Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม >> ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
หน้า: 1 ... 6 7 [8]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร  (อ่าน 23380 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #105 เมื่อ: 15, พฤษภาคม, 2568, 09:04:31 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๕/๒๘)๓๐. สังคีติสูตร

(๑๑) วิโมกข์ ๘ อย่าง ได้แก่
(๑๑.๑)บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย (๑๑.๒)ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก (๑๑.๓)บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว (๑๑.๔)เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ (๑๑.๕)เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๑.๖)เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (๑๑.๗)เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญายตนะอยู่ (๑๑.๘)เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ธรรมมีประเภทละ ๙ =มี ๖ เรื่อง คือ
(๑)อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง ได้แก่
(๑.๑) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว (๑.๒)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา (๑.๓)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา (๑.๔) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว (๑.๕) ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเรา (๑.๖)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็น ที่รักเป็น ที่ชอบใจของเรา (๑.๗)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว (๑.๘)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา (๑.๙)ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา
(๒) อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง ได้แก่
(๒.๑)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๒)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๓)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๔)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๕)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่ง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๖) บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหา ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๗)บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา แล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๘)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน (๒.๙)บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
(๓) สัตตาวาส ๙ อย่าง ได้แก่
(๓.๑)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่น พวกมนุษย์ เทวดา บางพวก วินิปาติกะ บางพวก (๓.๒)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก เทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..

แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #106 เมื่อ: 15, พฤษภาคม, 2568, 10:09:10 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๓.๓) มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวก เทพเหล่าอาภัสสระ (๓.๔)มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่า สุภกิณหา  (๓.๕)มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพ เหล่าอสัญญีสัตว์ (๓.๖.)มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ (๓. ๗)มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดย ประการทั้งปวง แล้ว เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ (๓.๘)มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้า ถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร (๓.๙)มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวงแล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต
(๔) อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศไว้ แบ่งได้ (๔.๑)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๒)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๓)แต่บุคคลนี้เข้าถึง วิสัยแห่งเปรต เสียนี้ มิใช่สมัยจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๔)แต่บุคคลนี้ เข้าถึงอสุรกายเสีย มิใช่ขณะมินี้มิใช่ขณะชิใช่สมัย ที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๕)บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพ ที่มีอายุยืน พวกใดพวกหนึ่งเสียนี้ มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๖)แต่บุคคลนี้เกิดเสีย ในปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้คติ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย ที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ (๔.๗)บุคคลนี้ก็เกิด ในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทาน ที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่บุคคลทำดี หรือทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มีในโลก ไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนิน ไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ โลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่ง ด้วย ตนเอง แล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๘) บุคคลนี้ก็เกิดใน มัชฌิมชนบทแต่เป็น คนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้ อรรถ แห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ (๔.๙)บุคคลนี้เกิดใน มัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถ ที่จะรู้ อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์
(๕) อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง แบ่งได้
(๕.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ (๕.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตใจ ในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ (๕.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌาน นี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ (๕.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ (๕.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดย ประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสา นัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ (๕.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจา ยตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุด มิได้ ดังนี้อยู่ (๕.๗)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ (๕.๘)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนะอยู่ (๕.๙)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา สัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
(๖) อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง คือ
(๖.๑)กามสัญญาของท่าน ผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป (๖.๒)วิตกวิจารของท่าน ผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป (๖.๓) ปีติของท่าน ผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป (๖.๔)ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่าน ผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป (๖.๕)รูปสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป (๖.๖)อากาสานัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๗)วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๘)อากิญจัญญายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป (๖.๙)สัญญาและเวทนาของท่าน ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #107 เมื่อ: 16, พฤษภาคม, 2568, 08:58:48 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๑๐ =มี ๖ เรื่อง คือ
(๑)นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง แบ่งได้
(๑.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระ ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย  (๑.๒)ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรม ที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี (๑.๓)ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย (๑.๔)ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมที่กระทำ ให้ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย (๑.๕)ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วย ปัญญา เป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถ ทำสามารถ จัดใน กรณียกิจใหญ่น้อย ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย (๑.๖)ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่ง ในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย (๑.๗)ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ (๑.๘)ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรม (๑.๙)ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ และปัญญา เครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ (๑.๑๐)ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญา ที่เห็นความเกิด และ ความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
 (๒)กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง ได้แก่
(๒.๑)ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๒)ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๓)ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๒.๔)ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๒.๕)ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๖)ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๗)ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๘.)ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณหามิได้ (๒.๙)ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ (๒.๑๐)ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้
(๓)อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ได้แก่
 (๓.๑)ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] (๓.๒)อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้] (๓.๓)กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม] (๓.๔)มุสาวาท [พูดเท็จ] ๓.๕.ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] (๓.๖)ผรุสวาจา  [พูดคำหยาบ] (๓.๗)สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] (๓.๘)อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา] (๓.๙)พยาบาท [ความปองร้ายเขา] (๓.๑๐)มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด]
(๔)กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างได้แก่
(๔.๑)ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] (๔.๒) อทินนาทานาเวรมณี [เจตนาเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้] (๔.๓)กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม] (๔.๔)มุสาวาทา เวรมณี           [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ] (๔.๕)ปิสุณาย วาจาย เวรม


