ความอ่อนแอ หวั่นไหว จิตใจไม่หนักแน่นมั่นคง ทำไห้เกิดความเหนื่อยล้า ท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจในการดำเนินชีวิตฯ จึงทำไห้เป็นทุกข์ เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น ต่างคนต่างก็หาที่พึ่งไห้กับตนเองโดยมีศรัทธาเป็นเครื่องชี้นำ ซึ่งอาจมีทั้งพ่อแม่ ญาติ นักบวชจากศาสนาต่างๆ หมอดู ร่างทรง เทพเทวดา สถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และนี่คือบางส่วนจากบทสนทนาระหว่างลูกศิษย์กับพระในศาสนาพุทธ..
#บางส่วนจากบทสนทนา
โยม..หลวงพ่อตอนนี้เหนื่อยมาก ล้ามาก ไม่รู้จะสู้ได้อีกนานแค่ไหน
พระ..ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้ก่อนว่าเราสู้อยู่กับอะไร ถ้าเราจะบอกว่าเราสู้กับงาน แต่การงานคือการสร้างคุณประโยชน์และแหล่งรายได้ของเรา ไม่ว่าเราจะทำหน้าที่อะไร หน้าที่ต้องมีความรับผิดชอบกำกับด้วย การทำหน้าที่จึงจะมีความสมบูรณ์ หน้าที่การงานนั้นไม่ใช่แค่ภาระ..เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องสู้ไหม..?หรือถ้าเราจะบอกว่าเราต้องต่อสู้กับเพื่อนร่วมงาน..เราทำงานที่ไหนที่จะไม่มีเพื่อนร่วมงานแล้วเพื่อนร่วมงานที่ไหนที่จะมีแต่เฉพาะผู้ที่เมตตาเรา รักเรา เห็นอกเห็นใจเราอย่างเดียว..มีไหม?และก็อีกถ้าเราจะบอกว่าเราต้องสู้กับชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีแค่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม,อาหาร,ที่อยู่อาศัย,ยารักษาโรค เท่านี้ชีวิตก็ดำเนินไปได้แล้ว..
โยม..แล้วที่เหลือหละหลวงพ่อ รถยนต์ โทรศัพย์ เงินทอง อื่นๆอีกเยอะเลย..?
พระ..สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นค่านิยมทางสังคม ไม่ใช่เครื่องหล่อเลี้ยงไห้ชีวิตดำเนินไป ค่านิยมเกิดเพราะความปรารถนา ความต้องการของผู้คนในสังคม ..ถามว่า แล้วเราต้องต่อสู้ ต่อต้านค่านิยมทางสังคมไหม คำตอบคือไม่ หากแต่เราต้องประเมินศักยภาพหรือเรียกอีกอย่างว่า ขีดความสามารถของตนเองนั้นแหละ ประเมินแล้วก็ต้องนำมาไช้ไห้เกิดประโยชน์คือ การจัดการทรัพยากรที่ตนมีอยู่ไห้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือก็คือการประมาณตนในการไช้สอยทรัพยากรที่ตนมีนั่นเอง และต้องเพียรพยายามพัฒนาขีดความสามารถของตนไห้มีมาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นี่แหละถ้าเราได้ประเมิน ประมาณตนดีแล้ว เราก็จะพบคำตอบที่แท้จริงว่าเรากำลังสู้ หรือจะต้องสู้กับอะไรกันแน่...?
-สิ่งที่เราทุกคน ทุกชีวิตต้องสู้ด้วยไม่ใช่ชีวิต,งาน,หรือว่าเพื่อนร่วมงาน หากแต่เป็นใจที่มีความปรารถนา ความต้องการเป็นแรงผลักดันของตนเองต่างหากที่เราต้องต่อสู้ด้วย ผู้มีความปรารถนาเป็นแรงผลักดันนั้น ถ้ามีพอสมควรแก่ตนก็นับเป็นเรื่องดี เพราะคือเครื่องหมายของความเจริญ แต่หากว่ามีมากไป จนเกินศักยภาพของตน ก็จะทำไห้เกิดความลำบากแก่ตนทั้งใจและกายนั้น นั่นแหละเป็นทุกข์ไช่ไหม ทุกข์เกิดเพราะใจเรานี้ดิ้นรนด้วยแรงปรารถนาที่มีมากเกินพอดี
โยม..แล้วจะจัดการอย่างไรกับความทุกข์หละหลวงพ่อ..?
พระ..ใช้ขันติธรรมคือความอดทน อดกลั้น เป็นเครื่องมือในการสะกดข่มใจด้วยความเพียรพยายามให้เต็มที่ เต็มกำลัง แล้วจึงใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ไตร่ตรอง หาปัจจัยที่เป็นสิ่งเกื้อหนุนไห้ใจ สร้างเหตุและรับผลแห่งเหตุนั้นๆ กับทั้งขณะที่ใจสร้างเหตุและรับผลอยู่ ตนเองมีอาการอย่างไรเช่น สุข สบาย หรือว่า หงุดหงิดงุ่นง่าน รำคาญ รุ่มร้อน ไม่สบาย ทรมานอย่างไร อย่างนี้เรียกว่าการพิจารณาธรรม เมื่อใจเรียนรู้ เข้าใจลึกซึ้งลงไป ใจจะยอมรับในความเป็นไปของสภาพสภาวะธรรมตามเป็นจริง ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม คือไม่ต่อต้านผลักไส ไม่หน่วงเหนี่ยวสภาวะธรรมใดใด ใจตนเองก็จะสงบระงับ ดับร้อนอยู่เป็นสุขได้