Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม >> ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร  (อ่าน 38522 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #120 เมื่อ: 23, พฤษภาคม, 2568, 07:46:21 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๓/๔ ) ๓๓.ภยเภรวสูตร

   ๒๖.พุทธ์เจ้าหวัง.....พราหมณ์อาจคิดหยั่ง.....
."เรา"ยังมิปราศสิ่ง
คือราคะ....โทสะโกรธดื่ง....อีกโมหะ....มัวปะหลงจึงอยู่ดง
อย่าพึ่งคิด......เช่นนั้นเป็นนิตย์....."เรา"พิศประโยชน์ส่ง
ตนเป็นสุข....และรุกช่วยง....ผู้เกิดหลัง....จึงยังอยู่ในไพรวัน

   ๒๗.ชาณุฯทูล......ทรงเกื้ออาดูลย์......คนปูนหลังแล้วครัน
"โคดม"นา....แจงภาษิตสรร....ชัดเจนเหมาะ....ไพเราะเสนาะยิ่งเอย
เปรียบเหมือนหงาย.....ของที่คว่ำพราย.....เปิดง่ายของปิดเผย
บอกทางรี่....ผู้ที่หลงเลย....ตามดวงไฟ....ในที่มืดสว่างแล

   ๒๘.ข้าพระองค์......ชาณุมั่นบ่ง.....ดำราอุบาฯแน่
ถึงโคดม....บ่มพระธรรมแล....และพระสงฆ์....จำนงยึดที่พึ่งนา
ขอทรงจำ.......ข้าพระองค์หนำ......เป็นล้ำอุบาสกหนา
สรณะ....ปะแก่ตัวข้า....แต่วันนี้....ถึงรี่ตลอดชีพเทอญ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๗๐ -๓๗๑
           ๒)มจร.๔ ภยภรวสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=4https://

เชตวันฯ=เชตวนาราม คือ วัดที่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างถวายพระพุทธเจ้า
ชาณุพราหมณ์ฯ=ชาณุสโสณิพราหมณ์
ป่าโปร่ง=อรญฺญ คือป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู
ป่าทึบ= วนปตฺ คือสถานที่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป
วิเวก=ความสงัด ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(สงัดกาย)
สมาธิ์=สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ(เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย) หรืออัปปนาสมาธิ(สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป)
พระโพธิสัตว์= คือ บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
เหตุแห่งความสะดุ้งกลัว เมื่ออยู่เสนาสนะอันสงัด  ๑๖ ประการ คือ
(๑)มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ (๒)มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (๓)มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ (๔)มีการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์ (๕)มีปกติเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (๖)มีจิตพยาบาท  มีความดำริชั่วร้าย ปราศจากเมตตา (๗)ถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) กลุ้มรุม (๘)เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ (๙)เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย (๑๐)เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น (๑๑)เป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด (๑๒)เป็นผู้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ (๑๓)เป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร (๑๔)เป็นผู้ขาดสติสัมปชัญญะ (๑๕)มีจิตไม่ตั้งมั่น ดิ้นรนกวัดแกว่ง (๑๖)เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
กายสะอาด=กายกรรม ๓ หมายถึง การประพฤติชอบทางกาย คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม
อริยะ=พระอริยะ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก ที่ชื่อว่าพระอริยะเพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม ดำเนินไปแต่ในทางเจริญ เป็นผู้ที่ชาวโลกและเทวโลกควรดำเนินตาม
วจีกรรม ๔=คือ การกระทําทางวาจา (๑)มุสาวาท - การพูดปด (๒)สุณาวาจา - วาจาส่อเสียด ยุยงให้แตกสามัคคี (๓)ผรุสวาจา -การพูดจาหยาบคาย (๔)สัมผัปปลาปะ -คําพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ
มโนกรรม ๓= การกระทําทางใจ คือ (๑)อภิชฌา-การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา (๒)พยาบาท -การคิดร้ายต่อผู้อื่น (๓)มิจฉาทิฐิ -การเห็นผิดจากคลองธรรม
ถีนะฯ=ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม
ความเพียร=ในที่นี้ตถาคต และ พระอริยะ มีความเพียรที่บริบูรณ์ และประคับประคองไว้สม่ำเสมอ ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก มีความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..

แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #121 เมื่อ: 23, พฤษภาคม, 2568, 04:12:28 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๔/๔) ๓๓.ภยเภรวสูตร

ความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน”  และ ทำความเพียรทางจิต เช่น เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”
ฌาน=คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
ฌาน ๔=หมายถึง รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
(๑)ปฐมฌาน -ฌานที่ มีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ วิตก(ความ ตรึก), วิจาร(ความตรอง), ปีติ(ความอิ่มใจ), สุข(ความสุขกายสุขใจ) และเอกัคคตา(ความมีอารมณ์ เป็นหนึ่งเดียว) จะมีความสุขเกิดจากความสงัด
(๒)ทุติยฌาน -ฌานที่ ๒ ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา มีความสุขเกิดจากสมาธิ
(๓)ตติยฌาน -ฌานที่ ๓ ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา จะเสวยสุขด้วยนามกาย(คือสรรพสิ่งที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ เช่น จิตเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น)
(๔)จตุตถฌาน -ฌานที่ ๔ ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา ดับโสมนัส โทมนัส ไร้สุขไร้ทุกข์ มีแต่สติบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขา
กิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) =หมายถึงกิเลสเพียงดังเนินคือราคะ โทสะ โมหะ มลทิน หรือเปือกตม ที่บางแห่ง คือพื้นที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น แต่ในที่นี้ ท่านพระสารีบุตรประสงค์เอากิเลสอย่างเผ็ดร้อนานัปการว่า กิเลสเพียงดังเนิน
สังวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
วิวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังฟื้นขึ้นมาใหม่
วิชชา ๓ (ญาณ ๓)= ได้แก่
(๑)ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้ระลึกชาติ รู้ชาติในอดีต รู้ภพในอดีตได้
(ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น)
(๒)จุตูปปาตญาณ (รู้การจุติ การอุบัติ รู้ภพใหม่ ด้วยทิพย์จักษุ)
รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม
(๓)อาสวักขยญาณ (รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นภพ) จิตโน้มไปเพื่ออาสวักขยาน ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จิตย่อมหลุดพ้น มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อริยสัจ ๔ =ความจริงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ทรงแสดงแก่นักบวชปัญจวัคคีย์ว่า
(๑)ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ ความไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนาเป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ ความยึดมั่นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๒)ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือเหตุทุกข์ ได้แก่ ตัณหาอันนำไปเกิดอีก โดยเป็นความเพลิดเพลินและความกำหนัด ทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
(๓)ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความที่ตัณหาดับไปอย่างไม่มีเหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสลัดทิ้ง ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
(๔)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
อาสวะ =กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อ ประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๔ อย่าง คือ (๑)กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓)ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ (๔)อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #122 เมื่อ: 09, มิถุนายน, 2568, 03:27:16 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๓๔.อนังคณสูตร (สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส)