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #108 เมื่อ: 16, พฤษภาคม, 2568, 02:55:56 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๘/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๕.๓) เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง จะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาย่อมประกอบด้วยใจ อันมีสติเป็นเครื่อง อารักขา (๕.๔)เป็นผู้มีที่พิงสี่  โดยจะต้องเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้นของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาของอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีที่พิงสี่ (๕.๕) เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว  สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณะ และพราหมณ์ เป็นอันมาก ย่อมเป็นของ อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละสละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว (๕.๖)เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ คือมีแสวงหากาม, มีการแสวงหาภพ, มีการแสวงหา พรหมจรรย์ อันสละคืนแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีการ แสวงหาอันสละ แล้วโดยชอบ (๕.๗)เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือเป็นผู้ละความดำริในทางกาม, ผู้ละความดำริในทางพยาบาท, เป็นผู้ละความดำริ ในทาง เบียดเบียนได้ขาดแล้ว (๕.๘)เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ  ด้วยบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุกเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ ชื่อว่า เป็นผู้มี กายสังขาร สงบระงับ (๕.๙)เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ด้วยมีจิตพ้นแล้วจากราคะ,จากโทสะ,จากโมหะ จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว (๕.๑๐)เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว  ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเราละ ได้แล้ว, โทสะ, โมหะ อันเราละได้แล้ว ถอนราก ขึ้นเสีย ได้แล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้วมีอันไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นอีก
(๖) อเสกขธรรม ๑๐ อย่าง ได้แก่
(๖.๑)ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๒) ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๓)เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๔)การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๕) การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๖)ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๗)ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๘) ความตั้งใจชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๙)ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ (๖.๑๐)ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #109 เมื่อ: 17, พฤษภาคม, 2568, 11:40:39 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๓๑.มูลปริยายสูตร(สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง)

กาพย์พรหมคีติ

   ๑.พุทธ์เจ้าประทับไซร้.............ณ โคนไม้สาละหนา
"ป่าสุภคะ"หล้า...........................ใกล้"อุกกัฏฐาฯ"นคร
ทรงตรัสชัดสงฆ์หลาย................ฟังบรรยายมูลธรรมสอน
เหตุธรรมล้ำแปดจร...................."สัพพ์ธัมม์ปริยาย"

   ๒.นัยแรกปุถุชน......................กิเลสท้นมิคลาย
นัยสอง"เสขะฯ"ฉาย...................ยังศึกษาพระธรรมกราน
นัยสาม-หก"ขีณาฯ"....................อร์หันต์กล้ากิเลสผลาญ
นัย"เจ็ด-แปด"เกี่ยวขาน..............พระศาส์ดารู้ยิ่งจริง

   ๓.ปุถุชนโลกยัง.......................มิได้ฟัง,ทราบธรรมยิ่ง
พุทธ์องค์บ่งแนะพริ้ง...................หรือพบพุทธ์สาวกเลย
ย่อมรู้"สัญชาฯ"เก่า....................."ใช้จำ"เอาสิ่งเห็นเปรย
ไม่รู้จริงนั่นเอย...........................จึงยึดถือครือของตน

   ๔.เช่นหมายรู้ปัฏวี....................จำผิดลี้จากจริงยล
เหตุกิเลสช้าดล.........................."มานะ,ทิฎฐิ"สูงเอย
ทำให้เกิดพอใจ..........................กำหนดใน-นอกเผย
กำหนดให้เห็นเลย......................ดินของตนครันติดใจ

   ๕.หมาย"นอก"ปัฏวีด้วย............ทิฎฐิช่วยว่าตนไซร้
และสรรพสิ่งเกิดใกล้..................จากดินแต่ไป่ดินแล
เกิดตัณหาในตน........................มานะท้น,สิ่งอื่นแฉ
ยินดีปัฏวีแน่...............................คือยินดีทุกข์นั่นเอง

