หมดราน
"ทุติย์ฯ"ฌานสองแคล้ว......................เลิกปรุง
วิตก,วิจารแล.....................................ดับลง
๓.บ่ง"ตติย์ฌาน"สาม........................ระงับ
"ปีติ,อิ่มใจ"นับ....................................หมดสิ้น
"จตุต์ฌานฯ"สี่ลับ...............................หายใจ
ลมเข้า-ออกปลิ้นรอน.........................ดับวาย
๔.ฉายสู่"อรูป์พรหม".........................ที่ห้า
"อากาสาฯ"เพ่งหา...............................อากาศ
ที่สุดมิได้หนา.....................................พลันดับ
"รูปสัญญา"คลาดแคล้ว.......................เลิกรา
..
๕.คราหกผู้เข้าสู่..............................."วิญญาฯ"
เพ่งวิญญาณสุดหา..............................มิได้
"อากาสัญญาฯ"...................................หมายจำ
เลิกกำหนดไซร้เลย..............................หมดลง
๖.เจ็ดผู้ทรง"อากิญฯ"........................เพ่งมั่น
ไม่มีอะไรครัน......................................แม้น้อย
"วิญญาสัญญาฯ"บั่น.............................ดับลง
กำหนดหมายคล้อยไป..........................แน่นอน
๗.ผู้จรแปด"เนว์สัญฯ".........................ได้เพ่ง
สัญญาจำได้เคร่ง..................................หมายว่า
ใดไม่ดีก็เร่ง..........................................ให้พร้อม
"อากิณสัญญาฯ"ดับ..............................สิ้นไป
๘.เก้าไซร้ลุ"สัญญา-............................นิโรธ"
"สัญญา,จำได้"โลด...............................ดับพร้อม
"เวท์นา"เสพทุกข์โฉด.............................สุขรวม
สองอย่างดับค้อมคล้อย..........................หมดลง
๙.สิบบ่งผู้ลุ"ขี-.....................................ณาสพ
"อาสวกิเลส"จบ......................................อรหันต์
"ราคะ,โลภ"สลบ.....................................โทสะ
ทั้งสามดับพลันแล้..................................จีรัง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๖๘
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๘-๑๑๙
ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน คือ ฌานที่สอง ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง) สงบระงับ
ตติย์ฌานฯ=ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ
จตุต์ฌาน=จตุตถฌาน คือ ฌาน ๔ ซึ่ง ลมหายใจเข้าออก สงบระงับ
อรูปพรหม=พรหมที่ไม่มีรูป
อากาสาฯ=ผู้เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง
วิญญาฯ=ผู้เข้าสู่ วิญญาณัญ-จายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
อากาสัญญาฯ=อากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญฯ=ผู้เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง
เนว์สัญฯ=ผู้เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตน ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง
สัญญานิโรธฯ=ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้
อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ
ขีณาสพ=พระอรหันต์ คือผู้สิ้นอาสวกิเลส จะดับทั้ง ราคะ(ความกำหนัด ยินดีหรือความติดใจ),โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และ โมหะ(ความหลง) ลงได้