กาพย์มหาตรังคนที

   ๑.พุทธ์เจ้าทรงยั้งหนา.........."เชตวนา"พรักพร้อมเหล่าสงฆ์
"สาริบุตร"เทศน์บ่ง..................กิเลสคนท้นสี่พวกอิง
"มีกิเลส,ไม่รู้...........................ความจริง"ชูชัด"เลว"ยลยิ่ง
"มีกิเลส,รู้จริง.........................ตนมีอยู่ดูประเสริฐแล

   ๒."กิเลสไม่มีกู่.....................และไม่รู้จริง"ไม่มีแฉ
จัดเป็นเช่นเลวแล้...................เหมือนกิเลสมีมิรู้ตน
"ไร้กิเลส"รู้จริง.......................ว่าตนดิ่งไร้กิเลสผล
จึงล้ำเลิศรุดดล......................ยิ่งกว่าพวกไร้กิเลสเอย

   ๓."โมคคัลลาฯ"ถามถึง.........ดี,เลวซึ่งแตกต่างกันเผย
สาริบุตรรุดเอ่ย......................สองพวกไม่รู้ความเป็นจริง
ผู้มี"ราคะ"ล้น.........................โกรธ,หลงดลปนเร่าร้อนยิ่ง
จิตเศร้าหมองหม่นยิ่ง.............เมื่อความตายกรายมาถึงครา

   ๔.ส่วนสองพวกรู้ตาม...........ความจริงลามมุ่งมั่นละหนา
กิเลสหลายคลายพา..............ไร้กิเลสไม่เศร้าคราตาย
สาริบุตรแจงชื่อ.....................กิเลสคือ"อังคณะ"ผาย
"เปรียบดังเนิน"ขยาย.............อกุศลบาปธรรม,อยากแล

   ๕.สาริบุตรแจงมา................ปรารถนากล้าภิกษุแฉ
ผิดทางสิบสามแล้..................ความโกรธ,พอใจไซร้ตามมา
เช่นสงฆ์บ่งอาบัติ...................ปิดชัดสงฆ์อื่นไป่รู้หนา
เมื่อสงฆ์อื่นรู้นา......................จึงผูกโกรธโลดไม่ชื่นเอย

   ๖.ตนถูกประนามรุม.............ที่ประชุมสงฆ์,จึ่งโกรธเผย
แทนจะติงลับเปรย..................กลับเปิด,เป็นอังคณะแล
ศาสดาทรงสอบถาม...............สงฆ์อื่นความแล้วจึงสอนแผ่
มิถามตนบ้างแล้......................จึงโกรธเป็นอังคณะเอย

   ๗.เห็นสงฆ์อื่นได้ภัตร............อันเลิศชัดตนมิได้เผย
เห็นสงฆ์อื่นเทศน์เอ่ย...............แก่ชนไยตนมิได้แล
พึงอยากให้ชนหนา..................เฝ้าบูชาแก่ตนเองแฉ
ไม่สักการะแน่..........................สงฆ์อื่น,เป็นอังคณะนา

   ๘.สงฆ์คิดควรเป็นผู้...............สอนชูสงฆ์อื่นเหมาะกว่าหนา
คิดว่าที่อยู่นา............................ด้อยกว่าสงฆ์อื่นมิพอใจ
สงฆ์คิดไร้จีวร...........................ประณีตหย่อน,อังคณะไข
ไม่ได้เภสัชไซร้.........................เหมือนสงฆ์อื่น,อังคณะแล

   ๙.สาริบุตรแสดง....................สงฆ์แฝงอยู่ป่านุ่งห่มแฉ
สีหมองคล้ำเคร่งแท้..................แต่ยังละบาปมิได้เลย
เพื่อนสงฆ์มิเคารพ....................เลิกนบไหว้รังเกียจเผย
ละอกุศลเลย............................ไม่อยู่ป่าเคร่งชนก็ชม

   ๑๐.โมคคัลลานะเสริญ...........สาริฯเพลินแจงเหมาะสม
เหมือนช่างถากไม้คม................บ่มใจสงฆ์กิเลสหนาปลง
ส่วนสงฆ์ไร้กิเลส.......................วิเศษคล้ายได้มาลัยส่ง
ลิ้มรสพระธรรมยง.....................อิ่มเอมทั้งปากและใจ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๗๑ -๓๗๒


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #123 เมื่อ: 10, มิถุนายน, 2568, 08:46:36 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒/๒) ๓๔.อนังคณสูตร
                             
เชตวนา=เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
สาริบุตร,สาริฯ= พระสาริบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ของ พระโคดมพุทธเจ้า ด้านเลิศด้วยปัญญา
โมคคัลลาฯ,โมคคัลลานะ = พระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ของ พระโคดมพุทธเจ้า ผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์
บุคคล ๔ ประเภท = ได้แก่
(๑)บางคน มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า มีกิเลสภายในตน เป็นบุรุษเลวทราม เพราะเขาจะไม่พยายาม จะไม่ทำความเพียร เพื่อละกิเลส เขาจะเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมองทำกาละ
(๒) บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน และรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
(๓) บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
(๔) บางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลที่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
บุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’  บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นคนเลว'
อังคณะ = ชื่อของอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล หมายถึง กิเลสดุจเนิน ๓ อย่าง พุทธองค์ตรัสเรียกว่า อังคณะ เป็นเหมือนเนิน หรือ กิเลสเพียงดังเนินได้แก่ ราคะ, โทสะ, โมหะ (กิเลสในที่บางแห่งหมายถึงมลทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเปลือกตม ดังที่ตรัสไว้ว่า พยายามเพื่อจะละมลทินหรือเปลือกตมนั้นนั่นแหละ)


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #124 เมื่อ: 10, มิถุนายน, 2568, 06:51:10 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

ประมวลธรรม : ๓๕.อากังเขยยสูตร (สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ)

ตการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.พระพุทธเจ้าประทับ"เชตว์นาฯ".........ทรงแสดงพระธรรมปาฏิโมกข์
ภิกษุเคร่งกะศีลพูนมิโยก.........................ไม่ละเมิดสิ"อาจาระ"ฟัง

   ๒.จงระวังและคุมกาย,วจี.......................ใจพะพร้อมสิศีลชี้สะพรั่ง
เว้นมิท่องอโคจรเพราะชัง.........................ภิกษุต้องเสาะเลี้ยงชีพสะอาด

   ๓.ภิกษุจงตริภัยโทษสิแม้.......................น้อยและป้องประพฤติแน่มิพลาด
ตั้งหทัยสมาทานและยาตร.......................เรียนขยันกะสิกขาสิหนา

   ๔.พุทธองค์แนะสิบเจ็ดสิหวัง.................ภิกษุศีลพิบูลย์จังซิคว้า
บรรลุผลประสิทธิ์ชิดเพราะฝ่า.................ปาฏิโมกข์และศีลมั่นขยาย

   ๕.ภิกษุหวังสิคำยอเจาะอยาก................ใฝ่รตีและรักจากสหาย
ศีลมิขาดตริสมบูรณ์ขจาย........................ใจสงบวิปัสส์นามิห่าง

   ๖.เพื่อกิเลสละทั้งหมดจะกราย...............ใกล้ซิฌานอุดมปลายสล้าง
พูนทวีนะ"เรือนว่าง"เจาะวาง......................ตรึกพิจารณ์มุ"กัมมัฏฯ"ลุวัน