   ๖.ปัฏวี,ธาตุดิน.........................มีสี่ยินประกอบเผง
"ลักขณ์ปฐวี"เบ่ง.........................ส่วนแข็งหยาบในตัวมัน
"สลัมภารฯ"ที่ปะ..........................อวัยวะเช่น"ผม"ครัน
"อารัมม์ปฐวีฯ"ดั้น.........................ทำอารมณ์กสิณคง

   ๗."สัมมติปัฐวี"...........................เป็นธาตุที่เทพเกิดส่ง
ในโลกด้วยกสิณตรง....................ด้วยอำนาจของฌานเอย
ที่หมายธาตุดินเป็น.......................ของตนเด่นยินดีเผย
พุทธ์องค์ทรงเอ่ย..........................เพราะเขาไม่กำหนดรู้

   ๘.ไม่กำหนดรู้หนา......................"ปริญญา"สามพร่างพรู
เพื่อล้าง"อวิชช์ฯ"กรู......................ขจัดเข้าใจผิดเอย
ให้จิตชิดความจริง........................รูป,นามดิ่งมิเพี้ยนเผย
ปริญญ์ฯทุกตัวเชย.......................สำคัญต่อวิปัสส์นา

   ๙.ฝึกจิตคิดปริญญ์ฯ..................เข้าถึงสิ้นทุกตัวหนา
เป็นเหตุปัจจัยพา..........................คว้าสัมฤทธิ์ทั้งสามแล
"ญาตปริญญ์ฯ"รู้คลี่......................ปัฐวีใน-นอกแท้
เข้าใจทุกข์เกิดแล้........................หนทางการดับทุกข์เอย

   ๑๐."ตีรณ์ปริญญ์"ยิ่ง.................เห็นความจริงไตรลักษณ์เผย
ธาตุดินไม่เที่ยงเปรย....................ครือนามรูปไม่เที่ยงกลาย
"ปหานปริญญ์ฯ"แน่ว....................พิจารณ์แล้วกำหนัดคลาย
ญาณอริยะฉาย...........................หรือลุอรหัตต์ดล

   ๑๑.เพราะปริญญาสาม.............มิมีลามปุถุชน
เขาทำกำหนดล้น.........................หมายยินดีรี่ธาตุดิน
ธาตุน้ำ,ไฟ,ลมใฝ่..........................หมายรู้ใน-นอกสิ้น
คิดเป็นเช่นตนชิน.........................เกิดยินดีมีเพลิดเพลิน

   ๑๒.ปุถุชนหมายคลำ................."น้ำ"เป็นน้ำกำหนดเกริ่น
ภายใน-นอกเดิน...........................น้ำเป็นเราเฝ้ายินดี
"ไฟ,ลม"ชมเช่นกัน........................พุทธ์เจ้าครันตรัสเหตุปรี่
มิกำหนดรู้คลี่................................สิ่งทั้งผองมิใช่ตน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #110 เมื่อ: 17, พฤษภาคม, 2568, 05:12:51 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒/๖) ๓๑.มหาปริยายสูตร

   ๑๓.ปุถุชนหมายเด่น.........."ภูต"ว่าเป็นภูต,สัตว์ยล
กำหนดใน-นอกก่น...............ภูตของเราเฝ้ายินดี
หมายรู้"เทวา"ว่า...................เป็นเทวาแล้วจดรี่
ทั้งภายใน-นอกคลี่................เทวาของตนพอใจ

   ๑๔.หมาย"ปชาบดี"............ว่าเป็นที่ปชาฯใส
กำหนดใน-นอกไว้.................ปชาฯของตนยินดี
หมายรู้ว่า"พรหม"เป็น............พรหมที่เด่นแล้วลี
กำหนดใน-นอกมี..................พรหมของตนชื่นชม

   ๑๕.ปุถุชนรู้จร...................."อาภัสสรพรหม"นิยม
กำหนดใน-นอกบ่ม................อาภัสฯของตนยินดี
หมาย"สุภกิณห์ฯ"ชิน.............เป็นสุภกิณห์ปรี่
กำหนดใน-นอกที่..................สุภกิณห์ฯของตนยินดี

   ๑๖.ปุถุชนหมายรู้..............เวหัปฯอยู่เป็นนี้
กำหนดใน-นอกที่.................เวหัปฯของตนพอใจ
หมาย"อภิภูสัตว์"..................ว่าเป็นชัดอภิฯไซร้
กำหนดใน-นอกไว................อภิฯของตนยินดี

