(ต่อหน้า ๔/๖) ๓๑.มูลปริยายสูตร
๔๑.นัยเจ็ด,"ตถาคต"........ก็รู้จดปัฐวียิ่ง
ไม่หมายใน-นอกทิ้ง.............ดินไม่ใช่ของเราแล
ไม่ยินดีปฐวี.........................เพราะเหตุใดรี่ใดเล่าแฉ
ทรงกล่าวตถาคตแล้............รู้ปฐวี..แล้วเอย
๔๒.สิ่งอื่นหลายน้ำ,ไฟ.......ทั้งนั้นไซร้นัยสี่เปรย
ทรงรู้ยิ่งหมดเลย..................เช่นรู้ยิ่งนิพฯความเนา
เลิกกำหนดนอก-ใน..............นิพพานไซร้เลิกหลงเขลา
ไม่หมายนิพฯของเรา............ไม่ยินดีในนิพพาน
๔๓.นัยแปด,ตถาคต...........รู้จรดปฏวีขาน
ไม่ยินดีพบพาน.....................ในปฐวีอีกเลย
เพราะรู้ความเพลิดเพลิน.......เป็นเหตุเกริ่นทุกข์ยากเอ่ย
เพราะมี"ภพ","ชาติ"เลย.........อุบัติ,สัตว์เกิด,แก่ตาย
๔๔.เนื่องจากตรัสรู้ล้ำ........"อนุตตรสัมมาฯ"ผาย
เพราะสิ้นตัณหาคลาย..........ดับ,สลัดตัณหาทั้งมวล
ตถาคตรู้ยิ่งทำ......................ทั้งหมดนำ"นัยสี่"ถ้วน
พุทธเจ้าตรัสถ้วน..................ภิกษุใจมิชื่นชม
๔๕.มิ"ชื่นชมยินดี"............ภิกษุรี่มิรู้สม
เนื้อความพระสูตปม............เหตุ"มานะ,ทิฏฐิ"เอย
มัวเมา,ภาษิตลึก..................เกินจะตรึก"นัยหนึ่งเผย
ถึงนัยแปด,มิเกย.................อรรถแสดงใจมิปรีดิ์
๔๖.ภายหลังได้ฟังโชติ.....พระสูตร"โคตม์ฯที่เจดีย์
"โคตมก"คลี่........................พุทธองค์"ตรัสรู้ธรรม"
"อันยิ่ง"ถ้าไม่รู้.....................ก็ไม่จู่แสดงนำ
"ธรรมมีเหตุ"จึงพร่ำ.............ไร้เหตุจะมิกล่าวนา
๔๗.ธรรมมีปาฏิหาริย์........จึงบอกกรานชัดเจนหนา
ผู้ทำตามลุนา.......................ได้ผลเป็นอัศจรรย์
คำสั่งสอนของเรา................ควรเร่งเร้าทำตาม ครัน
มีใจยินดีมั่น.........................ตถาคตตรัสรู้จริง
๔๘.ภิกษุหลายได้ฟัง.........ชื่นชมจังภาษิตยิ่ง
จึงลุอรหันต์ดิ่ง.....................พร้อม"ปฏิสัมภิทา"
คราพุทธ์องค์เทศน์จบ.........."สหัสสีฯ"ครบอย่างเล็กหนา
เกิดไหวสะเทือนนา..............ทรงแจงธรรมพิเศษเอย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๘ -๓๖๙
๒)มจร.๑.มูลปริยายสูตร
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1สัพพ์ธัมม์ปริยาย=สัพพธัมมปริยาย คือ มูลแห่งธรรมทั้งปวง
เสขะฯ=พระเสขะ คือพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา หมายถึง พระโสดาบัน,พระสกทาคามี,พระอนาคามี
ขีณาฯ=พระขีณาสพ คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสที่ดองสันดาน
ปุถุชน=ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑)อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว
สัญชาฯ=สัญชานาติ คือ ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา
ปฐวี=ธาตุดิน แบ่งได้ ๔ คือ ปฐวี มี ๔ ชนิด คือ (๑)ลักขณปฐวี เป็นสิ่งที่แข็งกระด้าง หยาบเฉพาะตนในตัวมันเอง (๒)สสัมภารปฐวี เป็นส่วนแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และวัตถุภายนอกมีโลหะเป็นต้น พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสีเป็นต้น (๓)อารัมมณปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่นำมากำหนดเป็นอารมณ์ของปฐวีกสิณ นิมิตตปฐวี ก็เรียก (๔)สัมมติปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่ปฐวีเทวดามาเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจปฐวีกสิณและฌานในที่นี้ ปฐวี หมายถึงทั้ง ๔ ชนิด