   ๗.ภิกษุหวังเสาะบิณฑ์,ยาสิเลิศ..............มีเจาะอัฏฐะของเชิดประจัน
ศีลสะอาดสงบจิตใจมิผัน..........................ต้องวิปัสสนาเคียงกะฌาน

   ๘.ภิกษุหวังมุให้บิณฑบาตร....................อานิสงส์และผลยาตรสราญ
ศีลริพูนสงัดใจกสานติ์..............................ทำวิปัสฯเสาะเรือนว่างวิบูลย์

   ๙.หวังซิญาติฯละลับแล้วระลึก...............ถึงซิเราก็บุญนึกและพูน
ศีลสะอาดสงบใจพิบูลย์............................ไม่ละทิ้งกะฌานมั่นเสถียร

   ๑๐.ภิกษุหวังจะข่มซึ่งรตี........................ให้ลิสิ้นจะต้องคลี่ริเพียร
ศีลสะอาดตริกัมมัฏฯวิเชียร.......................คืนและวันวิปัสส์นาประสงค์

   ๑๑.ภิกษุหวังชโยเลิกขยาด....................กลัวพิชิตเด็ดขาดยะยง
สีละครบวิปัสฯกล้าจะส่ง...........................หวาดขจัดเซาะสิ้นไม่เผยอ

   ๑๒.ภิกษุหวังลุฌานสี่สมาธิ์ฯ...................เพื่อสุขีมิยากนานะเออ
ควรประพฤติเจาะศีลมั่นมิเผลอ..................จ่อวิปัสสนาแน่วไสว

   ๑๓.หากเจาะหวังวิโมกข์ธรรมสงบ...........ฌานอรูปจะต้องครบละไม
ผ่านเลาะรูปฌานก่อนจะไป........................สีละมั่นวิปัสส์นาคุณา

   ๑๔.ภิกษุหวังลุ"โสดาฯ"เพราะโลด............ตัดละสามติสังโยชน์ซิหนา
ไม่ลุต่ำ"อบาย"ปิดจะหา..............................ทางลุโพธิฯกาลหน้าฉมัง

   ๑๕.ควรนุรักษ์กะศีลวิบูลย์.......................พึงสงบหทัยพูนระวัง
เร่งวิปัสสนาแน่วซิขลัง................................เรือนมิว่าง ณ คืนวันเจริญ

   ๑๖.ภิกษุหวัง"สก์ทาคาฯ"เพราะโชติ..........ตัดละผูกติสังโยชน์เผดิน
"ราคะ,โทสะ,หลง"บางซิเหิน.........................คืน ณ โลกซิครั้งเดียวก็พาน

   ๑๗.บรรลุสุดนิร์วาณมิช้า..........................หมดกิเลสละทุกข์หล้าสราญ
ควรผดุงเจาะศีลเคร่งพิจารณ์......................หมั่นวิปัสส์ฯฤดีนิ่งกศานติ์

   ๑๘.ภิกษุหวังเลาะ"โอปปาฯ"เพราะโดด......ตัดละปัญจะสังโยชน์มลาน
พึงจะบรรลุนิพพานอุฬาร.............................พรหมโลกซิแน่นอนมิหวน

   ๑๙.ไม่ปะโลกมนุษย์ประชัน......................มากพลังเจาะศีลมั่นเหมาะถ้วน
เรือนเสาะว่างซิวันคืนตริล้วน........................โดยวิปัสสนาแน่วขยัน

   ๒๐.หวังวิธีแสดงฤทธิ์คละท้น.....................เดี่ยวซิกลายหละหลายคนปะพลัน
เดินปรุผ่านประตูไม่ชะงัน.............................ผุดและดำเจาะแผ่นดินสถล

   ๒๑.ท่องนที บ รอยแยกคะคล้าย................เดินเลาะปัฏพีง่ายผจญ
พรหมโลกเหาะกายไปก็ยล..........................เสร็จเพราะศีลวิปัสส์นาถลัน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #125 เมื่อ: 11, มิถุนายน, 2568, 07:05:46 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒/๓) ๓๕. อากังเขยยสูตร

   ๒๒.ภิกษุหวังจะยินเสียงมนุษย์...........โสตทิพย์ซิไกลผุดกระชั้น
เก่งซิเหนือมนุษย์โลกจะดั้น..................ศีลวิปัสสนาทางลุใส

   ๒๓.ภิกษุหวังจะรู้ใจมนุษย์.................สัตว์หละหลายจะคิดรุดอะไร
ราคะ,โทสะ,หลงมัวไฉน........................มีรึไม่ก็รู้ดีนะเอย

   ๒๔."จิตมหัคค์ตะ"อารมณ์ยะยิ่ง..........รูปฯอรูปฯประเสริฐดิ่งและเชย
จิตมิยิ่งรึยิ่งรู้ก็เผย................................จิตตะยิ่งและเหนือกว่าก็ขาน

   ๒๕.จิตสมาธิมั่นหรือไฉน...................จิตละพ้นมิพ้นไกลก็พาน
รู้ตระหนักหทัยเขาฉะฉาน....................ศีลวิปัสสนาพร้อมลุผล

   ๒๖.ภิกษุหวังระลึกชาติสิหนึ่ง.............ได้ปะหลายดะแสนถึงและยล
โพ้นซิกัปเจอะ"สังวัฏฏ์"ทุรน..................โลกพินาศและเสื่อมจนสลาย

   ๒๗.อีกวิวัฏฏกัปซึ่งเจริญ....................กัปอุบัติชิวิตเดินขจาย
ทราบวะแต่ละชาติเคยจะกราย.............เป็นอะไรสินามใดซิหนอ

   ๒๘.คราผละภพซิสุดท้ายประหวัด......ใจระลึกซิแจ้งชัดละออ
เหตุและผลอุบัติมาก็จ่อ.........................ศีลวิปัสสนาทางสว่าง

   ๒๙.ภิกษุหวังเจาะเห็นสัตว์จะตาย........แล้วอุบัติซิใหม่กรายกระจ่าง
จักขุทิพย์ซิเกิดดีมิพราง........................หรือมิดีเพราะกรรมดลมิหนี

   ๓๐.สัตว์ประพฤติสิกายชั่วสยาย.........ใจ,วจีซิใส่ร้ายอรีย์ฯ
ทิฏฐิชวนนิกรผิดทวี...............................ตายลุในอบายทุกข์จิรัง

   ๓๑.สัตว์ประกอบกุศลกรรมติทาง.........กาย,มโน,วจีพร่างพลัง
เสริญอรียะเห็นถูกแนะหวัง.....................สอนนรากระทำตามมิแฝง

   ๓๒.กอปรกุศลสิดียิ่งละขันธ์.................สู่สวรรค์สุขีครันแสดง
พุทธเจ้าสิกล่าวเด่นแถลง........................ศีลวิปัสสนาแน่วมิเชือน

   ๓๓.ภิกษุหวังเจาะ"เจโตฯ"ละชัด............ด้วย"สมาถะกัมมัฏฐ์ฯ"เสมือน
ราคะพ้นและธรรมอื่นสะเทือน.................จึงละพ้นอราหัตต์ลุผล

   ๓๔.ควรจะแจ้งซิ"ปัญญาวิมุติ"...............ด้วยวิปัสสนารุดลุพ้น
หมดกิเลส,อวิชชาสกล............................สงฆ์ตริศีลวิปัสส์นาเสมอ