   ๑๗.หมายรู้"อากาสาฯ".......ว่าเป็นนาอากาฯรี่
กำหนดใน-นอกที่.................อากาฯของตนยินดี
หมาย"วิญญานัญจ์ฯ"หนา.....เป็นวิญญานัญจ์ฯแล้วรี่
กำหนดใน-นอกมี.................วิญญาฯของตนพอใจ

   ๑๘.ปุถุชนหมายสิ้น...........เป็นอากิญจัญญ์ฯใส
กำหนดใน-นอกไซร้..............อากิญจัญญ์ฯของตนเริงรมย์
หมาย"เนวสัญญ์ฯ"แน่ว..........ว่าเป็นแล้วเนวะฯสม
กำหนดใน-นอกคม................เนวะฯของตนเปรมปรีดิ์

   ๑๙.หมายรู้"รูป"เห็นนา........เห็นด้วยตาเนื้อรตี
หรือตาทิพย์แล้วรี่..................ว่าเป็นรูปตนแล
หมายรูปนอก-ในจริง.............ตนเห็นยิ่งแท้ชัดแฉ
หมายรู้อยู่รูปแน่....................เป็นของเราเร้าพอใจ

   ๒๐.หมายรู้"เสียง"สิ้น..........ด้วยหูยินแน่ไซร้
หรือหูทิพย์แล้วไว..................ว่าเป็นเสียงตนเอง
กำหนดนอก-ในเสียง.............ตนยินเยี่ยงนั้นเผง
หมายจินต์ยินเสียงเพ่ง..........เป็นเสียงตนยินดี

   ๒๑.หมายรู้อารมณ์นา........รู้แล้วอารมณ์ทราบคลี่
จึงรับจับไว้รี่.........................หมาย"ในอารมณ์"ทราบเอย
หมาย"นอกอารมณ์"แล้ว.......อารมณ์แน่วของตนเผย
พุทธ์องค์บ่งเหตุเปรย............ไม่ได้กำหนดรู้จริง

   ๒๒.หมายรู้อารมณ์แจง.......ใจรู้แจ้งยิ่งทุกสิ่ง
อารมณ์รู้แจ้งอิง.....................หมาย"ในอารมณ์"ทางใจ
หมาย"นอกอารมณ์"บ่ม..........เห็นอารมณ์ใจรู้ไซร้
อารมณ์รู้แจ้งใจ.....................เป็นของตนล้นดีเจียว

   ๒๓.เผยรู้จิตเป็หนา.............ฌานสมาบัติอันเดียว
หมาย"ในจิต"เดียวเชียว.........เป็นฌานสมาบัติเอย
หมาย"นอกจิต"ฌานชัด".........สมาบัติเดียวกันเผย
จึงคิดจิตเป็นเอย................... ฌานของเราเคล้ายินดี

   ๒๔.หมายรู้"กามจิต"ครัน.....ของต่างกันมากแล้วรี่
หมายในกามจิตปรี่................"นอกกายจิต"ความต่างกัน
หมายเอาความ"กามจิต".........ต่างกันคิดของเราครัน
แล้วยินดีความดั้น...................ความที่กามจิตต่างกัน

   ๒๕.ปุถุชนหมายนา..............."สักกายะ"เป็นแล้วเผย
ใน-นอกสักกาฯเอ่ย..................ขันธ์ห้าของเรายินดี
รู้นิพพานในความ.....................หมายเป็นตาม
นิพพทานรี่
ใน-นอกนิพพานปรี่..................นิพพานของตนดีใจ

   ๒๖.กล่าวมาแล้วทั้งผอง........ว่าเป็นของตนสิ้นไข
พุทธ์องค์บ่งเหตุไซร้................เพราะเขาไม่ได้รู้จริง
จึงได้คิดผิดความ....................เกิดผลลามเสียหายยิ่ง
ต้องล้าง"อวิชฯ"ทิ้ง...................ละความใฝ่ใจผิดลง

   ๒๗.นัยสองพุทธ์เจ้าเน้น.........ผู้ยังเป็นเสขะคง
เช่น"โสดาบัน"บ่ง....................."สกิทาฯ,อนาคาฯ"
มิลุอรหัตต์ผล..........................ต้องฝึกตนท้นนา
ธรรมในไตรสิกขา...................."ศีล,สมาธิ์,ปัญญา"เอย


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #111 เมื่อ: เมื่อวานนี้ เวลา 09:16:28 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

   ๒๘.สงฆ์มีฌาณรู้ยิ่ง.............ปฐวีดิ่งกว่าชนเผย
ไม่หมายใน-นอกเลย...............ปฏวีไป่ตนไม่ชม
เขาควรด่วนรู้ไกล...................ทั้งน้ำ,ไฟ,ลม,ภูติสม
เทพ,ปชาบ์ดี,พรหม.................อาภัสฯ,สุภกิณฯแล

   ๒๙."เวหัปฯ,อภิภูฯ"..............."อากาฯ",กรู,วิญญาฯ"แล้
"อากิณฯ,เนวะฯ"แน่................รูปตนเห็น,เสียงยินเชียว
อารมณ์ทราบ,แจ้งพาน...........จิตเป็นฌานสมาฯเดียว
"กามจิต"ต่างกันเจียว.............."สักกายะ"เรื่องขันธ์เอย

   ๓๐.สงฆ์รู้ยิ่งนิพพาน............ความหมายจารต่างชนเผย
ชนเข้าใจผิดเอย....................ว่าเป็นตนสุขด้วยกาม
สงฆ์ไม่กำหนดนิพฯ................ใน-นอกลิบเพราะรู้ความ
ไม่กำหนดนิพฯตาม................ว่าของเราไร้รตี

   ๓๑.นัยสาม,พระขีณาสพ.....สงฆ์ใดจบอรหันต์รี่
ทำกิจเสร็จแล้วปรี่..................สิ้น"ภวสังโยชน์"ตาม
หลุดพ้นรู้แจ้งจริง...................ยังรู้ยิ่งปฐวีความ
ไม่จดใน-นอกลาม..................ดินไป่ตนไม่ยินดี

   ๓๒.พุทธ์เจ้าเร้ากล่าวอยู่......ขีณาฯรู้ดินแล้วรี่
ยังรู้ยิ่ง"น้ำ"คลี่.......................ไฟ,ลม,ภู,เทพ,ปชาฯ
พรหม,อาภัสฯสุภกิณห์ฯ.........เวหัปฯชิน,อภิฯกล้า
อากาสาฯ,วิญญาฯ..................อากิณจัญฯ,เนวะฯแล

   ๓๓.พร้อมรูปยล,เสียงยิน.....อารมณ์จินต์ทราบ,แจ้งแฉ
ฌานสมาบัติเดียวแท้.............กามจิตต่าง,สักกาฯมี
รู้ยิ่งนิพพานลิบ......................ใน-นอกนิพฯไม่หมายปรี่
ไม่จดนิพพานรี่.......................ไป่ของตนไม่ชื่นชม

   ๓๔.นัยสี่,พระขีณาสพ.........สังโยชน์น้อยหลุดพ้นสม
แม้ดินไม่กำหนดจม................ทั้งใน-นอกไม่ใช่เรา
พุทธ์องค์ทรงกล่าวไว้.............เป็นเพราะไร้"ราคะ"เขลา
จึงหมดกำหนดเบา.................ยินดีพอใจทอนปลง

   ๓๕.ขีณาฯรู้ยิ่งฉม...............น้ำ,ไฟ,ลม,ภูต,เทพบ่ง
ปชาบ์ดีฯ,พรหมยง.................อาภัสสร,สุภกิณห์ฯแล
เวหัปฯ,อภิภูฯนา.....................อากาสาฯ,วิญญาฯแฉ
อากิญฯ,เนวะฯแน่...................รูป,เสียง,อารมณ์เอย

   ๓๖."อารมณ์"รู้แจ้งนา...........ฌานสมาบัติฯเดียวเผย
กามจิตต่างกันเลย..................สักกายฯนิพพานไกล
ทั้งหมดไม่ยึดเป็น....................ของตนเด่นไร้พอใจ
ถุทธ์องค์ทรงตรัสไซร้..............เขาปราศราคะแล้วนา

   ๓๗.นัยห้า,พระขีณาสพ.........สังโยชน์ครบจบสิ้นหนา
หลุดพ้นรู้จริงนา.......................ยังรู้ยิ่งปัฐวี
ไม่ได้เป็นของตน......................และยังพ้นจากยินดี
พุทธ์องค์บ่งผลรี่.......................เขาปราศ"โทสะ"แล้วราน

   ๓๘.สิ่งอื่นเช่นน้ำ,ไฟ...............เหมือนเช่นไซร้นัยสี่ผลาญ
เขาเลิกกำหนดพาน..................ใน-นอกไม่ยึดของตน
ไม่ยินดีคลี่สิ่งนั้น......................รีบหนีครันเลยหลุดพ้น
พุทธ์องค์ทรงตรัสผล...............เพราะโทสะผละสิ้นไป