   ๓๕.พุทธองค์สิตรัสชัดอะดูรย์...............ปาฏิโมกข์ซิสมบูรณ์จะเลอ
พึงคะนึงกะศีลแน่วมิเผลอ........................ไม่ละเมิดวจี,ใจและกาย

   ๓๖.หนีละทางอโคจรเพราะโทษ............ถึงจะน้อยระวังโฉดกระจาย
จงริกรานกะสิกขาหละหลาย....................ภิกษุชมสุภาษิตพระองค์ ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา  มจร.๖.อากังเขยยสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=6

เชตว์นาฯ =เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
ปาติโมกข์ = คือ คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
(๑)ไม่มีภิกษุจำปาติโมกข์ได้จนจบ
(๒)เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่า อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้งสิบ คือ พระราชาเสด็จมา, โจรมาปล้น,ไฟไหม้, น้ำหลากมา, คนมามาก, ผีเข้าภิกษุ, สัตว์ร้ายเข้ามา, งูร้ายเลื้อยเข้ามา, ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต, มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
อาจาระ = ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง, รวมการที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ
โคจร = การไม่เที่ยวไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา; การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย เช่น พระราชา; การไม่คบหากับตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา
วิปัสสนา = หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ
(๑) อนิจจานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
(๒) ทุกขานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
(๓) อนัตตานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน
(๔) นิพพิทานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย
(๕) วิราคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
(๖) นิโรธานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความดับกิเลส
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งกิเลส


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #126 เมื่อ: 11, มิถุนายน, 2568, 12:12:43 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๓/๓) ๓๕.อากังเขยยสูตร
 
เพิ่มพูนเรือนว่าง = ในที่นี้หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าไปสู่เรือนว่างนั่งพิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วย วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ญาติฯ = ญาติสาโลหิต หมายถึงบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น
สมาธิ์ฯ = อุปจารสมาธิ หรือ อภิเจตสิก หมายถึง เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย
โสดาฯ = โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
สังโยชน์ = คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ (๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้
พระสกทาคามี ละสังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ และทำสังโยชน์ที่ ๔, ๕ ให้เบาบาง
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๑ - ๕ ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ
อบาย = ไม่มีทางตกต่ำ หมายถึงไม่ตกไปในอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และพวกอสูร
ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือความเจริญหรือความสุข
ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว
ชื่อว่า นรก เพราะปราศจากความยินดี เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ
โพธิฯ= สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
โอปปาติกะ = คือ สัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
มหัคคตะ = อารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่
รูปฯ= รูปาวจรภูมิ คือชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ระดับจิตใจที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้ฌานหรือผู้อยู่ในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้น
อรูปฯ = อรูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ระดับจิตใจที่ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้อรูปฌาน หรือผู้อยู่ในอรูปภพทั้ง ๔ ชั้น
กัป หรือ กัลป์ = พระพุทธเจ้า ตรัสตอบภิกษุ ที่ถามระยะเวลาของกัป ทรงตรัสว่า
กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ภิกษุขอให้ทรงอุปมา ทรงเปรียบว่า มีภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ก็ยังเร็วกว่ากัปหนึ่ง ที่ยังไม่สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล
บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
ดูก่อนภิกษุ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
สังวัฏฏกัป =หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
วิวัฏฏกัป = หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังฟื้นขึ้นมาใหม่
อรีย์ฯ = พระอริยะ
เจโตฯ = เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้
หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน
ปัญญาวิมุตติ = คือ ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น
ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากอวิชชาที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้
ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน
สมาถะกัมมะฏฐฯ = สมถกัมมัฏฐาน
อราหัตต์ฯ = อรหัตตผล


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #127 เมื่อ: 12, มิถุนายน, 2568, 09:12:56 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

ประมวลธรรม : ๓๖.วัตถูปมสูตร (สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี)

ยุวมติฉันท์ ๒๕

   ๑.พุทธเจ้าประทับ ณ วัด........................อนาฯเจาะชัดเสาะถวาย
ณ "เชตะราม"สิกราย................................นคร"สวัตถีฯ"

   ๒.พุทธองค์แนะภิกษุเร้า.........................ผิจิตตะเศร้ามทะปรี่
"ทุคาติฯ"หวังปะรี่......................................ก็ผ้าระรอยจุด

   ๓.แม้จะย้อมเจาะสีอะไร.........................ก็ไม่ปะใสบริสุทธิ์
หทัยมิเศร้าประดุจ....................................ก็ผ้าสะอาดหนา

   ๔.แช่สิน้ำเจาะสีอะไร.............................ซิผ้าก็ไซร้ชระจ้า
ผิตายละแล้วก็พา....................................."สุคาติฯ"เปรมปรีดิ์

   ๕.พุทธองค์แสดงกิเลส...........................เกาะจิตตะเจตน์มิสุขี
กระทำฤดีทวี............................................ซิทุกข์เลาะสิบหก

   ๖."โลภะ,โทสะ,โมหะ"ชัด........................พลังอุบัติ"อุปะฯ"ปรก
หทัยจะเศร้าตระหนก................................มิได้สะอาดแฉ

   ๗.เพ่ง"อภิชฌา"ซิดื่น..............................ก็ของสิอื่นวสะแท้
"พยาฯ"อะฆาตตริแน่.................................พินาศทลายโฉด

   ๘."โกธะ"จิตจะโกรธและหมอง................"อุปานะฯ"ตรองตริพิโรธ
เจาะตน"ปฬาสะ"โดด.................................ซิ"มักขะ"หลู่จัด

   ๙."อิสสะ"ริษยาซิเขา...............................เจริญจะเฝ้าริสกัด
ก็"มัจฉรียะ"ชัด..........................................ตระหนี่มิให้งวด

   ๑๐."มายะ"คนนิสัยซิลวง... ....................."สะเถยยะ"พ่วงวจอวด
ริ"ถัมภะ"ดื้อจะชวด..................................."สะรัมภะ"แข่งดี

   ๑๑."มานะ"ถือวะตนซิยิ่ง..........................หทัยซิดิ่งมทะปรี่
ประมาท"ปมาทะ"มี....................................."อตีมะ"เหยียดหยาม

   ๑๒.พุทธเจ้าสิตรัสแนะโข.........................ผิทราบวะโสฬสลาม
กิเลสเกาะใจซิผลาม...................................ก็คงละเลิกหนา

   ๑๓.วาระนี้เหมาะภิกษุโร่...........................ปสาทะ"โคตมะ"กล้า
พระเป็นอร์หันต์นะหล้า................................และตรัสรู้เอง

   ๑๔.บรรลุวิชชะฯรู้เจาะหนา.......................มุฝึกนรานยเร่ง
เหมาะศาสดานะเผง....................................กะชนและเทพล้ำ

   ๑๕.เป็นพระพุทธเจ้าซินา..........................พระสงฆ์ปสาทะพระธรรม
พระองค์ประกาศมิงำ...................................กระทำจะได้ผล

   ๑๖.ถ้ากระทำก็รู้จะแจ้ง.............................กะตนมิแคลงและฉงน
ประสิทธิ์ตลอดนะชน...................................เพราะกาลมิจำกัด