   ๓๙.นัยหก,พระขีณาสพ.........สังโยชน์จบนบถ้วนไข
หลุดพ้นรู้จริงไกล.....................ยังรู้ยิ่งปัฐวี
ไม่ได้เป็นของตน......................และยังพ้นจากรตี
พุทธ์องค์ทรงตรัสชี้...................เขาปราศ"โมหะ"มลาน

   ๔๐.สิ่งอื่นเช่นน้ำ,ไฟ................เหมือนเช่นไซร้นัยสี่ผลาญ
เขาเลิกกำหนดพาน...................ใน-นอกไม่ยึดของตน
ไม่ยินดีรี่สิ่งนั้น...........................หนีออกพลันจึงหลุดพ้น
พุทธ์องค์บ่งชี้ผล........................เพราะโมหะหมดสิ้นจริง


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #112 เมื่อ: เมื่อวานนี้ เวลา 04:54:39 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๔/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

   ๔๑.นัยเจ็ด,"ตถาคต"........ก็รู้จดปัฐวียิ่ง
ไม่หมายใน-นอกทิ้ง.............ดินไม่ใช่ของเราแล
ไม่ยินดีปฐวี.........................เพราะเหตุใดรี่ใดเล่าแฉ
ทรงกล่าวตถาคตแล้............รู้ปฐวี..แล้วเอย

   ๔๒.สิ่งอื่นหลายน้ำ,ไฟ.......ทั้งนั้นไซร้นัยสี่เปรย
ทรงรู้ยิ่งหมดเลย..................เช่นรู้ยิ่งนิพฯความเนา
เลิกกำหนดนอก-ใน..............นิพพานไซร้เลิกหลงเขลา
ไม่หมายนิพฯของเรา............ไม่ยินดีในนิพพาน

   ๔๓.นัยแปด,ตถาคต...........รู้จรดปฏวีขาน
ไม่ยินดีพบพาน.....................ในปฐวีอีกเลย
เพราะรู้ความเพลิดเพลิน.......เป็นเหตุเกริ่นทุกข์ยากเอ่ย
เพราะมี"ภพ","ชาติ"เลย.........อุบัติ,สัตว์เกิด,แก่ตาย

   ๔๔.เนื่องจากตรัสรู้ล้ำ........"อนุตตรสัมมาฯ"ผาย
เพราะสิ้นตัณหาคลาย..........ดับ,สลัดตัณหาทั้งมวล
ตถาคตรู้ยิ่งทำ......................ทั้งหมดนำ"นัยสี่"ถ้วน
พุทธเจ้าตรัสถ้วน..................ภิกษุใจมิชื่นชม

   ๔๕.มิ"ชื่นชมยินดี"............ภิกษุรี่มิรู้สม
เนื้อความพระสูตปม............เหตุ"มานะ,ทิฏฐิ"เอย
มัวเมา,ภาษิตลึก..................เกินจะตรึก"นัยหนึ่งเผย
ถึงนัยแปด,มิเกย.................อรรถแสดงใจมิปรีดิ์

   ๔๖.ภายหลังได้ฟังโชติ.....พระสูตร"โคตม์ฯที่เจดีย์
"โคตมก"คลี่........................พุทธองค์"ตรัสรู้ธรรม"
"อันยิ่ง"ถ้าไม่รู้.....................ก็ไม่จู่แสดงนำ
"ธรรมมีเหตุ"จึงพร่ำ.............ไร้เหตุจะมิกล่าวนา

   ๔๗.ธรรมมีปาฏิหาริย์........จึงบอกกรานชัดเจนหนา
ผู้ทำตามลุนา.......................ได้ผลเป็นอัศจรรย์
คำสั่งสอนของเรา................ควรเร่งเร้าทำตาม ครัน
มีใจยินดีมั่น.........................ตถาคตตรัสรู้จริง

   ๔๘.ภิกษุหลายได้ฟัง.........ชื่นชมจังภาษิตยิ่ง
จึงลุอรหันต์ดิ่ง.....................พร้อม"ปฏิสัมภิทา"
คราพุทธ์องค์เทศน์จบ.........."สหัสสีฯ"ครบอย่างเล็กหนา
เกิดไหวสะเทือนนา..............ทรงแจงธรรมพิเศษเอย ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๘ -๓๖๙
           ๒)มจร.๑.มูลปริยายสูตร https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1

สัพพ์ธัมม์ปริยาย=สัพพธัมมปริยาย คือ มูลแห่งธรรมทั้งปวง
เสขะฯ=พระเสขะ คือพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา หมายถึง พระโสดาบัน,พระสกทาคามี,พระอนาคามี
ขีณาฯ=พระขีณาสพ คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสที่ดองสันดาน
ปุถุชน=ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑)อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว
สัญชาฯ=สัญชานาติ คือ ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา
ปฐวี=ธาตุดิน แบ่งได้ ๔ คือ ปฐวี มี ๔ ชนิด คือ (๑)ลักขณปฐวี เป็นสิ่งที่แข็งกระด้าง หยาบเฉพาะตนในตัวมันเอง (๒)สสัมภารปฐวี เป็นส่วนแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และวัตถุภายนอกมีโลหะเป็นต้น พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสีเป็นต้น (๓)อารัมมณปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่นำมากำหนดเป็นอารมณ์ของปฐวีกสิณ นิมิตตปฐวี ก็เรียก (๔)สัมมติปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่ปฐวีเทวดามาเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจปฐวีกสิณและฌานในที่นี้ ปฐวี หมายถึงทั้ง ๔ ชนิด


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #113 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:48:46 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๕/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

มานะ=ความถือตัว
ทิฏฐิ=ความเห็นผิด
ภูต=ภูต หมายถึงขันธ์ ๕ อมนุษย์ ธาตุ สิ่งที่มีอยู่ พระขีณาสพ สัตว์ และต้นไม้เป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช
ปชาบดี=ชาบดี หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่กว่าปชาคือหมู่สัตว์ ได้แก่ มารชื่อว่า ปชาบดี เพราะปกครองเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
สุภกิณห์ฯ=สุภกิณหพรหม คือ สุภกิณหาพรหม เป็นพรหมที่มีรัศมีสวยงามตลอดทั่วร่างกาย ตติยฌานภูมิ อยู่ห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕,๕๐๐,๐๐๐ โยชน์ ลอยอยู่กลางอากาศในพื้นที่เดียวกัน แบ่งเป็นเขตเหมือนทุติยฌานภูมิ พื้นที่ตั้งสำเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยทิพยสมบัติมี วิมาน สวน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น
อาภัสฯ=อาภัสสรพรหม คือ พรหมชั้นทุติยฌานภูมิ ซึ่งตอนโลกพินาศพรหมชั้นนี้ยังอยู่
เวหัปฯ=เวหัปผลพรหม คือ เวหัปผลาภูมิที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ ๕๐๐ มหากัป
อภิภูสัตว์ =กับ อสัญญีสัตว์ เป็นไวพจน์ของกันและกัน หมายถึงสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัปผลพรหม บังเกิดด้วยอิริยาบถใดก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นตราบสิ้นอายุขัย
อากาฯ=อากาสานัญจายตนพรหม คือ ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
วิญญาฯ=วิญญาณัญจายตนพรหม คือฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
อากิญจ์ฯ=อากิญจัญญาตนพรหม คือ ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
เนวสัญญ์ฯ=เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม คือ ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
ปริญญา ๓=คือ หลักธรรมะเพื่อล้างอวิชชาและความเข้าใจผิดหรือ วิปัลลาศธรรม แบ่งเป็น ๓ไม่ได้กำหนดรู้ หมายถึงไม่ได้กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ประการ คือ (๑) ญาตปริญญา ได้แก่ รู้ว่า ‘นี้เป็น ปฐวีธาตุภายใน นี้เป็นปฐวีธาตุภายนอก นี้เป็นลักษณะ กิจ เหตุเกิด และที่เกิดแห่งปฐวีธาตุ’ หรือได้แก่กำหนดนามและรูป (๒) ตีรณปริญญา ได้แก่ พิจารณาเห็นว่า ‘ปฐวีธาตุมีอาการ ๔๐ คือ อาการไม่เที่ยง,เป็นทุกข์ เป็นโรค’ เป็นต้น หรือได้แก่ พิจารณากลาปะ (ความเป็นกลุ่มก้อน) เป็นต้น พิจารณาอนุโลมญาณเป็นที่สุด (๓) ปหานปริญญา ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตผล หรือได้แก่ ญาณในอริยมรรค เพราะปริญญา ๓ ประการนี้ไม่มีแก่ปุถุชน เขาจึงกำหนดหมายและยินดีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ
ภูติ=สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช
อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง=หมายถึงอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งทางใจ
ฌานสมาบัติ=สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง สมาบัติ มี ๘ อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ได้แก่ รูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
กามจิต=กาม (ความใคร่ วัตถุที่เป็นที่ตั้งของความใคร่) + จิตต (จิต) จิตที่ยังเป็นไปในกาม หมายถึง จิตที่ยังข้องในกาม คือมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือเป็นจิตที่เกิดในกามภูมิ ๑๑ เป็นส่วนมาก ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ คือ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ มหากุศลจิต ๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘
ภวสังโยชน์=สังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก)โอรัมภาคิสังโยชน์-สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
(๑)สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ คือตัวตน (๒)วิจิกิจฉา - มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (๓)สีลัพพตปรามาส - มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด
พระโสดาบัน ทำสังโยชน์ ๑-๓ ข้อให้สิ้นไปได้ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ ๑,๒,๓ ข้อให้สิ้นไปได้ และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
(๔) กามราคะ - มีความพอใจในกามคุณ (๕)ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง
พระอนาคามี ทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ข้อ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ให้สิ้นไปได้