   ๑๗.ชนปสาทะในพระสงฆ์.........................ประพฤติเจาะบ่งรุจิชัด
กระทำสิตรงสลัด.........................................กิเลสละหมดคลาย

   ๑๘.ภิกษุสู่อรียะชน....................................ประสิทธิผลจตุกราย
พระสงฆ์เหมาะรับถวาย................................กะทักษิณาเผย

   ๑๙.สงฆ์เหมาะกราบและอัญชลี..................กะน้อมวจีสุตะเอ่ย
แนะสอนพระธรรมเฉลย................................ประโยชน์กะโลกเชียว

   ๒๐.เหตุพระสงฆ์ละทิ้งกิเลส........................พระธรรมพิเศษก็เฉลียว
รตีปสาทะเจียว.............................................พระพุทธเจ้าล้ำ

   ๒๑.ปีติใจสงบกะกาย..................................ก็สุขขจายฐิตินำ
แหละสงฆ์ปสาทะธรรม..................................เจาะอรรถละเลิศหนา

   ๒๒.เกิดรตีลุปีติใจ......................................และกายะไซร้สุขะกล้า
เพราะตัดกิเลสระอา......................................มโนก็มั่นขาน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #128 เมื่อ: 12, มิถุนายน, 2568, 05:48:49 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒/๓) ๓๖.วัตถูปมสูตร

   ๒๓.สงฆ์เจาะศีล,พระธรรมยะยิ่ง.............ลุปัญญะดิ่งชุติพาน
ผิบิณฑบาตรอะหาร.................................เปรอะไม่สะอาดฉัน

   ๒๔.เลือกเลาะทิ้งและฉันก็ได้..................มิก่อกุภัยนิรครัน
มิอันตรายถลัน.........................................กะมรรคและผลแล

   ๒๕.ผ้าเลอะซักก็พลอยสะอาด..............เพราะน้ำซิยาตรชระแน่
ผิทองสะอาดก็แน่....................................จะต้องคุหลอมรุด

   ๒๖.ภิกษุคล้ายแหละเช่นกะผ้า..............เพราะสีละกล้าบริสุทธิ์
พระธรรมและปัญญาผุด..........................ก็ป้องพระสงฆ์สานติ์

   ๒๗.ภิกษุเมตตะทั่วทิศา.........................ลุจิตตะกล้ามหพาน
เพราะเมตตะแน่ประสาร.........................."อุเบกฯ"จะแผ่ไกล

   ๒๘.ภิกษุรู้ประจักษ์วะมี.........................ซิเลวและดีวุฒิไซร้
กิเลสจะตัดก็ได้.......................................นิร์วาณวิธีดับ

   ๒๙.เมื่อเจาะรู้หทัยก็พ้น.........................ลิ"อาสะฯ"ยลมละลับ
กิเลสรึอาสะฯนับ......................................ซิฝังฤดีทบ

   ๓๐."กามะฯ"อยาก,รตีนิสัย....................."ภวาฯ"เจาะไซร้วสะภพ
"อวิชชะฯ"เขลาสยบ.................................มิรู้กะธรรมเลิศ

   ๓๑.ครั้นฤทัยสลัดกิเลส.........................ก็รู้วิเศษจะมิเกิด
ลุพรหมจรรย์ประเสริฐ..............................เพราะกิจสิเสร็จผลัน

   ๓๒.ไม่กระทำเจริญซิซ้ำ.........................เพราะชำนะย้ำอรหันต์
จะเรียกวะผู้กระชั้น...................................สะอาด ณ ภายใน

   ๓๓.แล้วสิ"สุนทริกฯ"เจาะบ่ง....................พระพุทธองค์จรใกล้
จะทรงสนานรึไม่.......................................ณ พาหุฯธารา

   ๓๔.พุทธเจ้าซิติงสทิง..............................จะช่วย ฤ อิงหิตะหนา
ตะพราหมณ์กุชนตริว่า...............................สทิงสะอาดเอื้อนฤชน

   ๓๕.พาหุกาฯสถานเจาะบุญ......................ประชาจะดุนอกุศล
และลอยซิบาปลุพ้น....................................และถือลิมลทิน

   ๓๖.พุทธเจ้าสิตรัสสทิง.............................ผิหลายยะยิ่งนิรยิน
จะช่วยผละบาปละสิ้น.................................กระทำสอาดเผย

   ๓๗.พุทธองค์แนะพราหมณ์สนาน..............ณ ศาสน์ฯสราญสิริเอ่ย
มิฆ่า,มิเท็จละเอย........................................ตระหนี่ละทิ้งเสีย

   ๓๘.พราหมณ์จะไปคยาสิไย.....................ประโยชน์ไฉนดนุเงี่ย
ผิดื่มนทีก็เปลี้ย...........................................มิช่วยอะไรนัก

   ๓๙.พราหมณ์สิทูลพระองค์ประกาศ..........พระธรรมซิยาตรและประจักษ์
จะเปิดกระจ่างตระหนัก...............................ตริบอกมิหลงทาง

   ๔๐.พราหมณ์สิขอ"พระรัตน์ฯ"ศรัณย์........และบวชซิพลันพิรพร่าง
ก็สุนทริกฯลุผาง.........................................อร์หันต์มิช้านาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา
มจร.๗. วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=7

อนาฯ =อนาถบิณฑกเศรษฐี ผู้สร้างเชตวนาราม ถวาย
เชตะราม =เชตวนาราม
ทุคาติ = ทุคติ มี ๒ อย่าง คือ
(๑) ปฏิปัตติทุคติ หมายถึงคติคือการปฏิบัติชั่วด้วยอำนาจกิเลสแบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือทุคติของคฤหัสถ์ผู้มีจิตเศร้าหมองฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มีจิตเศร้าหมอง ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์, ทำลายเจดีย์ประพฤติอนาจาร
(๒) คติทุคติ คือ คติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นทุกข์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๒.๑) อาคาริยทุคติ คือคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดในนรก, สัตว์ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย
(๒.๒) อนาคาริยทุคติ คือทุคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกเป็นต้น เป็นสมณยักษ์, สมณเปรต มีกายลุกโชติช่วงเพราะผ้าสังฆาฏิเป็นต้น
สุคาติ = สุคติ มี ๒ อย่าง
(๑) ปฏิปัตติสุคติ หมายถึงคติ คือการปฏิบัติดีด้วยจิตบริสุทธิ์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติสุคติ มีจิตบริสุทธิ์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ คือสุคติของบรรพชิตผู้มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์, สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ, เรียนกัมมัฏฐานในอารมณ์ ๓๘ ประการ, กระทำกสิณบริกรรม ทำฌาณสมาบัติให้เกิดขึ้น, เจริญโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #129 เมื่อ: 13, มิถุนายน, 2568, 03:52:55 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๓/๓) ๓๖.วัตถูปมสูตร

(๒) คติสุคติ หมายถึงคติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นสุข แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๒.๑) อาคาริยสุคติ คือสุคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีชาติตระกูลสูง, มั่งคั่ง, เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศ, เป็นเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่
(๒.๒) อนาคาริยสุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้วไปเกิดในตระกูลกษัตริย์, ตระกูลพราหมณ์, และตระกูลคหบดี หรือไปเกิดใน กามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น, ในพรหมโลก ๑๐ ชั้น, ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น, หรือในอรูปพรหม ๔ ชั้น
โสฬส = แปลว่า ๑๖
อุปกิเลส ๑๖ = ธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต คือ
(๑) อภิชฌาวิสมโลภะ - ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
(๒) พยาบาท - ความคิดปองร้ายผู้อื่น
(๓)โกธะ - ความโกรธ
(๔) อุปนาหะ - ความผูกโกรธ
(๕) มักขะ - ความลบหลู่คุณท่าน
(๖) ปลาสะ - ความตีเสมอ
(๗) อิสสา - ความริษยา
(๘) มัจฉริยะ - ความตระหนี่
(๙) มายา - มารยา
(๑๐) สาเฐยยะ - ความโอ้อวด
(๑๑) ถัมถะ - ความหัวดื้อ
(๑๒) สารัมภะ - ความแข่งดี
(๑๓) มานะ - ความถือตัว
(๑๔) อติมานะ - ความดูหมิ่นท่าน
(๑๕) มทะ - ความมัวเมา
(๑๖) ปมาทะ - ความประมาท
ปสาทะ = เลื่อมใส ศรัทธา
โคตมะ = ชื่อ พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน
อรียะ = พระอริยะบุคคล ๔ คู่  มี ๘ บุคคล ได้แก่
(๑) บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
(๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี
(๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
(๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
(๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
อาสวะ = หรือ อาสวกิเลส คือ กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ให้ขุ่นมัว ให้ชุ่มอยู่เสมอ แบ่งเป็น ๓ คือ
(๑) กามาสวะ - อาสวะเป็นเหตุอยากได้ เช่น ความกำหนัด ความพอใจ
(๒) ภวาสวะ - อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น เช่น ความพอใจในภพ, ความกำหนัดในภพ
(๓) อวิชชาสวะ - อาสวะคือความเขลา ได้แก่
ความไม่รู้ในทุกข์; ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย; ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ; ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนอดีต; ความไม่รู้ในส่วนอนาคต; ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต และ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ธรรมเครื่องสลัดออกจากกิเลส =  ในที่นี้หมายถึงนิพพาน
พรหมจรรย์ = หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลส จบสิ้นแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่
กิจที่ควรทำ = ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์, การละเหตุเกิดแห่งทุกข์, การทำให้แจ้ง ซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ
ไม่มีกิจอื่น = ที่เป็นอย่างนี้อีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด
สุนทริกฯ = คือชื่อพราหมณ์ สุนทริกภารทวาชะ
พาหุฯ=แม่น้ำพาหุกา
คยา =แม่น้ำคยา
สทิง, ธารา, นที = แม่น้ำ
ศาสน์ฯ = หมายถึงศาสนาพุทธ
พระรัตน์ฯ = พระรัตนตรัย


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #130 เมื่อ: 15, มิถุนายน, 2568, 06:11:56 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

ประมวลธรรม : ๓๗.สัลเลขสูตร (สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส)

ภการวิปุลลาฉันท์ ๓๒

   ๑.พุทธ์เจ้าประทับ"เชตวนา"...............สาวกมหาจุนทะปะเฝ้า
ทูลถามกะเรื่องทิฏฐิกุเร้า.......................ยึดผิดกะ"อัตตาฯ"วปุตน

   ๒."โลกวาทะ"ว่าโลกนิรเที่ยง...............เที่ยงบ้างตริเพียงสุดฐิติผล
มีพจนาปัญญะจะด้น.............................เหล่าทิฏฐิหาใช่ดนุเผย

   ๓.เราไม่ซิเป็นนั่นรึไฉน.......................สิ่งนั้นมิใช่ของตนุเอ่ย
ไม่ใช่สิตัวเรา"อน"เลย...........................ตัวทิฏฐิตัดแล้วละมลน

   ๔.ตรัสจุนทะมีภิกษุสงัด......................จาก"กาม"และชัดล่วงอกุศล
จึงบรรลุฌานหนึ่งปิติดล........................มีตรึกวิจาร,ตรองสุขะไว

   ๕.ตรัสกล่าวปฐมฌานนิรเขต..............ขัดเกลากิเลสในพระวินัย
เป็นธรรมให้อยู่ภวใส.............................สุขปัจจุบันในชิวิศานติ์

   ๖.บางภิกษุความตรึกและวิจาร............จำหยุดเพราะรานสู่ทุติย์ฌาน
ใจผ่องสิเป็นหนึ่งทวิผ่าน.........................คงเหลือซิสุขกับปิติแฉ

   ๗.สงฆ์คิดวะอยู่ในภวธรรม.................."สัลเลขะ"นำแต่นิรแน่
ในธรรมวินัยของอริย์แล้........................แต่เป็นสิดำรงสุขะเผย

   ๘.เป็นได้ซิสงฆ์มีปิติคลาย...................วางเฉยเจาะกรายพร้อมสติเอ่ย
สัมป์ชัญญะอยู่ด้วยสุขะเสย...................ได้บรรลุฌานสาม"ตติย์ฌาน"

   ๙.แต่ภิกษุอาจคิดฐิติชัด......................สัลเลขะจัดเกลา"อน"พาน
ไม่เกลากิเลสเลยมรผลาญ.....................เป็นแต่สุขีในชิวิหนา

   ๑๐.เป็นได้ซิสงฆ์ทิ้งสุขะ,ทุกข์..............ยินดีและรุกโศกมละนา
สงฆ์บรรลุฌานสี่"จตุต์ฯ"กล้า...................คงเหลือแต่สติเฉย

   ๑๑.สงฆ์คิดวะธำรงจตุฌาน...................สัลเลขะพานแล้วถิระเอ่ย
ได้เกลากิเลสแล้วศยะเผย.......................แต่หามิใช่แค่ชิวิสุข

   ๑๒.เป็นได้พระสงฆ์ดับมละนำ..............."สัญญาฯ"ซิจำแล้วประลุรุก
"อากาฯ"ซิฌานเชราะชุก.........................อากาศมิมีสุดมรคา

   ๑๓.สงฆ์คิดวะตนอยู่เหมาะเจาะดี..........สัลเลขะมีพหุกล้า
ขัดเกลากิเลสแล้วนิรหนา........................แค่ธรรมสงบสู่หฤทัย

   ๑๔.เป็นได้ลุ"อากาฯ"ก็ประสิทธิ์.............กำหนดกุจิตธุวไซร้
"วิญญาณมิมีสุด"ประลุใส........................."วิญญาฯ"สิฌานชุติพาน

   ๑๕.สงฆ์คิดซิสัลเลขะปะเจตน์................ขัดเกลากิเลสแล้วมลราญ
วิญญาฯก็ฌานหาเจาะประหาร..................แค่ใจสงบดีลุสบาย

   ๑๖.เมื่อบรรลุวิญญาฯก็ผดุง...................เพ่งใจและมุ่งสู่นิรกราย
"ไม่มีอะไร"จึงประลุฉาย............................"อากิญฯ"ซิฌานรุจิเอย

   ๑๗.สงฆ์คิดเลาะสัลเลขะปะเฝ้า..............กีเลสสิเกลาแล้วฐิติเอ่ย
อากิญฯก็ฌานไม่ฉะดะเผย.......................แค่ใจสงบมั่นธุวะนา