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #114 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:03:22 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า๖/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร

ข)อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ได้แก่
(๖) รูปราคะ - มีความพอใจในรูปสัญญา (๗)อรูปราคะ - มีความพอใจในอรูปสัญญา (๘)มานะ - มีความถือตัว ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ความรู้สึกสำคัญตัวว่าดีกว่า เลวกว่า หรือเสมอกัน (๙)อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน (๑๐)อวิชชา - มีความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ พระอรหันต์ ทำสังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง ๑๐ ข้อให้สิ้นไป
ตถาคต=ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ (๑) เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒)เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓)เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔)เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง (๕)เพราะทรงเห็นจริง(๖) เพราะตรัสวาจาจริง(๗) เพราะทรงทำจริง (๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก)
อนุตตรสัมมาฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิฌาน มีรายละเอียด คือ
ทรงได้ญาณ ๓ (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้) ได้แก่
 (๑)สัจจญาณ -ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒)กิจจญาณ - ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ (๓)กตญาณ -ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว
ญาณ ๓ในหมวดนี้ เนื่องด้วยอริยสัจ ๔ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ ๓ (ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ หรือ ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ) หรือ ปริวัฏฏ์ ๓ แห่งญาณทัสสนะ การปริวัฏฏ์ หรือวนรอบ ๓ นี้ เป็นไปในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเป็น ๑๒ ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการ ๑๒ พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ครบวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.
โคตม์=โคตมสูตร ว่าด้วยอาการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๓ อย่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง (๒) เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ (๓) เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ (คือ ความอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลสมแก่การปฏิบัติ) มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง แสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ (เช่นนั้น) โอวาทานุสาสนีของเรา จึงควรที่บุคคลจะพึงประพฤติกระทำตาม และควรที่ท่านทั้งหลายจะยินดี จะมีใจเป็นของตน จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณเทศนานี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว.
โคตมกเจดีย์=คือที่อยู่ของยักษ์ชื่อโคตมกะ
ปฏิสัมภิทา ๔=คือ ปัญญาแตกฉาน (๑)อัตถปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล (๒)ธัมมปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งในหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้
 (๓)นิรุตติปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ (๔)ปฏิภาณปฏิสัมภิทา -ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์
สหัสสีฯ=สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ คือ โลกธาตุขนาดเล็ก หมายถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แผ่รัศมีส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณ เท่าใด (พี้นที่โลกธาตุขนาดเล็ก วัดด้วยแสงอาทิตย์ที่ส่องไปถึง )โลกธาตุแบ่งได้ ๓ คือ (๑)สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก) (เอกภพ)
โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง
ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์ พันดวง, ดวงอาทิตย์ พันดวง, ภูเขาสิเนรุ พันลูก
(แดนมนุษย์ ๔ แห่ง) มี
ชมพูทวีป พันทวีป, อมรโคยาน พันทวีป, อุตรกุรุ พันทวีป, ปุพพวิเทหะ พันทวีป
(มหาสมุทร มหาราช)
มหาสมุทร สี่พัน, มหาราช สี่พัน
(เทวดากามภพ รูปภพ) มี
จาตุมมหาราชพันหนึ่ง, ดาวดึงส์พันหนึ่ง, ยามาพันหนึ่ง, ดุสิตพันหนึ่ง, นิมมานรดีพันหนึ่ง, ปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง, พรหมพันหนึ่ง
(๒)สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดกลาง)
โลกธาตุอย่างเล็ก x ๑,๐๐๐
(๓)ติสหัสสี มหาสหัสสี (โลกธาตุขนาดใหญ่)
โลกธาตุขนาดใหญ่=โลกธาตุอย่างกลาง x ๑,๐๐๐


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
หน้า: 1 ... 6 7 [8]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.251 วินาที กับ 109 คำสั่ง
กำลังโหลด...