   ๑๘.ตรัสจุนทะ,สงฆ์ได้ประลุผ่าน............อากิญฯและชาญว่องรุจิรา
ถึง"เนวสัญญาฯ"ศุจิหนา...........................สงฆ์คิดจะขัดเกลาลิกิเลส

   ๑๙.พุทธ์เจ้าริฌานเนวะปะชัด................หาใช่เลาะขัดเกลา"อน"เดช
ตามที่พระสงฆ์คิดจะพิเศษ.......................แค่ทำฤทัยนี้ปะสงบ

   ๒๐.ตรัสจุนทะขัดเกลาซิกิเลส...............มีหลากประเภทหลายมรจบ
สี่สิบและสี่ข้อเหมาะละครบ......................สัลเลขะธรรมเกลามทเถียร


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ชลนา ทิชากร, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #131 เมื่อ: 15, มิถุนายน, 2568, 07:48:08 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

   ๒๑.ชนอื่นจะ"เบียดเบียน"กะนิกร............หมู่เราจะถอนเลิกนิรเบียน
หมู่คนก็"ฆ่าสัตว์"เซาะพินาศเตียน..............พวกเราจะล้มเลิกวธหนา

   ๒๒.ชนอื่นขโมยทรัพย์ดะเสมอ...............หมู่เรามิเผลอเรออุปะคว้า
ผู้อื่นเจาะ"เมถุน"คฤหา..............................พวกเราประพฤติตรงจะผนวช

   ๒๓.หมู่คน"มุสา"ชินเพาะนิสัย.................คำเท็จจะไม่เอ่ยภณยวด
ผู้อื่นเดาะ"คำหยาบ"เจาะเซาะรวด.............หมู่เราจะพูดแต่พิเราะหวาน

   ๒๔.ชนอื่นจะหลงลืม"สติ"เลือน...............พวกเราจะเตือนตนถิระพาน
ผู้อื่นจะ"ปัญญา"อนุชาญ...........................หมู่เราลุถึงพร้อมมหิผล

   ๒๕.พุทธ์องค์เจาะว่า"จิตตุปบาท"..............ความคิดมุยาตรช่วยพหุดล
แม้ไร้วจี,กายระกะด้น..................................ควรตั้งฤทัยไม่ทุษะหนา

   ๒๖.ชนอื่นตริว่า"ทิฏฐิ"ตริตน......................จักผลักผละพ้นยากมิลุกล้า
กลุ่มเราเตะไกลทิฏฐิละครา.........................หมายมุ่งสลัดทิ้งรยะไส

   ๒๗.ตรัสจุนทะทางที่ขรุขระขวาง..............พึงหาปะทางเรียบเลาะคระไล
ไม่เบียนก็ฉันนั้นลุไถล................................ยังมีเจาะทางหลีกเลี่ยงอฆะยาตร

   ๒๘.ตั้งใจลิ"ฆ่าสัตว์"ภิทะนา......................ทางเลี่ยงนราที่เสาะพิฆาต
"ไม่เล็งสิของใคร"ริระดาษ..........................ทางเดียวนรีที่วสะเอย

   ๒๙."ศรัทธา"ก็ทางเลี่ยงประลุเกื้อ..............ผู้ที่มิเชื่อถือระดะเอ่ย
มี"ความละอายบาป"วิธิเผย..........................ผู้ที่สิเสี่ยงต่ อหิริแล

   ๓๐.ตรัสจุนทะ"ธรรมหลายอกุศล".............มุ่งนำผจญสู่ขยแล้
"ทั้งหมดกุศลธรรม"รุหะแฉ...........................ผู้เว้นสิ"เบียน,ฆ่า"ก็เจริญ

   ๓๑.ตั้งใจ"ละเว้นลัก"ทุจริต........................เป็นทางสฤษดิ์งามเจาะเผชิญ
ผู้ไม่เกาะยึดทิฏฐิละเดิน...............................ทางเฟื่องซิผู้ทิ้งผละละยาก

   ๓๒.พุทธ์เจ้าตริตรัสจุนทะสิความ...............คนที่ริ"กาม"จมทะลุมาก
ไร้ทางจะยกสูงนรจาก.................................ที่ต่ำซิได้เลยนิรพราว

   ๓๓.เป็นได้เพราะคนอุปริบน......................อยู่เหนือซิพ้นตมริสกาว
ย่อมยกสิคนต่ำยุรก้าว.................................จากตมผละสูงสัสตะเผย

   ๓๔.แม้คนมิฝึกปราศละกิเลส....................จักสอนวิเศษยิ่งนฤเอ่ย
สอนดับกิเลสด้วยทวิเอย.............................ยิ่งเป็นมิได้แน่"อน"ทาง

   ๓๕.เป็นได้ซิคนฝึกพิรเวท.........................เมื่อดับกิเลสแล้วประลุพร่าง
สอนชนกิเลสตัดมทะวาง.............................ชนอื่นละดับลิบจิระกาล

   ๓๖."ไม่เบียน"ก็ฉันนั้นดุจะชิด....................ทางดับสนิทเลยรุจิพาน
สำหรับซิตั้งใจตริละผลาญ..........................ผู้เบียนจะดับลงละทะลาย

   ๓๗."ตั้งใจจะฆ่าสัตว์วิธิตัด........................ผู้ฆ่าก็ชัดดับภิทะวาย
"เจต์นามิเล็งทรัพย์"มิขยาย........................ผู้เล็งก็ทางดับอนเอย

   ๓๘.ตั้งใจเกาะมิตรดีสิริชัด.......................เป็นทางละมิตรชั่วมทะเอ่ย
"เจต์นาสาะปัญญา"รหะเผย........................ปัญญาซิทรามสละแล

   ๓๙.พุทธ์เจ้าซิตรัสจุนทะสดับ...................ทรงได้เจาะนับเหตุหิตะแน่
ห้าอย่างสิ"ขัดเกลามทะ"แล้........................."เหตุจิตตุป์บาท,เลี่ยง"เจาะเซาะหนี

   ๔๐."เหตุนำเจริญ"ยิ่งลุประชิด..................."เหตุดับสนิท"แท้อุตุชี้
พุทธ์องค์แสวงสอนนยคลี่............................สาวกประโยชน์ควรคุณะแล

   ๔๑.พุทธ์เจ้ากระทำกิจเหมาะเจาะแล้ว........พึงจุนทะแน่วโคนตะรุแล้
เรือนว่างพินิจด้วยพิรแฉ...............................ไม่ควรประมาท,หลีกทุระกำ


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ชลนา ทิชากร, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #132 เมื่อ: 16, มิถุนายน, 2568, 08:46:22 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๓/ ๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

   ๔๒.สงฆ์จุนทะชื่นชมภณบ่ง............ที่พุทธองค์พร่ำตริพระธรรม
พุทธ์เจ้าแสดงสัลเลขะเจาะล้ำ...........ดั่งคล้ายทะเลลึกดุจะปาน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : มจร.๘ สัลเลขสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=8

เชตวนาฯ =เชตวนาราม
อัตตาฯ = อัตตวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตา เช่น เห็นว่ารูปเป็นอัตตาเป็นต้น
โลกวาทะ = หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภโลก เช่น เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น
ฌาน = หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก ฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก) รูปฌาน  คือ ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร มี ๔ ได้แก่
(๑) ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) ประกอบด้วย
(๑.๑) วิตก คือ ความตรึกนึกกำหนดในอารมณ์ของกรรมฐาน เช่น ในขณะกำหนดลมหายใจ เข้า - ออก ก็รู้ว่าลมเข้า ลมออก
(๑.๒) วิจาร คือ ความตรอง ประคองจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน
(๑.๓) ปิติ คือ ความอิ่มเอิบใจ เช่นอาการขนลุกขนชัน น้ำตาไหล รู้สึกว่ากายพองโต รู้สึกว่ากายเบา
(๑.๔) สุข คือ ความสบายกายสบายใจ ในขั้นนี้ถ้ากำหนดอารมณ์กรรมฐานก้าวพ้นองค์ ๓ คือปิติ ก็จะเกิดสุข
(๑.๕) เอกัคคตา คือ ความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สภาวะนี้จะไม่มีอาการขององค์ ๑ - ๔ จะเป็นสภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว คือนิ่งสงบอยู่ภายในจิตอย่างเดียว
(๒) ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
(๓) ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
(๔) จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
ข) อรูปฌาน คือ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร มี ๔ได้แก่
(๑) อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
(๒) วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
(๓) อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
(๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
สัลเลขธรรม = คือธรรมขัดเกลากิเลส มี ๔๔ ข้อ
(๑) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
(๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.
(๓) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน
(๔) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.
(๕) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท
(๖) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา
(๗) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา
(๘) ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
(๙) ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะ(สิ่งของ)ของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
(๑๐) ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.
(๑๑) ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ
(๑๒) ชนเหล่าอื่นจักมีความดําริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดําริถูก
(๑๓) ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก
(๑๔) ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก
(๑๕) ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก
(๑๖) ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ชลนา ทิชากร, หยาดฟ้า, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #133 เมื่อ: 16, มิถุนายน, 2568, 03:06:37 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๔/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

(๑๗) ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก
(๑๘) ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก
(๑๙) ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก
(๒๐) ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติถูก
(๒๑) ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ
(๒๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
(๒๓) ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา
(๒๔) ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.
(๒๕) ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ
(๒๖) ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน
(๒๗) ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา
(๒๘) ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา
(๒๙) ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่
(๓๐) ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด
(๓๑) ชนเหล่าอื่นจักมีมายา (เจ้าเล่ห์) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา
(๓๒) ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง
(๓๓) ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน
(๓๔) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย
(๓๕) ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี
(๓๖) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.
(๓๗) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา.
(๓๘) ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.
(๓๙) ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.
(๔๐) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย (ด้อยการศึกษา) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (คงแก่เรียน)
(๔๑) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
(๔๒) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง
(๔๓) ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
(๔๔) พึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลํา ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง สลัดทิ้งได้ยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคงและสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย
จิตตุปบาท = คือ ความคิดที่เกิดขึ้น ก็มีอุปการะมากในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการกระทำด้วยกายและพูดด้วยวาจา ดังนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า
(๑) ชนเหล่าอื่นจักเบียดเบียนกัน แต่เราจักไม่เบียดเบียนกัน
(๒) ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ แต่เราจักเว้นจากการฆ่าสัตว์
(๓) เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า ชนเหล่าอื่นจักยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ยาก แต่ เราจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ง่าย’ฯลฯ
การหลีกเลี่ยงความชั่ว =มี ๔๔ ข้อ ดังนี้
(๑) การเว้นจากความไม่เบียดเบียน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒)การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
(๓)การเว้นจากอทินนาทาน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
(๔)การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน
(๕)การเว้นจากมุสาวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ
(๖)การเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดส่อเสียด
(๗)การเว้นจากผรุสวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดคําหยาบ.
(๘)การเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ
(๙)ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
(๑๐)ความไม่พยาบาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
(๑๑)ความเห็นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด
(๑๒)ความดําริถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดําริผิด
(๑๓)การกล่าววาจาถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงผู้มีวาจาผิด.
(๑๔)การงานถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด
(๑๕)การเลี้ยงชีพถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
(๑๖)ความพยายามถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความพยายามผิด
(๑๗)ความระลึกถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
(๑๘)ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นผิด
(๑๙)ความรู้ถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด


รายนามผู้เยี่ยมชม : ชลนา ทิชากร, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 624



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #134 เมื่อ: 17, มิถุนายน, 2568, 09:02:55 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๕/๖) ๓๗.สัลเลขสูตร

(๒๐)ความหลุดพ้นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด
(๒๑)ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงํา
(๒๒)ความไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
(๒๓)ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย
(๒๔)ความไม่โกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ
(๒๕)ความไม่เข้าไปผูกโกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเข้าไปผูกโกรธ
(๒๖)ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน
(๒๗)การไม่ตีเสมอเขา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักตีเสมอเขา
(๒๘)ความไม่ริษยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา
(๒๙)ความไม่ตระหนี่ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่
(๓๐)ความไม่โอ้อวด มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด
(๓๑)ความไม่มีมารยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา
(๓๒)ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อดึง
(๓๓)ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน
(๓๔)ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก
(๓๕)ความเป็นผู้มีมิตรดี มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรเลว
(๓๖)ความไม่ประมาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท
(๓๗)ความเชื่อ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
(๓๘)ความละอายต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่ละอายต่อบาป (ไม่มีหิริ).
(๓๙)ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (ไม่มีโอตตัปปะ)
(๔๐)ความเป็นพหูสูต มีไว้สําหรับหลีเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับ (ศึกษา) น้อย.
(๔๑)การปรารภความเพียร มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
(๔๒)ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม
(๔๓)ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม
(๔๔)ความเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และความสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก
ธรรมนำสู่ความเจริญ =พระพุทธเจ้าตรัสแก่จุนทะ
อกุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเสื่อม (แต่)กุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเจริญ แม้ฉันใด
(๑)ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความเจริญ สำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
(๓) เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์
ฯลฯ
(๔) ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
อุบายเพื่อความดับสนิท ของกิเลส = มี ๔๔ อย่าง คือ
(๑) เจตนาไม่เบียดเบียนเป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
(๒) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ฆ่าสัตว์
(๓) เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้ลักทรัพย์
(๔) เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
(๕) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดเท็จ
(๖) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดส่อเสียด
(๗) เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดคำหยาบ
(๘) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้พูดเพ้อเจ้อ
(๙) ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางเพื่อความดับสนิท ของผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
(๑๐) ความไม่พยาบาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีจิตพยาบาท
(๑๑) สัมมาทิฏฐิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความเห็นผิด
(๑๒) สัมมาสังกัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีความดำริผิด
(๑๓) สัมมาวาจา เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้เจรจาผิด
(๑๔) สัมมากัมมันตะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของผู้มีการกระทำผิด
(๑๕) สัมมาอาชีวะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
(๑๖) สัมมาวายามะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทของ ผู้มีความพยายามผิด


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.495 วินาที กับ 181 คำสั่ง
กำลังโหลด...